วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 06:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 101 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2012, 04:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
eragon_joe เขียน:
เอชสูตรที่ ๒

ฉฉักกสูตร


ส่วน 2 พระสูตรนี้

คือจะบอกว่า ผู้ปฏิบัติที่เขาพิจารณาขันธ์ อายตนะ
จะวิตกไปตามนั้นล่ะ
และเขาก็จะค่อย ๆ ไล่เห็นไปตามนั้น

ไม่ใช่ท่องจำ เพื่อให้คิดได้ตามนั้นนะ

เป็นการเข้าไปพิจารณาให้เห็นตามนั้นจริง ๆ

:b12: :b12: :b12:
เอกอนนนี่ เก่งเรื่องตีความหมายในพระสูตรนะ bigtooนี้มีนตึบเลยเรื่องแบบนี้ ต้องมีคนอธิบายให้ฟัง :b12: :b12:

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2012, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
eragon_joe เขียน:
eragon_joe เขียน:
เอชสูตรที่ ๒

ฉฉักกสูตร


ส่วน 2 พระสูตรนี้

คือจะบอกว่า ผู้ปฏิบัติที่เขาพิจารณาขันธ์ อายตนะ
จะวิตกไปตามนั้นล่ะ
และเขาก็จะค่อย ๆ ไล่เห็นไปตามนั้น

ไม่ใช่ท่องจำ เพื่อให้คิดได้ตามนั้นนะ

เป็นการเข้าไปพิจารณาให้เห็นตามนั้นจริง ๆ

:b12: :b12: :b12:
เอกอนนนี่ เก่งเรื่องตีความหมายในพระสูตรนะ bigtooนี้มีนตึบเลยเรื่องแบบนี้ ต้องมีคนอธิบายให้ฟัง :b12: :b12:

เหมียนก้านน :b4: :b4: :b17: :b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2012, 23:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b3: :b3: :b3:

:b28: :b28:

จะให้คุยโวต่อ หรือจะให้ถ่อมตัวดีล่ะ 555

:b13: :b13: :b13:

คือ แบบว่ามันก็ ทำได้ทั้งสองอย่างน่ะ :b32: :b9: :b9:

เพราะมันก็มีความพร้อมทั้งสองอย่างอยู่ในตัว :b32:

เพียงแต่จะเลือกแสดงอะไรออกมาเท่านั้นเอง 5555

เอิ๊ก เอิ๊ก เอิ๊ก


:b41: :b41: :b41:

คือ คนถ้ามัวแต่แหงนหน้ามองฟ้า ก็คงไม่แคล้วที่จะเผลอเดินไปเหยียบขี้ได้
คนถ้ามัวแต่ก้มมองดูดิน อาจจะโชคดีได้เจอตังหล่น แต่ก็อาจจะได้เจออะไรลอยมาโป๊กหัวได้


:b16: :b16: :b16:

smiley smiley smiley

เอาเป็นว่า ขอบคุณสำหรับคำชม เจ้าค่ะ

smiley smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2012, 01:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
Quote Tipitaka:
บทว่า สมาธึ คือ ชื่อว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นกุศลมีอารมณ์เดียว.
ชื่อว่าสมาธิด้วยอรรถว่ากระไร. ด้วยอรรถว่าตั้งใจมั่น. ชื่อว่าการตั้งใจมั่นนี้เป็นอย่างไร. คือการตั้งจิตและเจตสิกไว้ในอารมณ์เดียวเสมอและโดยชอบ. ท่านอธิบายว่าการตั้งไว้. เพราะฉะนั้น จิตและเจตสิกทั้งหลายไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วุ่นวาย ตั้งอยู่ในอารมณ์เดียว ด้วยอานุภาพแห่งธรรมใดเสมอและโดยชอบ นี้พึงทราบว่าการตั้งใจมั่น.
ท่านกล่าวถึงสมาธินั้นเป็นคาถาประพันธ์ว่า
สมาธินั้น มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ มีความกำจัด
ความฟุ้งซ่านเป็นรส มีความไม่หวั่นไหวเป็นเครื่องปรากฏ
มีความสุข ความเจริญเป็นปทัฏฐาน.
สมาธิ ชื่อว่าตั้งมั่น เพราะตั้งอยู่ในอารมณ์โดยความไม่ขุ่นมัวไม่หวั่นไหว. สองบทต่อไปเพิ่มอุปสัค. ชื่อว่าตั้งอยู่พร้อม เพราะรวบรวมแม้อารมณ์ในสัมปยุตธรรมตั้งอยู่. ชื่อว่าตั้งลง เพราะไม่เข้าไปเกาะอารมณ์ตั้งอยู่.
จริงอยู่ ในฝ่ายกุศลธรรมมี ๔ อย่าง คือศรัทธา สติ สมาธิและปัญญาย่อมหยั่งลงในอารมณ์. ด้วยเหตุนั้นแล ศรัทธาท่านจึงกล่าวว่าแน่วแน่. สติท่านกล่าวว่าไม่เลื่อนลอย. สมาธิท่านกล่าวว่าตั้งลงดิ่ง. ปัญญาท่านกล่าวว่าหยั่งลง.
ส่วนในฝ่ายอกุศลธรรมมี ๓ อย่าง คือ ตัณหา ทิฏฐิและอวิชชาย่อมหยั่งลงในอารมณ์. ด้วยเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นโอฆะ.
อนึ่ง ในฝ่ายอกุศลนี้ จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้ แต่ไม่มีกำลัง. เหมือนอย่างว่า เมื่อบุคคลเอาน้ำรดในที่เปรอะด้วยธุลีแล้วถู ธุลีหายไปชั่วขณะเล็กน้อย เมื่อแห้งแล้วธุลีก็ปรากฏตามเดิมอีกฉันใด ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งในฝ่ายอกุศล จึงไม่มีกำลังฉันนั้นเหมือนกัน. ชื่อว่าไม่มีความฟุ้งซ่าน เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่านอันเป็นไปแล้วด้วยอำนาจความฟุ้งซ่านและความสงสัย. จิตแล่นไปด้วยอำนาจความฟุ้งซ่านและความสงสัยนั่นแล ชื่อว่าย่อมฟุ้งซ่าน. แต่สมาธินี้ไม่ฟุ้งซ่านอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าไม่ฟุ้งซ่าน. จิตแล่นไปคือแล่นไปข้างโน้นข้างนี้ด้วยอำนาจความฟุ้งซ่านและความสงสัย. แต่ความเป็นผู้มีใจอันอะไรๆ ไม่ให้ฟุ้งซ่านไปได้อย่างนี้ ชื่อว่า อวิสาหฏมานสตา ความมีใจไม่ฟุ้งซ่าน. บทว่า สมโถ ความสงบ มี ๓ อย่างคือจิตตสมถะ (ความสงบจิต) ๑ อธิกรณสมถะ (ความสงบอธิกรณ์) ๑ สัพพสังขารสมถะ (ความสงบสังขารทั้งปวง) ๑.
ในสมถะ ๓ อย่างนั้น ชื่อว่าจิตตสมถะ เพราะจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งในสมาบัติ ๘. เพราะจิตหวั่นไหว จิตดิ้นรน สงบระงับเพราะอาศัยสมถะนั้น ฉะนั้น สมถะนั้น ท่านจึงเรียกว่าจิตตสมถะ.
ชื่อว่าอธิกรณสมถะ (ความสงบอธิกรณ์) มี ๗ อย่าง มีสัมมุขาวินัย (ในที่พร้อมหน้าบุคคล วัตถุและธรรม) เป็นต้น. อธิกรณ์ทั้งหลายนั้นๆ สงบระงับไปเพราะอาศัยสมถะนั้น เพราะฉะนั้น สมถะนั้น ท่านจึงเรียกว่าอธิกรณสมถะ.
แต่เพราะสังขารทั้งหลายทั้งปวงสงบระงับไป เพราะอาศัยนิพพาน ฉะนั้น นิพพานนั้น ท่านจึงเรียกว่าสัพพสังขารสมถะ.
ในความนี้ ท่านประสงค์เอาจิตตสมถะ.
ชื่อว่าสมาธินทริยะ เพราะทำความเป็นใหญ่ในลักษณะของสมาธิ. ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะ.
บทว่า สมฺมาสมาธิ ได้แก่ สมาธิแน่นอน สมาธินำสัตว์ออกไป.
ลำดับนั้น เพราะอินทรีย์สังวรเป็นการรักษาศีล หรือเพราะเทศนานี้ที่พระองค์ทรงแสดงตามลำดับนี้ เป็นที่สบายของเทวดาทั้งหลาย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงปฏิปทาเริ่มตั้งแต่อินทรีย์สังวรไป จึงทรงปรารภคำมีอาทิว่า จกฺขูหิ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า จกฺขูหิ เนว โลลสฺส ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุทั้งหลาย คือไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุทั้งหลาย ด้วยอำนาจมีรูปที่เราไม่เคยดู ควรดูเป็นต้น.
บทว่า คามกถาย อาวรเย โสตํ พึงป้องกันหูจากคามกถา (คำพูดของชาวบ้าน) คือพึงป้องกันหูจากติรัจฉานกถา.
บทว่า จกฺขุโลลิเยน ความเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ คือความเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ ด้วยอำนาจความโลภอันเกิดขึ้นแล้วในจักษุทวาร.
บทว่า อทิฏฺฐํ ทกฺขิตพฺพํ รูปที่เราไม่เคยดู ควรดู คือรูปารมณ์ที่เราไม่เคยดูควรเพื่อจะดู.
บทว่า ทิฏฺฐํ สมติกฺกมิตพฺพํ รูปที่เคยเห็นแล้วควรผ่านไป คือรูปารมณ์ที่เคยเห็นแล้วควรผ่านไป.
บทว่า อาราเมน อารามํ สู่สวนแต่สวน คือสู่สวนผลไม้ สวนดอกไม้เป็นต้น แต่สวนมีสวนดอกไม้เป็นต้น.
บทว่า ทีฆจาริกํ คือ เที่ยวไปนาน.
บทว่า อนวฏฺฐิตจาริกํ เที่ยวไปไม่แน่นอน คือเที่ยวไปโดยไม่ตกลงใจ.
บทว่า อนุยุตฺโต โหติ รูปทสฺสนาย เป็นผู้ขวนขวายเพื่อจะดูรูป คือเป็นผู้ขวนขวายบ่อยๆ เพื่อจะดูรูปารมณ์.
บทว่า อนฺตรฆรํ ปวิฏฺโฐ เข้าไปสู่ละแวกบ้าน คือเข้าไปถึงภายในธรณีประตู.
บทว่า วีถึ ปฏิปนฺโน เดินไปตามถนน คือก้าวไประหว่างถนน.
บทว่า ฆรมุขานิ โอโลเกนฺโต แลดูหน้ามุขเรือน คือมองดูประตูเรือน.
บทว่า อุทฺธํ โอโลเกนฺโต แลดูข้างบน คือแหงนหน้ามองดูเบื้องบน.
บทว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา เห็นรูปด้วยจักษุ คือเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณอันสามารถเห็นรูป ที่เรียกว่าจักษุด้วยอำนาจของเหตุ.
แต่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า จักษุไม่เห็นรูป เพราะไม่มีจิต จิตไม่เห็นรูป เพราะไม่มีจักษุ ย่อมเห็นด้วยจิตอันมีปสาทจักษุกระทบอารมณ์ทางทวาร. ก็กถาเช่นนี้ชื่อว่าสสัมภารกถา (กล่าวรวมกัน) ดุจในประโยคมีอาทิว่า ยิงด้วยธนู เพราะฉะนั้น ความในข้อนี้จึงมีว่า เห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณ.
บทว่า นิมิตฺตคฺคาหี เป็นผู้ถือนิมิต คือถือนิมิตหญิงและชาย หรือนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสมีสุภนิมิตเป็นต้นด้วยอำนาจฉันทราคะ. เพียงเห็นเท่านั้นนิมิตไม่ปรากฏ.
บทว่า อนุพฺยญฺชนคฺคาหี ถืออนุพยัญชนะ คือถืออาการอันต่างด้วยมือ เท้า หัวเราะ ขบขัน พูด ชำเลืองดูและการเหลียวดูเป็นต้น เรียกว่าอนุพยัญชนะ เพราะทำให้ปรากฏโดยเป็นเหตุให้กิเลสทั้งหลายปรากฏ.
พึงทราบความในบทว่า ยตฺวาธิกรณเมนํ เป็นต้น ดังต่อไปนี้.
ธรรมทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้นเหล่านี้ พึงครอบงำติดตามบุคคลนั้นผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ด้วยประตูคือสติ ผู้ไม่ปิดจักษุทวารอันเป็นเหตุแห่งการไม่สำรวมจักขุนทรีย์.
บทว่า ตสฺส สํวราย น ปฏิปชฺชติ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ คือย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อปิดจักขุนทรีย์นั้นด้วยประตูคือสติ. ท่านกล่าวว่า ภิกษุเป็นอย่างนี้ ชื่อว่าย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์บ้าง.
ในบทนั้น การสำรวมหรือไม่สำรวม ย่อมไม่มีในจักขุนทรีย์โดยแท้. เพราะสติหรือการหลงลืมย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุประสาท.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อใดรูปารมณ์มาสู่คลองจักษุ เมื่อนั้นเมื่อภวังคจิตเกิดขึ้นแล้วดับไปสองครั้ง กิริยามโนธาตุยังอาวัชชนกิจให้สำเร็จ เกิดขึ้นแล้วดับไป. แต่นั้นจักษุวิญญาณก็ทำหน้าที่เห็น. แต่นั้นวิปากมโนธาตุทำหน้าที่รับ. แต่นั้นวิปากอเหตุกมโนวิญญาณธาตุทำหน้าที่พิจารณา. แต่นั้นกิริยาอเหตุกมโนวิญญาณธาตุยังโวฏฐัพพกิจให้สำเร็จ เกิดขึ้นแล้วดับไป. ในลำดับนั้น ชวนะจิตย่อมแล่นไป. ความไม่สำรวมหรือความสำรวมย่อมไม่มีในสมัยแห่งภวังคจิตแม้นั้น ย่อมไม่มีในสมัยใดสมัยหนึ่ง บรรดาอาวัชชนจิตเป็นต้น. ก็ในขณะชวนะจิต หากว่า ความเป็นผู้ทุศีล ความหลงลืม ความไม่รู้ ความไม่อดทนหรือความเกียจคร้านเกิดขึ้น ความไม่สำรวมย่อมมี. ภิกษุเมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ ท่านเรียกว่าเป็นผู้ไม่สำรวมในจักขุนทรีย์.
เพราะเหตุไร. เพราะเมื่อไม่มีการสำรวมในจักขุนทรีย์มีอยู่ แม้ทวารก็ไม่เป็นอันคุ้มครอง แม้ภวังคจิต แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้นก็ไม่เป็นอันคุ้มครอง.
เหมือนอะไร. เหมือนเมื่อประตู ๔ ด้านในนครไม่ปิด แม้จะปิดประตูเรือนซุ้มและห้องเป็นต้นข้างในก็ตาม ถึงดังนั้นก็ไม่เป็นอันรักษาคุ้มครองทรัพย์ทั้งหมดภายในนครนั่นเอง โจรทั้งหลายเข้าไปทางประตูนคร พึงทำตามความต้องการฉันใด เมื่อความเป็นผู้ทุศีลเป็นต้น เกิดขึ้นในชวนะจิต เมื่อไม่มีการสำรวมนั้น แม้ทวารก็ไม่เป็นอันคุ้มครอง แม้ภวังคจิต แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็ไม่เป็นอันคุ้มครองฉันนั้นนั่นแล.



http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... &i=699&p=2



ขอขอบคุณเอกอนที่นำเอาพระสูตรมาลง ส่วนตัวก็อ่านแล้วแต่ต้องเข้าไปอ่านอีกเพื่อพิจารณาที่ เป็นสีก็คือต้องเข้าไปทำความเข้าใจต่อไป

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2012, 07:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
Quote Tipitaka:
บทว่า ตสฺส สํวราย น ปฏิปชฺชติ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ คือย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อปิดจักขุนทรีย์นั้นด้วยประตูคือสติ. ท่านกล่าวว่า ภิกษุเป็นอย่างนี้ ชื่อว่าย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์บ้าง.
ในบทนั้น การสำรวมหรือไม่สำรวม ย่อมไม่มีในจักขุนทรีย์โดยแท้. เพราะสติหรือการหลงลืมย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุประสาท.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อใดรูปารมณ์มาสู่คลองจักษุ เมื่อนั้นเมื่อภวังคจิตเกิดขึ้นแล้วดับไปสองครั้ง กิริยามโนธาตุยังอาวัชชนกิจให้สำเร็จ เกิดขึ้นแล้วดับไป. แต่นั้นจักษุวิญญาณก็ทำหน้าที่เห็น. แต่นั้นวิปากมโนธาตุทำหน้าที่รับ. แต่นั้นวิปากอเหตุกมโนวิญญาณธาตุทำหน้าที่พิจารณา. แต่นั้นกิริยาอเหตุกมโนวิญญาณธาตุยังโวฏฐัพพกิจให้สำเร็จ เกิดขึ้นแล้วดับไป. ในลำดับนั้น ชวนะจิตย่อมแล่นไป. ความไม่สำรวมหรือความสำรวมย่อมไม่มีในสมัยแห่งภวังคจิตแม้นั้น ย่อมไม่มีในสมัยใดสมัยหนึ่ง บรรดาอาวัชชนจิตเป็นต้น. ก็ในขณะชวนะจิต หากว่า ความเป็นผู้ทุศีล ความหลงลืม ความไม่รู้ ความไม่อดทนหรือความเกียจคร้านเกิดขึ้น ความไม่สำรวมย่อมมี. ภิกษุเมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ ท่านเรียกว่าเป็นผู้ไม่สำรวมในจักขุนทรีย์.
เพราะเหตุไร. เพราะเมื่อไม่มีการสำรวมในจักขุนทรีย์มีอยู่ แม้ทวารก็ไม่เป็นอันคุ้มครอง แม้ภวังคจิต แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้นก็ไม่เป็นอันคุ้มครอง.
เหมือนอะไร. เหมือนเมื่อประตู ๔ ด้านในนครไม่ปิด แม้จะปิดประตูเรือนซุ้มและห้องเป็นต้นข้างในก็ตาม ถึงดังนั้นก็ไม่เป็นอันรักษาคุ้มครองทรัพย์ทั้งหมดภายในนครนั่นเอง โจรทั้งหลายเข้าไปทางประตูนคร พึงทำตามความต้องการฉันใด เมื่อความเป็นผู้ทุศีลเป็นต้น เกิดขึ้นในชวนะจิต เมื่อไม่มีการสำรวมนั้น แม้ทวารก็ไม่เป็นอันคุ้มครอง แม้ภวังคจิต แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็ไม่เป็นอันคุ้มครองฉันนั้นนั่นแล


http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... &i=699&p=2.



ขอขอบคุณเอกอนที่นำเอาพระสูตรมาลง ส่วนตัวก็อ่านแล้วแต่ต้องเข้าไปอ่านอีกเพื่อพิจารณาที่ เป็นสีก็คือต้องเข้าไปทำความเข้าใจต่อไป


:b8: เยี่ยมแล้ว กับความช่างสังเกตของท่าน

ซึ่งพอมาใช้กับคำว่า สติ ตามอรรถกถาใช้กับคำว่า จักขุนทรีย์ :b16:

ท่านได้คำเกี่ยวกับ อินทรีย์ เข้ามาอีกหนึ่งแล้ว :b16:

ตอนนี้ มี จักษุธาตุ จักษุวิญญาณ จักขุนินทรีย์

เพราะสติหรือการหลงลืมย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุประสาท.

และก็จะมี จักษุประสาท ซึ่ง จักษุประสาท ก็มีความนัยประมาณนี้ :b1:

ก้อนเนื้อที่กำหนดด้วยความโค้งของลูกตา ๒ ข้างคือข้างล่างด้วยกระดูกเบ้าตา ข้างบนด้วยกระดูกคิ้ว ข้างนอกด้วยขนตา เกี่ยวเนื่องด้วยสมองซึ่งมีเส้นเอ็นแล่นออกท่ามกลางเบ้าตาวิจิตรด้วยวงดำเป็นตาขาวตาดำ นี้ชื่อสสัมภารจักษุ. ประสาทซึ่งผูกที่ก้อนเนื้อนี้ ติดเนื่องในชิ้นเนื้อนี้ อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้ชื่อปสาทจักษุ ซึ่งประสงค์ในที่นี้.

:b1:

:b41: :b41: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2012, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b3: :b3: :b3:

:b28: :b28:

จะให้คุยโวต่อ หรือจะให้ถ่อมตัวดีล่ะ 555

:b13: :b13: :b13:

คือ แบบว่ามันก็ ทำได้ทั้งสองอย่างน่ะ :b32: :b9: :b9:

เพราะมันก็มีความพร้อมทั้งสองอย่างอยู่ในตัว :b32:

เพียงแต่จะเลือกแสดงอะไรออกมาเท่านั้นเอง 5555

เอิ๊ก เอิ๊ก เอิ๊ก


:b41: :b41: :b41:

ฮึ ฮึ .. ชมไม่ได้เลยนะ หมั่นไส้ จิง จิ๊ง .. :b32:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2012, 13:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
[348] ธาตุ 18 (สิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เอง ตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นไปตามธรรมนิยามคือกำหนดแห่งธรรมดา ไม่มีผู้สร้างผู้บันดาล และมีรูปลักษณะกิจอาการเป็นแบบจำเพาะตัว อันพึงกำหนดเอาเป็นหลักได้แต่ละอย่างๆ — elements)
1. จักขุธาตุ (ธาตุคือจักขุปสาท — eye element)
2. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปารมณ์ — visible-data element)
3. จักขุวิญญาณธาตุ (ธาตุคือจักขุวิญญาณ — eye-consciousness element)
4. โสตธาตุ (ธาตุคือโสตปสาท — ear element)
5. สัททธาตุ (ธาตุคือสัททารมณ์ — sound element)
6. โสตวิญญาณธาตุ (ธาตุคือโสตวิญญาณ — ear-consciousness element)
7. ฆานธาตุ (ธาตุคือฆานปสาท — nose element)
8. คันธธาตุ (ธาตุคือคันธารมณ์ — odor element)
9. ฆานวิญญาณธาตุ (ธาตุคือฆานวิญญาณ — nose-conscious-ness element)
10. ชิวหาธาตุ (ธาตุคือชิวหาปสาท — ton gue element)
11. รสธาตุ (ธาตุคือรสารมณ์ — flavor element)
12. ชิวหาวิญญาณธาตุ (ธาตุคือชิวหาวิญญาณ — ton gue-consciousness element)
13. กายธาตุ (ธาตุคือกายปสาท — body element)
14. โผฏฐัพพธาตุ (ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์ — tangible-data element)
15. กายวิญญาณธาตุ (ธาตุคือกายวิญญาณ — body-consciousness element)
16. มโนธาตุ (ธาตุคือมโน — mind element)
17. ธรรมธาตุ (ธาตุคือธรรมารมณ์ — mental-data element)
18. มโนวิญญาณธาตุ (ธาตุคือมโนวิญญาณ — mind-consciousness element)

ข้อควรสังเกต
ก. ข้อ 3-6-9-12-15 ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณจิต รวมเป็นจิต = 10
ข. ข้อ 16 มโนธาตุ ได้แก่ สัมปฏิจฉนะ 2 กับปัญจทวาราวัชชนะ 1 รวมเป็นจิต = 3
ค. ข้อ 18 มโนวิญญาณธาตุ ได้แก่ จิตนอกเหนือจากนั้นอีก 76
รวมเป็นจิตทั้งสิ้น = 89


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2012, 13:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ดังนั้นสิ่งที่ถูกกำหนดจึงเป็นเวทนาขันธ์จากการชงกาแฟ และ จักษุธาตุหรือ การทำงานของจักษุธาตุตอนนั้น วิญญาณขันธืจึงกำหนดที่จักษุธาตุ สิ่งที่ปรากฏออกมาจึงเป็น การเกิดดับของจักษุธาตุต่อการมอง


การเกิดดับของ จักษุธาตุ ที่คุณ student ต้องการจะสื่อนั้น
หมายถึง
ก้อนเนื้อที่กำหนดด้วยความโค้งของลูกตา ๒ ข้างคือข้างล่างด้วยกระดูกเบ้าตา ข้างบนด้วยกระดูกคิ้ว ข้างนอกด้วยขนตา เกี่ยวเนื่องด้วยสมองซึ่งมีเส้นเอ็นแล่นออกท่ามกลางเบ้าตาวิจิตรด้วยวงดำเป็นตาขาวตาดำ นี้ชื่อสสัมภารจักษุ. ประสาทซึ่งผูกที่ก้อนเนื้อนี้ ติดเนื่องในชิ้นเนื้อนี้ อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้ชื่อปสาทจักษุ ซึ่งประสงค์ในที่นี้.
ที่ว่านี้รึเปล่า

:b1:

นั่นคือเหตุผลหนึ่งที่เอกอนจึงบอกว่า

จักขุธาตุเกิดดับ
จักขุธาตุเกิด น่าจะเป็นไปในลักษณะ ธาตุต่าง ๆ มาประชุมกัน และทำหน้าที่เป็นจักขุธาตุ
และจักขุธาตุดับก็คือ ธาตุแยกย้ายกันไป


และส่วนตรงนี้

การที่จักขุธาตุจะดับ ในทางปฏิบัติ
คือ เมื่อผู้ทำสมาธิ เลยรูปญาณ
มันจะเป็นการเข้าถึงผัสสะในระดับละเอียด
ซึ่งทำให้เขาทำลาย รูปธรรมอย่างหยาบ ลงได้
ก็จะปรากฎแต่ ธรรมธาตุอันละเอียด และ ละเอียดจนถึงขั้น
แม้แต่สัญญาก็ดับ ลงได้


17. ธรรมธาตุ (ธาตุคือธรรมารมณ์ — mental-data element)


:b8: :b1: :b1: :b8:

งานนี้ต้องขอบคุณคุณ student
เพราะทำให้เพื่อน ๆ ที่ติดตาม แม้แต่เอกอนเองก็ได้เปิดหูเปิดตาเกี่ยวกับ
ธาตุ อายตนะ และ วิญญาณ ค่อนข้างมาก


:b8: :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2012, 00:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
student เขียน:
ดังนั้นสิ่งที่ถูกกำหนดจึงเป็นเวทนาขันธ์จากการชงกาแฟ และ จักษุธาตุหรือ การทำงานของจักษุธาตุตอนนั้น วิญญาณขันธืจึงกำหนดที่จักษุธาตุ สิ่งที่ปรากฏออกมาจึงเป็น การเกิดดับของจักษุธาตุต่อการมอง


การเกิดดับของ จักษุธาตุ ที่คุณ student ต้องการจะสื่อนั้น
หมายถึง
ก้อนเนื้อที่กำหนดด้วยความโค้งของลูกตา ๒ ข้างคือข้างล่างด้วยกระดูกเบ้าตา ข้างบนด้วยกระดูกคิ้ว ข้างนอกด้วยขนตา เกี่ยวเนื่องด้วยสมองซึ่งมีเส้นเอ็นแล่นออกท่ามกลางเบ้าตาวิจิตรด้วยวงดำเป็นตาขาวตาดำ นี้ชื่อสสัมภารจักษุ. ประสาทซึ่งผูกที่ก้อนเนื้อนี้ ติดเนื่องในชิ้นเนื้อนี้ อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้ชื่อปสาทจักษุ ซึ่งประสงค์ในที่นี้.
ที่ว่านี้รึเปล่า

:b1:

นั่นคือเหตุผลหนึ่งที่เอกอนจึงบอกว่า

จักขุธาตุเกิดดับ
จักขุธาตุเกิด น่าจะเป็นไปในลักษณะ ธาตุต่าง ๆ มาประชุมกัน และทำหน้าที่เป็นจักขุธาตุ
และจักขุธาตุดับก็คือ ธาตุแยกย้ายกันไป


และส่วนตรงนี้

การที่จักขุธาตุจะดับ ในทางปฏิบัติ
คือ เมื่อผู้ทำสมาธิ เลยรูปญาณ
มันจะเป็นการเข้าถึงผัสสะในระดับละเอียด
ซึ่งทำให้เขาทำลาย รูปธรรมอย่างหยาบ ลงได้
ก็จะปรากฎแต่ ธรรมธาตุอันละเอียด และ ละเอียดจนถึงขั้น
แม้แต่สัญญาก็ดับ ลงได้


17. ธรรมธาตุ (ธาตุคือธรรมารมณ์ — mental-data element)


:b8: :b1: :b1: :b8:

งานนี้ต้องขอบคุณคุณ student
เพราะทำให้เพื่อน ๆ ที่ติดตาม แม้แต่เอกอนเองก็ได้เปิดหูเปิดตาเกี่ยวกับ
ธาตุ อายตนะ และ วิญญาณ ค่อนข้างมาก


:b8: :b8: :b8: :b8:



ก่อนอื่นต้องขอบคุณเอกอน ที่ส่งเสริมช่วยหาความถูกต้องของธรรมจากพระสูตร เป็นการต่อยอดให้ได้รับความรู้เพิ่มเติม

อย่างที่เอกอนกล่าว
อ้างคำพูด:
ก้อนเนื้อที่กำหนดด้วยความโค้งของลูกตา ๒ ข้างคือข้างล่างด้วยกระดูกเบ้าตา ข้างบนด้วยกระดูกคิ้ว ข้างนอกด้วยขนตา เกี่ยวเนื่องด้วยสมองซึ่งมีเส้นเอ็นแล่นออกท่ามกลางเบ้าตาวิจิตรด้วยวงดำเป็นตาขาวตาดำ นี้ชื่อสสัมภารจักษุ. ประสาทซึ่งผูกที่ก้อนเนื้อนี้ ติดเนื่องในชิ้นเนื้อนี้ อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้ชื่อปสาทจักษุ


เป็นการเข้าไปพิจารณารูปโดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ แต่ก็มีการอาศัยนามขันธ์ การเห็นจึงจะเกิดขึ้น
อ้างคำพูด:
การที่จักขุธาตุจะดับ ในทางปฏิบัติ
คือ เมื่อผู้ทำสมาธิ เลยรูปญาณ
มันจะเป็นการเข้าถึงผัสสะในระดับละเอียด
ซึ่งทำให้เขาทำลาย รูปธรรมอย่างหยาบ ลงได้
ก็จะปรากฎแต่ [b]ธรรมธาตุอันละเอียด
และ ละเอียดจนถึงขั้น
แม้แต่สัญญาก็ดับ ลงได้


อย่างคนหากมีธาตุรู้ที่ทำงานดี แล้วมองหาดทราย การที่จะมองให้เห็นรายละเอียดนั้น จะแตกต่างกัน ผู้ที่มีจิตตั้งมั่น หรือมีสติ จะมองเห็นรายละเอียดแม้กระทั่งทรายทุกเม็ด ในขณะที่ผู้ที่จิตใจเลื่อนลอย จะมองเห็นแค่ว่าเป็นหาดทราย เอกอนมีความเห็นว่าอย่างไร

ขอเพิ่มเติมคำถาม อย่างมองจอคอมตอนนี้ มองที่จอคอม มีวิญญาณอยู่ที่จอข้างหน้า แต่ อาศัยสติมาอยู่ที่ จักษุธาตุ แล้วขอถามว่าเอกอนเห็นอะไร (คำว่าเห็นในที่นี้คือ เห็นด้วย นามรูปของขันธ์5อย่างไร)แล้วลอง ค่อยๆเลื่อนสายตาจากจุดเล็กๆ ของตัวอักษรจุดหนึ่ง ค่อยๆ เลื่อนสายตาไปอีกจุดหนึ่ง เอกอนเห็นอะไร (แต่ต้องมีสติอยู่ที่จักษุธาตุ)

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2012, 09:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นว่าท่านกำลังพาไปให้สังเกตเห็น จิต/วิญญาณ ประเภทหนึ่งที่ปรากฎ
ที่ทำให้ลูกตาเคลื่อนที่จากอักษรตัวหนึ่งไปยังอักษรอีกตัวหนึ่ง
ซึ่งท่านน่าจะเรียก จิต นั่นว่า สติ

รึเปล่า

:b1:

สติ - จักขุนทรีย์

student เขียน:
อย่างคนหากมีธาตุรู้ที่ทำงานดี แล้วมองหาดทราย การที่จะมองให้เห็นรายละเอียดนั้น จะแตกต่างกัน ผู้ที่มีจิตตั้งมั่น หรือมีสติ จะมองเห็นรายละเอียดแม้กระทั่งทรายทุกเม็ด ในขณะที่ผู้ที่จิตใจเลื่อนลอย จะมองเห็นแค่ว่าเป็นหาดทราย เอกอนมีความเห็นว่าอย่างไร


อย่างตรงนี้ ท่านเริ่มใช้คำว่า ธาตุรู้

ธาตุรู้ จะชี้ไปในส่วนการพิจารณาในส่วน มโนธาตุ/มโนวิญญาณ
ซึ่ง ตรงนี้ถ้าจะเห็นการเกิดดับของ ธาตุรู้ เอกอนเห็นด้วย
ที่จะเห็นเกิดดับ อย่างที่ท่านอธิบาย

อ้างคำพูด:
ขอเพิ่มเติมคำถาม อย่างมองจอคอมตอนนี้ มองที่จอคอม มีวิญญาณอยู่ที่จอข้างหน้า แต่ อาศัยสติมาอยู่ที่ จักษุธาตุ ..........(แต่ต้องมีสติอยู่ที่จักษุธาตุ)


แต่ตรงนี้ท่านกลับมาที่ จักษุธาตุ อีกแล้ว :b1:

คือ ท่านยังใช้คำว่า ธาตุรู้ กับ จักษุธาตุ ในลักษณะเป็นสิ่งเดียวกัน

:b48: :b41: :b41: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2012, 13:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเพิ่มเติมคำถาม อย่างมองจอคอมตอนนี้ มองที่จอคอม มีวิญญาณอยู่ที่จอข้างหน้า แต่ อาศัยสติมาอยู่ที่ จักษุธาตุ แล้วขอถามว่าเอกอนเห็นอะไร

จักขุธาตุ (ธาตุคือจักขุปสาท — eye element)
ประสาทซึ่งผูกที่ก้อนเนื้อนี้ ติดเนื่องในชิ้นเนื้อนี้ อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้ชื่อปสาทจักษุ ซึ่งประสงค์ในที่นี้.

ท่านหมายถึง ให้ เอาสติมาอยู่ที่ ตรงนี้ จริง ๆ เหร๋อ

เอาล่ะ
ท่านเล่าเถอะ ว่าท่านเห็น จักษุธาตุเกิด-ดับ อย่างไร
เพราะ อย่างน้อย ๆ จักขุธาตุ อาศัย มหาภูตรูป 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ

ซึ่งเอกอน เคยตอบว่า

จักขุธาตุเกิดดับ
จักขุธาตุเกิด น่าจะเป็นไปในลักษณะ ธาตุต่าง ๆ มาประชุมกัน และทำหน้าที่เป็นจักขุธาตุ
และจักขุธาตุดับก็คือ ธาตุแยกย้ายกันไป


อิอิ นั่นถือได้ว่าเอกอนตอบถูกไปแล้ว 1 คำตอบ
เหลืออีก 1 คำตอบที่เอกอนตอบไป 5555 :b13: :b13:
และจริง ๆ เอกอนก็หยิบหลักฐานมาแล้ว
เพียงแต่ยังไม่พร้อมที่จะอธิบาย

ดังนั้น ตอนนี้ ถือว่าเป็นทีของคุณ student แล้ว

ถ้าเป็นไปได้ ลองไปเอาพระสูตร ที่จะอธิบายสิ่งที่ท่านเข้าใจมาด้วย
จะเป็นการดี
ไม่ได้กะว่าจะเล่นเกมหมากรุกกับท่านนะ :b12:
การคุยกับคุณ student เอกอนชอบ ตรงที่คุณเป็นคนที่รักษาอารมณ์การสนทนาได้ดี
ทำให้การคุยที่แม้เหมือนว่าตอนนี้ เอกอน กับ คุณมีแง่ในการเห็นแตกต่างกันอยู่
แต่คุณเปิดใจที่จะแสดง และ รับฟัง
ทำให้การสนทนา เป็นประโยชน์ทั้งต่อคุณ ต่อเอกอน และต่อคนอื่น ๆ
และเราต่างจะได้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น ถ้าหากว่าคุณจะลองคุ้ยหาเหตุผลทางอรรถมาประกอบด้วย

เพราะ แน่นอน เอกอนเห็นว่าคุณพยายามจะอธิบายถึง การเกิด-ดับ ของอะไรสักอย่างล่ะ
ที่คุณเห็น แต่คนอื่นอาจจะไม่ได้เห็นอย่างคุณ

แต่คุณพยายามอธิบายโดยไม่หยิบหลักฐานเพิ่มเติมมาประกอบ

แต่เอกอนดันหยิบพระสูตรมาหนับหนุนความเห็นตัวเองซะเพียบ :b9:

กลายเป็นเหมือนเอกอนจะเอาพระสูตรมาเกทับคุณ
แต่จริง ๆ แล้ว เอกอนไม่ได้หยิบพระสูตรมาเพื่อเกทับใคร
คือ เพราะตอนแรกเอกอนตอบไปแบบ อะไรผุดขึ้นมา ก็สาดออกไปอย่างนั้นเรย
ก็ระแวงตัวเองอยู่ตลอดว่า ไม่รู้จะเข้าใจผิด เข้าใจถูกตรงไหน เมื่อไร
ก็เลยต้องไปเอาพระสูตรมาย้อมใจตัวเอง 5555 เป็นงั๊น

ว่าแล้ว คุณก็ หาพระสูตรมาเกทับเป็นการย้อมใจตัวเองบ้าง
เพราะ บางที พระสูตร ที่ตรงกับความเข้าใจของคุณ
จะเป็นสิ่งที่จะยืนยันในความเข้าใจที่เห็นตรงของคุณได้

ok เอกอนจะรออ่านนะ .... :b12: :b16: :b16:

ถือว่า คุณจะได้มีประสบการณ์ในการนำการปฏิบัติเข้าเทียบเคียงกับพระสูตร ไปในตัว
และ คุณจะเป็นตัวอย่างที่ดี

:b17: :b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2012, 16:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะ การเกิด-ดับ
มันมีกรณี ที่คุณ ปลีกวิเวก เคยแสดงความเห็น

คือ เอกอนไม่รู้ว่าคุณ student กำลังจะพยายามอธิบายสิ่งที่เห็นเช่นประมาณนั้น อีกคนรึเปล่า

ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ท่านต้องพยายามอธิบายสิ่งที่เห็น
หรือ หาสิ่งที่จะอธิบายแล้วทำให้คนฟังเห็นภาพได้

ซึ่งถ้าหากว่าเป็น กรณี เห็นในลักษณะที่คล้ายกับ คุณปลีกวิเวก

เอกอนก็จะ :b8: และ ตัวใครตัวเผือก ล่ะหว๋า


:b13: :b13: :b13:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 05 ก.ย. 2012, 16:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2012, 16:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


สันตติ (แรงสืบต่อ)

ที่มา: หนังสือ "สมาธิหมุน จิตวิวัฒน์เพื่อความพ้นทุกข์" เรียบเรียงโดย คุณเกียรติศักดิ์ แสงสุวรรณ

สันตติ คือ แรงสืบต่อที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ สลาย ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เกิด ดับ เกิด ดับ เมื่อเกิดการกระทบผัสสะขึ้น การเจริญสติด้วยสันตติ เป็นวิธีการฝึกจิตให้ค้นพบสันตติ แล้วนำแรงสืบต่อของสันตตินี้มาใช้ฝึกจิตให้มีกำลังสติ เท่าทัน เท่าเทียม และเหนือกว่าสันตติ แรงสืบต่อของสันตตินี้ เกิดขึ้นจาก การ ดูด ผลัก กันเป็นจังหวะ จังหวะ ระหว่าง จิต กับ ธาตุรู้ ที่อยู่ตามอายตนะต่างๆ การที่ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดึงจิตให้เข้าไปยึดติดกับขันธ์ และจิตเข้าไปยึดขันธ์ 5 ก็ด้วยอาศัยแรงดูด ผลัก เป็นจังหวะนี้ แรงสืบต่อนี้ จุดกำเนิดของมันก็มาจากจุดศูนย์กลางของนิวเคลียสภายในอะตอมของธาตุ ของเซลล์ในร่างกายของเรา หากจิตเรามีความถี่และความเร็ว น้อยกว่า รอบความถี่และความเร็วของสันตติแล้ว เราก็จะไม่เห็นแรงสืบต่อที่เกิดขึ้น เราจะเห็นมันเป็นภาวะที่นิ่งแทน นั่นคือ จิตเกิดอุปาทานยึดติดในขันธ์แล้ว

นอกจากนั้นแรงสันตตินี้ ยังมาจาก แรงโน้มถ่วงของโลก ของดวงดาวต่างๆ ที่อยู่ในเอกภพนี้ที่ส่งแรงโน้มถ่วงออกมาดึงดูดกันและกันไว้อย่างซับซ้อน แรงเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดจิตอีกอย่างหนึ่ง นอกเหนือจาก แสง เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์แล้ว แรงโน้มถ่วงจะคอยเข้ามากระทบ กระทุ้ง กระตุ้นธาตุรู้ในกายของเราให้เกิดความรู้สึกว่า เรา มีตัวตนอยู่ บนโลกนี้ และแรงโน้มถ่วงจากดวงดาวทั้งหลายเหล่านี้ มีผลต่อชะตาชีวิตเรา สังคม และ โลก หากจิตเรามีความถี่และความเร็ว น้อยกว่า รอบความถี่และความเร็วของสันตติที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงแล้ว เราก็จะไม่เห็นแรงสืบต่อที่เกิดขึ้น เราจะเห็นมันเป็นภาวะที่นิ่งแทน นั้นคือ จิตจะเกิดอุปาทานยึดติดใน กาลเวลา และชะตาชีวิต

เมื่อเราฝึกจิตจนพบแรงเหล่านี้แล้ว ความยึดถือใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็จะลดลงไป ยิ่งเห็นได้ชัดเท่าไร ความยึดถือก็ลดลงเท่านั้น เมื่อจิตเราเห็นแรง ดูด ผลัก เคลื่อนไหวไปมานานๆ และจิตเราก็เคลื่อนไหวไปตามแรงสืบต่อนี้ จิตเราจะพัฒนารอบความถี่ ความเร็ว และกำลังของจิต ด้วยการอาศัยแรงสืบต่อที่ค้นพบ มาเพิ่มกำลังให้แก่จิต สะสมแรงสืบต่อนี้มากขึ้นเรื่อยๆ จนมากกว่าแรงสันตติแล้ว เราก็จะสามารถพ้นออกมาจากรัศมีแรงดึงที่มันดึงเราได้ จิตเราก็จะพ้นออกมาจากขันธ์ 5 กาลเวลา และชะตากรรม

สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างระหว่าง แรงสันตติ กาลเวลา เส้นแรงแม่เหล็ก กำเนิดของจักรวาล อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เส้นแรงแม่เหล็ก - กาลเวลา - สันตติ มุมความรู้ - วิทยาศาสตร์ทางจิต

การเจริญสติโดยใช้สันตติที่อายตนะที่ได้กล่าวไป เป็นวิธีการค้นหาสันตติที่เกิดขึ้นเฉพาะจุด แต่แรงสืบต่อนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะจุดเท่านั้น ในร่างกายของเรายังมีแรงสืบต่อที่ซับซ้อน ซ้อนทับกันอยู่ โดยเป็นแรงสืบต่อที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงสภาพรู้ ระหว่างธาตุรู้ที่อายตนะภายนอก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย กับ ธาตุรู้ที่อายตนะภายใน คือ ใจ โดยใจนั้นจะเป็นศูนย์กลางของธาตุรู้ เพราะธาตุรู้รวมตัวกันอยู่ที่ใจมากที่สุด เมื่อเกิดผัสสะขึ้นที่อายตนะภายนอกที่ใดก็ตาม แรงสะเทือนจากการกระทบ จะกระตุ้นธาตุรู้ที่อายตนะภายนอกตรงจุดนั้นให้เกิดสภาพรู้ สภาพรู้ที่เกิดขึ้นจะส่งแรงสะเทือนต่อ เคลื่อนเข้ามาที่ใจกระทบธาตุรู้ในใจให้เกิดสภาพรู้ขึ้นอีกที

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อหูได้ยินเสียง ธาตุรู้ที่หูถูกกระเทือนด้วยเสียง ธาตุรู้ที่หูก็ทำงาน เกิดสภาพรู้ที่หูขึ้น ว่าเป็นเสียง แล้วสภาพรู้ดังกล่าวจะเคลื่อนไปเกิดสภาพรู้ที่ใจอีกที ถึงจะเกิดการได้ยินขึ้นอย่างสมบูรณ์ ว่าเป็นเสียงอะไร ชอบ หรือไม่ชอบเสียงที่เข้ามากระทบ เป็นต้น เมื่อรู้ที่ใจแล้วสภาพรู้จะวนกลับมาที่หู รับรู้การกระทบ และวนไปรู้ที่ใจอีก หมุนวนเช่นนี้เรื่อยไป การหมุนวนเช่นนี้จะเกิดเป็นแรงสืบต่อระหว่างอายตนะขึ้น และก็เป็นอีกแรงหนึ่งที่คอยดึงจิตให้เข้ามายึดเกาะกับขันธ์ 5

แม้การหมุนวนจะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาแต่เหตุที่ประกอบกัน ที่ทำให้เราไม่สามารถเห็นและสัมผัสการหมุนนี้ได้ก็เพราะ
แรงสันตติหรือการหมุนอันเกิดจากกระบวนการที่อายตนะภายนอกภายในส่งต่อเชื่อมโยงสภาพรู้กันเกิดขึ้นนั้นเร็วมาก จนคุณภาพของจิตตามปกติของเราที่มีรอบความถี่ต่ำกว่ารอบการหมุนระหว่างอายตนะตามไม่ทัน จึงไม่สามารถเห็นการหมุนได้

การที่จิตมีคุณภาพไม่พอที่จะเห็นแรงสืบต่อ และไม่รู้วิธีการทำให้แรงสืบต่อปรากฏขึ้นมา เพราะจิตเข้าไปยึดติดการกระทบผัสสะที่อายตนะภายนอก หรือ ภายในตลอดเวลา ทำให้ภาวะจิตที่เกิดขึ้นเป็นภาวะนิ่ง ในเมื่อการหมุนวนเป็นภาวะความเคลื่อนไหว การไปติดที่อายตนะใดๆ อันเป็นภาวะความนิ่ง จะทำให้จิตตามการหมุนไม่ทัน จึงไม่สามารถเห็นการหมุนวนระหว่างอายตนะภายนอกกับภายในได้ ซึ่งการหมุนวนของแรงสืบต่อระหว่างอายตนะนั้นจะเห็นขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ เราสามารถปล่อยวางการยึดติดอายตนะภายนอกและภายในได้พร้อมกัน และ รู้วิธีการฝึกจิตจนจิตมีรอบความถี่และความเร็วเท่ากับรอบการหมุนระหว่างอายตนะ ไม่เช่นนั้น จิตเราก็จะต้องตกอยู่ในอิทธิพลของการหมุน คือ ถูกขันธ์ 5 ครอบงำอยู่ตลอดเวลา

https://sites.google.com/site/ingdhamma/dhamma6


:b13: :b13: :b13:

อิอิ

:b48: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2012, 00:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอตอบเอกอนอย่างคร่าวๆก่อน ส่วนตัวยังไม่ได้ค้นหาพระสูตรเลย ซึ่งก็เลยติดตรง ไม่รู้จะอธิบาย เป็นปฏิยัติ ออกมาอย่างไร ที่ให้เอกอนสังเกตุคือ ให้ลองทำดูกับตัวเอง ยังสงสัยก็ไม่เป็นไรครับ

เรื่องลงพระสูตร ไม่ได้เกทับหรอกครับ ผมชอบ เพราะส่วนตัว ผมไม่ค่อยได้ศึกษาอย่างละเอียดอยู่แล้ว ซึ่งถึงตอนนี้ถึงได้รู้ว่าเราติดในเรื่องปฏิยัติ คือ อธิบายไม่ได้ความหมายตรงกับปฏิยัติ

เรายกเรื่องจักษุไว้ก่อน เพราะเอกอนพูดเรื่องการได้ยินขึ้นมา ส่วนตัว ก่อนหน้าจริงๆก็สนใจเรื่องกำหนดรู้เสียงเป็นอันดับรองๆจาก หายใจเข้าออก (ตอนนั่งสมาธิ) เพราะเสียงดังเป็นระยะ จึงมีความเห็นออกมาว่า หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง คือเสียงมา เราก็ตั้งรอไว้พิจารณา มีเพื่อนที่โพสอยู่เสมอว่า อย่าส่งจิตออกนอก ก็เลยกำหนดที่โสตหรืออายตนะภายในเราเอง ก็เลยได้ความรู้ขึ้น ที่เอกอนได้ยินเสียงวิ๊งๆในหูนั้น ส่วนตัวก็พิจารณามาตลอดก่อนหน้านั้นว่า การสงบจิตสงบใจลง จะได้ยินเสียงวิ๊งๆอยู่แล้ว แม้อยู่ในที่เสียงดัง ก็ได้ยินเสียงวิ๊งๆในโสตแน่นอน

แต่ความรู้นี้คือ ต้องสาวหาเหตุก่อนว่าเหตุเกิดของเสียงคืออะไร คือ มีธาตุรู้ทำงาน เสียงเดินทางเพราะอาศัยอากาศธาตุ และ เสียงเกิดขึ้นเพราะระยะทาง หากเกิดเสียงระเบิดที่ 100 กิโลเมตรห่างออกไป ไม่ว่าจะดังแคไหนเราก็ไม่ได้ยิน เพราะโสตเป็นอนัตตา ถูกจำกัดได้แค่ระยะทางหนึ่ง (ทุกคนตกอยู่ในสภาพเดียวกันหมด) นั่นคือความเป็นอนัตตา ที่จะกล่าวคือ มีสติ กำหนดลงที่การได้ยินของเรา วิญญาณจะจับอยู่เสียงใดเสียงหนึ่ง ในที่นี้ เรามีสติอยู่ที่โสตเราเอง สังเกตุว่าโสตนั้นรับรู้การเกิดของเสียง พอเสียงดับลง(อายตนะภายนอก) ธาตุรู้เกิดการดับลงต่อเสียงนี้ เหมือนเสียงที่ปรากฏก่อนหน้านั้นจะไม่หวนกลับมาอีกต่อไป เพราะดับลงไปแล้ว จะปรากฏก็เฉพาะเสียงใหม่ ก็เริ่มและดับลงใหม่ เริ่มดับ กำหนดลงแล้วเราจะเห็นความเป็นอนิจจัง (ของโสตและการรับรู้)เป็นอย่างนี้

มีข้อสังเกตุคือ มีผัสสะเข้ามาเกี่ยวด้วย เพราะสัญญาจะปรากฎออกมาว่าเสียงอะไร เกิดเวทนา แต่ตรงนี้ต้องระวังว่า อย่าให้ผัสสะที่เกิดขึ้นมีอำนาจเหนือกว่าความตั้งใจมั่นที่เรากำหนดต่อเสียง เพราะหากผัสสะมีอำนาจเหนือกว่า เราจะกำหนดรู้ไม่ทันหรือ ไม่เห็นเลย

การอธิบายครั้งนี้ ก็ฝากเป็นคำถามในตัว เพราะว่า ประสบการณ์นั้น แม้จะไม่เหมือนกัน แต่ที่เหมือนกันคือ ความเป็นอนัตตาอยู่แล้ว

ก็ฝากคำถามนี้กับเอกอนว่า มีความเห็นอย่างไรครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2012, 08:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


สงสัยเอกอนจะพยายามทำให้เห็นอย่างที่ท่านเห็นและเข้าใจในสิ่งที่ท่านเห็นได้ยาก
หมายถึงว่า ท่านต้องทำความเห็นให้ชัดเจน
และท่านน่าจะถ่ายทอดออกมาให้คนอื่นเข้าใจได้ด้วยตัวท่านเอง
เพราะ เอกอนอาจจะทำอย่างที่ท่านทำได้ ไม่ได้เรยก็ได้

เพราะสมาธิที่เอกอนเป็นไป มันหนุนให้เห็นได้ไปตามกระทู้ที่ยกมา
เอกอนเองก็เพิ่งเห็นบทความนี้เมื่อวาน
และเอกอนก็มีความเข้าใจเป็นไปในร่องเดียวกันกับท่านรัตน์ เลย

:b12:

eragon_joe เขียน:
สันตติ (แรงสืบต่อ)

:b48: :b48: :b48:


เพราะ นี่เป็นกระทู้ที่เอกอนเคยลงไว้
เพื่อสอบถามคนในนี้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้น
เพื่อดูว่า จะได้คำตอบอย่างไรบ้าง

อ้างคำพูด:
การมองเห็น

คือภายใต้การมองเห็นปกติ มันจะปรากฎภาพเป็นปกติ
แต่ถ้าสังเกตดี ๆ ภาพที่ปกตินั้น มันจะไม่นิ่ง มันจะมีลายพริ้วเป็นระลอก ๆ จาง ๆ อยู่
ซึ่งมันจะจางมาก จนปกติเราแทบจะไม่สังเกตเห็นมัน
แต่มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ลาพักร้อนไปปฏิบัติธรรม
ภาพระลอกที่ว่ามันค่อย ๆ ปรากฎชัดขึ้น เมื่อเข้าวันที่ 3 ก็รู้ว่ามันมีลักษณะหมุน
และยิ่งชัดขึ้นเรื่อย ๆ จนเห็นว่ามันเป็นวงล้อ/จักร ที่กำลังหมุน
มันเห็นเช่นนั้นตลอด ไม่ว่าจะหลับตาทำสมาธิ เดินจงกรม สวดมนต์
กินข้าว กวาดลาน ล้างห้องน้ำ แปรงฟัน
มันจะเป็นภาพที่ปรากฎซ้อนกันอยู่กับภาพที่เห็นปกติ
จนกระทั่งกลับจากปฏิบัติธรรม ก็ยังเห็น และค่อย ๆ จางลง
คือทุกวันนี้ ก็ยังเห็นอยู่ แต่จางมาก

เคยหาข้อมูล ไปเจอเรื่องเกี่ยวกับ ธรรมจักร/จักรหมุน แต่เราไม่รู้
เพราะเราไม่ได้ฝึกมาทางนี้ ไม่เคยรู้
และสิ่งที่เห็น...ไม่ได้เห็นในการทำสมาธิ มันเห็นตลอด เห็นมานานแล้ว

ตอนที่มันจาง ๆ เราคิดว่าเรามีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสายตา
แต่พอไปปฏิบัติธรรม มันชัดขึ้น
มีด้วยเหร๋อ... โรคเกี่ยวกับสายตาที่ การปฏิบัติธรรมทำให้อาการยิ่งกำเริบน่ะ
:b10: :b10: :b10:


คือบางทีถ้าเรารู้แล้วว่าจิตเราถนัดไปในทางไหน
ก็วัดใจกับทางนั้นมันไปเรย

ในเมื่อเขารู้จักตัวเขาเองดีกว่า ที่เอกอนรู้จักเขา
สิ่งที่เอกอนคิดพยายามทำเกี่ยวกับเขา ผิดทั้งหมด
แต่สิ่งที่เขา เป็นไป และแสดงให้เอกอนเห็น
กลับเป็นสิ่งที่ทำให้ เอกอน ทึ่งในศักยภาพของเขาตลอดเวลา

:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 06 ก.ย. 2012, 15:00, แก้ไขแล้ว 6 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 101 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร