วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2012, 05:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




charl-2012-11-03-1351941137-431885803182082895.jpg
charl-2012-11-03-1351941137-431885803182082895.jpg [ 32.39 KiB | เปิดดู 3796 ครั้ง ]
โฮฮับ เขียน:
nongkong เขียน:
555สุดท้ายพี่ก็ไม่เข้าใจเรื่องของจิตหรือนามธรรม :b32: คุนน้องลืมบอกพี่ไปอย่างคุนน้องเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธองค์เพียงคนเดียว และคุนน้องจัเชื่อในสิ่งที่ตัวเองพิสูจน์ๆด้และให้คำตอบตัวเองได้

ดีแล้วที่ไม่เป็นศิษย์พี่โฮ ไม้งั้นพี่โฮอายตายเลย :b32:
พูดได้พูดดี ถามโยนิโสทำอย่างไร ก็ไม่บอกมา รู้หรือเปล่าหลักสำคัญที่จะอธิบาย
เรื่องที่เราคุยมันต้องอาศัย หลักโยนิโส แต่ที่น้องไม่เอาหลักโยนิโสมาอธิบายด้วย
แสดงว่า ที่น้องบอกเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า พี่โฮว่า น้องคิงคองขี้ตู่ล่ะมั้ง

ที่ไม่เอาหลักโยนิโสฯมาอธิบายเป็นเพราะ ไม่รู้จริงหรือไม่รู้เรื่อง
ไอ้ที่พูดๆมา ก็แค่จำขี้ปากชาวบ้านมาพูด :b32:
nongkong เขียน:
คนตาบอด ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับรูปภายนอก เพราะรูปภายนอกมันก็ไม่ใช่ของจริงอยู่แล้วในส่วนของนามธรรม

ที่น้องละเลงบัญญัติแบบนั้นเพราะไม่รู้เหตุ สมุฐาน จึงไม่เข้าใจหลักของ โยนิโสฯ
หลักของโยนิโส ท่านว่าให้เอาปัญญามองธรรมตามความเป็นจริง แล้วน้อมจิตเอาธรรมตามจริงนั้น
มาเป็นหลักในการพิจารณาธรรม ธรรมที่เราพิจารณาจะได้ไม่เป็นการปรุงแต่งธรรม
nongkong เขียน:
ถึงแม้ตาจะบอดแต่หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น มีประสททสัมผัส ลิ้นรับรสๆได้ คนตาบอดรู้ว่าใครคือแม่ ใครคือพ่อ มีความรู้สึกพอใจไม่พอใจในเสียงนั้น ชอบใจไม่ชอบใจในกลิ่นนั้น รสนั้น แต่คนตาบอดจะแยกนามรูปไม่ๆด้แค่นั้นว่าคนไหนน่าตาพึงพอใจคนไหนหน้าตาไม่พึงพอใจ คนตาบอดจะไม่เกิดการปรุงแต่งตันหาในเรื่องนามรูป เพราะจะสวยไม่สวยคนตาบอดกำหนดรู้ไม่ได้แต่คนตาบอดสามารถกำหนดรู้ได้ว่า เรารู้สึกยินดีพใจกับบุคคลนั้นหรือไม่จากเสียง สัมผัสหรือเรียกว่าธรรมมารมย์ :b44:

อายตนะภายนอกทั้งหก ที่เราสามารถรับรู้หรือเกิดการกระทบจนเกิดเป็น อารมณ์หรือนามได้
เป็นเพราะ อายตนะภายในทั้งหก อายตนะภายในทั้งหกก็คือ หู ตา จมูก ลิ้น กายและใจ

อารมณ์ต่างๆที่เกิดการกระทบของอายตนะ แล้วเราก็เข้าไปยึด กายหรือร่างกายทั้งของเรา
และคนอื่น ทั้งสัตว์และสิ่งที่เรียกว่าชีวิต เราไปยีดมั่นจนเป็นตัวเป็นตน

และสาเหตุหรือสมุฐานที่ทำให้เกิดการยึดมั่น เพราะตาเราไปเห็น กายหรือร่างกายเป็นตัวเรา
ตาจึงมีส่วนสำคัญที่จะทำให้เห็น สมุทัย เมื่อเห็นเหตุแห่งทุกข์จึงสมารถดับทุกข์ได้

การใช้หลักของโยนิโสฯก็คือ น้อมจิตเอาปัญญารู้ไตรลักษณ์ เอาสภาวะไตรลักษณ์ที่ว่า...
สังขาร ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน เอามาพิจารณาธรรมที่เกิดหลังจากการกระทบจนเป็นอารมณ์
แท้จริงแล้ว เป็นแค่สังขาร ไม่เที่ยงเป็นทุกข์และไม่ใช่ตัวตน
พิจารณาดังนี้จะทำให้ไม่ไปยึดเอาอารมณ์เป็นตัวตน รู้แค่ว่ามันเป็นการปรุงแต่ง
เมื่อมันเกิดแล้วก็ดับ

ทำได้อย่างนี้จิตที่เคยมองเห็นสิ่งภายนอกเป็นตัวตนเราเขาก็จะดับ
ที่สำคัญการมองเห็นเมื่อในอดีตว่า ร่างกายที่เรามองเห็นเป็นตัวตน
มันเป็นแค่รูปที่ตาไปกระทบ แล้วเกิดอารมณ์สังขารปรุงแต่งเป็นน้องคิงคอง
หรือเป็นพี่โฮฮับ แท้จริงแล้วมันเป็นมหาภูติรูปสี่ เป็นแค่ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ


ที่กล่าวข้างบน ต้องผ่านการละ สักกายทิฐิให้ได้ก่อนจึงจะเห็นสภาวะนั้น
หลักการละสักกายทิฐิ ต้องอาศัยตาและจักขุปสาทรูปเพี่อหาสมุฐานหรือเหตุ
จึงจะดับเหตุนั้นได้

น้องคิงคอง พี่โฮจะบอกให้ สิ่งที่น้องพูดมันไม่ได้บ่งบอกถีงแก่นธรรมซักนิด
มันก็แค่เอาบัญญัติมาพูด แต่ไม่ได้ลงลึกหรือใกล้เคียงประเด็นธรรมเลย
ลักษณะแบบน้องพี่โฮ ขอมอบตำแหน่ง นักเจรจา ฉายา ใบไม้นอกกำมือ
แต่น้องเป็นแค่เหรียญเงิน อันดับสอง อันดับหนี่งพี่ให้คนอื่นไปแล้ว :b32:




ตาจึงมีส่วนสำคัญที่จะทำให้เห็น สมุทัย เมื่อเห็นเหตุแห่งทุกข์จึงสมารถดับทุกข์ได้


ขำจุงเบย
ตาเห็นสมุทัย ไม่ค่อยเข้าใจ เออ สมุทัยของลัทธิโฮเนี่ย ได้แก่อะไรหรา ตาถึงมองเห็น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2012, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ตาจึงมีส่วนสำคัญที่จะทำให้เห็น สมุทัย เมื่อเห็นเหตุแห่งทุกข์จึงสมารถดับทุกข์ได้


ขำจุงเบย
ตาเห็นสมุทัย ไม่ค่อยเข้าใจ เออ สมุทัยของลัทธิโฮเนี่ย ได้แก่อะไรหรา ตาถึงมองเห็น

ถึงได้บอกไงว่า "ไม่รู้จักไตรสิกขา บ่ฮู่..อธิศีล บ่หัน..อธิจิต บ่เบิ่ง...อธิปัญญา :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2012, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ตาจึงมีส่วนสำคัญที่จะทำให้เห็น สมุทัย เมื่อเห็นเหตุแห่งทุกข์จึงสมารถดับทุกข์ได้


ขำจุงเบย
ตาเห็นสมุทัย ไม่ค่อยเข้าใจ เออ สมุทัยของลัทธิโฮเนี่ย ได้แก่อะไรหรา ตาถึงมองเห็น



ถึงได้บอกไงว่า "ไม่รู้จักไตรสิกขา บ่ฮู่..อธิศีล บ่หัน..อธิจิต บ่เบิ่ง...อธิปัญญา :b32:


ก็ไม่รู้ดิถึงได้ถามว่า ไตรสิกขาในความคิดพิจารณาของเจ้าลัทธิโฮน่าได้แก่อะไร บอกหน่อยน่า อยากฮุ้ อยากหัน :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2012, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อายตนะภายใน - แดนต่อความรู้ฝ่ายภายใน
อายตนะภายนอก - แดนต่อความรู้ฝ่ายภายนอก

อายตนะภายใน 6 ได้แก่ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
อายตนะภายนอก 6 ได้แก่ รูป สัททะ คันธะ รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ (รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งต้องกาย เรื่องในใจ) นิยมเรียกว่า ว่าอารมณ์ 6 อารมณ์ แปลว่า สิ่งอันเป็นที่สำหรับจิตมาหน่วงอยู่หรือ สิ่งสำหรับยึดหน่วงของจิต แปลง่ายๆว่า สิ่งที่ถูกรับรู้ หรือสิ่งที่ถูกรู้

เมื่ออายตนะภายใน ซึ่งเป็นแดนรับรู้ กระทบกับอารมณ์ (อายตนะภายนอก) ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ก็จะเกิดความรู้จำเพาะด้านของอายตนะแต่ละอย่างๆ ขึ้น เช่น ตากระทบรูป เกิดความรู้เรียกว่า เห็น หูกระทบเสียง เกิดความรู้ เรียกว่าได้ยิน เป็นต้น ความรู้จำเพาะแต่ละด้านนี้ เรียกว่า วิญญาณ แปลว่า ความรู้แจ้ง คือ รู้อารมณ์

ดังนั้น จึงมีวิญญาณ 6 อย่าง เท่ากับอายตนะและอารมณ์ 6 คู่ คือ

วิญญาณทางตา ได้แก่ เห็น

วิญญาณทางหู ได้แก่ ได้ยิน

วิญณาณทางจมูก ได้แก่ ได้กลิ่น

วิญญาณทางลิ้น ได้แก่ รู้รส

วิญญาณทางกาย ได้แก่ รู้สิ่งต้องกาย

วิญญาณทางใจ ได้แก่ รู้อารมณ์ทางใจ หรือ รู้เรื่องในใจ


สรุปได้ว่า อายตนะ 6 อารมณ์ 6 และวิญญาณ 6 มีชื่อในภาษาธรรม และมีความเกี่ยวเนื่องกัน ดังนี้

1. จักขุ - ตา -- เป็นแดนรับรู้ -- รูป - รูป -- เกิดความรู้คือ --จักขุวิญญาณ - เห็น

2. โสตะ - หู ,, สัททะ - เสียง ,, โสตวิญญาณ - ได้ยิน

3. ฆานะ - จมูก ,, คันธะ - กลิ่น ,, ฆานวิญญาณ - ได้กลิ่น

4. ชิวหา - ลิ้น ,, รส - รส ,, ชิวหาวิญญาณ - รู้รส

5. กาย - กาย ,, โผฏฐัพพะ -สิ่งต้องกาย ,, กายวิญญาณ - รู้สิ่งต้องกาย

6. มโน - ใจ ,, ธรรมารมณ์ -เรื่องในใจ ,, มโนวิญญาณ - รู้เรื่องในใจ



ศึกษาต่อที่
http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 8#msg15918

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2012, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ดีแล้วที่ไม่เป็นศิษย์พี่โฮ ไม้งั้นพี่โฮอายตายเลย
พูดได้พูดดี ถามโยนิโสทำอย่างไร ก็ไม่บอกมา รู้หรือเปล่าหลักสำคัญที่จะอธิบาย
เรื่องที่เราคุยมันต้องอาศัย หลักโยนิโส แต่ที่น้องไม่เอาหลักโยนิโสมาอธิบายด้วย
แสดงว่า ที่น้องบอกเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า พี่โฮว่า น้องคิงคองขี้ตู่ล่ะมั้ง

ที่ไม่เอาหลักโยนิโสฯมาอธิบายเป็นเพราะ ไม่รู้จริงหรือไม่รู้เรื่อง
ไอ้ที่พูดๆมา ก็แค่จำขี้ปากชาวบ้านมาพูด

มาหาว่าเราจำขี้ปากชาวบ้านมาพูด คิดจะยั่วโมโหคุนน้องหรอพี่โฮอิชิ ไม่ได้ผลหรอกแต่ก็ขำๆนะ :b32: จริงๆแล้วสิ่งที่คุนน้องบอกพี่ไปทั้งหมดคุนน้องได้จากการพิจารณาด้วยปัญญา นั่นก็คือการโยนิโสของคุนน้องเอง ที่คุนน้องไม่อธิบายหลักโยนิโสเมื่อวานเพราะทำงาน เลยรวบรัดตัดตอนแค่ไหนก็แค่นั้น จริงๆไม่มีความจำเป็นจะต้องอธิบายด้วยซ้ำ แต่เพราะบอกแล้วว่าเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธองค์ไงถึงได้ อดทนให้พี่โฮแขวะอยู่แบบนี้ ถ้ายังใช้วจีทุจริตกับคุนน้องอีกคุนน้องจะไม่สนใจพี่ อยากจะลงหลุมดำก็ลงไป ก็เพราะความไม่รู้จริงในธรรมของพระพุทธองค์ไม่ใช่หรอไง ที่ทำให้เราโง่แล้วโง่อีกเกิดแล้วเกิดอีก :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2012, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
nongkong เขียน:
555สุดท้ายพี่ก็ไม่เข้าใจเรื่องของจิตหรือนามธรรม :b32: คุนน้องลืมบอกพี่ไปอย่างคุนน้องเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธองค์เพียงคนเดียว และคุนน้องจัเชื่อในสิ่งที่ตัวเองพิสูจน์ๆด้และให้คำตอบตัวเองได้

ดีแล้วที่ไม่เป็นศิษย์พี่โฮ ไม้งั้นพี่โฮอายตายเลย :b32:
พูดได้พูดดี ถามโยนิโสทำอย่างไร ก็ไม่บอกมา รู้หรือเปล่าหลักสำคัญที่จะอธิบาย
เรื่องที่เราคุยมันต้องอาศัย หลักโยนิโส แต่ที่น้องไม่เอาหลักโยนิโสมาอธิบายด้วย
แสดงว่า ที่น้องบอกเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า พี่โฮว่า น้องคิงคองขี้ตู่ล่ะมั้ง

ที่ไม่เอาหลักโยนิโสฯมาอธิบายเป็นเพราะ ไม่รู้จริงหรือไม่รู้เรื่อง
ไอ้ที่พูดๆมา ก็แค่จำขี้ปากชาวบ้านมาพูด :b32:
nongkong เขียน:
คนตาบอด ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับรูปภายนอก เพราะรูปภายนอกมันก็ไม่ใช่ของจริงอยู่แล้วในส่วนของนามธรรม

ที่น้องละเลงบัญญัติแบบนั้นเพราะไม่รู้เหตุ สมุฐาน จึงไม่เข้าใจหลักของ โยนิโสฯ
หลักของโยนิโส ท่านว่าให้เอาปัญญามองธรรมตามความเป็นจริง แล้วน้อมจิตเอาธรรมตามจริงนั้น
มาเป็นหลักในการพิจารณาธรรม ธรรมที่เราพิจารณาจะได้ไม่เป็นการปรุงแต่งธรรม
nongkong เขียน:
ถึงแม้ตาจะบอดแต่หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น มีประสททสัมผัส ลิ้นรับรสๆได้ คนตาบอดรู้ว่าใครคือแม่ ใครคือพ่อ มีความรู้สึกพอใจไม่พอใจในเสียงนั้น ชอบใจไม่ชอบใจในกลิ่นนั้น รสนั้น แต่คนตาบอดจะแยกนามรูปไม่ๆด้แค่นั้นว่าคนไหนน่าตาพึงพอใจคนไหนหน้าตาไม่พึงพอใจ คนตาบอดจะไม่เกิดการปรุงแต่งตันหาในเรื่องนามรูป เพราะจะสวยไม่สวยคนตาบอดกำหนดรู้ไม่ได้แต่คนตาบอดสามารถกำหนดรู้ได้ว่า เรารู้สึกยินดีพใจกับบุคคลนั้นหรือไม่จากเสียง สัมผัสหรือเรียกว่าธรรมมารมย์ :b44:

อายตนะภายนอกทั้งหก ที่เราสามารถรับรู้หรือเกิดการกระทบจนเกิดเป็น อารมณ์หรือนามได้
เป็นเพราะ อายตนะภายในทั้งหก อายตนะภายในทั้งหกก็คือ หู ตา จมูก ลิ้น กายและใจ

อารมณ์ต่างๆที่เกิดการกระทบของอายตนะ แล้วเราก็เข้าไปยึด กายหรือร่างกายทั้งของเรา
และคนอื่น ทั้งสัตว์และสิ่งที่เรียกว่าชีวิต เราไปยีดมั่นจนเป็นตัวเป็นตน

และสาเหตุหรือสมุฐานที่ทำให้เกิดการยึดมั่น เพราะตาเราไปเห็น กายหรือร่างกายเป็นตัวเรา
ตาจึงมีส่วนสำคัญที่จะทำให้เห็น สมุทัย เมื่อเห็นเหตุแห่งทุกข์จึงสมารถดับทุกข์ได้

การใช้หลักของโยนิโสฯก็คือ น้อมจิตเอาปัญญารู้ไตรลักษณ์ เอาสภาวะไตรลักษณ์ที่ว่า...
สังขาร ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน เอามาพิจารณาธรรมที่เกิดหลังจากการกระทบจนเป็นอารมณ์
แท้จริงแล้ว เป็นแค่สังขาร ไม่เที่ยงเป็นทุกข์และไม่ใช่ตัวตน
พิจารณาดังนี้จะทำให้ไม่ไปยึดเอาอารมณ์เป็นตัวตน รู้แค่ว่ามันเป็นการปรุงแต่ง
เมื่อมันเกิดแล้วก็ดับ

ทำได้อย่างนี้จิตที่เคยมองเห็นสิ่งภายนอกเป็นตัวตนเราเขาก็จะดับ
ที่สำคัญการมองเห็นเมื่อในอดีตว่า ร่างกายที่เรามองเห็นเป็นตัวตน
มันเป็นแค่รูปที่ตาไปกระทบ แล้วเกิดอารมณ์สังขารปรุงแต่งเป็นน้องคิงคอง
หรือเป็นพี่โฮฮับ แท้จริงแล้วมันเป็นมหาภูติรูปสี่ เป็นแค่ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ


ที่กล่าวข้างบน ต้องผ่านการละ สักกายทิฐิให้ได้ก่อนจึงจะเห็นสภาวะนั้น
หลักการละสักกายทิฐิ ต้องอาศัยตาและจักขุปสาทรูปเพี่อหาสมุฐานหรือเหตุ
จึงจะดับเหตุนั้นได้

น้องคิงคอง พี่โฮจะบอกให้ สิ่งที่น้องพูดมันไม่ได้บ่งบอกถีงแก่นธรรมซักนิด
มันก็แค่เอาบัญญัติมาพูด แต่ไม่ได้ลงลึกหรือใกล้เคียงประเด็นธรรมเลย
ลักษณะแบบน้องพี่โฮ ขอมอบตำแหน่ง นักเจรจา ฉายา ใบไม้นอกกำมือ
แต่น้องเป็นแค่เหรียญเงิน อันดับสอง อันดับหนี่งพี่ให้คนอื่นไปแล้ว :b32:




ตาจึงมีส่วนสำคัญที่จะทำให้เห็น สมุทัย เมื่อเห็นเหตุแห่งทุกข์จึงสมารถดับทุกข์ได้


ขำจุงเบย
ตาเห็นสมุทัย ไม่ค่อยเข้าใจ เออ สมุทัยของลัทธิโฮเนี่ย ได้แก่อะไรหรา ตาถึงมองเห็น

ขำด้วยคน :b32: ตาเห็นสมุทัย แสดงว่าคนตาบอดไม่สามารถเห็นสมุทัย แสดงว่าคนตาบอดถ้าเค้าพรัดพรากจากคนที่เค้ารักและเค้าก็ทุกข์มาก แสดงว่า เค้าก็ไม่สามารถหาเหตุแห่งทุกข์ได้(สมุทัย)555ขำว่ะ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2012, 15:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://abhidhamonline.org/boss_files/sangaha/62.htm


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2012, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จับมาเรียงใหม่ให้ติดต่อกัน

แหล่งที่มาเบื้องต้นของการศึกษา เรียกว่า ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒ อย่าง คือ

๑. ปัจจัยภายนอก เรียกว่า ปรโตโฆสะ แปลว่า เสียงจากผู้อื่น หรือเสียงบอกจากผู้อื่น ได้แก่ การรับถ่ายทอด หรืออิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมทางสังคม เช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ เพื่อนที่คบหา หนังสือ สื่อมวลชน และวัฒนธรรม ซึ่งให้ข่าวสารที่ถูกต้อง สั่งสอนอบรม แนะนำชักจูงไปในทางที่ดีงาม

๒. ปัจจัยภายใน เรียกว่า โยนิโสมนสิการ แปลว่า การทำในใจโดยแยบคาย หมายถึง การคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด หรือ คิดเป็น

ในทำนองเดียวกัน แหล่งที่มาของการศึกษาที่ผิด หรือความไร้การศึกษา ที่เรียกว่า ปัจจัยแห่งมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ อย่างเหมือนกัน คือ ปรโตโฆสะ เสียงบอกจากภายนอกที่ไม่ดีงาม ไม่ถูกต้อง และ อโยนิโสมนสิการ การทำในใจไม่แยบคาย การไม่รู้จักคิด คิดไม่เป็น หรือการขาด โยนิโสมนสิการนั่นเอง


แกนนำแห่งกระบวนการของการศึกษา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ เมื่อมีสัมมาทิฏฐิเป็นแกนนำ และเป็นฐานแล้ว กระบวนการแห่งการศึกษาภายในตัวบุคคลก็ดำเนินไปได้

กระบวนการนี้แบ่งเป็น ๓ ขั้นตอนใหญ่ๆ เรียกว่า ไตรสิกขา (สิกขา หรือหลักการศึกษา ๓ ประการ) คือ

๑. การฝึกฝนพัฒนาในด้านความประพฤติ ระเบียบวินัย ความสุจริตทางกาย วาจา และอาชีวะ เรียกว่า อธิสีลสิกขา (เรียกง่ายๆว่า ศีล)

๒. การฝึกฝนพัฒนาทางจิตใจ การปลูกฝังคุณธรรม สร้างเสริมคุณภาพ สมรรถภาพ และสุขภาพจิต เรียกว่า อธิจิตตสิกขา (เรียกง่ายๆว่า สมาธิ)

๓. การฝึกฝนพัฒนาทางปัญญา ให้เกิดความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ที่ทำให้แก้ไขปัญหาไปตามแนวทางเหตุผล รู้เท่าทันโลกและชีวิต จนสามารถทำจิตใจให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากความยึดติดถือมั่นในสิ่งต่างๆ ดับกิเลส ดับทุกข์ได้ เป็นอยู่ด้วยจิตอิสระผ่องใสเบิกบาน เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา (เรียกง่ายๆว่า ปัญญา)


หลักการศึกษา ๓ ประการนี้ จัดวางขึ้นไว้โดยอาศัยหลักปฏิบัติที่เรียกว่า วิธีแก้ปัญหาของอารยชนเป็นพื้นฐาน วิธีแก้ปัญหาแบบอารยชนนี้ เรียกตามคำบาลีว่า อริยมรรค แปลว่า ทางดำเนินสู่ความดับทุกข์ ที่ทำให้เป็นอริยชน หรือ วิธีดำเนินชีวิตที่ประเสริฐ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2012, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

อริยมรรค นี้ มีองค์ประกอบที่เป็นเนื้อหา หรือรายละเอียดของการปฏิบัติ ๘ ประการ คือ

๑. ทัศนะ ความคิดเห็น แนวคิด ความเชื่อถือ ทัศนคติ ค่านิยมต่างๆ ที่ดีงามถูกต้อง มองสิ่งทั้งหลายตามเหตุปัจจัย สอดคล้องกับความเป็นจริง หรือตรงตามสภาวะ เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)

๒. ความคิด ความดำริตริตรอง หรือคิดการต่างๆ ที่ไมเป็นไปเพื่อเป็นเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ไม่เศร้าหมองขุ่นมัว เป็นไปในทางสร้างสรรค์ประโยชน์สุข เช่น ติดในทางเสียสละ หวังดี มีไมตรี ช่วยเหลือเกื้อกูล และความคิดที่บริสุทธิ์ อิงสัจจะ อิงธรรม ไม่เอนเอียงด้วยความเห็นแก่ตัว ความคิดจะได้จะเอา หรือ ความเคียดแค้นชิงชัง มุ่งร้ายคิดทำลาย เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)

๓. การพูด หรือการแสดงออกทางวาจาที่สุจริต ไม่ทำร้ายผู้อื่น ตรงความจริง ไม่โกหกหลอกลวง ไม่ส่อเสียด ไม่ให้ร้ายป้ายสี ไม่หยาบคาย ไม่เหลวไหล ไม่เพ้อเจ้อเลื่อนลอย แต่สุภาพ นิ่มนวล ชวนให้เกิดไมตรีสามัคคีกัน ถ้อยคำที่มีเหตุผล เป็นไปในทางสร้างสรรค์ ก่อประโยชน์ เรียกว่า สัมมาวาจา (วาจาชอบ)

๔. การกระทำที่ดีงามสุจริต เป็นไปในทางสร้างสรรค์ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายกัน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีงาม ทำให้อยู่ร่วมกันด้วยดี ทำให้สังคมสงบสุข คือ การกระทำหรือทำการต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือไม่เป็นไปเพื่อการทำลายชีวิตร่างกาย การทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น การล่วงละเมิดสิทธิในคู่ครองหรือของรักของหวงแหนของผู้อื่น เรียกว่า สัมมากัมมันตะ (การทำชอบ)

๕. การประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่ก่อความเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้อื่น เรียกว่า สัมมาอาชีวะ (อาชีพชอบ)

๖. การเพียรพยายามในทางที่ดีงามชอบธรรม คือ เพียรหลีกเว้นป้องกันสิ่งชั่วร้ายอกุศลที่ยังไม่เกิดขึ้น เพียรส่งเสริมพัฒนาสิ่งดีงาม หรือกุศลธรรมที่เกิดมีแล้ว ให้เพิ่มพูนเจริญงอกงามยิ่งขึ้นไปจนเพียบพร้อมไพบูลย์ เรียกว่า สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)

๗. การมีสติกับกับตัว คุมใจไว้ให้อยู่กับสิ่งที่เกี่ยวข้องต้องทำในเวลานั้นๆ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับงาน ระลึกได้ถึงสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่เกื้อกุลเป็นประโยชน์ หรือธรรมที่ต้องใช้ในเรื่องนั้นๆ เวลานั้นๆ ไม่หลงใหลเลื่อนลอย ไม่ละเลยหรือปล่อยตัวเผอเรอ โดยเฉพาะสติที่กำกับทันต่อพฤติกรรมของร่างกาย ความรู้สึก สภาพจิตใจ และความนึกคิดของตน ไม่ปล่อยให้อารมณ์ที่เย้ายวนหรือยั่วยุ มาฉุดกระชากให้หลุดหลงเลื่อนลอยไปเสีย เรียกว่า สัมมาสติ (ระลึกชอบ)

๘. ความมีจิตตั้งมั่น จิตใจดำเนินอยู่ในกิจในงาน หรือในสิ่งที่กำหนด (อารมณ์) ได้สม่ำเสมอ แน่วแน่เป็นหนึ่งเดียว สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวกหวั่นไหว บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว นุ่มนวล ผ่อนคลาย ไม่เครียด ไม่กระด้าง เข้มแข็ง เอางาน ไม่หดหู่ท้อแท้ พร้อมที่จะใช้งานทางปัญญาอย่างได้ผลดี เรียกว่า สัมมาสมาธิ (จิตมั่นชอบ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2012, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

หลักการศึกษา ๓ ประการ คือ ไตรสิกขา ก็จัดวางขึ้นโดยมุ่งให้ผลเกิดขึ้นตามหลักปฏิบัติแห่งอริยมรรค (มรรควิธีแก้ปัญหา หรือ มรรคแห่งความดับทุกข์) คือ เป็นการฝึกฝนอบรมให้องค์ทั้ง ๘ แห่งมรรคนั้น เกิดมีและเจริญงอกงาม ใช้ประโยชน์ได้บริบูรณ์ยิ่งขึ้นแก้ไขปัญหาดับทุกข์ได้ดียิ่งขึ้นตามลำดับ จนถึงที่สุด กล่าวคือ

๑. อธิสีลสิกขา คือ การศึกษาด้าน หรือ ขั้นตอนที่ฝึกปรือให้เกิดมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ เจริญงอกงามขึ้น จนบุคคลมีความพร้อมทางความประพฤติ วินัย และความสัมพันธ์ทางสังคม ถึงมาตรฐานของอารยชน เป็นพื้นฐานแก่การสร้างเสริมคุณภาพจิตได้ดี

๒. อธิจิตสิกขา คือ การศึกษาด้านหรือขั้นตอนที่ฝึกปรือให้เกิดมีสัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ เจริญงอกงามขึ้น จนบุคคลมีความพร้อมทางคุณธรรม มีคุณภาพจิต สมรรถภาพจิต และสุขภาพจิตพัฒนาถึงมาตรฐานของอารยชน เป็นพื้นฐานแห่งการพัฒนาปัญญาได้ดี

๓. อธิปัญญาสิกขา คือ การศึกษาด้านหรือขั้นตอนที่ฝึกปรือให้เกิดมีสัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ เจริญงอกงามขึ้น จนบุคคลมีความพร้อมทางปัญญาถึงมาตรฐานของอารยชน สามารถดำรงชีวิตอยู่ด้วยปัญญา มีจิตใจผ่องใส เบิกบาน ไร้ทุกข์ หลุดพ้นจากความยึดถือมั่นต่างๆ เป็นอิสรเสรีด้วยปัญญาอย่างแท้จริง

แต่ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นแกนนำแห่งกระบวนการของการศึกษานั้น จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัย ปัจจัยแหงสัมมาทิฏฐิ ๒ ป ระการ

ดังนั้น ในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา จุดสนใจที่ควรเน้นเป็นพิเศษ คือ เรื่องปัจจัยแห่งสัมมาทิฐิ ทีเป็นจุดเริ่มต้น เป็นแหล่ง เป็นที่มาของการศึกษา คำที่พูดกันว่า ให้การศึกษา ก็อยู่ที่ปัจจัย ๒ ประการนี้เอง
ส่วนกระบวนการของการศึกษา ที่เรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา นั้น เพียงแต่รู้เข้าใจไว้ เพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้เกื้อกูล และคอยเสริมคุมกระตุ้นเร้าให้เนื้อหาของการศึกษาหันเบนดำเนินไปตามกระบวนนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2012, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้เห็นภาพลงพุทธพจน์หน่อย


"ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิมี ๒ ประการ ดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ"

"โดยกำหนดว่าเป็นองค์ประกอบภายนอก เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายนอกอื่น แม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เหมือนความมีกัลยาณมิตรเลย"


"โดยกำหนดว่าเป็นองค์ประกอบภายใน เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบอื่น แม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2012, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard ... topic=9332

http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard ... topic=2076

:b12: :b1: :b51:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2012, 02:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อายตนะภายใน - แดนต่อความรู้ฝ่ายภายใน
อายตนะภายนอก - แดนต่อความรู้ฝ่ายภายนอก

อายตนะภายใน 6 ได้แก่ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
อายตนะภายนอก 6 ได้แก่ รูป สัททะ คันธะ รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ (รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งต้องกาย เรื่องในใจ) นิยมเรียกว่า ว่าอารมณ์ 6 อารมณ์ แปลว่า สิ่งอันเป็นที่สำหรับจิตมาหน่วงอยู่หรือ สิ่งสำหรับยึดหน่วงของจิต แปลง่ายๆว่า สิ่งที่ถูกรับรู้ หรือสิ่งที่ถูกรู้

เมื่ออายตนะภายใน ซึ่งเป็นแดนรับรู้ กระทบกับอารมณ์ (อายตนะภายนอก) ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ก็จะเกิดความรู้จำเพาะด้านของอายตนะแต่ละอย่างๆ ขึ้น เช่น ตากระทบรูป เกิดความรู้เรียกว่า เห็น หูกระทบเสียง เกิดความรู้ เรียกว่าได้ยิน เป็นต้น ความรู้จำเพาะแต่ละด้านนี้ เรียกว่า วิญญาณ แปลว่า ความรู้แจ้ง คือ รู้อารมณ์

กรัชกายเดาสุ่มไปเรื่อย พูดชนิดไม่รู้เหตุที่มา เรื่องอายตนะนี่พระพุทธองค์ทรงจะ
บอกวิธีดับทุกข์ มันเป็นหลักวิปัสสนาในเรื่องธรรมมานุปัสสนา ท่านให้รู้ว่า......
อารมณ์หรือนามที่เกิดขึ้นมันมีเหตุปัจจัยมาจาก รูปหรือกาย
เพราะอายตนะภายในล้วนเป็นรูป(กาย) หลักการพิจารณาเราต้องใช้ ไตรลักษณ์
มาพิจารณาประกอบด้วย
สรุปประเด็น ก็คือท่านให้รู้ที่มาของนาม มันไม่ได้เกี่ยวกับความพิการ
ใครพิการส่วนใดมันก็ไม่เกิดนามส่วนนั้น เมื่อไม่เกิดนามส่วนนั้นมันก็ไม่ต้องพิจารณา
นี่เป็นเรื่องการพิจารณา...นาม

การพิจารณารูป(กาย) มันเป็นอีกเรื่อง รูปก็รู้ว่ารูป รูปมันต้องอาศัย..ดวงตามอง
การใช้อายตนะส่วนอื่นมันจะเป็นรูปได้ไง

อยากจะเน้นครับว่า ที่เราปฏิบัติเพี่อรู้รูป รู้นาม ท่านให้รู้เพื่อละ
รู้แล้วไม่ยอมละมันก็ยังไม่รู้


เอาพระสุตฯมาให้อ่าน......
[๑๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนภิกษุพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้ง
ไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด น้ำ
เหลืองไหลน่าเกลียด เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็น
ธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น
กายในกายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 754&Z=2150

อ่านดูแล้วใช้ปัญญาพิจารณา ว่าถ้าไม่มีดวงตาหาเหตุ แล้วเราจะพิจารณาไห้เห็น...
กายในกายมั้ย

กรัชกาย เขียน:
เมื่ออายตนะภายใน ซึ่งเป็นแดนรับรู้ กระทบกับอารมณ์ (อายตนะภายนอก) ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ก็จะเกิดความรู้จำเพาะด้านของอายตนะแต่ละอย่างๆ ขึ้น เช่น ตากระทบรูป เกิดความรู้เรียกว่า เห็น หูกระทบเสียง เกิดความรู้ เรียกว่าได้ยิน เป็นต้น ความรู้จำเพาะแต่ละด้านนี้ เรียกว่า วิญญาณ แปลว่า ความรู้แจ้ง คือ รู้อารมณ์

จะอธิบายโดยเอาเรื่องไตรสิกขามาอธิบายให้ฟังเล็กน้อย คำพูดของกรัชกายที่อ้างอิง
มันเป็นส่วนหนึ่งของอธิจิตในไตรสิกขา

หลักของไตรสิกขาท่านให้รู้เพื่อละ ไม่รู้แล้วยึด
อย่างในอธิจิตนี้ ท่านให้รู้ว่าที่มาของเหตุแห่งทุกข์คืออะไร
เหตุแห่งทุกข์ก็คือขันธ์ห้า และอายตนะก็เป็นเหตุแห่งขันธ์ห้า

เอาง่ายๆเลยว่า กรัชกายกำลังออกอ่าวไทยแล้ว :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2012, 03:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
หลักการศึกษา ๓ ประการ คือ ไตรสิกขา ก็จัดวางขึ้นโดยมุ่งให้ผลเกิดขึ้นตามหลักปฏิบัติแห่งอริยมรรค (มรรควิธีแก้ปัญหา หรือ มรรคแห่งความดับทุกข์) คือ เป็นการฝึกฝนอบรมให้องค์ทั้ง ๘ แห่งมรรคนั้น เกิดมีและเจริญงอกงาม ใช้ประโยชน์ได้บริบูรณ์ยิ่งขึ้นแก้ไขปัญหาดับทุกข์ได้ดียิ่งขึ้นตามลำดับ จนถึงที่สุด กล่าวคือ

หลักของไตรสิกขา คือการรู้และปฏิบัติเพื่อให้ได้มาแห่งปัญญา
หรือจะกล่าวว่า การรู้อริยสัจจ์และปฏิบัติในอริยมรรคมีองค์แปด

ไตรสิกขา แบ่งเป็น ๓หลักใหญ่ คือ อธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา

ในแต่ละหลักต้องอาศัย ปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธ

ในกระบวนการที่กล่าวมาจะต้องเป็น การการเรียนรู้เพื่อละ

อย่างเช่น ใช้ปริยัติเพื่อเรียนรู้ไตรสิกขา แล้วลงมือปฏิบัติเพื่อละในสิ่งที่รู้
เมื่อละแล้วจะเกิดเป็นปฏิเวธ เมื่อเกิดปฏิเวธแล้วก็นำปฏิเวธไปเป็นปริยัติ
ปฏิบัติต่อเพื่อละปฏิเวธนั้น สุดประสงค์เพื่อให้ได้ปัญญาสุดท้าย คือวิมุตติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2012, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
หลักการศึกษา ๓ ประการ คือ ไตรสิกขา ก็จัดวางขึ้นโดยมุ่งให้ผลเกิดขึ้นตามหลักปฏิบัติแห่งอริยมรรค (มรรควิธีแก้ปัญหา หรือ มรรคแห่งความดับทุกข์) คือ เป็นการฝึกฝนอบรมให้องค์ทั้ง ๘ แห่งมรรคนั้น เกิดมีและเจริญงอกงาม ใช้ประโยชน์ได้บริบูรณ์ยิ่งขึ้นแก้ไขปัญหาดับทุกข์ได้ดียิ่งขึ้นตามลำดับ จนถึงที่สุด กล่าวคือ

หลักของไตรสิกขา คือการรู้และปฏิบัติเพื่อให้ได้มาแห่งปัญญา
หรือจะกล่าวว่า การรู้อริยสัจจ์และปฏิบัติในอริยมรรคมีองค์แปด

ไตรสิกขา แบ่งเป็น ๓หลักใหญ่ คือ อธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา

ในแต่ละหลักต้องอาศัย ปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธ

ในกระบวนการที่กล่าวมาจะต้องเป็น การการเรียนรู้เพื่อละ

อย่างเช่น ใช้ปริยัติเพื่อเรียนรู้ไตรสิกขา แล้วลงมือปฏิบัติเพื่อละในสิ่งที่รู้
เมื่อละแล้วจะเกิดเป็นปฏิเวธ เมื่อเกิดปฏิเวธแล้วก็นำปฏิเวธไปเป็นปริยัติ
ปฏิบัติต่อเพื่อละปฏิเวธนั้น สุดประสงค์เพื่อให้ได้ปัญญาสุดท้าย คือวิมุตติ



อย่างเช่น ใช้ปริยัติเพื่อเรียนรู้ไตรสิกขา แล้วลงมือปฏิบัติเพื่อละในสิ่งที่รู้
เมื่อละแล้วจะเกิดเป็นปฏิเวธ เมื่อเกิดปฏิเวธแล้วก็นำปฏิเวธไปเป็นปริยัติ
ปฏิบัติต่อเพื่อละปฏิเวธนั้น
สุดประสงค์เพื่อให้ได้ปัญญาสุดท้าย คือวิมุตติ



ขำอีกแระ :b9:

เคยพูดแล้วว่านายโฮไม่มีหลัก เมื่อไม่มีหลักแล้วพูดเนี่ยมันผิดหมด เหมือนกลัดกระดุมเม็ดแรกผิด เห็นๆคือจับแพะชนแกะ จับศัพท์นั้นโยงกับศัพท์นี้ เช่นคำพูดที่ขีดเส้นใต้ นั่นมันมั่วชัดๆ วัยเกรียนพูดว่า "มั่วจุงเบย" :b32:

ดูนะจะว่าให้ฟัง "ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ"

ปริยัติ ได้แก่ การเรียนรู้ เมื่อรู้แล้วก็นำไปปฏิบัติ คือลงมือทำจนเกิดปฏิเวธ คือ เป็นผลสำเร็จขึ้นมา

ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นว่า คนหุงข้าวไม่เป็น จึงไปปริยัติ (ไปเรียนการหุงข้าว) ครั้นรู้วิธีรู้ขั้นตอนแล้ว กลับไปบ้านลงมือปฏิบัติ คือ หัดหุง นี่ขั้นปฏิบัติ ข้าวสุกเรียบร้อย ขั้นนี้เรียกว่าเป็นปฏิเวธ

ตัวไม่รู้วิธีปฏิบัติกรรมฐาน จึงเดินทางไปอาจารย์เพื่อเรียนรู้ อาจารย์บอกว่า เอางี้นะ ท้องพอง (ว่าในใจ) "พองหนอ" ท้องยุบ (ว่าในใจ) "ยุบหนอ" ฯลฯ นี่เรียกว่าปริยัติ
เมื่อเธอลงมือปฏิบัติคือทำตามนั้น นี่ขั้นปฏิบัติ ครั้นเมื่อเธอปฏิบัติไปๆๆๆ จนกระทั่งมรรคผลเกิดขึ้น นี่ขั้นปฏิเวธ

ไอ่ที่พูดว่า "เมื่อเกิดปฏิเวธแล้ว ก็นำปฏิเวธไปเป็นปริยัติ ปฏิบัติต่อเพื่อละปฏิเวธ" แบบนี้นะเรียกว่า จับ (ศัพท์) ภาษาทางธรรมเขามาหมุนเล่น ขำจุงเบย :b9:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร