วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 16:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2013, 06:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธวจน บางบัวทอง เขียน:
สัพเพสังขารา อนิจจา ทุกขัง อนัตตา
สัพเพ ธัมมาอนัตตา
2 ประโยคธรรมะนี้ผมใคร่ถามว่าธรรมะชั้นลึกมันคืออะไรครับ ขอเป็นพุทธวจนนะครับ..


ไม่เห็นด้วยตรงไหนยินดีรับฟังครับ และอยากให้คิดไว้ด้วยว่า
เราไม่ได้ทะเลาะกันครับ.....

หลักธรรมที่สำคัญของพุทธเจ้า มีอริยสัจจ์สี่ และยังมีหลักธรรมอื่นๆอีก
แต่ในที่นี้จะขอกล่าว หลักธรรมสองอย่างครับ นั้นก็คือ....
สัพเพสังขารา อนิจา ทุกข์ อนัตตา และ สัพเพธัมมา อนัตตา
พระสูตรที่พอหามาอ้างอิง เพื่อให้รู้ว่า พระพุทธองค์ทรงใช้หลักธรรม
ในการสอนหรือแก้กิเลสให้บุคคล...... อุปปาทสูตร

[๕๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติ
ขึ้นก็ตาม ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา
ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้น
ก็ตาม ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้ง
อยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ครั้นแล้ว
จึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า สังขาร
ทั้งปวงเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม
ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่าง
นั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ครั้นแล้วจึง
บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า ธรรม
ทั้งปวงเป็นอนัตตา

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

คนที่ศึกษาพระธรรมจริง ย่อมต้องรู้ว่า สรรพสิ่งใดขึ้นอยู่กับหลักธรรมใด
การจะไล่หาความเป็นมาเป็นไป ต้องรู้ในธรรมทั้งปวงและสังขารทั้งปวง

ผมถามคุณเรื่องต้นไม้ คุณย่อมต้องรู้ว่า ต้นไม่เป็นธรรมทั้งปวง ไม่ใช่สังขาร
แทนที่คุณจะไปหาพุทธวจนะ ที่เกี่ยวกับต้นไม้โดยให้อยู่ในกรอบของธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
คุณกลับไปเอา เรื่องที่กล่าวทุกสังขารของบุคคล ไม่ได้เกี่ยวกับต้นไม้เลย
อย่าลืมสิ่งที่ผมถาม ไม่ใช่ใจคน แต่เป็นเรื่องของต้นไม้

คุณบอกเองว่าตอบได้ทุกเรื่อง ผมก็อยากรู้ว่า
มีพุทธวจนะใดที่กล่าวเกี่ยวกับต้นไม้ไว้บ้าง

และที่คุณบอกผมรู้ลึกถามลึก รู้ลึกนะใช่ครับ แต่ถามไม่ลึกเลย
ก็แค่คุณไปหาพุทธวจนะที่กล่าวจำเพาะเจาะจงเรื่องต้นไม้มาบอกให้ถูกๆแค่นั้นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2013, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 11:26
โพสต์: 56


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
พุทธวจน บางบัวทอง เขียน:
สัพเพสังขารา อนิจจา ทุกขัง อนัตตา
สัพเพ ธัมมาอนัตตา
2 ประโยคธรรมะนี้ผมใคร่ถามว่าธรรมะชั้นลึกมันคืออะไรครับ ขอเป็นพุทธวจนนะครับ..


ไม่เห็นด้วยตรงไหนยินดีรับฟังครับ และอยากให้คิดไว้ด้วยว่า
เราไม่ได้ทะเลาะกันครับ.....

หลักธรรมที่สำคัญของพุทธเจ้า มีอริยสัจจ์สี่ และยังมีหลักธรรมอื่นๆอีก
แต่ในที่นี้จะขอกล่าว หลักธรรมสองอย่างครับ นั้นก็คือ....
สัพเพสังขารา อนิจา ทุกข์ อนัตตา และ สัพเพธัมมา อนัตตา
พระสูตรที่พอหามาอ้างอิง เพื่อให้รู้ว่า พระพุทธองค์ทรงใช้หลักธรรม
ในการสอนหรือแก้กิเลสให้บุคคล...... อุปปาทสูตร

[๕๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติ
ขึ้นก็ตาม ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา
ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้น
ก็ตาม ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้ง
อยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ครั้นแล้ว
จึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า สังขาร
ทั้งปวงเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม
ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่าง
นั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ครั้นแล้วจึง
บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า ธรรม
ทั้งปวงเป็นอนัตตา

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

คนที่ศึกษาพระธรรมจริง ย่อมต้องรู้ว่า สรรพสิ่งใดขึ้นอยู่กับหลักธรรมใด
การจะไล่หาความเป็นมาเป็นไป ต้องรู้ในธรรมทั้งปวงและสังขารทั้งปวง

ผมถามคุณเรื่องต้นไม้ คุณย่อมต้องรู้ว่า ต้นไม่เป็นธรรมทั้งปวง ไม่ใช่สังขาร
แทนที่คุณจะไปหาพุทธวจนะ ที่เกี่ยวกับต้นไม้โดยให้อยู่ในกรอบของธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
คุณกลับไปเอา เรื่องที่กล่าวทุกสังขารของบุคคล ไม่ได้เกี่ยวกับต้นไม้เลย
อย่าลืมสิ่งที่ผมถาม ไม่ใช่ใจคน แต่เป็นเรื่องของต้นไม้

คุณบอกเองว่าตอบได้ทุกเรื่อง ผมก็อยากรู้ว่า
มีพุทธวจนะใดที่กล่าวเกี่ยวกับต้นไม้ไว้บ้าง

และที่คุณบอกผมรู้ลึกถามลึก รู้ลึกนะใช่ครับ แต่ถามไม่ลึกเลย
ก็แค่คุณไปหาพุทธวจนะที่กล่าวจำเพาะเจาะจงเรื่องต้นไม้มาบอกให้ถูกๆแค่นั้นเอง


***ขอบคุณในคำอธิบาย ที่ใช้คำที่เป็นพุทธวจนแท้ๆ ขอให้บรรลุธรรมเร็วพลันครับ....

.....................................................
ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ...จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว...
จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2013, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
walaiporn เขียน:
กรณีนี้

http://www.youtube.com/watch?v=aZ4TG5Pc ... _embedded#

ไม่แตกต่างกับ พองหนอ ยุบหนอ หรือ พุทโธ หรือแม้กระทั่ง ในการใช้คำบริกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช้วิธีรู้สภาวะที่เกิดขึ้นกับกาย(ลมหายใจ/ท้องพองยุบ)

แต่ใช้วิธี กำหนดคำบริกรรมภาวนาเร็วๆ หายใจเร็วๆ หรือแบบในยูทูปที่นำมาให้ดู บางคนทำแบบนี้ถูกจริตก็มี(เป็นสมาธิ) บางคนไม่ถูกจริตก็มี จากภาพที่มองเห็น บางคนใช้วิธีนั่งปกติ

บางคนกำลังเขย่าตัว หันมามองกล้องนั่นคือ ยังไม่เป็นสมาธิ หากเป็นสมาธิ จะตัดขาดการรับรู้ภายนอก

บางที่ ผู้แนะนำคอยกระตุ้นว่า เร็วๆๆๆๆๆๆๆ หมายถึง เขย่าตัวเร็วๆ หรือให้หายใจเร็วๆ พอถึงจุดๆหนึ่ง จิตจะสงบลงเป็นสมาธิ แล้วจะนั่งนิ่งลงไปเอง

หากยังไม่เป็นสมาธิก็เขย่าตัว หรือหายใจแรงๆเร็วๆ จนเหนื่อย แล้วเลิกทำ เปลี่ยนเป็นนั่งนิ่งๆ จิตก็เป็นสมาธิไปเอง ก็มี

(จากประสพการณ์ส่วนตัว ไม่ได้คาดเดาเอาเอง)


หากใครทำได้ ตามสัปปายะ ตามเหตุปัจจัยของตน นั่นแหละ คือ ความเป็นมงคลภายใน และสามารถนำมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในชีวิตได้ อันนี้ก็แล้วแต่เหตุปัจจัยของแต่ละคนอีกแหละ ใช่ว่า จะเหมือนกันหมด


พระที่มาสอน เขาไม่ได้มาทำนายทายทัก เพียงแต่ท่านมาแนะนำ ในการทำให้จิตเป็นสมาธิ โดยท่านทำได้ แบบวิธีไหน ท่านก็สอนแบบนั้น

จึงไม่ใช่วิธีของพวกปริพาชก และไม่เป็นเดรัจฉานวิชา แต่เป็นไปตามเหตุปัจจัยของแต่ละคน

ใครที่เชื่อท่าน ก็เพราะ สร้างเหตุมาร่วมกัน

ใครที่ไม่เชื่อ เพราะ ไม่ได้สร้างเหตุมาร่วมกัน

เหมือนกับการนำวิพากย์วิจารณ์ เช่นเดียวกัน


สิ่งดีที่มองเห็นคือ อย่างน้อยๆ ท่านไม่ได้สอนให้คนทำผิดศิล แต่อย่างใด และ การทำให้จิตเป็นสมาธิ ที่บางคนทำแล้วถูกจริต ของตัวเอง

หากทำได้ ย่อมทำให้เกิดความศรัทธา เป็นเหตุให้เกิดความเพียร ส่วนที่เหลือ แล้วแต่เหตุปัจจัย



สมาธิอะไร :b1:

ประสบการณ์อะไรครับ :b10:



รอคำตอบอยู่นะครับเนี่ย

ไปดูการออกจากฌานบ้าง

http://www.youtube.com/watch?feature=pl ... f2kqvRL5Hc


ฌานอะไร ในบรรดาฌาน 1-4 ที่มีการออกแบบนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2013, 13:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 11:26
โพสต์: 56


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
walaiporn เขียน:
กรณีนี้

http://www.youtube.com/watch?v=aZ4TG5Pc ... _embedded#

ไม่แตกต่างกับ พองหนอ ยุบหนอ หรือ พุทโธ หรือแม้กระทั่ง ในการใช้คำบริกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช้วิธีรู้สภาวะที่เกิดขึ้นกับกาย(ลมหายใจ/ท้องพองยุบ)

แต่ใช้วิธี กำหนดคำบริกรรมภาวนาเร็วๆ หายใจเร็วๆ หรือแบบในยูทูปที่นำมาให้ดู บางคนทำแบบนี้ถูกจริตก็มี(เป็นสมาธิ) บางคนไม่ถูกจริตก็มี จากภาพที่มองเห็น บางคนใช้วิธีนั่งปกติ

บางคนกำลังเขย่าตัว หันมามองกล้องนั่นคือ ยังไม่เป็นสมาธิ หากเป็นสมาธิ จะตัดขาดการรับรู้ภายนอก

บางที่ ผู้แนะนำคอยกระตุ้นว่า เร็วๆๆๆๆๆๆๆ หมายถึง เขย่าตัวเร็วๆ หรือให้หายใจเร็วๆ พอถึงจุดๆหนึ่ง จิตจะสงบลงเป็นสมาธิ แล้วจะนั่งนิ่งลงไปเอง

หากยังไม่เป็นสมาธิก็เขย่าตัว หรือหายใจแรงๆเร็วๆ จนเหนื่อย แล้วเลิกทำ เปลี่ยนเป็นนั่งนิ่งๆ จิตก็เป็นสมาธิไปเอง ก็มี

(จากประสพการณ์ส่วนตัว ไม่ได้คาดเดาเอาเอง)


หากใครทำได้ ตามสัปปายะ ตามเหตุปัจจัยของตน นั่นแหละ คือ ความเป็นมงคลภายใน และสามารถนำมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในชีวิตได้ อันนี้ก็แล้วแต่เหตุปัจจัยของแต่ละคนอีกแหละ ใช่ว่า จะเหมือนกันหมด


พระที่มาสอน เขาไม่ได้มาทำนายทายทัก เพียงแต่ท่านมาแนะนำ ในการทำให้จิตเป็นสมาธิ โดยท่านทำได้ แบบวิธีไหน ท่านก็สอนแบบนั้น

จึงไม่ใช่วิธีของพวกปริพาชก และไม่เป็นเดรัจฉานวิชา แต่เป็นไปตามเหตุปัจจัยของแต่ละคน

ใครที่เชื่อท่าน ก็เพราะ สร้างเหตุมาร่วมกัน

ใครที่ไม่เชื่อ เพราะ ไม่ได้สร้างเหตุมาร่วมกัน

เหมือนกับการนำวิพากย์วิจารณ์ เช่นเดียวกัน


สิ่งดีที่มองเห็นคือ อย่างน้อยๆ ท่านไม่ได้สอนให้คนทำผิดศิล แต่อย่างใด และ การทำให้จิตเป็นสมาธิ ที่บางคนทำแล้วถูกจริต ของตัวเอง

หากทำได้ ย่อมทำให้เกิดความศรัทธา เป็นเหตุให้เกิดความเพียร ส่วนที่เหลือ แล้วแต่เหตุปัจจัย



สมาธิอะไร :b1:

ประสบการณ์อะไรครับ :b10:



รอคำตอบอยู่นะครับเนี่ย

ไปดูการออกจากฌานบ้าง

http://www.youtube.com/watch?feature=pl ... f2kqvRL5Hc


ฌานอะไร ในบรรดาฌาน 1-4 ที่มีการออกแบบนั้น


***ผมว่าท่านผู้ถามคงทราบคำตอบแล้วครับ ว่าเป็นสมาธิอะไร...
และขอบอกตามตรงว่า อาการอย่างนี้ผมเองเคยปฏิบัติมาก่อน วัดที่สอนอยู่ที่ จ. ชุมพร อ.สวี มรรควิธีอย่างนี้ถามคนที่นั่นก็จะทราบดีครับ
เอาเป็นว่า ลักษณะอย่งนี้ พระศาสดาไม่ได้สอนครับ พระศาสดาสอน อานาปานสติ ถ้าสนใจ
ให้โหลดหนังสือนี้ไปศึกษาครับ...


http://www.watnapp.com/book/download/%E ... 8%B4%20/10

.....................................................
ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ...จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว...
จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2013, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธวจน บางบัวทอง เขียน:
....."วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง"ซึ่งแปลความได้ว่า ...."เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลกย์"...
ปัญหาอยู่ที่ว่า ประโยคข้างต้น ผมหาในพุทธวจนหลายรอบๆแล้ว ทั้งไทยและบาลี ไม่ทราบว่าพระสูตรนี้อยู่ตรงไหนครับ ก็เลยทำวิตก วิจารณ์ ไม่ได้...
ขอความกรุณาด้วยครับ


สติสูตร........
[๘๐๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้
เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ? ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็น
จิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ.
[๘๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ? ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เวทนาอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ทราบชัดแล้วย่อมบังเกิดขึ้น ที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่
ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ วิตกอันภิกษุทราบชัดแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ที่ทราบชัด
แล้วปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ปัญญาอันภิกษุทราบชัดแล้วย่อมบังเกิดขึ้น
ที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้อย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้
มีสัมปชัญญะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ อยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเรา
สำหรับเธอทั้งหลาย.


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 778&Z=4793


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2013, 19:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 11:26
โพสต์: 56


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
พุทธวจน บางบัวทอง เขียน:
....."วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง"ซึ่งแปลความได้ว่า ...."เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลกย์"...
ปัญหาอยู่ที่ว่า ประโยคข้างต้น ผมหาในพุทธวจนหลายรอบๆแล้ว ทั้งไทยและบาลี ไม่ทราบว่าพระสูตรนี้อยู่ตรงไหนครับ ก็เลยทำวิตก วิจารณ์ ไม่ได้...
ขอความกรุณาด้วยครับ


สติสูตร........
[๘๐๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้
เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ? ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็น
จิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ.
[๘๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ? ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เวทนาอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ทราบชัดแล้วย่อมบังเกิดขึ้น ที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่
ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ วิตกอันภิกษุทราบชัดแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ที่ทราบชัด
แล้วปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ปัญญาอันภิกษุทราบชัดแล้วย่อมบังเกิดขึ้น
ที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้อย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้
มีสัมปชัญญะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ อยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเรา
สำหรับเธอทั้งหลาย.


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 778&Z=4793


ขอบคุณครับ...
และนี่คือ บาลี..
มหาสติปฏฺฐานสุตฺตํ

[๒๗๓] เอวมฺเม สุตํ ฯ เอกํ สมยํ ภควา กุรูสุ วิหรติ
กมฺมาสทมฺมํ ๑ นาม กุรูนํ นิคโม ฯ ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ
ภิกฺขโวติ ฯ ภทนฺเตติ ๑ เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุํ ฯ ภควา
เอตทโวจ เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา
โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส
อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ฯ
กตเม จตฺตาโร ฯ อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ
อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ
เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย
โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี
สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ธมฺเมสุ
ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก
อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ฯ


*******สำหรับผมไม่มีคำแนะนำ แต่ขอใช้คำสอนของพระศาสดาที่ตรัสสอนไว้แล้วครับ...

สติปัฏฐานบริบูรณ์
เพราะอานาปานสติบริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว
อย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำสติปัฏฐานทั้งสี่
ให้บริบูรณ์ได้ ?
[หมวดกายานุปัสสนา]
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขาร
ให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ
หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้
เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส
มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้าและ
ลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก
ออกเสียได้ ในสมัยนั้น.
[หมวดเวทนานุปัสสนา]
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ
หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งสุข หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข
หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ
จิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำ
จิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก
ออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็น
อย่างดีต่อลมหายใจเข้าและลมหายใจออกทั้งหลายว่า
เป็นเวทนาอันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตนุ นั้ ในเรอื่ งนี้ ภกิ ษนุ นั้
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.

[หมวดจิตตานุปัสสนา]
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต
หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้
ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง
หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้
ตั้งมั่น หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้
ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่
หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็น
จิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ
มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็น
สิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.
[หมวดธัมมานุปัสสนา]
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้
เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ
เป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและ
โทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้ว
อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าทำสติปัฏฐานทั้งสี่
ให้บริบูรณ์ได้.

.....................................................
ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ...จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว...
จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2013, 09:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธวจน บางบัวทอง เขียน:

ผมว่าท่านผู้ถามคงทราบคำตอบแล้วครับ ว่าเป็นสมาธิอะไร..

และขอบอกตามตรงว่า อาการอย่างนี้ผมเองเคยปฏิบัติมาก่อน วัดที่สอนอยู่ที่ จ. ชุมพร อ.สวี มรรควิธีอย่างนี้ถามคนที่นั่นก็จะทราบดีครับ
เอาเป็นว่า ลักษณะอย่งนี้ พระศาสดาไม่ได้สอนครับ พระศาสดาสอน อานาปานสติ ถ้าสนใจ
ให้โหลดหนังสือนี้ไปศึกษาครับ...


ไม่น่าเป็นฌาน ไม่ว่าจะเข้าฌานหรือออกจากฌาน ไม่น่าใช่สมาธิอะไรๆ แต่เป็นความหลงเข้าใจผิดบิดเบียนความหมายของฌาน เป็นธรรมปฏิรูปปฏิสังขรณ์ :b1:

เห็นวิธีการออกจากฌานแล้ว :b9:

http://youtu.be/bf2kqvRL5Hc?t=3s

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร