วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 12:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2013, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนอื่นขอบอกก่อนว่า กระทู้นี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัว คำอธิบายความไม่อ้างอิงใคร
คิดเสียว่าเป็นคำพูดของบุคคลคนหนึ่งเท่านั้น

ที่ผ่านมามีหลายท่านอาจจะไม่เข้าใจว่า บัญญัติคืออะไร ปรมัตถ์(จิต เจตสิก รูป นิพพาน)
และกระบวนการขันธ์ห้าคืออะไร บางครั้งผมแสดงความเห็นที่เกี่ยวกับเรื่องนี้
มีบางท่านไม่เข้าใจ ก็ปรามาสใส่อารมณ์ ผมไม่ถือสาครับ เพราะรู้อยู่แก่ใจว่า
บุคคลท่านนั้นหรือหลายๆท่านยังขาดปัญญามองธรรมที่เป็นสภาวะ (ปรมัตถ์)

ผมจึงอยากจะอธิบายให้ฟัง ไม่ใช่อะไรหรอกทั้งหมดทั้งมวลก็เพื่อให้ท่านทั้งหลาย
เข้าใจว่าคำพูดของผมทุกคำ มีเหตุมีผลในตัวของมัน ไม่ได้เป็นคำพูดลอยๆ

ผมแสดงความเห็น ทุกความเห็นผมสามารถให้เหตุผลได้ แต่ส่วนใหญ่อ่านความเห็นผมแล้ว
ก็จะปรามาสผมไม่คิดจะถามในส่วนที่ตัวไม่เข้าใจ หรือมีก็พวกที่ถามเพื่อการประชดประชัน
และพวกที่ถามในลักษณะยียวนไม่ต้องการคำตอบ เหตุนี้ผมจึงเลี่ยงๆไม่ตอบ

เริ่มเรื่องเลยครับ ผมอยากให้พวกท่านมาทำความเข้าใจ กับคำสามคำนี้ครับ
.....บัญญัติ
.....ปรมัตถ์
.....กระบวนการขันธ์

ไว้มาเขียนต่อครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2013, 20:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


เอามาให้พิจารณา .... ไม่รู้ตรงกันมั้ยครับ

ทีนี้ ก็มาถึงขั้นที่เรียกกันว่า “บัญญัติ” บัญญัติในที่นี้ ตัวอย่างเช่น คน ๆ หนึ่ง เราไม่เรียกว่า นาย ก. นาย ข. นาย ง. อีกแล้ว เราเพ่งไปยังส่วนต่าง ๆ ที่จับกลุ่มประกอบกันอยู่เป็น นาย ก. เป็นต้น. นาย ก. ผู้นี้ เมื่อเราพิจารณาดูร่างกายทั้งหมดของ นาย ก. หรือกลุ่มสังขารที่รวมกันเป็น นาย ก. ก็จะพบว่า นาย ก. นั้น เท่ากับ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมกัน. แต่ละส่วน ๆ ถูกบัญญัติเรียกว่าอย่างนั้นอย่างนี้, เช่นส่วนนี้เรียกว่า รูปขันธ์, ส่วนนี้เรียกว่าเวทนาขันธ์, ส่วนนี้เรียกว่าสัญญาขันธ์, ส่วนนี้เรียกว่าสังขารขันธ์, ส่วนนี้เรียกว่าวิญญาณขันธ์. การเห็นบัญญัติอย่างนี้ค่อยยังชั่วขึ้นมาหน่อย คือฉลาดขึ้นมาหน่อย เรียกว่าไม่ถึงกับหลงในสมมติ; แต่ติดบัญญัติ. ถ้าเราจะแยกบัญญัติให้ละเอียดออกไปอีกก็มีทางทำได้, เช่นส่วนที่เป็นรูปกายนี้ แยกออกเป็น ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม. หรือถ้าเราไม่แยกอย่างทางในวัดเขาแยกกัน จะแยกอย่างการศึกษาปัจจุบัน เป็นคาร์บอน เป็นอ๊อกซิเจน ไฮโดรเจน หรืออะไรก็ตาม ก็เหมือนกัน. เราก็ยังจะเห็นได้อยู่นั่นเองว่า ส่วน ๆ นั้นก็เรียกชื่อบัญญัติ ว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม; หรือบัญญัติว่า ธาตุคาร์บอน ธาตุอ๊อกซิเจน หรืออะไรก็ตาม อย่างนี้เรียกว่าเห็นลึกเข้ามาอีกชั้นหนึ่ง คือมันหลอกเราได้น้อยเข้าอีกชั้นหนึ่ง กลายเป็นเห็นว่าคนไม่มี มีอยู่แต่ธาตุส่วนที่เป็นร่างกาย คือธาตุนั้น ๆ ตามที่กล่าวแล้ว. ส่วนที่เป็นจิต ก็เป็นนามธาตุ; แยกออกเป็นส่วนย่อย ๆ ก็เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน เช่นเป็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. เมื่อเป็นดังนี้ ความรู้สึกว่าคนก็หายไป, ความรู้สึกว่า นาย ก. นาย ข. นาย ค. นาย ง. ก็หายไป. ความรู้สึกว่าลูกของกู ผัวของกู เมียของกู อย่างนี้ก็พลอยหายไป. นี่ เพราะอำนาจของการเข้าถึงบัญญัติ. แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีทางที่จะติดบัญญัติ ท่านจึงสอนให้ดูให้ลึก ให้ละเอียดลงไปอีกชั้นหนึ่ง จนถึงขั้นที่ท่านเรียกว่า “ปรมัตถ์”.

ทีนี้ เมื่อดูกันในแง่ปรมัตถ์ที่ลึกลงไปอีก มันจะปรากฏเป็นความจริงว่า แม้ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม; ธาตุอ๊อกซิเจน ธาตุไฮโดรเจน หรืออะไรก็ตาม จะเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ตาม, ดูให้ลึกแล้ว ก็จะพบลักษณะอันหนึ่ง ซึ่งเหมือนกันหมด คือ “ความว่าง”. ว่างจากอะไร ? ว่างจากตัวตนนั่นเอง. คำว่าว่างในที่นี้ ก็คือ ว่างจากสิ่งที่เราเรียกว่าตัวตน อย่าไปดูมันตรงที่เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นไฟ เป็นลม ดูมันตรงที่มันไม่ใช่ตัวตน ไม่มีตัวตน. ดูที่ตรงไหน ๆ มันก็ไม่มีตัวตน, พบแต่ความว่างจากตัวตน, ซึ่งถ้าเรียกอย่างภาษาศาสนา ก็เรียกว่า “สุญญตา” แปลว่า ความเป็นของว่าง, และเล็งถึงความว่างจากความมีตัวตน ว่างจากความหมายที่ควรถือว่ามีตัวตนโดยเฉพาะ. ความว่างจากตัวตนนี้ มีปรากฏอยู่ในทุก ๆ สิ่ง ไม่ว่าสิ่งใดหมด เพียงแต่ดูไม่เป็น ก็ไม่มีทางที่จะเห็นเท่านั้นเอง.

ท่านผู้ใดเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในลักษณะที่เป็นของว่าง เป็นสุญญตา ดังนี้แล้ว ความยึดถือหรืออุปาทานย่อมไม่มีทางที่จะเกิดได้, ที่เกิดแล้ว ก็ไม่มีทางที่จะเหลืออยู่ได้ มันจะสูญหายละลายไปหมด ปราศจากอุปาทานโดยสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นอุปาทานข้อไหนใน ๕ ข้อนั้นก็ตาม มันจึงไม่มีสัตว์ ไม่มีคน ไม่มีธาตุ ไม่มีขันธ์ ไม่มีอายตนะ ไม่มีอะไรทั้งหมด อีกชั้นหนึ่ง. นี่แหละเป็นความว่างจากการยึดถือว่าตัวตนจนสิ้นเชิงแล้ว จนกระทั่งความทุกข์ก็ไม่มีที่เกิด และเกิดไม่ได้. ธรรมดาความทุกข์ต้องเกิดมาแต่กิเลส. กิเลสต้องมาจากการที่หลงเข้าไปยึดถือเบญจขันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ว่าเป็นตัวตน แล้วก็อยากได้ อยากมี อยากเป็น อย่างใดอย่างหนึ่งเสียก่อน. ความอยากชนิดนี้เป็นกิเลส พอเริ่มอยากก็เริ่มทุกข์. เมื่ออยากก็ต้องทำ เมื่อต้องทำตามอำนาจของความอยาก ก็ต้องทุกข์, ครั้นได้ผลมา ก็เป็นที่ตั้งของกิเลส ของความอยาก สืบต่อไปอีก. ขึ้นชื่อว่าเรื่องของกิเลสแล้ว ก็ต้องเป็นเรื่องของความทุกข์ ไม่มีที่สิ้นสุดเช่นนี้.


แค่นี้ก่อนครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2013, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ของท่านอาจารย์พุทธทาส ละมัง คุ้นๆ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2013, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: โฮฮับ

จะติดตามอ่านครับ

:b8:

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2013, 03:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เริ่มเรื่องเลยครับ ผมอยากให้พวกท่านมาทำความเข้าใจ กับคำสามคำนี้ครับ
.....บัญญัติ
.....ปรมัตถ์
.....กระบวนการขันธ์

ไว้มาเขียนต่อครับ :b13:

มาทำความเข้าใจกับคำศัพท์นี้ครับ เพื่อความเข้าใจที่ยิ่งขึ้นไปกับความเห็นของผม
ผมให้ความหมายของบัญญัติ ดังนี้ครับ

บัญญัติ คือสิ่งที่สมมุติขึ้นเพื่อใช้เรียก ใช้สื่อสารกันในสังคมแห่งสัตว์โลก
ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของ คำศัพท์ ภาษา ตัวหนังสือ ความรู้ คำสอน ฯลฯ
จุดประสงค์ของบัญญัติก็เพื่อให้เข้าใจสิ่งต่างๆในธรรมชาติไปในทางเดียวกัน

ปรมัตถ์ ก็คือสภาวะธรรมทั้งมวลที่เกิดขึ้นภายในกายใจ สภาวะธรรมนี้เป็นการรู้เฉพาะตัว
สภาวะธรรมของใครก็ของคนนั้น คนอื่นไม่สามารถรู้ได้ว่าเกิดสภาวะใดขึ้นในกายใจของคนอื่น
แต่สามารถมาบอกหรือสื่อสารกันได้ด้วย บัญญัติ



อย่าลืมเป็นอันขาดว่า บัญญัติถึงแม้จะเป็นสิ่งที่ใช้เรียกแทนสภาวะธรรม
แต่สองสิ่งนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง สิ่งหนึ่งมีอยู่จริง อีกสิ่งไม่มีอยู่จริง
พูดง่ายๆก็คือ ตัวสภาวะธรรมมีอยู่จริง บัญญัติเป็นสิ่งที่สมมุติขึ้นเพื่อใช้เรียกสภาวะธรรม
ถ้าเราเอาสองสิ่งมาเทียบกัน ตัวจริงก็คือสภาวะธรรม ตัวสมมุติก็คือบัญญัติ(ไม่จริง)


ยกตัวอย่างให้ดูเพื่อให้เข้าใจกว่านี้ ถ้าเราอ่านหนังสือหรืออาจจะฟังคำสอน
เทศนาต่างๆ ความรู้ที่เป็นเสียงหรือตัวหนังสือ เมื่อผ่านเข้ามาในกายใจเราแล้ว
เสียงหรือตัวหนังสือ จะเปลี่ยนเป็นสภาวะธรรม
สิ่งที่เกิดในกายเราจะไม่มีเสียงหรือตัวหนังสือ มีแต่สภาวะธรรมที่เรียกว่า...ขันธ์ห้า


ส่วนกระบวนการขันธ์ก็คือ การเกิดดับเปลี่ยนแปลงไปของขันธ์แต่ละขันธ์ นับตั้งแต่ผัสสะ
วิญญาน รูป เวทนา สัญญา สังขาร
อย่าลืมว่าคำศัพท์เหล่านี้เป็นบัญญัติที่ใช้เรียกแทนสภาวะธรรม

ส่วนกระบวนการขันธ์ก็คือ การเกิดดับเปลี่ยนแปลงไปของขันธ์แต่ละขันธ์ นับตั้งแต่ผัสสะ
วิญญาน รูป เวทนา สัญญา สังขาร
อย่าลืมว่าคำศัพท์เหล่านี้เป็นบัญญัติที่ใช้เรียกแทนสภาวะธรรม

เพิ่มเติมในทางพระอภิธรรม ท่านได้กำหนดให้ขันธ์ห้าเป็นปรมัตถ์ อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป
ถึงแม้จะกำหนดให้เป็นปรมัตถ์
แต่ก็กำหนดโดยบัญญัติ จิตเจตสิกรูป ก็เป็นเพียงบัญญัติที่สมมุติขึ้น เพื่อใช้เรียกแทนสภาวะธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2013, 04:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปุถุชนส่วนใหญ่มักจะหลงว่า ความรู้ที่ได้ร่ำเรียนแล้วจำเอาไว้ ซึ่งความรู้เหล่านั้น
ก็คือ เนื้อหาคำสอนของต่างๆ ความรู้จากหนังสือ หรือแม้กระทั้งศัพท์แสงที่ใช้อธิบายธรรม

คิดกันไปว่า สิ่งที่กล่าวมาเป็นอย่างเดียวกับสภาวะธรรม(ปรมัตถ์)
อันที่จริงแล้วสภาวะธรรมที่เกิดภายในกายใจ เป็นเพียงสภาวะของขันธ์ห้า
ขันธ์ห้าเป็นเพียงรูปนามที่เป็นปรมัตถ์(สภาวะธรรม)

ขันธ์ห้าไม่มี เนื้อหาความรู้หรือภาษาศัพท์แสงอะไรทั้งนั้น
ลักษณะของขันธ์ มีเพียงรูปขันธ์ วิญญานขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์และสังขารขันธ์
พระอภิธรรมเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า จิต เจตสิกและรูป

ในพระอภิธรรมจิต เจตสิก รูป(ขันธ์ห้า) เกิดจากผัสสะ

ความสำคัญมันอยู่ตรงนี้ คนที่ไม่เข้าใจในเรี่องขันธ์ห้า
มักจะหลงในเรื่องของผัสสะ มักจะขาดสมาธิแยกอายตนะ๑๒ ไม่รู้ว่าอะไรคือธรรมภายนอก
อะไรคือธรรมภายใน ในอายตนะ๑๒ มันมีสิ่งที่มากระทบกับสิ่งที่ถูกกระทบ
สิ่งที่มากระทบหรือเรียกว่า อายตนะภายนอก....ไม่ใช่สภาวะธรรม
สิ่งที่ถูกกระทบแล้วเท่านั้นจึงจะเกิดเป็นสภาวะธรรม
อายตนะภายนอกทั้งหก แตกต่างกันกับสภาวะธรรมอันเกิดจากอายตนะภายนอกมากระทบ


อายตนะภายนอกทั้งหกซึ่งต้องเน้นบอกครับว่า ไม่ใช่สภาวะธรรม ไม่ใช่ขันธ์ห้า(ปรมัตถ์)
อายตนะภายนอกเป็นเพียงธรรมชาติภายนอก อันได้แก่ รูป(ภาพ) รส กลิ่น เสียง โผฏทัพพะ
และธัมมารมณ์

ในอายตนะทั้งหกนี้ มีอยู่ตัวหนึ่งที่ปุถุชนมักจะเกิดความสับสน นั้นก็คือตัวธัมมารมณ์
ชอบยึดเอาตัวธรรมมารมณ์หลงคิดไปว่า ตัวธรรมมารมณ์เป็นสภาวะธรรม(ปรมัตถ์)
แท้จริงแล้ว ตัวธัมมารมณ์ก็คือ ความคิด ความจำในสิ่งต่างๆที่ได้อ่านได้ฟังมาทั้งหมด
ความรู้ต่างๆ คำศัพท์และสิ่งที่เคยเกิดการกระทบจากทวารอีกห้าตัว จะเป็นอดีตเมื่อ
เอามันออกมามันจะเป็นในลักษณะของความคิดหรือธัมมารมณ์

ธัมมารมณ์หรือความคิดเป็นอายตนะภายนอก ไม่ใช่สภาวะธรรม
แต่มันทำให้เกิดสภาาวะธรรม(ขันธ์ห้า)
เมื่อเราเกิดความคิดไปจำเรื่องราวในอดีต(ความรู้ที่ไปจำมา)
มันจึงเป็นเหตุให้เกิดขันธ์ห้า(สภาวะธรรม)
ขันธ์ห้าไม่ใช่ความรู้หรือปัญญาทางโลก แต่ขันธ์ห้าเป็นวิชชาเป็นปัญญาทางธรรม
ขันธ์ไม่มีเรื่องราว ไม่มีความรู้ที่เคยเรียนหรืออ่านมา เป็นเพียงสภาวะเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป
มันเป็นปัญญาที่เรียกว่าไตรลักษณ์ ซึ่งแตกต่างจากความรู้หรือปัญญาทางโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2013, 06:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ในพระอภิธรรมจิต เจตสิก รูป(ขันธ์ห้า) เกิดจากผัสสะ


อะไรหนอ เป็นปัจจัยให้เกิด รูปขันธ์
กรรม จิต อุตุ อาหาร
แม้แต่ อวิชชา และ ตัณหา ก็เป็นปัจจัย ให้เกิด รูปขันธ์

อะไรหนอ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนาขันธ์
อวิชชา ตัณหา กรรม ผัสสะ

อะไรหนอ เป็นปัจจัยให้เกิด สัญญาขันธ์
อวิชชา ตัณหา กรรม ผัสสะ

อะไรหนอ เป็นปัจจัยให้เกิด สังขารขันธ์
อวิชชา ตัณหา ผัสสะ

อะไรหนอ เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณขันธ์
อวิชชา ตัณหา กรรม นามรูป

ยังมีปัจจัย นอกเหนือจากที่ รวบรวมมาอีก คือ ยังไม่สรุป นะครับ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2013, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: คุณโฮฮับ

ผมมี 2 ประเด็นให้คุณโฮฮับขยายความหรือเพิ่มเติมครับ

1. จะนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์อย่างไร
2. กระบวนการทำงานของขันธ์ที่คุณโฮฮับเห็นเป็นอย่างไร

ต้องขออภัยถ้าเป็นสิ่งที่คุณกำลังจะเขียนเพิ่มเติมครับ

:b8:

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2013, 10:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โกเมศวร์ เขียน:
:b8: คุณโฮฮับ
ผมมี 2 ประเด็นให้คุณโฮฮับขยายความหรือเพิ่มเติมครับ
1. จะนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์อย่างไร

การจะนำความรู้ต่างๆ อาทิเช่น ความรู้จากการสอนสั่งของครูบาอาจารย์
ความรู้จากการอ่านพระไตรปิฎก มาใช้ให้เกิดมรรคผล เราจะต้องอาศัยปัญญาที่เรียกว่าไตรลักษณ์
มาเป็นองค์ในการใช้ความคิด ความคิดกับปัญญาไตรลักษณ์ เป็นคนละะส่วนกัน

ความคิดก็คือการพิจารณาหาเหตุผล ของสิ่งที่มากระทบกับกายใจของเรา
พิจารณาว่า สภาวะที่เกิดภายในกายใจเราเป็นเพียง สังขาร(ขันธ์ห้า)
อารมณ์ที่เกิดขึ้นเช่นอกุศลต่าง โมหะ โทสะและโลภะ มันเกิดแล้วต้องดับ
มันเกิดจริงแต่ไม่ใช่ความจริง อย่าลืมว่า องค์ประกอบสำคัญคือไตรลักษณ์
การจะมีไตรลักษณ์ได้จะต้องเป็นการไปรู้สภาวะไตรลักษณ์จริงๆ ไม่ใช่อ่านฟังหรืออ่านมา
มิเช่นนั้น ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาก็เป็นเพียงความคิดทางโลกธรรมดา
ไม่ใช่ความคิดที่ประกอบด้วยปัญญาโลกุตตระ


การจะทำให้มีปัญญาไตรลักษณ์ จะต้องปฏิบัติในการเจริญสติเพียงอย่างเดียว
แล้วอย่างไรเรียกการเจริญสติ นั้นก็คือการหมั่นตามรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น เช่น หลงก็มีสติรู้ว่าหลง
โกรธก็รู้ว่ากำลังโกรธ หรือโลภก็รู้ว่าโลภ วิธีนี้คือการเจริญสติเพื่อปัญญาไตรลักษณ์
ส่วนการเอาปัญญาไตรลักษณ์ไปเป็นองค์ประกอบของความคิด เรียกว่า ......
การเจริญปัญญาเข้าตามหลักสติปัฏฐาน๔
ผมถึงได้เคยบอกอยู่บ่อยๆว่า ปุถุชนที่ยังไม่มีปัญญาไม่สามารถเจริญปัฏฐาน๔ได้

โกเมศวร์ เขียน:
2. กระบวนการทำงานของขันธ์ที่คุณโฮฮับเห็นเป็นอย่างไร
ต้องขออภัยถ้าเป็นสิ่งที่คุณกำลังจะเขียนเพิ่มเติมครับ

กระบวนการทำงานของขันธ์ห้า ก็คือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของขันธ์แต่ละขันธ์
เช่นกระบวนขันธ์หนึ่งก็นับตั้งแต่ มีผัสสะมากระทบ เกิดวิญญานไปรู้รูป เป็นรูปขันและวิญญานขันธ์
รูปขันธ์ดับ วิญญานขันธ์ดับเกิดเป็นเวทนาและสัญญา เมื่อเวทขันธ์และสัญญาขันธ์ดับไป สุดท้ายของ
กระบวนการขันธ์ที่มีเหตุมาจากผัสสะหนึ่งก็คือ สังขารขันธ์

ผู้ที่จะรู้เรื่องขันธ์ห้าหรือกระบวนการขันธ์ได้จะต้องเป็นระดับอริยะบุคคล
การรู้ขันธ์ห้าไม่ใช่การเห็น ขันธ์แต่ละขันธ์เกิดขึ้น ตั้งอยู่หรือดับไปที่ละขันธ์
เช่นกันที่ว่าจิตเกิดดับ ก็ไม่ใช่เป็นการไปเห็นจิตเกิดดับ

การจะรู้ขันธ์ห้าหรือรู้จิตเกิดดับ เป็นการรู้ด้วยญาน(วิชชา)
ลักษณะแบบนี้เรียกว่า โยนิโสฯ ..การเอาไตรลักษณ์มาพิจารณาอย่างแยบคายให้รู้ขันธ์ห้า
หรือรู้ว่าจิตเกิดดับ
.........หมายความว่ารู้ด้วยเหตุผลและปัญญา


........อย่าลืมว่าการจะเห็นขันธ์ห้าหรือที่เรียกว่าสภาวะธรรม
บุคคลนั้นจะต้องมีปัญญาไตรลักษณ์เท่านั้น ไม่อย่านั้นบุคคลนั้นก็จะหลงอยุ่
กับบัญญัติหรือความรู้ที่เป็นเพียงความคิด ซึ่งมันไม่ใช่สภาวะธรรม(ขันธ์ห้า)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2013, 10:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
...ความต่างของบัญญัติกับปรมัตถ์...ข้อแรกเขียนต่างกัน...ข้อสองออกเสียงต่างกัน...
...ข้อสามศึกษาบัญญัติอย่างเดียวจะไม่รู้ปรมัตถ์ ศึกษาปรมัตถ์จะแยกบัญญัติกับปรมัตถ์ได้...
...ข้อสี่รู้บัญญัติเปลี่ยนแปลงสมมุติตามกาล เวลา สถานที่ รู้ปรมัตถ์คงที่ทุกกาล เวลา สถานที่...
...ข้อห้าที่ไม่ต่างกันของบัญญัติกับปรมัตถ์คือมีจิตเกิด-ดับตลอดเวลาเหมือนกัน แต่รู้สมมติต่างกัน...
...เป็นความคิด ความเห็น ที่ข้าพเจ้าประมวลได้จากความคิดตัวเองจากการอ่านหัวข้อจขกท. เจ้าค่ะ...
s002
:b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2013, 14:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

ยินดีที่ได้สนทนากันครับ คุณโฮฮับ

:b8:

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2013, 14:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


Quote Tipitaka:
ว่าด้วยเหตุปัจจัยแห่งขันธ์ ๕
[๑๘๗] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า แล้ว
ได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้รูปขันธ์
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ปรากฏ
?
พ. ดูกรภิกษุ มหาภูตรูป ๔ แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้รูปขันธ์ปรากฏ. ผัสสะ เป็น
เหตุเป็นปัจจัยทำให้เวทนาขันธ์ปรากฏ. ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำให้สัญญาขันธ์ปรากฏ.
ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้สังขารขันธ์ปรากฏ. นามรูปเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้วิญญาณขันธ์
ปรากฏ.


แม้จะแสดง เรื่องที่ ทำให้ขันธ์5 ปรากฏ ไว้ ตรงนี้ แต่ตรงอื่น ก็ตรัสเหตุปัจจัยอื่นอีก
จึงมิอาจสรุป ได้ ว่า เหตุปัจจัย มีแค่นี้ ๆ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2013, 16:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


รบกวนถามเพิ่มเติมสักเล็กน้อยครับ คุณโฮฮับ

1. ความเข้าใจผิดว่าเรา ว่าของเรา งอกออกมาตอนไหน
2. เครื่องร้อยรัดใจสัตว์ เกิดขึ้นมาตอนไหน

:b8:

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2013, 04:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อน จะได้เข้าใจจุดประสงค์ของผม
เหตุที่ผมตั้งกระทู้นี้ขึ้นก็เพื่อจะชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของ........บัญญัติกับสภาวะ
บัญญัติเป็นสมมุติ สภาวะธรรมเป็นปรมัตถ์
ดังนั้นการจะกล่าวในเรื่องของบัญญัติ เราจะต้องชี้ให้คู่สนทนารู้ก่อนว่า บัญญัติที่กล่าวมา
หมายถึงอะไร จะพูดอีกนัยให้ฟัง บัญญัติมันก็คือภาษาพูด บางทีเราพูดอะไรขึ้นมาสักประโยค
คนที่มาฟังเราพูดอาจจะแปลความหมายผิดไปจากสิ่งที่เราต้องการสื่อ ยิ่งคนฟังมากหรือมีการถ่ายทอด
กันไปเรื่อย ความหมายก็ยิ่งผิดไปจากความหมายของคนพูดคนแรก

ไหนๆแล้วก็ขอพูดเลยครับว่า กระทู้นี้มันมีสาเหตุมาจาก การแสดงความเห็นเรื่อง....ขันติ โสรัจจะ
ผมไปอธิบายบัญญัติที่ว่าด้วย ขันติ โสรัจจะ ในลักษณะของสภาวะธรรม
แต่ถูกคนที่ไม่มีความเข้าใจในเรื่องของสภาวะธรรมปรามาสด่าทอ แช่งชักหักกระดูกผมให้ลงนรก
ที่ดีหน่อยก็หาว่าผม วจีทุจริต ผมไม่ถือสาครับ เพียงแต่ไม่อยากให้สมาชิกคนอื่นเข้าใจผิด
เลยอยากอธิบายความ ไม่ใช่ให้เชื่อแต่ให้มีความคิดเห็นที่หลากหลาย
ผมไม่ได้บอกว่า ความเห็นผมเป็นพุทธพจน์ จะมีบ้างก็ประกาศตัวว่า
เป็นพุทธศาสนิกชน


ขันติ ที่แปลว่า ความอดทนอดกลั้น
โสรัจจะ ที่แปลว่า ความสงบเสงียม
ทั้งประโยคและความหมายทั้งสอง มันเป็นบัญญัติเป็นความรู้......มันไม่ใช่สภาวะธรรม
มันเป็นเพียงเหตุที่ทำให้เกิดสภาวะธรรม ที่เรียกว่า กระบวนการขันธ์ห้า

ดังนั้นถ้าจะกล่าวถึงขันติและโสรัจจะที่เกี่ยวกับสภาวะธรรม(ขันธ์ห้า)
ขันติและโสรัจจะ ไม่ใช่สภาวะธรรม มันเป็นเพียงความคิดเป็นอายตนะภายนอก(ธัมมารมณ์)

ในทางอภิธรรมถ้าเราต้องการรู้ว่า ขันติและโสรัจจะเป็นอย่างไรในสภาวะธรรม
เราก็ต้องไปดูที่กระบวนการขันธ์ห้าครับ แล้วเราต้องดูที่ไหนในกระบวนการขันธ์ห้า

นั้นก็คือดูที่อาการของจิตที่เรียกว่า......สังขารขันธ์
อยากให้ลองไปศึกษาถามไถ่ครูบาอาจารย์ที่สอนพระอภิธรรมดูก็ได้ว่า
สภาวะธรรมที่เรียกว่าขันติหรือโสรัจจะมีไหม
อาการของจิตหรือสังขารขันธ์ที่เรียกว่า ขันติหรือโสรัจจะ มีไหม

"จะเป็นตำราเล่มไหนพจนานุกรมของใครก็ไม่มีหรอกครับ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2013, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: โฮฮับ

ดีขึ้นหรือยังครับ

:b8:

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร