วันเวลาปัจจุบัน 09 ต.ค. 2024, 10:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2013, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมมุติกับบัญญัติหมายถึงอะไร ต่างกันอย่างไร ขอบคุณคะ :b20: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2013, 09:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ในสากล จักรวาล อนันตจักรวาล ทั้งหมดทั้งสิ้น
สิ่งที่มีจริง มีแค่ 4 เท่านั้น คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ............................

นอกเหนือ จากนั้น คือ สิ่งสมมุติ คือ สิ่งบัญญัติ

ส่วนสมมุติ ต่างกันหรือเหมือนกันกับบัญญัติ อันนี้ รอความเห็น คนต่อไปครับ
:b8:

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2013, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8207


 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
สมมุติกับบัญญัติหมายถึงอะไร ต่างกันอย่างไร ขอบคุณคะ :b20: :b8:

ธาตุทั้ง ๔ ประกอบกันขึ้นลักษณะอย่างนี้ สมมุติขึ้นว่า คน บัญญัติ ชื่อว่า นายแดง เป็นต้น
คน จึงเป็นสิ่ง สมมุติ ชื่อ จึง บัญญัติ ขึ้นเรียก (ก็ไม่รุนะน่าจะใช่มั้ง)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2013, 23:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7505

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
จัทร์เพ็ญ เขียน:
สมมุติกับบัญญัติหมายถึงอะไร ต่างกันอย่างไร ขอบคุณคะ :b20: :b8:

...ถ้าจะให้ข้าพเจ้าตั้งคำถามก็จะถามว่า การบัญญัติเกี่ยวข้องกับสมมุติกับวิมุติอย่างไร...
...ถ้าลองพิจารณาพระไตรปิฎก...พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมที่บัญญัติคือให้คำจำกัดความต่างๆกัน...
...ทั้งคำศัพท์ฉพาะ ความหมาย อธิบายสมมุติบัญญัติทั้ง 31 ภพภูิมิ ที่มองเห็นด้วยตาเนื้อมี 2 ภพภูมิ...
...คือภพภูมิมนุษย์ กับ ภพภูมิของดิรัจฉาน และจะทรงบัญญัติภพภูมิที่มีพระสาวกยืนยันว่าไปเห็นมา...
...สมมุติบัญญัติเป็นการกำหนดชื่อเรียกคน สัตว์ สิ่งของ ที่มีองค์ประกอบตามธาตุทั้งสี่+ขันธ์ทั้ง5...
...ในเมื่อผู้ที่ได้ฟังพระธรรมที่ทรงแสดงยังอยู่ในสมมุติก็ทรงเมตตาอธิบายให้คิดพิจารณาตามเป็นจริง...
...ซึ่งเป็นไปตามลำดับขั้น และทรงแสดงความจริงให้ผู้ฟังได้เข้าถึงความหลุดพ้นตามระดับสติปัญญา...
...ไม่ว่าการปลีกวิเวก การทำความสงบใจ การทำสมาธิจนถึงเข้าสู่ฌานและญาณความรู้เห็นต่างๆไว้...
...โดยทรงบัญญัติศัพท์ในการเรียกชื่อสภาวะต่างๆเหล่านั้นและอธิบายรายละเอียดเพื่อแยกความต่าง...
...โดยชัดเจน...และเมื่อจิตผู้ฟังได้เข้าถึงสภาวะธรรมเหล่านั้นแล้ว ก็จะรู้ถึงอาการเหล่านั้นเสมอกัน...
...แม้จะไม่เคยรู้ชื่อของบัญญัติอาการเหล่านั้นมาก่อน จิตที่เข้าถึงความจริงไม่มีบัญญัติ สมมติมีบัญญัติ...
...การบัญญัติศัพท์ในทางวิมุติมีความจำเป็นในการนำไปใช้เทศนาสั่งสอนอบรมถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจ...
...สำหรับจิตพระอรหันต์ที่เข้าถึงความจริงนั้นแลัว จิตท่านเข้าถึงความจริงที่ไม่จำเป็นต้องใช้วิมุติบัญญัติ...
...เพราะความว่างที่เกิดกับจิตไม่มีบัญญัติใดที่เหมาะสม แต่การใช้ศัพท์บัญญัติเป็นไปเพื่อผู้ที่จิตยังไม่ถึง...
...ท่านผู้รู้ที่เข้าถึงความจริงเหล่านั้นแล้ว จะใช้บัญญัติต่างๆทั้งสมมุติและวิมุติเมื่อเทศน์เผยแผ่พระธรรม...
...เป็นความคิดส่วนตัวของข้าพเจ้าเองทั้งหมดทั้งสิ้น ผิดถูกประการใดขอผู้รู้ท่านอื่นเมตตาอธิบายด้วย...
:b4: :b4:
:b43:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 29 พ.ค. 2013, 23:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2013, 23:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
สมมุติกับบัญญัติหมายถึงอะไร ต่างกันอย่างไร ขอบคุณคะ :b20: :b8:


สมมุติ หรือสมมติ เป็นการลงความเห็นในทางเดียวกัน ตกลงกัน ยอมรับกัน
บัญญัติ เป็นชื่อเรียก เป็นข้อกำหนด จากสมมติ

แต่
บัญญัติ นั้นอาจจะบัญญัติเดียวกัน แต่สมมติต่างกันก็มี
บัญญัติ ต่างกัน สมมติเดียวกันก็มี
บัญญัติเดียวกัน สมมติเดียวกันก็มี
V
ยกกรณีที่เห็นง่ายๆ
ถ้วย
คนภาคหนึ่งจะหมายถึง ภาชนะใส่น้ำทรงกระบอก
แต่คนอีกภาคหนึ่งจะหมายถึง ภาชนะที่คล้ายชาม ใบเล็กๆ ใส่น้ำแกง
แบบนี้ บัญญัติเดียวกัน แต่สมมติต่างกัน
V
ธรรมชาติหนึ่งที่ปรุงแต่งเป็นลักษณะกลมๆ สว่างจ้าให้ความร้อนแก่โลกมนุษย์
ชนแต่ละชาติ เรียกว่า ดวงอาทิตย์, sun, 太陽, サン, ព្រះអាទិត្យ ฯลฯ
แบบนี้ บัญญัติต่างกัน สมมติเดียวกัน
V

ไปภาคไหนๆของไทย ก็อ่านว่าออกเสียงว่า กอ
และรู้จัก ว่าเป็นอักษร ก
แบบนี้ เรียกว่า บัญญัติเดียวกัน สมมติเดียวกัน
V
พอจะเข้าใจง่ายๆ แบบนี้

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2013, 00:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
สมมุติกับบัญญัติหมายถึงอะไร ต่างกันอย่างไร ขอบคุณคะ :b20: :b8:



ก่อนราตรีสวัสดิ์ ไปหลับไปนอน เปิดศึกไว้พรุ่งนี้หน่อย ตัดให้คุณจันทร์เพ็ญ สังเกตดูตรงนี้เลย :b1:

ไม่ร้องอ๋อ ก็ร้องโอ้ย


มุติ ในสมมุติ (เขียน มติ เป็นสมมติ ก็ได้) แปลว่า ความรู้ เมื่อใส่ "สํ => สม" เข้าข้างหน้า เป็นสมมุติ หรือสมมติ ก็แปลว่า รู้ร่วมกัน ยอมรัีบ หรือตกลงกันว่า อันนั้นอันนี้ คนนั้นคนนี้ เรียกชื่อว่า อย่างนั้นอย่างนี้ จนกระทั่งว่าสภาวะนี้เรียกว่า จิต ธรรมนี้เรียกว่า ฌาน ตลอดจนในเิชิงสังคม หรือในการอยู่ร่วมกัน เราจะทำเรื่องนี้กันอย่างนี้ๆ ให้ของ ให้คน ให้หมู่ชนนั้นๆ ได้ชื่อ ได้สถานะเป็นอย่่่างนี้ๆ เป็นต้น

เมื่อสมมุติ คือรู้่กัน หรือตกลงกันว่าอย่างไรแล้ว ก็บัญญัติจัดตั้งวางตราลงไปอย่างนั้น ไปๆ มาๆ สองคำนี้ คือ สมมุติ และ บัญญัติ เลยบางทีกลายเป็นคำที่ใช้แทนกันได้ ใช้คู่เคียงกันไป หรือปนๆกันไป (แต่ที่จริง สมมุติเน้นด้านความหมายเชิงสังคม)

การที่คนเราสือสารกันได้ และพูดกันรู้เรื่อง มีเครื่องกำหนดหมายในการคิด พูด และทำการต่างๆ ก็เพราะสมมุตินี่แหละ

สมมุตินั้น มันไม่ใช่ของจริงอยู่แล้ว คือคนตกลงกันเรียกขาน หรือให้เป็นอย่างนั้นขึ้นมา คนส่วนใหญ่กไปติดอยู่ทีี่่สมมุตินั้นเสีย หลงเอาสมมุติเป็นตัวจริงของจริงไป เลยอยู่กันแค่สมมุติ แล้วก็คิดปรุงแต่งไปบนฐานแห่งสมมุตินั้น เลยวิจิตรพิสดารไปกันใหญ่ ลืมมองของจริงที่เหมือนกับว่าอยู่ข้างหลังสมมตินั้น

พูดสำนวนอุปมาว่า เอาสมมุติมาบังตาตัวเอง หรือหลงสมมุติไป ทั้งที่ของจริงมันก็อยู่ของมันอย่างนั้น
พูดใ้ห้ง่ายๆ สะดวกๆ ว่า สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่แค่รูปธรรมและนามธรรม แล้วบนรูปธรรมและนามธรรมนั้นๆ เช่นที่ประกอบกันเข้าเป็นสัดส่วนในลักษณาการที่มีความเป็นไปอย่างนี้ๆ เราก็สมมุติเรียกว่า เป็น "สัตว์" เป็น "คน" เป็น "บุคคล" เป็น "ตัว" "ตน" หรือ "ตัวตน" (อัตตา อาตุมา อาตมา) เป็น "เรา" เป็น "เขา" เป็น "ท่าน" ฯลฯ

"สัตว์" "บุคคล" "ตัวตน" "เรา" เขา" เป็นต้น ที่สมมุติขึ้นมานี้ ไม่มีจริง เมื่อเอาชือหรือคำเรียกออกไป หรือมองผ่านทะลุคำเรียกชื่อนั้นไป ก็มีเพียงรูปธรรมและนามธรรม (ที่จัดแยกเป็นประเภทหรือเป็นพวกๆ เรียกว่าขันธ์ ๕ หรือจะแยกแยะละเอียดลงไปกว่านั้้นก็ได้)

"รูปธรรม-นามธรรม" แม้จะเป็นคำเรียกที่บัญญัติขึ้นมา แต่ก็เป็นคำที่สื่อถึงสิ่งที่มีอยู่จริง (ใช้คำอย่างบาลีว่า "สภาวะ" หรือ "สภาวธรรม" คือ สิ่งที่มีภาวะของมันเอง หรือสิ่งที่มีความเป็นจริงของมัน) ดังเช่น "เตโชธาตุ" "ชีวิตินทรีย์" "จักขุวิญญาณ" "ผัสสะ" "สุข" "ทุกข์" "โทสะ" "เมตตา" "สมาธิ" "ปัญญา" ฯลฯ จนถึง "วิมุตติ" "สันติ" "นิพพาน" เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2013, 04:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
สมมุติ หรือสมมติ เป็นการลงความเห็นในทางเดียวกัน ตกลงกัน ยอมรับกัน
บัญญัติ เป็นชื่อเรียก เป็นข้อกำหนด จากสมมติ

แสดงความเห็นแบบนี้ ทำให้เห็นความจริงในตัวเช่นนั้น ไอ้ที่ชอบอ้าง...พุทธพจน์
ชอบกล่าวหาคนอื่นกล่าวในสิ่งที่ไม่ใช่พุทธพจน์
แท้จริงแล้ว เช่นนั้นก็แค่อาศัยคำอ้างนั้น มายกตนข่มท่าน
ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ได้มีความเข้าใจเลยว่า พุทธพจน์หมายถึงอะไร
แล้วเช่นไรจึงจะเรียกพุทธพจน์


มันใช่อย่างที่เช่นนั้นบอกที่ไหนล่ะ ไอ้คำว่า สมมุติหรือสมมติที่เช่นนั้นแปลว่า
"ลงความเห็นไปในทางเดียวกัน"
นี่แหล่ะน่าชอบเอาคำอ้าง"พุทธพจน์"มาข่มคนอื่น
แต่แสดงความเห็นแบบนี้ ไม่มีสติครับ

มันจะให้คนอื่นมาลงความเห็นได้อย่างไร
เรากำลังศึกษาพุทธพจน์ แล้วเราจะไปเอาความเห็นคนอื่นได้อย่างไร
ต้องเป็นความเห็นของพระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้น

ดังนั้นคำว่าสมมุติหรือสมมติ ต้องเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนด
นั้นคือถ้าพระพุทธองค์ทรงกล่าวว่าอะไรคือสมมติ ก็ต้องเอาตามที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ

เช่นนั้น เขียน:
แต่
บัญญัติ นั้นอาจจะบัญญัติเดียวกัน แต่สมมติต่างกันก็มี
บัญญัติ ต่างกัน สมมติเดียวกันก็มี
บัญญัติเดียวกัน สมมติเดียวกันก็มี

พูดแบบนี้แสดงว่า ยังไม่เข้าใจว่า สิ่งใดเรียกสมมติ สิ่งใดเรียกปรมัตถ์
มิน่าถึงได้บอกว่านิพพานเป็นปรมัตถ์อย่างเดียว จิตเจตสิก รูปไม่ใช่(เละตั้งแต่กระทู้ที่แล้ว)

จะบอกที่มาของสมมติให้ฟัง พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้ว่า ธรรมชาติมีสองอย่าง
นั้นก็คือธรรมชาติของกายใจเรา เรียกปรมัตถ์สัจจะ (จิต เจตสิก รูป นิพพาน)
ธรรมชาตินอกกายใจเรียกว่า สมมุติสัจจะ (ธรรมทุกอย่างที่ไม่ใช่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน)
แบบนี้จึงเรียกว่า ความเป็นจริงของธรรมชาติหรือธรรมะเรียกรวมว่า....สัจจะ

ส่วนบัญญัติก็คือสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้ นั้นก็คือ...
กำหนดความเป็นปรมัตถ์และสมมติ
การกำหนดปรมัต์สัจะเรียกว่า........ บัญญัติ
เช่น บัญญัติสภาวะต่างๆไว้ ขันธ์ต่างๆ สังขาร วิสังขารฯลฯ

การกำหนดสมมติสัจจะเรียกว่า........สมมุติบัญญัติ
ยกตัวอย่าง เรามีการกระทบต่อธรรมชาติภายนอก เราเรียกว่า ธรรมที่มากระทบว่า
สมมุติสัจจะ การไปกำหนดสมมุติสัจจะที่มากระทบ นั้นก็คือสมมุติบัญญัติ
อย่างเช่น ตามองเห็นคน "สิ่งที่ตาเห็น"เป็นสมมุติสัจจะ "คน"เป็นสมมุติบัญญัติ
สิ่งที่เกิดหลังจากตาเห็น เรียก"รูปารมณ์" เป็นบัญญัติ


เช่นนั้น เขียน:
ยกกรณีที่เห็นง่ายๆ
ถ้วย
คนภาคหนึ่งจะหมายถึง ภาชนะใส่น้ำทรงกระบอก
แต่คนอีกภาคหนึ่งจะหมายถึง ภาชนะที่คล้ายชาม ใบเล็กๆ ใส่น้ำแกง
แบบนี้ บัญญัติเดียวกัน แต่สมมติต่างกัน

ธรรมชาติหนึ่งที่ปรุงแต่งเป็นลักษณะกลมๆ สว่างจ้าให้ความร้อนแก่โลกมนุษย์
ชนแต่ละชาติ เรียกว่า ดวงอาทิตย์, sun, 太陽, サン, ព្រះអាទិត្យ ฯลฯ
แบบนี้ บัญญัติต่างกัน สมมติเดียวกัน
V

ไปภาคไหนๆของไทย ก็อ่านว่าออกเสียงว่า กอ
และรู้จัก ว่าเป็นอักษร ก
แบบนี้ เรียกว่า บัญญัติเดียวกัน สมมติเดียวกัน
V
พอจะเข้าใจง่ายๆ แบบนี้


เละแล้วครับ! ที่พูดมาไม่ใช่พุทธพจน์และไม่ใช่คำอธิบายความในพุทธพจน์
นี่เป็นสิ่งที่ทางโลกกำหนดขึ้น เป็นเรื่องที่คนต่างชาติต่างศาสนาก็กำหนดได้
ไม่ได้เกี่ยวกับธรรมะ ของพระพุทธเจ้า เขาเรียกว่าข้อกำหนดของภาษา
เช่นนั้น รู้จักโลกียธรรมมั้ย :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2013, 05:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้แต่หวังว่า จขกท. คงติดตามอยู่นะครับ

ถ้างั้นศึกษาความหมายคำว่า สมมติบัญญัติ ต่อจากนั้น :b31: แล้วจะเห็นอะไรอีกหลายๆอย่างหลายๆความหมายที่ผู้ศึกษาธรรมบ้านเราพูดจากล่าวขานกันอยู่ ดูต่อครับ



ส่วน "สัตว์" "บุคคล" "ตัวตน/อัตตา/อาตมา/อาตมัน" "เรา" "เขา" เป็นต้น ไม่สื่อถึงสภาวะคือสิ่งที่มีอยู่จริงนั้น แต่เป็นชื่อที่สมมุติซ้อนขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง บนของจริงที่เป็นสภาวะของมัน ที่สัมพันธ์กันอยู่ เช่นเป็นเหตุปัจจัยแก่กันในลักษณาการต่างๆ พอระบบสัมพันธ์นั้นแปรหรือสลาย องค์ประกอบวิบัติกระจัดกระจาย "สัตว์" "บุคคล" "ตัวตน/อัตตา/อาตมา/อาตมัน" ฯลฯ ก็หายไป มีแต่สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นไปตามวิถึทางของมัน

เหมือนอย่างเมื่อองค์ย่อยหรือชิ้นส่วนหลากหลายที่เขาสร้าง หรือจัดรูปแต่งร่างขึ้น ถูกนำมาประกอบเข้าด้วยกันให้ปรากฏในรูปลักษณ์ที่จะใช้ทำการสนองความมุ่งหมายแห่งเจตจำนงในการขนส่งเดินทาง ก็เกิดเป็นสิ่งที่มีชื่อเรียกว่า "รถ"

ในตัวอย่างนี้ "รถ" เป็นสมมติ ที่เป็นเพียงการประกอบกันเข้าของชิ้นส่วนทั้งหลาย ไม่มีรถทีี่่เป็นตัวของมันต่างหากจากชิ้นส่วนเหล่านั้น ที่เรียกว่าเป็นส่วนประกอบของมัน

ไม่มีตัว "รถ" ที่เป็นเจ้าของส่วนประกอบเหล่านั้นจริง พอล่วนที่ประกอบกันนั้นสลายแยกกระจายออกไป สมมติที่เรียกว่า "รถ" ก็หายไปเอง
ที่ว่าไม่มีอัตตา ไม่เป็นอัตตา ก็มองได้จากอุปมาอย่างนี้

นอกจากสมมติที่ไม่มีจริงซ้อนขึ้นมาบนสภาวะที่เป็นของจริงแล้ว มนุษย์ยังสมมุติชนิดไม่มีจริงซ้อนสมมติที่ไม่มีจริงนั้นต่อขึ้นไปอีกๆ บางทีมากมายหลายชั้น เช่น จากสมมติว่า "คน" ก็สมมติว่า คนนั้นเป็น "นายมี" "นายหมด" "รถของนายมี" "รถยี่ห้อบิลเลียนของคนไทยที่เป็นเศรษฐีใหญ่ชื่อว่านายมี" ฯลฯ


ทีนี้ หันไปดูทางด้านสภาวะ หรือสภาวธรรม ที่เป็นสิ่งมีอยู่จริง สภาวธรรมก็มีมากมาย และมีภาวะ มีคุณสมบัติ มีอาการในการสัมพันธ์กับสภาวะอย่างอื่น เป็นต้น ที่มีลักษณะเฉพาะตัวบ้าง เหมือนกันหรือร่วมกันเป็นพวกๆ หรือเป็นประเภทๆ บ้าง ดังที่สื่อโดยบัญญัติเรียกให้มีชื่อต่างๆ เช่น เป็นรูปธรรม หรือเป็นนามธรรม อย่างที่พูดถึงมาแล้วบ้าง เป็นโลกิยธรรม หรือเป็นโลกุตรธรรมบ้าง เป็นสังขตธรรม หรืออสังขตธรรม บ้าง เป็นต้น

ยกนิพพานเป็นตัวอย่าง นิพพานเป็นนามธรรม แต่ก็ต่า่งจากนามธรรมส่วนมากในแง่ที่ว่านิพพานเป็นโลกุตรธรรม และพร้อมกันนั้น นิพพานก็ต่างจากโลกุตรธรรมอื่นทั้งหมด ในแง่ที่นิพพานเป็นอสังขตธรรม ไม่ขึ้นต่อเหตุปัจจัยในระบบสัมพันธ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2013, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ติดตามอ่านทุกคำตอบคะ :b20: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2013, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุอนุโมทามิ ดีครับ ถ้างั้นก็ดูต่อไป แล้วจะเข้าใจธรรมะดีขึ้น ธรรมะอยู่ต่อหน้านี่แหละ กระโดดโลดเต้นไปกับเรานี่แหละ แต่มนุษย์มองข้ามหรือมองไม่เห็นเอง พิณาต่อนะครับ :b1:



สมมติ ไม่มีใครหลุด ไม่ต้องไปพ้น เอาแค่รู้ทัน และใช้มันให้เป็น

พึงสังเกตด้วยว่า “สมมุติ” หรือ “สมมติ” นี้ เป็นคำที่นิยมใช้มากในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาลงมา ส่วนในพระไตรปิฎก ก็มีใช้บ้าง แต่โดยมากมาในคำกล่าวของพระสาวก โดยเฉพาะพระสารีบุตร (เช่น ในสังคีติสูตร ทสุตตรสูตร ในนิทเทส และปฏิสัมภิทามัคค์) ส่วนท่านอื่นก็มีพระวชิราภิกษุณี เป็นตัวอย่าง เช่นที่ว่า (นี่แน่ะมาร ท่านจะมีความเห็นยึดถือว่าเป็นสัตว์ได้อย่างไร ในสภาวะที่เป็นเพียงกองแห่งสังขารล้วนๆนี้ จะหาตัวสัตว์ไม่ได้เลย เปรียบเหมือนว่า เพราะคุมส่วนประกอบเข้าด้วยกัน ศัพท์ว่า รถ ย่อมมี ฉันใด เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ สมมติว่าสัตว์ ก็ย่อมมี ฉันนั้น) แล้วในพระอภิธรรมปิฎก ได้เกิดคำว่า “สมมติสัจจะ/สมมุติสัจจะ” ขึ้นในคัมภีร์กถาวัตถุ แห่งสมัยสังคายนาครั้งที่ ๓ (ประมาณ พ.ศ.๒๕๐)

แต่สำหรับพระพุทธเจ้าเอง ตามปกติ ทรงใช้คำว่า “สมมุติ” หรือ “สมมติ” ในพระวินัย ซึ่งเป็นเรื่องทางสังคม คือการที่ภิกษุสงฆ์ ตกลงกันตั้งพระภิกษุ หรือภิกษุณีสงฆ์ตกลงกันตั้งพระภิกษุณีสงฆ์ ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในกิจการต่างๆ (เช่น ภัตตุทเทสกสมมุติ คือ การที่สงฆ์ประชุมกันตั้งพระเป็นภัตตุเทศก์ ได้แก่พระเจ้าหน้าที่จัดแจกอาหาร คล้ายกับที่ประชาชนมาลงคะแนนสมมุติคือเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) หรือตกลงกันกำหนดบริเวณหนึ่งให้เป็นเขตที่ประชุมทำกิจการของสงฆ์ ดังที่เรียกว่า สมมติสีมา (บาลีว่า สีมาสมฺมติ หรือสีมาสมฺมุติ) ตลอดจนกำหนดสถานที่นั้นๆให้เป็นที่ทำการนั้น ๆ (เช่น ภัณฑาคารสมมุติ คือการที่สงฆ์ประชมกันตกลงกำหนดให้ใช้ที่นั้นเป็นโรงเก็บของ)

พุทธพจน์ที่ตรัสใช้คำว่า “สมมุติ” ในทางธรรม พบในพระสูตรเดียว เป็นคาถาในสุตตนิบาต (ขุ.สุ.๒๕/๔๒๐/๕๐๙-๕๑๒) และทรงใช้ในความหมายอย่างเดียวกับทิฏฐิ

ถ้าจะใช้คำตามอย่างพุทธพจน์ คำที่ทรงใช้ในความหมายอย่างนี้ ก็คือ “โวหาร” (การแลกเปลี่ยนข่าวสาร การโต้ตอบ การสื่อภาษา ถ้อยคำที่สื่อสารกัน) และคำอื่นๆที่มักมาด้วยกันเป็นชุด (คือ สมัญญา นิรุตติ บัญญัติ เป็นต้น) (ดูตัวอย่าง “ภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ ...จะพึงกล่าวว่า ฉันพูด ดังนี้ก็ดี เขาพูดกับฉัน ดังนี้ก็ดี เธอเป็นผู้ฉลาด รู้ถ้อยคำที่เขาพูดกันในโลก ก็พึงกล่าวไปตามโวหารเท่านั้น” “เหล่านี้เป็นโลกสมัญญา เป็นโลกนิรุตติ เป็นโลกโวหาร เป็นโลกบัญญัติ ที่ตถาคตใช้พูดจา แต่ไม่ยึดติด”

อ่านพุทธพจน์เพียงสั้นๆ ต่อไปนี้ ก็จะมองเห็นความหมายและแนวทางปฏิบัติในเรื่องนี้พอสมควร ขอยกตัวอย่างมา ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย...ไม่พึงยึดแน่นติดคากับภาษาถิ่น ไม่พึงแล่นเลยเถิดข้ามถ้อยคำที่ชาวโลกรู้เข้าใจกัน (...ชนปทนิรุตฺตึ นาภินิเวเสยฺย สมญฺญํ นาติธาเวยฺย) ...ในถิ่นแดนนั้นๆ ชนทั้งหลายรู้จักสิ่งนั้นกันอย่างไรๆ ว่า ‘ดังที่รู้มาว่า ที่ท่านเหล่านี้ พูดหมายถึงสิ่งนี้’ ภิกษุก็พูดจากล่าวขานไปอย่างนั้นๆ โดยไม่ยึดติดถือมั่น (ม.อุ.๑๑/๖๖๒/๔๒๙)

ดูกรจิตตะ การได้ตัวตน (อัตตา) เหล่านี้แล เป็นถ้อยคำที่รู้เข้าใจกันของชาวโลก (โลกสมัญญา) เป็นภาษาของชาวโลก (โลกนิรุตติ) เป็นคำสื่อสารกันของชาวโลก (โลกโวหาร) เป็นบัญญัติของชาวโลก (โลกบัญญัติ) ที่ตถาคตใช้พูดจา โดยมิได้ถือมั่นยึดติด (อิมา โข จิตฺต โลกสมญฺญา โลกนิรุตฺติโย โลกโวหารา โลกปญฺญัติโย ยาหิ ตถาคโต โวหรติ อปรามสนฺโต) (ที.สี.๙/๓๐๒/๒๔๒-๒๕๗)


ถึงแม้คำว่า “สมมติ” จะเป็นคำที่นิยมใช้ในชั้นรอง และชั้นหลังตั้งแต่อรรถกถาลงมา ก็มิได้น่ารังเกียจอะไร แต่กลับน่าใช้ในแง่เป็นคำที่สื่อสารได้ง่าย คนไทยคุ้นกันดี แต่ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า ควรระวังทั้งในแง่ที่จะใช้ให้สื่อความหมายที่ถูกต้อง ไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด และถูกตรงตามระบบของธรรม ไม่ให้เกิดความสับสนไขว้เขว



พูดสั้นๆว่า ไม่ต้องพ้นจากสมมุติ แต่พ้นจากการยึดติดสมมุติ

หลุดพ้นด้วยปัญญาที่รู้ความจริง ก็หลุดพ้นจากโมหะของตัวเอง ไม่ใช่หลุดพ้นจากสมมุติหรอก ส่วนสมมุตินั้นก็ไม่ต้องไปหลุดพ้น มีแต่ให้รู้เท่าทันมัน

สมมุติไม่ใช่เรื่องที่จะต้องไปหลุดพ้น คือ สิ่งทั้งหลายที่มีจริงก็เป็นสภาวะที่มีอยู่ของมันอย่างนั้นๆ สิ่งที่ไม่มีจริง ก็ไม่เป็นสภาวะที่มีอยู่ สมมุติเป็นเรื่องของมนุษย์ที่พยายามสื่อสารกัน ถ้าใช้มันเป็น ก็คือเอามันมาช่วยให้เรารู้ต่อไปถึง หรือไปเข้าถึงสภาวะ สมมุติก็เหมือนมาซ้อนอยู่เท่านั้น

เมื่อรู้ถึงสภาวะแล้ว เรารู้ว่าสมมุติเป็นสมมุติ ก็ใช้มันต่อไป เรียกว่าใช้มันอย่างรู้เท่าทัน ไม่ยึดติดถือมั่น ไม่ตกเป็นทาสของมัน มันก็เป็นประโยชน์ไปตามฐานะที่แท้จริงของมัน

เพราะฉะนั้น ท่านจึงสอนเตือนไว้ให้รู้เท่าทันสมมุติ คือรู้จักสมมุติว่าเป็นสมมุติ แล้วก็ใช้มันอย่างรู้เข้าใจ ไม่ติดค้างถือคาอยู่กับมัน พูดจาไปตามสมมุติ แต่ปัญญาหยั่งไปถึงสภาวะโน่น อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสดังยกมาให้ดูข้างบนนั้น ก็หมดปัญหา

แต่ถ้าไม่รู้เข้าใจตามเป็นจริง เอาสมมุติเป็นตัวความจริง ก็ติดอยู่กับสมมุตินั้น มองไม่ถึงสภาวะ เหมือนกับว่าสมมุติมาบังตาไว้ ทำให้ไม่เห็นความจริง เรียกว่าหลงสมมุติ ไม่รู้เท่าทันมัน สมมุติกลายเป็นทิฏฐิ แล้วก็ยึดติดถือมั่นไปตามสมมุติ ใช้สมมุติไม่เป็น ก็กลายเป็นโทษไป

เป็นอันว่า เรื่องสมมุตินี่ ไม่ต้องพ้นมันหรอก ไม่ต้องไปหลุดพ้นจากสมมุติหรอก ธรรมไหนๆ ก็อยู่ตามสภาวะของมัน ไม่ต้องหลุดพ้นจากสมมุติ คนรู้เข้าใจธรรมไปตามสภาวะ คือเกิดปัญญารู้ทันมัน ถึงความจริงของมัน ก็จบ ไม่ต้องไปหลุดพ้นจากสมมุติ เรามีหน้าที่เพียงรู้เท่าทัน อย่ายึดติดอยู่กับมัน และไปให้ถึงสภาวะ

รวมความว่า สมมุติคู่กับสภาวะ (สภาวะในแง่นี้ มาถึงยุคหนึ่ง ได้นิยมใช้คำเรียกให้มีความหมายจำเพาะ และหนักแน่นมากขึ้นว่า “ปรมัตถ์”)

เราสมมุติขึ้นมาบนสภาวะบ้าง สมมุติซ้อนต่อกันขึ้นไปบนสมมุติ เป็นสมมุติลอยๆ โดยไม่มีสภาวะบ้าง แล้วในที่สุด เมื่อเรารู้ทันสมมุติ และรู้ถึงสภาวะ ก็ปฏิบัติต่อมัน อยู่กับมันได้ด้วยดีโดยชอบ อย่างเป็นอิสระทั้งสองอย่าง


(รู้เท่าทันสมมติก็จะวิมุตติ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2013, 10:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เละแล้วครับ! ที่พูดมาไม่ใช่พุทธพจน์และไม่ใช่คำอธิบายความในพุทธพจน์
นี่เป็นสิ่งที่ทางโลกกำหนดขึ้น เป็นเรื่องที่คนต่างชาติต่างศาสนาก็กำหนดได้
ไม่ได้เกี่ยวกับธรรมะ ของพระพุทธเจ้า เขาเรียกว่าข้อกำหนดของภาษา
เช่นนั้น รู้จักโลกียธรรมมั้ย :b13:

มั่วมาแต่ไกล โฮฮับ
หัวข้อกระทู้ตรงไหน ถามหา พุทธพจน์

โฮฮับ เขียน:
จะบอกที่มาของสมมติให้ฟัง พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้ว่า ธรรมชาติมีสองอย่าง
นั้นก็คือธรรมชาติของกายใจเรา เรียกปรมัตถ์สัจจะ (จิต เจตสิก รูป นิพพาน)
ธรรมชาตินอกกายใจเรียกว่า สมมุติสัจจะ (ธรรมทุกอย่างที่ไม่ใช่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน)
แบบนี้จึงเรียกว่า ความเป็นจริงของธรรมชาติหรือธรรมะเรียกรวมว่า....สัจจะ


ถ้ามีคำว่า "พระพุทธองค์ทรงกำหนด"
โฮฮับ บอกมาซิว่า อยู่ในพระสูตรไหน เล่มที่เท่าไหร่ หัวข้อที่เท่าไหร่
ว่า ธรรมชาติของกายใจเรา เรียกปรมัตถ์สัจจะ(จิต เจตสิก รูป นิพพาน)
ธรรมชาตินอกกายใจเรียกว่า สมมุติสัจจะ (ธรรมทุกอย่าง ที่ไม่ใช่จิต เจตสิก รูป นิพพาน)

มั่วไปเรื่อยๆ โฮฮับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 30 พ.ค. 2013, 10:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2013, 10:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้ทันสมมติก็จะวิมุตติ


วิมุตติ แปลว่า ความพ้นไป หลุดไป มี "วิ" มาเติมเข้าข้างหน้าให้หนักแน่นขึ้น แปลกันว่า การหลุดออกไป ความหลุดพ้น เช่น หลุดจากเครื่องผูกมัด พ้นจากบ่วง จากพันธนาการ พ้นจากโรคภัย ในทางธรรม หมายถึงหลุดพ้นจากกิเลส จากวัฏฏภัย หรือจากสภาวะที่ไม่ดีทั้งหลาย

(แต่ "วิ" ที่มาเติมข้างหน้านั้น ในบางกรณีก็หักความให้ตรงข้าม ทำให้ "วิมุตติ" แทนที่จะหมายถึงหลุดพ้น ก็แปลทำนองว่า โน้มดิ่งไปในเรื่องนั้น หรือในสภาวะนั้น เช่น "อภเย วิมุตฺโต" หมายความว่า น้อมแน่วไปในนิพพานอันไม่มีภัย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2013, 10:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กรัชกาย เขียน:
nongkong เขียน:


“สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง สังขตธรรมทั้งปวงเป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติ เป็นอนัตตาวินิจฉัยมีอยู่ดังนี้”

คุนน้องสงสัยประโยคสีแดงค่ะ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขตธรรมทั้งปวงเป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา แล้วทำไมนิพพานเป็นอนัตตาค่ะ


เดี๋ยวได้วกเข้าอัตตาอีก

ตอบเลย เพราะน่าจะไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา กาละมัง

เข้าใจสมมติบัญญัติ ว่า ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา แล้วเห็นนิพพานแล้วหรอค่ะ


คณน้องถามที่หัวข้อกระทู้นี้

viewtopic.php?f=1&t=45451&start=195

นำมาตอบให้อ่านที่นี่ (มีความหมายสมมติบัญญัติด้วย) :b1:

ที่ถามอีกว่า แล้วเห็นนิพพานแล้วหรอค่ะ ตอบ นิพพานในความหมายที่กรัชกายเข้าใจ ไม่ค่อยเหมือนกับชาวบ้านเขาเท่าไหร่ คือเข้าใจนิพพานว่า ต้องกำจัด อวิชชา ตัณหา อุปาทานในจิตในใจให้บางเบาลงจนกระทั่งหมดสิ้นไป ถ้านิพพานในความหมายนี้ ยังไม่หมดครับ ยังมีอีกเยอะพอสมควร คิกๆ :b32: :b13: พิสูจน์ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2013, 11:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เละแล้วครับ! ที่พูดมาไม่ใช่พุทธพจน์และไม่ใช่คำอธิบายความในพุทธพจน์
นี่เป็นสิ่งที่ทางโลกกำหนดขึ้น เป็นเรื่องที่คนต่างชาติต่างศาสนาก็กำหนดได้
ไม่ได้เกี่ยวกับธรรมะ ของพระพุทธเจ้า เขาเรียกว่าข้อกำหนดของภาษา
เช่นนั้น รู้จักโลกียธรรมมั้ย :b13:

มั่วมาแต่ไกล โฮฮับ
หัวข้อกระทู้ตรงไหน ถามหา พุทธพจน์

หัวข้อกระทู้เป็นเรื่องของธรรมะ เว็บนี้เป็นเว็บธรรมะ เว็บนี้โดยเฉพาะห้องสนทนาธรรมนี้
มีกฎเกณท์ตั้งเอาไว้ว่า จะต้องสนทนาแต่ในเรื่อง พระธรรมที่เป็นเรื่องของศาสนาพุทธ

พระธรรมทั้งหมด เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เราเรียกว่าพุทธพจน์
เหตุผลแค่นี้พอหรือยัง :b32:
เช่นนั้น เขียน:
ถ้ามีคำว่า "พระพุทธองค์ทรงกำหนด"
โฮฮับ บอกมาซิว่า อยู่ในพระสูตรไหน เล่มที่เท่าไหร่ หัวข้อที่เท่าไหร่
ว่า ธรรมชาติของกายใจเรา เรียกปรมัตถ์สัจจะ(จิต เจตสิก รูป นิพพาน)
ธรรมชาตินอกกายใจเรียกว่า สมมุติสัจจะ (ธรรมทุกอย่าง ที่ไม่ใช่จิต เจตสิก รูป นิพพาน)
มั่วไปเรื่อยๆ โฮฮับ

แล้วพระพุทธองค์บอกหรือเปล่าว่าไม่ใช่ เรื่องแบบนี้มันเป็นไตรสิกขา
จะให้กางพระไตรปิฎก ถามหน่อยจะต้องกางกี่เล่ม

อย่างไรก็ช่างเถอะ ที่รู้ๆ เช่นนั้นเอาเรื่องอะไรมาพร่ามซี้ซัว
อย่าว่าแต่พุทธพจน์เลย ธรรมะเบื้องต้นยังไม่เฉียดใกล้ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2013, 11:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เละแล้วครับ! ที่พูดมาไม่ใช่พุทธพจน์และไม่ใช่คำอธิบายความในพุทธพจน์
นี่เป็นสิ่งที่ทางโลกกำหนดขึ้น เป็นเรื่องที่คนต่างชาติต่างศาสนาก็กำหนดได้
ไม่ได้เกี่ยวกับธรรมะ ของพระพุทธเจ้า เขาเรียกว่าข้อกำหนดของภาษา
เช่นนั้น รู้จักโลกียธรรมมั้ย :b13:

มั่วมาแต่ไกล โฮฮับ
หัวข้อกระทู้ตรงไหน ถามหา พุทธพจน์

หัวข้อกระทู้เป็นเรื่องของธรรมะ เว็บนี้เป็นเว็บธรรมะ เว็บนี้โดยเฉพาะห้องสนทนาธรรมนี้
มีกฎเกณท์ตั้งเอาไว้ว่า จะต้องสนทนาแต่ในเรื่อง พระธรรมที่เป็นเรื่องของศาสนาพุทธ

พระธรรมทั้งหมด เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เราเรียกว่าพุทธพจน์
เหตุผลแค่นี้พอหรือยัง :b32:

อ่านให้ออก โฮฮับ
หัวข้อกระทู้ตรงไหน ถามหาพุทธพจน์
ระบุมา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร