วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 05:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2013, 14:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โกเมศวร์ เขียน:
:b8: โฮฮับ
ดีขึ้นหรือยังครับ :b8:

โกเมศร์หมายความว่าอะไร ที่ว่าดีขึ้นหรือยัง หรือคิดว่าผมกำลังบ่น
พุทโธ่! อธิบายความก็ไม่ได้
โกเมศวร์ เขียน:
รบกวนถามเพิ่มเติมสักเล็กน้อยครับ คุณโฮฮับ
1. ความเข้าใจผิดว่าเรา ว่าของเรา งอกออกมาตอนไหน
2. เครื่องร้อยรัดใจสัตว์ เกิดขึ้นมาตอนไหน
:b8:

ก็เป็นแบบนี้ไง แล้วจะไม่ให้อธิบายเกริ่นนำก่อน เดียวอธิบายไปก็จะมาแช่งเราลงนรกอีกคน

โกเมศร์เข้าใจหรือเปล่าว่า สิ่งที่โกเมศร์เอามาถามมันเป็นคำพูดที่ไม่ตายตัว เป็นภาษาทางโลก
ก่อนที่โกเมศร์จะเอาคำศัพท์หรือภาษาพวกนี้มาถาม
คุณต้องรู้ก่อนว่า ผู้ที่ใช้หรือให้คำจำกัดความนี้ เขาต้องการสื่อถึงอะไร
ไม่เช่นนั้นคนฟัง เขาก็จะอธิบายไปตามความเข้าใจของเขา
พออธิบายไปปัญหามันก็จะเกิด เพราะผู้ถามไปเข้าใจคำศัพท์ ที่ตัวเองเอามาถามไปอีกแบบหนึ่ง

ตัวอย่างเช่น คุณพิมพ์ตัวหนังสือมาถามว่า " เขาตาแดง เพราะเขาไปยืนตากลมเสียนาน"
แบบนี้ทั้งโกเมศร์และผมจะเข้าใจมั้ยว่า เขายืนตาก...ลม หรือว่ายืนตา...กลม
ฉะนั้นมันต้องรู้เสียก่อนว่า ตาแดงเกิดได้เพราะอะไร ระหว่างยืนตา...กลมนานๆ
หรือว่ายืนตาก...ลมนาน

สรุปก็คือจะถามอะไรที่เกี่ยวกับธรรม ต้องเอาบัญญัติที่ใช้แทนสภาวะธรรมมาถาม
ไม่ใช่เอาคำพูดที่เป็นภาษาลอยแบบนี้ครับ


ขอถามคุณครับว่า ที่คุณถามในข้อ๑ หมายถึงอวิชาหรือเปล่า
และในข้อ๒ หมายถึงสังโยชน์หรือเปล่า
มันต้องเน้นถามแบบนี้ มันถึงจะได้อธิบายถูก ถามซ้ำครับว่า ใช่ ไม่ใช่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2013, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


อืม...ครับ

ในข้อหนึ่งผมถามไปตามที่เขียน ไม่ได้ตั้งใจเป็นอย่างอื่น
ส่วนข้อสองก็อยากให้คุณโฮฮับพูดเรื่องสังโยชน์ครับ

:b12:

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2013, 20:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


ปรมัตถ์คือสิ่งที่ปรากฏ บัญญัติคือสิ่งเรียกสิ่งที่ปรากฏ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2013, 07:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2013, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โกเมศวร์ เขียน:
รบกวนถามเพิ่มเติมสักเล็กน้อยครับ คุณโฮฮับ
1. ความเข้าใจผิดว่าเรา ว่าของเรา งอกออกมาตอนไหน
2. เครื่องร้อยรัดใจสัตว์ เกิดขึ้นมาตอนไหน
:b8:

สองข้อที่ถามมา มันน่าจะเป็นความหมายเดียวกัน นั้นก็คือเป็นกิเลส
กิเลสที่ว่าก็คือสังโยชน์ ความหมายโดยรวมก็คือ ธรรมที่มัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์(วัฏฏะ)

สังโยชน์เป็นกิเลสที่กล่าวโดยทั่วๆไป ซึ่งในสังโยชชน์นี้ยังแบ่งเป็นลักษณะ
อย่างแรกก็คือ .....อนุสัย เป็นกิเลสสังโยชน์ที่ซ่อนเร้นอยู่ ต่อเมื่อเกิดการกระทบอารมณ์ทางทวาร
มันจึงจะเกิดผลกลายเป็นกิเลส ที่เรียกว่า ตัณหา จนในที่สุดก็เป็นอกุศลจิต โมหะ โทสะ โลภะ

จากคำอธิบายข้างบนนี้ จากข้อ๑.ที่ถามมา จากข้อหนึ่งมีเหตุปัจจัยมาจากข้อสอง

สรุปโดยรวมก็คือกิเลสมันตามติดเรามาตั้งแต่เกิด เพียงแต่มันยังไม่แสดงผลเรียกว่าอนุสัย
ซึ่งอนุสัยนี้ดูได้จากเด็กแรกเกิดหรือทารก อนุสัยนี้จะแสดงอาการได้ก็ต่อเมื่อ ปสาทรับรู้หรือ
ทวารทั้งหกเจริญเต็มที่แล้ว นั้นก็คือเมื่อโตแล้ว นี่คือคำตอบครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2013, 16:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: คุณโฮฮับ

ขอบคุณครับสำหรับคำตอบ
คงได้สนทนากันอีก

:b8:

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2013, 05:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บัญญัติกับปรมัตถ์ สิ่งที่ควรรู้ไปตามความจริง ก็คือปรมัตถ์
ปัญญาจะเกิดได้ก็เหตุจากการรู้ปรมัตถ์ เพราะปัญญาก็คือปรมัตถ์

ดังนั้นการรู้แค่บัญญัติไม่ใช้หนทางสู่ปัญญา
ตามที่เคยบอกมาแล้วว่า บัญญัติก็คือความรู้ทางโลก
การอ่านการฟังเป็นความรู้บัญญัติ เป็นความรู้ทางโลก หาใช่สิ่งที่จริงแท้ไม่

จะขอยกตัวอย่างสิ่งที่เรียกบัญญัติอันเป็นแค่ความรู้ทางโลก เช่น
อ้างคำพูด:
"ขันติ" ความอดทน อดกลั้น ต่อความลำบาก ทุกขเวทนา
อดทนต่อการล่วงเกินของผู้อื่น
โสรัจจะ" ความเสงี่ยมงาม หมายถึงความสงบ
ความเยือกเย็นของใจ ..

"ขันติโสรัจจะ" จึงหมายถึง ความอดทนพร้อมกับความสงบ
ความเยือกเย็นของใจ


ข้อความข้างบนเป็นเพียงบัญญัติเป็นความรู้ที่เราไปอ่านหรือฟังมา
ซึ่งมันเป็นเพียงความคิด ความจำมันไม่ใช่สภาวะธรรม ไม่ใช่ปรมัตถ์
มันจึงไม่ใช่การมองธรรมไปตามความเป็นจริง

การมองธรรมตามความเป็นจริง มันต้องดูที่ธรรมอันเป็นปรมัตถ์สภาวะ ....ไม่ใช่ดูที่ความคิด
การดูธรรมไปตามความจริงก็ต้องดูไปที่การเกิดกระบวนการขันธ์ห้าในกายใจเรา

นั้นก็คือ เมื่อเกิดความคิดเรื่องบัญญัติเนื้อหาความรู้เรื่องขันติ โสรัจจะ
ก็ตามรู้ธัมมารมณ์(ความคิด)ทำให้เกิดขันธ์ห้าอะไรบ้าง เช่นเกิดรูป วิญญาณ เวทนา สัญญาและสังขาร
การจะให้รู้ว่า ขันติและโสรัจจะคืออะไรในสภาวะปรมัตถ์ ก็ต้องดูที่.....สังขารขันธ์(เจตสิก)

จุดสำคัญที่มักจะหลงกันก็คือ ขาดความเข้าใจไม่รู้จักแยกแยะ ความเป็นความคิดกับความเป็ฯปรมัตถ์
ขันติและโสรัจจะ มันเป็นเพียงความคิดหาใช่สภาวะธรรมแท้ๆไม่ อยากให้ลองไปหาตัวขันติกับโสรัจจะ
ในสภาวะธรรมดูว่ามีหรือไม่

.........เจตสิก๕๒
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=355

ไปหาดูครับแล้วจะรู้ว่า ไม่มีไม่ได้กล่าวเรื่องขันติกับโสรัจจะไว้เลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2013, 10:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บัญญัติก็มีความสำคัญ บัญญัตินั้นต้องเป็นไปเพื่อการละวางเท่านั้น
นั้นก็คือบัญญัติของพระพุทธเจ้า(พุทธพจน์) หรือไม่ก็เป็นบัญญัติของอรหันต์
ก็อีกนั้นแหล่ะ ถ้ายังเป็นผู้ขาดสัมมาทิฐิขาดปัญญายังไม่เคยเห็นสภาวะธรรมตามความเป็นจริง
พุทธพจน์หรือบัญญัติของอรหันต์ก็เป็นเพียงตำราหรือความคิด ไม่ใช่สภาวะธรรมที่เป็นปรมัตถ์ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2013, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: คุณโฮฮับ

ถ้าว่าตามประสบการณ์ของคุณแล้ว การได้รู้จักบัญญัติมีข้อเสียอะไรบ้างไหมครับ

:b8:

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2013, 05:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โกเมศวร์ เขียน:
:b8: คุณโฮฮับ
ถ้าว่าตามประสบการณ์ของคุณแล้ว การได้รู้จักบัญญัติมีข้อเสียอะไรบ้างไหมครับ :b8:


บัญญัติมันมีทั้งข้อดีข้อเสียครับ แต่ถ้าคุณอยากรู้เรื่องข้อเสีย ต้องบอกก่อน
ข้อเสียที่ว่า มันเป็นเรื่องของการปฏิบัตินะครับ

ข้อเสียที่ว่าก็คือ วิธีการใช้บัญญัติครับ การเอาบัญญัติมาใช้ผิดกาลเทศะ
ผิดในสถานะของผู้ใช้ มันจะทำให้เกิด......ยึดมั่นในตัวบัญญัติหรือภาษา

คุณโกเมศวร์ต้องแยกให้ออก ระหว่างอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในใจของคุณ
กับบัญญัติหรือภาษาที่ได้อ่านหรือกำลังอ่าน อารมณ์จริงๆมันไม่มี พวกตัวหนังสือเหล่านี้
ที่เราหลงเข้าใจผิดคิดว่า ภาษาที่ได้ยินหรือตัวหนังสือที่ได้อ่าน มันเกิดขึ้นภายในกายใจเรา
ที่แท้แล้วมันไม่ใช่ มันเป็นเพียงความคิดความจำ มันเกิดขึ้นที่สมอง
สมองทำหน้าที่รับธรรมชาติภายนอก(ความคิด) ดังนั้นบัญญัติหรือภาษา มันเป็นเพียงความคิด
เป็นสมมุติไม่ใช่อารมณ์ปรมัตถ์(ความจริงแท้ของกายใจ)

เน้นลงไปเลยว่า ข้อเสียจะเกิดกับคนที่ยังไม่รู้จักไม่เคยเห็นสภาวะธรรมตามความเป็นจริง
เอาบัญญัติมาเป็นผู้นำทางในการปฏิบัติ อ่านบัญญัติเกิดยึดมั่นหลงไปว่าบัญญัติเป็นอารมณ์

ดังตัวอย่างที่เคยยกมาให้ดู เช่นเรื่องขันติและโสรัจจะ ขันติและโสรัจจะเป็นเพียงบัญญัติ
หาใช่สภาวะธรรมไม่ ถ้าคุณคิดว่าขันติและโสรัจจะเป็นสภาวะธรรมแสดงว่า กำลังหลง

ขันติและโสรัจจะ ถ้ากล่าวโดยสภาวะธรรม มันเป็นการระลึกรู้(สติ)
มีสติระลึกรู้อะไร ก็ระลึกรู้บัญญัติว่าต้องอดทนอดกลั้น ความอดทนอดกลั้นไม่ใช่สภาวะธรรม
แต่มันเป็นความคิดความจำ มันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด สภาวะธรรมที่เรียกว่า....สติ

ส่วนโสรัจจะ ก็เป็นบัญญัติเช่นกัน มันเป็นเพียงบัญญัติที่ใช้อธิบาย สภาวะธรรมที่
สืบต่อเนื่องจากการใช้ความเพียรเอาสติไประลึกรู้บัญญัติที่เรียกว่าความอดทนอดกลั้น
เมื่อทำอย่างต่อเนื่อง ความเพียรในสติ จะทำให้เกิด....จิตปัสสัทธิ(ความสงบแห่งจิต)
และกายปัสสัทธิ(ความสงบแห่งกาย) จิตปัสสัทธิและกายปัสสัทธิ นี่แหล่ะคือ..
สภาวะธรรมแท้ๆของบัญญัติที่เรียกว่า โสรัจจะ


ที่ยกตัวอย่างเรื่องนี้ขึ้นมา ก็เพราะมันเป็นประสบการณ์ของผม ซึ่งคุณก็รู็เห็น
ดังนั้นถ้าคุณเข้าใจสิ่งที่ผมอธิบาย คุณก็จะเห็นข้อดีข้อเสียที่คุณถาม
เอาจากประสบการณ์จริง การยึดเอาบัญญัติทำให้เกิดผลอย่างไรต่อบุคคล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2013, 05:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่าลืมเป็นอันขาดว่า ต้องรู้จักต้องเคยเห็นสภาวะธรรมก่อน
มันถึงจะเข้าใจบัญญัติ ถ้ารู้บัญญัติก่อนจะไม่มีทางเข้าใจสภาวะธรรม
จะมีแต่ความหลงในบัญญัตินั้นๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2013, 06:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: คุณโฮฮับ

ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ

ผมขอถามอีกนิด (ไม่ได้จะยียวนกวนบาทานะ)

การสนทนากันนี้ มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง ตามความเห็นคุณครับ

:b8:

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2013, 05:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โกเมศวร์ เขียน:
:b8: คุณโฮฮับ

ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ

ผมขอถามอีกนิด (ไม่ได้จะยียวนกวนบาทานะ)

การสนทนากันนี้ มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง ตามความเห็นคุณครับ

:b8:

แสดงว่าคุณโกเมศวร์ยังไม่เข้าใจหัวข้อกระทู้เลยครับ
ไม่รู้ว่าระหว่างบัญญัติกับปรมัตถ์อะไรมีความสำคัญ

การสนทนากันล้วนเป็นบัญญัติ เมื่อรู้แล้วว่าเป็นบัญญัติ
จะต้องรู้ต่อไปด้วยว่า บัญญัติเหล่านี้ทำให้เกิดสภาวะธรรมใดขึ้นในใจ

ถ้ารู้แบบนี้การสนทนามันก็มีประโยชน์ แต่ถ้ารู้แต่บัญญัติไม่ดูสภาวะธรรม
หรือเรียกอีกอย่างว่าดูจิตตามไปด้วย บัญญัติมันก็จะเป็นโทษเกิดเป็นอกุศล

ตัวอย่างก็มีให้เห็น ถ้าคุณอ่านกระทู้หรือความเห็นผมบ่อยๆ
การสนทนาหรือบัญญัติของผมทำให้คู่สนทนาโมโหโกธาอยู่บ่อยๆ

การสนทนาของผมเน้นให้ดูจิต ดูสภาวะธรรม
ดันไปดูบัญญัติ แบบนี้ต้องโทษตัวเอง มาโทษผมไม่ได้ครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2013, 05:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: คุณโฮฮับ

ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับการที่คุณกล่าวว่า การสนทนานั้นต้องดูจิตตามไปด้วย
เพียงแต่เราไม่สามารถรู้ได้ว่า คนที่มาสนทนากับเราเขามีความสามารถแค่ไหน
ถ้าจัดเต็มให้ ส่วนใหญ่ก็เลยกระฉูดกระฉอกไป ต้องหาอุบายในการคุย ถ้าต้องการช่วยคนเหล่านั้น
แต่ถ้าเขาศรัทธาในตัวผู้สนทนาด้วย มันจะง่าย มันยังคงคุยกันต่อได้ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้กันได้
ความศรัทธาในผู้สนทนา ช่วยทำลายเครื่องกางกั้นในใจ ทำให้จูนธรรมเข้าหากันได้

ส่วนข้อเสียที่ผมเห็นคือ
1) อาจทำให้เกิดการคาดหวังหรือวางเป้าสำหรับที่จะไปให้ถึง ทำให้เลยจากภาวะเดิมแท้ที่มีพร้อมอยู่แล้ว
2) อาจทำให้เนิ่นช้าในกรณีที่ยังต้องทำอยู่

แต่ก็แค่อาจจะ ไม่ได้ว่าต้องเป็นอย่างนี้เสมอครับ

ยินดีที่สนทนากันครับ

:b8:

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2013, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เพิ่มเติมในทางพระอภิธรรม ท่านได้กำหนดให้ขันธ์ห้าเป็นปรมัตถ์ อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป
ถึงแม้จะกำหนดให้เป็นปรมัตถ์
แต่ก็กำหนดโดยบัญญัติ จิตเจตสิกรูป ก็เป็นเพียงบัญญัติที่สมมุติขึ้น เพื่อใช้เรียกแทนสภาวะธรรม


ท่านไหนกำหนด มีแต่โฮฮับที่ละเมอ นั่งเทียนกำหนด

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร