วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 21:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2013, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทิฏฐิ กับ มานะทิฏฐิ ต่างกันหรือไม่ เราจะละวางได้อย่างไรค่ะ :b20: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2013, 05:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


ทิฏฐิ กับ มานะ นั้นถึงแม้จะเกิดขึ้นกับจิตที่เป็นโลภะเหมือนกันแต่ก็มีความต่างกันอย่างมาก ทิฏฐิละด้วยพระโสดาบัน แต่มานะละด้วยพระอรหันต์
ทิฏฐิเจตสิก คือ ภาวะของจิตใจที่เห็นผิดไปจากความจริง เห็นว่าบุญบาปไม่มี ทำบุญทำบาป ไม่มีผลไม่ต้องรับผล ไม่อยากพบเห็น แม้ท่านจะเป็นพระอริยบุคคล ทิฏฐิเจตสิกนี้ มีความละเอียดละออมาก ปุถุชนทั่วไป มีความเห็นผิดจากความเป็นจริงทุกคน โดยเข้าใจว่า เป็นตัวเป็นตนมีเรามีเขา เรียกว่า ทิฏฐิสามัญ นอกจาก นี้ยังมีความเห็นผิดพิเศษอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิ เมื่อใครเห็นผิด และปฏิบัติตนเผยแผ่ความเห็นผิดของตนแล้ว เมื่อตายไปต้องตกนรกแน่นอน รายละเอียดเรื่องทิฏฐิมีมาก ควรจะต้องศึกษากันต่อไป

มานเจตสิก คือ ความถือตน ความทะนงตน มักจะเอาตนเอง เข้าไปเปรียบเทียบกับคนอื่น เสมอว่า ตนมีชาติ โคตร สกุล ทรัพย์ สมบัติ ศิลปวิทยา การงานหรือความฉลาด ที่เหนือกว่าคนอื่นบ้าง เสมอกับคนอื่นบ้าง หรือต่ำกว่าคนอื่นบ้าง ทำให้จิตใจว้าวุ่นขาดความสงบ ไม่เป็นที่ตั้งของกุศล เมื่อเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ จะเกิดในตระกูลที่ต่ำต้อย เช่น ขอทาน จงรู้ได้เลยว่าในอดีตนั้น เขาเป็นคนเหย่อหยิ่งทะนงตน ลบหลู่ดูถูกเหยียดหยามคนอื่นไว้ ไม่นึกถึงบุญคุณคนที่เคยช่วยเหลือมา จึงตกอยู่ในสภาพเช่นนี้
รายละเอียดทั้ง ทิฏฐิเจตสิก กับ มานะเจตสิกนั้นมีมาก ควรค่อยๆศึกษากันต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2013, 09:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ทิฏฐิ....น่าจะเป็นคำกลาง ๆ...เป็นความยึดถือในความคิด...ความเห็น...ความเชื่อ...ใดๆเพราะคิดว่า...มันดี
หากเป็นไปเพื่อความดับทุกข์....พุทธเราเรียก...สัมมาทิฏฐิ...ซึ่งก็ตรงกันข้ามกับ...มิจฉาทิฏฐิ

มานะ....ดูเหมือนร้าย....หากเราตั้งปณิธานใดใว้แล้วเพียรพยายามไปให้ถึง...เราก็ใช้คำว่า...มุมานะ
เพียงแต่...เมื่อเสร็จงาน...ก็ต้องว่างสิ่งที่ทำมา...หากยังทำอยู่นั้นแหละแล้วจะเรียกงานเสร็จได้อย่างไร...มานะจึงเป็นกิเลสละเอียดเป็นสังโยชน์ขั้นสูง...ที่อรหันตมรรคต้องละ...เพื่อเข้าอรหันตผล

มานะทิฏฐิ....ไม่มีก็แต่พระอรหันต์เท่านั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2013, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ทิฏฐิ....น่าจะเป็นคำกลาง ๆ...เป็นความยึดถือในความคิด...ความเห็น...ความเชื่อ...ใดๆเพราะคิดว่า...มันดี
หากเป็นไปเพื่อความดับทุกข์....พุทธเราเรียก...สัมมาทิฏฐิ...ซึ่งก็ตรงกันข้ามกับ...มิจฉาทิฏฐิ

มานะ....ดูเหมือนร้าย....หากเราตั้งปณิธานใดใว้แล้วเพียรพยายามไปให้ถึง...เราก็ใช้คำว่า...มุมานะ
เพียงแต่...เมื่อเสร็จงาน...ก็ต้องว่างสิ่งที่ทำมา...หากยังทำอยู่นั้นแหละแล้วจะเรียกงานเสร็จได้อย่างไร...มานะจึงเป็นกิเลสละเอียดเป็นสังโยชน์ขั้นสูง...ที่อรหันตมรรคต้องละ...เพื่อเข้าอรหันตผล

มานะทิฏฐิ....ไม่มีก็แต่พระอรหันต์เท่านั้น


ทิฏฐิในพระอภิธรรมก็คือตัวเดียวกับมิจฉาทิฏฐิในพระสูตร

ทิฏฐิ ละได้หมดตั้งแต่เป็นพระโสดาบันแล้วค่ะ พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิ กับวิจิกิจฉา
สักกายทิฏฐิซึ่งเป็นตัวสำคัญนั้นถูกละได้แล้ว ทิฏฐิตัวอื่นก็ถูกละไปหมดด้วย
ไม่ใช่แต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ไม่มีทิฏฐิ พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์ไม่มีทิฏฐิแล้วทุกระดับค่ะ

และคำว่า มานะ ที่เป็นอกุศลนั้นร้ายมากค่ะ หากว่าใครมีมากๆ จะขวางทางในการวิปัสสนา
แต่ในภาษาไทยนั้นใช้มานะเป็นคำที่ดี คือมุมานะต่อสู้ชีวิต มีมานะบากบั่นไม่ย่อท้อ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2013, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ทิฏฐิ หมายถึง ความคิด ความเห็น แบ่งได้สอง ..

มิจฉาทิฏฐิ ความคิดผิด เห็นผิด ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง
สัมมาทิฏฐิ ความคิดถูก เห็นถูก ตามความเป็นจริง

เราส่วนมาก มักมีความคิดผิด เห็นผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ มาตั้งแต่เดิม
เมื่อมาศึกษาศาสนาพุทธ จึงเริ่มมีความเห็นที่ถูกต้อง เป็นสัมมามากขึ้น ..

การละทิฏฐิ ก็คือ การทำให้ ความเห็นผิด มิจฉาทิฏฐิ เป็น สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก นั่นเอง ..

มานะทิฏฐิ น่าจะหมายถึง มานะอันเป็นอุปกิเลสที่แปลว่า ถือตัว ถือตน
(มานะ อีกตัวหมายถึง ความมุ่งมั่นเพียรพยายามจัดเป็นบารมี คือ วิริยะบารมี)

มานะทิฎฐิ ยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ถือชาติตระกูล ชนชั้นวรรณะ
ผู้ละได้เด็ดขาด คือ พระอรหันต์ผล ..


SOAMUSA เขียน:
ทิฏฐิ ละได้หมดตั้งแต่เป็นพระโสดาบันแล้วค่ะ พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิ กับวิจิกิจฉา
สักกายทิฏฐิซึ่งเป็นตัวสำคัญนั้นถูกละได้แล้ว ทิฏฐิตัวอื่นก็ถูกละไปหมดด้วย
ไม่ใช่แต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ไม่มีทิฏฐิ พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์ไม่มีทิฏฐิแล้วทุกระดับค่ะ

ในสังโยชน์สิบ พระโสดาบันละ สักกายทิฏฐิได้ แต่ยังไม่สามารถละ มานะทิฏฐิได้

เฉพาะ สักายทิฏฐินี้ ก็ได้แต่เห็นว่า ร่างกายไม่ใช่เรา ของเรา วันหนึ่งก็ตายจากกันไป
ยังเห็นว่าร่างกายนี้ยังสวยงามอยู่คือสุภะ ยังไม่เห็นว่าเป็นอสุภะ เป็นของสกปรก
เหตุนั้นพระโสดาบันจึงยังสามารถมีครอบครัว ยังรักสวยรักงามได้ เหมือนนาง วิสาขะ ..

ถ้าจะพูดว่า พระอริยะเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ต่างมีความเห็นถูก คือสัมมาทิฏฐิ
น่าจะถูกต้องที่สุด ..


:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2013, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:

ทิฏฐิ หมายถึง ความคิด ความเห็น แบ่งได้สอง ..

มิจฉาทิฏฐิ ความคิดผิด เห็นผิด ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง
สัมมาทิฏฐิ ความคิดถูก เห็นถูก ตามความเป็นจริง

เราส่วนมาก มักมีความคิดผิด เห็นผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ มาตั้งแต่เดิม
เมื่อมาศึกษาศาสนาพุทธ จึงเริ่มมีความเห็นที่ถูกต้อง เป็นสัมมามากขึ้น ..

การละทิฏฐิ ก็คือ การทำให้ ความเห็นผิด มิจฉาทิฏฐิ เป็น สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก นั่นเอง ..

มานะทิฏฐิ น่าจะหมายถึง มานะอันเป็นอุปกิเลสที่แปลว่า ถือตัว ถือตน
(มานะ อีกตัวหมายถึง ความมุ่งมั่นเพียรพยายามจัดเป็นบารมี คือ วิริยะบารมี)

มานะทิฎฐิ ยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ถือชาติตระกูล ชนชั้นวรรณะ
ผู้ละได้เด็ดขาด คือ พระอรหันต์ผล ..


SOAMUSA เขียน:
ทิฏฐิ ละได้หมดตั้งแต่เป็นพระโสดาบันแล้วค่ะ พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิ กับวิจิกิจฉา
สักกายทิฏฐิซึ่งเป็นตัวสำคัญนั้นถูกละได้แล้ว ทิฏฐิตัวอื่นก็ถูกละไปหมดด้วย
ไม่ใช่แต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ไม่มีทิฏฐิ พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์ไม่มีทิฏฐิแล้วทุกระดับค่ะ

ในสังโยชน์สิบ พระโสดาบันละ สักกายทิฏฐิได้ แต่ยังไม่สามารถละ มานะทิฏฐิได้

เฉพาะ สักายทิฏฐินี้ ก็ได้แต่เห็นว่า ร่างกายไม่ใช่เรา ของเรา วันหนึ่งก็ตายจากกันไป
ยังเห็นว่าร่างกายนี้ยังสวยงามอยู่คือสุภะ ยังไม่เห็นว่าเป็นอสุภะ เป็นของสกปรก
เหตุนั้นพระโสดาบันจึงยังสามารถมีครอบครัว ยังรักสวยรักงามได้ เหมือนนาง วิสาขะ ..

ถ้าจะพูดว่า พระอริยะเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ต่างมีความเห็นถูก คือสัมมาทิฏฐิ
น่าจะถูกต้องที่สุด ..


:b1:

:b17: :b17: Kiss สุดยอดดดด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2013, 19:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b17: :b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2013, 23:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:

ทิฏฐิ ละได้หมดตั้งแต่เป็นพระโสดาบันแล้วค่ะ พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิ กับวิจิกิจฉา
สักกายทิฏฐิซึ่งเป็นตัวสำคัญนั้นถูกละได้แล้ว ทิฏฐิตัวอื่นก็ถูกละไปหมดด้วยไม่ใช่แต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ไม่มีทิฏฐิ พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์ไม่มีทิฏฐิแล้วทุกระดับค่ะ


ทำไมโสดาบันจึงยังไม่เป็นอรหันต์...ละ

ใช่เพราะ....ยังมีความคิดความเห็นในส่วนที่ไม่สมบูรณ์อยู่ใช่หรือไม่

ความคิดความเห็นที่ยังผิดอยู่...นั้นแหละ....ทิฏฐิ

SOAMUSA เขียน:
และคำว่า มานะ ที่เป็นอกุศลนั้นร้ายมากค่ะ หากว่าใครมีมากๆ จะขวางทางในการวิปัสสนา
แต่ในภาษาไทยนั้นใช้มานะเป็นคำที่ดี คือมุมานะต่อสู้ชีวิต มีมานะบากบั่นไม่ย่อท้อ


จริงอยู่ว่า...หากยังมีมานะแล้ว....ย่อมพ้นจากทุกข์ไม่ได้

พระโสดาบัน..มีมานะอยู่....
แล้ว...อย่างนี้...มานะ..เป็นอกุศลที่ร้ายมากมั้ย?

เพียง..รู้จักปล่อยเมื่อถึงเวลา..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2013, 23:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
จันทร์เพ็ญ
อ้างคำพูด:
ทิฏฐิ กับ มานะทิฏฐิ ต่างกันหรือไม่ เราจะละวางได้อย่างไรค่ะ

:b1:
ทิฏฐิ ....แปลว่า ...ความเห็น ...เป็นคำกลางๆ ไม่ดีไม่ร้าย เมื่อใส่คำว่า "มิจฉา นำหน้า จึงจะร้าย
มิจฉาทิฏฐิ...แปลว่า..ความเห็นผิด
สัมมาทิฏฐิ...แปลว่าความเห็นถูกต้อง
เรานิยมใช้แต่คำว่า "ทิฏฐิ"ตัวเดียวโดยเข้าใจเอาว่าเป็น...ความเห็นผิด

ถ้าจะละวาง ควรละวาง มิจฉาทิฏฐิ...คือความเห็นผิด แต่สัมมาทิฏฐินั้น ควรพอกพูนให้มากยิ่งๆขึ้นไป

เห็นผิด คือเห็นเป็นอัตตา ตัวกู ของกู หรือ สักกายทิฏฐิ

เห็นถูกต้องคือเห็นเป็น อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวกู ของกู

ส่วน่คำว่า มานะ นั้น ความหมายก็คือ ยึดผิด สำคัญตัวผิด

ความเห็นผิด ละได้ด้วย โสดาปัตติมรรค

ความยึดผิด ต้องละด้วย มรรคที่เหลืออีก 3 มรรคจึงจะหมดสิ้นจากใจ

เราอาจคิดเทียบส่วนได้คร่าวๆดังนี้

พระโสดาบัน..... ละมานะได้ 25 %

พระสกิทาคามี...ละมานะได้ 50 %

พระอนาคามี .....ละมานะได้ 75%

พระอรหันต์......ละมานะได้ 100%

การละทั้งมิจฉาทิฏฐิและมานะ....ละได้ด้วยวิปัสสนาภาวนา
:b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2013, 23:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


การรู้จัก ลดตัว
การรู้จัก ชื่นชม
ไม่สำคัญตน ไม่สำคัญสิ่งที่เนื่องด้วยตน ไม่ถือทิฐิตน

มานะ กะ ทิฐิ
อย่างกะว่าเป็นสิ่งที่เนื่องด้วยกัน
เพราะมีทิฐิจึงมีมานะ
เพราะมีมานะทิฐิก็แข็ง/อ่อนไปตามมานะ

ถ้าไม่มีมานะ ทิฐิก็ไม่มีกำลังตั้งอยู่
ถ้าไม่มีทิฐิ มานะก็ไม่รู้จะตั้งอยู่กับอะไร


มานะ อาศัย อัตตา ตั้งอยู่
อัตตา อาศัย อวิชชา ตั้งอยู่
อวิชชา ก็เป็นไปได้ในทิฐิต่าง ๆ


:b41: ....... :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2013, 03:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

กิเลสเนี่ย โผล่มาจะตบให้หน้าหัน

แต่สำหรับ มานะ

เขาคือผู้ชี้ประตูธรรม

:b8:

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2013, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:

ทิฏฐิ หมายถึง ความคิด ความเห็น แบ่งได้สอง ..

มิจฉาทิฏฐิ ความคิดผิด เห็นผิด ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง
สัมมาทิฏฐิ ความคิดถูก เห็นถูก ตามความเป็นจริง

เราส่วนมาก มักมีความคิดผิด เห็นผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ มาตั้งแต่เดิม
เมื่อมาศึกษาศาสนาพุทธ จึงเริ่มมีความเห็นที่ถูกต้อง เป็นสัมมามากขึ้น ..

การละทิฏฐิ ก็คือ การทำให้ ความเห็นผิด มิจฉาทิฏฐิ เป็น สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก นั่นเอง ..

มานะทิฏฐิ น่าจะหมายถึง มานะอันเป็นอุปกิเลสที่แปลว่า ถือตัว ถือตน
(มานะ อีกตัวหมายถึง ความมุ่งมั่นเพียรพยายามจัดเป็นบารมี คือ วิริยะบารมี)

มานะทิฎฐิ ยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ถือชาติตระกูล ชนชั้นวรรณะ
ผู้ละได้เด็ดขาด คือ พระอรหันต์ผล ..


SOAMUSA เขียน:
ทิฏฐิ ละได้หมดตั้งแต่เป็นพระโสดาบันแล้วค่ะ พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิ กับวิจิกิจฉา
สักกายทิฏฐิซึ่งเป็นตัวสำคัญนั้นถูกละได้แล้ว ทิฏฐิตัวอื่นก็ถูกละไปหมดด้วย
ไม่ใช่แต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ไม่มีทิฏฐิ พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์ไม่มีทิฏฐิแล้วทุกระดับค่ะ

ในสังโยชน์สิบ พระโสดาบันละ สักกายทิฏฐิได้ แต่ยังไม่สามารถละ มานะทิฏฐิได้

เฉพาะ สักายทิฏฐินี้ ก็ได้แต่เห็นว่า ร่างกายไม่ใช่เรา ของเรา วันหนึ่งก็ตายจากกันไป
ยังเห็นว่าร่างกายนี้ยังสวยงามอยู่คือสุภะ ยังไม่เห็นว่าเป็นอสุภะ เป็นของสกปรก
เหตุนั้นพระโสดาบันจึงยังสามารถมีครอบครัว ยังรักสวยรักงามได้ เหมือนนาง วิสาขะ ..

ถ้าจะพูดว่า พระอริยะเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ต่างมีความเห็นถูก คือสัมมาทิฏฐิ
น่าจะถูกต้องที่สุด ..


:b1:


แนะนำให้อ่านพระอภิธรรมค่ะ เกี่ยวกับ กิเสล10 ,สังโยชน์ 10, อุปาทาน 4 และอกุศลอื่นๆ ด้วย
ใน อกุศลสังคหะ มีธรรมอยู่ 9 หมวด
ลองค่อยๆ อ่านดูนะคะ สังเกตุองค์ธรรมด้วยนะคะ

และ มานสังโยชน์ และ ทิฏฐิสังโยชน์ ลองอ่านดูดีๆ นะคะ

มานะนั้นละได้หมดในขั้นอรหัตตมรรคนั้นถูกต้องแล้วค่ะ
อ่านดูดีๆ ในข้อความที่ดิฉันตอบโพสท์แรกนั้นนะคะ
ดูว่า ดิฉันปฏิเสธหรือไม่ว่า มานะละได้หมดในขั้นอรหัตตมรรค

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2013, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
ทิฏฐิ กับ มานะทิฏฐิ ต่างกันหรือไม่ เราจะละวางได้อย่างไรค่ะ :b20: :b8:

ความแตกต่างมันอยู่ที่ตัวบุคคล ปุถุชนยังมีมิฉาทิฐิหรือยังมีสัมมาทิฐิที่ยังเป็นโลกียะอยู่
นั้นก็หมายถึง ยังไม่มีความเห็นธรรมตามความเป็นจริง คือยังไม่มี สัมมาทิฐิโลกุตตระ

ดังนั้นการมองเห็นธรรมของปุถุชน จึงเป็นการมองเห็นธรรมที่ผิดจากความจริง
นั้นหมายความว่า ธรรมอันเกิดมีสังโยชน์เป็นปัจจัย เราเรียกสังโยชน์ทั้งหมดว่า...ทิฐิ

มานะทิฐิจึงเป็นกิเลสสังโยชน์ของ.....ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะชน

ที่กล่าวแบบนั้นเพราะว่า พระอริยะชนตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป มีสัมมาทิฐิมองเห็น
สภาพธรรมไปตามจริงแล้ว สังโยชน์ มานะที่เกิดขึ้นจึงเรียก.....
มานะเฉยๆ ไม่มีทิฐินำหน้าหรือตามหลัง

สรุปมานะของปุถุชน จึงเรียกว่า....มานะทิฐิ
แต่มานะของอริยะเรียก.....มานะเฉยๆ ไม่มีทิฐิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2013, 11:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 11:26
โพสต์: 56


 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
ทิฏฐิ กับ มานะทิฏฐิ ต่างกันหรือไม่ เราจะละวางได้อย่างไรค่ะ :b20: :b8:

ทิฏฐิ คือ ความเห็น...
มานะทิฏฐิ คือ..ดูพระสูตรนี้ครับ
ว่าด้วยปัจจัยให้มีและไม่ให้มีตัณหามานะทิฏฐิ
[๑๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนทเถระเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วกล่าว
ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น รับคำท่านพระอานนท์แล้ว. ท่านพระอานนท์ จึงได้
กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ท่านพระปุณณมันตานีบุตร มีอุปการะมากแก่พวกเราเหล่าภิกษุใหม่
ท่านกล่าวสอนพวกเราด้วยโอวาทอย่างนี้ว่า ดูกรท่านอานนท์ เพราะถือมั่น จึงมีตัณหา มานะ
ทิฏฐิว่า
เป็นเรา เพราะไม่ถือมั่น จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา. เพราะถือมั่น อะไร
จึงมีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา เพราะไม่ถือมั่นอะไร จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา.
เพราะถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงมีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา
เพราะไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็น
เรา. ดูกรท่านอานนท์ เปรียบเสมือนสตรีหรือบุรุษรุ่นหนุ่มรุ่นสาว มีนิสัยชอบแต่งตัว ส่องดู
เงาหน้าของตน ที่กระจกหรือที่ภาชนะน้ำ อันใสบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะยึดถือจึงเห็น เพราะ
ไม่ยึดถือจึงไม่เห็นฉันใด. ดูกรท่านอานนท์ เพราะถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จึงมีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา เพราะไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา ฉันนั้นเหมือนกันแล. ดูกรท่านอานนท์ ท่านจะสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
อ. ไม่เที่ยง อาวุโส.
ป. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
อ. ไม่เที่ยง อาวุโส ฯลฯ
ป. เพราะเหตุนี้แล อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. (โดยเหตุนี้แล ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า) ดูกรอาวุโส ท่านพระปุณณ-
มันตานีบุตร เป็นผู้มีอุปการะมาก แก่พวกเราเหล่าภิกษุใหม่ ท่านสอนพวกเราด้วยโอวาทนี้ ก็
เราได้ตรัสรู้ธรรม เพราะฟังธรรมเทศนานี้ ของท่านพระปุณณมันตานีบุตร.
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
ข้อที่ ๑๙๓ หน้าที่ ๑๐๓-104

.....................................................
ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ...จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว...
จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2013, 16:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


เจ้าของกระทู้ถามว่า ทิฏฐิ กับ มานะ ต่างกันอย่างไร?
ผู้ตอบก็ เป๋ไป แถไป ตอบสังโยชน์โน่น ซึ่งมันคนละเรื่องกับที่ถามเลย
น่าเบื่อนะ ไม่รู้ก็ไม่ต้องตอบ ถามเขาเสียเลยดีกว่า ทำให้ผู้เข้ามาอ่านไขว่เขว
โน่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน ไม่เที่ยงเข้าไปอีก
เหมือนคนอ่านคำถามไม่รู้เรื่อง ก็ยังอุตส่าห์พยายามจะตอบให้ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร