วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 19:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2013, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ
กลับไปเรียนรู้ใหม่ว่า
ทุกขอริยสัจจ์ คือ อุปาทานขันธ์ หรือ ขันธ์
ดับทุกข์ ที่ดับชนิดดุจดังตาลยอดด้วน คือดับอุปาทานขันธ์ หรือ ดับขันธ์

เช่นนั้นหาสติไม่ได้เลย ทำสมาธิแล้วก็แยกตัวเอง มองดูอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

ตัวตนในอดีตชาติ เป็นเหตุให้เกิดภพชาติปัจจุบัน ภพชาติปัจจุบันเป็นเหตุให้เกิด ภพชาติในอนาคต

อุปาทานขันธ์ในภพชาติอดีต มันเป็นตัวทุกขอริยสัจจ์ในภพชาติปัจจุบัน
ดังนั้นอุปาทานขันธ์ในอดีตจึงเป็น ทุกขสมุทัยในชาติปัจจุบัน

ตัวทุกข์ที่แท้จริงของภพชาติปัจจุบันก็คือรูปนาม

ถ้ากล่าวว่า อุปาทานขันธ์เป็นทุกขอริยสัจจ์ หมายถึงทุกขอริยสัจจ์ในอนาคต
นั้นคือรูปนามในอนาคตชาติ อุปาทานขันธ์ในชาติปัจจุบันจึงเป็นทุกขสมุทัยในชาติอนาคต

อุปาทานขันธ์ในภพชาติปัจจุบัน เป็นทุกข์ก็จริง แต่เป็นทุกข์ที่เป็นสังขารเป็นไตรลักษณ์
มันเกิดแล้วก็ดับตามหัวข้อกระทู้ แต่ทุกขอริยสัจจ์ไม่เกิดดับ แต่มันเสื่อมสลายได้ เช่นรูปนาม
พระอรหันต์ถึงแม้จะดับอุปาทานขันธ์แล้ว แต่ก็ยังมีทุกขเวทนาในรูปนามอยู่ พระอรหันต์ดับได้แต่
ทุกขสมุทัยในชาติปัจจุบันไม่ให้เกิดทุกขอริสัจจ์ในชาติหน้า แต่พระอรหันต์ไม่สามารถดับทุกขสมุทัย
ในอดีตชาติได้ ......ดังนั้นพระอรหันต์จึงยังทุกข์จากรูปนามปัจจุบัน แต่จะไม่ทุกข์ในชาติต่อไปแล้ว

เช่นนั้น เขียน:
อุปาทานขันธ์ มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ขันธ์ มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย

ที่ยกพระสูตรมาหลายๆ พระสูตร
กลับไปอ่านให้มาก ทำความเข้าใจให้มาก นะโฮฮับ

อุปาทานขันธ์ในชาติปัจจุบัน ถ้าเป็นอุปาทาน จะมีตัณหาเป็นเหตุ ถ้าเป็นขันธ์ห้าจะมีรูปนามเป็นเหตุ
อุปาทานและตัณหาเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมฐิติ ดับไม่ได้
การจะดับอุปาทานขันธ์ต้องดับที่รูปนาม หมายความว่าต้องไปปฏิบัติที่รูปนาม
เพื่อไม่ให้เกิดอุปาทานขันธ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2013, 14:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ
กลับไปเรียนรู้ใหม่ว่า
ทุกขอริยสัจจ์ คือ อุปาทานขันธ์ หรือ ขันธ์
ดับทุกข์ ที่ดับชนิดดุจดังตาลยอดด้วน คือดับอุปาทานขันธ์ หรือ ดับขันธ์

เช่นนั้นหาสติไม่ได้เลย ทำสมาธิแล้วก็แยกตัวเอง มองดูอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

ตัวตนในอดีตชาติ เป็นเหตุให้เกิดภพชาติปัจจุบัน ภพชาติปัจจุบันเป็นเหตุให้เกิด ภพชาติในอนาคต

อุปาทานขันธ์ในภพชาติอดีต มันเป็นตัวทุกขอริยสัจจ์ในภพชาติปัจจุบัน
ดังนั้นอุปาทานขันธ์ในอดีตจึงเป็น ทุกขสมุทัยในชาติปัจจุบัน

ตัวทุกข์ที่แท้จริงของภพชาติปัจจุบันก็คือรูปนาม

ถ้ากล่าวว่า อุปาทานขันธ์เป็นทุกขอริยสัจจ์ หมายถึงทุกขอริยสัจจ์ในอนาคต
นั้นคือรูปนามในอนาคตชาติ อุปาทานขันธ์ในชาติปัจจุบันจึงเป็นทุกขสมุทัยในชาติอนาคต

อุปาทานขันธ์ในภพชาติปัจจุบัน เป็นทุกข์ก็จริง แต่เป็นทุกข์ที่เป็นสังขารเป็นไตรลักษณ์
มันเกิดแล้วก็ดับตามหัวข้อกระทู้ แต่ทุกขอริยสัจจ์ไม่เกิดดับ แต่มันเสื่อมสลายได้ เช่นรูปนาม
พระอรหันต์ถึงแม้จะดับอุปาทานขันธ์แล้ว แต่ก็ยังมีทุกขเวทนาในรูปนามอยู่ พระอรหันต์ดับได้แต่
ทุกขสมุทัยในชาติปัจจุบันไม่ให้เกิดทุกขอริสัจจ์ในชาติหน้า แต่พระอรหันต์ไม่สามารถดับทุกขสมุทัย
ในอดีตชาติได้ ......ดังนั้นพระอรหันต์จึงยังทุกข์จากรูปนามปัจจุบัน แต่จะไม่ทุกข์ในชาติต่อไปแล้ว

เช่นนั้น เขียน:
อุปาทานขันธ์ มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ขันธ์ มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย

ที่ยกพระสูตรมาหลายๆ พระสูตร
กลับไปอ่านให้มาก ทำความเข้าใจให้มาก นะโฮฮับ

อุปาทานขันธ์ในชาติปัจจุบัน ถ้าเป็นอุปาทาน จะมีตัณหาเป็นเหตุ ถ้าเป็นขันธ์ห้าจะมีรูปนามเป็นเหตุ
อุปาทานและตัณหาเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมฐิติ ดับไม่ได้
การจะดับอุปาทานขันธ์ต้องดับที่รูปนาม หมายความว่าต้องไปปฏิบัติที่รูปนาม
เพื่อไม่ให้เกิดอุปาทานขันธ์


onion onion onion
โฮฮับ มั่วได้ ฝุดๆ ^ ^

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2013, 14:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=1980&Z=2186
Quote Tipitaka:
....[๑๒๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปนั้นนั่งยังอาสนะของตนแล้ว ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ คือ รูปูปาทานขันธ์
เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์
มี ๕ ประการเท่านี้หรือหนอแล ฯ
พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ มี ๕ ประการเท่านี้ คือ รูปูปาทานขันธ์
เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ ฯ
ภิกษุนั้นกล่าว ชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า แล้วทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีอะไรเป็นมูล ฯ
พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีฉันทะเป็นมูล ฯ

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ นั้นอย่างเดียวกัน
หรือ หรือว่าอุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ฯ
พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น จะอย่างเดียวกันก็มิใช่
อุปาทานจะอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ก็มิใช่ ดูกรภิกษุ ความกำหนัดพอใจ ใน
อุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแล เป็นตัวอุปาทานในอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ฯ
[๑๒๒] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความต่างแห่งความกำหนัด พอใจ
ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ พึงมีหรือ ฯ
พระผู้มีพระภาคทรงรับว่า มี แล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคลบางคนใน
โลกนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ เวทนาอย่างนี้ สัญญา
อย่างนี้ สังขารอย่างนี้ วิญญาณอย่างนี้ ในอนาคตกาลเถิด ดูกรภิกษุ อย่างนี้แล
เป็นความต่างแห่งความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ฯ
[๑๒๓] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขันธ์ทั้งหลายมีชื่อเรียกว่าขันธ์ ได้
ด้วยเหตุเท่าไร ฯ

พ. ดูกรภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต
ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียด
ก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกล หรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นรูปขันธ์
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็น
ไปภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม
อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นเวทนาขันธ์ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่
เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอก
ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้
ก็ตาม นี่เป็นสัญญาขันธ์ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็น
อนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือ
ละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็น
สังขารขันธ์ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็น
ปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลว
หรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นวิญญาณขันธ์ ดูกรภิกษุ
ขันธ์ทั้งหลาย ย่อมมีชื่อเรียกว่าขันธ์ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ฯ
[๑๒๔] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
แห่งการบัญญัติรูปขันธ์ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ
เวทนาขันธ์ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ สัญญาขันธ์
อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติสังขารขันธ์ อะไรหนอแล
เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์ ฯ
พ. ดูกรภิกษุ มหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติรูป
ขันธ์ ผัสสะเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติเวทนาขันธ์ ผัสสะเป็นเหตุ
เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติสัญญาขันธ์ ผัสสะเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ
สังขารขันธ์ นามรูปเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์ ฯ
.....

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2013, 06:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=1980&Z=2186
Quote Tipitaka:
....[๑๒๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปนั้นนั่งยังอาสนะของตนแล้ว ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ คือ รูปูปาทานขันธ์
เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์
มี ๕ ประการเท่านี้หรือหนอแล ฯ
พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ มี ๕ ประการเท่านี้ คือ รูปูปาทานขันธ์
เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ ฯ
ภิกษุนั้นกล่าว ชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า แล้วทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีอะไรเป็นมูล ฯ
พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีฉันทะเป็นมูล ฯ

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ นั้นอย่างเดียวกัน
หรือ หรือว่าอุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ฯ
พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น จะอย่างเดียวกันก็มิใช่
อุปาทานจะอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ก็มิใช่ ดูกรภิกษุ ความกำหนัดพอใจ ใน
อุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแล เป็นตัวอุปาทานในอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ฯ
[๑๒๒] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความต่างแห่งความกำหนัด พอใจ
ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ พึงมีหรือ ฯ
พระผู้มีพระภาคทรงรับว่า มี แล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคลบางคนใน
โลกนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ เวทนาอย่างนี้ สัญญา
อย่างนี้ สังขารอย่างนี้ วิญญาณอย่างนี้ ในอนาคตกาลเถิด ดูกรภิกษุ อย่างนี้แล
เป็นความต่างแห่งความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ฯ
[๑๒๓] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขันธ์ทั้งหลายมีชื่อเรียกว่าขันธ์ ได้
ด้วยเหตุเท่าไร ฯ

พ. ดูกรภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต
ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียด
ก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกล หรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นรูปขันธ์
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็น
ไปภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม
อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นเวทนาขันธ์ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่
เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอก
ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้
ก็ตาม นี่เป็นสัญญาขันธ์ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็น
อนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือ
ละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็น
สังขารขันธ์ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็น
ปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลว
หรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นวิญญาณขันธ์ ดูกรภิกษุ
ขันธ์ทั้งหลาย ย่อมมีชื่อเรียกว่าขันธ์ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ฯ
[๑๒๔] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
แห่งการบัญญัติรูปขันธ์ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ
เวทนาขันธ์ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ สัญญาขันธ์
อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติสังขารขันธ์ อะไรหนอแล
เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์ ฯ
พ. ดูกรภิกษุ มหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติรูป
ขันธ์ ผัสสะเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติเวทนาขันธ์ ผัสสะเป็นเหตุ
เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติสัญญาขันธ์ ผัสสะเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ
สังขารขันธ์ นามรูปเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์ ฯ
.....

เช่นนั้นเอ๋ย พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องเหตุ สอนเรื่องปัจจัยเอาไว้เพื่ออะไร
หัดดูเหตุปัจจัยให้แจ้ง ถ้ายังยังไม่แจ้งก็จงเข้าใจไว้ได้เลยว่า ตนเองยังไร้ซึ่งปัญญา

พระสูตรที่เช่นนั้นยกมา กลับไปพิจารณาดูให้ดีว่าอะไรคือเหตุปัจจัยแท้ของสิ่งที่กำลังสนทนา
อย่ามองแต่มองบัญญัติ

จากพระสูตรมหาภูติรูป๔เป็นเหตุเป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ...รูปขันธ์
แล้วมหาภูติรูป๔ มีเหตุปัจจัยมาจากอะไร ถ้าไม่ใช่รูปนาม
มหาภูติรูปสี่มันก็มีเหตุปัจจัยมาจาก รูปนามในปฏิจจ์สมุบาท

จากพระสูตร ผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติ........เวทนาขันธ์
แล้วผัสสะ มีเหตุมีปัจจัยมาจากอะไร ถ้าไม่ใช่รูปนาม
ผัสสะมีเหตุปัจจัยมาจาก รูปนามในปฏิจจ์สมุบาท

จากพระสูตร สัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ก็เช่นกัน มีเตุมาจากผัสสะ
ผัสสะจึงมีเหตปัจจัยมาจาก รูปนามในปฏิจจ์สมุบาท
หรือแม้แต่นามรูปที่เป็นเหตุแห่งวิญญานขันธ์ นามรูปก็มีเหตุปัจจัยมาจาก
รูปนามในปฏิจจ์สมุบาท


ที่เราโฮฮับบอกว่า...".อุปาทานขันธ์ในชาติปัจจุบัน
ถ้าเป็นอุปาทาน จะมีตัณหาเป็นเหตุ ถ้าเป็นขันธ์ห้าจะมีรูปนามเป็นเหตุ
อุปาทานและตัณหาเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมฐิติ ดับไม่ได้
การจะดับอุปาทานขันธ์ต้องดับที่รูปนาม หมายความว่าต้องไปปฏิบัติที่รูปนาม
เพื่อไม่ให้เกิดอุปาทานขันธ์"


ถามเช่นนั้นหน่อยว่า มันมั่วตรงไหน
มันเป็นเช่นนั้นที่ไม่รู้เรื่องแล้วก็ไปเอาพระสูตรมามั่ว :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2013, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

ที่เราโฮฮับบอกว่า...".อุปาทานขันธ์ในชาติปัจจุบัน
ถ้าเป็นอุปาทาน จะมีตัณหาเป็นเหตุ ถ้าเป็นขันธ์ห้าจะมีรูปนามเป็นเหตุ
อุปาทานและตัณหาเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมฐิติ ดับไม่ได้
การจะดับอุปาทานขันธ์ต้องดับที่รูปนาม หมายความว่าต้องไปปฏิบัติที่รูปนาม
เพื่อไม่ให้เกิดอุปาทานขันธ์"


ถามเช่นนั้นหน่อยว่า มันมั่วตรงไหน
มันเป็นเช่นนั้นที่ไม่รู้เรื่องแล้วก็ไปเอาพระสูตรมามั่ว :b32:

นี่ ก็มั่วซ้ำซาก โฮฮับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2013, 15:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาทุกๆท่านครับ :b8: :b46:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร