วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 02:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 101 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2012, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ตอนแรกคิดว่า น่าจะเป็นเพราะความดันในช่องกระโหลกศีรษะ
เพราะ เอกอนก็สังเกตว่า
ความดันในหัวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
บางทีความดันในหัวก็รู้สึกเหมือน คนดำน้ำลึก

หรือ บางทีก็เหมือนกับขึ้นไปอยู่บนยอดเขาสูง


:b12:
ไม่ต้องคิดมากเอกอน คนธรรมดาเขาไม่ได้ยินหรอก ต้องคนพิเศษเท่านั้นอิๆ :b13: :b13:

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แก้ไขล่าสุดโดย bigtoo เมื่อ 31 ส.ค. 2012, 17:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2012, 14:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
eragon_joe เขียน:
ตอนแรกคิดว่า น่าจะเป็นเพราะความดันในช่องกระโหลกศีรษะ
เพราะ เอกอนก็สังเกตว่า
ความดันในหัวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
บางทีความดันในหัวก็รู้สึกเหมือน คนดำน้ำลึก

หรือ บางทีก็เหมือนกับขึ้นไปอยู่บนยอดเขาสูง


:b12:
ไม่ต้องคิดมากเอกอน คนธรรมดาเขาไม่ได้ยินหรอก ต้องคิดพิเศษเท่านั้นอิๆ :b13: :b13:


:b32: :b32:

เอกอนไม่ได้คิดมากหรอก
เอกอนเคยคิดว่า สงสัยเอกอนคงจะหูเหมือน หูหมา :b32: :b9: :b13:

:b45: :b45: :b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2012, 15:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b32: :b32:

เอกอนไม่ได้คิดมากหรอก
เอกอนเคยคิดว่า สงสัยเอกอนคงจะหูเหมือน หูหมา :b32: :b9: :b13:

:b45: :b45: :b45:

:b4: :b4: :b4:
:b32: :b32: :b32:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2012, 16:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


อิอิ บังเอิญนะนี่
เพิ่งจะได้นั่งฟัง ณ บัดนาว สด ๆ ร้อน ๆ ... :b9: :b9: :b9:

http://media.watnapahpong.org/video/RUUA863B2AS2/สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์-25-สค-2555

ดันมีคนตั้งคำถาม ประเด็นการเห็น
เกิด-ดับ ขันธ์
กะ
เกิด-ดับ อายตนะ
พอดี

:b32: :b32: :b32:

การเห็นเกิด-ดับ อายตนะ พระอาจารย์มีใช้คำว่า
มันได้ทั้งดับ และไม่ดับ
"เกิด-ดับ" กับ "เลื่อนไหล"

อื้อ ...

:b48: :b41: :b41: :b48:

ใครสนใจลองไปเปิดฟังดูนะ ประมาณ นาทีที่ 19

ซึ่ง อาจารย์ ใช้คำว่า
มันได้ทั้งดับ และไม่ดับ
"เกิด-ดับ" กับ "เลื่อนไหล"

แต่อาจารย์ยังไม่ถึงกับลงรายละเอียด

หรือ อาจจะมีลงรายละเอียด แต่อาจจะอยู่ในชุดอื่น ๆ

:b41: :b41: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 31 ส.ค. 2012, 21:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2012, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
bigtoo เขียน:
eragon_joe เขียน:
ตอนแรกคิดว่า น่าจะเป็นเพราะความดันในช่องกระโหลกศีรษะ
เพราะ เอกอนก็สังเกตว่า
ความดันในหัวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
บางทีความดันในหัวก็รู้สึกเหมือน คนดำน้ำลึก

หรือ บางทีก็เหมือนกับขึ้นไปอยู่บนยอดเขาสูง


:b12:
ไม่ต้องคิดมากเอกอน คนธรรมดาเขาไม่ได้ยินหรอก ต้องคิดพิเศษเท่านั้นอิๆ :b13: :b13:


:b32: :b32:

เอกอนไม่ได้คิดมากหรอก
เอกอนเคยคิดว่า สงสัยเอกอนคงจะหูเหมือน หูหมา :b32: :b9: :b13:

:b45: :b45: :b45:
ต้อองคนพิเศษเท่านั้นจะได้ยินนะ หูหมาเหรออิๆๆ ไม่ใช่หรอก จะได้หูทิพย์ต่างหาก :b12:

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2012, 21:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
โรค "หูทิพย์" อ่ะป่าว เค้ากัวอ่ะ .. นินทาไว้เยอะ .. อิอิ :b28: :b32: :b13:

:b32: :b32: :b32:

หูทิพย์ :b18: :b18: :b18:

เห็นแล้วล่ะ เพิ่งเห็น

คือมีคนเข้าไปอ่านกันเสียงดังน่ะ เสียงอ่านก็เรยลอยตามลมมาเข้าหู

มีคนเอาเอกอนไปนินทาในบล็อกส่วนตัวจริง ๆ ด้วย


:b13: :b13: :b13:

:b4: :b4: :b4:

ดี ดี ดี ดี ทำดี ทำดี

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2012, 17:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๗. สฬายตนวิภังคสูตร (๑๓๗)

[๖๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มี-
*พระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสฬายตนวิภังค์แก่เธอ
ทั้งหลาย พวกเธอจงฟังสฬายตนวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๖๑๘] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า พวกเธอพึงทราบอายตนะ
ภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ หมวดวิญญาณ ๖ หมวดผัสสะ ๖ ความนึก
หน่วงของใจ ๑๘ ทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ ใน ๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัยทาง
ดำเนินของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการ
ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ อันเราเรียกว่า
สารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นี้เป็นอุเทศแห่ง
สฬายตนวิภังค์ ฯ

[๖๑๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว ได้แก่อายตนะคือจักษุ อายตนะคือโสต อายตนะคือฆานะ
อายตนะคือชิวหา อายตนะคือกาย อายตนะคือมโน ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบ
อายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

[๖๒๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เรา
อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่อายตนะคือรูป อายตนะคือเสียง อายตนะคือกลิ่น
อายตนะคือรส อายตนะคือโผฏฐัพพะ อายตนะคือธรรมารมณ์ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

[๖๒๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว ได้แก่จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ
กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น
เราอาศัยวิญญาณดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

[๖๒๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว ได้แก่จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส
มโนสัมผัส ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัยสัมผัสดังนี้
กล่าวแล้ว ฯ

[๖๒๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบความนึกหน่วงของใจ ๑๘ นั่น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ใจย่อมนึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้ง
แห่งโสมนัส นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
เพราะฟังเสียงด้วยโสต ...
เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ใจย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง
โสมนัส นึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส นึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้ง
แห่งอุเบกขา ฉะนี้ เป็นความนึกหน่วงฝ่ายโสมนัส ๖ ฝ่ายโทมนัส ๖ ฝ่าย
อุเบกขา ๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบความนึกหน่วงของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัย
ความนึกหน่วงดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

[๖๒๔] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั่น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ โสมนัสอาศัยเรือน ๖ โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖
โทมนัสอาศัยเรือน ๖ โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ อุเบกขา
อาศัยเนกขัมมะ ๖ ฯ

[๖๒๕] ใน ๓๖ ประการนั้น โสมนัสอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน คือ บุคคล
เมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ
เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ หรือ
หวนระลึกถึงรูปที่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไป
แล้ว ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส
โดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่เคยได้เฉพาะในก่อน
อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัส
เช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน เหล่านี้โสมนัสอาศัยเรือน ๖ ฯ

[๖๒๖] ใน ๓๖ ประการนั้น โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน คือ
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูป
ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปในก่อน
และในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ย่อมเกิด
โสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ฯ
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของรสทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดา ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัย
เนกขัมมะ เหล่านี้โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ฯ

[๖๒๗] ใน ๓๖ ประการนั้น โทมนัสอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน คือ
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนไม่ได้
เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่ไม่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว
แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส โทมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัย
เรือน
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งเสียง ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งกลิ่น ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรส ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะ ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดย
เป็นของอันตนไม่ได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่ไม่เคยได้เฉพาะในก่อน
อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส โทมนัสเช่นนี้นี่
เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน เหล่านี้โทมนัสอาศัยเรือน ๖ ฯ

[๖๒๘] ใน ๓๖ ประการนั้น โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน คือ
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูป
ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปในก่อน
และในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแล้ว
ย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ เมื่อเข้าไปตั้งความปรารถนาใน
อนุตตรวิโมกข์ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลาย
ได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า ย่อมเกิดโทมนัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น โทมนัส
เช่นนี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของรสทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดาแล้ว ย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ เมื่อเข้าไปตั้งความ
ปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะ
ทั้งหลายได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า ย่อมเกิดโทมนัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น
โทมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้โทมนัสอาศัย
เนกขัมมะ ๖ ฯ

[๖๒๙] ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน คือ เพราะ
เห็นรูปด้วยจักษุ ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่
ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่
ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเรือน
เพราะฟังเสียงด้วยโสต ...
เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา
ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น
อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า
อุเบกขาอาศัยเรือน เหล่านี้ อุเบกขาอาศัยเรือน ฯ

[๖๓๐] ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน คือ
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูป
ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปในก่อน
และในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึง
เรียกว่าอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของรสทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดา ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้
เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ
๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั่น เราอาศัยทาง
ดำเนินดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

[๖๓๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น พวกเธอ
จงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ นั่นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัย
เนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ อย่างนี้
ย่อมเป็นอันละโสมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโสมนัสนั้นๆ ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงโทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละ
โทมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโทมนัสนั้นๆ ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖
ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละ
คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานั้นๆ
ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานั้นๆ ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอ
จงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัส
อาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโทมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วง
โทมนัสนั้นๆ ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย
คืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัย
เนกขัมมะ ๖ นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโสมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วง
โสมนัสนั้นๆ ได้ ฯ

[๖๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ
ก็มี อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งก็มี

ก็อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ เป็นไฉน คือ อุเบกขา
ที่มีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ นี้อุเบกขาที่มีความเป็น
ต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ

ก็อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นไฉน คือ อุเบกขา
ที่มีอาศัยอากาสานัญจายตนะ อาศัยวิญญาณัญจายตนะ อาศัยอากิญจัญญายตนะ
อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะ นี้อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอุเบกขา ๒ อย่าง พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขา
ที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มี
ความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ นั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้
เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอาศัย คืออิงความเป็นผู้
ไม่มีตัณหา แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็น
หนึ่งนั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้ ข้อที่เรา
กล่าวดังนี้ว่า ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัยทางดำเนินของ
สัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ นั่นเราอาศัยการละ การล่วง ดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

[๖๓๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการที่
พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั่น เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว ฯ

[๖๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงประโยชน์
เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
แก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมไม่ฟัง
ด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม และ
ไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ เราเรียกว่าการ
ตั้งสติประการที่ ๑ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอน
หมู่ ฯ

[๖๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์
แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น
บางพวกย่อมไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยง
คำสอนของศาสดา บางพวกย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติ
หลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม
ไม่เสวยความชื่นชม ทั้งไม่เป็นผู้ไม่ชื่นชม ไม่เสวยความไม่ชื่นชม เว้นทั้งความ
ชื่นชมและความไม่ชื่นชมทั้งสองอย่างนั้นแล้ว เป็นผู้วางเฉย ย่อมมีสติสัมปชัญญะ
อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๒ ที่พระอริยะเสพ
ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ ฯ

[๖๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์
แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น
ย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตเป็นผู้ชื่นชม เสวยความชื่นชม และไม่
ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ เราเรียกว่าการตั้ง
สติประการที่ ๓ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อ
เสพชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั่น เราอาศัยเหตุนี้ กล่าวแล้ว ฯ

[๖๓๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่า สารถี ฝึกบุรุษที่
ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ช้างที่ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกช้างไสให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียว
เท่านั้น คือ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ ม้าที่
ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกม้าขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน คือ ทิศ
ตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ โคที่ควรฝึก อันอาจารย์
ฝึกโคขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน คือ ทิศตะวันออก หรือทิศ
ตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ แต่บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมา
สัมพุทธสอนให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง ๘ ทิศ คือ ผู้ที่มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลายได้
นี้ทิศที่ ๑ ผู้ที่มีสัญญาในอรูปภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลายภายนอกได้ นี้ทิศที่ ๒
ย่อมเป็นผู้น้อมใจว่างามทั้งนั้น นี้ทิศที่ ๓ ย่อมเข้าอากาสานัญจายตนะอยู่ด้วย
ใส่ใจว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจ
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๔ ย่อมเข้าวิญญาณัญจายตนะอยู่ด้วย
ใส่ใจว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง
นี้ทิศที่ ๕ ย่อมเข้าอากิญจัญญายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า ไม่มีสักน้อยหนึ่ง เพราะล่วง
วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๖ ย่อมเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ
อยู่ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๗ ย่อมเข้าสัญญา
เวทยิตนิโรธอยู่ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๘
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธสอนให้วิ่ง
ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง ๘ ทิศดังนี้ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่าสารถีฝึก
บุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั่นเราอาศัยเหตุดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

จบ สฬายตนวิภังคสูตร ที่ ๗


grin grin grin


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2012, 18:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๖. ฉฉักกสูตร (๑๔๘)

[๘๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ-
*อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มี-
*พระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย อัน
ไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศ
พรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คือ ธรรมหมวดหก ๖ หมวด พวกเธอจงฟัง
ธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า
ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๘๑๑] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า พวกเธอพึงทราบอายตนะภาย
ใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ หมวดวิญญาณ ๖ หมวดผัสสะ ๖ หมวดเวทนา ๖
หมวดตัณหา ๖ ฯ
[๘๑๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว ได้แก่ อายตนะคือจักษุ อายตนะคือโสตะ อายตนะคือฆานะ
อายตนะคือชิวหา อายตนะคือกาย อายตนะคือมโน ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึง
ทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก
หมวดที่ ๑ ฯ
[๘๑๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เรา
อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่ อายตนะคือรูป อายตนะคือเสียง อายตนะคือกลิ่น
อายตนะคือรส อายตนะคือโผฏฐัพพะ อายตนะคือธรรมารมณ์ ข้อที่เรากล่าว
ดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว นี้
ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๒ ฯ
[๘๑๔] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักษุวิญญาณ อาศัยโสตะ
และเสียง จึงเกิดโสตวิญญาณ อาศัยฆานะและกลิ่น จึงเกิดฆานวิญญาณ อาศัย
ชิวหาและรส จึงเกิดชิวหาวิญญาณ อาศัยกายและโผฏฐัพพะ จึงเกิดกายวิญญาณ
อาศัยมโนและธรรมารมณ์ จึงเกิดมโนวิญญาณ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบ
หมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัยวิญญาณดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวด
ที่ ๓ ฯ
[๘๑๕] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของ
ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ความประจวบของ
ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ความประจวบของ
ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ความประจวบของ
ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ความประจวบ
ของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความ
ประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖
นั่น เราอาศัยผัสสะดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๔ ฯ
[๘๑๖] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดเวทนา ๖ นั่น เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของ
ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ...
อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ...
อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ...
อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ...
อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓
เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวด
เวทนา ๖ นั่น เราอาศัยเวทนาดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๕ ฯ
[๘๑๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดตัณหา ๖ นั่น เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของ
ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย จึงมีตัณหา
อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ...
อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ...
อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ...
อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ...
อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓
เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดตัณหา ๖ นั่น เราอาศัยตัณหาดังนี้ กล่าวแล้ว
นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๖ ฯ
[๘๑๘] ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า จักษุเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุ
ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้
ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะ
ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึง
เป็นอนัตตา
ผู้ใดกล่าวว่า รูปเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร รูปย่อมปรากฏแม้ความ
เกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้น
ต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่
กล่าวว่า รูปเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึง
เป็นอนัตตา
ผู้ใดกล่าวว่า จักษุวิญญาณเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุวิญญาณ
ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ
เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น
คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุวิญญาณเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึง
เป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา
ผู้ใดกล่าวว่า จักษุสัมผัสเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุสัมผัสย่อม
ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ
เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นแลเสื่อมไป เพราะฉะนั้น
คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุสัมผัสเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึง
เป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็น
อนัตตา
ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร เวทนาย่อมปรากฏ
แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม
สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำ
ของผู้ที่กล่าวว่าเวทนาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็น
อนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา
เวทนาจึงเป็นอนัตตา
ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร ตัณหาย่อมปรากฏแม้
ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่ง
นั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของ
ผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา
รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึง
เป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา ฯ
[๘๑๙] ผู้ใดกล่าวว่า โสตะเป็นอัตตา ...
ผู้ใดกล่าวว่า ฆานะเป็นอัตตา ...
ผู้ใดกล่าวว่า ชิวหาเป็นอัตตา ...
ผู้ใดกล่าวว่า กายเป็นอัตตา ...
ผู้ใดกล่าวว่า มโนเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโนย่อมปรากฏแม้
ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่ง
นั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของ
ผู้ที่กล่าวว่า มโนเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา
ผู้ใดกล่าวว่า ธรรมารมณ์เป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร ธรรมารมณ์ย่อม
ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม
สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำ
ของผู้ที่กล่าวว่าธรรมารมณ์เป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึง
เป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา ฯ
ผู้ใดกล่าวว่า มโนวิญญาณเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโนวิญญาณ
ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ
เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น
คำของผู้ที่กล่าวว่า มโนวิญญาณเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้
มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา
ผู้ใดกล่าวว่า มโนสัมผัสเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโนสัมผัสย่อม
ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ
เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะ
ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า มโนสัมผัสเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้
มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโน-
*สัมผัสจึงเป็นอนัตตา
ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร เวทนาย่อมปรากฏ
แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม
สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำ
ของผู้ที่กล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็น
อนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโนสัมผัสจึงเป็น
อนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา
ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร ตัณหาย่อมปรากฏ
แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม
สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำ
ของผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็น
อนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโนสัมผัสจึงเป็น
อนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา ฯ
[๘๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความตั้งขึ้นแห่งสักกายะ
ดังต่อไปนี้แล บุคคลเล็งเห็นจักษุว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็น
รูปว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุวิญญาณว่า นั่นของเรา
นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุสัมผัสว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตา
ของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นโสตะว่า นั่นของเรา ... เล็งเห็น
ฆานะว่า นั่นของเรา ... เล็งเห็นชิวหาว่า นั่นของเรา ... เล็งเห็นกายว่า นั่นของ
เรา ... เล็งเห็นมโนว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นธรรมารมณ์
ว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นมโนวิญญาณว่า นั่นของเรา
นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นมโนสัมผัสว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตา
ของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหา
ว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
[๘๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความดับสักกายะ ดังต่อ
ไปนี้แล บุคคลเล็งเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุวิญญาณ
ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุสัมผัสว่า นั่น
ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่
ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นโสตะว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ... เล็งเห็นฆานะว่า นั่นไม่ใช่
ของเรา ... เล็งเห็นชิวหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ... เล็งเห็นกายว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
... เล็งเห็นมโนว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็น
ธรรมารมณ์ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นมโน-
*วิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นมโนสัมผัส
ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่
ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่
ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ฯ
[๘๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ
เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา
ถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงมีราคานุสัยนอน
เนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไห้ คร่ำครวญ
ทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนา
ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัด
ออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา ยังไม่บรรเทาปฏิฆานุ-
*สัยเพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังไม่ทำวิช-
*ชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย และจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้
นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยโสตะและเสียง เกิดโสตวิญญาณ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยชิวหาและรส เกิดชิวหาวิญญาณ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ
เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา
ถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงมีราคานุสัย
นอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไห้ คร่ำครวญ
ทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนา
ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออก
แห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา ยังไม่บรรเทาปฏิฆา-
*นุสัยเพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังไม่ทำ
วิชชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน
ได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ
[๘๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ
เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา
ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงไม่มี
ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก
ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่อง
อยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป
คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงไม่มีอวิชชานุสัย
นอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา
บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยัง
วิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ใน
ปัจจุบันได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยโสตะและเสียง เกิดโสตวิญญาณ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยชิวหาและรส เกิดชิวหาวิญญาณ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ
เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา
ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงไม่มี
ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก
ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่อง
อยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป
คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงไม่มีอวิชชานุสัย
นอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา
บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยัง
วิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุ-
*บันได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ
[๘๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุวิญญาณ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
ตัณหา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว และทราบชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้
อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล ฯ

จบ ฉฉักกสูตร ที่ ๖


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2012, 18:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เอชสูตรที่ ๒

[๑๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุ ไม่พึงสำคัญ
ในจักษุ ไม่พึงสำคัญแต่จักษุ ไม่พึงสำคัญว่า จักษุของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งรูป
ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญในรูปทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญแต่รูปทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญว่า
รูปทั้งหลายของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญในจักษุวิญญาณ ไม่
พึงสำคัญแต่จักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญว่า จักษุวิญญาณของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่ง
จักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญในจักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญแต่จักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญ
ว่า จักษุสัมผัสของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข-
*เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญในสุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญแต่
สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น
ปัจจัย ไม่พึงสำคัญว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมสำคัญซึ่งสิ่งใด
ย่อมสำคัญในสิ่งใด ย่อมสำคัญแต่สิ่งใด ย่อมสำคัญว่า สิ่งใดของเรา สิ่งนั้น
ย่อมเป็นอย่างอื่นจากสิ่งนั้น โลกมีภาวะเป็นอย่างอื่น ข้องอยู่ในภพ ย่อมยินดี
ภพนั่นแหละ ไม่พึงสำคัญซึ่งโสตะ ฯลฯ ไม่พึงสำคัญซึ่งฆานะ ฯลฯ ไม่พึง
สำคัญซึ่งชิวหา ฯลฯ ไม่พึงสำคัญซึ่งกาย ฯลฯ ไม่พึงสำคัญซึ่งใจ ไม่พึงสำคัญ
ในใจ ไม่พึงสำคัญแต่ใจ ไม่พึงสำคัญว่า ใจของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งธรรมารมณ์
ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญในธรรมารมณ์ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญแต่ธรรมารมณ์ทั้งหลาย
ไม่พึงสำคัญว่า ธรรมารมณ์ทั้งหลายของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งมโนวิญญาณ ไม่พึง
สำคัญในมโนวิญญาณ ไม่พึงสำคัญแต่มโนวิญญาณ ไม่พึงสำคัญว่า มโนวิญญาณ
ของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งมโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญในมโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญแต่
มโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญว่า มโนสัมผัสของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกข
เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญ
ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น
ปัจจัย ไม่พึงสำคัญแต่สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม
สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุย่อมสำคัญซึ่งสิ่งใด ย่อมสำคัญในสิ่งใด ย่อมสำคัญแต่สิ่งใด ย่อมสำคัญ
ว่า สิ่งใดของเรา สิ่งนั้นย่อมเป็นอย่างอื่นจากสิ่งนั้น โลกมีภาวะเป็นอย่างอื่น ข้อง
อยู่ในภพ ย่อมยินดีภพนั่นแหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสำคัญซึ่งขันธ์
ธาตุและอายตนะ ไม่พึงสำคัญในขันธ์ ธาตุและอายตนะ ไม่พึงสำคัญแต่ขันธ์
ธาตุและอายตนะ ไม่พึงสำคัญว่า ขันธ์ ธาตุ และอายตนะของเรา เธอเมื่อไม่
สำคัญอย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นสิ่งอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อ
ไม่สะดุ้ง ย่อมดับเฉพาะตนทีเดียว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่
จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

จบสูตรที่ ๘


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2012, 18:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า สมาธึ คือ ชื่อว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นกุศลมีอารมณ์เดียว.
ชื่อว่าสมาธิด้วยอรรถว่ากระไร. ด้วยอรรถว่าตั้งใจมั่น. ชื่อว่าการตั้งใจมั่นนี้เป็นอย่างไร. คือการตั้งจิตและเจตสิกไว้ในอารมณ์เดียวเสมอและโดยชอบ. ท่านอธิบายว่าการตั้งไว้. เพราะฉะนั้น จิตและเจตสิกทั้งหลายไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วุ่นวาย ตั้งอยู่ในอารมณ์เดียว ด้วยอานุภาพแห่งธรรมใดเสมอและโดยชอบ นี้พึงทราบว่าการตั้งใจมั่น.
ท่านกล่าวถึงสมาธินั้นเป็นคาถาประพันธ์ว่า
สมาธินั้น มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ มีความกำจัด
ความฟุ้งซ่านเป็นรส มีความไม่หวั่นไหวเป็นเครื่องปรากฏ
มีความสุข ความเจริญเป็นปทัฏฐาน.
สมาธิ ชื่อว่าตั้งมั่น เพราะตั้งอยู่ในอารมณ์โดยความไม่ขุ่นมัวไม่หวั่นไหว. สองบทต่อไปเพิ่มอุปสัค. ชื่อว่าตั้งอยู่พร้อม เพราะรวบรวมแม้อารมณ์ในสัมปยุตธรรมตั้งอยู่. ชื่อว่าตั้งลง เพราะไม่เข้าไปเกาะอารมณ์ตั้งอยู่.
จริงอยู่ ในฝ่ายกุศลธรรมมี ๔ อย่าง คือศรัทธา สติ สมาธิและปัญญาย่อมหยั่งลงในอารมณ์. ด้วยเหตุนั้นแล ศรัทธาท่านจึงกล่าวว่าแน่วแน่. สติท่านกล่าวว่าไม่เลื่อนลอย. สมาธิท่านกล่าวว่าตั้งลงดิ่ง. ปัญญาท่านกล่าวว่าหยั่งลง.
ส่วนในฝ่ายอกุศลธรรมมี ๓ อย่าง คือ ตัณหา ทิฏฐิและอวิชชาย่อมหยั่งลงในอารมณ์. ด้วยเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นโอฆะ.
อนึ่ง ในฝ่ายอกุศลนี้ จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้ แต่ไม่มีกำลัง. เหมือนอย่างว่า เมื่อบุคคลเอาน้ำรดในที่เปรอะด้วยธุลีแล้วถู ธุลีหายไปชั่วขณะเล็กน้อย เมื่อแห้งแล้วธุลีก็ปรากฏตามเดิมอีกฉันใด ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งในฝ่ายอกุศล จึงไม่มีกำลังฉันนั้นเหมือนกัน.
ชื่อว่าไม่มีความฟุ้งซ่าน เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่านอันเป็นไปแล้วด้วยอำนาจความฟุ้งซ่านและความสงสัย. จิตแล่นไปด้วยอำนาจความฟุ้งซ่านและความสงสัยนั่นแล ชื่อว่าย่อมฟุ้งซ่าน. แต่สมาธินี้ไม่ฟุ้งซ่านอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าไม่ฟุ้งซ่าน. จิตแล่นไปคือแล่นไปข้างโน้นข้างนี้ด้วยอำนาจความฟุ้งซ่านและความสงสัย. แต่ความเป็นผู้มีใจอันอะไรๆ ไม่ให้ฟุ้งซ่านไปได้อย่างนี้ ชื่อว่า อวิสาหฏมานสตา ความมีใจไม่ฟุ้งซ่าน.
บทว่า สมโถ ความสงบ มี ๓ อย่างคือจิตตสมถะ (ความสงบจิต) ๑ อธิกรณสมถะ (ความสงบอธิกรณ์) ๑ สัพพสังขารสมถะ (ความสงบสังขารทั้งปวง) ๑.
ในสมถะ ๓ อย่างนั้น ชื่อว่าจิตตสมถะ เพราะจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งในสมาบัติ ๘. เพราะจิตหวั่นไหว จิตดิ้นรน สงบระงับเพราะอาศัยสมถะนั้น ฉะนั้น สมถะนั้น ท่านจึงเรียกว่าจิตตสมถะ.
ชื่อว่าอธิกรณสมถะ (ความสงบอธิกรณ์) มี ๗ อย่าง มีสัมมุขาวินัย (ในที่พร้อมหน้าบุคคล วัตถุและธรรม) เป็นต้น. อธิกรณ์ทั้งหลายนั้นๆ สงบระงับไปเพราะอาศัยสมถะนั้น เพราะฉะนั้น สมถะนั้น ท่านจึงเรียกว่าอธิกรณสมถะ.
แต่เพราะสังขารทั้งหลายทั้งปวงสงบระงับไป เพราะอาศัยนิพพาน ฉะนั้น นิพพานนั้น ท่านจึงเรียกว่าสัพพสังขารสมถะ.
ในความนี้ ท่านประสงค์เอาจิตตสมถะ.
ชื่อว่าสมาธินทริยะ เพราะทำความเป็นใหญ่ในลักษณะของสมาธิ. ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะ.
บทว่า สมฺมาสมาธิ ได้แก่ สมาธิแน่นอน สมาธินำสัตว์ออกไป.
ลำดับนั้น เพราะอินทรีย์สังวรเป็นการรักษาศีล หรือเพราะเทศนานี้ที่พระองค์ทรงแสดงตามลำดับนี้ เป็นที่สบายของเทวดาทั้งหลาย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงปฏิปทาเริ่มตั้งแต่อินทรีย์สังวรไป จึงทรงปรารภคำมีอาทิว่า จกฺขูหิ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า จกฺขูหิ เนว โลลสฺส ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุทั้งหลาย คือไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุทั้งหลาย ด้วยอำนาจมีรูปที่เราไม่เคยดู ควรดูเป็นต้น.
บทว่า คามกถาย อาวรเย โสตํ พึงป้องกันหูจากคามกถา (คำพูดของชาวบ้าน) คือพึงป้องกันหูจากติรัจฉานกถา.
บทว่า จกฺขุโลลิเยน ความเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ คือความเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ ด้วยอำนาจความโลภอันเกิดขึ้นแล้วในจักษุทวาร.
บทว่า อทิฏฺฐํ ทกฺขิตพฺพํ รูปที่เราไม่เคยดู ควรดู คือรูปารมณ์ที่เราไม่เคยดูควรเพื่อจะดู.
บทว่า ทิฏฺฐํ สมติกฺกมิตพฺพํ รูปที่เคยเห็นแล้วควรผ่านไป คือรูปารมณ์ที่เคยเห็นแล้วควรผ่านไป.
บทว่า อาราเมน อารามํ สู่สวนแต่สวน คือสู่สวนผลไม้ สวนดอกไม้เป็นต้น แต่สวนมีสวนดอกไม้เป็นต้น.
บทว่า ทีฆจาริกํ คือ เที่ยวไปนาน.
บทว่า อนวฏฺฐิตจาริกํ เที่ยวไปไม่แน่นอน คือเที่ยวไปโดยไม่ตกลงใจ.
บทว่า อนุยุตฺโต โหติ รูปทสฺสนาย เป็นผู้ขวนขวายเพื่อจะดูรูป คือเป็นผู้ขวนขวายบ่อยๆ เพื่อจะดูรูปารมณ์.
บทว่า อนฺตรฆรํ ปวิฏฺโฐ เข้าไปสู่ละแวกบ้าน คือเข้าไปถึงภายในธรณีประตู.
บทว่า วีถึ ปฏิปนฺโน เดินไปตามถนน คือก้าวไประหว่างถนน.
บทว่า ฆรมุขานิ โอโลเกนฺโต แลดูหน้ามุขเรือน คือมองดูประตูเรือน.
บทว่า อุทฺธํ โอโลเกนฺโต แลดูข้างบน คือแหงนหน้ามองดูเบื้องบน.
บทว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา เห็นรูปด้วยจักษุ คือเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณอันสามารถเห็นรูป ที่เรียกว่าจักษุด้วยอำนาจของเหตุ.
แต่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า จักษุไม่เห็นรูป เพราะไม่มีจิต จิตไม่เห็นรูป เพราะไม่มีจักษุ ย่อมเห็นด้วยจิตอันมีปสาทจักษุกระทบอารมณ์ทางทวาร. ก็กถาเช่นนี้ชื่อว่าสสัมภารกถา (กล่าวรวมกัน) ดุจในประโยคมีอาทิว่า ยิงด้วยธนู เพราะฉะนั้น ความในข้อนี้จึงมีว่า เห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณ.
บทว่า นิมิตฺตคฺคาหี เป็นผู้ถือนิมิต คือถือนิมิตหญิงและชาย หรือนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสมีสุภนิมิตเป็นต้นด้วยอำนาจฉันทราคะ. เพียงเห็นเท่านั้นนิมิตไม่ปรากฏ.
บทว่า อนุพฺยญฺชนคฺคาหี ถืออนุพยัญชนะ คือถืออาการอันต่างด้วยมือ เท้า หัวเราะ ขบขัน พูด ชำเลืองดูและการเหลียวดูเป็นต้น เรียกว่าอนุพยัญชนะ เพราะทำให้ปรากฏโดยเป็นเหตุให้กิเลสทั้งหลายปรากฏ.
พึงทราบความในบทว่า ยตฺวาธิกรณเมนํ เป็นต้น ดังต่อไปนี้.
ธรรมทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้นเหล่านี้ พึงครอบงำติดตามบุคคลนั้นผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ด้วยประตูคือสติ ผู้ไม่ปิดจักษุทวารอันเป็นเหตุแห่งการไม่สำรวมจักขุนทรีย์.
บทว่า ตสฺส สํวราย น ปฏิปชฺชติ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ คือย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อปิดจักขุนทรีย์นั้นด้วยประตูคือสติ. ท่านกล่าวว่า ภิกษุเป็นอย่างนี้ ชื่อว่าย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์บ้าง.
ในบทนั้น การสำรวมหรือไม่สำรวม ย่อมไม่มีในจักขุนทรีย์โดยแท้. เพราะสติหรือการหลงลืมย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุประสาท.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อใดรูปารมณ์มาสู่คลองจักษุ เมื่อนั้นเมื่อภวังคจิตเกิดขึ้นแล้วดับไปสองครั้ง กิริยามโนธาตุยังอาวัชชนกิจให้สำเร็จ เกิดขึ้นแล้วดับไป. แต่นั้นจักษุวิญญาณก็ทำหน้าที่เห็น. แต่นั้นวิปากมโนธาตุทำหน้าที่รับ. แต่นั้นวิปากอเหตุกมโนวิญญาณธาตุทำหน้าที่พิจารณา. แต่นั้นกิริยาอเหตุกมโนวิญญาณธาตุยังโวฏฐัพพกิจให้สำเร็จ เกิดขึ้นแล้วดับไป. ในลำดับนั้น ชวนะจิตย่อมแล่นไป.
ความไม่สำรวมหรือความสำรวมย่อมไม่มีในสมัยแห่งภวังคจิตแม้นั้น ย่อมไม่มีในสมัยใดสมัยหนึ่ง บรรดาอาวัชชนจิตเป็นต้น. ก็ในขณะชวนะจิต หากว่า ความเป็นผู้ทุศีล ความหลงลืม ความไม่รู้ ความไม่อดทนหรือความเกียจคร้านเกิดขึ้น ความไม่สำรวมย่อมมี. ภิกษุเมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ ท่านเรียกว่าเป็นผู้ไม่สำรวมในจักขุนทรีย์.
เพราะเหตุไร. เพราะเมื่อไม่มีการสำรวมในจักขุนทรีย์มีอยู่ แม้ทวารก็ไม่เป็นอันคุ้มครอง แม้ภวังคจิต แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้นก็ไม่เป็นอันคุ้มครอง.
เหมือนอะไร. เหมือนเมื่อประตู ๔ ด้านในนครไม่ปิด แม้จะปิดประตูเรือนซุ้มและห้องเป็นต้นข้างในก็ตาม ถึงดังนั้นก็ไม่เป็นอันรักษาคุ้มครองทรัพย์ทั้งหมดภายในนครนั่นเอง โจรทั้งหลายเข้าไปทางประตูนคร พึงทำตามความต้องการฉันใด เมื่อความเป็นผู้ทุศีลเป็นต้น เกิดขึ้นในชวนะจิต เมื่อไม่มีการสำรวมนั้น แม้ทวารก็ไม่เป็นอันคุ้มครอง แม้ภวังคจิต แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็ไม่เป็นอันคุ้มครองฉันนั้นนั่นแล.



http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... &i=699&p=2


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2012, 18:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


onion onion onion

อิอิ ไม่รู้หรอกว่าอะไร แต่หยิบมาทดไว้ก่อน

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2012, 18:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
onion onion onion

อิอิ ไม่รู้หรอกว่าอะไร แต่หยิบมาทดไว้ก่อน

:b12: :b12: :b12:

เหอ ๆ ๆ :b23: :b23: :b23:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2012, 22:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
อ้างคำพูด:
เอกอนเขียน
การที่จักขุธาตุจะดับ ในทางปฏิบัติ
คือ เมื่อผู้ทำสมาธิ เลยรูปญาณ
มันจะเป็นการเข้าถึงผัสสะในระดับละเอียด
ซึ่งทำให้เขาทำลาย รูปธรรมอย่างหยาบ ลงได้
ก็จะปรากฎแต่ ธรรมธาตุอันละเอียด และ ละเอียดจนถึงขั้น
แม้แต่สัญญาก็ดับ ลงได้


ส่วนนี้ขอติดไว้ก่อน เพราะเอกอนไม่ได้ก่าวถึงผล ว่าญาณที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอะไร เป็นเพียงแต่บอกว่าเลยรูปญาณ จนถึงอรูปญาณ


เพราะพอดี เอกอนเจอคำถามของคุณ student น่ะ
ซึ่งจริงเอกอนก็ ไม่รู้ว่าตอบออกมาได้ยังไง
เอกอนก็พูดไปตามประสาจากประสบการณ์การปฏิบัติของตัวเอง
ว่าเห็นเป็นเช่นนั้น รู้ แต่ไม่สามารถจะอธิบายออกมาได้
ซึ่งก็ไม่กล้าพูดมากด้วย เพราะรายละเอียดมันโขอยู่
ซึ่งการจะพูดให้ถูกตรงไปในทุกแง่ของรายละเอียด
ก็ พระสูตร นี้ล่ะ ผู้ที่ทำได้คือ พระพุทธองค์ ... :b8: :b8: :b8:

สังเกต มีการใช้ประโยคที่ว่า ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖
ก็แสดงว่าเป็นพระสูตรที่น่าศึกษา สำหรับพวกชอบส่องสัตว์ :b12: :b12:

ซึ่งที่น่าสังเกต คือ ท่อนนี้...ไปจนจบ
พระพุทธองค์ หยิบ อรูปญาณ ขึ้นมากล่าวเลย

:b12: :b12: :b12:
eragon_joe เขียน:
Quote Tipitaka:
๗. สฬายตนวิภังคสูตร (๑๓๗)
....
[๖๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ
ก็มี อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งก็มี

ก็อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ เป็นไฉน คือ อุเบกขา
ที่มีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ นี้อุเบกขาที่มีความเป็น
ต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ

ก็อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นไฉน คือ อุเบกขา
ที่มีอาศัยอากาสานัญจายตนะ อาศัยวิญญาณัญจายตนะ อาศัยอากิญจัญญายตนะ
อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะ นี้อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอุเบกขา ๒ อย่าง พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขา
ที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มี
ความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ นั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้
เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอาศัย คืออิงความเป็นผู้
ไม่มีตัณหา แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็น
หนึ่งนั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้ ข้อที่เรา
กล่าวดังนี้ว่า ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัยทางดำเนินของ
สัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ นั่นเราอาศัยการละ การล่วง ดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ


....

[๖๓๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่า สารถี ฝึกบุรุษที่
ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ช้างที่ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกช้างไสให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียว
เท่านั้น คือ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ ม้าที่
ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกม้าขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน คือ ทิศ
ตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ โคที่ควรฝึก อันอาจารย์
ฝึกโคขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน คือ ทิศตะวันออก หรือทิศ
ตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ แต่บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมา
สัมพุทธสอนให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง ๘ ทิศ คือ ผู้ที่มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลายได้
นี้ทิศที่ ๑ ผู้ที่มีสัญญาในอรูปภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลายภายนอกได้ นี้ทิศที่ ๒
ย่อมเป็นผู้น้อมใจว่างามทั้งนั้น นี้ทิศที่ ๓ ย่อมเข้าอากาสานัญจายตนะอยู่ด้วย
ใส่ใจว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจ
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๔ ย่อมเข้าวิญญาณัญจายตนะอยู่ด้วย
ใส่ใจว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง
นี้ทิศที่ ๕ ย่อมเข้าอากิญจัญญายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า ไม่มีสักน้อยหนึ่ง เพราะล่วง
วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๖ ย่อมเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ
อยู่ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๗ ย่อมเข้าสัญญา
เวทยิตนิโรธอยู่ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๘
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธสอนให้วิ่ง
ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง ๘ ทิศดังนี้ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่าสารถีฝึก
บุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั่นเราอาศัยเหตุดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

จบ สฬายตนวิภังคสูตร ที่ ๗




โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2012, 23:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
Quote Tipitaka:
บทว่า สมาธึ คือ ชื่อว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นกุศลมีอารมณ์เดียว.
....

บทว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา เห็นรูปด้วยจักษุ คือเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณอันสามารถเห็นรูป ที่เรียกว่าจักษุด้วยอำนาจของเหตุ.
แต่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า จักษุไม่เห็นรูป เพราะไม่มีจิต จิตไม่เห็นรูป เพราะไม่มีจักษุ ย่อมเห็นด้วยจิตอันมีปสาทจักษุกระทบอารมณ์ทางทวาร. ก็กถาเช่นนี้ชื่อว่าสสัมภารกถา (กล่าวรวมกัน) ดุจในประโยคมีอาทิว่า ยิงด้วยธนู เพราะฉะนั้น ความในข้อนี้จึงมีว่า เห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณ.


อีกอย่างหนึ่ง เมื่อใดรูปารมณ์มาสู่คลองจักษุ เมื่อนั้นเมื่อภวังคจิตเกิดขึ้นแล้วดับไปสองครั้ง กิริยามโนธาตุยังอาวัชชนกิจให้สำเร็จ เกิดขึ้นแล้วดับไป. แต่นั้นจักษุวิญญาณก็ทำหน้าที่เห็น. แต่นั้นวิปากมโนธาตุทำหน้าที่รับ. แต่นั้นวิปากอเหตุกมโนวิญญาณธาตุทำหน้าที่พิจารณา. แต่นั้นกิริยาอเหตุกมโนวิญญาณธาตุยังโวฏฐัพพกิจให้สำเร็จ เกิดขึ้นแล้วดับไป. ในลำดับนั้น ชวนะจิตย่อมแล่นไป.


http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... &i=699&p=2


พระสูตรนี้ หยิบมาเพราะ
มีรายละเอียดบางส่วนแสดง ธาตุ/วิญญาณ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการเห็น

ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่า วิญญาณที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการเห็นคืออะไร
และจะทำให้เราเห็นพฤติกรรมของวิญญาณแต่ละตัว ชัดเจน
และการทำงานของมันไม่ก้าวก่ายกัน

มันก็เป็นส่วนที่ผู้ปฏิบัติที่เฝ้าพิจารณา เกิด-ดับ จะสังเกตเห็นเองไปตามลำดับ

และก็จะเป็นบาทฐานไปสู่ การพิจารณาเห็น วิญญาณ เป็นอนัตตา

:b53: :b53: :b53:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 02 ก.ย. 2012, 23:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2012, 23:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
เอชสูตรที่ ๒

ฉฉักกสูตร


ส่วน 2 พระสูตรนี้

คือจะบอกว่า ผู้ปฏิบัติที่เขาพิจารณาขันธ์ อายตนะ
จะวิตกไปตามนั้นล่ะ
และเขาก็จะค่อย ๆ ไล่เห็นไปตามนั้น

ไม่ใช่ท่องจำ เพื่อให้คิดได้ตามนั้นนะ

เป็นการเข้าไปพิจารณาให้เห็นตามนั้นจริง ๆ

:b12: :b12: :b12:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 101 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร