วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 23:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 153 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 02:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
รู้เห็นตามที่มัน(ธรรมชาติ) เป็นของมัน รู้เห็นยังงี้จบตรงนั้นเองขอรับ เรียกว่ารู้เห็นธรรม :b1:

ใช่รู้เห็นตามธรรมชาติที่มันเป็น แต่ในความเป็นธรรมชาติของมนุษย์
มันมีสองลักษณะ มันขี้นอยู่กับว่าจะเลือกดูอะไร ถ้าเลือกอย่างหนึ่ง
อีกอย่างก็สลายไป อย่างเช่นเกิดไตรลักษณ์เกิดปัญญามาเดินอริยมรรค ปฏิจสมุบาทก็จะ
ค่อยๆสลายไป
กรัชกาย เขียน:
แต่ถ้าไปคิดเอาว่ามันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปฏิจจสมุปบาท เกิดขึ้นแล้วดับไปไม่มีอะไรเที่ยงแท้ยั่งยืนโลกนี้คือละครบทบาทบางตอนชีวิตยอกย้อนยับเยิน ฯลฯ แบบนี้คิดเอา ภาษานักปฏิบัติเขาเรียกวิปัสสนึก คือนึกเอาตามที่ตนเองยึดอยากให้มันเป็น คืออยากให้มันเป็นวิปัสสนา แล้วการคิดนึกทำนองนี้ จะฟุ้งซ่านพล่านเตลิดอย่างไร้ทิศทาง
เจริญธรรม :b1:

ทำความเข้าใจสักนิด ปฏิจสมุบาทกับไตรลักษณ์เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน
ไตรลักษณ์เป็นกระบวนการขันธ์ห้า เป็น....วิชชา
ปฏิจสมุบาทเป็นวงจรชีวิต เป็น.............อวิชา

ไตรลักษณ์ มีลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป
แต่ปฏิจสมุบาท เกิดแล้วเป็นเหตุปัจจัยที่สืบต่อเนื่อง

บางท่านเกิดความเข้าใจผิดว่า ไตรลักษณ์เป็นอันหนื่งอันเดียวกับปฏิจสมุบาท
อาจเป็นเพราะคำบัญญัติที่ว่า อนุโลมปฏิจจสมุบาทกับปฏิโลมปฏิจจสมุบาท
อนุโลมเป็นปฏิจจสมุบาทสายเกิด ...สมุทยวารหรือสมุทัยสัจจ์
แต่ปฏิโลมปฏิจจสมุบาทสายดับ......นิโรวาธหรือนิโรธสัจจ์

ปฏิจจสมุบาทสายเกิด ก็คือความคงอยู่ของปฏิจสมุบาท
ปฏิจจสมุบาทสายดับ ก็คือความดับไปของวงปฏิจสมุบาท ความหมายอีกอย่างก็คือ
ความไม่มีปฏิจจสมบาท


การเป็นไตรลักษณ์ของขันธ์ห้า เป็นคุณลักษณะที่เอามาดับ
สมุทยวารหรือเหตุแห่งทุกข์ นั้นก็คือการดับไปแงกระบวนการปฏิจจสมุบาท
ลืมบอกว่า ปฏิจจสมุบาทเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดทุกข์

ดังนั้นที่กล่าวมาตรงกับที่เคยกล่าวไว้ว่า
ทุกข์และสมุทัย..อยู่ในกระบวนการปฏิจจสมุบาท

ไตรลักษณ์ซึ่งเป็นมรรคและนิโรธผลของมรรค...อยู่ในกระบวนการขันธ์ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 03:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
หลังเจ้าชายสิทธัตถะรู้ธรรมคือปฏิจจสมุปบาทจะว่ารู้อริยสัจก็ได้ จึงได้นามว่าพระพุทธเจ้า :

สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงรู้เป็นอันดับแรก นั้นก็คือรู้ทุกข์และสาเหตุแห่งทุกข์
สิ่งที่ทำให้พุทธศาสนาแตกต่างจากศาสนาอื่นก็ตรงนี้ พระพุทธองค์ทรงบอกให้รู้
ความหมายของทุกข์และสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
ทุกข์ของพระพุทธเจ้าก็คือ ...การเกิด แก่ เจ็บ ตายหรือวัฎฎสงสารเป็นทุกข์
และสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ก็คือชีวิตหรือกระบวนการปฏิจจสมุบาท

ต่อมาจึงค้นพบวิธีการดับทุกข์ นั้นก็คืออริยมรรค ท่านใช้อริยมรรคมาแทงตลอดปฏิจจ์ฯ
จนสายปฏิจจ์ขาดเกิดเป็นนิโรธ นี่แหล่ะเป็นการค้นพบอริยสัจจ์สี่ที่สมบูรณ์

ความหมายของคำว่า...รู้ ต้องเข้าใจด้วยว่า รู้อย่างหนึ่งเพื่อเอามาดับอีกอย่างหนึ่ง
สองสิ่งที่ว่าจึงไม่ใช่อย่างเดียวกัน อริยสัจจ์สี่กับปฏิจจ์สมุบาทจึงเป็นคนละอย่างและตรงข้ามกัน
คือมีอย่างหนึ่งต้องไม่มีอย่างหนึ่ง

กรัชกาย เขียน:
พระองค์ใช้เวลาแสดงธรรมแก่คนในยุคนั้นเป็นเวลาถึง 45 ปี แล้วผู้ฟังก็มีทุกชนชั้นวรรณะ เป็นธรรมดาอยู่เองที่คำสอนจะมีมาก :

สี่สิบห้าปีของพระพุทธเจ้า เป็นการเพียรพยายามที่จะให้ คนทุกชั้นวรรณะเข้าใจ
แก่นธรรมของพระองค์ หรือพูดง่ายๆว่า พยายามที่จะเปลี่ยนความคิดของคนที่
ยึดแต่เพียงว่า ความดีกับความชั่ว ทำดีแล้วขึ้นสวรรค์เป็นสุข ทำชั่วตกนรกเป็นทุข์
สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงบอกก็คือ การเกิดมามีชีวิตแล้ว ไม่ว่าจะทำดีทำชั่วล้วนเป็นทุกข์
การไม่ต้องเกิดมาวนเวียนในการทำดีและชั่วเท่านั้น จึงจะพ้นทุกข์

กรัชกาย เขียน:
มีทั้งคำสอนเกี่ยวกับการทำหน้าที่ระหว่างกัน เช่นหน้าที่ของมารดาบิดาพึงปฏิบัติต่อบุตรธิดา... หน้าที่ของศิษย์จะพึงปฏิบัติต่อครูบาอาจารย์ ธรรมะธรรมดาๆมองเห็นง่ายๆ แต่เราคิดว่าไม่ใช่ธรรมหรืออย่างไร เล่นของสูงสุดยอด เลยไม่ได้อะไรเลย แม้พุทธธรรมจะถูกบันทึกไว้มากมาย :b1:

สิ่งต่างๆที่กล่าวมาข้างบน ล้วนแล้วแต่มีมาก่อนที่พระพุทธองค์จะประกาศศาสนาเสียอีก
ศาสนาพราหมณ์ก็สอนเรื่องความดี ความชั่วแบบนี้ ลัทธิขงจื้อก็สอนเรื่องมงคลต่างๆเหล่านี้

แต่พระพุทธองค์ทรงสอนให้รู้ว่า ความดีความชั่วที่เป็นการกระทำมันไม่ใช่สาระ
ความเป็นจริงมันอยู่ที่จิต และสาระของจิตก็คือ ความเป็นกุศลและอกุศล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 04:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พูดตามสภาวะ (หรือโดยปรมัตถ์) จิต เจตสิก รูป รวมกันก็เป็นชีวิตหนึ่งๆ แต่มนุษย์หลงยึดติดถือมั่นว่าชีวิตนี้เป็นตนเป็นสัตว์บุคคลเราเขาขึ้น ท่านจึงจำแนกแยกแยะชีวิตนี้ ออกเป็นรูปธรรมนามธรรม จิตกับเจตสิกเป็นนามธรรม รูป เป็นรูปธรรม ถ้าแยกแยะโดยความเป็นขันธ์ ได้ 5 รูป เป็นรูปธรรม 4 ข้อหลังเป็นนามธรรม แล้วยังแยกแยะเป็นอายตนะก็มี 12 อย่าง แยกโดยธาตุก็มี 18 อย่าง แยกโดยความเป็นอินทรีย์ ก็มี 22 อย่าง เพื่อให้เห็นชีวิตเป็นแต่สภาวะ (สภาวธรรม) ของมัน ไม่ใช่สัตว์บุคคล
แล้วสภาวะนี่แหละ เป็นไตรลักษณ์ด้วย (เมื่อพูดในแง่ไตรลักษณ์) เป็นปฏิจจสมุปบาท (เมื่อต้องพูดในแง่ของปฏิจจสมุปบาท) ทั้งหมดนี้อยู่ที่ชีวิตนี้ ไม่ต้องไปชะเง้อหาที่ไหน :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 04:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับเอ้ย แม้แต่จิตที่เน้นพูดกันนัก ก็เป็นไตรลักษณ์ เป็นปฏิจจสมุปบาท มันเป็นธรรมชาติ นี่พูดในแง่สภาวะนะ

แต่บอกไว้ข้างต้นแล้วว่า ถ้าคิดว่า กลัวความรู้สึกตัวตนที่ยึดถืออยู่จะหมดไปยังเยื่อใยในตน ก็ให้ทำบุญพื้นๆทั่วๆไป เช่นทำบุญตักบาตร สวดมนต์ไหว้พระ ทำวัตรเข้า-เย็น ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า สร้างวิหารลานเจดีย์เถอะ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 05:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
พูดตามสภาวะ (หรือโดยปรมัตถ์) จิต เจตสิก รูป รวมกันก็เป็นชีวิตหนึ่งๆ แต่มนุษย์หลงยึดติดถือมั่นว่าชีวิตนี้เป็นตนเป็นสัตว์บุคคลเราเขาขึ้น ท่านจึงจำแนกแยกแยะชีวิตนี้ ออกเป็นรูปธรรมนามธรรม จิตกับเจตสิกเป็นนามธรรม รูป เป็นรูปธรรม ถ้าแยกแยะโดยความเป็นขันธ์ ได้ 5 รูป เป็นรูปธรรม 4 ข้อหลังเป็นนามธรรม แล้วยังแยกแยะเป็นอายตนะก็มี 12 อย่าง แยกโดยธาตุก็มี 18 อย่าง แยกโดยความเป็นอินทรีย์ ก็มี 22 อย่าง เพื่อให้เห็นชีวิตเป็นแต่สภาวะ (สภาวธรรม) ของมัน ไม่ใช่สัตว์บุคคล
แล้วสภาวะนี่แหละ เป็นไตรลักษณ์ด้วย (เมื่อพูดในแง่ไตรลักษณ์) เป็นปฏิจจสมุปบาท (เมื่อต้องพูดในแง่ของปฏิจจสมุปบาท) ทั้งหมดนี้อยู่ที่ชีวิตนี้ ไม่ต้องไปชะเง้อหาที่ไหน :b1:

นู๋กรัชกายตลกด้านเป็นเชิญยิ้มรุ่นเด็ก พูดไปเรื่อย ฝืดแล้วยังไม่ยอมลงจากเวที :b32:
เห็นนู๋กรัขกายพูดแต่ อายตนะ12 ขันธ์ห้า ไม่รู้เรื่องแล้วอยากจะพูด
ถ้าผมมีถาดอยู่ในมือรับรองโดนสันถาดแน่ๆ

ลองกลับไปเว็บตัวเองแล้วหาวิธีทำสติปัฏฐานสี่
โดยเฉพาะเรื่อง...ธรรมมาวิป้สสนากรรมฐาน อ่านให้ขึ้นใจแล้ว
ผมจะอธิบายให้ฟัง จะได้ไม่หลงพูดซ้ำซากอยู่อย่างนี้ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 06:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
พูดตามสภาวะ (หรือโดยปรมัตถ์) จิต เจตสิก รูป รวมกันก็เป็นชีวิตหนึ่งๆ แต่มนุษย์หลงยึดติดถือมั่นว่าชีวิตนี้เป็นตนเป็นสัตว์บุคคลเราเขาขึ้น ท่านจึงจำแนกแยกแยะชีวิตนี้ ออกเป็นรูปธรรมนามธรรม จิตกับเจตสิกเป็นนามธรรม รูป เป็นรูปธรรม ถ้าแยกแยะโดยความเป็นขันธ์ ได้ 5 รูป เป็นรูปธรรม 4 ข้อหลังเป็นนามธรรม แล้วยังแยกแยะเป็นอายตนะก็มี 12 อย่าง แยกโดยธาตุก็มี 18 อย่าง แยกโดยความเป็นอินทรีย์ ก็มี 22 อย่าง เพื่อให้เห็นชีวิตเป็นแต่สภาวะ (สภาวธรรม) ของมัน ไม่ใช่สัตว์บุคคล
แล้วสภาวะนี่แหละ เป็นไตรลักษณ์ด้วย (เมื่อพูดในแง่ไตรลักษณ์) เป็นปฏิจจสมุปบาท (เมื่อต้องพูดในแง่ของปฏิจจสมุปบาท) ทั้งหมดนี้อยู่ที่ชีวิตนี้ ไม่ต้องไปชะเง้อหาที่ไหน :b1:

นู๋กรัชกายตลกด้านเป็นเชิญยิ้มรุ่นเด็ก พูดไปเรื่อย ฝืดแล้วยังไม่ยอมลงจากเวที :b32:
เห็นนู๋กรัขกายพูดแต่ อายตนะ12 ขันธ์ห้า ไม่รู้เรื่องแล้วอยากจะพูด
ถ้าผมมีถาดอยู่ในมือรับรองโดนสันถาดแน่ๆ

ลองกลับไปเว็บตัวเองแล้วหาวิธีทำสติปัฏฐานสี่
โดยเฉพาะเรื่อง...ธรรมมาวิป้สสนากรรมฐาน อ่านให้ขึ้นใจแล้ว
ผมจะอธิบายให้ฟัง จะได้ไม่หลงพูดซ้ำซากอยู่อย่างนี้ :b13:
ทำเป็นอาจารย์จะสอนเขา เห็นสาวๆใส่เสื้อเปิดอกหน่อยก็ไปว่าเขาแล้ว จะมาสอนใครได้ :b13: เห็นแล้วต่อมแตก :b13:

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 07:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




q195a5.gif
q195a5.gif [ 18.27 KiB | เปิดดู 3114 ครั้ง ]
เอาธรรมะมาวางให้ดู ส่วนใครจะเห็นหรือไม่เห็นแล้วแต่นัยน์ตาของแค่ละคนจ้า

เจริญธรรม :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 07:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดอะไร จึงเกิดทิฐิขึ้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา/ตัวตนของเรา...

“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูป...เมื่อเวทนา...เมื่อสัญญา...เมื่อสังขาร...เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัย (รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร) วิญญาณ เพราะยึดมั่น (รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร) จึงเกิดทิฐิขึ้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา/ตัวตนของเรา”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 07:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย สมณะทั้งหลายก็ดี พราหมณ์ทั้งหลายก็ดี เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ตาม ที่มองเห็นอัตตา/ตัวตนแบบต่างๆหลากหลายเป็นอเนก ย่อมมองเห็นอุปาทานขันธ์เหล่านั้นทั้งหมดหรือไม่ก็มองเห็นขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง ในบรรดาอุปาทานขันธ์เหล่านั้น (ว่าเป็นอัตตา) กล่าวคือ

“ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ผู้มิได้เรียนสดับ...ย่อมมองเห็นรูปว่าเป็นอัตตาบ้าง ย่อมมองเห็นอัตตามีรูปบ้าง ย่อมมองเห็นรูปในอัตตาบ้าง ย่อมมองเห็นอัตตาในรูปบ้าง
ย่อมมองเห็นเวทนา....สัญญา...สังขารทั้งหลาย...วิญญาณ (ทำนองเดียวกัน) โดยนัยดังกล่าวนั้น การมองเห็นนี้แล ก็กลายเป็นความปักใจยึดถือของเขาว่า ตัวเรามี/ตัวเราเป็น”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นพึงเห็นด้วยสัมมาปัญญาตามที่มันเป็นว่า นั่นไม่ใช่เรา มิใช่เราเป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา”

“ภิกษุทั้งหลาย รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง...เป็นทุกข์...เป็นอนัตตา
แม้สภาวะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้รูป ฯลฯ วิญญาณเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง...เป็นทุกข์...เป็นอนัตตา
รูป ฯลฯ วิญญาณ ซึ่งเกิดจากสภาวะที่ไม่เที่ยง...เป็นทุกข์...เป็นอนัตตา จักเป็นของเที่ยง...เป็นสุข...เป็นอัตตาได้จากที่ไหน”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ท่านเอย อริยสาวกผู้ได้เรียนสดับแล้ว ได้พบเห็นอริยชนทั้งหลาย ฉลาดในอริยธรรม ฝึกอบรมดีแล้วในอริยธรรม ได้พบเห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ฉลาดในสัปปุริสธรรม ฝึกอบรมดีแล้ว ในสัปปุริสธรรม ย่อมไม่มองเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอัตตา
ไม่มองเห็นอัตตามีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ
ไม่มองเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในอัตตา
ไม่มองเห็นอัตตา ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ

“อริ ยชนนั้น รู้ชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นสิ่งปรุงแต่ง บั่นรอนกันเอง ตามที่มันเป็นว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นสิ่งปรุงแต่ง บั่นรอนกันเอง

“อริ ยสาวกนั้น ไม่ยึดติด ไม่ถือค้างไว้ ไม่มั่นหมายปักใจ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นตัวตนของเรา อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ที่อริยสาวกนั่น ไม่ยึดติด ไม่ถือมั่นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“แน่ะท่านคฤหบดี อย่างไร จึงชื่อว่าป่วยทั้งกาย ป่วยทั้งใจ ในข้อนี้ ปุถุชนผู้มิได้เรียนสดับ ไม่ได้พบเห็นอริยชนทั้งหลาย ไม่ฉลาดในอริยธรรม ไม่ได้ฝึกอบรมในอริยธรรม ย่อมมองเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นตน (อัตตา)
มองเห็นตน มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
มองเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในตน
มองเห็นตน ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่ด้วยความรู้สึกรุมเร้าว่า รูปเป็นเรา รูปของเรา เวทนาเป็นเรา เวทนาของเรา สัญญาเป็นเรา สัญญาของเรา สังขารเป็นเรา สังขารของเรา วิญญาณเป็นเรา วิญญาณของเรา


"เมื่อเขาอยู่ด้วยความรู้สึกรุมเร้าว่า รูปเป็นเรา รูปของเรา ฯลฯ วิญญาณเป็นเรา วิญญาณของเรา
เมื่อเขาอยู่ด้วยความรู้สึกรุมเร้าว่า รูปเป็นเรา รูปของเรา ฯลฯ วิญญาณเป็นเรา วิญญาณของเรา
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมแปรปรวนไป กลายเป็นอย่างอื่น เขาย่อมเกิดความโศกเศร้า ความคร่ำครวญ ความทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นผิดหวัง เพราะการที่รูป ฯลฯ วิญญาณ แปรปรวนไป กลายเป็นอย่างอื่น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 08:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
พูดตามสภาวะ (หรือโดยปรมัตถ์) จิต เจตสิก รูป รวมกันก็เป็นชีวิตหนึ่งๆ แต่มนุษย์หลงยึดติดถือมั่นว่าชีวิตนี้เป็นตนเป็นสัตว์บุคคลเราเขาขึ้น ท่านจึงจำแนกแยกแยะชีวิตนี้ ออกเป็นรูปธรรมนามธรรม จิตกับเจตสิกเป็นนามธรรม รูป เป็นรูปธรรม ถ้าแยกแยะโดยความเป็นขันธ์ ได้ 5 รูป เป็นรูปธรรม 4 ข้อหลังเป็นนามธรรม แล้วยังแยกแยะเป็นอายตนะก็มี 12 อย่าง แยกโดยธาตุก็มี 18 อย่าง แยกโดยความเป็นอินทรีย์ ก็มี 22 อย่าง เพื่อให้เห็นชีวิตเป็นแต่สภาวะ (สภาวธรรม) ของมัน ไม่ใช่สัตว์บุคคล
แล้วสภาวะนี่แหละ เป็นไตรลักษณ์ด้วย (เมื่อพูดในแง่ไตรลักษณ์) เป็นปฏิจจสมุปบาท (เมื่อต้องพูดในแง่ของปฏิจจสมุปบาท) ทั้งหมดนี้อยู่ที่ชีวิตนี้ ไม่ต้องไปชะเง้อหาที่ไหน :b1:

นู๋กรัชกายตลกด้านเป็นเชิญยิ้มรุ่นเด็ก พูดไปเรื่อย ฝืดแล้วยังไม่ยอมลงจากเวที :b32:
เห็นนู๋กรัขกายพูดแต่ อายตนะ12 ขันธ์ห้า ไม่รู้เรื่องแล้วอยากจะพูด
ถ้าผมมีถาดอยู่ในมือรับรองโดนสันถาดแน่ๆ

ลองกลับไปเว็บตัวเองแล้วหาวิธีทำสติปัฏฐานสี่
โดยเฉพาะเรื่อง...ธรรมมาวิป้สสนากรรมฐาน อ่านให้ขึ้นใจแล้ว
ผมจะอธิบายให้ฟัง จะได้ไม่หลงพูดซ้ำซากอยู่อย่างนี้


โฮฮับอ่านมาแล้วเห็นว่ายังงัยหรอ เล่าให้ฟังบ้างฮิ ว่าไป...จะรอฟัง

ธรรมมาวิป้สสนากรรมฐาน

ศัพท์สมาสนี้เพิ่งเคยเห็น ลองไปทบทวนดูใหม่นะโฮ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


น้อง big ดูนี่หน่อย :b1:

http://board.palungjit.com/f4/ปวดศรีษะจากการนั่งสมาธิ-173606.html


ดูชื่อสำนัก :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
น้อง big ดูนี่หน่อย :b1:

http://board.palungjit.com/f4/ปวดศรีษะจากการนั่งสมาธิ-173606.html


ดูชื่อสำนัก :b1:
ต้องบอกก่อนนะครับ มนุษย์ที่ป่วยเป็นโรคอะไร ในโลกนี้มีมากมาย ไม่ต้องปฎิบัติมันก็เป็นได้ทั้งนั้นปวดหัวหรืออะไรๆมากมาย พอไปปฎิบัติก็จะมีอาการเช่นนี้มากที่เดียว ซึ่งเป็นไปได้ทั้งนั้น คนที่ปฎิบัติเขาสะสมอดีตมาไม่เหมือนกัน และสะสมอะไร ก็สังขารไง

ทางการปฎิบัติสายผมมันเจาะลึกลงไปถึงอนุสัยกิเลส กิเลสเก่าๆที่เขาสะสมไว้มาก มันจะฟุ้งออกมาเป้นอาการทางกาย มีหลายรูปแบบไม่มีใครหมือนใคร มากกว่านี้ก็มีเยอะ แต่นักปฎิบัติบางคนเกิดความกลัวก้จะเป็นอย่างนี้หล่ะครับ เดี๋ยวก็ผ่านไปได้แล้วจะสบาย บางคนใช่่เวลาไม่มาก บางคนใช่เวลาอยู่เหมือนกัน จะข้ามวัฎฎะมันไม่ง่ายเหมือนที่คิดหรอก ผมเองก็เจอสภาวะนี้มามากแต่ใจเราหนักแน่น บอกแล้วไงมันต้องกล้าที่จะผ่านมันไปให้ได้

ตอนรกผมก็ตกใจเหมือนกัน ผมตั้งสติผมก็ผ่านมันไปได้ พอผ่านได้แล้วทุกอย่างจะเปลี่ยนแปลงจนขาดไม่ถึง อาจารย์โกเอ็นท่านเป็นฮินดู คนฮินดูแทบจะไม่มีทางออกจากศาสนาเขามาได้เลย ถ้าเขาไม่มาเจออะไรดีๆกับชีวิต ละการปฎิบัติวิธีนี้เองที่ทำให้ท่านรอดตายกับอุปสรรคโรคที่ทำให้ชีวิตท่านทรมานมาแสนสาหัส และทำให้ท่านรู้จักศาสนาพุทธอย่างแท้จริง และพุทธศาสนามีอะไรมากกว่าการได้รับจากการหายจากโรค

จนท่านขยายทั้งคำสอนและการปฎิบัติไปร้อยกว่าประเทศทั่วโลก ด้วการที่เริ่มจากคนรู้จักวิธีนี้เพียงไม่ถึง10คน ตอนนี้เติบโตมาก เพราะท่านเป็นฮินดูเป็นนักธุรกิจใหญ่นี่เองที่ทำให้ชาวฮินดูที่ไม่มีทางออกที่ถูกต้อง ได้เห็นแสงสว่างในพระพุทธศาสนาจำนวนมหาศาล

ทั้งชาวต่างชาติทั่วโลกมากมาย ถ้าไม่เห็นผลคงไม่เติบโตเห็นผลหรอกครับ แม้แต่ตัวผมยังสามารถนำคนปฎิบัติธรรมได้มากเลย ประเทศไทยก็เจริญเติบโตมากมาย เพียงคนที่กลัวๆกล้าๆ มาให้ความคิดเห็นมันบ่งบอกไม่ได้หรอกครับ สักวันเขาอาจจะเข้าใจและขอบคุณในการปฎิบัตินี้ก็ได้ ผมปฎิบัติทางนี้มาสิบกว่าปีแล้ว สิบกว่าปีนี้เวลาไม่ได้เยอะเลย ทำไมผมเลิกเสพเมถุนได้แบบสบายๆ บอกพี่กายเลยนะเป็นเรื่องเล็ๆไปแล้ว มันได้ผลเสียยิ่งกว่าอะไร

และภรรยาผมเป็นไมเกรนทรมานมาก ทำไมเธอถึงหาย ตอนแรกเธอก็พบกับการมีอาการแบบว่านี้แหละปวดหัว ผมบอกว่าต้องผ่านไปให้ได้ สุดท้ายเธอก็มาถึงจุดที่ว่าจะข้ามหรือไม่ข้าม เธอก็ผ่านไปได้ จุดบอดที่เธอปวดมากมันก็แตกกระจ่ายเบาสบายหายเป้นไมเกรน ตรงนี้จะว่าอย่างไร ส่วนท่านที่ยังผ่านไม่ได้ไม่ต้องห่วงหรอกครับวันหนึ่งมันจะมีทางออกเอง

และสายนี้แหล่ะมองเห็นเป็นรูปธรรมหน่อย ที่จะขยายธรรมะได้ดีเพราะเป็นระบบดี หมายความว่าถูกวิจัยกลั่นกรอง เอาระบบเข้ามาบริหารบัญญัติ ให้เขาถึงปรมัถต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ดีทางหนึ่งครับ และผมเคยไปเจอบุคคลหนึ่งโดยบังเอิญคุยกันไปๆมาๆก็เป็นศิษย์สำนักเดียวกันท่านบอกว่ากว่าท่านจะผ่านเรื่องนี้ท่านก็มีอาการหนักเหมือนกันคือแกตึงปวดมากตรงบริเวณหลัง สุดท้ายแกก็ผ่านได้แกบอกว่าแตกสลายเห็นสภาวะะรรมเลย จะข้ามวัฎฎะมันมีอะไรอีกเยอะ อ่านเอา คิดเอา มันยังอีกไกลมากทางสายผมนะครับ และสังเกตุหลวงพ่อที่เรายอมรับท่านที่เป็นอรหันต์แต่ละท่านเคยบอกมั้ยครับว่าธรรมะได้มาแบบสบายๆ ไม่เคยเห็นมี ถ้าจะมีก็มีแต่พูดๆไปแต่มีคนยอมรับกันมั้ยล่ะ อาจจะมีก็น้อยเต็มที เป็นข้อสังเกตุ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 153 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร