วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 21:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 153 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วัฏฏะอีก

อะไรวัฏฏะ พอจะบอกได้มั้ย :b1:


น้อง big อยากเป็นพระอรหันต์มากหรอครับ :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 11:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วางพุทธพจน์เกี่ยวกับชีวิตซึ่งแยกแยะโดยขันธ์ 5 ต่อ :b32:


“แน่ะท่านคฤหบดี อย่างไร จะชื่อว่าป่วยแต่กาย ใจไม่ป่วย ในข้อนี้ อริยสาวกผู้ได้เรียนสดับแล้ว ...
ย่อมไม่มองเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นตน (อัตตา)
ไม่มองเห็นตน มีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ
ไม่มองเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในตน
ไม่มองเห็นตน ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ
ไม่อยู่ด้วยความรู้สึกรุมเร้าว่า รูปเป็นเรา รูปของเรา เวทนาเป็นเรา เวทนาของเรา สัญญาเป็นเรา สัญญาของเรา สังขารเป็นเรา สังขารของเรา วิญญาณเป็นเรา วิญญาณของเรา


“เมื่ออริยสาวกนั้น ไม่อยู่ด้วยความรู้สึกเร้ารุมว่า รูปเป็นเรา รูปของเรา ฯลฯ วิญญาณเป็นเรา วิญญาณของเรา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น แปรปรวนไป กลายเป็นอย่างอื่น เธอก็ไม่เกิดความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นผิดหวัง เพราะการที่รูป ฯลฯ วิญญาณ แปรปรวนไป กลายเป็นอย่างอื่น”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 12:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย อย่างไร จึงจะมีความไม่กระวนกระวายที่เกิดจากความไม่ถือมั่น ?

ในข้อนี้ อริยสาวกผู้ได้เรียนสดับแล้ว...ย่อมไม่มองเห็นรูปเป็นตน ไม่มองเห็นตนมีรูป
ไม่มองเห็นตนในรูป ไม่มองเห็นรูปในตน ถึงรูปของเธอนั้น จะแปรปรวนไป กลายเป็นอย่างอื่น เธอก็ไม่มีวิญญาณที่หมุนคล้อยไปตามความแปรปรวนของรูป เพราะการที่รูปแปรปรวนไป กลายเป็นอย่างอื่นนั้นด้วย ความกระวนกระวายและประดาความรู้สึกนึกคิด ที่เกิดจากหมุนคล้อยไปตามความแปรปรวนของรูป ก็ครอบงำจิตของเธอไม่ได้

“เพราะการที่จิตไม่ถูกครอบงำ เธอย่อมไม่มีความหวั่นหวาด ไม่มีความคับแค้นใจ ไม่มีความห่วงหาอาลัย เพราะไม่ถือมั่น จึงไม่กระวนกระวาย...(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เช่นกัน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 13:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
“ภิกษุทั้งหลาย อย่างไร จึงจะมีความไม่กระวนกระวายที่เกิดจากความไม่ถือมั่น ?

ในข้อนี้ อริยสาวกผู้ได้เรียนสดับแล้ว...ย่อมไม่มองเห็นรูปเป็นตน ไม่มองเห็นตนมีรูป
ไม่มองเห็นตนในรูป ไม่มองเห็นรูปในตน ถึงรูปของเธอนั้น จะแปรปรวนไป กลายเป็นอย่างอื่น เธอก็ไม่มีวิญญาณที่หมุนคล้อยไปตามความแปรปรวนของรูป เพราะการที่รูปแปรปรวนไป กลายเป็นอย่างอื่นนั้นด้วย ความกระวนกระวายและประดาความรู้สึกนึกคิด ที่เกิดจากหมุนคล้อยไปตามความแปรปรวนของรูป ก็ครอบงำจิตของเธอไม่ได้

“เพราะการที่จิตไม่ถูกครอบงำ เธอย่อมไม่มีความหวั่นหวาด ไม่มีความคับแค้นใจ ไม่มีความห่วงหาอาลัย เพราะไม่ถือมั่น จึงไม่กระวนกระวาย...(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เช่นกัน)
สังเกตุพุทธพจน์ทั้งสองพุทธพจน์นั้นจะสอนทั้งสองเพศไปในทางเดียวกันไม่มีความแต่ต่างอะไรกันในเนื้อคำสอนเกี่ยวกับการไม่ยึดมั่นในรูป เวทนา สังขาร วิญญาณว่าไม่ใช่เราไม่เทียงฯ คำสอนเกือบทั้งไตรปิฎกก็จะเป็นไปในลักษณะนี้เกือบทั้งหมด ดูเหมือนว่าจะใช้ชีวิตอย่างไรก็ก็บรรลุธรรมะได้ถ้าไม่พิจารณาดีๆ อันนี้จริงอยู่ไม่ปฎเสธ แต่การเวียนว่ายตายเกิดนั้นย่อมให้ของรางวัลแก่ผู้ประมาท เพราะพระองค์แสดงไว้ว่าชีวิตที่ยังคลุกคลีมาตุคลามนั้นจะหาบรรลุได้ยากมาก ผู้ใดมีปัญญาควรมองเห็น และเพศบรรพชิพนั้นเหมาะแก่บำเพ็ญเพียรธรรมอย่างยิ่ง
ขอถาม
1.ทำไมถึงไม่อยากบวชในเมื่อพระองค์ทรงสรรเสริญมาก


2.คิดอะไรอยู่นอกจากความคิดว่าเป็นฆราวาสก็บรรลุได้


3.มีธุรอะไร ธุระนั้นสำคัญตรงไหน เมือหมดธุระแล้วจะบวชมั้ย ในเมื่อการบวชพระองค์ยีนยันว่าเป็นการเอื้อแกการบรรลุธรรม


4.แล้วที่ว่าการปฎิบัตินั้นไม่จำเป็นต้องทำอะไร และสิ่งที่พระพุทธเจ้า บอกว่า นั้นเรือนวาง โคนไม้ ซอกหิน เธออจงนั่งตัวตรงดำรงสติให้มั่น หายใจออกรู้ หายใจเข้ารู้บรรยายไปถึงวิมุตพระองค์บอกภิกษเพื่ออะไร


5.บทอธิฐานความเพียรอีกพระองค์แสดงเพื่ออะไรภิกษุ ท ! เรายังรู้สึกได้อยู่ซึ่งธรรม ๒ อย่าง คือความไม่รู้จักอิ่ม จักพอ (สันโดษ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย และ ความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ(อัปปฏิวานี)ในการทำ ความเพียร.
ภิกษุ ท ! เราย่อมตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (ด้วยการ อธิษฐานจิต) ว่า "จงเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกเท่านั้น, เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไป; ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ, ยังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี" ดังนี้
ภิกษุ ท ! การตรัสรู้เป็นสิ่งที่เราถึงทับแล้วด้วยความไม่ประมาท อนุตตรโยคักเขมธรรม ก็เป็น สิ่งที่เราถึงทับแล้วด้วยความไม่ประมาท.
ภิกษุ ท ! ถ้าแม้พวกเธอ[b] พึงตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (ด้วยการอธิ ฐานจิต)ว่า "จงเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกเท่านั้น, เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือด แห้งไป; ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบาก บั่น ของบุรุษ, ยังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้วจักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี" ดังนี้ แล้วไซร้; [/b]
ภิกษุ ท ! พวกเธอก็จักกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า อันเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรผู้ออก บวชจากเรือนเป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ, ได้ต่อกาลไม่นานในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้ว แลอยู่ เป็นแน่นอน.


ทั้งหมดนี้พระองค์ทรงสั่งสอนเพื่ออะไร

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 15:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
ทำเป็นอาจารย์จะสอนเขา เห็นสาวๆใส่เสื้อเปิดอกหน่อยก็ไปว่าเขาแล้ว จะมาสอนใครได้ :b13:
เห็นแล้วต่อมแตก :b13:

สงสัยบิกทู่ชอบให้เมียกับลูกสาวใส่เสื้อโชว์อกล่ะมั้ง
ถึงมาว่าผมแบบนี้

ผมตำหนิเด็กเพราะเห็นเด็กเหมือนญาติพี่น้อง ไม่อยากให้ทำตัวแบบนั้น
เป็นผู้ใหญ่มันก็ต้องดุด่าว่ากล่าวเมื่อเห็นเด็กประพฤติตัวไม่เหมาะสม
ทำแบบนี้ไม่ถูกหรือทู่

คิดวิปริตแบบนี้ คงไม่ถึงกับชวนชวนลูกเต้าเข้าไปดูเว็บโป๊หรอกน่ะ
ทำเมื่อไรผมจะไปแจ้ง มูลนิธิปวีณาให้มาจัดการ
โทษฐานเป็นพ่อวิตถาร เห็นกงจักรเป็นดอกบัว :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
bigtoo เขียน:
ทำเป็นอาจารย์จะสอนเขา เห็นสาวๆใส่เสื้อเปิดอกหน่อยก็ไปว่าเขาแล้ว จะมาสอนใครได้ :b13:
เห็นแล้วต่อมแตก :b13:

สงสัยบิกทู่ชอบให้เมียกับลูกสาวใส่เสื้อโชว์อกล่ะมั้ง
ถึงมาว่าผมแบบนี้

ผมตำหนิเด็กเพราะเห็นเด็กเหมือนญาติพี่น้อง ไม่อยากให้ทำตัวแบบนั้น
เป็นผู้ใหญ่มันก็ต้องดุด่าว่ากล่าวเมื่อเห็นเด็กประพฤติตัวไม่เหมาะสม
ทำแบบนี้ไม่ถูกหรือทู่

คิดวิปริตแบบนี้ คงไม่ถึงกับชวนชวนลูกเต้าเข้าไปดูเว็บโป๊หรอกน่ะ
ทำเมื่อไรผมจะไปแจ้ง มูลนิธิปวีณาให้มาจัดการ
โทษฐานเป็นพ่อวิตถาร เห็นกงจักรเป็นดอกบัว :b32:
ยังนึกว่าทำถูกอีกพ่อหนุ่ม คุณไปเบียดเบียนเขายังไม่รู้ตัวอีก คุณรู้มั้ยเวลาเราจะเตือนใครนะมันต้องมีวิธีที่แยบคลายถ้าเตือนผิดเขาจะทุกข์มากเลยรู้บ่ ยังหลงตัวเองอยู่อีก นึกว่าดีละมั้ง ขนาดเมียตัวเองยังเอาไม่อยู่เลยยังจะไปสั่งสอนคนอื่นเขา โถๆๆๆ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แก้ไขล่าสุดโดย bigtoo เมื่อ 10 ก.ย. 2012, 15:46, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


- กฏกติกาบอร์ด
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=11&t=39777

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
วัฏฏะอีก

อะไรวัฏฏะ พอจะบอกได้มั้ย :b1:


น้อง big อยากเป็นพระอรหันต์มากหรอครับ :b10:



ถามนี่ไม่ตอบ ชอบพูดศัพท์เขาแบบเพ้อเจ้อ พูดศัพท์ทางธรรมเพื่อให้สบายใจ ใจปลื้มๆว่าที่ฉันพูดธรรมะนะ ฉันคิดเนี่ยเป็นธรรมะ แต่หารู้เข้าใจความหมายศัพท์ที่ตนนำมาพูดนั้นๆไม่

จริงมั้ยขอรับพ่อนักธรรมทั้งสอง :b1:


บอกตรงๆนะ เห็นแล้วอนาถใจ บิดเบือนกล่าวตู่พุทธธรรม บาปครับบาป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 16:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูพจน์พจน์เกี่ยวกับชีวิต ซึ่งแยกแยะโดยความเป็นขันธ์ต่อ



“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้แล้วซึ่งความเป็นอนิจจัง ความแปรปรวนไป จางคลายไป ดับไปของรูป มองเห็นอยู่

ด้วยสัมมาปัญญา ตามที่มันเป็นว่า รูปในกาลก่อนก็ดี รูปทั้งปวงในบัดนี้ก็ดี ล้วนไม่เที่ยง เป็น

ทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ดังนั้น ก็ย่อมละความโศกเศร้า ความคร่ำครวญ ความทุกข์

โทมนัส และความคับแค้นผิดหวังเสียได้ เพราะละความเศร้าโศก ฯลฯ ได้ ก็ไม่กระวนกระวาย เมื่อไม่

กระวนกระวาย ก็อยู่เป็นสุข ภิกษุผู้อยู่เป็นสุข เราเรียกว่า ผู้นิพพานเฉพาะกรณีนั้นๆ (ตทังคพิพพาน)
(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เช่นกัน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 16:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
bigtoo เขียน:
ทำเป็นอาจารย์จะสอนเขา เห็นสาวๆใส่เสื้อเปิดอกหน่อยก็ไปว่าเขาแล้ว จะมาสอนใครได้ :b13:
เห็นแล้วต่อมแตก :b13:

สงสัยบิกทู่ชอบให้เมียกับลูกสาวใส่เสื้อโชว์อกล่ะมั้ง
ถึงมาว่าผมแบบนี้

ผมตำหนิเด็กเพราะเห็นเด็กเหมือนญาติพี่น้อง ไม่อยากให้ทำตัวแบบนั้น
เป็นผู้ใหญ่มันก็ต้องดุด่าว่ากล่าวเมื่อเห็นเด็กประพฤติตัวไม่เหมาะสม
ทำแบบนี้ไม่ถูกหรือทู่

คิดวิปริตแบบนี้ คงไม่ถึงกับชวนชวนลูกเต้าเข้าไปดูเว็บโป๊หรอกน่ะ
ทำเมื่อไรผมจะไปแจ้ง มูลนิธิปวีณาให้มาจัดการ
โทษฐานเป็นพ่อวิตถาร เห็นกงจักรเป็นดอกบัว :b32:
ไอ้เราเห็นก็อดไม่ได้ตามนิสัย เข้าไปเตือนก็แล้วให้แต่งตัวให้เรียบร้อย
เตือนแล้วไม่เชื่อครับผมเลยว่าเอาแรงๆ แค่นั้นแหล่ะนั่งร้องไห้ขี้มูกโปร่ง
เพื่อนเสมียนไปฟ้อง เจ้านายหาว่าผมไปหาเรื่องเด็ก

เจ้านายใส่ผมใหญ่เลยครับ หาว่าเป็นเรื่องส่วนตัว
ผมเถียงครับว่ามันไม่ใช่เรื่องส่วนตัว นี่เป็นที่ทำงาน
เวลาทำงานต้องอยู่ในแบบฟอร์มต้องแต่งตัวให้เรียบร้อย

และผมก็ยังสำทับไปอีกว่า เฮียเป็นคนออกกฏเองว่าให้เสมียนแต่งตัวให้เรียบร้อย
เจ้านายผมมันบอกว่า ที่ออกกฏไปตอนนั้น เพราะเสมียนคนนั้นแต่งตัวโป๊หรือใส่เสื้อ
คอลึก แต่เวลามันก้มมันเอามือปิดคอเสื้อไว้ ถ้ามันอยากแต่งแบบนี้แล้วมันจะเอามือปิดทำไม
ความหมายก็คืออยากจะโชว์แต่กลัวคนมอง ก็เลยออกกฎให้หมดเรื่อง
นี่เป็นข้อความที่พี่โฮเขียนไว้ วิธีสอนของพี่เป็นแบบนี้เหรอคนที่เข้าใจะรรมะเขาสอนกันอย่างนี้เหรอ นี่แหละมั้งเมียถึงหนี

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แก้ไขล่าสุดโดย bigtoo เมื่อ 10 ก.ย. 2012, 17:35, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 16:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ปุถุชนผู้มิได้เรียนสดับนั้น ย่อมมนสิการโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) อย่างนี้ว่า ในอดีตกาลอันยาวนาน เราได้มีแล้วหรือหนอ ...หรือว่าเรามิได้มี...เราได้เป็นอะไรหนอ...เราได้เนอย่างไรหนอ...เราเป็นอะไรแล้วจึงได้เป็นอะไรหนอ...ในอนาคตกาลอันยาวนาน เราจักมีหรือหนอ...หรือว่าเราจักไม่มี...เราจักเป็นอะไรหนอ...เราจักเป็นอย่างไรหนอ...เราจักเป็นอะไรแล้วจึงจะเป็นอะไรหนอ หรือ

ปรารภปัจจุบันในบัดนี้ มีความสงสัยขึ้นภายในว่า เรามีอยู่หรือ หรือว่าเราไม่มี เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้มาจากไหนหนอ สัตว์นั้นจักไป ณ ที่ใดหนอ?


“เมื่อปุถุชนนั้น มนสิการโดยไม่แยบคายอย่างนี้ ทิฐิอย่างใดอย่างหนึ่งในทิฐิ 6 อย่าง ย่อมเกิดขึ้น คือ เขาย่อมเกิดทิฐิ (ยึดถือ) เอาเป็นจริงเป็นแท้ว่า เรามีอัตตา ...เราไม่มีอัตตา ...เรากำหนดรู้อัตตาด้วยอัตตา ...เรากำหนดรู้สภาวะที่มิใช่อัตตาด้วยอัตตา ...เรากำหนดรู้อัตตาด้วยสภาวะที่มิใช่อัตตา หรือ

มิฉะนั้นก็จะมีทิฐิดังนี้ว่า อัตตาของเรานี้แหละ ที่เป็นตัวบงการ เป็นผู้เสวย ประสบวิบากแห่งกรรมที่ดีและชั่ว ณ ที่นั้นๆ เป็นสภาวะที่เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป มีความไม่ผันแปรเป็นธรรมดา จักคงอยู่อย่างนั้นเสมอตลอดไป

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทิฐิ รกชัฏแห่งทิฐิ กันดารแห่งทิฐิ เสี้ยนหนามแห่งทิฐิ ความดิ้นรนแห่งทิฐิ ทิฐิเครื่องผูกมัดสัตว์ ปุถุชนผู้มิได้เรียนสดับ ซึ่งถูกทิฐิเครื่องผูกมัดรัดตัวไว้ ย่อมไม่พ้นจาก ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมไม่พ้นจากทุกข์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 16:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวก ผู้ได้เรียนสดับแล้ว ฯลฯ ย่อมรู้ชัดธรราที่ควรมนสิการ รู้ชัดธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ย่อมมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ


“ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ซึ่งอริยสาวกไม่มนสิการ เป็นไฉน? กล่าวคือ เมื่ออริยสาวกมนสิการธรรมเหล่าใด กามสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญ เหล่านี้คือธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ซึ่งอริยสาวกไม่มนสิการ


“ธรรมที่ควรมนสิการ ซึ่งอริยสาวกมนสิการ เป็นไฉน? กล่าวคือ เมื่ออริยสาวกมนสิการธรรมเหล่าใด กามสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดแล้ว ก็ถูกละเสียได้ เหล่านี้คือธรรมที่ควรมนสิการ ซึ่งอริยสาวกย่อมมนสิการ


“เพราะอริยสาวกนั้น ไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ก็จะไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ก็จะถูกละเสียได้
“อริยสาวกนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ว่า นี้ทุกข์...นี้เหตุให้เกิดทุกข์...นี้ความดับทุกข์...นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เมื่ออริยสาวกนั้น มนสิการโดยแยบคายอย่างนี้ สังโยชน์ 3 ย่อมถูกละเสียได้ กล่าวคือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย แม้น้ำคงคานี้ พึงพาเอากลุ่มฟองน้ำใหญ่มา คนตาดีมองดู เพ่งพินิจ พิจารณาโดยแยบคาย เมื่อเขามองดู เพ่งพินิจ พิจารณาโดยแยบคาย ก็จะปรากฏเป็นแต่สภาพว่าง เปล่า ไร้แก่นสารเท่านั้น แก่นสารในกลุ่มฟองน้ำ จะมีได้อย่างไร ฉันใด

“รูปก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ว่าอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม ภิกษุมองดูรูปนั้น เพ่งพินิจ พิจารณาโดยแยบคาย เมื่อเธอมองดู เพ่งพินิจ พิจารณาโดยแยบคาย ก็จะปรากฏเป็นแต่สภาพว่าง เปล่า ไม่มีแก่นสาร แก่นสารในรูปจะพึงมีได้อย่างไร”

ต่อจากนั้น ตรัสถึงเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และมีคาถาสรุปว่า

“พระอาทิตยพันธ์ (พระพุทธเจ้า) ได้ตรัสแสดงไว้ว่า รูปอุปมาเหมือนฟูมฟองแม่น้ำ เวทนาอุปมาเหมือนฟองน้ำฝน สัญญาอุปมาเหมือนพยับแดด สังขารอุปมาเหมือนต้นกล้วย วิญญาณอุปมาเหมือนมายากล ภิกษุพินิจดู พิจารณาโดยแยบคาย ซึ่งเบญจขันธ์ ด้วยประการใดๆ ก็มีแต่สภาวะที่ว่างเปล่า”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
“ปุถุชนผู้มิได้เรียนสดับนั้น ย่อมมนสิการโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) อย่างนี้ว่า ในอดีตกาลอันยาวนาน เราได้มีแล้วหรือหนอ ...หรือว่าเรามิได้มี...เราได้เป็นอะไรหนอ...เราได้เนอย่างไรหนอ...เราเป็นอะไรแล้วจึงได้เป็นอะไรหนอ...ในอนาคตกาลอันยาวนาน เราจักมีหรือหนอ...หรือว่าเราจักไม่มี...เราจักเป็นอะไรหนอ...เราจักเป็นอย่างไรหนอ...เราจักเป็นอะไรแล้วจึงจะเป็นอะไรหนอ หรือ

ปรารภปัจจุบันในบัดนี้ มีความสงสัยขึ้นภายในว่า เรามีอยู่หรือ หรือว่าเราไม่มี เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้มาจากไหนหนอ สัตว์นั้นจักไป ณ ที่ใดหนอ?


“เมื่อปุถุชนนั้น มนสิการโดยไม่แยบคายอย่างนี้ ทิฐิอย่างใดอย่างหนึ่งในทิฐิ 6 อย่าง ย่อมเกิดขึ้น คือ เขาย่อมเกิดทิฐิ (ยึดถือ) เอาเป็นจริงเป็นแท้ว่า เรามีอัตตา ...เราไม่มีอัตตา ...เรากำหนดรู้อัตตาด้วยอัตตา ...เรากำหนดรู้สภาวะที่มิใช่อัตตาด้วยอัตตา ...เรากำหนดรู้อัตตาด้วยสภาวะที่มิใช่อัตตา หรือ

มิฉะนั้นก็จะมีทิฐิดังนี้ว่า อัตตาของเรานี้แหละ ที่เป็นตัวบงการ เป็นผู้เสวย ประสบวิบากแห่งกรรมที่ดีและชั่ว ณ ที่นั้นๆ เป็นสภาวะที่เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป มีความไม่ผันแปรเป็นธรรมดา จักคงอยู่อย่างนั้นเสมอตลอดไป

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทิฐิ รกชัฏแห่งทิฐิ กันดารแห่งทิฐิ เสี้ยนหนามแห่งทิฐิ ความดิ้นรนแห่งทิฐิ ทิฐิเครื่องผูกมัดสัตว์ ปุถุชนผู้มิได้เรียนสดับ ซึ่งถูกทิฐิเครื่องผูกมัดรัดตัวไว้ ย่อมไม่พ้นจาก ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมไม่พ้นจากทุกข์
พี่กายยกพุทธพจน์เหล่ามามาเพื่ออะไรครับ สิ่งเหล่านี้นั้นเราก็รู้ๆกันอยู่นี่ครับว่าทิฎฐิมนุษย์มันเป็นความหลงของคนอย่างนี้ เราถึงลงมือเดินตามทางมรรคมีองค์แปดกันไง น่าจะเอาวิธีปฎิบัติมากกว่าเอาแต่ความ ทิฎฐิออย่างเดียว ทิฎฐิอย่างเดียวมันไม่รอดหรอก มันมีตั้ง8องค์ กิจญาณนั้นแหล่ะครับหน้าที่ของเรา เมือกิจญาณสมบูรณืเมื่อใดกัตตญาณก้จะปรากฎเองก็เท่านั้นไม่ต้องวลมาที่เก่าแล้ว ถามจริงๆพี่เคยสัมผัสความจริงอะไรบางอย่างเกี่ยวกัยสูญญตาบ้างมั้ยหรือพี่คิดเอาแล้วว่าใช่นะครับ พุทธพจน์ใหญ่อย่างอานาปานสติสูตร นะเอาไปไว้ไหนครับ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 16:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
“ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวก ผู้ได้เรียนสดับแล้ว ฯลฯ ย่อมรู้ชัดธรราที่ควรมนสิการ รู้ชัดธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ย่อมมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ


“ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ซึ่งอริยสาวกไม่มนสิการ เป็นไฉน? กล่าวคือ เมื่ออริยสาวกมนสิการธรรมเหล่าใด กามสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญ เหล่านี้คือธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ซึ่งอริยสาวกไม่มนสิการ


“ธรรมที่ควรมนสิการ ซึ่งอริยสาวกมนสิการ เป็นไฉน? กล่าวคือ เมื่ออริยสาวกมนสิการธรรมเหล่าใด กามสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดแล้ว ก็ถูกละเสียได้ เหล่านี้คือธรรมที่ควรมนสิการ ซึ่งอริยสาวกย่อมมนสิการ


“เพราะอริยสาวกนั้น ไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ก็จะไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ก็จะถูกละเสียได้
“อริยสาวกนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ว่า นี้ทุกข์...นี้เหตุให้เกิดทุกข์...นี้ความดับทุกข์...นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เมื่ออริยสาวกนั้น มนสิการโดยแยบคายอย่างนี้ สังโยชน์ 3 ย่อมถูกละเสียได้ กล่าวคือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส”
ธรรมที่พี่ยกมาทั้งหมดเป็นเพียงสัจจจญาณ ที่พี่ยกมานั้นมันเป็นเพียงสัจจญาณคือเข้าไปกำหนดรู้ อย่าลืมหน้าที่ซิครับรู้แล้วจะต้องทำกิจด้วย เรียกว่าหน้าที่ในอริยสัจครับหน้าที่ก็คือต้องทำไม่ทำไม่ได้คือกิจจญาณ เมือทำกิจเสร็จแล้วก็จบกัน กัตตญาณนีี้ทำอะไรไม่ได้มันเป็นผลเมือทำหน้าที่เสร็จแล้วกัตตญาณก็รู้ว่ากิจใดที่เราสมควรทำได้ทำเสร็จสิ้นแล้ว จบบริบูรณ์แล้ว ดูญาณ 3

ญาณ ในที่นี้หมายถึง จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ซึ่งเกิดขึ้นในจิตใจเป็นของบุคคล ด้วยผลของการปฏิบัติให้สมบรูณ์ ในศีล สมาธิ ปัญญา จนสภาพจิตใจของบุคคลนั้น ไม่หวั่นไหว เป็นสมาธิสงบ ปราศจากกิเลส ท่านจำแนกไว้ 3 ประการคือ


เขียนโดย : วิทยาทาน วัน/เวลา : 13/8/2551 16:54:10

1. สัจจญาณ

ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ ได้แก่หยั่งรู้ว่า นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นสมุทัยนี้เป็นนิโรธ นี้เป็นนิโรธคามินีปฏิปทา
เขียนโดย :วิทยาทาน
วัน/เวลา :13/8/2551 16:56:14

2. กิจจญาณ

ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทำ ได้แก่ หยั่งรู้ว่า ทุกข์เป็นธรรมชาติ ที่ควรกำหนดรู้ สมุทัยเป็นสภาพที่ควรละ นิโรธเป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิป
ทา เป็นธรรมชาติที่ควรทำให้เกิด
เขียนโดย :วิทยาทาน
วัน/เวลา :13/8/2551 16:58:52

3. กตญาณ

ปรีชาหยั่งรู้กิจอันได้กระทำแล้ว ได้แก่ หยั่งรู้กิจ 4 อย่างนั้นว่า ทุกข์เป็นธรรมชาติที่ควรกำหนดรู้ ก็ได้กำหนดรู้แล้ว ทุกขสมุทัยเป็นสภาพที่ควรละก็ได้แล้ว ทุกขนิโรธ เป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้ง ก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นธรรมชาติที่ควรทำให้เกิดก็ได้เกิดแล้ว

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แก้ไขล่าสุดโดย bigtoo เมื่อ 10 ก.ย. 2012, 16:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 153 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร