วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 03:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 153 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2012, 14:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
ชีวิตที่มี ตัณหา นำมาซึ่งทุกข์ จึงเป็นส่วนของปฏิจจสมุปบาท
พระอรหันต์ ก็ยังเรียกว่า มีชีวิตใช้ชีวิต แต่ไม่มีทุกข์
ความเห็นครับ :b8:

พระอรหันต์ ถ้ายังมีชีวิตท่านยังต้องมีเวทนาทางกายอยู่ แต่ไม่มีเวทนาทางใจแล้ว
เวทนาทางกายไม่ส่งผลให้เกิดทุกข์ใหม่

ไม่มีทุกข์ใหม่ในที่นี่ก็คือการที่ไม่ต้องไปเกิดในรูปนามใหม่
ทุกข์เก่าก็คือรูปนามเดิมที่ยังมีชีวิตครับ

พระอรหันต์ยังมีร่างกายอยู่ ย่อมต้องมีผัสสะ เมื่อมีผัสสะมากระทบท่านย่อมรู้สึก
ความรู้สึกนี่เรียกว่าเวทนาทางกาย แต่เวทนาทางกายไม่ส่งผลไปถึงเวทนาทางจิต
ผัสสะมากระทบกายแรงๆท่านก็รู้ว่าแรง เบาก็รู้ว่าเบา มันจบต้องนั้น
ฝึกจิต เขียน:
ท่านโฮ ครับ ตายแล้วไม่มีชีวิต ใช่มั้ย คนที่ยังมีอวิชชา ตายแล้วยังเหลือขันธ์มั้ยครับ
:b8:

คนที่ยังมีอวิชาตายแล้วก็ไม่มีชีวิต จนกว่าสังขารและวิญญาณจะจุติและปฏิสนธิ์
มายังรูปนามใหม่ เรียกว่าชีวิตใหม่

คนที่มีอวิชา ตายแล้วไม่มีขันธ์เพราะรูปกับนามแยกออกจากกันแล้ว
ขันธ์ห้าเกิดจากรูป(กาย) และขันธ์ห้าเกิดขี้น ตั้งอยู่และดับไปแล้ว
ร่างกายก็กลายสภาพเน่าเปื่อยไปแล้วย่อมไม่สามารถ ทำให้เกิดกระบวนการขันธ์ใหม่ได้
นามที่แยกออกไปก็ไม่ใช่ขันธ์ มันเป็นกองทุกข์ที่จิตยึดมั่นถือมั่นไว้ในลักษณะ
ที่เรียกว่า....สังขาร
สังขารในที่นี้ไม่ใช่สังขารขันธ์ แต่เป็นวิบากที่เกิดจาก กรรมของรูปนามเดิม
ที่แตกสลายไป

อย่าลืมว่า กระบวนการขันธ์ห้า มันเป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ
ดังนั้นการจะพูดว่ามีขันธ์ห้ามันไม่ถูกต้องนัก ที่ถูกต้องเป็นรู้ขันธ์ห้า
และการที่บุคคลจะรู้ขันธ์ห้าได้จะต้องเป็นผู้มี วิชชาคือเห็นไตรลักษณ์แล้ว

ดังนั้นคนที่มีอวิชา จะเรียกว่ารู้ขันธ์ห้าไม่ได้ เป็นแค่ชีวิตๆหนึ่งเท่านั้น


อย่าเข้าใจผิดว่า การรู้ปริยัติเรื่องขันธ์ห้า แล้วจะบอกว่ารู้ขันธ์ห้า
ขันธ์ห้าเป็นปรมัตถ์ธรรม การจะรู้ต้องรู้ด้วยตนเอง การรู้ปริยัตมันเป็นแค่การรู้
สมมุติบัญญัตฺ(สัจจะ) มันไม่ใช่การรู้ที่แท้ครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2012, 14:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามท่านโฮต่อนะครับ
ที่ท่านโฮว่า คนที่ยังมีอวิชาตายแล้วก็ไม่มีชีวิต จนกว่าสังขารและวิญญาณจะจุติและปฏิสนธิ์
มายังรูปนามใหม่ เรียกว่าชีวิตใหม่
และวระหว่างนั้นเป็นอะไรเรียกว่าอะไรครับ

แล้ว สัตตานัง นั้นหมายถึง สัตว์ผู้มีอวิชชา ที่ตายแล้วหรือ เปล่าครับ

ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2012, 15:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หากการศึกษาเรืองไหนไม่ชัด ก็ควรจะศึกษาทำความเข้าใจเสียให้ชัดเจนเป็นเรื่องๆไป สมองจะโปร่งโล่ง จิตใจก็เบาสบาย ไม่มีอะไรติดข้อง นี่เล่นอัดๆข้อมูลถูกๆผิดๆยัดๆเข้าไปในหัว หน่วยความจำเต็มไปไฟล์ขยะ ลบมันออกไปสะบ้าง

เช่นเรื่องศีลขั้นพื้นฐานเคลียร์สะ แล้วค่อยก้าวต่อไป จะเป็นสมาธิ ปัญญาอะไรก็ว่าไป :b1:

หรือไม่ก็กลับจุดพื้นเลย คือ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า สร้างโบสถ์วิหารลานเจดีย์ ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2012, 15:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
ถามท่านโฮต่อนะครับ
ที่ท่านโฮว่า คนที่ยังมีอวิชาตายแล้วก็ไม่มีชีวิต จนกว่าสังขารและวิญญาณจะจุติและปฏิสนธิ์
มายังรูปนามใหม่ เรียกว่าชีวิตใหม่
และวระหว่างนั้นเป็นอะไรเรียกว่าอะไรครับ

จะอธิบายตามปฏิจจสมุบาทนะครับ ถ้าเพื่อเรื่องที่คุณถามเป็นเรื่องในคัมภึร์
ต้องบอกด้วยว่า คัมภีร์อะไร อย่าลืมน่ะว่าผมอธิบายตามพระไตรปิฎก ไม่ใช่คัมภีร์
คัมภีร์บางเล่มเป็นการแต่งของอรรถกถาจารย์ใช้อ้างอิงไม่ได้ครับ
ถ้าจะให้อธิบายก็ได้แต่ต้องบอกที่มาที่ไป

ในปฏิจจสมุบาท จะเห็นในส่วนของสังขาร
สังขารก็คือ วิบากหรือผลของกรรมอันเกิดจากการที่จิตไปยีดในกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมไว้
ความดีและความชั่วทุกอย่าง ที่ได้กระทำ ทุกอย่างที่กล่าวมา มันจะหมุนเวียนของ
มันเป็นไปเรื่อยซ้ำไปซ้ำมา ถ้าพูดแบบชาวบ้านอาจพูดได้ว่า กำลังชดใช้กรรมครับ

มันเป็นของมันอย่างนั้น จนกว่าสังขารจะเกิดวิญญาณ ไปรู้รูปใหม่
นั้นแหล่ะเรียกว่าไปเกิดใหม่ เป็นรูปนามใหม่ ธาตุสี่มีนามหรือวิญญาณมาประชุมร่วมกัน

ฝึกจิต เขียน:
ถามท่านโฮต่อนะครับ
[color=#FF0000] แล้ว สัตตานัง นั้นหมายถึง สัตว์ผู้มีอวิชชา ที่ตายแล้วหรือ เปล่าครับ
ขอบคุณครับ :b8:

มันรวมทั้งหมดแหล่ะครับ ทั้งคนและเดรัญฉาน
เดรัญฉานเหมือนคน เฉพาะคนที่มีอวิชาอยู่ เป็นทุกข์เกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน
ดังนั้นสัตว์ผู้มีอวิชา ก็หมายถีง คนหรือเดรัญฉานที่ยังมีชีวิต

คนแตกต่างจากเดรัญฉานตรงที่ คนสามารถมีปัญญาดับอวิชาได้
แต่เดรัญฉานทำไม่ได้

และต้องเข้าใจด้วยว่า "สัตว์" หมายถึง คนและเดรัญฉาน :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2012, 15:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
ถามท่านโฮต่อนะครับ
ที่ท่านโฮว่า คนที่ยังมีอวิชาตายแล้วก็ไม่มีชีวิต จนกว่าสังขารและวิญญาณจะจุติและปฏิสนธิ์
มายังรูปนามใหม่ เรียกว่าชีวิตใหม่
และวระหว่างนั้นเป็นอะไรเรียกว่าอะไรครับ

จะอธิบายตามปฏิจจสมุบาทนะครับ ถ้าเพื่อเรื่องที่คุณถามเป็นเรื่องในคัมภึร์
ต้องบอกด้วยว่า คัมภีร์อะไร อย่าลืมน่ะว่าผมอธิบายตามพระไตรปิฎก ไม่ใช่คัมภีร์
คัมภีร์บางเล่มเป็นการแต่งของอรรถกถาจารย์ใช้อ้างอิงไม่ได้ครับ
ถ้าจะให้อธิบายก็ได้แต่ต้องบอกที่มาที่ไป

ในปฏิจจสมุบาท จะเห็นในส่วนของสังขาร
สังขารก็คือ วิบากหรือผลของกรรมอันเกิดจากการที่จิตไปยีดในกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมไว้
ความดีและความชั่วทุกอย่าง ที่ได้กระทำ ทุกอย่างที่กล่าวมา มันจะหมุนเวียนของ
มันเป็นไปเรื่อยซ้ำไปซ้ำมา ถ้าพูดแบบชาวบ้านอาจพูดได้ว่า กำลังชดใช้กรรมครับ

มันเป็นของมันอย่างนั้น จนกว่าสังขารจะเกิดวิญญาณ ไปรู้รูปใหม่
นั้นแหล่ะเรียกว่าไปเกิดใหม่ เป็นรูปนามใหม่ ธาตุสี่มีนามหรือวิญญาณมาประชุมร่วมกัน

ฝึกจิต เขียน:
ถามท่านโฮต่อนะครับ
[color=#FF0000] แล้ว สัตตานัง นั้นหมายถึง สัตว์ผู้มีอวิชชา ที่ตายแล้วหรือ เปล่าครับ
ขอบคุณครับ :b8:

มันรวมทั้งหมดแหล่ะครับ ทั้งคนและเดรัญฉาน
เดรัญฉานเหมือนคน เฉพาะคนที่มีอวิชาอยู่ เป็นทุกข์เกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน
ดังนั้นสัตว์ผู้มีอวิชา ก็หมายถีง คนหรือเดรัญฉานที่ยังมีชีวิต

คนแตกต่างจากเดรัญฉานตรงที่ คนสามารถมีปัญญาดับอวิชาได้
แต่เดรัญฉานทำไม่ได้

และต้องเข้าใจด้วยว่า "สัตว์" หมายถึง คนและเดรัญฉาน :b13:



งั้นสรุปว่าตายแล้วเหลือสังขารอย่างเดียวหรือครับ สังขารโดดๆ หรือจิตที่มีสังขาร ครับ ช่วงระหว่างที่มีแต่สังขารอย่างเดียวเรียกว่าอะไรครับ ข่วงที่สังขาร+วิญญาณ เรียกว่าอะไร

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2012, 16:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
งั้นสรุปว่าตายแล้วเหลือสังขารอย่างเดียวหรือครับ สังขารโดดๆ หรือจิตที่มีสังขาร ครับ ช่วงระหว่างที่มีแต่สังขารอย่างเดียวเรียกว่าอะไรครับ ข่วงที่สังขาร+วิญญาณ เรียกว่าอะไร

:b8:

คุณต้องเข้าใจก่อนครับว่า จิตเป็นบัญญัติที่ตั้งขี้นมา เพื่อใช่เรียกสิ่งที่เป็นนามธรรม
สังขารมันก็เป็นจิตอย่างหนี่ง แต่มันไม่มีวิถีจิตแบบขันธ์ จีงไม่ใช่สังขารขันธ์หรือขันธ์

วิถีของสังขารเป็นไปในลักษณะการหมุนวนแต่ของเก่า หรือสัญญาที่เก็บไว้ตอนยังมีชีวิต
เมื่อยังมีชีวิต จิตจะเก็บการปรุงแต่งทุกอย่างไว้เป็นสัญญา และไอ้สัญญานี่แหล่ะจะไปเป็น
สังขารเมื่อตายลง

ข่วงที่มีสังขารอย่างเดียว มันก็แล้วแต่จะเรียก ถ้าคนเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ ก็อาจเรียกว่า
การเสวยสุขเสวยทุกข์ ขึ้นสรรค์ตกนรกทำนองนี้ แต่ถ้าจะให้ถูกมันเป็น วิบากของการยีดมั่น
ถือมั่นครับ

ถ้าสังขารไปบวกกับวิญาณเมื่อไร มันก็กลายเป็นรูปนามแล้วครับ
หมายถึงเกิดการปฏิสนธิ์มาเกิดใหม่แล้ว แต่การที่สังขารจะเกิดวิญญาณได้
มันก็ต้องรอให้สังขารไปรู้ สภาวะธรรมใหม่ครับ สภาวะธรรมใหม่ก็คือ
สภาวะที่มีลักษณะคล้ายกับ สังขารที่ยึดมั่นถือมั่นไว้ก่อนนั้นเอง :b13:

อ่านแล้วกรุณาใช่วิจารณญาณเอาเองนะครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2012, 16:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
งั้นสรุปว่าตายแล้วเหลือสังขารอย่างเดียวหรือครับ สังขารโดดๆ หรือจิตที่มีสังขาร ครับ ช่วงระหว่างที่มีแต่สังขารอย่างเดียวเรียกว่าอะไรครับ ข่วงที่สังขาร+วิญญาณ เรียกว่าอะไร

:b8:

คุณต้องเข้าใจก่อนครับว่า จิตเป็นบัญญัติที่ตั้งขี้นมา เพื่อใช่เรียกสิ่งที่เป็นนามธรรม
สังขารมันก็เป็นจิตอย่างหนี่ง แต่มันไม่มีวิถีจิตแบบขันธ์ จีงไม่ใช่สังขารขันธ์หรือขันธ์

วิถีของสังขารเป็นไปในลักษณะการหมุนวนแต่ของเก่า หรือสัญญาที่เก็บไว้ตอนยังมีชีวิต
เมื่อยังมีชีวิต จิตจะเก็บการปรุงแต่งทุกอย่างไว้เป็นสัญญา และไอ้สัญญานี่แหล่ะจะไปเป็น
สังขารเมื่อตายลง

ข่วงที่มีสังขารอย่างเดียว มันก็แล้วแต่จะเรียก ถ้าคนเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ ก็อาจเรียกว่า
การเสวยสุขเสวยทุกข์ ขึ้นสรรค์ตกนรกทำนองนี้ แต่ถ้าจะให้ถูกมันเป็น วิบากของการยีดมั่น
ถือมั่นครับ

ถ้าสังขารไปบวกกับวิญาณเมื่อไร มันก็กลายเป็นรูปนามแล้วครับ
หมายถึงเกิดการปฏิสนธิ์มาเกิดใหม่แล้ว แต่การที่สังขารจะเกิดวิญญาณได้
มันก็ต้องรอให้สังขารไปรู้ สภาวะธรรมใหม่ครับ สภาวะธรรมใหม่ก็คือ
สภาวะที่มีลักษณะคล้ายกับ สังขารที่ยึดมั่นถือมั่นไว้ก่อนนั้นเอง :b13:
อ่านแล้วกรุณาใช่วิจารณญาณเอาเองนะครับ :b13:

ไม่ได่กวนนะครับ แต่ อยากรู้

เหลือสังขารอย่างเดียว ไม่เหลือสัญญา แล้วสังขารเอาอะไรมาคิดวนไปมา หรือไอ้ตอนที่สัญญากลายเป็นสังขาร มันมีการจำได้อยู่ด้วยหรือครับ งั้นคุณสมบัติของสังขาร ก็มีจำได่ด้วย ใช่ไม่ครับ
ตอน จิตเป็นสังขารอย่างเดียวนั้น เรียกว่า อะไรครับ


และที่ท่านโฮว่า อธิบายตามพระไตรปิฏกนั้น ช่วยยกมาให้อ่านหน่อยซิครับ

ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 02:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
ไม่ได่กวนนะครับ แต่ อยากรู้

ไม่เป็นไรไม่ต้องกลัวผมโกรธ ขอแต่ให้คุณตั้งสติ อย่าใช้โทสะเองก็แล้วกัน
เพราะผมจะเข้าประเด็นปัญหา ทีทำให้คุณถามชนิดที่หาที่สิ้นสุดไม่ได้
ตั้งใจฟังด้วยใจที่เป็นกุศลนะครับ

ก่อนที่ผมจะอธิบายเรื่องที่คุณถาม ผมจะบอกให้ว่า ผมตอบไปคุณก็ไม่รู้เรื่อง
จำได้มั้ยว่า ทุกครั้งที่คุณตั้งกระทู้ที่เกี่ยวกับปฏิจจสมุบาท ผมมักจะตำหนิคุณว่า"เดี่ยวก็สับสนเองหรอก"

เรื่องปฏิจจสมุบาท ถ้าบุคคลใดยังไม่รู้เรื่องอริยสัจจ์สี่ยังไม่เข้าใจเรื่อง อวิชาแปดและวิชชาสามก็ไม่มีทางเข้าใจปฏิจจสมุบาท
สรุปก็คือจะเข้าถึงปฏิจจสมุบาทได้ คุณจะต้องศึกษาและปฏิบัติในเรื่องไตรสิกขาให้สำเร็จก่อน
นั้นแสดงว่า มีแต่พระอรหันต์ที่เข้าถึงปฏิจจสมุบาท
ที่ผมมาอธิบายให้คุณฟังไม่ใช่ว่าผมเป็นอรหันต์นะครับ พอรู้บ้างแต่ปฏิบัติยังไม่ถึงครับ
ฝึกจิต เขียน:
เหลือสังขารอย่างเดียว ไม่เหลือสัญญา แล้วสังขารเอาอะไรมาคิดวนไปมา

ทำความเข้าใจกับคำว่า"สัญญา"เสียก่อน สัญญาเป็นผลอันเกิดจากการนึกคิดปรุงแต่ง
เมื่อคิดเรื่องใดแล้ว สิ่งนึกคิดถ้าจิตไปยึดมันก็จะกลายเป็นสัญญา และการที่จิตไปนึกไปดึง
สัญญาเก่ามา สัญญาเก่าก็จะกลายเป็นสัญญาใหม่ ควรสังเกตุให้ดีก่อนว่า....
ผมบอกว่า สังขารเป็นสัญญาเก่า แต่ไม่ใช่ขันธ์ นั้นก็หมายถึง มันไม่ใช่สัญญาใหม่

ฝึกจิต เขียน:
แล้วสังขารเอาอะไรมาคิดวนไปมา

มันไม่ต้องคิด เพราะไม่มีร่างกายแล้วคิดไม่ได้ ความคิดมันหมายถึงการทำให้เกิดสัญญาใหม่
แต่สังขารเป็นสัญญาเก่า เป็นพลังงานที่อยู่ในธรรมชาติ มนุษย์ถ้าไม่มีสัญญาเก่าก็ไม่สามารถ
นึกคิดปรุงแต่งเรื่องต่างๆได้
และที่เราต้องมาเกิดแล้วเกิดอีกก็เป็นเพราะสัญญาเก่าที่เรียกว่า...สังขารนี่แหล่ะ

เพื่อให้เข้าใจ คุณฝึกจิต รู้จักภวังคจิตมั้ย
ถ้าคุณเอาสภาวะทั้งสองมาเปรียบเทียบกัน
ภวังคจิต ก็เหมือนกับสังขาร แต่ไม่ใช่สังขารนะครับ
เพียงแต่จะยกมาให้ดูว่ามีบางลักษณะที่เหมือนกัน

นั้นก็คือ เมื่อตกอยู่ในภวังคจิต จะไม่มีวิถีแห่งจิต หมายความว่า...ไม่มีการทำงานของทวารทั้งหก
มันก็เหมือนกับคนที่ตายครับ แต่ไม่ใช่ตายนะครับ เพราะจิตยังยึดอารมณ์เก่าเป็นองค์แห่งภพ
นั้นก็คือยังมีสัญญาเก่า และยังมีมโนทวารตัวเดิมอยู่

เอาเป็นว่า สังขารและภวังคจิตเหมือนกันตรงที่ไม่มีวิถีแห่งจิต แต่ต่างกันที่..
ภวังคจิตยังมีมโนทวาร มโนทวารยังไม่มีวิญาณรับรู้
นั้นคือยังสามารถปรุงแต่งสัญญาใหม่ได้ โดยมีสัญญาเก่าเป็นเหตุปัจจัย

แต่สังขารไม่สามารถปรุงแต่งสัญญาเก่า เพราะไม่มีมโนทวารแล้ว

สังขารเป็นความรู้สึกในตัวของสังขารเอง มันเกิดความความไม่รู้ของจิต
เกิดอารมณ์ใดขี้นก็ปล่อยให้จิตเป็นไปในอารมณ์เดียวกัน จิตก็เลยเป็นอารมณ์
จิตยังไม่รู้อารมณ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 03:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
หรือไอ้ตอนที่สัญญากลายเป็นสังขาร มันมีการจำได้อยู่ด้วยหรือครับ

คุณกำลังเข้าใจสภาวะผิดอยู่นะครับ คุณจะเอาเรื่องขันธ์ห้ามาพูดด้วนๆไม่ได้
มันยังมีกระบวนการของมัน ยังมีวิถีจิต สัญญาถ้าคุณไปนึกถึงมันเมื่อไร
มันก็ไม่ใช่สัญญา มันจะเป็นผัสสะตัวใหม่ เป็นมโนวิญญาณตัวใหม่ทันที

สังขารมันไม่ต้องอาศัยความจำ เพราะมันก็คือความจำหรือสัญญาเก่านั้นเอง
ที่บอกว่าสังขารคือสัญญาเก่า แล้วทำไมรู้ได้ ที่บอกว่ารู้เป็นเพราะคนที่เขามีปัญญาไม่ยืดใน
สัญญาแล้วมาเป็นคนพูดมาสอนให้ฟัง มันมีเพียงแต่ผู้ที่ไม่ยืดสัญญาจืงจะเข้าใจ
คนที่ยึดสัญญาจนเป็นสังขาร นั้นก็คือจิตที่เป็นสังขารนั้นเอง จิตแทนที่จะรู้และแยกออกมาต่างหาก
แต่จิตกลับเป็นในลักษณะรู้สึก หรือเป็นสัญญาเก่าเอง

หวังว่าคงเข้าใจว่า"รู้" กับ"รู้สึก" รู้คือมีอารมณ์แล้วไม่ยืดแยกตัวรู้ออกมาต่างหาก
แต่รู้สืกคือมีอารมณ์มากระทบก็เป็นไปกับอารมณ์นั้นๆ

ฝึกจิต เขียน:
ตอน จิตเป็นสังขารอย่างเดียวนั้น เรียกว่า อะไรครับ

ถ้าเป็นในส่วนของปฏิจจสมุบาท เขาเรียก...วิบากครับ
หมายความว่า กรรมของรูปนามทุกอย่างที่จิตไปยึดจนเกิดเป็นกองทุกข์
ไอ้กองทุกข์ที่ว่าจะเปลี่ยนเป็นสังขาร วนเวียนอยู่กับสิ่งที่เป็นกองทุกข์ จนกว่าจะมีวิญญาณรู้
จิตก็จะปฏิสนธิ์ไปเป็นรูปนามใหม่ครับ
ฝึกจิต เขียน:
และที่ท่านโฮว่า อธิบายตามพระไตรปิฏกนั้น ช่วยยกมาให้อ่านหน่อยซิครับ
ขอบคุณครับ

พูดเป็นเล่นไป ให้ยกพระไตรปิฎก มาให้คุณดู คุณรู้มั้ยเรื่องที่มันเกี่ยวกับที่เราคุยกัน
ผมมิต้องเอาพระไตรปิฎกทั้ง84000พระธรรมขันธ์หรอกหรือ

พระไตรปิฎกโดยเฉพาะพระสูตร มีไว้แก้จริตเป็นเรื่องๆไป
มันไม่ใช่นึกจะโพสก็โพส

และอีกอย่างที่ผมคุยให้คุณฟัง มันไม่ใช่การแปลบัญญัติ
แต่เป็นการพิจารณาธรรมเป็นการให้ความเห็น ถ้าคุณจะเอาพระไตรปิฎก
คุณก็เคยเห็นแล้ว ก็ตัวคุณเองนั้นแหล่ะที่ชอบเอาโพสบ่อยๆ
จนผมต้องตำหนิว่า เอาประไตรปิฎกเรื่องปฏิจจสมุบาทมาโพส ถามหน่อย
เข้าใจสิ่งที่โพสหรือเปล่า :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 07:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
หรือไอ้ตอนที่สัญญากลายเป็นสังขาร มันมีการจำได้อยู่ด้วยหรือครับ

คุณกำลังเข้าใจสภาวะผิดอยู่นะครับ คุณจะเอาเรื่องขันธ์ห้ามาพูดด้วนๆไม่ได้
มันยังมีกระบวนการของมัน ยังมีวิถีจิต สัญญาถ้าคุณไปนึกถึงมันเมื่อไร
มันก็ไม่ใช่สัญญา มันจะเป็นผัสสะตัวใหม่ เป็นมโนวิญญาณตัวใหม่ทันที

สังขารมันไม่ต้องอาศัยความจำ เพราะมันก็คือความจำหรือสัญญาเก่านั้นเอง
ที่บอกว่าสังขารคือสัญญาเก่า แล้วทำไมรู้ได้ ที่บอกว่ารู้เป็นเพราะคนที่เขามีปัญญาไม่ยืดใน
สัญญาแล้วมาเป็นคนพูดมาสอนให้ฟัง มันมีเพียงแต่ผู้ที่ไม่ยืดสัญญาจืงจะเข้าใจ
คนที่ยึดสัญญาจนเป็นสังขาร นั้นก็คือจิตที่เป็นสังขารนั้นเอง จิตแทนที่จะรู้และแยกออกมาต่างหาก
แต่จิตกลับเป็นในลักษณะรู้สึก หรือเป็นสัญญาเก่าเอง

หวังว่าคงเข้าใจว่า"รู้" กับ"รู้สึก" รู้คือมีอารมณ์แล้วไม่ยืดแยกตัวรู้ออกมาต่างหาก
แต่รู้สืกคือมีอารมณ์มากระทบก็เป็นไปกับอารมณ์นั้นๆ

ฝึกจิต เขียน:
ตอน จิตเป็นสังขารอย่างเดียวนั้น เรียกว่า อะไรครับ

ถ้าเป็นในส่วนของปฏิจจสมุบาท เขาเรียก...วิบากครับ
หมายความว่า กรรมของรูปนามทุกอย่างที่จิตไปยึดจนเกิดเป็นกองทุกข์
ไอ้กองทุกข์ที่ว่าจะเปลี่ยนเป็นสังขาร วนเวียนอยู่กับสิ่งที่เป็นกองทุกข์ จนกว่าจะมีวิญญาณรู้
จิตก็จะปฏิสนธิ์ไปเป็นรูปนามใหม่ครับ
ฝึกจิต เขียน:
และที่ท่านโฮว่า อธิบายตามพระไตรปิฏกนั้น ช่วยยกมาให้อ่านหน่อยซิครับ
ขอบคุณครับ

พูดเป็นเล่นไป ให้ยกพระไตรปิฎก มาให้คุณดู คุณรู้มั้ยเรื่องที่มันเกี่ยวกับที่เราคุยกัน
ผมมิต้องเอาพระไตรปิฎกทั้ง84000พระธรรมขันธ์หรอกหรือ

พระไตรปิฎกโดยเฉพาะพระสูตร มีไว้แก้จริตเป็นเรื่องๆไป
มันไม่ใช่นึกจะโพสก็โพส

และอีกอย่างที่ผมคุยให้คุณฟัง มันไม่ใช่การแปลบัญญัติ
แต่เป็นการพิจารณาธรรมเป็นการให้ความเห็น ถ้าคุณจะเอาพระไตรปิฎก
คุณก็เคยเห็นแล้ว ก็ตัวคุณเองนั้นแหล่ะที่ชอบเอาโพสบ่อยๆ
จนผมต้องตำหนิว่า เอาประไตรปิฎกเรื่องปฏิจจสมุบาทมาโพส ถามหน่อย
เข้าใจสิ่งที่โพสหรือเปล่า :b13:



ก็ท่านโฮบอกมาแบบนั่นนี้ครับว่าอธิบายตามพระไตยปิฏก ก็เลยถามเพื่อว่ามีอธิบายไว้ จะได้รู้ว่าปรุงแต่งตามความเข้าใจของตนหรือป่าว แต่ก็ขอบคุณมากครับ ที่ให้ความรู้ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 09:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
ก็ท่านโฮบอกมาแบบนั่นนี้ครับว่าอธิบายตามพระไตยปิฏก ก็เลยถามเพื่อว่ามีอธิบายไว้ จะได้รู้ว่าปรุงแต่งตามความเข้าใจของตนหรือป่าว แต่ก็ขอบคุณมากครับ ที่ให้ความรู้ :b8:

พุทธพจน์หรือพระไตรปิฎก ไม่ใช่เป็นแบบเรียน
แต่พุทธพจน์เป็นคำสอนเฉพาะบุคคลที่พระพุทธเจ้าได้พบมา

พระไตรปิฏกเป็นการ รวบรวมพุทธพจน์มาไว้ในที่เดียวกัน ดังนั้นการจะอ่านพระไตรปิฎก
บุคคลนั้นจะต้องเป็นผู้พิจารณาธรรมเป็น เพราะพุทธพจน์ดังกล่าว ไม่ใช่เป็นคำสอน
ที่สอนเรา แต่เป็นการสอนผู้อื่นไว้ ฉะนั้นการจะเข้าใจพุทธพจน์ได้ จะต้องเป็นผู้พิจารณาธรรมเป็น

การพิจารณาธรรมไม่ใช่การแปลบัญญัติ การอ่านอรรถกถาก็ไม่ใช่การพิจารณาธรรม
อรรถกถาเป็นเพียง คำแปลบัญญัติหรือแปลบาลีเท่านั้น


ความศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า จะมีได้ย่อมต้องเชื่อก่อนว่าพระพุทธเจ้ามีอยู่จริง
ในกิเลสสังโยชน์ มันมีกิเลสเบื้องต่ำอยู่ตัวหนึ่ง มันทำให้บุคคลไม่เชื่อความมีอยู่ของพุทธเจ้า
พระพุทธองค์ทรงรู้ไว้ล่วงหน้าแล้ว จึงได้ตรัสว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรากถาคต"

ที่ทรงกล่าวแบบนี้ก็เพื่อให้ผู้ที่จะมาศืกษาพุทธศาสนา กำจัดกิเลสที่เรียกว่า "วิจิกิจฉา"ให้ได้เสียก่อน
เพราะผู้ใดยังมี..."วิจิกิจฉา" ย่อมต้องไม่เข้าถึงธรรมของพระพุทธเจ้า


การจะละวิจิกิจฉาต้องอาศัย ปัญญาสัมมาทิฐิมาดับ
เมื่อมีปัญญาและละวิจิกิจฉาได้แล้ว ย่อมเข้าใจที่มาที่ไปของธรรม
การพิจารณาธรรมเป็นความคิดอย่างหนื่ง ความคิดตัวนี้ เรียกว่า...
"ธัมมวิจยะ" ผู้ที่สามารถใช้ธัมมวิจยะเป็น ธัมมวิจยะตัวนี้จะพัฒนาเป็น..สัมมาสังกัปปะต่อไป :b13:

การโพสพุทธพจน์ขึ้นมาแบบไม่มีสาเหตุ มันผิดหลักของการพิจารณา
พุทธพจน์มีไว้เทียบเคียง เมื่อผู้ศึกษาหรือปฏิบัติเกิดติดขัดสงสัย
ในธรรมที่กำลังปฏิบัติอยู่ จืงต้องเป็นผู้ที่พิจารณาหาธรรมใดหรือพุทธพจน์
มาแก้สิ่งที่ติดขัดได้ แบบนี้เรียกว่าการเลือกเฟ้นธรรม

ดังนั้นแสดงให้เห็นว่าบุคคลใด โพสพระไตรปิฎกโดยไม่เป็นไปในลักษณะ
เพื่อแก้จริตหรือแก้ข้อสงสัยในธรรม เป็นการแสดงถึงการด้อยปัญญา
ถูกกิเลสวิจิกิจฉาครอบงำ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 20:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 20:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:

:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2012, 17:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฏกเป็นการ รวบรวมพุทธพจน์มาไว้ในที่เดียวกัน
เพื่อเป็นหลักอันมั่นคง ต่อผู้ศึกษา ในการพิจารณาธรรม อย่างถูกต้อง

การศึกษาพุทธพจน์ และน้อมนำเข้าสู่จิตสู่ใจ แม้เพียงในชั้นบัญญัติ ก็ยังสามารถนำให้เกิดสุตตมยปัญญาได้ และนำไปปฏิบัติยิ่งขึ้นไป ก็นำให้เกิดจินตามยปัญญา ต่อๆไป ซึ่งหากขาดเสียซึ่งความเข้าใจในบัญญัติ ก็อย่าหวังว่าจะรู้ธรรมในปรมัตถสภาวะ คือมรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 อีกต่อไปเลย

เมื่อในขณะที่จิตยังมี วิจิกิจฉา อันสืบเนื่องจากความเข้าใจต่อความรู้เดิมๆ ขัดแย้ง กับความรู้ความเข้าใจซึ่งแสดงไว้ในพุทธธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ..
วิจิกิจฉา อันเกิดจาก ทิฏฐานุสัยในชั้นแรกๆนั้น จำเป็นต้องอาศัย ศรัทธาปสาสทะ ในการขจัดออก เพื่อเปิดโอกาสให้จิตนั้น ได้น้อมนำคำสอนมาสู่จิตสู่ใจ ซึ่งเรียกว่า โยนิโสมนสิการ อันจะนำไปสู่ความเห็นชอบในกาลต่อไปได้

เมื่อ โยนิโสมนสิการ เกิดขึ้นจนดวงจิต เป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว
สติปัญญาอันได้ตั้งแต่ถือกำเนิดมาเพราะกุศลนำอยู่ในขณะที่มีโอกาสเป็นคนนั้น แม้มีกำลังอ่อนก็สามารถพัฒนาให้มีกำลังมากขึ้นได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการพิจารณาธรรม ตามสมควรแก่กำลังสติปัญญาในเวลาต่างๆกันไป ซึ่งเรียกว่า การทำจิตตภาวนา โดยอาศัยพุทธพจน์เป็นมรรค เป็นทางดำเนินไป

ดังนั้น การแสดงธรรม แม้เพียงพยายามอ้างพุทธพจน์ ด้วยความสำรวมระวัง ก็เป็นสิ่งที่น่าอนุโมทนา
แต่หากแสดงธรรมเอง แล้วคิดเองเออเอง ว่าเป็นธรรมที่พระองค์แสดงไว้ ย่อมเป็นการแสดงถึงความด้อยปัญญา อันเป็นทิฏฐานุสัยเดิมที่แสดงออกมา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2012, 20:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 153 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron