วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 03:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เราคงเคยได้ยินกันบ่อยๆว่า "ไม่ใช่พุทธพจน์" หรือ"ไม่เป็นพุทธวจนะ"
มีบางท่านออกมาปรามาสอรรถกถาหรือคัมภีร์พระอภิธรรมบางคัมภีร์ว่า...ไม่ใช่พุทธวจนะ

ผมว่าท่านผู้มีความคิดแบบนี้ มันเป็นความคิดที่คลาดเคลื่อนในหลักการครับ
การแปลพุทธวจนะหรือการตีความในพุทธวนะ ไม่ใช่การกล่าวนอกพุทธพจน์

การกล่าวสิ่งที่ไม่ใช่พุทธพจน์ หรืออ้างสิ่งที่ไม่ใช่พุทธวจนะ คือ.......
คือการเอาพุทธพจน์มากล่าวไม่หมด มันไม่ใช่การแปลหรือตีความในพุทธพจน์

ตัวอย่างเช่น มีผู้มากล่าวว่า "สัพเพธัมมาอนัตตา" แล้วบอกว่า เป็นพุทธพจน์
แบบนี้มันผิดครับ สามารถปรามาสได้เลยว่า กล่าวในสิ่งที่ไม่ใช่พุทธวจนะ

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่า พุทธวนะแท้นั้นก็คือ.....
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ สังขารา ทุกขา
สัพเพ ธัมมา อนัตตา


ดังนั้นการแปลหรือการตีความ จะต้องเอาพุทธพจน์มาทุกคำ ไม่ใช่หยิบมาเป็นคำๆ
หรือเอามาเป็นเพียงประโยคใดประโยคหนึ่ง มันจะทำให้พุทธพจน์คลาดเคลื่อน

เช่นเดียวกัน การอ้างอิงพระสูตรเราต้องเอาพระสูตรมาทั้งบท
จะเอามาเพียงบางประโยคไม่ได้ (เห็นเพื่อนๆชอบทำกันนัก)

สัพเพธัมมาอนัตตา เป็นพุทธพจน์ก็จริงอยู่ แต่มันไม่ใช่พุทธวนะ
เพราะการเป็นพุทธวจนะได้นั้น จะต้องกล่าวพุทธพจน์ให้ครบถ้วนของธรรมนั้นๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2013, 19:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




images.jpg
images.jpg [ 10.96 KiB | เปิดดู 8413 ครั้ง ]
เงียบเหมือนอยู่ในป่าช้ายามคำคืนเลยกระทู้นี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2013, 19:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เงียบเหมือนอยู่ในป่าช้ายามคำคืนเลยกระทู้นี้

จขกท คงหมายถึงเรื่อง วัดนาป่าพง และการสอนของหลวงพ่อ ในกระทู้นี้มั้งครับ
http://pantip.com/topic/30681529


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2013, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

^ ^ huh

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 02:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


deecup เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เงียบเหมือนอยู่ในป่าช้ายามคำคืนเลยกระทู้นี้

จขกท คงหมายถึงเรื่อง วัดนาป่าพง และการสอนของหลวงพ่อ ในกระทู้นี้มั้งครับ
http://pantip.com/topic/30681529

กรัชกาย จะมาเซ้าซี้ให้มันมีอัตตาทำไมน้า พี่โฮติดภาระคุยในกระทู้อื่นอยู่
แล้วเข้ามากระทู้พี่โฮแต่ล่ะครั้ง ช่างสรรหาเรื่องที่มันผิดกฎของเว็บ :b6:

วันๆไม่ทำอะไรสอดส่ายสายตาหาเรื่องเข้าบ้าน ไปอ้างอิงเว็บอันตราย
เว็บที่เป็นแหล่งรวมของ พวกล่าแม่มด พวกคูกรักแคนฯลฯ ไม่ได้เรื่องเลย :b14:

กระทู้นี้ไม่จำเพราะเจาะจงใครหรอก ที่พูดเป็นกลางๆ ไม่สุดโต่งอะไร
คืออยากทำความเข้าใจกับพวกที่ชอบอ้างพุทธวจนะ ไม่เอาอรรถกถาฯลฯ
แล้วพวกที่เอาทั้งพุทธพจน์และอรรถกถา อยากจะให้เข้าใจว่า
การเอาาหรือไม่เอา มันเป็นเหตุเป็นผลอย่างไรหรือเปล่า

เรื่องสาขาวัดนาฯ ผมเคยเห็นผ่านๆ ตอนแรกก็ไม่สนใจ
แต่มันมาเอะใจตอนที่ บอกว่าให้ยึดแต่พุทธวจนะ เลยลองฟังดู
แล้วท่านก็เอา คำสอนของครูบาอาจารย์ขึ้นมาแล้วบอกว่า เพิ่มเติมตัดทอนพุทธวจนะ
ผมก็ไม่รู้ว่าท่านเอาอะไรมาคิดกับหลักการคำพูดของท่าน

ท่านเอาคำสอนของพระสงฆ์ เอาไปเทียบกับพุทธวจน แล้วบอกว่า
ต่อเติมตัดทอน ผมสงสัยจริงๆว่า ท่านเอามาเปรียบกันได้อย่างไร
พุทธวจนก็คือพุทธพจน์ ซึ่งมันเป็นคำพูดของพระพุทธเจ้า ที่สำคัญเป็นภาษาของพระพุทธเจ้า
ส่วนคำสอนของครูบาอาจารย์รุ่นหลัง ก็เป็นเพียงความเห็นของท่าน เป็นภาษาของท่าน

การกล่าวอ้างในลักษณะปรามาสผู้อื่น โดยการอ้างถึงพุทธวจน
แบบนี้มันผิดหลักการ ไม่แยกแยะธรรม หลงยึดเอาตัวเองเป็นหลัก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 03:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การจะกล่าวว่าคำพูดใครไม่ใช่พุทธวจน มันไม่ใช่ไปดูแค่ความเห็นหรือคำสอนของพระสงฆ์
มันต้องดูก่อนว่า คำสอนหรือความเห็นนั้น ท่านเอาอะไรมาเป็นหลัก
ถ้าท่านบอกว่า เอาพุทธวจนมาเป็นหลัก จะไปว่าท่านไม่ได้
แต่ถ้าพุทธวจนที่ท่านอ้าง เป็นเพียงพุทธพจน์บางประโยค จึงค่อยกล่าวว่า ไม่ใช่พุทธวจน


การจะเป็นพุทธวนหรือไม่เอาต้องเอา พุทธวจนแยกมาเป็นหลักก่อน
แล้วจึงค่อยอธิบายหรือแสดงความเห็น

อย่างเช่นที่ผมแสดงความเห็นไว้ตอนต้นกระทู้เรื่อง
การจะดูว่า พุทธวจนที่เขาเอามาเป็นหลักในการแปลหรือแสดงความเห็น
เป็นมาอย่างไร

ตัวอย่างเช่น พุทธวจนอันเกี่ยวกับสัจจะธรรมกล่าวไว้ดังนี้
*"สัพเพสังขารา อนิจจัง
สัพเพสังขารา ทุกขัง
สัพเพธัมมา อนัตตา"*


ถ้าผู้ใดอ้างพุทธวจนนี้ทั้งหมดอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง แล้วก็แสดงความเห็น
ไปตามความเข้าใจของตน....แบบนี้เขาไม่เรียกเป็นผู้กล่าวนอกพุทธวจน
หรือตัดทอนต่อเติมพุทธวจน


การตัดทอนต่อเติมพุทธวจน มันต้องเป็นการเอาพุทธพจน์มาเป็นหลักอ้างไม่หมด
เอาแค่พุทธพจน์เป็นบางประโยคบางอ้าง แล้วก็แสดงความเห็น
อย่างนี้จึงเรียกกล่าวในสิ่งที่ไม่ใช่พุทธวจน

ตัวอย่างเช่น พุทธวจนมีไว้ดังนี้
*"สัพเพสังขารา อนิจจัง
สัพเพสังขารา ทุกขัง
สัพเพธัมมา อนัตตา"*

แต่การกล่าวอ้าง หยิบยกเอาไปแค่....สัพเพธัมมา อนัตตา
แบบนี้เป็นเพียงพุทธพจน์ ไม่ใช่พุทธวจนะ
การหยิบเอาพุทธพจน์มาเป็นบางประโยค แล้วแสดงความเห็น
มันจะทำให้หลักธรรมและสภาวะธรรมของพระพุทธเจ้าผิดเพี้ยนไป


พุทธวจนอ้างได้และควรอ้าง แต่ที่เห็นๆมามันอ้างตะพึดตะพือ(อ้างส่งเดช)
ไม่ได้มีความเข้าใจ ในหลักการของภาษาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 03:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่มีให้เห็นบ่อยๆก็คือ ครูบาอาจารย์หลายรูปท่านก็สอนพระธรรมไปตามความเห็นของท่าน
บางครั้งท่านสอนในลักษณะ เป็นการแปลบาลี
แต่มีคนออกมาท้วงติงว่า ไม่เป็นพุทธวจน ผมว่าตัวผู้ท้วงติงยังขาดความเข้าใจ
ครูบาอาจารย์ท่านแปลพุทธพจน์ มันย่อมต้องไม่ใช่พุทธวจนหรือเป็นหลักธรรมอยู่แล้ว

ลักษณะอย่างนี้ ผมมักพูดอยู่บ่อยๆว่า ถ้าแน่ใจว่า ....ตัวเองรู้ถูกจะต้องรู้ผิดด้วย
รู้ถูกมันต้องมีหลักแห่งความถูก นั้นก็คือทั้งสองฝ่ายยอมรับว่า หลักนั้นถูกต้อง
ถ้าฝ่ายใดทำพูดผิดไปจากหลักที่ยอมรับในตอนต้น นั้นก็คือ..รู้ผิดพูดผิด
แต่ที่แสดงมา มันก็แค่รู้แต่ตัวเองแล้วก็สรุปเอาเองว่าถูก
ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจอีกฝ่ายเลยว่า เขาคิดอย่างไร


และอีกปัญหาก็คือ ผู้ที่ชอบปรามาสท้วงติง ไม่มีสมาธิอยู่กับปัจจุบัน
ใครเขาแสดงความเห็น มันก็เป็นเพียงความเห็น ดันมีคนมาท้วงว่า
ไม่ใช่พุทธวจน ก็มันไม่ใช่อยู่แล้ว

มันต้องถามเขาว่า ความเห็นนี้เอามาจากพุทธวจนบทไหนเสียก่อน
แล้วดูซิว่า พุทธวนที่เขาอ้างมันต่อเติมเสริมแต่งหรือเปล่า
มันไม่ใช่เขาแสดงแค่ความเห็น แล้วก็ไปปรามาสเขาว่า "ไม่ใช่พุทธวจน"

ที่ไม่น่าให้อภัยก็คือ ไปปรามาส อรรถกถาจารย์ว่า...
กล่าวในสิ่งที่ไม่ใช่ พุทธวจน
ก็ท่านแปลบาลี อธิบายพุทธพจน์ จะให้บัญญัติหรืออัษรของคำมันเหมือนกันได้อย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 05:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

กรัชกาย จะมาเซ้าซี้ให้มันมีอัตตาทำไมน้า พี่โฮติดภาระคุยในกระทู้อื่นอยู่
แล้วเข้ามากระทู้พี่โฮแต่ล่ะครั้ง ช่างสรรหาเรื่องที่มันผิดกฎของเว็บ :b6:



เรื่อง อัตตา - อนัตตา เป็นหลักทางปัญญา ที่สำคัญยิ่ง อัตตาที่ไม่มีนั้น ใช้มันไปเถอะ ได้ประโยชน์ดีจริงๆ ท่านสอนให้พัฒนาไป จนถึงที่สุด แล้วจะประสบพบสิ่งที่เลิศประเสริฐยิ่ง แต่อัตตามีขึ้นเมื่อไรเป็นปัญหาทุกที เกิดอัตตาขึ้นมาเมื่อไรก็ยุ่งเมื่อนั้น มีปัญหา เกิดทุกข์ เกิดการกระทบกระทั่งอะไรต่างๆ


พระพุทธศาสนามีคำสอนว่าด้วยอัตตาหรือตัวตนนี้มากมาย เช่น

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึงแห่งตน

อตฺตทีปา อตฺตสรณา จงมีตนเป็นเกาะ จงมีตนเป็นที่พึง

อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน

สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ ความบริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน

อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา น นํ ปาเปน สํยุเช

หากรู้ว่าตัวนี้เป็นที่รัก ก็ไม่ควรเอาตัวนั้นไปเกลือกกลั้วกับความชั่ว

ฯลฯ

เรื่องตัวเรื่องตนนี้พระพุทธศาสนาสอนไว้มากมาย ในระดับตัวตนสมมตินี่ ที่มันไม่มีนี่แหละ พระพระพุทธศาสนาพูดเต็มที่เลย ให้ใช้ ให้ปฏิบัติ ให้พัฒนามัน จะเป็นประโยชน์ดีเหลือเกิน ท่านไม่มาเที่ยวพูดยุ่งในระดับสมมติ ว่าไม่มีอัตตา


แต่ในระดับปรมัตถ์ ท่านให้รู้เท่าทันว่าอัตตามันไม่ใช่ของของจริง ถ้ามันมี่ขึ้นเมื่อไร เกิดยึดถือขึ้นเมื่อไร เป็นเกิดโทษทุกที ปัญหาจะมา


จึงบอกว่า อัตตาที่ไม่มีนั้น พัฒนาไปเถิด จะประสบสิ่งที่เลิศประเสริฐยิ่ง แต่อัตตามีเมื่อไร เกิดปัญหาทุกที

ยิ่งพัฒนาอัตตาที่ไม่มีขึ้นไป อัตตาที่จะมีก็ยิ่งไม่เกิดขึ้นมา อันนี้ก็ตีให้แตกด้วย



อ้างคำพูด:
กรัชกาย จะมาเซ้าซี้



ขออภัย

http://www.youtube.com/watch?v=I0_dfr_grlk

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 12:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ร่ายมาซะยาว
เหมือนเดิม
หาหลักฐาน ยืนยันไม่ได้
ว่า มีพุทธวัจจนะ ใด
แสดงให้เห็นว่า

"ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"

ถึงจะมั่วๆ นั่งเทียน กี่กระทู้ๆ

ก็ไร้ความหมาย ไม่มีประโยชน์

ยิ่งนั่งเทียนยิ่งมั่วมากขึ้น
มั่วไป จนถึงกระทั่ง

อนัตตา มีสองสภาวะ

มั่วไปอีกว่า

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กลายเป็น เนวสัญญานาสัญญายตนะ ญาณ

แสดงความมั่ว ต่อไปอีก โฮฮับ จะตามอ่าน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2013, 02:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ร่ายมาซะยาว
เหมือนเดิม
หาหลักฐาน ยืนยันไม่ได้
ว่า มีพุทธวัจจนะ ใด
แสดงให้เห็นว่า

"ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"

พูดไม่รู้ฟัง พูดภาษาง่ายๆให้ฟัง ก็ไม่เอาไปสำเหนียก
บอกไม่รู้กี่ครั้งแล้วว่า "ไตรลักษณ์"เป็นบัญญัติที่ครูบาอาจารย์รุ่นหลังบัญญัติขึ้น
ท่านบัญญัติโดยใช้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตามาเป็นหลักในการบัญญัติ

โดยให้ความหมายไตรลักษณ์ว่า หมายถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
พูดง่ายก็คือ ไตรลักษณ์เป็นอรรถแปลบาลี
ส่วนอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นบาลี

ถ้าเช่นนั้น ไม่นิยมบาลีแปล ก็อย่าอ่านพระไตรปิฎกแปล ไปอ่านบาลีอย่างเดียว
สงสัยแต่ว่า จะอ่านออกหรือเปล่า

ไอ้ที่พุด "ไม่ใช่พุทธวจนๆๆๆๆ" ก็ไปจำโวหารเขามาพูด มันก็อ่านบาลีแปลทั้งนั้น
พูดมาได้ ไม่เอาอรรถกถา ถามหน่อยใครเป็นคนแปลบาลี ใครเป็นคนสืบทอดพุทธวจน
เขาก็แยกแยะเอาไว้แล้วว่า นี่บาลี นี่อรรถกถา นี่ฎีกา

จะสอนบาลีก็สอนไป มันไม่ใช่เอาอรรถกถาไปเทียบกับบาลี แล้วบอกว่า ไม่ใช่พุทธวจนะ
แบบนี้มันไม่แยกแยะเอาซะเลย

ที่มันเป็นปัญหาก็เพราะ มีคนเอาพุทธวจนะมาอ้าง ตัวเองก็อธิบายพุทธวจน
ไปตามความเข้าใจของตนเอง แล้วก็ว่ากล่าวคนอื่นว่าไม่ใช่พุทธวจน มันตลกมั้ย
ถามหน่อยที่อธิบายความอยู่น่ะ มันใช่พุทธวจนมั้ย
ถ้าจะเอาอย่างที่ตัวเองว่าคนอื่น มันก็ไม่แตกต่างกัน แต่ที่ผิดกันก็คือ
อีกฝ่ายเขารู้กาลเทศะ เขาไม่อ้างพุทธวจนะเพื่อโจมตีคนอื่น เขารู้จักแยกแยะ
อะไรคือพุทธวจน อะไรคืออรรถกถา


แต่ดูตัวเองซิ ที่พูดน่ะมันก็เป็นความเห็นตัวเองทั้งนั้น
ดันบอกมาได้ ตัวเองเป็นพุทธวจนะ ตลกจริงๆ


ก็ไอ้ที่อธิบายความอยู่มันก็เป็นความเห็นตัวเองทั้งนั้น
ยังมีหน้ามาว่าคนอื่นไม่ใช่พุทธวจน มิหน่ำซ้ำยังมีหน้ากล้าพูด ไม่เอาอรรถกถา
ไม่เอาอรรถกถา แล้วให้เอาความเห็นตัวเองอย่างนั้นหรือ
หลงตัวเองเกินไปหรือเปล่า เป็นแค่สมมุติฯ ทำอย่างกับว่า มีปัญญามากกว่าอรรถกถาจารย์


นี่ถ้าไม่กลัวผิดกฎเว็บบอร์ด จะเอาคลิปมาให้ดูว่า สอนผิดอย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2013, 02:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ถึงจะมั่วๆ นั่งเทียน กี่กระทู้ๆ

ก็ไร้ความหมาย ไม่มีประโยชน์

ยิ่งนั่งเทียนยิ่งมั่วมากขึ้น
มั่วไป จนถึงกระทั่ง

อนัตตา มีสองสภาวะ

มั่วไปอีกว่า

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กลายเป็น เนวสัญญานาสัญญายตนะ ญาณ

แสดงความมั่ว ต่อไปอีก โฮฮับ จะตามอ่าน

สมัยพุทธกาล พวกเดียถีร์ก็พูดแบบนี้แหล่ะ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2013, 04:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีพุทธวจนะคนมักเข้าใจผิดนั้นก็คือ

สังขตสูตร
[๔๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓ประการ ๓ ประการเป็น
ไฉน คือ ความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ

อสังขตสูตร
[๔๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ประการนี้ ๓ ประการ
เป็นไฉน คือ ไม่ปรากฏความเกิด ๑ ไม่ปรากฏความเสื่อม ๑ เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปร
ปรวน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้

พุทธวจนทั้งสองเกี่ยวข้องกัน ไม่สามารถแยกกันอธิบายได้ เพราะว่า
เพราะมันเป็นเหตุปัจจัยแก่กัน
พุทธพจน์ทั้งสองบทนี้ เป็นการอธิบาย ความมีอยู่และความหมดไปของสังขาร

เพราะว่ามีผู้ศึกษาธรรมด้วยการแยกกันตีความ เลยทำให้เข้าใจไปว่า นิพพานไม่ใช่อนัตตา
บอกว่านิพพานเป็นอสังขตธรรม
และอสังขตธรรม ไม่ปรากฎความเกิด ไม่ปรากฎความเสื่อม
และตั้งอยู่ไม่ปรากฎความแปรปวน เลยบอกว่านิพพานไม่ใช่อนัตตา
ทั้งหมดเป็นเพราะว่า รู้ว่านิพพานมีสภาพเป็นอสังขตธรรม แต่ลืมคิดไปว่า
ทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรม เป็นการอธิบายธรรมที่เกิดภายในกายใจ
นั้นแสดงว่า บุคคลยังมีรูปนามอยู่ ดังนั้นอสังขตสูตรนี้ไม่ได้อธิบายสภาวะนิพพาน
แต่เป็นการพูดถึงสภาวะที่ไม่มีการปรุงแต่งของสังขาร

สภาวะของนิพพานที่ยังมีรูปนาม(พระอรหันต์) ยังมีเหลือความเกิด และยังมีความเสื่อม
และยังมีความแปรปวน ซึ่งลักษณะเหล่านี้ เรียกว่าอาพาท
ร่างกายของพระอรหันต์ยังต้องมีความแก่ ความเจ็บและตาย มันเป็นอาพาท
ท่านไม่สามารถบังคับได้มันเป็นอนัตตา

ความเป็นนิพพานของอรหันต์จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเห็นว่า อาพาทเป็นอนัตตา
สรุปนิพพานของพระอรหันต์ก็เป็นอนัตตา อสังขตสูตรไม่ได้อธิบายเรื่องนิพพาน


ปล. ความเห็นนี้ผมไปเอามาจาก การสอนธรรมของท่านผู้หนึ่ง ผมเห็นความคลาดเคลื่อน
ก็เลยเอามาพูดครับ ถ้าใครต้องการดูกรุณาเข้าไปดูเองครับ ถ้าไม่เห็นด้วยถอดคำพูดของท่านมา
โพสก็ได้ครับ แต่อย่าเอาคลิปท่านมาโพสนะครับ เดี๋ยวจะเป็นเหตุ

.....http://www.youtube.com/watch?v=HRh4Ot87LKE

อนึ่งต้องขออโหสิกรรม ถ้าเห็นว่าเป็นการล่วงเกิน :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2013, 04:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอใช้กระทู้นี้ เป็นกระทู้อธิบายความ เรื่องความผิดเพี้ยนของการอ้างพุทธวจน
จะขอยกมาเป็นบางกรณีไป ไม่ใช่อะไรอื่น ก็เพื่อไม่ให้ผู้ที่พึ่งจะศึกษาพระธรรมเกิดความเข้าใจผิด
ในคำสอนของครูบาอาจารย์ หรือบรรดาอรรถกถาจารย์

อยากจะยกกรณีของผู้ที่ชอบอ้างพุทธวจน แต่ผู้อ้างขาดความเข้าใจในพุทธพจน์
จึงทำให้ความเข้าใจพุทธวจนผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง

ตัวอย่างความเห็น.....

เช่นนั้น เขียน:
ส่วนในพระอภิธรรมปิฏก ในกถาวัตถุปกรณ์
จะเห็นคำว่า "เป็นปรมัตถ์" (โดยคำแปล) แต่เมื่อดูที่บาลี ซึ่งไม่ใช่คำว่า ปรมัตถ์ แต่จะเป็น ปรมฏฺฐ
ซึ่งไม่ใช่ความหมายเดียวกับ ปรมัตถ์

พิจารณาจากความเห็นนี้ รู้ได้ว่าผู้ให้ความเห็นกำลังเข้าใจว่า
กถาวัตถุปกรณ์ในอภิธรรมปิฎก ไม่ใช่พุทธวจน

เพราะเจ้าของความเห็น ยกเอาคำแปลพระอภิธรรม ไปเทียบกับบาลี
แล้วบอกว่า ความเห็นไม่ตรงกัน

นั้นคือ.......บอกว่า

"เป็นปรมัตถ์"(โดยคำแปล) แล้วบอกว่า ดูที่บาลีไม่ใช่คำว่า ปรมัตถ์ แต่เป็น ปรมฏฐ
ที่เจ้าของความเป็นพุดแบบนี้ เป็นเพราะเจ้าของความเห็นกำลังเข้าใจผิดคิดว่า...
"เป็นปรมัตถ์" เป็นตัวปรมัตถ์โดยตรง เจ้าของความเห็นสับสนครับ

คำว่า"เป็นปรมัตถ์" ใช่กับคำว่า ปรมฏฐถูกต้องแล้ว
ถ้าเอาคำว่า"เป็นปรมัตถ์" มาใช่กับคำว่า ปรมัตถ์ มันไม่ถูกต้อง
เพราะว่า ตามสภาวะธรรม ปรมฏฐ.........เป็นปรมัตถ์


เป็นเพราะเจ้าของความเห็น เชื่อแต่โวหารที่อ้างพุทธวจน ไม่เชื่อถืออรรถกถาจารย์
จึงทำให้ตีความในพุทธวจนผิด เข้าใจความหมายคำแปลพุทธพจน์ผิด :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2013, 10:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ จะอ้างถึงสิ่งที่ เช่นนั้น พิมพ์ออกมา
ก็ยกมาให้ครบ
อย่าได้ เมาๆ เบลอๆ แสดงอะไรออกมา
เช่นนั้น เขียน:
ปรมัตถ์
เป็นคำที่ใช้ เพื่อแสดงถึง สิ่งที่แสดง ธรรมที่แสดง ว่ามีอรรถ มีเนื้อหา ที่ลึกซึ้งยากแก่การรู้ การเข้าใจ

เป็นคำที่มีใช้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล
ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงใช้อยู่ แต่จะใช้เวลาอธิบายข้อธรรมที่มีเนื้อหาลึกซึ้ง
ข้อธรรมที่ทรงแสดง คือบัญญัติ เมื่อเป็นข้อธรรมที่พระพุทธองค์เน้นว่าเป็นข้อธรรมที่ลึกซึ้ง
พระองค์จะ บอกว่า "นี้เป็นบัญญัติทางปรมัตถ์"

อรรถกถา รุ่นแรกๆ ที่บันทึกไว้ในระหว่างพระสูตรในพระไตรปิฏก
จะมี การระบุ อยู่อย่างเดียว คือ นิพพานเป็นปรมัตถ์ เท่านั้น

ส่วนในพระอภิธรรมปิฏก ในกถาวัตถุปกรณ์
จะเห็นคำว่า "เป็นปรมัตถ์" (โดยคำแปล) แต่เมื่อดูที่บาลี ซึ่งไม่ใช่คำว่า ปรมัตถ์ แต่จะเป็น ปรมฏฺฐ
ซึ่งไม่ใช่ความหมายเดียวกับ ปรมัตถ์

ดังนั้นในพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ในพระอภิธรรมปิฏก จึงไม่มีการระบุว่า รูป จิต เจตสิก นิพพาน เป็นปรมัตถ์
มีแต่สภาวะธรรม และการอธิบายสภาวะธรรมด้วยบัญญัติ
V
รูปปรมัตถ์ จิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ บัญญัติปรมัตถ์ ฯลฯ ...
จึงเป็นเพียงรูปแบบ บัญญัติในสมัยต่อลงมาอีก เพื่อให้นักศึกษาคันถะธุระศีกษาเพียงเท่านั้นเอง โดยต้องเข้าใจว่า ไม่ใช่พุทธบัญญัติ แต่เป็นคำบัญญัติโดยอาจารย์ภายหลังเพื่อสะดวกแก่การสอน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2013, 10:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เมื่อจะอวดภูมิ ก็
มองอ่าน ในหัวข้อกระทู้ก่อนว่า "สัพเพธัมมา กับสัพเพสังขารา อย่าสับสนในพุทธพจน์"

อย่าเลื่อนลอยไปจับนู่นจับนี่มาต้มยำในหัวข้อกระทู้ที่โฮฮับ ตั้งขึ้นมาเอง

จะแสดงอะไรก็ดูเสียก่อนว่า หัวข้อกระทู้คืออะไร

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร