วันเวลาปัจจุบัน 24 ก.ค. 2025, 02:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2013, 14:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนนี้ก็ยังงงอยู่ครับ ผมคิดพิจารณาอย่างไรก็ออกมาเป็น รูปนาม ที่เป็นผลจากความคิด หรือสังขารขันธ์ อันเนื่องมาจากผัสสะที่เกิดจาก หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ จึงเกิดการทำกรรมดี หรือ กรรมชั่วขึ้นมา ด้วยการอาศัย กาย วจี ใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง เสียงที่เปร่งออกมาจึงเป็นกาย หรือ ธาตุลม ผมจึงงงกับคำว่าจิตส่งออกนอก กับ พูดธรรมะ ความเห็นผมคือ การพูดคือวจีกรรมที่เกิดขึ้นเพราะผัสสะที่เกิดจาก หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เกี่ยวข้องกับสังขารขันธ์ เป็นกาย ยิ่งอธิบายยิ่งงงครับ วานผู้รู้อธิบายละเอียดทีครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2013, 15:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำสอนของครูอาจารย์ ในเรื่อง "จิตส่งออก"
พึงศึกษาตามนัยยะของพุทธวัจจนะ ใน อุทเทสวิภังคสูตร โดยพิสดาร...
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=8267&Z=8510&pagebreak=0

แม้จิตที่ส่งออก หรือรู้สึกฟุ้งไปในภายนอก ก็เป็นสมุทัยได้
หรือ จิตที่ตั้งสงบอยู่ในภายใน ก็เป็นสมุทัยได้เช่นกัน

หากเพราะตัณหา ยังเป็นปัจจัยอยู่....

และหาก เมื่อมีสติสัมปชัญญบริบูรณ์ จิตที่ส่งออกก็ไม่เป็นปัญหาไม่เป็นสมุทัยแห่งทุกข์
หรือแม้เมื่อ มีสติสัมชัญญบริบูรณ์ จิตที่ตั้งสงบอยู่ในภายใน ก็ไม่เป็นปัญหาไม่เป็นสมุทัยแห่งทุกข์ เช่นกัน

Quote Tipitaka:
[๖๓๙] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึง
พิจารณาโดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่
ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่
ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายในและไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความ
เกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป


เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2013, 16:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
คำสอนของครูอาจารย์ ในเรื่อง "จิตส่งออก"
พึงศึกษาตามนัยยะของพุทธวัจจนะ ใน อุทเทสวิภังคสูตร โดยพิสดาร...
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=8267&Z=8510&pagebreak=0

แม้จิตที่ส่งออก หรือรู้สึกฟุ้งไปในภายนอก ก็เป็นสมุทัยได้
หรือ จิตที่ตั้งสงบอยู่ในภายใน ก็เป็นสมุทัยได้เช่นกัน

หากเพราะตัณหา ยังเป็นปัจจัยอยู่....

และหาก เมื่อมีสติสัมปชัญญบริบูรณ์ จิตที่ส่งออกก็ไม่เป็นปัญหาไม่เป็นสมุทัยแห่งทุกข์
หรือแม้เมื่อ มีสติสัมชัญญบริบูรณ์ จิตที่ตั้งสงบอยู่ในภายใน ก็ไม่เป็นปัญหาไม่เป็นสมุทัยแห่งทุกข์ เช่นกัน

Quote Tipitaka:
[๖๓๙] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึง
พิจารณาโดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่
ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่
ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายในและไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความ
เกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป


เจริญธรรม


อนุโมทนาสาธุค่ะ :b8:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2013, 16:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ตอนนี้ก็ยังงงอยู่ครับ ผมคิดพิจารณาอย่างไรก็ออกมาเป็น รูปนาม ที่เป็นผลจากความคิด หรือสังขารขันธ์ อันเนื่องมาจากผัสสะที่เกิดจาก หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ จึงเกิดการทำกรรมดี หรือ กรรมชั่วขึ้นมา ด้วยการอาศัย กาย วจี ใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง เสียงที่เปร่งออกมาจึงเป็นกาย หรือ ธาตุลม ผมจึงงงกับคำว่าจิตส่งออกนอก กับ พูดธรรมะ ความเห็นผมคือ การพูดคือวจีกรรมที่เกิดขึ้นเพราะผัสสะที่เกิดจาก หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เกี่ยวข้องกับสังขารขันธ์ เป็นกาย ยิ่งอธิบายยิ่งงงครับ วานผู้รู้อธิบายละเอียดทีครับ

ก็จะขอลองอธิบายดูนะว่า พอจะเข้าใจกันได้ไหม
เรามาพูดเรื่องสังขาร ๓ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
เรื่องสังขารนี้จึงเป็นข้อธรรมที่ควรทำความเข้าใจและพิจารณาในทางวิปัสสนากรรมฐานได้เป็นอย่างดียิ่ง
ตามที่พระพุทธเจ้าได้สั่งสอนไว้ แต่ในที่นี้ต้องการจะให้มีความเข้าใจในความหมายของคำว่าสังขาร
เพียงว่าได้แก่สิ่งที่ปรุงแต่งขึ้น หรืออาการที่ปรุงแต่งขึ้น เรียกว่าสังขาร และท่านได้จำแนกสังขารไว้ ๓ อย่าง คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
กายสังขารนั้นคือการปรุงแต่งกาย อธิบายว่า ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมที่หายใจเข้าหายใจออก
ได้ชื่อว่ากายสังขารปรุงแต่งกาย กายดำรงอยู่ได้เพราะลมที่หายใจเข้าหายใจออกคอยปรนเปรอ
บำรุงกายตลอดเวลาไม่มีหยุด ดังจะเห็นได้ว่าทุกๆ คนนั้นจะไม่มีการหยุดหายใจ กายจึงดำรงอยู่ได้
และหากหยุดหายใจกายก็จะตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะฉะนั้นลมหายใจเข้า หายใจออก จึงเรียกว่ากายสังขาร
เป็นเครื่องปรุงแต่งกาย

วจีสังขาร แปลว่าปรุงแต่งวาจา อันได้แก่ วิตก วิจาร เจตสิก ที่แปลว่าความตรึกตรอง วิตกวิจารนี้เป็นต้น
ของวาจาที่ทุกๆคนพูด ก็คือว่าพูดจากใจที่มีวิตกวิจารที่ตรึกตรอง อาจจะกล่าวได้ว่าจิตใจนี้พูดก่อนคือตรึกตรองขึ้นมาก่อน จึงได้พูดได้เปล่งออกมาทางวาจา หรือวาจาพูดออมา ถ้าหากไม่มีวิตกวิจารเกิดขึ้นในใจก่อนพูดอะไรออกไปทางวาจาก็จะเป็นวาจาของคนที่เพ้อคลั่ง หรือเวลาหลับที่เรียกกันว่านอนละเมอ ฉะนั้น วิตก วิจาร จึงเรียกว่า วจีสังขาร

จิตตสังขาร คือการปรุงแต่งจิต ก็ได้แก่ เวทนา สัญญา เวทนานั้นก็ได้แก่ สุข ทุกข์ เฉยๆ สัญญาก็ได้แก่ความจำได้หมายรู้ เช่นจำรูป จำเสียง ตลอดจนเรื่องราวต่างๆ นี้ เรียกว่าจิตตสังขาร
ฉะนั้นชีวิตจึงประกอบไปด้วยสังขาร ๓ ได้แก่ รูปนาม พอมาถึงตรงนี้คงอาจจะพอเข้าใจได้บ้างแล้วว่า
อะไรคือ รูป อะไรคือ นาม การเจริญวิปัสสนากรรมฐานก็ต้องเข้าใจตรงนี้ที่เขาเรียกว่าแยกรูปแยกนาม
ออกจากกันก็เพื่อให้รู้ว่าอะไรคือรูป อะไรคือนาม เมื่อรู้ตรงนี้ท่านก็เข้าสู่ญาณที่ ๑ คือนามรูปปริเฉทญาน
เพื่อละฆนะสัญญาที่เห็นว่าเป็นอัตตา เป็นตัวเป็นตนเป็นกลุ่มเป็นก้อน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2013, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2013, 05:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
หากเพราะตัณหา ยังเป็นปัจจัยอยู่....

และหาก เมื่อมีสติสัมปชัญญบริบูรณ์ จิตที่ส่งออกก็ไม่เป็นปัญหาไม่เป็นสมุทัยแห่งทุกข์
หรือแม้เมื่อ มีสติสัมชัญญบริบูรณ์ จิตที่ตั้งสงบอยู่ในภายใน ก็ไม่เป็นปัญหาไม่เป็นสมุทัยแห่งทุกข์ เช่นกัน

Quote Tipitaka:
[๖๓๙] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึง
พิจารณาโดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่
ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่
ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายในและไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความ
เกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป


เจริญธรรม

เช่นนั้นขาดความเข้าใจ ในสิ่งที่ครูบาอาจารย์ต้องการสื่อ

"การมีจิตตั้งสงบอยู่ภายใน" คำกล่าวของครูบาอาจารย์นี้หมายถึง
การมีสติสัมปชัญญะให้เกิดสมาธิ ก็คือจิตทีตั้งสงบอยู่อยู่ภายใน
จิตจะได้อยู่กับองค์มรรค ไม่ไปสู่จิตที่เป็นสมุทัย

มันไม่ใช่อย่างที่เช่นนั้นบอก เช่นนั้นควรเข้าใจเสียใหม่ว่า
"การตั้งสงบอยู่ภายใน" ที่ครูบาอาจารย์บอก ไม่ใช่การทำจิตนิ่งๆ
แต่มันหมายถึง การมีสติมีปัญญาเพื่อดับความฟุ้งซ่านหรือการปรุงแต่ง

ซึ่งความฟุ้งซ่านความปรุงแต่ง ก็คือ...การส่งจิตออกนอก ที่ครูบาอาจารย์ต้องการสื่อ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2013, 06:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
student เขียน:
ตอนนี้ก็ยังงงอยู่ครับ ผมคิดพิจารณาอย่างไรก็ออกมาเป็น รูปนาม ที่เป็นผลจากความคิด หรือสังขารขันธ์ อันเนื่องมาจากผัสสะที่เกิดจาก หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ จึงเกิดการทำกรรมดี หรือ กรรมชั่วขึ้นมา ด้วยการอาศัย กาย วจี ใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง เสียงที่เปร่งออกมาจึงเป็นกาย หรือ ธาตุลม ผมจึงงงกับคำว่าจิตส่งออกนอก กับ พูดธรรมะ ความเห็นผมคือ การพูดคือวจีกรรมที่เกิดขึ้นเพราะผัสสะที่เกิดจาก หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เกี่ยวข้องกับสังขารขันธ์ เป็นกาย ยิ่งอธิบายยิ่งงงครับ วานผู้รู้อธิบายละเอียดทีครับ

ก็จะขอลองอธิบายดูนะว่า พอจะเข้าใจกันได้ไหม
เรามาพูดเรื่องสังขาร ๓ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
เรื่องสังขารนี้จึงเป็นข้อธรรมที่ควรทำความเข้าใจและพิจารณาในทางวิปัสสนากรรมฐานได้เป็นอย่างดียิ่ง
ตามที่พระพุทธเจ้าได้สั่งสอนไว้ แต่ในที่นี้ต้องการจะให้มีความเข้าใจในความหมายของคำว่าสังขาร
เพียงว่าได้แก่สิ่งที่ปรุงแต่งขึ้น หรืออาการที่ปรุงแต่งขึ้น เรียกว่าสังขาร และท่านได้จำแนกสังขารไว้ ๓ อย่าง คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
กายสังขารนั้นคือการปรุงแต่งกาย อธิบายว่า ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมที่หายใจเข้าหายใจออก
ได้ชื่อว่ากายสังขารปรุงแต่งกาย กายดำรงอยู่ได้เพราะลมที่หายใจเข้าหายใจออกคอยปรนเปรอ
บำรุงกายตลอดเวลาไม่มีหยุด ดังจะเห็นได้ว่าทุกๆ คนนั้นจะไม่มีการหยุดหายใจ กายจึงดำรงอยู่ได้
และหากหยุดหายใจกายก็จะตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะฉะนั้นลมหายใจเข้า หายใจออก จึงเรียกว่ากายสังขาร
เป็นเครื่องปรุงแต่งกาย

วจีสังขาร แปลว่าปรุงแต่งวาจา อันได้แก่ วิตก วิจาร เจตสิก ที่แปลว่าความตรึกตรอง วิตกวิจารนี้เป็นต้น
ของวาจาที่ทุกๆคนพูด ก็คือว่าพูดจากใจที่มีวิตกวิจารที่ตรึกตรอง อาจจะกล่าวได้ว่าจิตใจนี้พูดก่อนคือตรึกตรองขึ้นมาก่อน จึงได้พูดได้เปล่งออกมาทางวาจา หรือวาจาพูดออมา ถ้าหากไม่มีวิตกวิจารเกิดขึ้นในใจก่อนพูดอะไรออกไปทางวาจาก็จะเป็นวาจาของคนที่เพ้อคลั่ง หรือเวลาหลับที่เรียกกันว่านอนละเมอ ฉะนั้น วิตก วิจาร จึงเรียกว่า วจีสังขาร

จิตตสังขาร คือการปรุงแต่งจิต ก็ได้แก่ เวทนา สัญญา เวทนานั้นก็ได้แก่ สุข ทุกข์ เฉยๆ สัญญาก็ได้แก่ความจำได้หมายรู้ เช่นจำรูป จำเสียง ตลอดจนเรื่องราวต่างๆ นี้ เรียกว่าจิตตสังขาร
ฉะนั้นชีวิตจึงประกอบไปด้วยสังขาร ๓ ได้แก่ รูปนาม พอมาถึงตรงนี้คงอาจจะพอเข้าใจได้บ้างแล้วว่า
อะไรคือ รูป อะไรคือ นาม การเจริญวิปัสสนากรรมฐานก็ต้องเข้าใจตรงนี้ที่เขาเรียกว่าแยกรูปแยกนาม
ออกจากกันก็เพื่อให้รู้ว่าอะไรคือรูป อะไรคือนาม เมื่อรู้ตรงนี้ท่านก็เข้าสู่ญาณที่ ๑ คือนามรูปปริเฉทญาน
เพื่อละฆนะสัญญาที่เห็นว่าเป็นอัตตา เป็นตัวเป็นตนเป็นกลุ่มเป็นก้อน


ลุงแกล้งลบความเห็นผมหรือเปล่า :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2013, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
หากเพราะตัณหา ยังเป็นปัจจัยอยู่....

และหาก เมื่อมีสติสัมปชัญญบริบูรณ์ จิตที่ส่งออกก็ไม่เป็นปัญหาไม่เป็นสมุทัยแห่งทุกข์
หรือแม้เมื่อ มีสติสัมชัญญบริบูรณ์ จิตที่ตั้งสงบอยู่ในภายใน ก็ไม่เป็นปัญหาไม่เป็นสมุทัยแห่งทุกข์ เช่นกัน

Quote Tipitaka:
[๖๓๙] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึง
พิจารณาโดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่
ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่
ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายในและไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความ
เกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป


เจริญธรรม

เช่นนั้นขาดความเข้าใจ ในสิ่งที่ครูบาอาจารย์ต้องการสื่อ

"การมีจิตตั้งสงบอยู่ภายใน" คำกล่าวของครูบาอาจารย์นี้หมายถึง
การมีสติสัมปชัญญะให้เกิดสมาธิ ก็คือจิตทีตั้งสงบอยู่อยู่ภายใน
จิตจะได้อยู่กับองค์มรรค ไม่ไปสู่จิตที่เป็นสมุทัย

มันไม่ใช่อย่างที่เช่นนั้นบอก เช่นนั้นควรเข้าใจเสียใหม่ว่า
"การตั้งสงบอยู่ภายใน" ที่ครูบาอาจารย์บอก ไม่ใช่การทำจิตนิ่งๆ
แต่มันหมายถึง การมีสติมีปัญญาเพื่อดับความฟุ้งซ่านหรือการปรุงแต่ง

ซึ่งความฟุ้งซ่านความปรุงแต่ง ก็คือ...การส่งจิตออกนอก ที่ครูบาอาจารย์ต้องการสื่อ

กลับไปอ่านพระสูตรใหม่ นะโฮฮับ
ว่าการตั้งสงบอยู่ในภายใน หมายความว่าอย่างไร .........

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2013, 10:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กลับไปอ่านพระสูตรใหม่ นะโฮฮับ
ว่าการตั้งสงบอยู่ในภายใน หมายความว่าอย่างไร .........

มันไม่ใช่ผมที่ต้องไปอ่านพระสูตร แต่เช่นนั้นต้องกลับไปอ่านความเห็นของจขกท
จขกทเขาพูดถึง...........คำสอนของครูบาอาจารย์
ซึ่งคำพูดนี้เป็นของหลวงปู่... ท่านพูดในลักษณะเทียบเคียงพุทธพจน์
ไม่ได้เป็นพุทธ์โดยตรง

ผู้ฟังจะต้องเข้าใจก่อนว่า คำที่หลวงปู่พูดหมายถึงอะไร แล้วจึงค่อยเอาไปเทียบเคียงพระสูตร

ปล. ความเห็นที่อ้างอิงเช่นนั้นหายไป๑ความเห็น เดี๋ยวจะไม่เข้าใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร