วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 05:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 72 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2012, 06:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


จิตเดิมแท้ประภัสสร

จิตเดิม ถูกอธิบาย.... เอาไว้แล้ว

ถูกจัดให้อยู่ใน ภวังคจิต ซึ่งเป็นวิบากจิตชนิดหนึ่ง และเป็นจิต


อธิบายอีกที ก็คือ วิบากจิต มีหลายชนิด

เช่น
ทวิปัญจวิญญาณจิต
ปฏิสนธิจิต
จุติจิต
ภวังคจิต ................................... ถูกระบุว่า คือ จิตเดิมแท้ประภัสสร
และจิตอื่นๆ อีก

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2012, 06:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


( ๑. อุเปกฺขาสหคตํ อกุศลวิปากํ จกฺขุวิญฺญาณํ จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล เห็นรูปที่ไม่ดี
๒. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ จกฺขุวิญฺญาณํ จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล เห็นรูปที่ดี
๓. อุเปกขาสหคตํ อกุศลวิปากํ โสตวิญฺญาณํ จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล ได้ยินเสียงที่ไม่ดี
๔. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ โสตวิญฺญาณํ จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล ได้ยินเสียงที่ดี
๕. อุเปกขาสหคตํ อกุศลวิปากํ ฆานวิญฺญาณํ จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล ได้กลิ่นที่ไม่ดี
๖. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ ฆานวิญฺญาณํ จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล ได้กลิ่นที่ดี
๗. อุเปกขาสหคตํ อกุศลวิปากํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศล ได้รสที่ไม่ดี
๘. อุเปกฺขาสหคตํ กุสลวิปากํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศล ได้รสที่ดี
๙. ทุกฺขสหคตํ อกุศลวิปากํ กายวิญฺญาณํ จิตเกิดพร้อมด้วยทุกขเวทนา เป็นผลของอกุศล กายถูกต้องสิ่งที่ไม่ดี
๑0. สุขสหคตํ กุสลวิปากํ กายวิญฺญาณํ จิตเกิดพร้อมด้วยสุขเวทนา เป็นผลของกุศล กายได้สัมผัสถูกต้องสิ่งที่ดี )
จักขุวิญญาณจิต ๒ ดวง โสตวิญญาณจิต ๒ ดวง ฆานวิญญาณจิต ๒ ดวง ชิวหาวิญญาณจิต ๒ ดวง และ
กายวิญญาณจิต ๒ ดวง รวมจิต ๑0 ดวงนี้เรียกว่า ทวิปัญจวิญญาณ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2012, 06:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
จำแนกจิตทั้ง ๘๙ โดยชาติเภท

คาถาสังคหะ ๑๑ แสดงว่า
๑๑. ทฺวาทสากุสลาเนวํ กุสลาเนกวีสติ
ฉตฺตีเสว วิปากานิ กฺริยาจิตฺตานิ วีสติ ฯ

แปลความว่า อกุศล ๑๒ กุศล ๒๑ วิบาก ๓๖ กิริยา ๒0 อย่างนี้


หมายความว่า จิตทั้งหมดซึ่งมีจำนวนโดยย่อ ๘๙ ดวงนั้น เมื่อจำแนกโดยชาติเภทนัยแล้ว ก็มี ๔ ชาติ คือ
ชาติอกุศล ชาติกุศล ชาติวิบาก และชาติกิริยา

ชาติอกุศล ได้แก่จิต ๑๒ ดวง ล้วนแต่เป็นจิตที่เป็นโทษ และให้ผลเป็นทุกข์ คือ

อกุศลจิต ๑๒ ดวง

ชาติกุศล ได้แก่จิต ๒๑ ดวง ล้วนแต่เป็นจิตที่ปราศจากโทษและให้ผลเป็นสุข คือ

มหากุศลจิต ๘ ดวง
มหัคคตกุศลจิต ๙ ดวง
โลกุตตรกุศลจิต ๔ ดวง

ชาติวิบาก ได้แก่จิต ๓๖ ดวง ล้วนแต่เป็นจิตที่เป็นผลบาปและผลของบุญ คือ

อกุศลวิบาก ๗ ดวง
อเหตุกกุศลวิบาก ๘ ดวง
มหาวิบาก ๘ ดวง
มหัคคตวิบาก ๙ ดวง
โลกุตตรวิบาก ๔ ดวง

ชาติกิริยา ได้แก่จิต ๒0 ดวง ล้วนแต่เป็นจิตที่ไม่เป็นบุญและไม่เป็นบาป ทั้งไม่ใช่ผลของบาปหรือผล
ของบุญด้วย เป็นจิตที่สักแต่ว่ากระทำเท่านั้นเอง คือ

อเหตุกกิริยา ๓ ดวง
มหากิริยา ๘ ดวง
มหัคคตกิริยา ๙ ดวง

ชาติวิบากและชาติกิริยานี้รวมเรียกว่า ชาติอพยากตะ หมายแต่เพียงว่าชาติของจิตเหล่านั้นไม่ใช่กุศลและไม่ใช่อกุศล ด้วยทั้ง ๒ อย่าง

นี่ปริจเฉทที่ ๑ ( ชื่อ จิตตสังคหวิภาค ) ในปกรณ์อันรวบรวมซึ่งอรรถแห่งพระอภิธรรม ที่พระอนุรุทธาจารย์
รจนาไว้

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2012, 07:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เรามักจะเคยได้ยินกันบ่อยๆ อัพยากตะธรรม

ไปตามงานศพ ก็ได้ยิน พระสวด อัพยากตาธัมมา

คงจะมีต้นเค้ามาจาก เรื่อง ชาติของจิต นี่เอง

อาจพูดรวบๆ ได้เป็น 3 ประเภท คือ กุศล อกุศล และ อัพพยากตะ

โดยที่ อัพยากตะ ก็คือ รวมวิบากจิต และกิริยาจิต .......เข้าไว้ด้วยกัน

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2012, 07:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
วิบากจิตมีหน้าที่เป็นวิบาก ผลของกุสลและอกุสล โดย

๑. ทำหน้าที่ปฏิสนธิ

๒. เป็นภวังค เป็นองค์แห่งภพรักษาภพชาติ

๓. ทำหน้าที่เป็น ตทาลัมพนะ

๔. ทำหน้าที่จุติจากภพชาติ

มหาวิบากจิต ได้สั่งสมผลของกรรมดีกรรมชั่วที่ได้กระทำไว้เพื่อสืบต่อให้ผลต่อไป เหมือนเมล็ดพืชซึ่งสั่งสมชีวภาวะไว้ในเมล็ด เมื่อนำเม็ดไปเพาะในสภาพแวดล้อมที่พอดี (เหตุและปัจจัยพร้อม) สมบูรณ์แล้ว เมล็ดพืชนั้นก็จะงอกงามออกมาเป็นต้น พืชแต่ละชนิด เช่น เมล็ดมะม่วงก็จะงอกเงยเป็นต้นมะม่วง เป็นต้น ในขณะที่เมล็ดยังไม่งอกออกนั้น ต้นก็อยู่ในเมล็ดเหมือน วิบาก ที่ทำไว้เมื่อเหตุปัจจัยยังไม่พร้อมก็จะรออยู่ เพื่อให้ผลเมื่อเหตุและปัจจัยพร้อม

วิบากจิต จะทำหน้าที่กักเก็บ สิ่งที่เป็นกุสลหรืออกุสลไว้ ๗ อย่างดังนี้

๑. วิปากกิจ ทำหน้าที่เป็นผลของกรรมแต่ปางก่อน (ปฏิสนธิ, ภวังค, ตทาลัมพนะ, จุติ)

๒. อาเสวนกิจ ทำหน้าที่อาเสวนะ คือเสพบ่อย ๆ

๓. อุปนิสสยกิจ ทำหน้าที่เป็นอุปนิสสัย คือความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นในสันดาน

๔. วาสนกิจ ทำหน้าที่เป็นวาสนา (กิเลสละได้แต่วาสนาละได้ยาก แม้พระสารีบุตรก็ยังละวาสนาไม่ได้ มีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้นที่ละได้ทั้งกิเลสและวาสนา วาสนาเปรียบเทียบได้เหมือนกลิ่นน้ำปลาที่ติดอยู่ในไหใส่น้ำปลา แม้จะเทน้ำปลาในไหออกแล้ว กลิ่นน้ำปลาก็ยังติดอยู่ในไหล้างไม่ออก น้ำปลาสมมติเป็นกิเลส กลิ่นที่ติดไหสมมติเป็นวาสนา)

๕. อนุสยกิจ ทำหน้าที่เป็นอนุสัยนอนเนื่องในขันธสันดาน (กิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดาน) มี ๗ คือ

๑) กามราคะ ความกำหนัดในกาม

๒) ปฏิฆะ ความหงุดหงิด

๓) ทิฏฐิ ความเห็นผิด

๔) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

๕) มานะ ความถือตัว

๖) ภวราคะ ความกำหนัดในภพ

๗) อวิชา ความไม่รู้จริง



๖. จริตกิจ ทำหน้าที่เป็นจริตพื้นนิสัย มี ๖ คือ

๑) ราคจริต หนักไปทางรักสวยรักงามมักติดใจ น้ำเลี้ยงหัวใจมีสีแดง

๒) โทสจริต หนักไปทางใจร้อนหงุดหงิด น้ำเลี้ยงหัวใจสีดำ

๓) โมหจริต หนักไปทางเหงา ซึม งมงาย น้ำเลี้ยงหัวใจสีหม่นเหมือนน้ำล้างเนื้อ

๔) สัทธาจริต หนักไปทางโน้มใจเชื่อ น้ำเลี้ยงหัวใจสีเหลืองอ่อน คล้ายสีดอกกัณณิกา

๕) วิตกจริต หนักไปทางคิดจับจด ฟุ้งซ่าน น้ำเลี้ยงหัวใจสีเหมือนน้ำเยื่อถั่วพู

๖) พุทธิจริต หนักไปทางคิด พิจารณา น้ำเลี้ยงหัวใจสีขาวเหมือนสีแก้วเจียรนัย

๗. บารมีกิจ ทำหน้าที่เป็นบารมี (คุณความดีที่ได้บำเพ็ญมา คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่)


หน้าที่ของ วิบากจิต

สรุป ก็คือ ทำหน้า เป็นวิบาก และ กักเก็บ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2012, 10:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
อ้างคำพูด:
จิตก็คือ.....วิญญาณตัวรู้รูป


ความเข้าใจที่ถูกต้องคือ จิตทำหน้าที่รู้อารมณ์ 6 ประการครับ ไม่ใช่รู้เฉพาะรูป อย่างเดียว
อ้างคำพูด:
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเรื่องจิตรู้อารมณ์ที่ปรากฏทางทวารต่าง ๆ เพื่อให้เราพ้นจากความมืดบอด เมื่อได้ศึกษาพระธรรมแล้วก็รู้ว่า อารมณ์ทั้งหมดที่จิตรู้ได้มี 6 อารมณ์
อารมณ์ที่หนึ่ง คือ สิ่งที่ปรากฏทางตา หรือ รูปารมณ์ ซึ่งรู้ได้ ทางตา เท่านั้น เราอาจเรียกว่า สิ่งที่เห็นทางตา หรือ สี เราอาจเรียกอารมณ์ว่าอะไรก็ได้ แต่สิ่งที่ต้องรู้คือว่า เป็นสภาพธรรม ที่ปรากฏทางตา เท่านั้น สิ่งที่ปรากฏทางตาไม่ใช่วัตถุสิ่งของหรือบุคคลดังที่เราคิด เมื่อเราคิดว่าสิ่งที่เห็นเป็นต้นไม้ เป็นสัตว์ หรือเป็นคน เราคิดถึงบัญญัติของสิ่งที่เห็น แต่ไม่ใช่การรู้สิ่งที่ปรากฏทางตา
อารมณ์ที่สอง คือ เสียง หรือ สัททารมณ์
อารมณ์ที่สาม คือ กลิ่น หรือ คันธารมณ์
อารมณ์ที่สี่ คือ รส หรือ รสารมณ์
อารมณ์ที่ห้า คือ อารมณ์ ที่สามารถรู้ได้ ทางกาย หรือ โผฏฐัพพารมณ์ อารมณ์นี้ได้แก่:
สภาพแข็ง หรือ ธาตุดิน (ภาษาบาลีเรียกว่า ปถวีธาตุ) ซึ่งปรากฏลักษณะ แข็ง หรือ อ่อน ให้รู้ได้
อุตุ หรือ ธาตุไฟ (ภาษาบาลีเรียกว่า เตโชธาตุ ) ซึ่งปรากฏลักษณะ ร้อน หรือ เย็น ให้รู้ได้
สภาพไหว หรือ ธาตุลม (ภาษาบาลีเรียกว่า วาโยธาตุ ) ซึ่งปรากฏลักษณะ ไหว หรือ ตึง ให้รู้ได้
สภาพแข็ง (ดิน) สภาพเกาะกุม (นํ้า) อุตุ (ไฟ) สภาพไหว (ลม) เป็นรูปที่เป็นใหญ่เป็นประธาน 4 รูป (มหาภูตรูป)
สภาพเกาะกุม (ภาษาบาลีเรียกว่า อาโปธาตุ) นั้นไม่สามารถรู้ได้ทางกายทวาร เมื่อกระทบนํ้า สภาพแข็งหรืออ่อน ร้อนหรือเย็น ไหวหรือตึง สามารถรู้ได้ทางกายทวาร สภาพเกาะกุม สามารถรู้ได้ ทางมโนทวาร เท่านั้น
ลักษณะของธาตุนํ้าจึงเป็นอารมณ์ประเภทที่ 6 คือ ธัมมารมณ์
ธัมมารมณ์ ได้แก่ อารมณ์ทั้งหมดที่ไม่ใช่อารมณ์ 5 ธัมมารมณ์ สามารถรู้ได้ ทางมโนทวารเท่านั้น

อ้างคำพูด:
ธัมมารมณ์ซึ่งเป็นอารมณ์ที่ 6 นั้นมี 6 ประการ คือ
1. ปสาทรูป 5
2. สุขุมรูป 16
3. จิต
4. เจตสิก
5. นิพพาน
6. บัญญัติ
เจริญในธรรมครับ


คุณโกวิทครับ ผมหนักย้ำหนาว่า แยกธรรมแยกประเด็นให้ดีซะก่อน
เราเริ่มต้นการสนทนาด้วยประเด็นของรูปปรมัตถ์และสมุฐานสี่
ผมไม่รู้ว่าคุณเข้าใจ ประเด็นที่เราคุยกันหรือเปล่า ทำไมยิ่งคุย
คุณยิ่งขยายความออกไปจากประเด็นที่สนทนาครับ

รูปปรมัตถ์คุณเข้าใจว่าอะไรครับ ผมว่าคุณกำลังสับสนนะครับ
รูปในที่นี้หมาย.......กายของเราครับ
กายของเราประกอบด้วย รูป28 แบ่งเป็นมหาภูติรูป4 และอุปาทายรูป24

ที่คุณบอกว่า จิตสามารถรู้อารมณ์หกประการ คุณกำลังสับสนอย่างมากครับ
การรู้อารมณ์ที่คุณบอก มันเป็นคนละเรื่อง
อารมณ์ที่บอกมันเป็นเหตุมาจากอายตนะภายนอก
ไม่ใช่รูปปรมัตถ์หรือรูป28ที่เราคุยกัน


สนทนาธรรมเอาให้จบเป็นเรื่องๆ อย่าพยายามขยายความให้ใกล้ประเด็น
ไม่งั้นคุณจะสับสนเองครับ เอางี้นะครับ ตั้งสติดีๆให้สติอยู่ที่กายใจของตน
แล้วใช้จิตตัวเองมองรู้ไปที่กาย แล้วก็เอารูป28มาเปรียบเทียบกับกายตนเอง
ก็จะรู้ว่ากายของเรามีรูป28อยู่

คำพูดของผมที่ว่า"วิญญาณไปรู้รูป" มันไม่ได้หมายถึง การเอาตาของเราไปดูรูปภายนอก

แต่มันหมายถึงจิตหรือวิญญาณ ไปรู้รูป28หรือรู้กายของเรา
และอยากจะบอกให้อีกอย่างว่า ........ถึงแม้มันจะเป็นการรับรู้อารมณ์หกประการที่คุณบอก
เขาก็เรียกว่า.....วิญญาณไปรู้รูป
เพราะว่า .....การจะเกิดอารมณ์ที่รับจากอายตนะภายนอกได้นั้น
มันจะต้องเกิดการกระทบกับ ปสาทรูป5และหทยรูปอีกหนึ่ง
เมื่อกระทบแล้ว มันจึงจะเกิดวิญาณไปรู้ตัวปสาทรูปนั้นๆ
อย่างเช่นกระทบที่"จักขุปสาทรูป" ก็จะเกิดวิญญาณรู้ ที่เรียกว่า"จักขุวิญญาณ"
หรือกระทบที่"โสตปสาทรูป" วิญญาณรู้ก็เรียกว่า "โสตวิญญาณ"

แบบนี้เรียกว่า.....วิญญาณไปรู้รูป
รูปที่ว่า ไม่ได้หมายถึงการเอาตาไปมอง แต่หมายถึงความรู้สึก
ที่เกิดขึ้นที่ณ. ปสาทรูปทั้งหลายในกายใจเราครับ


และที่อธิบายไปนี้ ถ้าคุณลองเอาไปเทียบเคียงกับปฏิจฯ
คุณก็จะรู้ว่า วิญญาณหรือจิตอย่างเดียวถ้าปราศจากรูป
มันจะเป็นวิบากไม่ได้ มันเป็นได้แต่กรรม

จิตจะเป็นวิบากได้ต้องมีรูปร่วมด้วย เพราะวิบากจิตเกิดจาก
กิเลสภายนอกที่ผ่านมาทางรูปหรือทวารทั้งหก

พระอรหันต์จิตของท่านไม่ใช่วิบากจิต เป็นกิริยาจิต
เพราะอะไร ก็เพราะจิตของท่านปราศจากกิเลสแล้ว
ถึงแม้ท่านยังมีทวารอยู่ก็ตาม

ลองเอาจิตพระอรหันต์กับจิตปุถุชนที่มีวิบากไปเทียบเคียงกันดู


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2012, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
จิตเดิมแท้ประภัสสร
จิตเดิม ถูกอธิบาย.... เอาไว้แล้ว
ถูกจัดให้อยู่ใน ภวังคจิต ซึ่งเป็นวิบากจิตชนิดหนึ่ง และเป็นจิต
อธิบายอีกที ก็คือ วิบากจิต มีหลายชนิด

เช่น
ทวิปัญจวิญญาณจิต
ปฏิสนธิจิต
จุติจิต
ภวังคจิต ................................... ถูกระบุว่า คือ จิตเดิมแท้ประภัสสร
และจิตอื่นๆ อีก

ใครเป็นคนระบุครับ พระพุทธเจ้าไม่ได้ระบุตายตัวนี่ครับ
ที่บรรดาอาจารย์ท่านระบุแบบนี้ มันต้องดูว่าท่านกำลังกล่าวถึงจิตในลักษณะไหนครับ
มีอะไรเป็นเหตุปัจจัย ที่ว่าจิตเดิมเป็นจิตที่มีสาเหตุมาอย่างไร

ภวังคจิตเป็นจิตที่รักษาภพเอาไว้ ในขณะที่ทวารทั้งหกไม่ทำงาน
นั้นแสดงว่า รูปกับนามยังอยู่ครบ จิตที่รักษาภพยังยึดมั่นในรูปของตนอยู่
จิตย่อมต้องเป็นวิบากของจิตดวงสุดท้ายก่อนที่จะหลับนะซิครับ

ส่วนจิตเดิมที่ผมกล่าวมันเป็นจิตหรือวิญญาณในปฏิจฯ มันเป็นจิตก่อนที่จะมีรูป
ที่เรียกมันว่าจิตเดิมประภัสสร เพราะมันยังไม่มีรูปหรือทวารทั้งหกไปรับกิเลสครับ

เอาแค่นี้ก่อน ส่วนความเห็นอื่นเอาไว้ก่อน
เพราะคุณไปไกลนอกประเด็นแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2012, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
ธัมมารมณ์ซึ่งเป็นอารมณ์ที่ 6 นั้นมี 6 ประการ คือ
1. ปสาทรูป 5
2. สุขุมรูป 16
3. จิต
4. เจตสิก
5. นิพพาน
6. บัญญัติ


จิตรู้ ธัมมารมณ์ ซึ่งธัมมารมณ์นี้คือ ปสาทรูป 5
จิตรู้ ธัมมารมณ์ ซึ่งธัมมารมณ์นี้คือ สุขุมรูป 16
จิตรู้ ธัมมารมณ์ ซึ่งธัมมารมณ์นี้คือ จิต
จิตรู้ ธัมมารมณ์ ซึ่งธัมมารมณ์นี้คือ เจตสิก
จิตรู้ ธัมมารมณ์ ซึ่งธัมมารมณ์นี้คือ นิพพาน
จิตรู้ ธัมมารมณ์ ซึ่งธัมมารมณ์นี้คือ บัญญัติ

สรุปก็คือ จิตรู้รูป ก็ได้ จิตรู้นามก็ได้ จิตรู้บัญญัติ ก็ได้

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2012, 02:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
อ้างคำพูด:
ธัมมารมณ์ซึ่งเป็นอารมณ์ที่ 6 นั้นมี 6 ประการ คือ
1. ปสาทรูป 5
2. สุขุมรูป 16
3. จิต
4. เจตสิก
5. นิพพาน
6. บัญญัติ


จิตรู้ ธัมมารมณ์ ซึ่งธัมมารมณ์นี้คือ ปสาทรูป 5
จิตรู้ ธัมมารมณ์ ซึ่งธัมมารมณ์นี้คือ สุขุมรูป 16
จิตรู้ ธัมมารมณ์ ซึ่งธัมมารมณ์นี้คือ จิต
จิตรู้ ธัมมารมณ์ ซึ่งธัมมารมณ์นี้คือ เจตสิก
จิตรู้ ธัมมารมณ์ ซึ่งธัมมารมณ์นี้คือ นิพพาน
จิตรู้ ธัมมารมณ์ ซึ่งธัมมารมณ์นี้คือ บัญญัติ

สรุปก็คือ จิตรู้รูป ก็ได้ จิตรู้นามก็ได้ จิตรู้บัญญัติ ก็ได้

ธัมมารมณ์ต้องผ่านทาง....มโนทวาร
มโนทวารเป็นรูปเรียกว่า.........หทยรูป
จิตต้องอาศัยรู้หทยรูปหรือรู้รูปเสียก่อน จึงจะรู้ธัมมารมณ์ได้

ด้วยสติปัสฐานเราจะรู้ได้ว่า นามเกิดจากรูป ก็คือเกิดที่ทวารทั้งหก
จิตหรือนามเกิดแล้วก็ดับ แต่ตัวที่ยังปรุงแต่งก็คือ ....หทยรูป
ถ้าจะกล่าวถึงจิตอย่างเดียว จะต้องกล่าวแต่ในแง่ของ.... ธรรมนิยาม
นั้นก็คือจิต เกิดแล้วก็ดับ ไม่เที่ยงไม่แน่นอน ดังนั้นจะกล่าว จิตเกิดจากกรรมไม่ได้
เพราะกรรมคือเจตนา เจตนาก็คือจิต ดังนั้นจิตก็คือกรรม
เมื่อเกิดเจตนาหรือกรรมใดขึ้นที่จิต มันจะส่งผลเป็นวิบากขึ้นที่...รูปหรือกาย

เรื่องกรรมเราต้องไปดูในเรื่องกรรมนิยาม ผู้ก่อกรรมหรือเจตนาก็คือจิต
ผลแห่งกรรมหรือวิบากก็คือ รูปหรือกาย

ดังนั้น จิตหรือวิญญาณไม่ได้เกิดเพราะกรรม และจิตก็ไม่ได้เป็นวิบาก
ที่เรียกว่า จิตวิบากก็เพราะ......จิตเป็นตัวเจตนาก่อกรรมวิบาก

ถ้าจะกล่าวในแง่สมุฐานสี่.....จิตเกิดจากจิต ไม่ได้เกิดจากกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2012, 04:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
โฮฮับ
พระอรหันต์จิตของท่านไม่ใช่วิบากจิต เป็นกิริยาจิต
เพราะอะไร ก็เพราะจิตของท่านปราศจากกิเลสแล้ว
ถึงแม้ท่านยังมีทวารอยู่ก็ตาม

ลองเอาจิตพระอรหันต์กับจิตปุถุชนที่มีวิบากไปเทียบเคียงกันดู



จิตปุถุชน มี 4 ชาติ คือ วิบากจิต กิริยาจิต กุศลจิต อกุศลจิต
จิตพระอรหันต์ มีแค่ 2 ชาติ คือ วิบากจิต และกิริยาจิต

ข้อที่น่าสังเกตุ คือ
พระอรหันต์ รับผลกรรมเก่าหรือผลกรรมใหม่ก็แล้วแต่ ผ่านทางวิบากจิต
พระอรหันต์ ไม่สร้างกรรมใหม่ เพราะไม่มี กุศลจิต และอกุศลจิต

การกระทำทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็น คิด พูด ทำ ไม่จัดว่าเป็นกรรม แต่จัดว่าเป็นกิริยา

.....................เหล่านี้คือ สิ่งที่ได้ยินมา ได้ศึกษามา ............. ผมไม่ได้พูดเองครับ


ขอยกตัวอย่างเรื่องการรับผลกรรมของพระอรหันต์ ดังต่อไปนี้

http://board.palungjit.com/f8/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2-53029.html

http://board.palungjit.com/f8/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%86%E0%B9%88%E0%B8%B2-95716.html

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2012, 12:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
อ้างคำพูด:
โฮฮับ
พระอรหันต์จิตของท่านไม่ใช่วิบากจิต เป็นกิริยาจิต
เพราะอะไร ก็เพราะจิตของท่านปราศจากกิเลสแล้ว
ถึงแม้ท่านยังมีทวารอยู่ก็ตาม
ลองเอาจิตพระอรหันต์กับจิตปุถุชนที่มีวิบากไปเทียบเคียงกันดู


จิตปุถุชน มี 4 ชาติ คือ วิบากจิต กิริยาจิต กุศลจิต อกุศลจิต
จิตพระอรหันต์ มีแค่ 2 ชาติ คือ วิบากจิต และกิริยาจิต

คุณโกวิทครับ คุณมีพระไตรปิฎกหรืออรรถกถาอะไร มาช่วยเสริมความเห็นของคุณที่ว่า
จิตพระอรหันต์ มีแค่.....วิบากจิตกับกิริยาจิตมั้ยครับ รบกวนเอามาโพสหน่อย

อยากให้คุณทำความเข้าใจกับคำว่า เจตนา(กรรม) .....วิบากจิตและมหากิริยาจิต
ดูแล้วค่อยมาตอบก็ได้ครับ
govit2552 เขียน:
ข้อที่น่าสังเกตุ คือ
พระอรหันต์ รับผลกรรมเก่าหรือผลกรรมใหม่ก็แล้วแต่ ผ่านทางวิบากจิต
พระอรหันต์ ไม่สร้างกรรมใหม่ เพราะไม่มี กุศลจิต และอกุศลจิต
การกระทำทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็น คิด พูด ทำ ไม่จัดว่าเป็นกรรม แต่จัดว่าเป็นกิริยา

ก็น่านนะซิครับ แล้วไอ้วิบากจิตของอรหันต์มันมาได้อย่างไรครับ
govit2552 เขียน:
.....................เหล่านี้คือ สิ่งที่ได้ยินมา ได้ศึกษามา ............. ผมไม่ได้พูดเองครับ
ขอยกตัวอย่างเรื่องการรับผลกรรมของพระอรหันต์ ดังต่อไปนี้

คุณโกวิทครับ อย่าโกรธนะครับถ้าผมจะบอกว่า คุณไม่มีสมาธิแยกแยะธรรมเลยครับ
เรากำลังคุยเรื่องปรมัตถ์ธรรม ในพระอภิธรรมกันอยู่ ไงคุณดันไปอ้างอิงเรื่องกฎแห่งกรรมล่ะครับ
เอาให้มันเป็นเรื่องๆซิครับ คุณไม่รู้หรือว่า เรื่องกฎแห่งกรรมกับพระอภิธรรมมันเข้ากันไม่ได้

ขอถามอีกหน่อย คุณศึกษาพระธรรมจากเว็บแบบนั้นหรือครับ
นี่ถึงขนาดเอามาอ้างอิงเลยนะครับ อย่าให้ผมพูดถึงเว็บนั้นเลยครับ
มันไม่ดีเดี๋ยวผิดกฎทางเว็บเขา :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2012, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
govit2552 เขียน:
ข้อที่น่าสังเกตุ คือ
พระอรหันต์ รับผลกรรมเก่าหรือผลกรรมใหม่ก็แล้วแต่ ผ่านทางวิบากจิต
พระอรหันต์ ไม่สร้างกรรมใหม่ เพราะไม่มี กุศลจิต และอกุศลจิต
การกระทำทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็น คิด พูด ทำ ไม่จัดว่าเป็นกรรม แต่จัดว่าเป็นกิริยา

ก็น่านนะซิครับ แล้วไอ้วิบากจิตของอรหันต์มันมาได้อย่างไรครับ


วิญญาณ5 เป็นวิบากจิต
ทั้งปุถุชน และ พระอรหันต์ มีวิญญาณ5

คำว่า วิญญาณ5 มาจากภาษาบาลีว่า ปัญจวิญญาณ

อ้างคำพูด:
ปัญจวิญญาณธาตุ

ปญฺจ ( ห้า ) + วิญฺญาณ ( สภาพที่รู้แจ้งอารมณ์ ) + ธาตุ ( สภาพที่ทรงไว้ , สภาพที่

ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน )

วิญญาณธาตุ ๕ หมายถึง สภาพที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน คือ จิต ซึ่งเป็นธาตุ

๕ อย่าง ได้แก่

๑. จักขุวิญญาณาตุ ( จักขุวิญญาณ ๒ ดวง )

๒. โสตวิญญาณาตุ ( โสตวิญญาณ ๒ ดวง )

๓. ฆานวิญญาณาตุ ( ฆานวิญญาณ ๒ ดวง )

๔. ชิวหาวิญญาณาตุ ( ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง )

๕. กายวิญญาณาตุ ( กายวิญญาณ ๒ ดวง )


วิญญาณ ทั้ง5 นี้แล เรียกว่า วิบากจิต

Quote Tipitaka:
[๓๓๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
จักขุวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นเพราะกามาวจร
กุศลกรรมอันได้กระทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา
จิต อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรม
ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
..........
[๓๕๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
โสตวิญญาณอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ฆานวิญญาณอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
กายวิญญาณอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยสุขเวทนา มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา จิต สุข เอกัคคตา มนินทรีย์ สุขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรม
ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... 023&Z=3128

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2012, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


กุศลจิต .............. จัดว่า กระทำกรรม
อกุศลจิต ............ จัดว่า กระทำกรรม
วิบากจิต ............. ไม่จัดว่า กระทำกรรม
กิริยาจิต .............. ไม่จัดว่า กระทำกรรม

พระอรหันต์ มีเฉพาะ วิบากจิต และ กิริยาจิต จึงไม่จัดว่า กระทำกรรม

คนธรรมดา ดู ด้วยตา ..............รับวิบากทางตา
พระอรหันต์ ก็ดู ด้วยตา..............รับวิบากทางตา

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2012, 03:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
วิญญาณ5 เป็นวิบากจิต
ทั้งปุถุชน และ พระอรหันต์ มีวิญญาณ5
คำว่า วิญญาณ5 มาจากภาษาบาลีว่า ปัญจวิญญาณ
อ้างคำพูด:
ปัญจวิญญาณธาตุ
ปญฺจ ( ห้า ) + วิญฺญาณ ( สภาพที่รู้แจ้งอารมณ์ ) + ธาตุ ( สภาพที่ทรงไว้ , สภาพที่
ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน )
วิญญาณธาตุ ๕ หมายถึง สภาพที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน คือ จิต ซึ่งเป็นธาตุ
๕ อย่าง ได้แก่
๑. จักขุวิญญาณาตุ ( จักขุวิญญาณ ๒ ดวง )
๒. โสตวิญญาณาตุ ( โสตวิญญาณ ๒ ดวง )
๓. ฆานวิญญาณาตุ ( ฆานวิญญาณ ๒ ดวง )
๔. ชิวหาวิญญาณาตุ ( ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง )
๕. กายวิญญาณาตุ ( กายวิญญาณ ๒ ดวง )

วิญญาณ ทั้ง5 นี้แล เรียกว่า วิบากจิต

สิ่งที่คุณอ้างอิง มันเป็นเรื่อ'ของปุถุชนครับ มันไม่ใช่ "มหากิริยาจิต"ของอรหันต์


คุณโกวิทครับ ผมถามครับถ้าเรามีความเพียรพยายามจนเข้าถึงพระอรหันต์
แล้วผลที่ได้ยังเป็นเหมือนปุถุชน แบบนี้เราจะเพียรปฏิบัติไปทำไมครับ
ความจริงมันไม่เป็นอย่างนั้น เพียงแต่คุณยังไม่รู้ถึงอารมณ์ปรมัตถ์จริงๆ
คุณอาศัยการอ่านในตำราเอา ผมก็ว่ามันไม่ผิด เพียงแต่มันจะทำให้คุณเกิดความสับสน
ในความเป็นจริงนั้นสิ่งที่จะทำให้เราเข้าใจถึงสภาวะปรมัตถ์ธรรมได้ง่ายนั้น เราจะต้องเห็น
สังขารธรรมซะก่อน มันจึงจะเห็นสภาวะที่เป็นจริงในใจของเรา

ดูตัวอย่างง่ายๆก็ที่คุณกำลังเข้าใจผิด เรื่องวิญญาณที่คุณยกมา
แล้วคุณก็สรุปเอาเองว่า " วิญญาณ๕ เป็นวิบากจิต" ทั้งปุถุชนและอรหันต์มีวิญญาณ๕
ดังนั้น บุคคลที่ว่าจึงมีวิญญาณเป็นวิบากจิต

ถ้าเปรียบวิญญาณเป็นจิต คุณอย่าเข้าใจว่า วิญญาณกับตัวผู้รู้เหมือนกันนะครับ
วิญญาณคือตัวความรู้สึก แต่จิตผู้รู้คือ ตัวผู้รู้ว่าเกิดการกระทบขึ้น

จิตที่เป็นตัวความรู้สึก มันจึงเป็นวิบาก
แต่จิตรู้ถึงการกระทบ จึงเป็นกิริยา


ปุถุชนมีแค่ความรู้สึก มันจึงเกิดการปรุงแต่งเป็นอารมณ์ เป็นขันธ์๕
นามหรือขันธ์ทั้งหมดที่เกิด หลังจากเกิดการกระทบของอายตนะภายนอก
กับปสาทรูป สิ่งที่เกิดตามมาจึงเป็นวิบากในตัวของมันเอง พูดให้ชัดก็คือ
อายตนะภายใน(ปสาทรูป)กับอายตนะภายนอก กระทบกันขึ้นเมื่อใด เกิดวิญญาณ
ถ้าวิญญาณมีเจตนาในการกระทบที่เกิดขึ้น มันจะเกิดเป็นรูปขันธ์และวิญญาณขันธ์เป็นวิบาก
เกิดการปรุงแต่งเป็นวิบากต่างๆจนครบขันธ์ห้า

พระอรหันต์ รู้การกระทบด้วยญาณหรือปัญญา วิญญาณจึงเป็นจิตผู้รู้
ที่ว่ารู้ หมายความว่าอย่างไร นั้นก็คือรู้เหตุก่อนว่า มีการกระทบเกิดขึ้นเมื่อใด
มันจะเกิดเจตนาตามมา มันจะก่อให้เกิดขันธ์๕ ซึ่งมันเป็น...วิบาก
ถ้ามีญาณปัญญารู้ก่อนว่า สิ่งที่เกิดตามมาหลังจากการกระทบ
มันเป็น"สังขาร" มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป ไม่คงทนถาวร
แบบนี้วิบากก็ไม่เกิด สิ่งที่เกิดเป็นเพียงกิริยา มันเป็นเพียงธรรมชาติของรูปนาม


เอาพุทธพจน์มาเทียบเคียง.......................
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า
ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็อายตนะภายในอาตนะภายนอก อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ตรัสไว้ชอบนี้ มีอย่างละ ๖ แล คือจักษุและรูป โสตและเสียง ฆานะและกลิ่นชิวหาและรส
กายและโผฏฐัพพะ มโนและธรรมารมณ์..... ก็จิตของท่านผู้มีอายุรู้อยู่เห็นอยู่อย่างไรเล่า
จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ?
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว..... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่า
มีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทราบชัดว่า
จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นสำรอก ดับสละ และสลัดคืนซึ่งความพอใจ ความกำหนัด
ความยินดี ตัณหา อุปาทาน ที่ยึดมั่นและอนุสัยคือความตั้งใจ และความปักใจมั่นในจักษุ
ในรูปในจักษุวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ..... ในโสต ในเสียง
ในโสตวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ...... ในฆาน ในกลิ่น
ในฆานวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ.... ในชิวหา ในรส ในชิวหาวิญญาณ
และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณ ในกาย ในโผฏฐัพพะ ในกายวิญญาณ
และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ ..... ในมโน ในธรรมารมณ์ ในมโนวิญญาณ
และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ..... จิตของข้าพเจ้ารู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล
จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอายตนะทั้งภายในทั้งภายนอกอย่างละ ๖ เหล่านี้.....”
สูตร อุ. ม. (๑๖๗-๑๗๑)

ตามแตกต่างของวิญญาณ ระหว่างปุถุชนและอรหันต์มันอยู่ตรงนี้
เจตนา(วิบาก)กับกิริยา มันก็อยู่ตรงนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2012, 04:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
วิญญาณธาตุ ๕ หมายถึง สภาพที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน คือ จิต ซึ่งเป็นธาตุ
๕ อย่าง ได้แก่
๑. จักขุวิญญาณาตุ ( จักขุวิญญาณ ๒ ดวง )
๒. โสตวิญญาณาตุ ( โสตวิญญาณ ๒ ดวง )
๓. ฆานวิญญาณาตุ ( ฆานวิญญาณ ๒ ดวง )
๔. ชิวหาวิญญาณาตุ ( ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง )
๕. กายวิญญาณาตุ ( กายวิญญาณ ๒ ดวง )
วิญญาณ ทั้ง5 นี้แล เรียกว่า วิบากจิต[


ใช่ครับ แต่ต้องเป็นปุถุชน จึงเรียกวิบากจิต
แต่ถ้าเป็นอรหันต์เรียก....กิริยาจิต
govit2552 เขียน:
Quote Tipitaka:
[๓๓๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
จักขุวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นเพราะกามาวจร
กุศลกรรมอันได้กระทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา
จิต อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรม
ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
..........
[๓๕๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
โสตวิญญาณอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ฆานวิญญาณอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
กายวิญญาณอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยสุขเวทนา มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา จิต สุข เอกัคคตา มนินทรีย์ สุขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรม
ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... 023&Z=3128


คุณโกวิทถ้าจะไม่รู้ว่า ปุถุชนก็สามารถมีอัพยากฤตธรรม
แต่ถ้าคุณจะกล่าวถึงอัพยากฤตธรรมของอรหันต์ คุณต้องอ้างอภิธรรมบทนี้ครับ....

ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล
และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคต
ด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์
ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคต
ด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ...
เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคต
ด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุต
จากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง
ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

http://www.84000.org/tipitaka/read/byit ... agebreak=0


แก้ไขล่าสุดโดย โฮฮับ เมื่อ 28 ธ.ค. 2012, 04:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 72 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร