วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 05:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2013, 06:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ในหลักธรรมของพระพุทธศาสนานั้นกล่าวว่า
ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว
แต่คำว่า ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน นั้นมีกล่าวไว้แต่ผู้ที่ได้กระทำชั่ว
คืออนันตริยกรรม ๕ อย่าง
ฉะนั้นการทุศีลเป็นประจำ แต่ไม่ถึงอนันตริยกรรม ๕ อย่างนั้น
ก็ยังไม่ถึงกับห้ามสวรรค์ห้ามนิพพาน

ใครที่พอจะรู้และเข้าใจมาช่วยอธิบายกันหน่อย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2013, 23:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2012, 00:24
โพสต์: 34


 ข้อมูลส่วนตัว


ใครห้ามหรือครับ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2013, 07:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


kitti1234 เขียน:
ใครห้ามหรือครับ?


อนันตริยกรรม ๕ อย่างที่เป็นกรรมหนัก เมื่อสิ้นชีวิตเขาต้องบ่ายหน้าไปนรกถ่ายเดียว
ฉะนั้น กรรมเท่านั้นที่ ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน
ดังมีตัวอย่าง เช่น พระเจ้าอชาตศัตรู พระเทวฑัต
เรื่องกรรมเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จะต้องระมัดระวัง การทำกรรมใดๆ ก็ตาม
จะต้องพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน

พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “นิสมฺม กรณ เสยฺโย” ใคร่ครวญเสียก่อนจึงทำ
อนันตริยกรรม ๕ นี้ จัดเป็นกรรมหนัก แต่ก็ยังหนักไม่เท่ากับนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม
เพราะนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมเป็นกรรมที่ให้ผลไม่มีที่สิ้นสุด

ส่วนอนันตริยกรรม เมื่อส่งผลให้ไปเสวยกรรม ครบตามกาหนดก็พ้นจากกรรมนั้นๆได้
แต่นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมจะจมปลักอยู่ในกรรมเช่นนี้ตลอดเวลา
นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมนั้นเป็นโคตรเง่าของความชั่ว หรือจะเรียกให้ไพเราะหน่อย ก็เรียกว่า "ตอวัฏฏะ"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2013, 15:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมหนักฝ่ายชั่วเรียก อนันตริยกรรม
ฝ่ายดีเรียกอะไรครับ ลุงหมาน
:b13:

:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2013, 16:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
กรรมหนักฝ่ายชั่วเรียก อนันตริยกรรม
ฝ่ายดีเรียกอะไรครับ ลุงหมาน
:b13:

:b1:

ถ้าเป็นกรรมฝ่ายดีที่เป็นโลกียะ เรียกว่า"มหัคคตกรรม" ที่เข้าถึง ฌาน อภิญญา
ถ้าเป็นกรรมฝ่ายดีที่เป็นโลกุตตร เรียกว่า"มรรคกรรม" เป็นกรรมที่เข้าถึง มรรค ผล นิพพาน ครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2013, 16:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
วิริยะ เขียน:
กรรมหนักฝ่ายชั่วเรียก อนันตริยกรรม
ฝ่ายดีเรียกอะไรครับ ลุงหมาน
:b13:

:b1:

ถ้าเป็นกรรมฝ่ายดีที่เป็นโลกียะ เรียกว่า"มหัคคตกรรม" ที่เข้าถึง ฌาน อภิญญา
ถ้าเป็นกรรมฝ่ายดีที่เป็นโลกุตตร เรียกว่า"มรรคกรรม" เป็นกรรมที่เข้าถึง มรรค ผล นิพพาน ครับ

สาธุครับ .. :b8:
มีรายละเอียดเพิ่มเติมหน่อยก็ดีนะครับ ลุงหมาน :b13:


:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2013, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
วิริยะ เขียน:
กรรมหนักฝ่ายชั่วเรียก อนันตริยกรรม
ฝ่ายดีเรียกอะไรครับ ลุงหมาน
:b13:

:b1:

ถ้าเป็นกรรมฝ่ายดีที่เป็นโลกียะ เรียกว่า"มหัคคตกรรม" ที่เข้าถึง ฌาน อภิญญา
ถ้าเป็นกรรมฝ่ายดีที่เป็นโลกุตตร เรียกว่า"มรรคกรรม" เป็นกรรมที่เข้าถึง มรรค ผล นิพพาน ครับ

สาธุครับ .. :b8:
มีรายละเอียดเพิ่มเติมหน่อยก็ดีนะครับ ลุงหมาน :b13:


:b1:

กรรมที่เป็นโลกียะนั้น ได้แก่ ท่านที่เจริญสมาธิ จนได้ ฌาน
ตั้งแต่ปฐมฌานเป็นต้นไป ท่านเรียก "มหัคคตกรรม"

กรรมที่เป็นโลกุตตระนั้น ได้แก่ ผู้เจริญวิปัสสนา เพื่อตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉท
มี โสดาปัตติมรรค เป็นต้น ท่านเรียก "มรรคกรรม"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2013, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับลุงหมาน สาธุ .. :b8: :b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2013, 13:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


อารมณ์ของมรณาสันนวิถี (อารมณ์ใกล้ตาย)
ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่ยังมิได้เป็นพระอรหันต์นั้น
จะเป็น สัตว์นรก เปรต อสุรกาย หรือเดรัจฉานก็ตาม
หรือเป็นมนุษย์ เทวดา และพรหมก็ตาม เมื่อใกล้จะตาย นิมิตทั้ง ๓ คือ
๑. กรรมอารมณ์ ๒. กรรมนิมิตอารมณ์ ๓. คตินิมิตอารมณ์
อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมปรากฏเฉพาะหน้าในทวารใดทวารหนึ่ง นั้นเสมอ
เมื่อ จุติดับ ปฏิสนธิ ก็เกิดขึ้นทันทีโดยไม่มีระหว่างคั่น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แก้ไขล่าสุดโดย ลุงหมาน เมื่อ 26 มิ.ย. 2013, 14:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2013, 14:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


๑.กรรมอารมณ์
ได้แก่ ธรรมารมณ์ที่เกี่ยวกับ กุศลกรรม อกุศลกรรม

กรรมอารมณ์ที่เป็นฝ่ายกุศล ได้แก่ การทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม หรือเจริญภาวนา
โดยทำมาแล้วด้วยความปีติโสมนัสอย่างไร ก็ให้ระลึกถึงความปีติโสมนัสให้เกิดขึ้น
คล้ายกับว่าตนกำลังทำบุญให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม หรือเจริญภาวนาอยู่ในขณะนั้น

ส่วนกรรมอารมณ์ที่เป็นฝ่ายอกุศล ได้แก่ การที่ตนเคยฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เคยฉกชิงวิ่งราว
เคยโกรธแค้นพยาบาท ความเสียใจหรือความโกรธนั้น คล้ายๆกับว่า กำลังปรากฏขึ้นกับตน
เพราะเหตุดังกล่าวเหล่านั้น

กรรมอารมณ์นี้เป็นความรู้สึกทางใจ จึงปรากฏได้เฉพาะทางมโนทวารทางเดียว
เมื่อกรรมอารมณ์เป็นฝ่ายกุศลก็นำไป สู่สุคติ ถ้ากรรมอารมณ์เป็นฝ่ายอกุศลก็จะต้องนำไป สู่ทุคติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2013, 14:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. กรรมนิมิตอารมณ์
ได้แก่ อารมณ์ ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และสภาพที่รู้ได้ทางใจ
ที่เกี่ยวด้วยการกระทำของแต่ละบุคคล ที่ตนได้กระทำแล้วด้วยกาย วาจา ใจ
ย่อมจะมาแสดงนิมิตเครื่องหมายให้รู้ได้"เมื่อใกล้จะตาย"

ถ้าเป็นฝ่ายกุศล ก็ให้รู้ให้เห็น เป็นการทำบุญให้ทาน เช่น เห็นโบสถ์ วิหาร
โรงเรียน โรงพยาบาล ที่ตนเคยสร้าง เห็นพระภิกษุที่เคยบวชตนเอง
หรือบวชลูก-หลาน เห็นพระพุทธรูปที่ตนเคยสร้าง เป็นต้น
มรณาสันนวิถีก็หน่วงเอาอารมณ์นั้นๆ มาเป็นอารมณ์ให้เป็นนิมิตเครื่องหมายในสิ่งต่างๆเหล่านั้น

กรรมนิมิตที่เป็นฝ่ายอกุศล เช่น เห็นแห อวน หอก ดาบ ปืนผาหน้าไม้
เครื่องประหัตประหารเบียดเบียนสัตว์ ที่ตนเคยใช้ในการทำบาปมาแล้ว เป็นต้น
มรณาสันนวิถีก็จะน้อมเอาสิ่งเหล่านั้นมาเป็นอารมณ์

กรรมนิมิตอารมณ์ ที่เป็นฝ่ายกุศล และอกุศลดังกล่าวมาแล้วนั้น
ถ้าเป็นแต่เพียงนึกคิดถึงสิ่งต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วนั้น ก็จะปรากฏทางมโนทวาร(ทางใจ)
เป็นอดีตอารมณ์ แต่ถ้าได้เห็นด้วยตาจริงๆ ได้ยินด้วยหูจริงๆ ได้กลิ่น รู้รส ถูกต้องสัมผัส
เป็นความรู้สึกจริงๆ ก็เป็นนิมิตอารมณ์ ที่ปรากฏทางปัญจทวาร(ทวาร ๕ ตา หู จมูก ลิ้น กาย)
และเป็นปัจจุบันอารมณ์

กรรมนิมิตที่เป็นฝ่ายกุศล ย่อมนำไปสู่"สุคติ" แต่ถ้ากรรมนิมิตเป็นฝ่ายอกุศล ก็ย่อมนำไปสู่ "ทุคติ"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2013, 14:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. คตินิมิตอารมณ์
คตินิมิตอารมณ์ เป็นนิมิตเครื่องหมาย ที่จะนำไปสู่" สุคติ หรือทุคติ "ถ้าเป็นคตินิมิตอารมณ์
ที่จะนำไปสู่"สุคติ" ก็จะปรากฏเป็นปราสาทราชวัง วิมานทิพยสมบัติ เทพบุตร เทพธิดา
เห็นครรภ์มารดา เห็นวัดวา เห็นบ้านเรือน เห็นผู้คน หรือเห็นภิกษุสามเณร ล้วนแต่เห็นสิ่งที่ดีๆ

คตินิมิตอารมณ์ ที่จะนำไปสู่"ทุคติ"ก็จะปรากฏเป็นเปลวไฟ ถ้ำ เหว ป่าทึบ เห็นนายนิรยบาล
เห็นสุนัข เห็นแร้งกา เป็นต้น ที่กำลังเบียดเบียนทำอันตรายตน ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ไม่ดีทั้งสิ้น
คตินิมิตอารมณ์ ย่อมปรากฏได้ในทวารทั้ง ๖ แต่ส่วนมากจะปรากฏทางจักขุทวาร และทางมโนทวาร คือ เห็นทางตากับทางใจเป็นส่วนมาก และจัดเป็นปัจจุบันอารมณ์

อารมณ์ของมรณาสันนวิถีนี้ ย่อมจะมีอารมณ์ที่เป็นกรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์
หรือคตินิมิตอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งมาปรากฏ แก่วิถีจิตสุดท้ายที่ใกล้ชิดกับ"จุติจิต"ที่สุด
และอารมณ์ทั้งสามนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจของกรรมทั้ง ๔ ประการตามลำดับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2013, 15:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ส่วนอนันตริยกรรม เมื่อส่งผลให้ไปเสวยกรรม ครบตามกาหนดก็พ้นจากกรรมนั้นๆได้
แต่นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมจะจมปลักอยู่ในกรรมเช่นนี้ตลอดเวลา
นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมนั้นเป็นโคตรเง่าของความชั่ว หรือจะเรียกให้ไพเราะหน่อย ก็เรียกว่า "ตอวัฏฏะ"

ทำความเห็นเพิ่มเติมว่า
อนันตริยกรรม เป็นกรรมอันมีวิบากที่มีกำลังมาก
ซึ่งหมายความว่า เมื่อวิบากแห่งอนันตริยกรรมให้ผลจะยับยั้ง วิบากแห่งกรรมอื่นทั้งหมด ไม่ให้ให้ผล ไว้ก่อน จนกว่าวิบากแห่งอนันตริยกรรมจะหมดกำลังลง

ยกตัวอย่าง ขณะที่พระเทวทัต กระทำอนันตริยกรรม ลอบปลงชีวิตพระพุทธองค์ ก่อสังฆเภท หลายครั้ง
แต่ขณะที่อนันตริยกรรมยังไม่ให้ผล พระเทวทัตก็ยังหายใจอยู่ ด้วยวิบากแห่งขันธ์เดิม แต่เมื่ออนันตริยกรรมให้ผล พระเทวทัตก็ถูกพระธรณีสูบ ลงไปเสวยผลกรรมแห่งอนันตริยกรรมนั้นทันที จนกว่าวิบากแห่งอนันตริยกรรมจะหมดกำลัง พระเทวทัตจึงจะมีโอกาส กลับมาเกิดและบรรลุธรรมเป็นปัจเจกพระพุทธเจ้าได้ (เพราะพระเทวทัตก่อนจะถูกธรณีสูบ ได้มีพระพุทธองค์เป็นสรณะแล้ว)

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2013, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเพิมเติม
อนันตริยกรรม ๕ ได้แก่
๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
๒.. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
๔. โลหิตุปบาท ทำพระโลหิตของพระพุทธเจ้าให้ห้อ
๕. สังฆเภท ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
อนันตริยกรรมทั้ง ๕ จัดอันดับการให้ผลก่อนเพราะเป็นกรรมที่หนักกว่ากรรมอื่น
ที่เป็นอนันตริกรรมด้วยกัน ถ้าสมมุติว่าใครต้องอนันตริกรรมทั้ง ๕ นี้พร้อมกันหมด
สังฆเภท จะเป็นผู้ให้ผลก่อน รองลงมาก็ เป็นโลหิตุปาท รองลงมาอรหันตฆาต
รองลงมาก็ปิตุฆาตหรือมาตุฆาตุ (อันนี้ขึ้นอยู่กับคุณธรรมใครสูงกว่ากัน ถ้าเสมอกันก็เป็นนปิตุฆาตุ)

อนันตริยกรรมทั้ง ๕ อย่างนี้ จะส่งผลได้ ๑ อย่างเท่านั้น ที่เหลือจะเป็นอโหสิกรรมไป
เช่น กรรมที่เป็นสังฆเภทให้ผล กรรม ๔ อย่างที่เหลือก็หมดโอกาสให้ผลก็เป็นอโหสิกรรมไป
เพราะเหตุว่าอนันตริยกรรมนั้นเป็น อุปปัชชเวทนียกรรม เป็นกรรมให้ผลในชาติหน้าได้ชาติเดียวเท่านั้น
จะไม่ข้ามไปส่งผลในชาติอื่นๆ อีกต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2013, 07:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมของพระเทวฑัตที่ทำอนันตริยกรรม ที่เห็นได้ชัด คือ
๑. ยุให้พระเจ้าอชาตรู ปลงพระชนพระราชบิดาตนเอง
๒. ทำโลหิตุปบาท
๓. สังฆเภท
พระเทวฑัตต้องธรณีสูบนั้นเป็นเพราะอำนาจกรรมสังฆเภทให้ผล
ข้อที่ ๑ กับข้อที่ ๒ ก็เป็นอโหสิกรรมไป
(จะไม่รวบกันทั้ง ๓ ข้อพร้อมกันส่งผล)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron