วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 10:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 261 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17, 18  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2012, 16:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


วิญญาณขันธ์ เป็นไฉน

[๗๔] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๔ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๕ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขินทริยสัมปยุต เป็นทุกขินทริยสัมปยุต เป็นโสมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นโทมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นอุเปกขินทริยสัมปยุต

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๖ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๖ ด้วยประการฉะนี้

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๘ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ สุขสหคตกายวิญญาณ ทุกขสหคตกายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๘ ด้วยประการฉะนี้

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๙ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโนธาตุ กุสลมโนวิญญาณธาตุ อกุสลมโนวิญญาณธาตุ อัพยากตมโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๙ ด้วยประการฉะนี้

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ สุขสหคตกายวิญญาณ ทุกขสหคตกายวิญญาณ มโนธาตุ กุสลมโนวิญญาณธาตุ อกุสลมโนวิญญาณธาตุ อัพยากตมโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... 240&Z=1498



วิญญาณขันธ์

[๒๖] วิญญาณขันธ์ เป็นไฉน ?

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ วิญญาณอดีต วิญญาณอนาคต วิญญาณปัจจุบัน วิญญาณภายใน วิญาณภายนอก วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด วิญญาณทราม วิญญาณประณีต วิญญาณไกล
วิญญาณใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่าวิญญาณขันธ์.

[๒๗] ในวิญญาณขันธ์นั้น วิญญาณอดีต เป็นไฉน ?

วิญญาณใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้ว ปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณอดีต.


วิญญาณอนาคต เป็นไฉน ?

วิญญาณใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณอนาคต.


วิญญาณปัจจุบัน เป็นไฉน ?

วิญญาณใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณปัจจุบัน.


[๒๘] วิญญาณภายใน เป็นไฉน ?

วิญญาณใด ของสัตว์นั้น ๆ เองซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณภายใน.


วิญญาณภายนอก เป็นไฉน ?

วิญญาณใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้น ๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณภายนอก.


[๒๙] วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด เป็นไฉน ?

อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณหยาบ กุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณ เป็นวิญญาณละเอียด กุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณหยาบ อัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณละเอียด

วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณละเอียด

วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณละเอียด

วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณละเอียด
วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณละเอียด หรือพึงทราบวิญญาณหยาบวิญญาณละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณนั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป.


http://palungjit.com/tripitaka/default.php?cat=7700007



ว่าด้วยจุติวิญญาณและปฏิสนธิวิญญาณ


ความจริง เมื่อสัตว์ใกล้ต่อความตาย โดยสภาวะตามปรกติ หรือโดยความพยายามในภพอดีต อดทนไม่ได้ซึ่งกลุ้มรุมแห่งศัสตรา

ซึ่งมีเวทนาอันใกล้ต่อความตาย อันตัดซึ่งเส้นเอ็นอันเป็นข้อต่อแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง ซึ่งใคร ๆ ก็ทนไม่ได้ เมื่อสรีระซูบซีดโดยลำดับดุจใบตาลสดที่ตากไว้กลางแดด

เมื่ออินทรีย์มีจักขุเป็นต้นดับแล้ว เมื่อกายินทรีย์ มนินทรีย์ และชีวิตินทรีย์อันดำรงอยู่ในฐานะสักว่าหทยวัตถุ วิญญาณอาศัยหทยวัตถุที่ยังเหลือในขณะนั้น

ปรารภกรรมกล่าวคือ สังขารมีปัจจัยที่ยังเหลือได้แล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาครุกรรม อาจิณณกรรม อาสันนกรรม และกรรมที่ทำไว้ก่อน หรือปรารภอารมณ์กล่าวคือกรรม กรรมนิมิต คตินิมิต ที่เข้าไปปรากฏแล้วนั้น เป็นไป


วิญญาณนั้นนั่นแหละ เมื่อเป็นไป เพราะละตัณหาและอวิชชายังไม่ได้ จึงถูกตัณหาให้น้อมไป สังขารอันเป็นสหชาตธรรมย่อมซัดไปในอารมณ์นั้นอันเป็นโทษ อันอวิชชาปกปิดแล้วนั้น

วิญญาณนั้นถูกตัณหาให้น้อมไป อันสังขารทั้งหลาย ซัดไปอยู่ ด้วยอำนาจการสืบต่อ ย่อมละหทัยที่อาศัยอันมีมาก่อน จะยินดีอยู่ ก็ตาม ไม่ยินดีอยู่ก็ตาม

ซึ่งหทัยอันเป็นที่อาศัยอันกรรมให้ตั้งขึ้นอื่นอีก ย่อมเป็นไปด้วยปัจจัยทั้งหลายมีอารมณ์เป็นต้น ทีเดียว เหมือนบุรุษเหนี่ยวเชือกที่ผูกกับต้นไม้ฝั่งนี้ข้ามเหมืองไปฉะนั้น.

อนึ่ง ในวิญญาณทั้งหลายเหล่านี้ วิญญาณดวงก่อน เรียกว่า จุติ เพราะเคลื่อนไป
ดวงหลัง เรียกว่า ปฏิสนธิ เพราะสืบต่อภพอื่นเป็นต้น


ปฏิสนธิวิญญาณนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่จากภพก่อนมาในภพนี้ แม้เว้นเหตุ มีกรรม สังขาร คติ และอารมณ์เป็นต้น แต่ภพก่อนนั้น ก็ไม่ปรากฏ.


http://palungjit.com/tripitaka/default.php?cat=7700286

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2012, 16:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต 10 บ.

:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2012, 16:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2012, 16:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


จาก มหานิทานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐

ดูกรอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ
เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ



การที่จะรู้ว่า วิญญาณ ที่มีแสดงไว้ใน ปฏิจจสมุปบาท เป็นสภาวะใด ต้องรู้ทั้งวงของปฏิจจสมุปบาท ไม่ใช่ รู้เพียงส่วนใด ส่วนหนึ่งของปฏิจจสมุปบาท เหตุเพราะ ทั้งวงของปฏิจจสมุปบาท เป็นการแสดงถึง เหตุของการเกิด เวียนว่ายในวัฏฏสงสาร




ถ้าจะนำมากล่าวถึงเหตุ ของการเกิด ภพชาติปัจจุบัน จะกล่าวเฉพาะ ผัสสะ จนถึง ชาติ วนกลับไปกลับมาแบบนี้ ซึ่งเป็นวงจรของอุปทานขันธ์ ๕ นับตั้งแต่ ผัสสะที่เกิดขึ้น ในแต่ละครั้ง


มรรค มีองค์ ๘ จึงมีความสำคัญ ในเรื่องเกิด-ตาย และ ภพ-ชาติปัจจุบัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2012, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่นำมาสนทนากันอยู่นี้ ล้วนเป็นเพียง การขุดแคะ งัดแงะสัญญา เพื่อมาสนทนากัน

ใครรู้เห็นอย่างไร นั่นคือ ทิฏฐิที่มีอยู่ของแต่ละคน พรรณาไปตามโวหารของตน ซึ่งล้วนแต่เป็นสัญญา จึงไม่ใช่เรื่องถูก/ผิด แต่อย่างใด

ที่สำคัญ คือ การกระทำ ที่สร้างประจำเนืองๆ ในชีวิตปัจจุบัน แต่ละขณะๆๆๆๆ นับแต่ผัสสะเกิด

เมื่อมีเหตุปัจจัย กับสิ่งที่มากระทบ เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกยินดี ยินร้าย เพราะ ความไม่รู้ที่ยังมีอยู่ ไม่รู้ว่า ผัสสะที่เกิดแต่ละขณะ ทำไมจึงทำให้ เกิดความรู้สึก ที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง จึงไม่เหมือนกัน

เพราะ ความไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ในเรื่องของผัสสะ ที่เกิดขึ้นแต่ละขณะ จึงหลงสร้างเหตุออกไปด้วย วจีกรรมบ้าง กายกรรมบ้าง

ส่วนทางมโนกรรม ตราบใดที่ยังมีกิเลส ควมรู้สึกนึกคิด ห้ามไม่ให้เกิดขึ้น ห้ามไม่ได้

เหตุมี ผลย่อมมี ภพชาติปัจจุบัน จึงเกิดขึ้นใหม่เนืองๆ พราะเหตุนี้ จนกว่าชีวิตจะดับสิ้นไป


เมื่ออวิชชายังครอบงำหรือยังมีอยู่ ก่อนชีวิตจะดับสิ้น(มรณะ) ก่อนที่จิตจะละจากเปลือกหรืออัตภาพร่างกายนี้(จุติ) จิตยึดติดอยู่กับสิ่งใด สิ่งหนึ่งอยู่ ย่อมปรุงแต่ง ได้แก่ สังขาร

เหตุมี ผลย่อมมี จิตย่อม ดำเนินไปตามเหตุปัจจัยนั้นๆ (วิญญาณปฏิสนธิ)

วัฏฏสงสาร จึงเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้ เหตุจาก ความไม่รู้แจ้ง ในอุปทานขันธ์ ๕ หรืออวิชชาที่มีอยู่

ปฏิจจสมุปปบาท จึงเริ่มต้นที่อวิชชา เพราะเหตุนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2012, 21:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
จาก มหานิทานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐

ดูกรอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ
เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ



การที่จะรู้ว่า วิญญาณ ที่มีแสดงไว้ใน ปฏิจจสมุปบาท เป็นสภาวะใด ต้องรู้ทั้งวงของปฏิจจสมุปบาท ไม่ใช่ รู้เพียงส่วนใด ส่วนหนึ่งของปฏิจจสมุปบาท เหตุเพราะ ทั้งวงของปฏิจจสมุปบาท เป็นการแสดงถึง เหตุของการเกิด เวียนว่ายในวัฏฏสงสาร




ถ้าจะนำมากล่าวถึงเหตุ ของการเกิด ภพชาติปัจจุบัน จะกล่าวเฉพาะ ผัสสะ จนถึง ชาติ วนกลับไปกลับมาแบบนี้ ซึ่งเป็นวงจรของอุปทานขันธ์ ๕ นับตั้งแต่ ผัสสะที่เกิดขึ้น ในแต่ละครั้ง


มรรค มีองค์ ๘ จึงมีความสำคัญ ในเรื่องเกิด-ตาย และ ภพ-ชาติปัจจุบัน


ท่าน walaiporn สุดยอดเลยครับ

ถ้าจะนำมากล่าวถึงเหตุ ของการเกิด ภพชาติปัจจุบัน จะกล่าวเฉพาะ ผัสสะ จนถึง ชาติ วนกลับไปกลับมาแบบนี้ ซึ่งเป็นวงจรของอุปทานขันธ์ ๕ นับตั้งแต่ ผัสสะที่เกิดขึ้น ในแต่ละครั้ง


ขอพุทธวจน อันที่ท่านกล่าวมานี้ให้ผมดูหน่อยได้มั้ย อันที่ กล้าวเฉพาะ ผัสสะ จนถึงชาติอ่ะครับ ผมหาไม่เจอ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2012, 02:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: ชอบตรงนี้ครับ คุณ walaiporn

Quote Tipitaka:
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้


หลักฐาน ในพระไตรปิฏก ที่ยืนยัน ว่า จิต คือ วิญญาณขันธ์ .............คล้องจองกันเป๊ะ

Quote Tipitaka:
[๑๐๘๖] จิต ๗ เป็นไฉน
คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญ-
*ญาณธาตุ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ
เหล่านี้เรียกว่า จิต ๗
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0


ที่แล้วๆ มามักคุ้นเคย กันเรื่องวิญญาณ6
มีเผลอ เอามาเทียบกับจิต7 ทำให้รู้สึกว่า จิตมันต่างกับวิญญาณ อยู่นิดหน่อย
แต่ พอได้อ่านเรื่อง วิญญาณ7
ทำให้สรุปได้ อีกขั้นว่า จิต และวิญญาณขันธ์ ...............คืออันเดียวกันครับ :b8:

มีหลักฐานยืนยันชัดเจน ในพระไตรปิฏก

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2012, 03:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


นี้ซิของแท้ ทุกอย่างมันหลุดออกมาจาก ขันธ์5 ----> ปัญจุปาทานขันธ์----->อุปทาน

กลับไปอ่านในพุทธพจน์ใหม่ครับ

Quote Tipitaka:
ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป จุติ อุปบัติ
หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร ข้อนี้ไม่เป็น
ฐานะที่จะมีได้.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


อุปาทาน คือ อะไร
คือองค์ธรรม ที่อยู่ใน สังขารขันธ์

จากขันธ์5 (รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์)

ทั้งอุปาทาน ทั้งสติ ปัญญา กิเลสทั้งหลายทั้งปวง มันเป็นองค์ธรรม อยู่ในสังขารขันธ์ นั่นเอง

อุปาทาน มันทำงานอย่างไร

มันยึดมั่น ในรูป ยึดมั่นในเวทนา ยึดมั่นในสัญญา ยึดมั่นในสังขาร ยึดมั่นในวิญญาณ

พูดแบบนี้มันยาวไป พูดย่อๆ ก็คือ

การยึดมั่นในขันธ์5 (ปัญจุปาทานักขันธ์)

อ้างคำพูด:
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานนักขันธา ทุกขา ขันธ์ที่มีความยึดมั่นถือมั่นโดยอุปาทานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์


พระอรหันต์ ท่านละกิเลสได้แล้ว ตัวอุปทานที่จะเกิดในสังขารขันธ์ มันก็ไม่มี เหลือแต่สติ และปัญญา และองค์ธรรมอื่นที่ดีๆ

ขันธ์5 ท่านก็จัดเป็นขันธ์5 ที่บริสุทธิ์ เคยได้ยินมา ว่า วิสุทธิขันธ์

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2012, 04:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
อุปมาด้วยกงรถ

“ พระนาคเสนจึงขีดเป็นกงรถลงที่พื้นดินแล้วถามพระเจ้ามิลินท์ว่า ที่สุดแห่งกงรถนี้มีอยู่หรือไม่ ? ”
“ ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร สมเด็จพระธรรมสามิสรตรัสไว้ว่า “ กงจักรเหล่านี้ได้แก่ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ” ขอถวายพระพร จักขุวิญญาณ ย่อมเกิดพราะอาศัย จักขุ กับ รูป เมื่อสิ่งทั้ง ๓ นั้นรวมกันก็เป็น ผัสสะ ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา”
เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา
ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน
อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิด กรรม
จักขุ ก็เกิดจาก กรรม อีก ที่สุดแห่งการสืบต่ออันนี้มีอยู่หรือไม่ ? ”
“ ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ขอถวายพระพร โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยเสียงกับหู จมูกกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ มโนกับธรรมะ เมื่อสิ่งทั้ง ๓ รวมกันเข้าก็เป็น ผัสสะ แล้วทำให้เกิด เวทนา ตัณหา อุปทาน กรรม แล้ว โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เกิดจากกรรมนั้นอีก ที่สุดแห่งการสืบต่อนี้มีอยู่หรือไม่ ? ”
“ ไม่มี พระผู้เจ้าเป็นเจ้า ”
“ ข้อนี้ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ขอถวายพระพร ”
“ ชอบแล้ว พระนาคเสน ”


ผัสสะ ตัณหา อุปาทาน ภพ
ผัสสะ ตัณหา อุปาทาน ภพ

.......................................... ไม่ถึงชาติครับ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2012, 06:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
นี้ซิของแท้ ทุกอย่างมันหลุดออกมาจาก ขันธ์5 ----> ปัญจุปาทานขันธ์----->อุปทาน

กลับไปอ่านในพุทธพจน์ใหม่ครับ

Quote Tipitaka:
ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป จุติ อุปบัติ
หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร ข้อนี้ไม่เป็น
ฐานะที่จะมีได้.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


อุปาทาน คือ อะไร
คือองค์ธรรม ที่อยู่ใน สังขารขันธ์

จากขันธ์5 (รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์)

ทั้งอุปาทาน ทั้งสติ ปัญญา กิเลสทั้งหลายทั้งปวง มันเป็นองค์ธรรม อยู่ในสังขารขันธ์ นั่นเอง

อุปาทาน มันทำงานอย่างไร

มันยึดมั่น ในรูป ยึดมั่นในเวทนา ยึดมั่นในสัญญา ยึดมั่นในสังขาร ยึดมั่นในวิญญาณ

พูดแบบนี้มันยาวไป พูดย่อๆ ก็คือ

การยึดมั่นในขันธ์5 (ปัญจุปาทานักขันธ์)

อ้างคำพูด:
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานนักขันธา ทุกขา ขันธ์ที่มีความยึดมั่นถือมั่นโดยอุปาทานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์


พระอรหันต์ ท่านละกิเลสได้แล้ว ตัวอุปทานที่จะเกิดในสังขารขันธ์ มันก็ไม่มี เหลือแต่สติ และปัญญา และองค์ธรรมอื่นที่ดีๆ

ขันธ์5 ท่านก็จัดเป็นขันธ์5 ที่บริสุทธิ์ เคยได้ยินมา ว่า วิสุทธิขันธ์


เอามาให้พิจารณานะครับ

ขันธ์5+อวิชชาสัมผัส -->ปัญจุปาทานขันธ์
ปัญจุปาทานขันธ์+ตัณหา---> อุปทาน


“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
อุปาทานนั้นเองหรือ ชื่อว่า ปัญจุปาทานขันธ์เหล่านั้น ?
หรือว่าอุปทาน เป็นอื่นไปจาก ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลายเล่า ?

พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ! ตัวอุปาทานนั้น ไม่ใช่ตัวปัญจุปาทานขันธ์,
แต่อุปาทานนั้นก็มิได้มีในที่อื​่น นอกไปจาก ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ;
เพราะว่า ตัวฉันทราคะ ที่มีอยู่ในปัญจุปาทานขันธ์ นั่นแหละ
คือ ตัวอุปาทานในที่นี้แล.

- อุปริ. ม. ๑๔/๑๐๑/๑๒๑.

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2012, 06:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อด้วย

อายตนะยังไม่ทำหน้าที่
ปัญจุปาทานขันธ์ ก็ยังไม่เกิด๑


ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนอวกาศถูกแวดล้อมปิดกั้นไว้
แล้ว (ส่วนหนึ่ง) โดยอาศัยไม้ด้วย เถาวัลย์ด้วย ดินเหนียวด้วย หญ้าด้วย ย่อม
ถึงซึ่งการนับว่า "เรือน" ดังนี้ ฉันใด; ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! อวกาศถูก
แวดล้อมปิดกั้นไว้แล้ว (ส่วนหนึ่ง) โดยอาศัยกระดูกด้วย เอ็นด้วย เนื้อด้วย หนังด้วย
ยอมถึงซึ่งการนับว่า "รูป (กาย)" ดังนี้; ฉันนั้น.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! แม้หากว่า, จักษุ (ตา) อันเป็นอายตนะ
ภายใน เป็นของไม่แตกทำลาย, และรูปทั้งหลายอันเป็นอายตนะภายนอก ก็ยังไม่
มาสู่คลอง (แห่งจักษุ), ทั้งสมันนาหารจิต๒ อันเกิดจากอายตนะ ๒ อย่างนั้น ก็ไม่มี,
แล้วไซร้; ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณ อันเกิดจากอายตนะ ๒ อย่างนั้น
ก็ยังจะไม่มีก่อน.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! แม้หากว่า, จักษุอันเป็นอายตนะภายใน
เป็นของไม่แตกทำลาย, และรูปทั้งหลายอันเป็นอายตนะภายนอก ก็มาสู่คลอง
(แห่งจักษุ); แต่ว่าสมันนาหารจิต อันเกิดจากอายตนะ๒ อย่างนั้น ก็ไม่มี,
แล้วไซร้; ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณ อันเกิดจากอายตนะ ๒ อย่างนั้น
ก็ยังจะไม่มีอยู่นั่นเอง
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย!ก็แต่ว่า ในกาลใดแล จักษุอันเป็น
อายตนะภายในนั่นเทียว เป็นของไม่แตกทำลาย, และรูปทั้งหลายอันเป็นอายตนะ
ภายนอก ก็มาสู่คลอง (แห่งจักษุ); ทั้งสมันนาหารจิต อันเกิดจากอายตนะ๒ อย่าง
นั้ นี้ก็มีด้วย, แล้วไซร้; เมื่อเป็นดังนี้ ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณ อันเกิด
จากอายตนะ ๒ อย่างนั้น ย่อมมี ในกาลนั้น.

รูปใด (ที่เป็นของเกิดร่วม) แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้วอย่างนั้น,
รูปนั้น ย่อมถึงซึ่งการสังเคราะห์ในรูปูปาทานขันธ์; เวทนาใด (ที่เป็นของเกิดร่วม)
แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้วอย่างนั้น, เวทนานั้น ย่อมถึงซึ่งการสงเคราะห์ใน
เวทนูปาทานขันธ์; สัญญาใด (ที่เป็นของเกิดร่วม) แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้ว
อย่างนั้น, สัญญานั้น ย่อมถึงซึ่งการสงเคราะห์ในสัญญูปาทานขันธ์; สังขาร
ทั้งหลายเหล่าใด (ที่เป็นของเกิดร่วม) แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้วอย่างนั้น, สังขาร
ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งการสงเคราะห์ในสังขารูปาทานขันธ์; วิญญาณใด
(ที่เป็นของเกิดร่วม) แห่งสมันนาหารจิตอันเกิดแล้วอย่างนั้น, วิญญาณนั้น ย่อมถึง
ซึ่งการสงเคราะห์ใน วิญญาณูปาทานขันธ์.

มันมีต่ออีก แต่เอาแค่นี้ละกันนะครับ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2012, 06:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
อ้างคำพูด:
อุปมาด้วยกงรถ

“ พระนาคเสนจึงขีดเป็นกงรถลงที่พื้นดินแล้วถามพระเจ้ามิลินท์ว่า ที่สุดแห่งกงรถนี้มีอยู่หรือไม่ ? ”
“ ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร สมเด็จพระธรรมสามิสรตรัสไว้ว่า “ กงจักรเหล่านี้ได้แก่ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ” ขอถวายพระพร จักขุวิญญาณ ย่อมเกิดพราะอาศัย จักขุ กับ รูป เมื่อสิ่งทั้ง ๓ นั้นรวมกันก็เป็น ผัสสะ ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา”
เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา
ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน
อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิด กรรม
จักขุ ก็เกิดจาก กรรม อีก ที่สุดแห่งการสืบต่ออันนี้มีอยู่หรือไม่ ? ”
“ ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ขอถวายพระพร โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยเสียงกับหู จมูกกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ มโนกับธรรมะ เมื่อสิ่งทั้ง ๓ รวมกันเข้าก็เป็น ผัสสะ แล้วทำให้เกิด เวทนา ตัณหา อุปทาน กรรม แล้ว โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เกิดจากกรรมนั้นอีก ที่สุดแห่งการสืบต่อนี้มีอยู่หรือไม่ ? ”
“ ไม่มี พระผู้เจ้าเป็นเจ้า ”
“ ข้อนี้ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ขอถวายพระพร ”
“ ชอบแล้ว พระนาคเสน ”


ผัสสะ ตัณหา อุปาทาน ภพ
ผัสสะ ตัณหา อุปาทาน ภพ

.......................................... ไม่ถึงชาติครับ


ได้คำตอบมาแล้ว

ที่ท่าน วไลพร เคยถาม ตั้งแต่ หน้า11
walaiporn เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
1ส่วน เกิดชาติ จน เป็นชรามรณ ะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส-อุปายาสทั้งหลาย
อีก1ส่วน เกิดรูปนาม จน เป็นภพ
อีก1ส่วน เกิดอวิิชา จน เป็นวิญญาณ




คุณฝึกจิต อธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ไหม?



ตอนนี้ท่านเห็น ยังครับ มันเป็นความละเอียดลงไปเรื่อย ของจิต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2012, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
พึงทราบดังนี้:-


ขันธ์ - สภาพที่ถูกชรามรณะเคี้ยวกิน

(องค์ธรรม คือ ปรมัตถธรรม 3 ทั้งหมด รวมทั้งโลกุตตรด้วย)


อุปาทานขันธ์ - ขันธ์ทีถูกอุปาทานยึดได้

(องค์ธรรม คือ โลกียปรมัตถธรรม เว้นโลกุตตร)


ขันธุปาทาน - อุปาทานที่เข้าไปยึดขันธ์

(องค์ธรรม คือ โลภะเจตสิก ๑ เท่านั้น)

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2012, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
อ้างคำพูด:
อุปมาด้วยกงรถ

“ พระนาคเสนจึงขีดเป็นกงรถลงที่พื้นดินแล้วถามพระเจ้ามิลินท์ว่า ที่สุดแห่งกงรถนี้มีอยู่หรือไม่ ? ”
“ ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร สมเด็จพระธรรมสามิสรตรัสไว้ว่า “ กงจักรเหล่านี้ได้แก่ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ” ขอถวายพระพร จักขุวิญญาณ ย่อมเกิดพราะอาศัย จักขุ กับ รูป เมื่อสิ่งทั้ง ๓ นั้นรวมกันก็เป็น ผัสสะ ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา”
เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา
ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน
อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิด กรรม
จักขุ ก็เกิดจาก กรรม อีก ที่สุดแห่งการสืบต่ออันนี้มีอยู่หรือไม่ ? ”
“ ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ขอถวายพระพร โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยเสียงกับหู จมูกกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ มโนกับธรรมะ เมื่อสิ่งทั้ง ๓ รวมกันเข้าก็เป็น ผัสสะ แล้วทำให้เกิด เวทนา ตัณหา อุปทาน กรรม แล้ว โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เกิดจากกรรมนั้นอีก ที่สุดแห่งการสืบต่อนี้มีอยู่หรือไม่ ? ”
“ ไม่มี พระผู้เจ้าเป็นเจ้า ”
“ ข้อนี้ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ขอถวายพระพร ”
“ ชอบแล้ว พระนาคเสน ”


ผัสสะ ตัณหา อุปาทาน ภพ
ผัสสะ ตัณหา อุปาทาน ภพ

.......................................... ไม่ถึงชาติครับ




เมื่อพูดถึงเหตุ ต้องพูดถึงผล


ผัสสะ ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ

เมื่อพูดถึงกรรม ย่อมรู้ถึง วิบากกรรม โดยไม่จำเป็นต้องกล่าวถึง หมายถึง เหตุที่กระทำและผลที่ได้รับ ไม่ใช่พูดแค่เหตุอย่างเดียว แต่ปฏิเสธผล

ภพ(เหตุ ได้แก่ มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม) เป็นเหตุปัจจัย ให้ชาติ(ผล คือ ชรา ความเสื่อม ได้แก่ โลกธรรม ๘ ไม่ได้หมายถึง ความแก่ชราเพียงอย่างเดียว

ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาผสมก็คือ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส พ่วงเข้ามาด้วยความรู้สึกคับแค้น ขัดข้อง ขุ่นมัว แห้งผากในใจ หดหู่ ซึมเซา กระวนกระวาย ไม่สมหวัง และทุกขเวทนาต่าง ๆ

โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสฯ ภาษาชาวบ้าน เรียก สุข/ทุกข์) จนกว่าจะมรณะ


มรณะ จึงถูกแยกออก เพราะเหตุนี้ เมื่อพูดถึงภพชาติปัจจุบัน(ปัจจุบัน ขณะๆ) ได้แก่ เหตุที่กระทำ และผลที่ได้ ที่มีผัสสะ เป็นเหตุปัจจัยอยู่


เมื่อพูดถึง วัฏฏสงสาร จะกล่าวเป็นวงกลม

เมื่อถึง ภพชาติปัจจุบัน จะกล่าวเพียง ผัสสะ ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ที่เกิดจากผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย แต่ละขณะๆๆๆๆๆ จนกว่าจะมรณะ



ผัสสะ


ก็คำนี้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา เรากล่าวอธิบาย ดังต่อไปนี้

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เรา ได้กล่าวไว้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา

ดูกรอานนท์ ก็ถ้าผัสสะมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือจักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เมื่อไม่มีผัสสะโดยประการทั้งปวง เพราะ ดับผัสสะเสียได้เวทนาจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งเวทนา ก็คือ ผัสสะนั่นเอง ฯ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 455&Z=1887

ผัสสะ (Contact) คือ การเชื่อมต่อความรู้กับโลกภายนอก การรับรู้อารมณ์หรือประสบการณ์ต่าง ๆ อีกนัยหนึ่ง ผัสสะ คือการกระทบกันระหว่างอายตนะภายใน 6 กับอายตนะภายนอก 6 ซึ่งจับคู่กัน คือ ตา - รูป หู - เสียง จมูก - กลิ่น ลิ้น - รส กาย - โผฏฐัพพะ ใจ - ธัมมารมณ์

ในพระบาลี พระพุทธพจน์แสดงไว้ว่า "ฉยิเม ภิกฺขเว ผสฺสกายา จกฺขุสมฺผสฺโส โสตสมฺผสฺโส ฆานสมฺผสฺโส ชิวฺหาสมฺผสฺโส กายสมฺผสฺโส มโนสมฺผสฺโส"

แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสะ 6 ประการเหล่านี้

คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี่คือผัสสะ 6 ตามชื่อแห่งทวาร การกระทบกันระหว่างอายนตะภายใน 6 กับอายตนะภายนอก 6 นั้น สิ่งแรกที่เกิดขึ้นก็คือวิญญาณ เช่น ตา กระทบ รูป ก็รู้ว่าเป็นรูป เป็นต้น



พุทธพจน์

"ดูก่อนผู้มีอายุ จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยตาและรูป เพราะการประชุมกันของธรรม 3 อย่าง (คือ ตา + รูป + วิญญาณ) จึงเกิดผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา บุคคลเสวยเวทนาอันใด ก็จำจากเวทนาอันนั้น บุคคลจำเวทนาอันใด ก็ตรึงถึงเวทนาอันนั้น บุคคลตรึกถึงเวทนาอันใด ก็จินตนาการสร้างมโนภาพจากเวทนาอันนั้น บุคคลจินตนาการสร้างมโนภาพจากเวทนาอันใด ความคิดเกี่ยวกับมโนภาพอันนั้นก็จะครอบงำบุคคลนั้น ในเรื่องของรูปทั้งหลาย ที่จะพึงรู้ด้วยตา เป็นอดีตก็ดี เป็นอนาคตก็ดี เป็นปัจจุบันก็ดี.........."



เวทนา


ก็คำนี้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เรากล่าวอธิบายไว้ ดังต่อไปนี้

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เรา ได้กล่าวไว้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา

ดูกรอานนท์ ก็ถ้าเวทนามิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ เวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัส
โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะเวทนาดับไป ตัณหาจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งตัณหา ก็คือ เวทนานั่นเอง ฯ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 455&Z=1887



เวทนา (Feeling) คือความรู้สึก หรือการเสวยอารมณ์ เวทนาเกิดจากจักขุสัมผัส โสตสัมผัสฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เรียกว่า "เวทนา 6"

เวทนาหากแบ่งตามลักษณะจะแบบ่งได้ 3 คือ สุข ทุกข์ และอทุกขมสุข หรือแบ่งเป็น 5 คือ สุข (ทางกาย) ทุกข์ (ทางกาย) โสมนัส (ทางใจ) โทมนัส (ทางใจ) และอุเบกขา



ตัณหา


ก็คำนี้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เรากล่าวอธิบายดัง ต่อไปนี้-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน

ดูกรอานนท์ ก็ถ้าตัณหามิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา
รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา เมื่อตัณหาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ ตัณหาดับไป อุปาทานจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งอุปาทาน ก็คือ ตัณหานั่นเอง ฯ


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 455&Z=1887


ตัณหา (Craving) คือความอยาก ความต้องการ ความยินดี ความพอใจในอารมณ์ต่าง ๆ ตามพระบาลี ท่านแสดงตัณหาไว้ คือ รูปตัณหา (ตัณหาในรูป) สัททตัณหา (ตัณหาในเสียง) คันธตัณหา (ตัณหาในกลิ่น) รสตัณหา (ตัณหาในรส) โผฏฐัพพตัณหา (ตัณหาในสัมผัสทางกาย และธัมมตัณหา (ตัณหาในธรรมารมณ์) เรียกว่า "ตัณหา 6"

ตัณหานี้ ถ้าแบ่งตามอาการแบ่งได้ 3 คือ

8.1 กามตัณหา คือความทะยานอยากในสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้ง 5

8.2 ภวตัณหา คือความอยากให้คงอยู่ชั่วนิรันดร หรือความอยากมี อยากเป็น

8.3 วิภวตัณหา คือความอยากให้ดับสูญ หรือความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น

อีกนัยหนึ่ง ท่านอธิบายตัณหา 3 ไว้อีกแบบหนึ่ง คือ (1) กามตัณหา คือ ความอยากด้วยความยินดีในกาม (2) ภวตัณหา คือความอยากอย่างมีสัสสตทิฏฐิ และ (3) วิภวตัณหา คือความอยากอย่างมีอุจเฉททิฏฐิ



อุปทาน

ก็คำนี้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ เรากล่าวอธิบายดัง ต่อไปนี้

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ

ดูกรอานนท์ ก็ถ้าอุปาทานมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน
สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน เมื่ออุปาทานไม่มี โดยประการทั้งปวง เพราะอุปาทานดับไป ภพจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งภพ ก็คืออุปาทานนั่นเอง ฯ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 455&Z=1887



อุปาทาน (Attachment, Clinging) คืออาการที่จิตเข้าไปยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้ ความยึดติดหรือเกาะติดในเวทนาที่ชอบและเกลียดชัง รั้งเอาสิ่งต่าง ๆ และภาวะที่ชีวิต อำนวยเวทนานั้นเข้ามาผูกพันกับตัว การตีค่ายึดถือความสำคัญของภาวะและสิ่งต่างๆ ในแนวทางที่เสริมหรือสนองตอบตัณหาของตน

ในพระบาลี มีพุทธพจน์แสดงอุปาทานไว้ว่า

"จตฺตาริมานิ ภิกฺขเว อุปาทานานิ กามุปา-ทานํ ทิฏฺฐุปาทานํ สีลพฺพตุปาทานํ อตฺตวาทุปาทานนฺติ"

แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน 4 เหล่านี้คือ

กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสต่าง ๆ)

ทิฏฐุปาทาน (คามยึดมั่นในทิฐิ ได้แก่ ความเห็นหรือทัศนะ ลัทธิ ทฤษฏีต่าง ๆ)

สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลพรตว่าทำให้คนบริสุทธิ์)

อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในอัตตา การสร้างตัวขึ้นมายึดถือด้วยความหลงผิด)



ภพ


ก็คำนี้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบข้อความนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ

ดูกรอานนท์ ก็ถ้าภพมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เมื่อภพไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะภพดับไป ชาติจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งชาติ ก็คือภพนั่นเอง ฯ


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 455&Z=1887


ภพ (Process of becoming) คือ ความมี ความเป็น (รูปศัพท์เดิม คือ ภวะ เมื่อมาเป็นภาษาไทย แปลง วะ เป็น พะ จึงสำเร็จรูปเป็นภพ) ภพแบ่งได้ 3 คือ

10.1 กามภพ สัตว์ที่ยินดียึดถืออยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส (ทางกาย) ก็มีกามภพอยู่ในใจ

10.2 รูปภพ เมื่อสัตว์ยึดถือรูปเป็นนิมิต ก็เป็นรูปภพอยู่ในจิตใจ

10.3 อรูปภาพ เมื่อสัตว์ยึดถืออรูป (อรูปฌาน) ก็เป็นอรูปภพอยู่ในจิตใจ

อีกนัยหนึ่ง ภพ แบ่งออกได้ 2 คือ

10.1 กรรมภพ คือ กระบวนการพฤติกรรมทั้งหมดที่แสดงออกเพื่อสนองตัณหาอุปาทาน

10.2 อุปัตติภพ คือภาวะแห่งชีวิตสำหรับตัวตนหรือตัวตนที่จะมี จะเป็นไปในรูปใดรูปหนึ่ง โดยสอดคล้องกับอุปาทานและกระบวนการพฤติกรรมนั้น




ชาติ

ชาติ (Birth) คือการเกิด การปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้อายตนะเฉพาะการก้าวลงหรือการเป็นไปพร้อมขึ้นมาในหมู่สัตว์นิกาย

อีกนัยหนึ่ง ชาติ หมายถึง ความตระหนักในตัวตนว่า อยู่หรือไม่ได้อยู่ในภาวะชีวิตนั้น ๆ มีหรือไม่ได้มี เป็นหรือไม่ได้เป็นอย่างนั้น ๆ

ชาติ ที่หมายถึง การเกิด มีความหมายกว้าง มิได้หมายเอาเฉพาะการปรากฏของสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น เป็นคน เป็นสัตว์ ผู้ชาย ผู้หญิง เป็นต้น

แต่หมายรวมไปถึงการเกิดหรือการปรากฏของสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ชื่อเสียงเกียรติยศ สรรเสริญ นินทา เป็นต้นด้วย



มรณะ


"มรณะ" คือ ความสลายแห่งขันธ์ ความขาดชีวิตินทรีย์

เมื่อนำคำทั้งสองมาต่อกันเป็น "ชรามรณะ" คือ ความเสื่อมกับความสลายแห่งธรรมต่าง ๆ เหล่านั้น ๆ

สำหรับชรามรณะนี้ก็มิได้หมายเอาเพียงความเสื่อมกับความสลายของสิ่งที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น แต่รวมไปถึงสิ่งทั้งปวงที่เป็นนามธรรมด้วย.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 15 ส.ค. 2012, 11:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2012, 11:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ดีแล้วๆ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 261 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17, 18  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร