วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 04:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 71 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 17:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 17:04
โพสต์: 133


 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อด้วยบทนี้ :b12:

ละครน้ำเน่า เขียน:
ขอนำมาแปะไว้นะครับ rolleyes

ลำดับการหลุดพ้น เมื่อเห็นไตรลักษณ์

ภิกษุ ท. ! รูป เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง,
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์,
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา,
สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นนั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา :

เธอทั้งหลายพึงเห็นข้อนั้นด้วย
ปัญญาโดยชอบ ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ด้วยประการดังนี้.

(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่าง
เดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ทุกประการ).

ภิกษุ ท. !
เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้,
ปุพพันตานุทิฏฐิ๑ ทั้งหลาย ย่อมไม่มี;
เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิไม่มี, อปรันตานุทิฏฐิ๒ ทั้งหลายย่อมไม่มี;
เมื่ออปรันตานุทิฏฐิไม่มี, ความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าย่อมไม่มี;

เมื่อความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าไม่มี,
จิตย่อมจางคลายกำหนัดในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ;
ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น.

เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่;
เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่ จิตจึงยินดีร่าเริงด้วยดี;
เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี จิตจึงไม่หวาดสะดุ้ง;
เมื่อไม่หวาดสะดุ้งย่อมปรินิพพานเฉพาะตน นั่นเทียว.


เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว,
กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,
กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

ขนฺธ. ส°. ๑๗/๕๗/๙๓.
__________________
๑. ความเห็นที่ปรารภขันธ์ในเบื้องต้นหรือความเห็นที่เป็นไปในส่วนของอดีต
๒. ความเห็นที่ปรารภขันธ์ในเบื้องปลาย หรือความเห็นที่เป็นไปในส่วนของอนาคต


viewtopic.php?f=1&t=42906


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2012, 17:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2012, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 17:04
โพสต์: 133


 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธวจนสนทนา-บ้านขนมนันทวัน-29Dec2011
สัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้นมีตัณหาเป็นเครื่องผูก เป็นคนละสิ่งกับวิญญาณ




http://www.youtube.com/watch?v=j1eBWuMY ... r_embedded

พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพง
แสดงธรรม ณ บ้านขนมนันทวัน จ.เพชรบุรี
29 ธันวาคม 2554

http://truthoflife.fix.gs/index.php?topic=8867.0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2012, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 17:04
โพสต์: 133


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแปะฝากไว้ครับ :b12: :b12:

ตอบปัญหาผู้ปฏิบัติธรรม 25 มิ.ย. 2554 จ.นครนายก
โดย พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
[youtube]http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=eFla6m7lH8U[/youtube]
http://www.youtube.com/watch?feature=pl ... Fla6m7lH8U

ตอบปัญหาผู้ปฏิบัติธรรม 26 มิ.ย. 2554 จ.นครนายก
[youtube]http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=UJ6i6aGpQvs[/youtube]
http://www.youtube.com/watch?feature=pl ... J6i6aGpQvs


ดาวน์โหลด .mp3
http://archive.org/details/dhamma01


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 20:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


ละครน้ำเน่า เขียน:
ขอแปะฝากไว้ครับ :b12: :b12: ตอบปัญหาผู้ปฏิบัติธรรม 25 มิ.ย. 2554 จ.นครนายก โดย พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล [youtube]http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=eFla6m7lH8U[/youtube] http://www.youtube.com/watch?feature=pl ... Fla6m7lH8U ตอบปัญหาผู้ปฏิบัติธรรม 26 มิ.ย. 2554 จ.นครนายก [youtube]http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=UJ6i6aGpQvs[/youtube] http://www.youtube.com/watch?feature=pl ... J6i6aGpQvs ดาวน์โหลด .mp3 http://archive.org/details/dhamma01
สงสัยคุณละครน้ำเนานี้ศิษย์เอกพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผลเลยมั้ง ผมเคยไปวัดท่าน3-4ครั้งน่าจะได้ เคยสนทนากับท่านด้วยครับ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แก้ไขล่าสุดโดย bigtoo เมื่อ 21 ส.ค. 2012, 23:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 23:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 17:04
โพสต์: 133


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
:b8: :b8: :b8:


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 17:04
โพสต์: 133


 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
ละครน้ำเน่า เขียน:
ขอแปะฝากไว้ครับ :b12: :b12: ตอบปัญหาผู้ปฏิบัติธรรม 25 มิ.ย. 2554 จ.นครนายก โดย พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล [youtube]http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=eFla6m7lH8U[/youtube] http://www.youtube.com/watch?feature=pl ... Fla6m7lH8U ตอบปัญหาผู้ปฏิบัติธรรม 26 มิ.ย. 2554 จ.นครนายก [youtube]http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=UJ6i6aGpQvs[/youtube] http://www.youtube.com/watch?feature=pl ... J6i6aGpQvs ดาวน์โหลด .mp3 http://archive.org/details/dhamma01
สงสัยคุณละครน้ำเนานี้ศิษย์เอกพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโลเลยมั้ง ผมเคยไปวัดท่าน3-4ครั้งน่าจะได้ เคยสนทนากับท่านด้วยครับ


:b12: ผมยังไม่เคยไปวัดนาป่าพงเลยครับ
และยังไม่เคยได้สนทนากับพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล หรือพระสงฆ์ในวัดนาป่าพงเลยแม้สักรูปเดียวครับ

ผมดาวน์โหลดมาฟังครับ
ผมฟังท่านบรรยายแล้วเข้าใจได้ทันที ไม่ติดขัดใดๆ ไม่มีข้อสงสัยใดๆ ยิ่งฟังยิ่งเห็นธรรมยิ่งขึ้นๆ ผมจึงติดตามฟังธรรมท่านตลอดมาครับ

ผมติดตามฟังและดาวน์โหลด ที่นี่ครับ

ศูนย์บริการมัลติมีเดีย วัดนาป่าพง
http://media.watnapahpong.org/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 23:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


ละครน้ำเน่า เขียน:
bigtoo เขียน:
ละครน้ำเน่า เขียน:
ขอแปะฝากไว้ครับ :b12: :b12: ตอบปัญหาผู้ปฏิบัติธรรม 25 มิ.ย. 2554 จ.นครนายก โดย พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล [youtube]http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=eFla6m7lH8U[/youtube] http://www.youtube.com/watch?feature=pl ... Fla6m7lH8U ตอบปัญหาผู้ปฏิบัติธรรม 26 มิ.ย. 2554 จ.นครนายก [youtube]http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=UJ6i6aGpQvs[/youtube] http://www.youtube.com/watch?feature=pl ... J6i6aGpQvs ดาวน์โหลด .mp3 http://archive.org/details/dhamma01
สงสัยคุณละครน้ำเนานี้ศิษย์เอกพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโลเลยมั้ง ผมเคยไปวัดท่าน3-4ครั้งน่าจะได้ เคยสนทนากับท่านด้วยครับ


:b12: ผมยังไม่เคยไปวัดนาป่าพงเลยครับ
และยังไม่เคยได้สนทนากับพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล หรือพระสงฆ์ในวัดนาป่าพงเลยแม้สักรูปเดียวครับ

ผมดาวน์โหลดมาฟังครับ
ผมฟังท่านบรรยายแล้วเข้าใจได้ทันที ไม่ติดขัดใดๆ ไม่มีข้อสงสัยใดๆ ยิ่งฟังยิ่งเห็นธรรมยิ่งขึ้นๆ ผมจึงติดตามฟังธรรมท่านตลอดมาครับ

ผมติดตามฟังและดาวน์โหลด ที่นี่ครับ

ศูนย์บริการมัลติมีเดีย วัดนาป่าพง
http://media.watnapahpong.org/
คุณเจอครูอาจารย์ดีแล้วล่ะท่านเป็นคนจริงครับ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 17:04
โพสต์: 133


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: ขอแปะไว้ (อย่าพึ่งหมั่นไส้ผมนะครับ) :b32: :b32:

การพิจารณาสภาวธรรม ตามวิธีปฎิจจสมุปบาทกระทั่งวาระสุดท้าย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ (สตฺตฏฐานกุสโล)
ผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ (ติวิธูปปริกฺขี) เราเรียกว่า ภิกษุผู้เกพลี๒
อยู่จบกิจแห่งพรหมจรรย์ ในธรรมวินัยนี้.


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เป็นอย่างไรเล่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งรูป ;
...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป;
...ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งรูป;
...ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป;
...ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) แห่งรูป;
...ซึ่งอาทีนวะ (โทษอันต่ำทราม) แห่งรูป;
...ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น) จากรูป (รวม๗ ประการ).

(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ได้ตรัสด้วยข้อความอย่างเดียวกันทุกตัว
อักษร กับข้อความที่กล่าวในกรณีแห่งรูป ผิดกันแต่ชื่อแห่งขันธ์ ทีละขันธ์ ๆ เท่านั้น.)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็รูปเป็นอย่างไรเล่า ?
มหาภูตรูปทั้งหลาย ๔ อย่างด้วย รูปที่อาศัยมหาภูตรรูปทั้งหลายอย่างด้วย:
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่ารูป ;

การเกิดขึ้นแห่งรูปย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งอาหาร;
ความดับไม่เหลือแห่งรูป ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งอาหาร;
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ
ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ;
สุข โสมนัสใดๆ อาศัยรูปเกิดขึ้น: นี้เป็น อัสสาทะแห่งรูป ;
รูปใด ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา: นี้เป็น อาทีนวะแห่งรูป ;
การนำออกเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ กล่าวคือ
การละเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูป, อันใด;
นี้เป็น นิสสรณะเครื่องออกจากรูป (รวมเป็นสิ่งที่ต้องรู้ ๗ อย่าง).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งรูป ว่า
...อย่างนี้คือ รูป;
...อย่างนี้คือ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป;.
...อย่างนี้คือ ความดับไม่เหลือแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ อัสสาทะแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ อาทีนวะแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ นิสสรณะเครื่องออกจากรูป; ดังนี้แล้ว
เป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย (นิพฺพิทา) เพื่อความ สำ รอก (วิราค)
เพื่อความดับไม่เหลือ (นิโรธ) แห่งรูป; สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ปฎิบัติแล้ว;
บุคคลเหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว. บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งรูปว่า
...อย่างนี้คือ รูป;
...อย่างนี้คือ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ ความดับไม่เหลือแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ อัสสาทะแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ อาทีนวะแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ นิสสรณะเครื่องออกจากรูป; ดังนี้แล้ว เป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว
เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความสำรอก เพราะความดับไม่เหลือ เพราะความไม่ยืดมั่นซึ่งรูป;
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี (สุวิมุตฺตา); บุคคลเหล่าใดเป็นผู้พ้นวิเศษ
แล้วด้วยดี บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าเป็นเกพลี ผู้จบกิจอันบุคคลพึงกระทำ;
บุคคลเหล่าใดจบกิจอันบุคคลพึงกระทำ วัฎฎะย่อมไม่มีเพื่อจะบัญญัติแก่บุคคลเหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งเวทนา (เวทนากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ
เวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส
เวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส
เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส
เวทนาอันเกิดแต่ชีวหาสัมผัส
เวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส
เวทนาอันเกิดแต่มโนสัมผัส :
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่า เวทนา;

การเกิดขึ้นแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะ;
ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ;
มรรค อันประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ
การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ
ความตั้งใจมั่นชอบ; สุขโสมนัสใด ๆ อาศัยเวทนาเกิดขึ้น :
นี้เป็น อัสสาทะแห่งเวทนา; ...ฯลฯ...ฯลฯ...

(ข้อความต่อไปนี้ มีการตรัสเหมือนกับที่ตรัสแล้วในกรณีแห่งรูปทุกตัวอักษร
ต่างกันแต่เพียงชื่อว่าเวทนา แทนคำว่ารูป ดังนี้เรื่อยไปจนกระทั่งถึง)
...วัฎฎะ ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติแก่บุคคลเหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็สัญญาเป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งสัญญา (สญฺญากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ
สัญญาในรูป
สัญญาในเสียง
สัญญาในกลิ่น
สัญญาในรส
สัญญาในโผฏฐัพพะ
สัญญาในธัมมรมณ์;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เราเรียกว่าสัญญา ;
การเกิดขึ้นแห่งสัญญา ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะ;
ความดับไม่เหลือแห่งสัญญา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลืองแห่งผัสสะ;
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง
สัญญา, ได้แก่ สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ
การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ;
สุข โสมนัสใด ๆ อาศัยสัญญาเกิดขึ้น : นี้เป็นอัสสาทะแห่งสัญญา;
...ฯลฯ...ฯลฯ...วัฏฏะ ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติแก่บุคคลเหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งเจตนา (เจตนากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ
ความคิดนึกในรูป
ความคิดนึกในเสียง
ความคิดนึกในกลิ่น
ความคิดนึกในรส
ความคิดนึกในโผฏฐัพพะ
ความคิดนึกในธัมมารมณ์ :
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้เราเรียกว่า สังขารทั้งหลาย
การเกิดขึ้นแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะ;
ความดับไม่เหลือแห่งสังขารย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ;
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ องค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็น ชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ
การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ;
สุข โสมนัสใด ๆ อาศัยสังขารทั้งหลายเกิดขึ้น : นี้เป็นอัสสาทะแห่งสังขารทั้งหลาย;
...ฯลฯ...ฯลฯ...วัฏฏะ ย่อมไม่มี เพื่อการบัญญัติ แก่บุคคลเหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งวิญญาณ (วิญญาณกายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ
วิญญาณทางตา
วิญญาณทางหู
วิญญาณทางจมูก
วิญญาณทางลิ้น
วิญญาณทางกาย
วิญญาณทางใจ :
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้ เราเรียกว่า วิญญาณ;
การเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งนามรูป;
ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งนามรูป;
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ
การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ;
สุข โสมนัสใดๆ อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น : นี้เป็นอัสสาทะแห่งวิญญาณ;

วิญญาณใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา : นี้เป็นอาทีนวะแห่งวิญญาณ;
การนำออกเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจ กล่าวคือ
การละเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความพอใจ ในวิญญาณ,
อันใด; นี้เป็นนิสสรณะเครื่องออกจากวิญญาณ (รวมเป็นสิ่งที่ต้องรู้ ๗ อย่าง).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งวิญญาณว่า.
...อย่างนี้คือวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ อัสสาทะแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ อาทีนวะแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ นิสสรณะเครื่องออกจากวิญญาณ; ดังนี้ แล้วเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว
เพื่อความเบื่อหน่าย (นิพฺพิทา) เพื่อความสำรอก (วิราค)
เพื่อความดับไม่เหลือ (นิโรธ)แห่งวิญญาณ;
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ ปฏิบัติดีแล้ว, บุคคลเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว;
บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า หยั่งลงในธรรมวินัยนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งวิญญาณ ว่า
...อย่างนี้คือ วิญญาณ;
...อย่างนี้คือ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ; .
...อย่างนี้คือ ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ อัสสาทะแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ อาทีนวะแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ นิสสรณะเครื่องออกจากวิญญาณ; ดังนี้แล้วเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว
เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความสำรอก เพราะความดับไม่เหลือ
เพราะความไม่ยึดมั่น ซึ่งวิญญาณ; สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี(สุวิมุตฺตา);
บุคคลเหล่าใด เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเกพลี ผู้จบกิจอันบุคคลพึงกระทำ;
บุคคลเหล่าใดจบกิจอันบุคคลพึงกระทำ วัฏฏะย่อมไม่มี เพื่อจะบัญญัติ แก่บุคคลเหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ
เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยความ เป็นธาตุ,
ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยความ เป็นอายตนะ,
ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยความเป็น ปฏิจจสมุปบาท.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ อย่างนี้แล.


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ
เป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ เราเรียกว่า ภิกษุผู้เกพลี
อยู่จบกิจแห่งพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้, ดังนี้ แล.


-------------------------------------------------------------

สูตรที่ ๕ อุปายวรรค ขันธสังยุตต์ ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๖/๑๑๘, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.

๒ เกพลี ในลักษณะอย่างนี้ หมายถึงพระอรหันต์ ผู้ถึงซึ่งนิพพาน ซึ่งเป็นความสิ้นเชิงแห่งสิ่งทั้งปวง
ในแง่ของความดับสิ้นแห่งความทุกข์ กล่าวคือการถึงอมตภาวะ อันไม่มีการแบ่งแยก.- ผู้แปล.


http://www.pobbuddha.com/tripitaka/uplo ... index.html
http://truthoflife.fix.gs/index.php?topic=7655.0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 21:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ละครน้ำเน่า เขียน:
:b12: ขอแปะไว้ (อย่าพึ่งหมั่นไส้ผมนะครับ) :b32: :b32:

การพิจารณาสภาวธรรม ตามวิธีปฎิจจสมุปบาทกระทั่งวาระสุดท้าย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ (สตฺตฏฐานกุสโล)
ผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ (ติวิธูปปริกฺขี) เราเรียกว่า ภิกษุผู้เกพลี๒
อยู่จบกิจแห่งพรหมจรรย์ ในธรรมวินัยนี้.


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เป็นอย่างไรเล่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งรูป ;
...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป;
...ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งรูป;
...ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป;
...ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) แห่งรูป;
...ซึ่งอาทีนวะ (โทษอันต่ำทราม) แห่งรูป;
...ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น) จากรูป (รวม๗ ประการ).

(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ได้ตรัสด้วยข้อความอย่างเดียวกันทุกตัว
อักษร กับข้อความที่กล่าวในกรณีแห่งรูป ผิดกันแต่ชื่อแห่งขันธ์ ทีละขันธ์ ๆ เท่านั้น.)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็รูปเป็นอย่างไรเล่า ?
มหาภูตรูปทั้งหลาย ๔ อย่างด้วย รูปที่อาศัยมหาภูตรรูปทั้งหลายอย่างด้วย:
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่ารูป ;

การเกิดขึ้นแห่งรูปย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งอาหาร;
ความดับไม่เหลือแห่งรูป ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งอาหาร;
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ
ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ;
สุข โสมนัสใดๆ อาศัยรูปเกิดขึ้น: นี้เป็น อัสสาทะแห่งรูป ;
รูปใด ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา: นี้เป็น อาทีนวะแห่งรูป ;
การนำออกเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ กล่าวคือ
การละเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูป, อันใด;
นี้เป็น นิสสรณะเครื่องออกจากรูป (รวมเป็นสิ่งที่ต้องรู้ ๗ อย่าง).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งรูป ว่า
...อย่างนี้คือ รูป;
...อย่างนี้คือ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป;.
...อย่างนี้คือ ความดับไม่เหลือแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ อัสสาทะแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ อาทีนวะแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ นิสสรณะเครื่องออกจากรูป; ดังนี้แล้ว
เป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย (นิพฺพิทา) เพื่อความ สำ รอก (วิราค)
เพื่อความดับไม่เหลือ (นิโรธ) แห่งรูป; สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ปฎิบัติแล้ว;
บุคคลเหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว. บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งรูปว่า
...อย่างนี้คือ รูป;
...อย่างนี้คือ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ ความดับไม่เหลือแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ อัสสาทะแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ อาทีนวะแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ นิสสรณะเครื่องออกจากรูป; ดังนี้แล้ว เป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว
เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความสำรอก เพราะความดับไม่เหลือ เพราะความไม่ยืดมั่นซึ่งรูป;
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี (สุวิมุตฺตา); บุคคลเหล่าใดเป็นผู้พ้นวิเศษ
แล้วด้วยดี บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าเป็นเกพลี ผู้จบกิจอันบุคคลพึงกระทำ;
บุคคลเหล่าใดจบกิจอันบุคคลพึงกระทำ วัฎฎะย่อมไม่มีเพื่อจะบัญญัติแก่บุคคลเหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งเวทนา (เวทนากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ
เวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส
เวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส
เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส
เวทนาอันเกิดแต่ชีวหาสัมผัส
เวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส
เวทนาอันเกิดแต่มโนสัมผัส :
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่า เวทนา;

การเกิดขึ้นแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะ;
ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ;
มรรค อันประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ
การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ
ความตั้งใจมั่นชอบ; สุขโสมนัสใด ๆ อาศัยเวทนาเกิดขึ้น :
นี้เป็น อัสสาทะแห่งเวทนา; ...ฯลฯ...ฯลฯ...

(ข้อความต่อไปนี้ มีการตรัสเหมือนกับที่ตรัสแล้วในกรณีแห่งรูปทุกตัวอักษร
ต่างกันแต่เพียงชื่อว่าเวทนา แทนคำว่ารูป ดังนี้เรื่อยไปจนกระทั่งถึง)
...วัฎฎะ ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติแก่บุคคลเหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็สัญญาเป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งสัญญา (สญฺญากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ
สัญญาในรูป
สัญญาในเสียง
สัญญาในกลิ่น
สัญญาในรส
สัญญาในโผฏฐัพพะ
สัญญาในธัมมรมณ์;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เราเรียกว่าสัญญา ;
การเกิดขึ้นแห่งสัญญา ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะ;
ความดับไม่เหลือแห่งสัญญา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลืองแห่งผัสสะ;
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง
สัญญา, ได้แก่ สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ
การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ;
สุข โสมนัสใด ๆ อาศัยสัญญาเกิดขึ้น : นี้เป็นอัสสาทะแห่งสัญญา;
...ฯลฯ...ฯลฯ...วัฏฏะ ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติแก่บุคคลเหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งเจตนา (เจตนากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ
ความคิดนึกในรูป
ความคิดนึกในเสียง
ความคิดนึกในกลิ่น
ความคิดนึกในรส
ความคิดนึกในโผฏฐัพพะ
ความคิดนึกในธัมมารมณ์ :
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้เราเรียกว่า สังขารทั้งหลาย
การเกิดขึ้นแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะ;
ความดับไม่เหลือแห่งสังขารย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ;
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ องค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็น ชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ
การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ;
สุข โสมนัสใด ๆ อาศัยสังขารทั้งหลายเกิดขึ้น : นี้เป็นอัสสาทะแห่งสังขารทั้งหลาย;
...ฯลฯ...ฯลฯ...วัฏฏะ ย่อมไม่มี เพื่อการบัญญัติ แก่บุคคลเหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งวิญญาณ (วิญญาณกายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ
วิญญาณทางตา
วิญญาณทางหู
วิญญาณทางจมูก
วิญญาณทางลิ้น
วิญญาณทางกาย
วิญญาณทางใจ :
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้ เราเรียกว่า วิญญาณ;
การเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งนามรูป;
ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งนามรูป;
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ
การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ;
สุข โสมนัสใดๆ อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น : นี้เป็นอัสสาทะแห่งวิญญาณ;

วิญญาณใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา : นี้เป็นอาทีนวะแห่งวิญญาณ;
การนำออกเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจ กล่าวคือ
การละเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความพอใจ ในวิญญาณ,
อันใด; นี้เป็นนิสสรณะเครื่องออกจากวิญญาณ (รวมเป็นสิ่งที่ต้องรู้ ๗ อย่าง).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งวิญญาณว่า.
...อย่างนี้คือวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ อัสสาทะแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ อาทีนวะแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ นิสสรณะเครื่องออกจากวิญญาณ; ดังนี้ แล้วเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว
เพื่อความเบื่อหน่าย (นิพฺพิทา) เพื่อความสำรอก (วิราค)
เพื่อความดับไม่เหลือ (นิโรธ)แห่งวิญญาณ;
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ ปฏิบัติดีแล้ว, บุคคลเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว;
บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า หยั่งลงในธรรมวินัยนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งวิญญาณ ว่า
...อย่างนี้คือ วิญญาณ;
...อย่างนี้คือ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ; .
...อย่างนี้คือ ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ อัสสาทะแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ อาทีนวะแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ นิสสรณะเครื่องออกจากวิญญาณ; ดังนี้แล้วเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว
เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความสำรอก เพราะความดับไม่เหลือ
เพราะความไม่ยึดมั่น ซึ่งวิญญาณ; สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี(สุวิมุตฺตา);
บุคคลเหล่าใด เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเกพลี ผู้จบกิจอันบุคคลพึงกระทำ;
บุคคลเหล่าใดจบกิจอันบุคคลพึงกระทำ วัฏฏะย่อมไม่มี เพื่อจะบัญญัติ แก่บุคคลเหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ
เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยความ เป็นธาตุ,
ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยความ เป็นอายตนะ,
ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยความเป็น ปฏิจจสมุปบาท.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ อย่างนี้แล.


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ
เป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ เราเรียกว่า ภิกษุผู้เกพลี
อยู่จบกิจแห่งพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้, ดังนี้ แล.


-------------------------------------------------------------

สูตรที่ ๕ อุปายวรรค ขันธสังยุตต์ ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๖/๑๑๘, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.

๒ เกพลี ในลักษณะอย่างนี้ หมายถึงพระอรหันต์ ผู้ถึงซึ่งนิพพาน ซึ่งเป็นความสิ้นเชิงแห่งสิ่งทั้งปวง
ในแง่ของความดับสิ้นแห่งความทุกข์ กล่าวคือการถึงอมตภาวะ อันไม่มีการแบ่งแยก.- ผู้แปล.


http://www.pobbuddha.com/tripitaka/uplo ... index.html
http://truthoflife.fix.gs/index.php?topic=7655.0




:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 71 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร