วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 16:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 15:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
ซึ่งหมายความว่า
เมื่อทุกข์ เกิด มันก็จะเป็นทุกข์อยู่ร่ำไปไม่จบไม่สิ้น ตราบใดที่ยังมีเหตุอยู่ (ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง)
และเป็นธรรมดาของทุกข์ ที่จะดับได้เช่นกัน (สัพพันตัง นิโรธธัมมัง)

ทุกข์ ก็ทุกข์
สุข ก็ทุกข์
อทุกขมสุข ก็ทุกข์

อุปาทานขันธ์ คือเวทนา 3 นี้ ล้วนแล้วแต่ทุกข์ทั้งสิ้น

และจะ

เช่นนั้นเอาพุทธพจน์มาโยงมั่ว เวทนาก็เวทนา อุปาทานก็อุปาทาน ขันธ์หรือกองทุกข์
ก็คือขันธ์หรือกองทุกข์

ยิ่งเรื่อง อริยสัจจ์๔ ปริวัฏ๓และอาการ๓๒ เช่นนั้นเอามาพูดทั้งๆที่ไม่เข้าใจความหมาย
พูดมาได้ไงว่า อุปาทานขันธ์คือเวทนา๓ตัวนี่

อุปาทานขันธ์ ที่เป็นเหตุก็มี
อุปาทานขันธ์ ที่เป็นปัจจยุบันธรรม (หรือเข้าใจง่ายๆ ว่าผลอันเกิดแต่เหตุ) ก็มี

ปัญจุปาทานขันธ์ คือทุกข์ เป็นผล
และปัญญจุปาทานขันธ์ เป็นเหตุแห่ง อุปาทาน เช่นกัน

เวทนา คือเวทนาขันธ์
อุปาทาน คือปัจจยุบันธรรมของตัณหา; และเป็นปัจจัยของภพ
ขันธ์ ไม่ใช่กองทุกข์
แต่ปัญจุปาทานขันธ์ หรืออุปาทานขันธ์๕ คือกองทุกข์

โฮฮับ คงต้องไปเรียนรู้จัก ขันธ์ 5 และอุปาทานขันธ์ ๕ เสียใหม่หมด

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 15:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
อ้างคำพูด:
เรียกว่า เวทนา มีเกิด มีดับ เป็นอนัตตา


ก็ต่อเมื่อ อุปาทานขันธ์ คือเวทนา เป็นความเกิดของเวทนาที่เป็นทุกข์
เมื่อวางความยึดมั่นถือมั่นว่า เวทนาเป็นเรา เวทนาเป็นของเรา เวทนาเป็นอัตตาตัวตนของเรา
คือวางอัตตาต่อเวทนานั้นไปเสีย(อนัตตา) อุปาทานขันธ์ คือเวทนาที่เป็นทุกข์จึงดับไป

ดับชนิดขาดดุจตาลยอดด้วน
เจริญธรรม

อุปาทานขันธ์มันไม่ได้เกิดที่เวทนาอย่างเดียว มันเกิดตั้งแต่มีการกระทบที่เรียกว่าผัสสะ
นั้นก็คือมันเกิดอุปาทานขันธ์ในส่วนที่เรียกว่า รูปขันธ์และวิญญานขันธ์
เพราะมันเกิดการยึดในรูป และวิญญาน จึงทำให้จิตไปยึดเวทนา

การดับทุกข์ต้องดับที่เหตุ การที่จะไม่ห้เกิดเวทนาขันธ์ เราต้องไปดับที่ผัสสะ
เมื่อเกิดผัสสะขึ้น อริยะมีสติระลึกรู้ผัสสะ ผัสสะย่อมดับไป

เมื่อเหตุดับนั้นคือผัสสะดับ ไม่ปรุงแต่งต่อ เวทนาขันธ์ย่อมเกิดไม่ได้

ผู้เรียนรู้เข้าใจ พุทธวจนะ ย่อมเข้าใจและเรียนรู้ดั่งนี้
ว่า การดับทุกข์ ไม่ได้ ดับ เวทนาขันธ์ อันมีผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัย
แต่การดับทุกข์ ดับอุปาทานขันธ์ คือเวทนา อันมีอวิชชาสัมผัสเป็นปัจจัย
การดับผัสสะ จึงเป็นการดับผัสสะอันมีอวิชชาสัมผัส ....เป็นเหตุเป็นปัจจัย จึงดับชนิดขาดดุจตาลยอดด้วน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=17&A=1303&w=%CD%D8%BB%D2%B7%D2%B9%A2%D1%B9%B8%EC
Quote Tipitaka:
[๑๑๒] พระนครสาวัตถี. ฯลฯ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ
อุปาทานขันธ์คือรูป
อุปาทานขันธ์คือเวทนา
อุปาทานขันธ์คือสัญญา
อุปาทานขันธ์คือสังขาร
อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรายังไม่รู้ยิ่งซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ โดยเวียนรอบ ๔ ตามความเป็นจริง เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบยิ่งซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ อย่างยอดเยี่ยม ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เพียงนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล เรารู้ยิ่งซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ โดยเวียนรอบ ๔ ตามความเป็น
จริง เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบยิ่งซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ อย่างยอดเยี่ยม ในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ
มนุษย์. เวียนรอบ ๔ อย่างไร? คือ เรารู้ยิ่งซึ่งรูป ความเกิดแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทา
อันให้ถึงความดับแห่งรูป รู้ยิ่งซึ่งเวทนา ฯลฯ รู้ยิ่งซึ่งสัญญา ฯลฯ รู้ยิ่งซึ่งสังขาร ฯลฯ รู้ยิ่งซึ่ง
วิญญาณ ความเกิดแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 15:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=17&A=1066&w=%CD%D8%BB%D2%B7%D2%B9%A2%D1%B9%B8%EC
ว่าด้วยขันธ์และอุปาทานขันธ์ ๕
[๙๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕
เธอทั้งหลายจงฟัง
.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ขันธ์ ๕ เป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่าง
หนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้. นี้เรียกว่า รูปขันธ์. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้.
นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕.

[๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียดเลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ เป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน.นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์คือรูป.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็น
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ เป็นไปกับด้วย
อาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน.
นี้เรียกว่า. อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 16:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=1042&Z=1064&pagebreak=0
๕. สมนุปัสสนาสูตร
ว่าด้วยการพิจารณาเห็นอุปาทานขันธ์ ๕
[๙๔] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
เมื่อพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นตนเป็นหลายวิธี สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อม
พิจารณาเห็นอุปาทานขันธ์ ๕ หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง.

อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ฯลฯ ไม่ได้รับการแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมตามเห็นตนมีรูป ๑ ย่อมตามเห็นรูปใน
ตน ๑ ย่อมตามเห็นตนในรูป ๑ ย่อมตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ... ย่อมตามเห็นสัญญาโดย
ความเป็นตน ... ย่อมตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน ... ย่อมตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑
ย่อมตามเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมตามเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมตามเห็นตนในวิญญาณ ๑.

การตามเห็นด้วยประการดังนี้แล เป็นอันผู้นั้นยึดมั่นถือมั่นว่า เราเป็น เมื่อผู้นั้น ยึดมั่นถือมั่นว่า เรา
เป็น

ในกาลนั้นอินทรีย์ ๕ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ ย่อมหยั่ง
ลง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนะมีอยู่ ธรรมทั้งหลายมีอยู่ อวิชชาธาตุมีอยู่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว อันความเสวยอารมณ์ ซึ่งเกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เขาย่อมมีความยึดมั่นถือมั่นว่า เราเป็นดังนี้บ้าง นี้เป็นเราดังนี้บ้าง เราจักเป็นดังนี้บ้าง จักไม่เป็นดังนี้บ้าง จักมีรูปดังนี้บ้าง จักไม่มีรูปดังนี้บ้าง จักมีสัญญาดังนี้บ้าง จักไม่มีสัญญาดังนี้บ้าง จักมีสัญญาก็ หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ดังนี้บ้าง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์ ๕ ย่อมตั้งอยู่ ในเพราะการตามเห็นนั้นทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น เพราะความคลายไปแห่งอวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา อริยสาวกนั้น ย่อมไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในอินทรีย์เหล่านั้นว่า เราเป็นดังนี้บ้าง นี้เป็นเราดังนี้บ้าง เราจักเป็นดังนี้บ้าง จักไม่เป็นดังนี้บ้าง จักมีรูปดังนี้บ้าง จักไม่มีรูปดังนี้บ้าง จักมีสัญญาดังนี้บ้าง จักไม่มีสัญญาดังนี้บ้างจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ดังนี้บ้าง.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=479&Z=575

Quote Tipitaka:
... [๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใด
อย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลาย
พึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน...ฯลฯ
สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลาย
พึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น
เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2013, 05:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
อ้างคำพูด:
"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา"


วลีสองวลีนี้ เกิดขึ้นขณะที่ นักบวชโกณฑัญญะ มีดวงตาเห็นธรรม ต่อปฐมเทศนาของพระพุทธองค์ที่ทรงแสดง อริยะสัจจ์ 4 ....โดยปริวัฏฏ์ 3 อาการ 12....
สิ่งที่ นักบวชโกณฑัญญะ เห็นคือ ความเกิด ความดับ อันเป็นธรรมดา ที่เนื่องด้วย สมุทัย กับ นิโรธ ว่าเป็นธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย คือธัมม์ใดเกิดแต่เหตุอันธรรมดา ธัมม์นั้นก็มีความดับเป็นธรรมดาเพราะความดับแห่งเหตุนั้น ....ซึ่งยังไม่เกี่ยวข้องกับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.....

ผู้ที่ไม่รู้จัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาย่อมต้องไม่รู้ที่มาที่ไปของบัญญัติสามคำนี้
จึงทำให้พูดแบบคนไม่รู้ว่า......ไม่เกี่ยวข้อง

ผู้ที่เคยสัมผัส อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมรู้ดีว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา"
คำกล่าวนี้คือ เหตุแห่ง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ได้เป็นเหตุ แห่งวลีสองประโยคนั้น
ท่านโกณฑัญญะ ได้ฟังปฐมเทศนา เนื่องด้วยอริยสัจจ์ 4 จึงเกิดดวงตาเห็นธรรม


พูดเป็นนกแก้วนกขุนทอง ได้ฟังอริยสัจจ์สี่ แล้วอะไรคืออริยสัจจ์สี่
เช่นนั้นคิดว่าเรากำลังต่ออาขยานกันอยู่หรือ รู้จักสิ่งที่เรียกว่า...อธิบายธรรมมั้ย

เพราะท่านโกณฑัญญะ มองธรรมไปตามความจริง จึงเกิดญานรู้การเกิดดับแห่งสังขาร

ญานรู้ รู้ก็คือ.....อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

การเกิดดับแห่งสังขารก็คือ......"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา"


เพราะเกิดญานรู้การเกิดดับของสังขาร จึงเรียกว่า....การรู้อริยสัจจ์สี่(วิชชา)

สังขารทั้งหลาย...ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ก็คือ ทุกข์อริยสัจจ์และทุกขสมุทัย

ธรรมทั้งหลาย.....เป็นอนัตตา ก็คือทุกขนิโรธและทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2013, 05:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
นักบวชโกณฑัญญะ เกิดดวงตาเห็นธรรมเพียงเท่านั้น ซึ่งเมื่อพระพุทธองค์ แสดงอนัตตลักขณะสูตร จึงมีการนำ อนิจจะสัญญา ทุกขสัญญา มาเพื่อให้รู้จักอนัตตา กระทำอนัตตสัญญาให้ปรากฏ

เช่นนั้นพูดขัดแย้งกันเอง บอกก่อนหน้าว่า ไม่เกี่ยวข้องกับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เมื่อไม่เกี่ยวข้อง ปัญจวัคคีย์จะเอาสัญญาของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตามาจากไหน
อย่าลืมซิว่า....สัญญาคือความจำได้หมายรู้ จะจำได้จะต้องมีสิ่งที่จิตไปรู้เสียก่อน

ดังนั้นที่พระพุทธองค์อนัตตาลักขณสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ ก็เพื่อให้ปัญจวัคคีย์ปล่อยวาง...สัญญาทั้งสาม
นั้นก็คือปล่อยวาง ความจำได้หมายรู้ใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เมื่อพระพุทธองค์ แสดง อนัตตา
พระพุทธองค์ แสดงอนิจจสัญญา ทุกขสัญญา ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แก่ปัญญจวัคคีย์
และ ให้ละความคิดความเห็น ความยึดถือใน ความเป็นตน ความเป็นของตน ความเป็นตน ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อนัตตาสัญญาจึงปรากฏ ดังนี้
ไม่ใช่ ปล่อยการปล่อยวาง ความจำได้หมายรู้ใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ในอนัตตลักขณสูตร พระพุทธองค์ทรงสอนปัญจวัคคีย์ เพื่อให้รู้ว่า.....

สรรพสิ่งทั้งมวลล้วนเป็นอนัตตา อนัตตาที่เป็นพุทธพจน์นี่ไม่ใช่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน
แต่เป็น......รูปนาม

ที่เป็นอย่างนี้ เพราะปัญจวัคคีย์ยังหลงยึดติดอัตตาแห่งรูปนาม
พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า แม้จะรู้ว่า สังขารเป็นอนัตตา แต่นั้นเป็นเพียงการรู้ สังขารไม่ได้ดับ
เป็นเพราะ....เหตุแห่งสังขารยังไม่ได้ดับ เหตุแห่งสังขารก็คือ..รูปนาม

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน ล้วนมีเหตุมาจาก...รูปนาม
ดังนั้นการจะดับสังขาร ต้องดับที่ รูปนาม

การดับรูปนามหมายความว่า การปล่อยวางรูปนามนั้น ไม่ยึดติด
ธรรมที่พุทธองค์ทรงสอน เพื่อไม่ยึดติดในรูปนามก็คือ....รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน
ล้วนเป็นไปเพื่อ...อาพาท เพราะเหตุแห่งสังขารนั้นก็คือรูปนาม เป็นไปเพื่ออาพาท


เราไม่สามารถบังคับบัญชารูปนามได้นั้นเอง


โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2013, 06:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อุปาทานขันธ์ ที่เป็นเหตุก็มี
อุปาทานขันธ์ ที่เป็นปัจจยุบันธรรม (หรือเข้าใจง่ายๆ ว่าผลอันเกิดแต่เหตุ) ก็มี

ปัญจุปาทานขันธ์ คือทุกข์ เป็นผล
และปัญญจุปาทานขันธ์ เป็นเหตุแห่ง อุปาทาน เช่นกัน

เวทนา คือเวทนาขันธ์
อุปาทาน คือปัจจยุบันธรรมของตัณหา; และเป็นปัจจัยของภพ
ขันธ์ ไม่ใช่กองทุกข์
แต่ปัญจุปาทานขันธ์ หรืออุปาทานขันธ์๕ คือกองทุกข์

โฮฮับ คงต้องไปเรียนรู้จัก ขันธ์ 5 และอุปาทานขันธ์ ๕ เสียใหม่หมด

ที่ผมว่าเช่นนั้นมั่วก็เพราะ หลงเอารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน
มาปนมั่วกับปฏิจสมุบาท

เช่นนั้นไม่มีความเข้าใจใน....ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม
และที่ไม่น่าให้อภัยก็คือ สิ่งงที่เช่นนั้นชอบอ้างชอบเอาไปข่มชาวบ้าน
นั้นก็คือพุทธวจน

เช่นนั้นไม่รู้ความหมายของพุทธวจนที่ว่าด้วย.....
สรรพเพสังขารา อนิจจัง ทุกขัง
สรรพเพธรรมมาอนัตตา

เช่นนั้นไม่รู้จักแยกแยะธรรมว่า อะไรเป็นสังขาร อะไรเป็นรูปนาม
อะไรเป็นธรรมฐิติ อะไรเป็นธรรมนิยาม


ให้เวลาเช่นนั้นไปดูซิว่า ในปฏิจจสมุบาท เหตุปัจจัยแห่งธรรมฐิตินี้
มีอะไรบ้าง ดูด้วยสติ เดียวจะมาอธิบายภายหลัง


โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2013, 11:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
อ้างคำพูด:
เรียกว่า เวทนา มีเกิด มีดับ เป็นอนัตตา


ก็ต่อเมื่อ อุปาทานขันธ์ คือเวทนา เป็นความเกิดของเวทนาที่เป็นทุกข์
เมื่อวางความยึดมั่นถือมั่นว่า เวทนาเป็นเรา เวทนาเป็นของเรา เวทนาเป็นอัตตาตัวตนของเรา
คือวางอัตตาต่อเวทนานั้นไปเสีย(อนัตตา) อุปาทานขันธ์ คือเวทนาที่เป็นทุกข์จึงดับไป

ดับชนิดขาดดุจตาลยอดด้วน
เจริญธรรม

อุปาทานขันธ์มันไม่ได้เกิดที่เวทนาอย่างเดียว มันเกิดตั้งแต่มีการกระทบที่เรียกว่าผัสสะ
นั้นก็คือมันเกิดอุปาทานขันธ์ในส่วนที่เรียกว่า รูปขันธ์และวิญญานขันธ์
เพราะมันเกิดการยึดในรูป และวิญญาน จึงทำให้จิตไปยึดเวทนา

การดับทุกข์ต้องดับที่เหตุ การที่จะไม่ห้เกิดเวทนาขันธ์ เราต้องไปดับที่ผัสสะ
เมื่อเกิดผัสสะขึ้น อริยะมีสติระลึกรู้ผัสสะ ผัสสะย่อมดับไป

เมื่อเหตุดับนั้นคือผัสสะดับ ไม่ปรุงแต่งต่อ เวทนาขันธ์ย่อมเกิดไม่ได้

ผู้เรียนรู้เข้าใจ พุทธวจนะ ย่อมเข้าใจและเรียนรู้ดั่งนี้
ว่า การดับทุกข์ ไม่ได้ ดับ เวทนาขันธ์ อันมีผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัย
แต่การดับทุกข์ ดับอุปาทานขันธ์ คือเวทนา อันมีอวิชชาสัมผัสเป็นปัจจัย
การดับผัสสะ จึงเป็นการดับผัสสะอันมีอวิชชาสัมผัส ....เป็นเหตุเป็นปัจจัย จึงดับชนิดขาดดุจตาลยอดด้วน

ที่เช่นนั้นพูดแบบนี้เป็นเพราะเช่นนั้นยังมีอวิชา ยังไม่เห็นอริยสัจจ์
ที่สำคัญเช่นนั้นไม่รู้จัก...ปฏิจจ์สมุบาท

ปฏิจจสมุบาทเป็นธรรมฐิติ นั้นก็คือ การตั้งอยู่อันเป็นสภาพความเป็นจริงแห่งธรรม
ปฏิจจสมุบาทเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมที่ตั้งอยู่ ด้วยปัจจัยที่เรียกว่า....อัญญมัญญปัจจัย
นั้นก็คือ เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดปฏิจจสมุบาทนั้น ขึ้นอยู่กับกฎแห่ง....อิทัปปัจยถตา
มีสิ่งนี้สิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้ดับสิ่งนั้นก็ดับ

ดังนั้นสายปฏิจจสมุบาท เมื่อตั้งอยู่จะต้องอยู่ครบตลอดสายปฏิจจสมุบาท
การตั้งอยู่นั้นอาศัยปัจจัยที่เรียกว่า การอาศัยซึ่งกันและกัน ถ้าอะไรในสายปฏิจจสมุบาท
ตัวใดตัวหนึ่งดับไป สายปฏิจจสมุบาทก็ต้องดับไปตลอดทั้งสาย ตามกฎแห่ง อิทัปจยตา


พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ธรรมชาติหรือทรงแทงตลอดปฏิจจสมุบาท
เมื่อรู้แล้วทรงได้กำหนด ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม และทรงบัญญัติพุทธวจนว่า....
"สัพเพสังขารา อนิจจัง ทุกขัง
สัพเพธัมมา อนัตตา"

หลักการพิจารณา นั้นต้องอาศัยปัญญาแยกแยะ ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม
การพิจารณาธรรมนิยาม ต้องพิจารณาจากพุทธพจน์ที่ว่า สัพเพสังขารา
ส่วนการพิจารณาธรรมฐิติต้องพิจารณาจาก....สัพเพธัมมาอนัตตา

ทุกขอริยสัจจ์ ที่พระพุทธองค์ทรงบอกก็คือ วัฏฏะแห่งการเวียนว่ายตายเกิด
นั้นก็คือการหมุนไปแห่งวงปฏิจจสมุบาท
ถ้าเช่นนั้นสังเกตุให้ดี จะเห็นว่า ในวงปฏิจจ์สมุบาท จะมีเหตุปัจจัยเพียงแค่๑๒เหตุ
เหตุเหล่านี้อาศัยซึ่งกันและกัน
ถ้าเรามรณะรูปและนามก็จะแตกดับออกจากกัน นั้นคือสายปฏิจจสมุบาทนั้นก็จะดับไปทั้งสาย

แต่เพราะเรามีผัสสะ จึงทำให้เกิด รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน
เมื่อเกิดผัสสะขึ้นเราไม่มีปัญญาแยกแยะสังขารอันเป็นธรรมนิยาม ปล่อยให้สังขารไปยึดโยง
กับธรรมฐิติ จึงทำให้สังขารเกิดเป็นขันธ์ห้าขึ้น
ดังนั้นการดับทุกข์จึงจะต้องดับเหตุที่ทำให้เกิดสังขาร นั้นก็คือผัสสะ


ขันธ์ห้าหรือกองทุกข์นี่แหล่ะเป็นเป็นเหตุให้เกิด ปฏิจจสมุบาทวงใหม่หรือเรียกว่าจะเกิด
ปฏิจจสมุบาทในอนาคต


โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2013, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=17&A=1066&w=%CD%D8%BB%D2%B7%D2%B9%A2%D1%B9%B8%EC
ว่าด้วยขันธ์และอุปาทานขันธ์ ๕
[๙๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕
เธอทั้งหลายจงฟัง
.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ขันธ์ ๕ เป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่าง
หนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้. นี้เรียกว่า รูปขันธ์. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้.
นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕.

[๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียดเลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ เป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน.นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์คือรูป.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็น
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ เป็นไปกับด้วย
อาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน.
นี้เรียกว่า. อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕.

เช่นนั้นตั้งสติฟังให้ดีน่ะ......พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึงขันธ์ห้า นั้นก็คือ
ปุถุชนล้วนเกิดมาพร้อมกับขันธ์ห้า ขันธ์ห้าคือสิ่งที่ตามติดมาจาก ปฏิจจ์ในอดีต
และเหตุที่ทำให้เกิดขันธ์ห้าในชาติปัจจุบัน ก็คือ อุปาทานขันธ์ในอดีต
ซึ่งอุปาทานขันธ์ในอดีตเกิดจาก สังขารไปยึดปฏิจจฯของชาตินั้นๆ

และสังขารเป็นอุปาทานขันธ์ได้อย่างไร เช่นนั้นก็ดูซิว่า ในปฏิจจ์ฯมีอะไรที่เป็นเหตุให้เกิด
อุปาทานขันธ์ ตัณหาใช่หรือไม่

ถ้าเราปล่อยให้สังขารเป็นไปตามธรรมชาติของมัน นั้นคือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ไม่เอาสังขารไปเกาะเกี่ยวกับตัณหาในวงปฏิจจ์ฯ ถามหน่อย อุปาทานขันธ์มันจะเกิดได้มั้ย


โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2013, 15:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
อ้างคำพูด:
"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา"


วลีสองวลีนี้ เกิดขึ้นขณะที่ นักบวชโกณฑัญญะ มีดวงตาเห็นธรรม ต่อปฐมเทศนาของพระพุทธองค์ที่ทรงแสดง อริยะสัจจ์ 4 ....โดยปริวัฏฏ์ 3 อาการ 12....
สิ่งที่ นักบวชโกณฑัญญะ เห็นคือ ความเกิด ความดับ อันเป็นธรรมดา ที่เนื่องด้วย สมุทัย กับ นิโรธ ว่าเป็นธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย คือธัมม์ใดเกิดแต่เหตุอันธรรมดา ธัมม์นั้นก็มีความดับเป็นธรรมดาเพราะความดับแห่งเหตุนั้น ....ซึ่งยังไม่เกี่ยวข้องกับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.....

ผู้ที่ไม่รู้จัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาย่อมต้องไม่รู้ที่มาที่ไปของบัญญัติสามคำนี้
จึงทำให้พูดแบบคนไม่รู้ว่า......ไม่เกี่ยวข้อง

ผู้ที่เคยสัมผัส อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมรู้ดีว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา"
คำกล่าวนี้คือ เหตุแห่ง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ได้เป็นเหตุ แห่งวลีสองประโยคนั้น
ท่านโกณฑัญญะ ได้ฟังปฐมเทศนา เนื่องด้วยอริยสัจจ์ 4 จึงเกิดดวงตาเห็นธรรม


พูดเป็นนกแก้วนกขุนทอง ได้ฟังอริยสัจจ์สี่ แล้วอะไรคืออริยสัจจ์สี่
เช่นนั้นคิดว่าเรากำลังต่ออาขยานกันอยู่หรือ รู้จักสิ่งที่เรียกว่า...อธิบายธรรมมั้ย

เพราะท่านโกณฑัญญะ มองธรรมไปตามความจริง จึงเกิดญานรู้การเกิดดับแห่งสังขาร

ญานรู้ รู้ก็คือ.....อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

การเกิดดับแห่งสังขารก็คือ......"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา"


เพราะเกิดญานรู้การเกิดดับของสังขาร จึงเรียกว่า....การรู้อริยสัจจ์สี่(วิชชา)

สังขารทั้งหลาย...ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ก็คือ ทุกข์อริยสัจจ์และทุกขสมุทัย

ธรรมทั้งหลาย.....เป็นอนัตตา ก็คือทุกขนิโรธและทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


โฮฮับ คงต้องไปถามพระพุทธองค์ เอง ตอนแสดง ปฐมธรรมเทศนา ว่าพระพุทธองค์แสดงอะไร.
แล้ว ก็ไปถามพระพุทธองค์ ว่า ทำไมไม่แสดง อนัตตลักขณะสูตร ก่อน แสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร.

จะมั่ว ก็มั่วให้อยู่กะร่องกะรอย อย่าสู่รู้เกินพระพุทธองค์ นะโฮฮับ
http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=355&Z=445
Quote Tipitaka:
..... [๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่
ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก
ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบ
ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา
ภวตัณหา วิภวตัณหา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือ
ด้วยมรรคคือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘
นี้แหละ คือ ปัญญาเห็นชอบ ๑ ... ตั้งจิตชอบ ๑.....

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 11 ส.ค. 2013, 15:08, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2013, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ในอนัตตลักขณสูตร พระพุทธองค์ทรงสอนปัญจวัคคีย์ เพื่อให้รู้ว่า.....

สรรพสิ่งทั้งมวลล้วนเป็นอนัตตา อนัตตาที่เป็นพุทธพจน์นี่ไม่ใช่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน
แต่เป็น......รูปนาม

ที่เป็นอย่างนี้ เพราะปัญจวัคคีย์ยังหลงยึดติดอัตตาแห่งรูปนาม
พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า แม้จะรู้ว่า สังขารเป็นอนัตตา แต่นั้นเป็นเพียงการรู้ สังขารไม่ได้ดับ
เป็นเพราะ....เหตุแห่งสังขารยังไม่ได้ดับ เหตุแห่งสังขารก็คือ..รูปนาม

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน ล้วนมีเหตุมาจาก...รูปนาม
ดังนั้นการจะดับสังขาร ต้องดับที่ รูปนาม

การดับรูปนามหมายความว่า การปล่อยวางรูปนามนั้น ไม่ยึดติด
ธรรมที่พุทธองค์ทรงสอน เพื่อไม่ยึดติดในรูปนามก็คือ....รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน
ล้วนเป็นไปเพื่อ...อาพาท เพราะเหตุแห่งสังขารนั้นก็คือรูปนาม เป็นไปเพื่ออาพาท


เราไม่สามารถบังคับบัญชารูปนามได้นั้นเอง

Quote Tipitaka:
[๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น
อนัตตา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคล
พึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า
รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ
เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนา
ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว
สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ
เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้
ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้
เป็นอย่างนั้นเลย.
วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้
ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น
วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=479&Z=575

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2013, 15:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ทุกขอริยสัจจ์ ที่พระพุทธองค์ทรงบอกก็คือ วัฏฏะแห่งการเวียนว่ายตายเกิด
นั้นก็คือการหมุนไปแห่งวงปฏิจจสมุบาท
ถ้าเช่นนั้นสังเกตุให้ดี จะเห็นว่า ในวงปฏิจจ์สมุบาท จะมีเหตุปัจจัยเพียงแค่๑๒เหตุ
เหตุเหล่านี้อาศัยซึ่งกันและกัน
ถ้าเรามรณะรูปและนามก็จะแตกดับออกจากกัน นั้นคือสายปฏิจจสมุบาทนั้นก็จะดับไปทั้งสาย

แต่เพราะเรามีผัสสะ จึงทำให้เกิด รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน
เมื่อเกิดผัสสะขึ้นเราไม่มีปัญญาแยกแยะสังขารอันเป็นธรรมนิยาม ปล่อยให้สังขารไปยึดโยง
กับธรรมฐิติ จึงทำให้สังขารเกิดเป็นขันธ์ห้าขึ้น
ดังนั้นการดับทุกข์จึงจะต้องดับเหตุที่ทำให้เกิดสังขาร นั้นก็คือผัสสะ
[/color]

ขันธ์ห้าหรือกองทุกข์นี่แหล่ะเป็นเป็นเหตุให้เกิด ปฏิจจสมุบาทวงใหม่หรือเรียกว่าจะเกิด
ปฏิจจสมุบาทในอนาคต

Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่
ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก
ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2013, 15:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้นตั้งสติฟังให้ดีน่ะ......พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึงขันธ์ห้า นั้นก็คือ
ปุถุชนล้วนเกิดมาพร้อมกับขันธ์ห้า ขันธ์ห้าคือสิ่งที่ตามติดมาจาก ปฏิจจ์ในอดีต
และเหตุที่ทำให้เกิดขันธ์ห้าในชาติปัจจุบัน ก็คือ อุปาทานขันธ์ในอดีต
ซึ่งอุปาทานขันธ์ในอดีตเกิดจาก สังขารไปยึดปฏิจจฯของชาตินั้นๆ

และสังขารเป็นอุปาทานขันธ์ได้อย่างไร เช่นนั้นก็ดูซิว่า ในปฏิจจ์ฯมีอะไรที่เป็นเหตุให้เกิด
อุปาทานขันธ์ ตัณหาใช่หรือไม่

ถ้าเราปล่อยให้สังขารเป็นไปตามธรรมชาติของมัน นั้นคือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ไม่เอาสังขารไปเกาะเกี่ยวกับตัณหาในวงปฏิจจ์ฯ ถามหน่อย อุปาทานขันธ์มันจะเกิดได้มั้ย


Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่
ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก
ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

[๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียดเลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ เป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน.นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์คือรูป.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็น
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ เป็นไปกับด้วย
อาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน. นี้เรียกว่า. อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร