วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 16:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 70 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2012, 07:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
bigtoo เขียน:
asoka เขียน:
tongue
ฟังธรรมคุณ 6 ประการต่อนะครับ



สำหรับคุณ bigtoo ถ้าเป็นมาตามนี้หรือคล้ายดังการพิสูจน์ธรรมที่กล่าวมานี้ ที่หวังไว้ว่าจะลดภพชาติให้เหลือไม่เกิน 7 ชาติให้ทันในปัจจุบันชาตินี้ ก็เป็นที่หวังได้แน่นอนครับ

เจริญสุข เจริญธรรมกันทุกๆท่าน ทำนิพพานให้แจ้งกันทุกๆคนนะครับ
:b8:
:b8: ขอให้เป็นจริงทีเถอะสาธุ :b8:

:b11:
ขอด้วย ทำจริงด้วย นั้น สวยแน่
ขอแล้ว แผ่ รอโอกาส อย่ามาดหมาย
ในโลกนี้ ไม่มี ใด ดั่งใจ
ทุกสิ่งไซร้ ล้วนต้องทำ ด้วย ความเพียร

:b4: :b4:
อันเหวลึกอย่านึกว่าเหวตื้น อันเหวลื่นอย่านึกคะนองไปลองผลัก ตกเหวหินปีนป่ายยังง่ายนัก ตกเหวรักเสือกสนจนวันตาย( จำเขามานะครับอิๆๆ :b13: )
ณ คืนวันที่มืดหมองครองชีวิต
ด้วยดวงจิตปี่ยมหวังยังหาญกล้า
หากหัวใจเบิกบานทานทุกข์ท้า
ทุกขวากหนามฟันฝ่าจนผ่นพ้น

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2012, 19:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b11:

ขอด้วย ทำจริงด้วย นั้น สวยแน่
ขอแล้ว แผ่ รอโอกาส อย่ามาดหมาย
ในโลกนี้ ไม่มี ใด ดั่งใจ
ทุกสิ่งไซร้ ล้วนต้องทำ ด้วย ความเพียร


อันเหวลึกอย่านึกว่าเหวตื้น
อันเหวลื่นอย่าคะนองไปลองผลัก
ตกเหวหินปีนป่ายยังง่ายนัก
ตกเหวรักเสือกสนจนวันตาย


( จำเขามานะครับอิๆๆ )

ณ คืนวัน ที่มืดหมอง ครอง ชีวิต
ด้วย ดวงจิต เปี่ยมหวัง ยังหาญกล้า
หากหัวใจ เบิกบาน สู้ ทุกข์ครา
ทุกขวากหนาม จัก ฟันฝ่า จนพ้นภัย


(เรียบเรียงใหม่ คร้าบ...อุ๊ ๆ )
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2012, 19:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b11:

ขอด้วย ทำจริงด้วย นั้น สวยแน่
ขอแล้ว แผ่ รอโอกาส อย่ามาดหมาย
ในโลกนี้ ไม่มี ใด ดั่งใจ
ทุกสิ่งไซร้ ล้วนต้องทำ ด้วย ความเพียร


อันเหวลึกอย่านึกว่าเหวตื้น
อันเหวลื่นอย่าคะนองไปลองผลัก
ตกเหวหินปีนป่ายยังง่ายนัก
ตกเหวรักเสือกสนจนวันตาย


( จำเขามานะครับอิๆๆ )

ณ คืนวัน ที่มืดหมอง ครอง ชีวิต
ด้วย ดวงจิต เปี่ยมหวัง ยังหาญกล้า
หากหัวใจ เบิกบาน สู้ ทุกข์ครา
ทุกขวากหนาม จัก ฟันฝ่า จนพ้นภัย


(เรียบเรียงใหม่ คร้าบ...อุ๊ ๆ )
:b32:
555ไม่ลงทุนเลยนี่ :b13:

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2012, 20:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b44:
ตอบคำถามของผู้สนใจท่านหนึ่ง

จะอ้างอิงกันมาจากพระไตรปิฎก จากอาจาริโยวาท หรือที่ใดๆ มากมายแค่ไหน ก็ไปลงที่คำแปลตามสำนวนสวนโมกข์ เป็นอันเดียวกัน เพราะยอมรับนับถือการแปลมากันอย่างนี้ตลอดช่วงเวลา 70 - 80 ปีที่ผ่านมา ยังไม่มีใครกล้าแปลความแปลกแหวกแนวออกไปจากนี้ ก็มิเห็นจะเป็นไร ใครเชื่ออย่างนี้ก็ยึดถือปฏิบัติไปตามคำแปลที่ว่านี้ก็ไม่เป็นไร ดีอยู่ เพราะเมื่อปฏิบัติจริงไปนานๆ ก็จักซึ้งใจเองว่า ธรรมะ ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้นเป็นอย่างไร

แต่ได้เรียนให้ทราบแล้วว่าการแปลธรรมคุณ 6 ประการสำนวนใหม่นี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาท่ามกลางยุคสมัย เป็นผลจากความสังเกตการณ์ของท่านผู้ปฏิบัติธรรมมีประสบการณ์ธรรมมามากท่านหนึ่งได้แปลออกมาโดยให้ข้อสังเกต ข้อคิดนำเสนอว่า ถ้าแปลธรรมคุณ 6 ประการตามสำนวนใหม่นี้ จะยิ่งทำให้ใกล้ชิดกับความจริง สัมพันธ์กับบาลีเดิมและธรรมสภาวะ สอดคล้องกันไปได้อย่างลึกซึ้งและไม่นอกทางหลักคำสอนของพระบรมศาสดา ง่าย และชี้ตรงชี้ชัดมากยิ่งขึ้นยิ่งกว่าเก่าดังหลักฐานความจริงที่ยกมาจากสภาวธรรมที่พึงเกิดจริงๆ ลองกลับไปพิจารณากันดูอย่างช้าๆและละเอียดละออด้วยใจเป็นกลาง ก็อาจเข้าใจความนัย
ลองกลับมาดูกันใหม่ ไม่ต้องมากความออกไปสู่เรื่องอื่น มาพิจารณาจากธรรมคุณข้อที่ 2 สันทิฏฐิโก ที่สำนวนใหม่แปลว่า

(พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั้น) เป็นสิ่งที่ ผู้ทำความเห็นให้ตรงให้ถูกต้องแล้ว (คือเห็นอนัตตา) จักรู้ได้ด้วยตนเอง.......มันมีความผิดแผกแตกออกไปจากธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนตรงไหน? หรือถูกต้องตรงประเด็นชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าเดิม เมื่อเทียบกับคำแปลว่า "เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง"


ธรรมคุณข้อที่ 3 อะกาลิโก ......สำนวนยอดนิยมแปลว่า .....เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล

สำนวนใหม่ขยายความเพิ่มเติมไปว่า เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัด กาล เวลา สถานที่ บุคคล เชื้อชชาติ เผ่าพันธ์ วรรณะ ศาสนา เพศ วัย การแต่งกาย และระดับการศึกษา แปลอย่างนี้มันผิดธรรมไหม? อาจผิดบาลีไปนิดหนึ่ง แต่ที่ขยายความนั้นถูกต้องตามธรรมทั้งหมดใช่หรือไม่?

ธรรมคุณข้อที่ 4 เอหิปัสสิโก .....สำนวนยอดนิยมแปลว่า "เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด.....นี่ก็เป็นการแปลแบบขยายความไม่ใช่แปลตรงตามคำบาลีตรงๆ

แล้วสำนวนใหม่ที่แปลว่า "เป็นสิ่งที่เรียกร้องให้เราเข้าไปดูอยู่เสมอ" ก็เป็นการแปลขยายความของเอหิ ....มาซิ ๆ ...ปัสสิ....ดู ๆ แปลว่า .....มาดูฉันซิ ๆ .....สภาวธรรมทั้งหลายนั้นจะเกิดขึ้นแล้วดึงจิตดึงใจของปุถุชนทั้งหลายให้ไปดูไปรู้ไปสนใจอยู่เสมอใช่หรือไม่ ลองพิสูจน์ดู ว่าบรรดา ผัสสะของทวารทั้ง 6 และเวทนาของจิต เขาดึง เขาชักนำ เขาทำให้จิตต้องไปรู้ไปดูอยู่่ตลอดเวลาจริงหรือไม่ ลองนั่งเฉยๆ หลับตา พิสูจน์กันดู คุณงดงามก็ลองกลับไปพิสูจน์ให้จริงจังอย่าคิดเอาโดยตรรกกะ

ที่คุณคิดว่าทุกสิ่งมันเกิดเองดับเองไปตามเหตุปัจจัย ไม่มีอะไรเรียกใครไปดูอะไร แต่ในความเป็นจริงที่เกิดในจิตใจของคุณเมื่อเผชิญกับผัสสะและเวทนาต่างๆ จิตของคุณสามารถเฉยเมยไม่สนใจสภาวะต่างๆที่กำลังเกิดแสดงณปัจจุบันขณะปัจจุบันอารมณ์นั้นเลยได้จริงหรือ.....ไม่ใช่กวัดแกว่งหวั่นไหว มีปฏิกิริยาตอบโต้ไปกับผัสสะและเวทนาต่างๆเหล่านั้นเลยหรือ?


ลำดับต่อจากนี้ไปก็เป็นการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์กันในข้อปลีกย่อยของคำแปลธรรมคุณ 6 ประการกันต่อ จนกว่าจะพอใจกันทุกฝ่ายแล้ว ก็สรุปผลตัดสินใจเลือกสรรค์เอาความรู้ ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ไปใช้ อันไหนไม่เชื่อถือก็ทิ้งไป เป็นจบกันไป 1 กระทู้
:b11:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2012, 08:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อ้างคำพูด:
ประเด็นของการนำเสนอเรื่องการแปลความหมายของธรรมคุณ 6ประการสำนวนใหม่นั้น ต้องการจะเรียนแจ้งให้ทุกท่าน

(ที่ได้เชื่อและยอมรับคำแปลธรรมคุณ 6 ประการสำนวนยอดนิยมแห่งยุคสมัย ดังสำนวนสวนโมกข์ สำนวนในพระไตรปิฎกและสำนวนจากอรรถกถา ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ที่คุณงดงามอุตส่าห์ไปค้นคว้ามาอ้างอิงประกอบเป็นหลักฐานว่าทั่วบ้านทั่วเมืองเขายอมรับนับถือและใช้คำแปลอันนี้นะ.....คุณอโศกะ....ถ้าคุณเห็นต่างก็เหมือนกับคุณไปเห็นค้านธรรมปริยัติหรือธรรมะตัวหนังสือ ธรรมะคำพูด ที่มีมาในคัมภีร์และอาจาริโยวาท อย่างนี้ผิดธรรม(ตัวหนังสือ)เผลอๆอาจค้านกับพุทธวัจจนะด้วย)

ให้ได้ทราบว่าการแปลความหมายของธรรมคุณ 6 ประการ อาจแปลได้เป็น 2 ทางคือ

1.แปลความโดยอิงธรรมะจากคัมภีร์ หรืออิงปริยัติ บัญญัติธรรม

2.แปลความโดยอิงธรรมะจริงๆที่ปรากฏในรูปนาม กายใจ หรืออิงปรมัตถธรรม

:b37:
ก่อนที่จะได้ขยายความในเรื่องของการแปลความหมายของธรรมคุณ 6 ประการ ทั้ง 2 ที่กล่าว
ใคร่จะขอเรียนให้เข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่า

การแปลความหมายของข้อธรรมจากต้นฉบับบาลีในพระไตรปิฎกโดยทั่วไปจะใช้หลักบัญญัติอิงบัญญัติ
คือเอาบัญญัติที่เป็นภาษาบาลีเป็นหลักแล้วเอาบัญญัติที่เป็นภาษาไทย(หรือภาษาอื่นๆ)มาเทียบเคียงความเป็นไปได้ คล้าย เหมือน น่าจะเป็น หรือ เป็นไปตามธรรม ตามสามัญสำนึก มาบัญญัติขึ้นว่าแปลว่าอย่างนั้นอย่างนี้ อย่างเช่น บาลีคำว่า

"ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" ซึ่งมีคนส่วนใหญ่แปลว่า "กงล้อแห่งธรรม" โดยไปหมายเอาคำว่า "จักกัปวัตน"มาเป็นหลักแปล โดย สำคัญว่า "จักกัปวัตน" คำนี้ น่าจะมาจากคำว่า "จักร" ที่แปลว่า กงล้อ แล้วยังทำให้ขยายความไปแปลต่อเนื่องว่า กงล้อแห่งธรรมนี้ หมายถึง มรรคมีองค์ 8 รูปกงล้อธรรมจักร จึงมีซี่อยู่ 8 ซี่

การแปลความเช่นนี้ก็ดูเหมือนว่าจะถูกต้องที่สุดและเป็นที่ยอมรับนำไปใช้แปลกันทั่วเป็นสากลอยู่ในปัจจุบัน


หลังจากนั้น วันหนึ่งผมมีโอกาสได้พบกับหลวงปู่ครูบาอาจารย์จากเมืองไทยใหญ่ท่านหนึ่งในการสนทนาธรรม ท่านได้เล่าให้ฟังว่า

การแปลความหมายของธัมมจักกัปปวัตนสูตร ว่าเป็น กงล้อแห่งธรรมนั้น ดูดีอยู่ แต่คำแปลที่เป็น สาระหรืออรรถะแห่ง "ธัมมจักกัปปวัตน"ที่ว่านี้ ตัวคำว่า "จักกัปปวัตน" นี้มันแปลความหมายได้อีกอย่างหนึ่งซึ่งลึกซึ้งและตรงตามธรรม หรือตรงกับความหมายแห่งธรรมมากกว่า ซึ่งท่านได้บอกว่า

"จักกัปปวัตน" คำนี้อาจแปลความหมายได้ว่า ....."ขอบ"....ขอบเขต.....

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร จึงแปลความหมายได้อีกอย่างหนึ่งว่า ...."ขอบเขตแห่งธรรม" คือ กรอบ ขอบ
เนื้อหาสาระแห่งธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ.....ซึ่งพระพุทธองค์ทรงนำมาสรุปเป็นหัวข้อ หัวใจแห่งธรรมที่พระองค์ทรงค้นพบและจะนำมาสอน ในวันแรกแห่งการแสดงธรรมหรือปฐมเทศนา อันได้แก่ อริยสัจทั้ง 4 ประการ ซึ่งมีตัวปฏิบัติการหรือสิ่งที่จะต้องทำอยู่ในอริสัจข้อที่ 4 คือ มรรคสัจจะ หรือมรรคมีองค์ 8

พระบรมศาสดายังทรงตรัสเป็นอุปมาอุปมัยในการแสดงธรรมครั้งหลังๆต่อมาให้พุทธสาวกทราบความนัยอีกว่า อริยสัจ 4 ประการนี้เปรียบเหมือนรอยเท้าช้าง ซึ่งเป็นที่สามารถรวมรอยเท้าสัตว์อื่นลงได้ในรอยเท้าช้างนี้ ไม่มีรอยเท้าสัตว์บกใดในยุคของพระองค์จนถึงปัจจุบันจะใหญ่กว่ารอยเท้าช้าง......อันจะสื่อความหมายให้เข้าใจได้อย่างนี้ว่า

ธรรมะทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ ล้วนแล้วแต่งอกเงย เกิดขึ้นมาจาก อริยสัจ ทั้ง 4 ประการ ทั้งสิ้น

ที่น่าทึ่งและน่ามหัศจรรย์ในความเป็นพระบรมครู เป็นครูที่ยิ่งกว่าครูใดๆสมกับบาลีในพุทธคุณที่ว่า

"อนุตโร ปุริสัทธัมสารถี" .....นั่นก็คือมันมาตรงกับหลักการสอนของครูในยุคปัจจุบัน ตรงกับของฝรั่งด้วย คือ เมื่อจะทำการสอนวิชาใด เขาจะต้องมีการแสดง ขอบเขตแห่งวิชา ที่ฝรั่งเรียกว่า Scop
หรือ Outline หัวข้อสรุปของวิชาออกมาให้ผู้ศึกษาได้ทราบเสียก่อน แล้วจึงจะสอนขยายความโดยละเอียดไปตามลำดับแห่งหัวข้อวิชานั้นๆ

:b10:
ท่านผู้ติดตามอ่านกระทู้นี้ จะเห็นเป็นเช่นไรกับคำแปล "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" ทั้ง 2 สำนวนนี้

พอจะมองออก หรือจับประเด็นได้หรือยังครับว่า .......การแปลความหมายของคำตามบาลี มีความหมายที่ลึกซึ้งและตรงตามประเด็นธรรมที่แท้จริงที่พึงจะเกิดขึ้นมากกว่าที่เราได้พบเห็น ศึกษาและยอมรับนับถือปฏิบัติกันมา เมื่อมีปราชญ์ หรือบัณฑิตที่แท้จริง ที่พร้อมทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวท มาให้ข้อสังเกต


วันนี้สนทนากันพอเป็นสังเขปเท่านี้ก่อนนะครับ.....หวังว่าทุกท่านจะได้ติดตามความละเอียดลึกซึ้งของการแปลธรรมโดยยึดหลักอ้างอิงธรรม สภาวธรรม ปรมัตถธรรม เมื่อมาเทียบกับการแปลธรรมโดยอิงบัญญัติหรือปริยัติแต่เพียงอย่างเดียว

ยังมีเรื่องที่จะแตกประเด็นให้คุยกันสนุกและมีคุณค่าอีกเยอะเมื่อเหตุปัจจัยทำให้ต้องมาพูดกันในประเด็นนี้ ซึ่งก็คงต้องอาศัยกระทู้นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ได้คุยจำแนกแจกธรรมสู่กันฟังต่อไป

เจริญสุข เจริญธรรมกันทุกท่านครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2012, 14:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b8:

อ้างคำพูด:
ประเด็นของการนำเสนอเรื่องการแปลความหมายของธรรมคุณ 6ประการสำนวนใหม่นั้น ต้องการจะเรียนแจ้งให้ทุกท่าน

(ที่ได้เชื่อและยอมรับคำแปลธรรมคุณ 6 ประการสำนวนยอดนิยมแห่งยุคสมัย ดังสำนวนสวนโมกข์ สำนวนในพระไตรปิฎกและสำนวนจากอรรถกถา ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ที่คุณงดงามอุตส่าห์ไปค้นคว้ามาอ้างอิงประกอบเป็นหลักฐานว่าทั่วบ้านทั่วเมืองเขายอมรับนับถือและใช้คำแปลอันนี้นะ.....คุณอโศกะ....ถ้าคุณเห็นต่างก็เหมือนกับคุณไปเห็นค้านธรรมปริยัติหรือธรรมะตัวหนังสือ ธรรมะคำพูด ที่มีมาในคัมภีร์และอาจาริโยวาท อย่างนี้ผิดธรรม(ตัวหนังสือ)เผลอๆอาจค้านกับพุทธวัจจนะด้วย)

ให้ได้ทราบว่าการแปลความหมายของธรรมคุณ 6 ประการ อาจแปลได้เป็น 2 ทางคือ

1.แปลความโดยอิงธรรมะจากคัมภีร์ หรืออิงปริยัติ บัญญัติธรรม

2.แปลความโดยอิงธรรมะจริงๆที่ปรากฏในรูปนาม กายใจ หรืออิงปรมัตถธรรม

:b37:
ก่อนที่จะได้ขยายความในเรื่องของการแปลความหมายของธรรมคุณ 6 ประการ ทั้ง 2 ที่กล่าว
ใคร่จะขอเรียนให้เข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่า

การแปลความหมายของข้อธรรมจากต้นฉบับบาลีในพระไตรปิฎกโดยทั่วไปจะใช้หลักบัญญัติอิงบัญญัติ
คือเอาบัญญัติที่เป็นภาษาบาลีเป็นหลักแล้วเอาบัญญัติที่เป็นภาษาไทย(หรือภาษาอื่นๆ)มาเทียบเคียงความเป็นไปได้ คล้าย เหมือน น่าจะเป็น หรือ เป็นไปตามธรรม ตามสามัญสำนึก มาบัญญัติขึ้นว่าแปลว่าอย่างนั้นอย่างนี้ อย่างเช่น บาลีคำว่า

"ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" ซึ่งมีคนส่วนใหญ่แปลว่า "กงล้อแห่งธรรม" โดยไปหมายเอาคำว่า "จักกัปวัตน"มาเป็นหลักแปล โดย สำคัญว่า "จักกัปวัตน" คำนี้ น่าจะมาจากคำว่า "จักร" ที่แปลว่า กงล้อ แล้วยังทำให้ขยายความไปแปลต่อเนื่องว่า กงล้อแห่งธรรมนี้ หมายถึง มรรคมีองค์ 8 รูปกงล้อธรรมจักร จึงมีซี่อยู่ 8 ซี่

การแปลความเช่นนี้ก็ดูเหมือนว่าจะถูกต้องที่สุดและเป็นที่ยอมรับนำไปใช้แปลกันทั่วเป็นสากลอยู่ในปัจจุบัน


หลังจากนั้น วันหนึ่งผมมีโอกาสได้พบกับหลวงปู่ครูบาอาจารย์จากเมืองไทยใหญ่ท่านหนึ่งในการสนทนาธรรม ท่านได้เล่าให้ฟังว่า

การแปลความหมายของธัมมจักกัปปวัตนสูตร ว่าเป็น กงล้อแห่งธรรมนั้น ดูดีอยู่ แต่คำแปลที่เป็น สาระหรืออรรถะแห่ง "ธัมมจักกัปปวัตน"ที่ว่านี้ ตัวคำว่า "จักกัปปวัตน" นี้มันแปลความหมายได้อีกอย่างหนึ่งซึ่งลึกซึ้งและตรงตามธรรม หรือตรงกับความหมายแห่งธรรมมากกว่า ซึ่งท่านได้บอกว่า

"จักกัปปวัตน" คำนี้อาจแปลความหมายได้ว่า ....."ขอบ"....ขอบเขต.....

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร จึงแปลความหมายได้อีกอย่างหนึ่งว่า ...."ขอบเขตแห่งธรรม" คือ กรอบ ขอบ
เนื้อหาสาระแห่งธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ.....ซึ่งพระพุทธองค์ทรงนำมาสรุปเป็นหัวข้อ หัวใจแห่งธรรมที่พระองค์ทรงค้นพบและจะนำมาสอน ในวันแรกแห่งการแสดงธรรมหรือปฐมเทศนา อันได้แก่ อริยสัจทั้ง 4 ประการ ซึ่งมีตัวปฏิบัติการหรือสิ่งที่จะต้องทำอยู่ในอริสัจข้อที่ 4 คือ มรรคสัจจะ หรือมรรคมีองค์ 8

พระบรมศาสดายังทรงตรัสเป็นอุปมาอุปมัยในการแสดงธรรมครั้งหลังๆต่อมาให้พุทธสาวกทราบความนัยอีกว่า อริยสัจ 4 ประการนี้เปรียบเหมือนรอยเท้าช้าง ซึ่งเป็นที่สามารถรวมรอยเท้าสัตว์อื่นลงได้ในรอยเท้าช้างนี้ ไม่มีรอยเท้าสัตว์บกใดในยุคของพระองค์จนถึงปัจจุบันจะใหญ่กว่ารอยเท้าช้าง......อันจะสื่อความหมายให้เข้าใจได้อย่างนี้ว่า

ธรรมะทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ ล้วนแล้วแต่งอกเงย เกิดขึ้นมาจาก อริยสัจ ทั้ง 4 ประการ ทั้งสิ้น

ที่น่าทึ่งและน่ามหัศจรรย์ในความเป็นพระบรมครู เป็นครูที่ยิ่งกว่าครูใดๆสมกับบาลีในพุทธคุณที่ว่า

"อนุตโร ปุริสัทธัมสารถี" .....นั่นก็คือมันมาตรงกับหลักการสอนของครูในยุคปัจจุบัน ตรงกับของฝรั่งด้วย คือ เมื่อจะทำการสอนวิชาใด เขาจะต้องมีการแสดง ขอบเขตแห่งวิชา ที่ฝรั่งเรียกว่า Scop
หรือ Outline หัวข้อสรุปของวิชาออกมาให้ผู้ศึกษาได้ทราบเสียก่อน แล้วจึงจะสอนขยายความโดยละเอียดไปตามลำดับแห่งหัวข้อวิชานั้นๆ

:b10:
ท่านผู้ติดตามอ่านกระทู้นี้ จะเห็นเป็นเช่นไรกับคำแปล "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" ทั้ง 2 สำนวนนี้

พอจะมองออก หรือจับประเด็นได้หรือยังครับว่า .......การแปลความหมายของคำตามบาลี มีความหมายที่ลึกซึ้งและตรงตามประเด็นธรรมที่แท้จริงที่พึงจะเกิดขึ้นมากกว่าที่เราได้พบเห็น ศึกษาและยอมรับนับถือปฏิบัติกันมา เมื่อมีปราชญ์ หรือบัณฑิตที่แท้จริง ที่พร้อมทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวท มาให้ข้อสังเกต


วันนี้สนทนากันพอเป็นสังเขปเท่านี้ก่อนนะครับ.....หวังว่าทุกท่านจะได้ติดตามความละเอียดลึกซึ้งของการแปลธรรมโดยยึดหลักอ้างอิงธรรม สภาวธรรม ปรมัตถธรรม เมื่อมาเทียบกับการแปลธรรมโดยอิงบัญญัติหรือปริยัติแต่เพียงอย่างเดียว

ยังมีเรื่องที่จะแตกประเด็นให้คุยกันสนุกและมีคุณค่าอีกเยอะเมื่อเหตุปัจจัยทำให้ต้องมาพูดกันในประเด็นนี้ ซึ่งก็คงต้องอาศัยกระทู้นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ได้คุยจำแนกแจกธรรมสู่กันฟังต่อไป

เจริญสุข เจริญธรรมกันทุกท่านครับ
:b8: หลวงพ่อที หรือเปล่า ท่านสอนอนัตตาเป็นหลักใหญ่ๆ ท่านเป็นไทยใหญ่เหมือนกัน

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2012, 19:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b27:
คุณ Bigtoo ได้รู้จัก ใกล้ชิด สนทนาธรรมกับหลวงพ่อธีแล้วหรือครับ จับประเด็นอะไรได้มาบ้างครับ เล่าให้ฟังหน่อยครับ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2012, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b27:
คุณ Bigtoo ได้รู้จัก ใกล้ชิด สนทนาธรรมกับหลวงพ่อธีแล้วหรือครับ จับประเด็นอะไรได้มาบ้างครับ เล่าให้ฟังหน่อยครับ
:b8:
ไม่ได้สนทนาโดยตรงหรอกครับ แค่ฟังท่านก็เข้าใจว่าการเข้าถึงอนัตตานั้นแหล่ะครับคือที่สุดแห่งธรรมครับ พี่มีประเด็นไหนเล่าฟังบ้างซิครับ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2012, 19:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


onion
อ้างคำพูด:
ไม่ได้สนทนาโดยตรงหรอกครับ แค่ฟังท่านก็เข้าใจว่าการเข้าถึงอนัตตานั้นแหล่ะครับคือที่สุดแห่งธรรมครับ พี่มีประเด็นไหนเล่าฟังบ้างซิครับ

:b20:
"อนัตตา"เป็นกุญแจ หรือสะพานทอดข้ามเข้าสู่ประตูนิพพาน ใครเห็นชัดอนัตตา จนจิตใจยอมรับเต็ม 100% จึงจะ ได้เข้าถึงที่สุดแห่งธรรม คือ มรรค ผล นิพพาน"

ผมจับประเด็นมาได้อย่างนี้ครับ

ความหมายก็คือ อนัตตายังไม่ใช่ที่สุดแห่งธรรม แต่เป็นเหตุหรือปัจจัยส่งให้ไปถึงที่สุดแห่งธรรม เพราะหลังจากจิตใจยอมรับอนัตตาเต็มร้อยเปอร์เซนต์แล้วอวิชชา หรือความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู หรือ "สักกายทิฏฐิ"จึงจะดับ
:b8:
:b27:
:b20:
:b11:
:b31:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2012, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
onion
อ้างคำพูด:
ไม่ได้สนทนาโดยตรงหรอกครับ แค่ฟังท่านก็เข้าใจว่าการเข้าถึงอนัตตานั้นแหล่ะครับคือที่สุดแห่งธรรมครับ พี่มีประเด็นไหนเล่าฟังบ้างซิครับ

:b20:
"อนัตตา"เป็นกุญแจ หรือสะพานทอดข้ามเข้าสู่ประตูนิพพาน ใครเห็นชัดอนัตตา จนจิตใจยอมรับเต็ม 100% จึงจะ ได้เข้าถึงที่สุดแห่งธรรม คือ มรรค ผล นิพพาน"

ผมจับประเด็นมาได้อย่างนี้ครับ

ความหมายก็คือ อนัตตายังไม่ใช่ที่สุดแห่งธรรม แต่เป็นเหตุหรือปัจจัยส่งให้ไปถึงที่สุดแห่งธรรม เพราะหลังจากจิตใจยอมรับอนัตตาเต็มร้อยเปอร์เซนต์แล้วอวิชชา หรือความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู หรือ "สักกายทิฏฐิ"จึงจะดับ
:b8:
:b27:
:b20:
:b11:
:b31:
จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่งก็จะปรากฎขึ้นครบ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2012, 16:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b4:
เกิดขึ้นครบเป็นครั้งแรกก่อนแล้ว "กู" ถึงดับ ตายขาด

เกิดขึ้นครบอีก 3 ครั้ง รวมเป็น 4 หลังจากครั้งที่ 4 แล้ว จึงจะเป็น

จักขุงอุทัปปาติ....ญาณังอุทัปปาติ... วิชชาอุทัปปาติ....อาโลโกอุทัปปาตี............
onion cool cool


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2012, 16:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
asoka เขียน:
:b4:
เกิดขึ้นครบเป็นครั้งแรกก่อนแล้ว "กู" ถึงดับ ตายขาด

เกิดขึ้นครบอีก 3 ครั้ง รวมเป็น 4 หลังจากครั้งที่ 4 แล้ว จึงจะเป็น

จักขุงอุทัปปาติ....ญาณังอุทัปปาติ... วิชชาอุทัปปาติ....อาโลโกอุทัปปาตี............
onion cool cool
:b8:

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2012, 19:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


onion
เรื่องของสันทิฏฐิโก....อะกาลิโก....เอหิปัสสิโก....ได้กล่าวความหมายของการแปลสำนวนใหม่มาพอสมควรแล้ว แต่ก่อนจะไปขยายความโดยละเอียดถึงความหมายเชิงปฏิบัติของ โอปนะยิโก
อยากจะเรียนให้ข้อสังเกตอีกนิดหนึ่งเกี่ยวกับ เอหิปัสสิโก


เอหิปัสสิโก.....(ธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว)...เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกลับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด

คำกล่าวนี้น่าจะเหมาะสำหรับผู้ที่รู้ธรรม เห็นธรรมแล้ว ตั้งแต่ระดับโสดาบันบุคคลขึ้นไป เพราะท่านได้เห็นธรรมจนจบถึงนิพพานแล้ว จึงบอกชวนคุยใครต่อใครมาดูได้เต็มปากเต็มคำ

แต่สำหรับผู้ศึกษา ที่กำลังฝึกหัดปฏิบัติจะเหมาะไหมที่จะไปชักชวนผู้อื่นมาดูธรรม ซึ่งตนเองก็ยังไม่รู้ชัดว่าเป็นอย่างไร...จะสมควรพูดได้เต็มปากไหมว่า ...."มาดูซิมาดูซิ...ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอน เป็นอย่างนี้".....ถ้ามีคนมาย้อนถามผู้ชักชวนคนนั้นว่า

"แล้วคุณเคยเห็นแล้วหรือธรรมะ ๆ ที่ว่านั้นนะ ว่ามันเป็นเช่นไร?"...แล้วคนที่ชวนนั้นจะตอบว่าอย่างไรดี
?


แต่อีกด้านหนึ่ง คำแปลสำนวนใหม่ที่แปล "เอหิปัสสิโก"ว่า

(ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น) คือสิ่งที่เรียกร้องให้เราเข้าไปดูอยู่เสมอ......หรือท้าทายให้เราเข้าไปดูไปพิสูจน์อยู่เสมอๆ ทุกเวลานาทีของชีวิต เพราะทุกการกระทบสัมผัสของอายตนะทั้ง 6
ปัจจัย จะมากระทบเหตุ ทำให้เกิด จิตรู้ขึ้น มารับรู้การกระทบสัมผัสนั้นๆเสมอ

พูดแบบภาษาลูกทุ่งว่า ......การกระทบกันของตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับการสัมผัส ใจกับอารมณ์ทั้งหลายนั้น มันจะมาดึงให้จิตไปรู้มัน

ภาษาบาลีท่านว่า......เอหิ ๆ....มาซิ ๆ ปัสสิ....ดู ๆ ......มาดูฉันซิ

จะลองพิสูจน์กันดูเดี๋ยวนี้เลยก็ได้ โดยนั่งลงหลับตาอยู่เฉยๆ ไม่เกิน 10 วินาทีจะมีผัสสะหรือสิ่งต่างๆเกิดขึ้นมาให้ใจต้องรับรู้หมุนเวียนเกิดดับเปลี่ยนแปลงไปมาอย่างไม่รู้หยุดย่อน

:b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2012, 07:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


บทธรรมคุณ...เป็นการบอกถึงคุณลักษณะของพระธรรม....ไม่น่าจะต้องไปมีใครเป็นผู้เชื่อเชิญใครมาดูพระธรรม...ดังนั้น...จึงไม่จำเป็นมีผู้ใดกล่าว...เมื่อไม่มีผู้กล่าว...คุณสมบัติผู้กล่าวก็ไม่ใช่ปัจจัยที่ต้องไปพะวงถึง...

ถ้าให้ความหมายของ.....เอหิปัสสิโก....ว่า...มาดู (พิสูจน์) ได้....ซึ่งเป็นความต่อเนื่องมาจาก..อกาลิโก...คือ..ไม่มีกาล (ไม่มีความเสื่อม) ...แล้วก็ต่อด้วย....โอปนยิโก...คือ...โดยการน้อมเข้าไปที่ใจ

สรุปว่า..อกาลิโก...เอหิปัสสิโก...โอปนยิโก

มีความหมายว่า...ธรรม...ไม่มีความเสื่อมตามกาล...พิสูจน์ได้เสมอ...โดยการน้อมเข้าไปที่ใจ

ผมว่า....เข้าใจง่ายกว่าเยอะ...

:b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2012, 20:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
บทธรรมคุณ...เป็นการบอกถึงคุณลักษณะของพระธรรม....ไม่น่าจะต้องไปมีใครเป็นผู้เชื่อเชิญใครมาดูพระธรรม...ดังนั้น...จึงไม่จำเป็นมีผู้ใดกล่าว...เมื่อไม่มีผู้กล่าว...คุณสมบัติผู้กล่าวก็ไม่ใช่ปัจจัยที่ต้องไปพะวงถึง...

ถ้าให้ความหมายของ.....เอหิปัสสิโก....ว่า...มาดู (พิสูจน์) ได้....ซึ่งเป็นความต่อเนื่องมาจาก..อกาลิโก...คือ..ไม่มีกาล (ไม่มีความเสื่อม) ...แล้วก็ต่อด้วย....โอปนยิโก...คือ...โดยการน้อมเข้าไปที่ใจ

สรุปว่า..อกาลิโก...เอหิปัสสิโก...โอปนยิโก

มีความหมายว่า...ธรรม...ไม่มีความเสื่อมตามกาล...พิสูจน์ได้เสมอ...โดยการน้อมเข้าไปที่ใจ

ผมว่า....เข้าใจง่ายกว่าเยอะ...

:b9: :b9: :b9:

:b8:
สาธุอนุโมทนากับคุณกบ ที่ให้สำนวนการแปลธรรมคุณ 6 ประการที่เข้าใจง่ายกว่าเยอะมาให้พิจารณาอีกสำนวนหนึ่งนะครับ
:b27:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 70 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร