วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 20:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2013, 14:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


วิถีชีวิตของคนในอดีตที่ผ่านมาไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐๐ ปี ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับยุคนี้
ยังตกอยู่ในอำนาจของความรัก ความชัง ความโลภ ความโกรธ ความหลง
สรรเสริญ นินทา หรือถ้าจะกล่าวให้ถูกต้องคนในยุคนี้ก็ไม่แตกต่างไปในยุคอดีตที่ผ่านมา
แต่อย่างใด ในเรื่องความรัก ความชัง ความชัง ล้วนแล้วก็ต้องพบกับโลกขธรรม ๘ ทั้งสิ้น

การดำเนินชีวิต ผู้ที่พัฒนาตนเองได้ ซึ่งห้ามตนจากความชั่วได้ย่อมประสบความเจริญ
ส่วนผู้ที่อ่อนแอกว่า โง่เขลากว่า ก็ย่อมเข้าถึงความลำบากอยู่เสมอ ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข
ส่วนผู้ประพฤติอธรรมย่อมอยู่เป็นทุกข์อยู่เสมอเช่นกัน สิ่งเหล่านี้หาอ่านได้ในชาดก

แม้วิถีชีวิตไทยแท้ก็ยังดำเนินตามแนวทางที่ปรากฎในชาดก
เช่น ศีลปะ วัฒนะธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี มีเมตตา กรุณา ให้ทาน
รักษาศีล เจริญภาวนา ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ล้วนแล้วก็เหมือนในชาดก
และลีลาชีวิตในชาดกล้วนแล้วก็เป็นเครื่องสอนใจ ในหลายรูปแบบดังนี้

เช่น ตายเพราะปาก การพูด เป็นการสื่อสารที่สำคัญที่จะทำให้มนุษย์เรารู้เรื่องที่ประสงค์ได้
แต่การพูดมากไปก็ไม่ดี ไม่พูดก็ไม่รู้เรื่อง พูดกันคนละทีก็ทะเลาะกัน
เรื่องการพูดท่านจึงว่า ต้องพูดให้ถูกกาล พูดคำสัตย์จริง คำอิงประโยชน์
อ่อนหวาน และมีเมตตา คนที่พูดไม่ถูกกาลถึงตายมาแล้วก็มาก

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บวชเป็นฤษีมีศิษย์ ๕๐๐ ล้วนแต่เก่งในการเข้าฌาน
แต่มีศิษย์อยู่คนหนึ่งยังไม่ได้ฌานอะไร วันหนึ่งกำลังผ่าฟืนอยู่
เพื่อนดาบสอีกคนหนึ่งมายืนสั่งการว่า "ฟันอย่างนี้ซิผ่าอย่างนี้ซิท่าน"
เธอโกรธจึงพูดว่า "เดี๋ยวนี้ แกไม่ใช่อาจารย์สั่งสอนศีลปะในการผ่าฟืนแก่ฉันหรอกนะ"
พูดจบก็เอาขวานฟันก้านคอคนช่างพูดถึงแก่ความตาย

และในที่ใกล้ๆ อาศรมของพวกดาบส มีนกกระทาตัวหนึ่งขันอยู่ทุกวัน
ต่อมาเสียงเงียบไป พระโพธิสัตว์จึงถามพวกศิษย์ว่า "นกกระทาที่เคยขันอยู่ทุกวันไปไหน"
ฟังว่านายพรานนกมาดักจับไปกินแล้ว เพราะขันดังเกินไป อาจารย์จึงกล่าวว่า
"คนพูดที่ดังเกินไป รุนแรงเกินไป และพูดเกินเวลา ย่อมฆ่าคนโง่
เหมือนเสียงฆ่านกกระทาที่ขันดังเกินไป"

(ติตรชาดก เรื่องที่ ๑๑๗ พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มหาจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย ๒๕๓๙ เล่มที่ ๒๗ หน้า ๔๘)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2013, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโพธิสัตว์เป็นมนุษย์คนหนึ่ง มีชีวิตเลือดเนื้อ มีความรู้สึกนึกคิด รักสุขเกลียดทุกข์... เหมือนกันกับมนุษย์ทุกยุคทุกสมัยทั้งอดีตปัจจุบันและในอนาคต

พระโพธิสัตว์ออกบวชจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ท่านไม่มีหนังสือตำราติดตัวไปด้วย ไปแต่ตัว ท่านเรียนรู้จากชีวิต คือ จากกายจากจิตใจของท่านเอง ศึกษาจนรู้เข้าใจชีวิตของตนเองอย่างแจ่มแจ้งถึงที่สุดแล้ว ก็ออกเที่ยวจาริกเผยแผ่สิ่งที่พระองค์ได้รู้แล้วนั่นแก่ผู้คนทุกชนชั้น เป็นเวลานานถึง 45 ปี จนกระทั่งมีคนรู้ตาม ที่เรียกกันว่า พุทธบริษัท 4 หลังจากพุทธบริษัทมั่นคงแล้ว พระองค์ก็ตาย (เรียกเป็นคำศัพท์ว่าดับขันธปรินิพพาน) ซึ่งก็อย่างเดียวกับสรรพสัตว์ทุกรูปทุกนามที่เกิดมาแล้วต้องตาย ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า หลังจากพระองค์ปรินิพานแล้ว....จึงมีการรวบรวมคำสอนของท่านไว้ในคัมภีร์ (จะเรียกพระไตรปิฎกก็เอา) ปัจจุบันชาวพุทธก็ศึกษาเรียนรู้ชีวิตจากคัมภีร์ ซึ่งมีคำสอนมากมายหลายแง่มุม สุดแต่ว่าใครจะหยิบฉวยเอาแง่ด้านใด (อุปมาเหมือนเรียนรู้เกี่ยวกับช้าง)

สรุปได้ว่า พระพุทธเจ้าเป็นคน คำสอนของพระพุทธศาสนาจึงเกี่ยวกับคน ถ้าเข้าใจพระพุทธศาสนาก็เข้าใจคนเข้าใจโลกและชีวิตเข้าใจสังคม (ที่เสื่อมหรือเจริญก็เพราะคน) :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร