วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 00:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 70 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2012, 17:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b27:
บทสวดธรรมคุณ 6 ประการนั้น เป็นสุดยอดแห่งคำสรุป เพราะได้เนื้อหา สาระ แก่นธรรมไว้ในตัวหนังสือ 6 แถวนั้นโดยครบถ้วนสมบูรณ์

สำคัญอยู่แต่เพียงว่าใครจะสามารถตีความตามพยัญชนะและอรรถะของบาลีทั้ง 6 บันทัดนั้นได้อย่างถูกต้องตรงประเด็นของสภาวธรรมที่ท่านผู้สรุปมีเจตจำนงจะสื่อสภาวะออกมาให้ผู้อ่าน ผู้ฟัง ได้รู้ได้เข้าใจ

กระทู้นี้จึงอยากจะเชิญชวนท่านผู้รู้ทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติ มาสนทนา วิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ สู่กันฟังเพื่อเป็นธรรมทัศนะ และ เป็นข้อมูลเพื่อพัฒนาสติปัญญา สัญญา ความรู้ความจำทางธรรมให้แม่นยำ ตรงทาง เข้าถึงแก่นแท้ได้ถูกต้อง รวดเร็วที่สุด



.............................ธัมมาภิคีติง
............................(ธรรมคุณ ๖ ประการ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้วนั้น.
(คืออะไร)


สันทิฏฐิโก,เป็นสิ่งที่ ผู้มีความเห็นถูกต้อง จึงจักรู้ได้ด้วยตนเอง;

อะกาลิโก,เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล;( เวลา, สถานที่, บุคคล, เชื้อชาติ,เผ่าพันธุ์,วรรณะ,ศาสนา,ระดับการศึกษา,เพศ,วัย,การแต่งกาย)

เอหิปัสสิโก,เป็นสิ่งที่เรียกร้องให้เราเข้าไปดูอยู่เสมอ;

โอปะนะยิโก, ความเห็นธรรมนั้น เป็นสิ่งที่ควรน้อมให้เกิดขึ้นในตัวยิ่ง ๆ ขึ้นไป
(แล้วจะส่งให้ถึงความสงบเย็น คือ มรรค - ผล - นิพพาน)


ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ. เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้


บททบาลีของธรรมคุณ 6 ประการคงจะมิใช่พุทธดำรัส น่าจะเป็นการสรุปโดย พระอรหันตเจ้าที่ประกอบด้วยปฏิสัมภิทา ปัญญาละเอียดอ่อนลึกซึ้งเจนจบธรรม ท่านได้กรุณารจนาขึ้นมา

ส่วนการแปลออกมาเป็นภาษาไทยนั้น ได้ถูกแปลออกมาเป็นหลายสำนวน สำนวนที่นิยมที่สุดก็คือสำนวนของสวนโมกข์ของท่านพุทธทาส

อีกสำนวนหนึ่งที่ใช้กันอยู่ก็คือสำนวนของคณะสงฆ์ธรรมยุตจัดแปลขึ้นมาซึ่งจะมีคำแปลที่แตกต่างออกไปบ้าง

อาจจะมีคำแปลตามสำนวนอื่นอีกที่อโศกะยังไม่ได้อ่าน

ซึ่งในเรื่องนี้เราจะได้ความรู้อีกอย่างหนึ่งว่า การแปลธรรมจากบาลีนั้น อาจจะมีความคลาดเคลื่อนไปจากสภาวธรรมจริงๆได้ เพราะสำนวนการแปล การตีความ และประสบการณ์ธรรมของท่านผู้แปล อันเป็นหน้าที่ของผู้อ่านผู้ศึกษาจะได้นำมาวิจารณ์ วิจัยเอาเองเพื่อให้ได้อรรถะและสาระธรรมที่ถูกต้องตามธรรมแล้วนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงๆ

บทสวดธรรมคุณ 6 ประการที่ยกมาเบื้องต้นนี้คือคำแปลบทสวดธรรมคุณ สำนวนใหม่ อีกสำนวนหนึ่ง ซึ่ง ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีใครได้พบเห็น แต่คำแปลสำนวนนี้เป็นการแปลตามอรรถะ ซึ่งตรงและสอดคล้องกับสภาวธรรมที่เกิดหรือควรจะเกิดจริงๆ เปี่ยมไปด้วยเหตุและผลตามธรรม เรียนเชิญท่านผู้รู้และผู้อยากรู้ทั้งหลาย มาวิตกวิจารณ์สู่กันฟัง เป็นเงื่อนไขและประเด็นของกระทู้นี้

:b37:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2012, 20:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

บทสวดธรรมคุณ 6 ประการ แปล สำนวนสวนโมกข์

พระธรรมคุณ

สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
...พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว ;
สันทิฏฐิโก
...เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง ;
อะกาลิโก
...เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล ;
เอหิปัสสิโก
...เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด ;
โอปะนะยิโก
...เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว ;
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติฯ *
...เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน

:b8:
ลองนำแต่ละบันทัดไปลองเปรียบเทียบกับการแปลของสำนวนที่ 1 ดูนะครับว่ามีความแตกต่างในสาระของแต่ละข้ออย่างไรบ้าง
tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2012, 00:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2012, 23:11
โพสต์: 3


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอลองสำนวนผมเองมั่งดูนะครับ อย่าเรียกว่าแปลเลย เรียกว่า "อธิบายให้ง่ายขึ้น" ดีกว่า


ผมมักจะเรียกบทนี้ว่า "คุณสมบัติของธรรมะของพระพุทธเจ้า"
อะไรเป็นธรรมะ ไม่เป็นธรรมะ ตัดสินกันได้ด้วยบทธรรมคุณนี้


1. สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
...เป็นสวากขตธรรม คือเป็นเรื่องจริง ไม่มีทางเป็นเท็จอีก
และต้องเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เท่านั้น (เฉพาะใบไม้ในกำมือ)
เรื่องนอกนี้ แม้จะเป็นธรรมะ แต่ถ้าพระพุทธเจ้าไม่สั่งสอน ไม่พูดถึง ก็ไม่นับเป็นธรรมะ(ในแบบพุทธศาสนา)


2. สันทิฏฐิโก
... ธรรมะนั้น สามารถเข้าใจได้ด้วยตนเอง พิสูจน์ได้ด้วยตนเอง เห็นจริงเห็นเท็จได้ด้วยตนเอง

3. อะกาลิโก
... ธรรมะนั้น เป็นจริงอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้น ไม่ผันแปรไปตามกาลเวลา สถานที่ ไม่ว่าเป็นคนสัตว์สิ่งของ ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนในโลกนี้ หรือจักรวาลนี้ เช่นคำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สามคำนี้เป็นจริงในทุกประเทศ ในทุกจักรวาล ในทุกเวลา


4. เอหิปัสสิโก
... ธรรมนั้น ไม่หวั่นเกรงต่อการพิสูจน์ เป็นสิ่งเปิดเผย ท้าทายให้เข้ามาดู เข้ามาฟัง เข้ามาพิสูจน์ ไม่มีสภาพบังคับ ไม่มีสภาพปกปิดลงโทษ


5. โอปะนะยิโก

... ธรรมะนั้น มีสภาพน้อมกลับเข้ามาในตน ไม่ว่าจะเป็นธรรมะข้อไหน ท้ายสุดแล้วก็แตกออกจากจิต ไม่ว่าจะศึกษาอย่างไร มันก็จะพาย้อนกลับมาที่จิต จึงมีสภาพน้อมกลับเข้ามา


6. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติฯ *
... ในพุทธศาสนา เราแบ่งบุคคลเป็นบัว 4 เหล่า
สามเหล่าบน เราเรียกว่าเป็นวิญญูชน ส่วนเหล่าล่างสุด พระพุทธเจ้าท่านจะทรงเพิกเฉย ไม่ตรัสสอนอะไร เพราะเกินวิสัย
บทนี้จึงหมายความว่า "ถ้ายังอยู่ในวิสัยจะเรียนรู้ได้ จะสามารถเรียนรู้ได้"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2012, 02:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2012, 07:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


ChaartSiam เขียน:
ขอลองสำนวนผมเองมั่งดูนะครับ อย่าเรียกว่าแปลเลย เรียกว่า "อธิบายให้ง่ายขึ้น" ดีกว่า


ผมมักจะเรียกบทนี้ว่า "คุณสมบัติของธรรมะของพระพุทธเจ้า"
อะไรเป็นธรรมะ ไม่เป็นธรรมะ ตัดสินกันได้ด้วยบทธรรมคุณนี้


1. สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
...เป็นสวากขตธรรม คือเป็นเรื่องจริง ไม่มีทางเป็นเท็จอีก
และต้องเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เท่านั้น (เฉพาะใบไม้ในกำมือ)
เรื่องนอกนี้ แม้จะเป็นธรรมะ แต่ถ้าพระพุทธเจ้าไม่สั่งสอน ไม่พูดถึง ก็ไม่นับเป็นธรรมะ(ในแบบพุทธศาสนา)


2. สันทิฏฐิโก
... ธรรมะนั้น สามารถเข้าใจได้ด้วยตนเอง พิสูจน์ได้ด้วยตนเอง เห็นจริงเห็นเท็จได้ด้วยตนเอง

3. อะกาลิโก
... ธรรมะนั้น เป็นจริงอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้น ไม่ผันแปรไปตามกาลเวลา สถานที่ ไม่ว่าเป็นคนสัตว์สิ่งของ ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนในโลกนี้ หรือจักรวาลนี้ เช่นคำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สามคำนี้เป็นจริงในทุกประเทศ ในทุกจักรวาล ในทุกเวลา


4. เอหิปัสสิโก
... ธรรมนั้น ไม่หวั่นเกรงต่อการพิสูจน์ เป็นสิ่งเปิดเผย ท้าทายให้เข้ามาดู เข้ามาฟัง เข้ามาพิสูจน์ ไม่มีสภาพบังคับ ไม่มีสภาพปกปิดลงโทษ


5. โอปะนะยิโก

... ธรรมะนั้น มีสภาพน้อมกลับเข้ามาในตน ไม่ว่าจะเป็นธรรมะข้อไหน ท้ายสุดแล้วก็แตกออกจากจิต ไม่ว่าจะศึกษาอย่างไร มันก็จะพาย้อนกลับมาที่จิต จึงมีสภาพน้อมกลับเข้ามา


6. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติฯ *
... ในพุทธศาสนา เราแบ่งบุคคลเป็นบัว 4 เหล่า
สามเหล่าบน เราเรียกว่าเป็นวิญญูชน ส่วนเหล่าล่างสุด พระพุทธเจ้าท่านจะทรงเพิกเฉย ไม่ตรัสสอนอะไร เพราะเกินวิสัย
บทนี้จึงหมายความว่า "ถ้ายังอยู่ในวิสัยจะเรียนรู้ได้ จะสามารถเรียนรู้ได้"


:b8:
:b27:
สาธุ อนุโมทนาด้วยความจริงใจ กับคุณ ชาติสยาม ครับ
:b27:
แต่โปรดติดตามสังเกตต่อไปอีกสักนิดนะครับ มันมีความลับที่แตกต่างอยู่ในคำแปลหรือความหมายของธรรมคุณ ข้อที่ 2...3...4...5 ซึ่งจะนำมาแจกแจงวิเคราะห์สู่กันฟังต่อไปนะครับ
:b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2012, 06:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b4:
สวากขาโต.......เป็นสวากขตธรรม คือเป็นเรื่องจริง ไม่มีทางเป็นเท็จอีก(ขอยืมคุณชาติสยามมาใช้เลยนะครับ)
ภัคคะวตา ธัมโม......เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว (คือ อริยสัจ 4 มรรค 8 อนัตตา เป็นต้น)

สันทิฏฐิ โก......คำนี้สำคัญมาก สำนวนสวนโมกข์แปลความว่า.....เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง

แต่ในคำแปลสำนวนใหม่แปลสันทิฏฐิโกว่า......เป็นสิ่งที่ผู้มีความเห็นถูกต้องจักรู้ได้ด้วยตนเอง.....
มีอรรถาธิบายว่า.....สัน = ทำให้ตรงให้ถูกต้อง.....ทิฏฐิ = ความเห็น.....โก .....เป็นคำย้ำให้ชัด

ความเห็นถูกต้องในที่นี้หมายถึงความเห็น "อนัตตา" นั่นเลยทีเดียว ผู้ใดเห็นซึ้งถึง "อนัตตา" ผู้นั้นก็เห็นธรรม ดังคำสรุปของพุทธองค์ว่า "สัพเพธัมมา อนัตตา".....ธรรม ทั้งหมดทั้งปวงเป็น "อนัตตา"

นี่คือคำแปลโดยอรรถและตามสภาวธรรมที่ควรเป็น เป็นเรื่องของธรรมคุณข้อที่ 1

:b8: :b27: :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 07:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


onion
วันนี้เราจะเริ่มการแปลความหมายของธรรมคุณ 6 ประการเปรียบเทียบกันระหว่างสำนวนใหม่ กับสำนวนยอดนิยมของสวนโมกข์นะครับ โปรดสังเกตและพิจารณาดูให้ดีและละเอียดถี่ถ้วน จึงจะรู้และเห็นถึงนัยยะสำคัญของคำแปลและความหมายที่แท้จริงตามธรรม

สวากขาโต.......เป็นสวากขตธรรม คือ ดี ถูกต้อง เป็นเรื่องจริง ไม่มีทางเป็นเท็จอีก

ภัคคะวตา ธัมโม......เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว (คือ อริยสัจ 4 มรรค 8 อนัตตา เป็นต้น)

สันทิฏฐิ โก......คำนี้สำคัญมาก สำนวนสวนโมกข์แปลความว่า.....เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง

แต่ในคำแปลสำนวนใหม่แปลสันทิฏฐิโกว่า......เป็นสิ่งที่ผู้มีความเห็นถูกต้องจักรู้ได้ด้วยตนเอง.....

มีอรรถาธิบายว่า.....สัน = ทำให้ตรงให้ถูกต้อง.....ทิฏฐิ = ความเห็น.....โก .....เป็นคำย้ำให้ชัด

ความเห็นถูกต้องในที่นี้หมายถึงความเห็น "อนัตตา" นั่นเลยทีเดียว ผู้ใดเห็นซึ้งถึง "อนัตตา" ผู้นั้นก็เห็นธรรม ดังคำสรุปของพุทธองค์ว่า "สัพเพธัมมา อนัตตา".....ธรรม ทั้งหมดทั้งปวงเป็น "อนัตตา"

นี่คือคำแปลโดยอรรถและตามสภาวธรรมที่ควรเป็น เป็นเรื่องของธรรมคุณข้อที่ 1 และ 2
:b48:
เมื่อได้เห็นคำแปล และคำอธิบายธรรมคุณ ข้อที่ 1 และ 2 ที่ยกมาแล้ว บางท่านอาจจะอยากจะให้แปลความให้จบเร็วๆทั้ง 6 บันทัด แต่ต้องขออภัยว่า เรายังมีรายละเอียดและสิ่งสำคัญที่จะต้องสนทนากันเพิ่มเติมอีกหน่อยก่อนเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งธรรมคุณข้อที่ 2

จากความหมายของการแปลธรรมนั้น สิ่งสำคัญคือการนำไปสู่การปฏิบัติจริง ความหมายของการแปล จะเป็นการชี้แนวการปฏิบัติไปในตัวซึ่งจะบอกถึง กรรม หรือพฤติกรรมที่ผู้เข้าใจคำแปลนั้นจะนำไปลงมือกระทำ ดังนั้นเราลองมาพิจารณาคำแปลแต่ละสำนวนว่าจะชี้นำไปสู่พฤติกรรมเช่นไร?

สำนวนสวนโมกข์
สันทิฏฐิ โก......คำนี้สำคัญมาก สำนวนสวนโมกข์แปลความว่า.....เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง

พฤติกรรมหรือการกระทำที่พึงจะเกิดจากความหมายนี้ก็คือ

ต้องศึกษาและลงมือปฏิบัติตามข้อธรรมที่ศึกษา จนมีประสบการณ์จริงในธรรม รู้ชัดขึ้นมาในในใจของตนเอง


สำนวนใหม่
สำนวนใหม่แปลสันทิฏฐิโกว่า......เป็นสิ่งที่ผู้มีความเห็นถูกต้องจักรู้ได้ด้วยตนเอง

พฤติกรรมหรือการกระทำที่พึงจะเกิดจากความหมายนี้ก็คือ

ผู้เข้าใจความหมายของคำแปลข้อนี้ต้องลงมือปฏิบัติให้เกิดความเห็นถูกต้อง คือเห็นชัด อนัตตา ขึ้นมาในใจของเจ้าของ การปฏิบัติเพื่อให้เห็นชัดอนัตตานั้นจะต้องทำอย่างไร? ผู้ปฏิบัติย่อมจะต้องไปขวันขวายศึกษาค้นหาวิธีการและคำตอบด้วยตนเอง แต่เป้าประเด็นนั้นชี้ชัดลงไปเป็นหนึ่งเดียวว่าต้องเห็นชัด อนัตตา


ท่านทั้งหลายลองโปรดพิจารณากันดูซิว่า คำแปลทั้ง 2 สำนวนนี้จะนำไปสู่พฤติกรรมที่ชัดเจนเยี่ยงใด ถ้าเป็นท่านฟังคำแปลแต่ละสำนวนนี้แล้วท่านจะปฏิบัติอย่างไร?

เชิญวิพากษ์วิจารณ์กันได้ก่อน ที่เราจะไปแปลและอธิบายความธรรมคุณ ข้อที่ 3 - 4 - 5 ซึ่งยิ่งจะมีนัยยะที่แปลกแตกต่างกว่าที่เราทั้งหลายเคยรู้และเข้าใจเป็นอย่างมาก

:b45:
:b11:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2012, 07:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
ต้องขออภัยท่านผู้ติดตามอ่านทุกท่าน ที่ผมข้ามการอธิบายความหมายโดยละเอียดของธรรมคุณข้อที่ 1

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้วนั้น.
(คืออะไร?)

ธรรมคุณข้อที่ 1 มีที่ต้องสนใจอยู่ 3 คำคือ

1.สวากขาโต......นี่เป็นองค์คุณของธรรมข้อที่ 1 คือ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ตรง ดี ชอบ เป็นสัจจะ ความจริง ที่ไม่แปรเปลี่ยน

2.ภะคะวะตา ธัมโม.....เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงเลือกสรรมาดีแล้วเพื่อจะสอนแก่สัตว์โลก

3.(คืออะไร?)......ธรรมคุณบันทัดแรกหรือข้อที่ 1 นี้ อีกนัยยะหนึ่งก็เหมือนจะให้ ผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติตั้งคำถามให้กับตนเองเพื่อจะได้ค้นหาคำตอบให้พบซึ่้งเหมือนกับถามว่า

ธัมมะ ๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั้น คืออะไร? หรือ ธัมมะ ที่เราว่านี้ คืออะไร?มีวงแคบจำกัดไว้ว่า "ธัมมะที่ที่พระพุทธองค์ทรงคัดเลือกมาสอนนี้คืออะไร? ไม่กว้างครอบคลุมไปถึงธัมมะทั้งหมดของจักรวาลอันดุจใบไม้ในป่า

เมื่อเราถามตัวเองว่า"ธัมมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนคืออะไร?ในข้อแรก

คำตอบก็จึงมีอยู่ทันทีในธรรมคุณข้อที่ 2 ดังที่แปลความหมายไว้ว่า

สันทิฏฐิโก......เป็นสิ่งที่ผู้มีความเห็นถูกต้องจักรู้ได้ด้วยตนเอง

มีอรรถาธิบายว่า.....สัน = ทำให้ตรงให้ถูกต้อง.....ทิฏฐิ = ความเห็น.....โก .....เป็นคำย้ำให้ชัด

ความเห็นถูกต้องในที่นี้หมายถึงความเห็น "อนัตตา" นั่นเลยทีเดียว ผู้ใดเห็นซึ้งถึง "อนัตตา" ผู้นั้นก็เห็นธรรม ดังคำสรุปของพุทธองค์ว่า "สัพเพธัมมา อนัตตา".....ธรรม ทั้งหมดทั้งปวงเป็น "อนัตตา"

คำแปลว่า "ทำความเห็นให้ตรง(ทิฏฐุชุกรรม)ทำความเห็นให้ถูกต้อง(สัมมาทิฏฐิ)นี้กินความรวมไปทั้งหมดอย่างลึกซึ้ง และเจาะจงตรงประเด็นของคำตอบของคำว่าธรรม(ที่พระพุทธเจ้าทรงสอน)ไม่มีทางที่จะดิ้นไปสงสัยหรือออกนอกทางไปที่อื่นเลย
เพราะไม่คลุมเครือเปิดกว้างอย่างคำแปลว่า

"เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง"ซึ่้งจะต้องมีคำถามตามมาอีกว่า

ศึกษาเรื่องอะไร?

ปฏิบัติอย่างไร?

ถ้าเปรียบเทียบกับที่ว่า

ทำความเห็นให้ตรงและถูกต้องนั้น ทำอย่างไร?

ตัวชี้ที่จะนำไปสู่พฤติกรรมนั้น ต่างกัน กระชับ แม่นยำ ตรงเป้าหมาย มาก น้อย ต่างกัน
ลองพิจารณากันดูนะครับ

เจริญธรรมกันทุกๆคนครับ
tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2012, 18:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
ธรรมคุณข้อที่ 3 อะกาลิโก

สำนวนสวนโมกข์แปลว่า.......เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล

สำนวนใหม่แปลว่า.......เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล (เวลา สถานที่ บุคคล เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ วรรณะ ศาสนา
...................ระดับการศึกษา เพศ วัย การแต่งกาย)


การปฏิบัติและการให้ผลของการปฏิบัติธรรม เป็นสัจจะ เป็นปรมัตถะ ไม่ขึ้นกับสิ่งใดๆ ไม่เฉพาะแค่กาล ยังไม่ขึ้นกับสิ่งต่างๆดังที่กล่าวไว้เพิ่มเติมในวงเล็บด้วย

ธรรมคุณข้อที่ 4 เอหิปัสสิโก

สำนวนสวนโมกข์แปลว่า.......เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด

สำนวนใหม่แปลว่า.......เป็นสิ่งที่เรียกร้องให้เราเข้าไปดูอยู่เสมอ

เอหิ....ฉัน *****ปัสสิ......ดู******โก......เป็นคำย้ำ******ดูฉัน ๆ*******มาดูฉันสิ



ธรรมะนั้นเป็นสิ่งที่เกิดและเรียกร้องให้เราเข้าไปดูอยู่เสมอ พิสูจน์ได้ด้วยการลองนั่งหลับตาตั้งใจว่าจะอยู่เฉยๆ เราจะเห็นได้ว่ามันจะเฉยไม่ได้ ทุกเวลานาที จะมีผัสสะของทวารทั้ง 6 และสภาวธรรมต่างๆเกิดขึ้น เปลี่ยนแปลงไป ดึงจิตดึงใจให้เข้าไปรู้อยู่ตลอดเวลา เหมือนกับสภาวธรรมเหล่านั้นจะคอยเรียกว่า "มาดูฉันซิ ๆ ๆ" หากผู้ใดเอาสติ ปัญญา ไปกำหนดดู กำหนดรู้ธรรมที่เรียกให้ไปดูให้ทันกับปัจจุบันอารมณ์ นั่นจะเรียกว่าการปฏิบัติธรรม หรือปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาเลยทีเดียว ลองพิสูจน์กันดูได้ทันที ณ บัดเดี๋ยวนี้ ก็จะเห็นชัดรู้ชัดด้วยตนเอง

เราเรียกสภาวธรรมที่เรียกจิตไปดูนี้ว่า "เอหิปัสสิโกธรรม"

นี่เป็นความหมายโดยธรรมของธรรมคุณข้อที่ 4 อันจะต่างจากคำแปลที่ว่า ..."เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด"ซึ่งคำแปลอย่างนี้เหมือนกับว่าผู้ที่รู้เห็นธรรมแล้วควรชวนผู้อื่นมาดู อันน่าจะเป็นคุณสมบัติของบุคคลระดับอริยะชั้นต้นคือพระ โสดาบันขึ้นไปจึงจะสามารถชวนผู้อื่นมาดูธรรมได้ เพราะถ้าไม่ถึงระดับนี้จะชวนผู้อื่นมาดูจะรู้เรื่องได้อย่างไรเพราะตนเองก็ยังไม่เคยเห็นธรรมที่ว่านั้น

ธรรมคุณข้อที่ 4 นี้สำคัญมากในเชิงปฏิบัติเพราะถ้าใครเข้าใจคำแปลโดยถูกต้องตามธรรมนี้แล้ว การปฏิบัติธรรมก็จะเป็นของง่าย
คือ เมื่อมีธรรมมาเอหิปัสสิโก คือเชิญชวนให้ไปดูโดยธรรมชาติ ก็เพียงแต่เอาสติ ปัญญา ไปเฝ้าดู เฝ้ารู้ เฝ้าสังเกต เอหิปัสสิโกธรรมทั้งหลายนั้น ให้ทันกับปัจจุบันอารมณ์ ธรรมทั้งหลายเขาก็จะแสดงความจริงให้ดูตามธรรมชาติ คือเกิดขึ้น....ตั้งอยู่....ดับไป ทนตั้งอยู่ไม่ได้ เป็น....ทุกขัง......ต้องเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา....เป็น อนิจจัง.....ไม่สามารถบังคับบัญชาสภาวธรรมเหล่านี้ได้เลยเป็น....อนัตตา อยู่ ตลอดเวลา

การปฏิบัติธรรมนั้นจะเป็นไปตามธรรมชาติ คือไม่ได้กำหนดปรุงสร้างกรรมฐานอะไรขึ้นมา เป็นธรรมชาติที่เขาเกิดขึ้นมาด้วยกำลังแห่งเหตุ ปัจจัย วิบาก โดยธรรม นี่คือวิปัสสนาภาวนาแท้ๆ ลองพิสูจน์ทดสอบทดลองกันดูครับ

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2012, 01:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ที..สำนวนของสวนโมกข์..บอกว่าเป็นของสวนโมกข์

แต่...สำนวนใหม่...กลับไม่กล้าบอกว่าของใครแปล...

ยุติธรรม....อยู่ตรงไหน...หุหุ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2012, 20:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ที..สำนวนของสวนโมกข์..บอกว่าเป็นของสวนโมกข์

แต่...สำนวนใหม่...กลับไม่กล้าบอกว่าของใครแปล...

ยุติธรรม....อยู่ตรงไหน...หุหุ..

:b12: :b12: :b12:
มีคนสงสัยอย่างคุณกบนี่เหมือนกัน(ในลานธรรมเสวนา)
ผมได้ตอบไว้อย่างนี้ครับ


อ้างคำพูด:
ผมขอรบกวนถามคำถามสำคัญอีกคำถามหนึ่งครับ คือในกระทู้บอกว่า "บทสวดธรรมคุณ 6 ประการที่ยกมาเบื้องต้นนี้คือคำแปลบทสวดธรรมคุณ สำนวนใหม่ อีกสำนวนหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีใครได้พบเห็น" ผมขอรบกวนเรียนถามว่าสำนวนนี้เป็นสำนวนของวัดแห่งไหน หรือสำนักปฏิบัติธรรมแห่งไหน หรือใครเป็นผู้แปลครับ



เรื่องนี้ขอให้เป็นปริศนาไปอีกสักระยะหนึ่งก่อน จนกว่าการอธิบายความหมายของธรรมคุณตามสำนวนใหม่จะสิ้นสุดโดยสมบูรณ์นะครับ

ที่ทำเช่นนี้เพราะว่ามีผู้คนจำนวนมากที่เชื่อถือในปริญญา และการสมมุติรับรองทางโลก ไม่เชื่อธรรมเป็นหลัก ตัดสินสิ่งต่างๆตามปริญญาทางโลก จึงอาจเสียโอกาสที่ดีไป

:b11:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2012, 21:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


งั้น..ก็เชิญอโสกะ...ดำเนินต่อไป...ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2012, 19:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
มีผู้ถามในอีกเวบหนึ่ง เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ จึงยกมาเล่าสู่กันฟังนะครับ
:b38:

อ้างคำพูด:
อโศกะ [ 26/08/2012 - 16:58 ]


ทุกเวลานาที จะมีผัสสะของทวารทั้ง 6 และสภาวธรรมต่างๆเกิดขึ้น เปลี่ยนแปลงไป
ดึงจิตดึงใจให้เข้าไปรู้อยู่ตลอดเวลา เหมือนกับสภาวธรรมเหล่านั้นจะคอยเรียกว่า "มาดูฉันซิ ๆ ๆ"


อ้างคำพูด:
ตรงที่คุณอโศกะบอกว่า ดึงจิตดึงใจให้เข้าไปรู้อยู่ตลอดเวลา เหมือนกับสภาวธรรมเหล่านั้นจะคอยเรียกว่า "มาดูฉันซิ ๆ ๆ"
คุณอโศกะปฏิบัติด้วยตนเองแล้ว มีความรู้สึกเช่นนั้นหรือครับว่า โดนสภาวธรรมดึงจิตดึงใจให้เข้าไปรู้อยู่ตลอดเวลา
เหมือนสภาวธรรมคอยเรียกว่า "มาดูฉันซิ ๆ ๆ"
ถ้ารู้สภาวธรรมในลักษณะนี้แล้ว จึงจะเป็นการรู้สภาวธรรมที่แท้จริงเช่นนั้นหรือครับ

:b20:

คุณงดงามลองนั่งหลับตาอยู่เฉยๆแล้วใช้สติรู้ให้ทัน ปัญญาสังเกต ดู ให้ดีๆซิครับ ดูซิว่า อารมณ์วิ่งมากระทบใจ หรือใจวิ่งไปรู้อารมณ์


ถ้าอารมณ์วิ่งมากระทบใจ แล้วใจจึงรู้อารมณ์ นั่นแสดงว่า ธรรมคือผัสสะ สภาวะ หรืออารมณ์นั้น
เอหิปัสสิโก คือเรียกจิตไปดู


เรื่องนี้มีความละเอียดอ่อนมากในเชิงปฏิบัติ คิดเอาไม่รู้ ต้องหยุดคิดทำจิตอยู่กับปัจจุบันดีๆ ถึงจะรู้


การเกิดของอารมณ์หรือผัสสะที่เกิดมาเองโดยธรรมชาตินั้นเป็นปรมัตถอารมณ์ ไม่ใช่บัญญัติอารมณ์ การเอาสติปัญญาไปรู้และสังเกตธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองเป็นเองนั้นจึงเป็นวิปัสสนาภาวนาที่สมบูรณ์และเป็นไปตามธรรม

ต่างจากอารมณ์บัญญัติ เช่นกำหนดจิตว่าจะเฝ้าดูลมหายใจที่เข้าออกจมูก สติปัญญาจะถูกกำหนดให้ไปเฝ้ารู้อยู่กับอารมณ์ที่บัญญัติ จะกลายเป็นการทำสมาธิหรือสมถะภาวนาทันที สติปัญญาจะตกไปจากสติปัฏฐาน 4 โดยธรรมชาติ ไปกลายเป็นสติปัฏฐาน 4 โดยการบัญญัติ กฏเกณฑ์ ไม่เป็นปัจจุบันอารมณ์ตามธรรม ผลที่ได้จึงเป็นผลโดยบัญญัติ อัตตา ไม่เป็นผลโดยปรมัตถ์ อนัตตา

:b44:
"จิตนิ่งอยู่กับอารมณ์ เป็นสมถะภาวนา"

"จิตนิ่งรู้อารมณ์ เป็นวิปัสสนาภาวนา"


:b8:
ลองพิสูจน์ด้วยการลงมือนั่งนิ่ง ทำจริง สังเกตดูให้ดีนะครับ จึงจะซึ้งในคำว่า
"เอหิปัสสิโก"

:b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2012, 21:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านจบ....ทำให้ตัวเองแลดูโง่..โง่...ยังงัยก็ไม่รู้..

s002
ตกลง...วิปัสสนาภาวนา...มันเป็นยังงัยนะ...ตามแบบเขาทำยังงัย!!!


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2012, 07:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




GEDC1874_resize.JPG
GEDC1874_resize.JPG [ 80.45 KiB | เปิดดู 11892 ครั้ง ]
กบนอกกะลา เขียน:
อ่านจบ....ทำให้ตัวเองแลดูโง่..โง่...ยังงัยก็ไม่รู้..

s002
ตกลง...วิปัสสนาภาวนา...มันเป็นยังงัยนะ...ตามแบบเขาทำยังงัย!!!


onion
ยังไม่จบตอนดี อย่าพึ่งโง่เลยครับ

ติดตามหาความรู้จากคำถามของคุณงดงามต่อไปอีกสักหน่อย แล้วค่อยฟังอรรถาธิบายเรื่องธรรมคุณข้อที่ 5 ซึ่งจะมีเรื่องที่สำคัญ มัน น่าสนใจ ที่ยังไม่ค่อยมีใครกล้านำมาเปิดเผย อ่าน ฟัง ดูกันต่อไปอีกนะครับ อย่าเพิ่งสรุปอะไร

ngodngam [ 28/08/2012 - 21:06 ]



อ้างคำพูด:
อโศกะ [ 28/08/2012 - 18:54 ]


ถ้าอารมณ์วิ่งมากระทบใจ แล้วใจจึงรู้อารมณ์ นั่นแสดงว่า ธรรมคือผัสสะ สภาวะ หรืออารมณ์นั้น เอหิปัสสิโก คือเรียกจิตไปดู


อ้างคำพูด:
ตรงนี้ผมว่าแปลก ๆ นะครับ อารมณ์วิ่งมากระทบใจ แต่คือ สภาวะหรืออารมณ์นั้นเรียกจิตไปดู
ไม่แน่ใจว่าตกลงแล้วอารมณ์มา หรือจิตไป หรือทั้งอารมณ์มาและทั้งจิตไป
แล้วก็ยังมีคำว่า "เรียก" อีกด้วย การที่จิตรับรู้อารมณ์นั้น เพราะโดนอารมณ์เรียกหรือครับ


เรื่องที่ขอให้ไปช่วยค้นเรื่องพุทธคุณและสังฆคุณนั้น ขอค้างไว้ก่อนนะครับ เพราะแค่นี้ก็ยาวมากแล้ว เดี๋ยวไม่จบ
ผมช่วยโฆษณาคั่นให้หน่อยนึงแล้ว หากเป็นไปได้ก็อธิบายให้จบเถิดครับ


เจริญสุข เจริญธรรมครับ คุณงดงาม

เรื่องของเอหิปัสสิโกธรรมนั้น มีสิ่งที่น่าวิตกวิจารณ์และควรวิตกวิจารณ์กันให้มาก จึงจะสามารถเข้าใจสภาวธรรมของ เอหิปัสสิโกธรรมได้ดีและละเอียดลึกซึ้ง ที่สำคัญคือต้องมีการปฏิบัติจริงประกอบไปด้วยจึงจะเห็นจริงและเข้าใจ หมดสงสัยไปในตัว


อ้างคำพูด:
แปลก ๆ นะครับ อารมณ์วิ่งมากระทบใจ แต่คือ สภาวะหรืออารมณ์นั้นเรียกจิตไปดู
ไม่แน่ใจว่าตกลงแล้วอารมณ์มา หรือจิตไป หรือทั้งอารมณ์มาและทั้งจิตไป




ความสงสัยนี้ทำให้หายได้ด้วยการนั่งนิ่งเฉยหลับตา ตั้งใจเอาสติปัญญามาสังเกต รู้ ในกายในใจให้ดีๆ เพิ่มความละเอียดแหลมคมของการสังเกตให้สูงสุด(เหยีบสุดคันเร่ง) จะได้รู้ว่าผัสสะที่เกิดขึ้นกับอายตนะทั้ง 6 อยู่เกือบจะตลอดเวลานั้น กับสติ ปัญญาที่ตั้งดูรู้ทันนั้น ใครวิ่งหรือแส่ไปหาใครกันแน่


มีอุปมาอุปมัย ที่เคยอธิบายแล้วผู้ฟังพอคืบลามเข้าใจถึงสภาวะนี้ได้คือ

อุปมาเหมือนแคชเชียร์ที่เฝ้าเคาน์เตอร์เก็บเงินในร้านเซเว่นอีเลเว่น......เมื่อมีลูกค้ามาถึงประตูๆจะเปิดโดยอัตโนมัติพร้อมมีเสียงบอกเตือน....แคชเชียร์จะรู้ด้วยหู เห็นด้วยตาว่ามีลูกค้าเข้ามา(สติ).....แต่ยังไม่มีกิจกรรมอะไรอื่นอีกกับลูกค้าคนที่ 1 นี้....ต่อมามีลูกค้าเข้ามาอีก คนที่ 2 ... ที่ 3......และต่อๆไป แคชเชียร์ก็จะรับรู้การเข้ามาของลูกค้าแต่ละคนด้วยหูหรือตาหรือทั้งหูและตาเหมือนคนที่ 1(สติ) (เสียงเปิดประตู กับอาการเคลื่อนไหวเข้ามาของลูกค้าเรียกตาหูของแคชเชียร์ไปรับรู้ แต่ปฏิกิริยาการรับและการรู้นั้นเกิดขึ้นอยู่ภายในประสาทหู ประสาทตา และกระทบรู้ที่ใจภายในตัวของแคชเชียร์)

ลูกค้าทั้ง 5 -6 คนที่กำลังเลือกของอยู่ในร้าน จะต้องอยู่ในสายตา(ปัญญา รู้ ...เห็น...ดู)และความเฝ้าสังเกต(ปัญญา สังเกต พิจารณา)และความรู้ทัน(สติ)ของแคชเชียร์ที่เฝ้าร้านเพื่อเฝ้าระวังว่าจะมีลูกค้าคนใดแอบจิ๊กของใส่กระเป๋า หรือต้องการบริการสอบถามอะไรหรือเปล่า (สัมปชัญญะ)


ต่อมา มีลูกค้า 1 ในจำนวนลูกค้าทั้งหมดในร้านเลือกของได้ครบ นำของมาวางที่เคาน์เตอร์เพื่อคิดเงิน
(ปัจจุบันอารมณ์.....ส่วนลูกค้าทั้งหมดที่กำลังเลือกของอยู่ในร้านเปรียบเป็นปัจจุบันธรรม ....ดังธาตุขันธ์ของเราเมื่อตื่นแล้ว จะมีปัจจุบันธรรมเกิดขึ้นมากมายกับทวารทั้ง 6 แต่จิตจะรับรู้และสนใจเป็นหนึ่งเดียวกับปัจจุบันอารมณ์ คืออารมณ์ที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า)แคชเชียร์จะหลุดความสนใจจากลูกค้ารายอื่นไปขณะหนึ่งเพื่อคิดและเก็บเงินทอนเงิน เสร็จแล้วลูกคนที่คิดเงินแล้วนี้ก็จะออกจากร้านไป
(กลายเป็นอดีตอารมณ์)

ลูกค้าที่ยังไม่เข้าร้านมาถ้าคิดถึง ...เป็นอนาคตอารมณ์....ถ้ามัวไปครุ่นคิดหา ก็จะเสียปัจจุบันอารมณ์ คือลูกค้าที่กำลังมาคิดเงิน

ลูกค้าที่เข้าร้านมาแล้วกำลังเลือกของอยู่ในร้าน .....เป็นปัจจุบันธรรม ต้องมีสัมปชัญญะรู้ทั่วไว้....ถ้าไม่รู้ทั่วไว้ ของอาจจะหาย บริการอาจบกพร่อง

ลูกค้าที่กำลังมาคิดเงิน ......เป็นปัจจุบันอารมณ์....เป็นงานหลักสำคัญจริงๆของจิต(แคชเชียร์)ที่ต้องใส่ใจทำให้เสร็จเรียบร้อย ถูกต้อง ผลงาน ความสามารถวัดกันตรงจุดนี้ (การปฏิบัติธรรมก็วัดกันตรงความสามารถอยู่กับปัจจุบันอารมณ์ได้ดีเพียงไรของผู้ปฏิบัติแต่ละคน)

ลูกค้าที่ออกร้านไปแล้ว......เป็นอดีตอารมณ์......ถ้ายังติดใจไปนึกคนึงหาอยู่...อาจเพราะความรูปหล่อ...หน้าสวย...เสียงเพราะ...หรือเป็นคนดัง ฯลฯ ความติดใจเหล่านั้นจะทำให้แคชเชียร์เสียงานคิดเงินกับลูกค้าเฉพาะหน้าคือปัจจุบันอารมณ์

ข้อสังเกต ตลอดเวลาของการบริการของแคชเชียร์ ที่ คอยรับรู้ ตอบโต้ และบริการ

"เขาออกจากที่ หรือรับรู้อยู่กับที่...."

"เขาวิ่งออกไปรับลูกค้าที่หน้าประตู หรือยืนอยู่ที่เคาน์เตอร์บริการ รับรู้"

"ความว่า "เอหิปัสสิโก.....เรียกไปดูนั้น พอจะเข้าใจได้หรือไม่จากอุปมานี้"

เรื่องราวของแคชเชียร์เฝ้าร้านเซเว่นอีเลเว่น นี้มีประโยชน์มากถ้าเอามาเทียบวิเคราะห์กับการปฏิบัติภาวนาของนักปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ลองไปพิจารณาแตกประเด็นกันดูให้ละเอียดเทียบกับประสบการณ์จริงตอนที่เราไปซื้อของที่ร้านเซเว่นฯ


อดใจรออีกนิดนะครับ จะได้อ่านได้ฟังธรรมคุณข้อที่ 5 ซึ่งสำคัญและมีสิ่งที่น่าคิดพิจารณาให้ลึกซึ้งเหมือนธรรมคุณข้อที่ 4 และข้ออื่นๆครับ
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 70 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร