วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 04:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2012, 14:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 13:16
โพสต์: 7

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดิฉันเคยไปปฏิบัติธรรมที่วัด 3 วัน มีการรักษาศีล 8 อยากรู้ว่ามันเหมือนกับการรักษาศีลอุโบสถ รึเปล่าค่ะ
แล้วถ้าวันพระเราจะรักษาศีลอุโบสถอยู่ที่บ้านได้ไหมต่ะ
เริ่มตั้งแต่เวลาไหน แล้วทานอาหารได้เช้าของอีกวันใช่รึเปล่าค่ะ
แล้วที่ดิฉันไปปฏิบัติธรรมที่วัด ดิฉันและคนอื่นๆ ซื้อนมไว้กิน จริงๆ แล้วมันไม่ได้ใช่ไหมค่ะ
แล้วอาราธนาศีล กับสมาทานศีล ต่างกันยังไงค่ะ
เวลาที่เราจะไปปฏิบัติธรรม อาราธนาศีล กับสมาทานศีล จำเป็นไหมค่ะ ขอบคุณค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2012, 14:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 13:16
โพสต์: 7

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกนิดนึงค่ะ ถ้าต้องการรักษาศีลอุโบสถ เราต้องไปที่วัดเฉพาะวันพระใช่ไหมค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2012, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


gingglebell เขียน:
ดิฉันเคยไปปฏิบัติธรรมที่วัด 3 วัน มีการรักษาศีล 8 อยากรู้ว่ามันเหมือนกับการรักษาศีลอุโบสถ รึเปล่าค่ะ

แล้วถ้าวันพระเราจะรักษาศีลอุโบสถอยู่ที่บ้านได้ไหมต่ะ

เริ่มตั้งแต่เวลาไหน แล้วทานอาหารได้เช้าของอีกวันใช่รึเปล่าค่ะ

แล้วที่ดิฉันไปปฏิบัติธรรมที่วัด ดิฉันและคนอื่นๆ ซื้อนมไว้กิน จริงๆ แล้วมันไม่ได้ใช่ไหมค่ะ

แล้วอาราธนาศีล กับสมาทานศีล ต่างกันยังไงค่ะ

เวลาที่เราจะไปปฏิบัติธรรม อาราธนาศีล กับสมาทานศีล จำเป็นไหมค่ะ ขอบคุณค่ะ


ตอบเป็นประเด็นๆดังนี้

-เหมือนกันครับ แต่สมัยก่อนเขาสมาทานรักษากันในพระหรือวันอุโบสถ จึงเรียกว่าศีลอุโบสถ

-ได้ครับ

-เริ่มตั้งแต่เช้าวันพระ (8 ค่ำ 14 หรือ 15 ค่ำ) ถึงเช้าวันรุ่งขึ้น อาหารก็ 2 มื้อ คือ มื้อเช้ากับมื้อกลางวัน ไม่เกินเที่ยงวัน มื้อเย็นงด แต่มื้อดื่มน้ำปานะได้ นมกล่องได้

-ไม่ต่างกัน

-หากปฏิบัติธรรมที่วัด โดยมากจะสมาทานก่อน แต่ถ้าเราปฏิธรรมดังว่าที่บ้าน เราก็ตั้งใจงดเว้นตามศีลข้อนั้นๆเองได้

ว่างๆลองแวะไปศึกษาห้องนี้เพิ่มเติมดูครับ

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?board=30.0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2012, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


gingglebell เขียน:
อีกนิดนึงค่ะ ถ้าต้องการรักษาศีลอุโบสถ เราต้องไปที่วัดเฉพาะวันพระใช่ไหมค่ะ


ถ้าจะสมาทานรักษาอุโบสถศีลที่วัด ก็ต้องไปเฉพาะวันพระ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2012, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามบ้าง จขกท. คิดยังไงจึงต้องการรักษาอุโบสถศีลครับ :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2012, 06:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ตอบเป็นประเด็นๆดังนี้
-เหมือนกันครับ แต่สมัยก่อนเขาสมาทานรักษากันในพระหรือวันอุโบสถ จึงเรียกว่าศีลอุโบสถ

กรัชกายมั่วนิ่ม พูดเลยเปื่อย การพูดธรรมมันต้องแกะเปลือกให้เห็นกระพี้เห็นแก่น
ไม่ใช่เอาอะไรต่อมิอะไร มาปกปิดกระพี้ปกปิดแก่น เปลือกที่มันหนาอยู่แล้ว ยิ่งหนาเข้าไปใหญ่

มันต้องเริ่มหาที่มาที่ไป ที่มาก็คือ เอาเข้าไตรสิกขาซะหน่อย
เรื่องศีลห้าหรือศีลแปดน่ะ มันเป็นเรื่องของ อธิศีล

หลักจริงๆแล้วมันคือการปฏิบัติตามขั้นตอน หรือเรียกว่าศีลที่พัฒนาแล้ว
ศีลที่พัฒนาแล้วหรืออธิศีลนี้ มีหลักอยู่สิบประการ รวมเรียกว่า ศีลพรหมจรรย์
ศีลพรหมจรรย์มีดังนี้....
๑. ทาน
๒. เวยยาวัจจะ
๓. เบญจศีล
๔. เมตตาอัปปมัญญา
๕. เมถุนวิรัติ
๖. สทารสันโดษ
๗. วิริยะ
๘. อุโบสถ
๙. อริยมรรค
๑๐. ศาสนา
ในสิบอย่างนี้ท่านแบ่งไว้เป็น จุลศีล มัชฌิมศีลและมหาศีล

ศีลแปดหรืออุโบสถ เหมือนกันในหลักการ คือมีข้อห้ามอยู่แปดข้อ
แต่แตกต่างกันในสถานะของผู้ปฏิบัติ นั้นก็คือ นักบวชกับผู้ครองเรือน

ผู้ครองเรือน จะปฏิบัติแค่จุลศีล คือปฏิบัติศีลพรหมจรรย์ข้อ๑-๔
นักบวชจะปฏิบัติมัชฌิมศีล หรือศีลพรหมจรรย์ตั้งแต่ ๕-๘

เข้าประเด็นที่จขกทถาม เรื่องศีลแปดกับอุโบสถศีล
ศีลแปด เป็นข้อห้ามแปดประการที่นักบวชไม่ควรประพฤติ เราเรียกข้อห้ามแปดประการนั้นว่า
อุโบสถศีล

ผู้ครองเรือนว่าโดยธรรมแล้วปฏิบัติแค่เบญศีล หรือข้อห้าม๕ประการ
แต่เป็นเพราะผู้ครองเรือนต้องการพัฒนาศีลพรหมจรรย์ของตน ให้ยิ่งๆขึ้นไป
อาจเรียกว่าเป็นการฝีกไว้ก่อนก็ได้ นั้นคือการถือศีลแปด

การจะถือศีลแปดให้ถูกหลักศีลพรหมจรรย์ ศีลนั้นต้องเป็นอุโบสถศีล
อุโบสถศีลจะต้องคำนึงถึง มัชฌิมศีลอีก๓ข้อด้วย คือ เมถุนวิรัติ...สทารสันโดษและวิริยะ

สรุปก็คือ ผู้ครองเรือนที่ต้องการพัฒนาเบญศีลของตนให้เป็น ศีลแปด
ผู้ครองเรือน ต้องสละเรือนในลักษณะของนักบวช พูดง่ายๆก็คือ มาอยู่วัด
และการที่ผู้ครองเรือนยังไม่ใช่นักบวชที่แต่จริง การถือศีลแปดจึงต้องสมาทานศีลก่อน
ศีลแปดที่ถือจีงจะเป็นอุโบสถศีล ซึ่งเป็นศีลของนักวช

การที่ต้องสมาทารศีลเป็นเพราะบุคคลยังตัดกิเลสไม่ได้ การสมาทานจึงเป็นการ
ให้สัจจะ การให้สัจจะมันตรงกับ "วิริยะ" ในมัชฌิชศีล นั้นคือเมื่อสมาทานแล้ว
ต้องเพียรพยายามทำในสิ่งที่ให้สัจจะไปแล้ว

การสมาทาน จึงหมายถืง บุคคลผู้ครองเรือนจะมาถือศีลแปดของนักบวช
ที่วัดเป็นครั้งคราว โดยการกล่าววาจาสัจจ์ เมื่อกล่าวแล้ว ศีลที่จะปฏิบัติจึงเรียกอุโบสถศีล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2012, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
gingglebell เขียน:
ดิฉันเคยไปปฏิบัติธรรมที่วัด 3 วัน มีการรักษาศีล 8 อยากรู้ว่ามันเหมือนกับการรักษาศีลอุโบสถ รึเปล่าค่ะ
ตอบเป็นประเด็นๆดังนี้
-เหมือนกันครับ แต่สมัยก่อนเขาสมาทานรักษากันในพระหรือวันอุโบสถ จึงเรียกว่าศีลอุโบสถ

ไม่เหมือนกันครับ ถ้าบอกว่าศีลแปดเฉยๆ โดยทั่วมักจะหมายถีงแม่ชีครับ แม่ชีถือว่าเป็นนักบวช
ผู้สละเรือนแล้วครับ
ส่วนอุโบสถศีล หมายถึงผู้ครองเรือน ที่มาถือบวชชั่วครั้งชั่วคราวโดยรักษาศีลแปด
แบบชีพราหมณ์
กรัชกาย เขียน:
gingglebell เขียน:
แล้วถ้าวันพระเราจะรักษาศีลอุโบสถอยู่ที่บ้านได้ไหมต่ะ

-ได้ครับ

ไม่ได้ครับ ศีลอุโบสถ ต้องสมาทานศีลที่วัด เพราะต้องให้สัจจะเพื่อการมีวิริยะ
และต้องหลีกเหลี่ยงการสัมผัสเพศตรงข้าม ที่สำคัญต้องเป็นที่สัปปายะ
กรัชกาย เขียน:
gingglebell เขียน:
เริ่มตั้งแต่เวลาไหน แล้วทานอาหารได้เช้าของอีกวันใช่รึเปล่าค่ะ

-เริ่มตั้งแต่เช้าวันพระ (8 ค่ำ 14 หรือ 15 ค่ำ) ถึงเช้าวันรุ่งขึ้น อาหารก็ 2 มื้อ คือ มื้อเช้ากับมื้อกลางวัน ไม่เกินเที่ยงวัน มื้อเย็นงด แต่มื้อ

มันไม่จำเป็นต้องเป็นวันพระหรอกครับ แล้วการเริ่มรักษาศีลแปด
ก็คือหลังจากสมาทานศีลนั้นแหล่ะครับ
กรัชกาย เขียน:
gingglebell เขียน:
แล้วที่ดิฉันไปปฏิบัติธรรมที่วัด ดิฉันและคนอื่นๆ ซื้อนมไว้กิน จริงๆ แล้วมันไม่ได้ใช่ไหมค่ะ

ดื่มน้ำปานะได้ นมกล่องได้

ผู้รักษาศีลห้ามเก็บตุนอาหารไว้ครับ ซื้อกินได้แต่ห้ามซื้อเก็บ อาจจะมีพวกฆราวาสที่
ไม่ได้ถืออุโบสถศีล คอยจัดหาให้ครับ
กรัชกาย เขียน:
gingglebell เขียน:
แล้วอาราธนาศีล กับสมาทานศีล ต่างกันยังไงค่ะ

-ไม่ต่างกัน

ต่างกันครับ อาราธนาศีล คือคำขอให้พระสงฆ์ให้ศีลแกเราครับ ส่วนการสมาทานคือการกล่าว
ยอมรับศีลและจะไม่ล่วงละเมิดครับ
กรัชกาย เขียน:
gingglebell เขียน:
เวลาที่เราจะไปปฏิบัติธรรม อาราธนาศีล กับสมาทานศีล จำเป็นไหมค่ะ ขอบคุณค่ะ

-หากปฏิบัติธรรมที่วัด โดยมากจะสมาทานก่อน แต่ถ้าเราปฏิธรรมดังว่าที่บ้าน เราก็ตั้งใจงดเว้นตามศีลข้อนั้นๆเองได้

อันที่จริงแล้ว อุโบสถศีล เป็นศีลหนึ่งในศีลพรหมจรรย์ของอนาคามี
อนาคามี มีความหมายอีกอย่างว่า ผู้สละเรือนครับ ดังนั้นอุโบสถศีลจึงไม่สามารถ
ปฏิบัติที่บ้านได้ครับ สภาวะแวดล้อมมันไม่อำนวยครับ

ใครจะรักษาศีลแปดที่บ้านก็ได้ครับ แต่มันไม่ใช่อุโบสถศีลอย่างที่
พระพุทธเจ้าทรงสอนครับ มันเข้าข่าย "ศีลพรตปรามาส"ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2012, 15:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีล ๘ กับ อุโบลถศีล มี ๘ ข้อเหมือนกัน ที่ต่างกัน คือ ..

ศีลอุโบสถ ..

- รักษาในวันพระ
- มีช่วงระยะเวลา เช่น ๑ วัน ๑ คืน เป็นต้น ฯลฯ

ศีล ๘ .. รักษาได้ไม่กำหนดระยะเวลา

อาราธนา .. ขอให้สงฆ์แสดง เช่น
- อาราธนาศีล ขอให้พระสงฆ์แสดงศีล ให้ฟังว่า มีอะไรบ้าง
- อาราธนาธรรม ขอให้พระสงฆ์แสดงธรรม เป็นต้น ..

สมาทาน ..
รับเอา ถือเอา ขอรับไปทำ รับไปปฏิบัติ เช่น
- สมาทานศีล ๘ ขอรับเอา ศีล ๘ ไปประพฤติ ปฏิบัติ เป็นต้น ..

- เวลาจะรักษาศีล ถ้าศรัทธายังอ่อน ก็ให้อาราธนาศีล คือ
เอาพระสงฆ์เป็นพยาน เพื่อให้เกิดกำลังใจ

- ถ้าศรัทธาแก่กล้า เข้มแข็ง ก็ไม่ต้องอารธนา ใช้เจตนาวิรัต ตั้งสัจจะว่า
ตนจะรักษาศีลอุโบสถนี้ ให้ได้ในช่วงเวลา ๑ วัน ๑ คืน คือ เอาตนเป็นพยาน

การรักษาอุโบสถศีล รักษาได้ทั้งที่วัดและที่บ้าน ดังตัวอย่าง ..

.. ลำดับนั้น ท่านเศรษฐีกล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า แน่ะพ่อ จะเป็นอุโบสถกรรมไปทั้งหมดไม่ได้
เพราะไม่ได้อธิษฐานแต่เช้า แต่ก็เป็นเพียงกึ่งอุโบสถกรรมเท่านั้น ..

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เพียงเท่านี้ก็ช่างเถอะ ได้สมาทานศีลในสำนักของท่านเศรษฐี
อธิษฐานอุโบสถแล้วเข้าที่อยู่ของตน นอนนึกถึงศีลอยู่ ...


http://www.84000.org/tipitaka/attha/jataka.php?i=271155

ว่าด้วยผลแห่งการรักษาอุโบสถศีลครั้งเดียว
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 306&Z=4339

rolleyes rolleyes :b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2012, 02:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
ศีล ๘ กับ อุโบลถศีล มี ๘ ข้อเหมือนกัน ที่ต่างกัน คือ ..

ศีลอุโบสถ ..
- รักษาในวันพระ
- มีช่วงระยะเวลา เช่น ๑ วัน ๑ คืน เป็นต้น ฯลฯ

ศีลอุโบสถปฏิบัติได้สามลักษณะคังนี้....
๑. ปกติอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันเฉพาะวันที่กำหนดไว้ ในปัจจุบันนี้กำหนดเอาวันพระ
๒. ปฏิชาครอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันครั้งละ ๓ วัน
๓. ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันเป็นประจำทุกวันตลอดพรรษา ๓ เดือนอย่าง หนึ่ง
ถ้าไม่อาจรักษาได้ตลอด ๓ เดือน ก็รักษาให้ตลอด ๑ เดือน หลังจากออกพรรษาแล้ว
คือรักษาใน กฐินกาล

ในพระสูตรพระพุทธองค์ทรงชี้แนะให้เห็นว่า การถือศีลในวันพระวันเดียว มิได้เป็นไป
เพื่อการหลุดพ้น ดังนั้นควรปฏิบัติอุโบสถศีลให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป

พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสสอนนางวิสาขา เรื่องการถืออุโบสถศีลในวันพระไว้ว่า
พระองค์ไม่ได้ทรงสอนให้หลงไหลในสมบัติ และความสุขในโลกสวรรค์
พระองค์เปรียบการถืออุโบสถศีลเพียงวันเดียวว่า เหมือนคนรับเลี้ยงโค

ดังนั้นจึงควรปฏิบัติในอุโบสถศีลให้ได้อย่างพระอริยะ นั้นคืออริยอุโบสถ

อุโบสถมีสามอย่างคือ.....
๑. โคปาลกอุโบสถ อุโบสถที่เปรียบเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค
๒. นิคัณฐอุโบสถ อุโบสถของพวกนักบวชนิครนถ์
๓. อริยอุโบสถ อุโบสถของพระอริยะ

ดูพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะนางวิสาขาได้ที่.......

อุโปสถสูตร อํ ติกนิบาต ข้อ ๕๑๐
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=5421&Z=5666


แก้ไขล่าสุดโดย โฮฮับ เมื่อ 13 พ.ย. 2012, 04:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2012, 03:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
ศีล ๘ .. รักษาได้ไม่กำหนดระยะเวลา

ในตัวของศีล๘ไม่ได้มีความแตกต่าง ที่ต่างกันมันอยู่ที่สถานะของผู้รักษาศีล
นั้นคือ ผู้ครองเรือน(คฤหัส)กับผู้ที่สละเรือน(นักบวช)

ศีล๘ไม่ได้แตกต่าง แต่เป็นความเหมือน ทั้งคฤหัสและนักบวช
เหมือนกันตรงที่รักษาศีลแปด

ผู้ครองเรือนหรือคฤหัส ถ้ารักษาศีลแปด เรียกการกระทำนั้นว่า...อุโบสถศีล
ผู้สละเรือนหรือนักบวช ต้องรักษาศีล๘ เรียกการกระทำนั้นว่า...พระวินัย

วิริยะ เขียน:
สมาทาน ..
รับเอา ถือเอา ขอรับไปทำ รับไปปฏิบัติ เช่น
- สมาทานศีล ๘ ขอรับเอา ศีล ๘ ไปประพฤติ ปฏิบัติ เป็นต้น ..
- เวลาจะรักษาศีล ถ้าศรัทธายังอ่อน ก็ให้อาราธนาศีล คือ
เอาพระสงฆ์เป็นพยาน เพื่อให้เกิดกำลังใจ
- ถ้าศรัทธาแก่กล้า เข้มแข็ง ก็ไม่ต้องอารธนา ใช้เจตนาวิรัต ตั้งสัจจะว่า
ตนจะรักษาศีลอุโบสถนี้ ให้ได้ในช่วงเวลา ๑ วัน ๑ คืน คือ เอาตนเป็นพยาน

คุณไม่เข้าใจเรื่อง วิรัติ๓ เลยทำให้สับสนครับ พูดแบบจับต้นชนปลายไม่ถูก
ต้องทำความเข้าใจเรื่องวิรัติ๓ให้ดีเสียก่อน เพราะคุณกำลังใช้บัญญัติผิดกาลเทศะ

เจตนาวิรัติ เป็นหนื่งในวิรัติ๓ เรียกว่า สมาทานวิรัติ
ความหมายของสมาทานวิรัติคือ....เว้นด้วยการสมาทาน คือ ตนได้ตั้งเจตนาไว้ก่อน
โดยได้รับศีล คือ สมาทานสิกขาบทไว้แล้ว ก็งดเว้นตามที่ได้สมาทานนั้น

ดังนั้นเจตนาวิรัติที่คุณกล่าวถึง มันมีความหมาย ต้องผ่านการอาราธนาศีล
และสมาทานแล้ว รับศีลที่พระให้เอามาเป็นเจตนา เรียกให้ตรงตัวก็คือ....
เจตนาในสมาทานวิรัติ


ผู้ครองเรือนรักษาศีลแปดชั้วครั้งชั่วคราว เมื่อหมดระยะเวลาที่ตัวเองสมาทานศีลแปดไว้
ก็กลับไปถือศีลห้า เจตนาในสมาทานวิรัติของศีลแปดก็หมดไปด้วย เจตนานั้นกลับกลายเป็น
ศีลห้า ถ้าจะมารักษาศีลแปดใหม่ จีงต้องสมาทานศีลแปดเพื่อตั้งเจตนาใหม่

มันไม่ได้เกี่ยวกับศรัทธาอ่อนแข็งตามที่คุณบอก
ศรัทธาอ่อนแข็ง มันเกี่ยวกับการให้สมาทานแล้ว
ต้องทำในสิ่งที่สมาทานให้ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2012, 04:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
การรักษาอุโบสถศีล รักษาได้ทั้งที่วัดและที่บ้าน ดังตัวอย่าง ..

.. ลำดับนั้น ท่านเศรษฐีกล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า แน่ะพ่อ จะเป็นอุโบสถกรรมไปทั้งหมดไม่ได้
เพราะไม่ได้อธิษฐานแต่เช้า แต่ก็เป็นเพียงกึ่งอุโบสถกรรมเท่านั้น ..

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เพียงเท่านี้ก็ช่างเถอะ ได้สมาทานศีลในสำนักของท่านเศรษฐี
อธิษฐานอุโบสถแล้วเข้าที่อยู่ของตน นอนนึกถึงศีลอยู่ ...[/color]

ว่าด้วยผลแห่งการรักษาอุโบสถศีลครั้งเดียว
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 306&Z=4339

rolleyes rolleyes :b1:

วัดในที่นี้หมายถึงที่สัปปายะ และอยากทราบครับ
ในสมัยพระโพธิสัตว์ จะมีวัดจะมีคำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างไร
จะยกตัวอย่างต้องทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อนครับ ศีลอุโบสถที่กำลังกล่าวถึง
เป็นศีลที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ไม่ใช่พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ยังไม่ตรัสรู้เป็น
พระพุทธเจ้า ดังนั้นคำบอกกล่าวของท่านยังไม่ใช่เพื่อความหลุดพ้น คำสอนของ
พระพุทธเจ้าเท่านั้นเป็นคำสอนเพื่อความหลุดพ้น

ผมจะอธิบาย พระสูตรที่คุณเอามาอ้างให้เข้าใจนะครับ
พระสูตรนั้นเป็นการบอกกล่าวเล่าเรื่องนั้นอดีตชาติของ ท่านพระเอกุโปสถิกาภิกษุณี
ท่านบอกว่าเคยรักษาอุโบสถศีลครั้งหนื่ง ทำให้ท่านไปเกิดบนสวรรค์ เป็นมเหสีพระอินทร์
พระจักรรดิ

ที่บอกมาเป็นเรื่องของผลบุญกรรมดี มันไม่ใช่การพ้นทุกข์หรือหลุดพ้นอย่างที่พระพุทธเจ้าสอน
แต่เมื่อชาติปัจจุบัน ก่อนที่ท่านเอกุโปสถิกาภิกษุณีจะบรรลุอรหันต์ เป็นเพราะท่านได้เข้ามาบวช
เป็นบรรพชิต เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าแล้ว นับเป็นการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
และที่สำเร็จเร็วเป็นเพราะจิตที่เป็นกุศลอันเป็นกรรมที่ทำมาของอดีตชาติ


ถ้าท่านเอกุโปสถิกาภิกษุณี ยังปฏิบัติแบบเดิมของท่าน
ก็คงไม่บรรลุอรหันต์ ท่านก็คงยังเวียนว่าย ดีหน่อยตรงไม่มีทุคติ
สรุปก็คือ ที่ท่านบรรลุอรหันต์ไม่เกี่ยวกับอุโบสถศีลครั้งเดียว
แต่ที่บรรลุอรหันต์เพราะปฏิบัติอุโบสถศีลตามแนวทางของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ปฏิบัติอุโบสถศีลแบบ....
อริยอุโบสถ
ไม่ใช่แบบ อดีตชาติของพระเอกุโปสถิกาภิกษุณื
เพราะมันเป็น...โคปาลกอุโบสถ อุโบสถที่เปรียบเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค


พระพุทธเจ้าทรงแนะนำนางวิสาขาว่า อุโบสถศีลแบบคนรับจ้างเลี้ยงโค
มันไม่ได้เป็นคนทางหลุดพ้น ต้องเป็นอุโบสถศีลแบบ ...อริยอุโบสถเท่านั้น
การถืออุโบสถเพียงครั้งเดียวก็เป็นลักษณะ ..โคปาลอุโบสถเช่นกัน
มันไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น


แก้ไขล่าสุดโดย โฮฮับ เมื่อ 14 พ.ย. 2012, 01:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2012, 08:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
คุณไม่เข้าใจเรื่อง วิรัติ๓ เลยทำให้สับสนครับ พูดแบบจับต้นชนปลายไม่ถูก
ต้องทำความเข้าใจเรื่องวิรัติ๓ให้ดีเสียก่อน เพราะคุณกำลังใช้บัญญัติผิดกาลเทศะ

เจตนาวิรัติ เป็นหนื่งในวิรัติ๓ เรียกว่า สมาทานวิรัติ
ความหมายของสมาทานวิรัติคือ....เว้นด้วยการสมาทาน คือ ตนได้ตั้งเจตนาไว้ก่อน
โดยได้รับศีล คือ สมาทานสิกขาบทไว้แล้ว ก็งดเว้นตามที่ได้สมาทานนั้น

สมาทานศีลมีกี่อย่างค่ะ เห็นบางท่านบอก ๓ บางท่านบอก ๔ มีรายละเอียดอย่างไรค่ะ
ขอบคุณคะ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร