วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 01:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2013, 09:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



"มรรค ผล" กับ "อริยมรรค อริยผล"

"มรรค" หนทางทั่วไป ทั้งทางโลกและทางธรรม
"ผล" ความสำเร็จ การบรรลุตามที่ต้องการ
เกี่ยวข้องทั้งโลกีย์และโลกุตระ ..

"อริยมรรค" ทางสู่โลกุตระ หนทางสู่พระนิพพานอย่างเดียว
"อริยผล" ความสำเร็จ ธรรมวิเศษเฉพาะในทางโลกุตระ
ไม่เกี่ยวข้องในทางโลกีย์ ..

ความคิดเห็นเฉพาะตัวครับ ..

:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2013, 14:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2795


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอโมทนาคะ กล่าวได้ถูกใจจังคะ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2013, 00:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


มรรคน่าจะเกี่ยวกับความเจริญทางด้านปัญญาทางธรรมครับ ไม่ใช่ทางโลก แต่ใช้กับทางโลกตั้งแต่ผู้ยังไม่เห็นมรรคจนถึงพระอริยบุคคล

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2013, 08:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2795


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
มรรคน่าจะเกี่ยวกับความเจริญทางด้านปัญญาทางธรรมครับ ไม่ใช่ทางโลก แต่ใช้กับทางโลกตั้งแต่ผู้ยังไม่เห็นมรรคจนถึงพระอริยบุคคล


ความเห็นของท่านstudent ก็น่ารับฟังคะ :b1: แล้วทีนี้จริงๆ เป็นไงล่ะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2013, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"มรรค" หมายถึง หนทาง แนวทาง แนวการปฏิบัติหรือปฏิปทา
"วิปัสสนา" คือ การใช้ปัญญา การเจริญปัญญา


:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2013, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนากับคุณโยมทั้งสองนะครับ^^

ในอรรถกถามีแก้ไว้ว่า มรรค หมายถึง เหตุ
หรือวิธีการกระทำเหตุ เพื่อแก้ปัญหา เพื่อดับทุกข์

"ในบทนี้ ท่านชี้แจงถึงมรรคอันเป็นโลกิยะและโลกุตระตามที่เกิดอย่างนี้.
ท่านชี้แจงถึงมรรคด้วยอรรถว่าเป็นเหตุ."

อ้างคำพูด:
[๕๒๗] คำว่า มคฺโค ความว่า ชื่อว่ามรรค เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
ในขณะโสดาปัตติมรรค สัมมาทิฐิเพราะอรรถว่าเห็น เป็นมรรคและ
เป็นเหตุเพื่อละมิจฉาทิฐิ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย
เพื่อความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความ
ผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรมพิเศษ เพื่อแทงตลอดธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้
สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งอยู่ในนิโรธ สัมมาสังกัปปะเพราะอรรถว่าดำริ เป็นมรรค
และเป็นเหตุเพื่อละมิจฉาสังกัปปะ ... สัมมาวาจาเพราะอรรถว่ากำหนดเอา เป็น
มรรคและเป็นเหตุเพื่อละมิจฉาวาจา ... สัมมากัมมันตะ เพราะอรรถว่าเป็น
สมุฏฐาน เป็นมรรคและเป็นเหตุเพื่อละมิจฉากัมมันตะ ... สัมมาอาชีวะเพราะ
อรรถว่าผ่องแผ้ว เป็นมรรคและเป็นเหตุเพื่อละมิจฉาอาชีวะ ... สัมมาวายามะ
เพราะอรรถว่าประคองไว้ เป็นมรรคและเป็นเหตุเพื่อละมิจฉาวายามะ ... สัมมาสติ
เพราะอรรถว่าตั้งมั่น เป็นมรรคและเป็นเหตุเพื่อละมิจฉาสติ ... สัมมาสมาธิเพราะ
อรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุเพื่อละมิจฉาสมาธิ เพื่ออุปถัมภ์-
*สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจดในเบื้องต้นแห่ง
ปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรม
พิเศษ เพื่อแทงตลอดธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ ฯ

[๕๒๘]...,ฯลฯ

[๕๒๙] สัมมาทิฐิเป็นมรรคแห่งการเห็น สัมมาสังกัปปะเป็นมรรคแห่ง
ความดำริ สัมมาวาจาเป็นมรรคแห่งการกำหนด สัมมากัมมันตะเป็นมรรคแห่ง
สมุฏฐาน สัมมาอาชีวะเป็นมรรคแห่งความผ่องแผ้ว สัมมาวายามะเป็นมรรคแห่ง
ความประคองไว้ สัมมาสติเป็นมรรคแห่งความตั้งมั่น สัมมาสมาธิเป็นมรรคแห่ง
ความไม่ฟุ้งซ่าน สติสัมโพชฌงค์เป็นมรรคแห่งการเลือกเฟ้น วิริยสัมโพชฌงค์
เป็นมรรคแห่งความประคองไว้ ปีติสัมโพชฌงค์เป็นมรรคแห่งความแผ่ซ่านไป
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นมรรคแห่งความสงบ สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นมรรคแห่ง
ความไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นมรรคแห่งการพิจารณาหาทาง สัทธา-
*พละเป็นมรรคแห่งความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา วิริยพละเป็นมรรค
แห่งความไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน สติพละเป็นมรรคแห่งความไม่
หวั่นไหวไปในความประมาท สมาธิพละเป็นมรรคแห่งความไม่หวั่นไหวไปใน
อุทธัจจะ ปัญญาพละเป็นมรรคแห่งความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา สัทธินทรีย์
เป็นมรรคแห่งความน้อมใจเชื่อ วิริยินทรีย์เป็นมรรคแห่งความประคองไว้
สตินทรีย์เป็นมรรคแห่งความตั้งมั่น สมาธินทรีย์เป็นมรรคแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน
ปัญญินทรีย์เป็นมรรคแห่งความเห็น อินทรีย์เป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ พละ
เป็นมรรคเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์เป็นมรรคเพราะอรรถว่านำออก
ชื่อว่ามรรคเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานเป็นมรรคเพราะอรรถว่าตั้งมั่น
สัมมัปปธานเป็นมรรคเพราะอรรถว่าตั้งไว้ อิทธิบาทเป็นมรรคเพราะอรรถว่าให้
สำเร็จ สัจจะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าถ่องแท้ สมถะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าไม่
ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาเป็นมรรคเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น สมถะและวิปัสสนาเป็น
มรรคเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมที่เป็นคู่กันเป็นมรรคเพราะอรรถว่า
ไม่ล่วงเกินกัน
สีลวิสุทธิเป็นมรรคเพราะอรรถว่าสำรวม จิตตวิสุทธิเป็นมรรค
เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็นมรรค
เพราะอรรถว่าหลุดพ้น วิชชาเป็นมรรคเพราะอรรถว่าแทงตลอด วิมุตติเป็นมรรค
เพราะอรรถว่าปล่อย ญาณในความสิ้นไปเป็นมรรคเพราะอรรถว่าตัดขาด ฉันทะ
เป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นมูล มนสิการเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน
ผัสสะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม เวทนาเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นที่
รวม สมาธิเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นประธาน สติเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็น
ใหญ่ ปัญญาเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นธรรมอันยิ่งกว่าธรรมนั้น วิมุตติเป็นมรรค
เพราะอรรถว่าเป็นสาระ นิพพานอันหยั่งลงสู่อมตะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ฯ
-------------------------------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
มหาวรรค มรรคกถา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 311&Z=7372


ในอรรกถาแก้ไว้ว่า ทั้งส่วนโลกียะโลกุตระ ก็เพราะว่าจะเป็นมรรค
จะเป็นสัมมาทิฏฐิ เห็นชอบได้ ต้องเห็นชอบทั้งสองส่วน คือ

อ้างคำพูด:
[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ


[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชา
แล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว
มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์
ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มี
จิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
นี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
--------------------------------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๗. มหาจัตตารีสกสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 724&Z=3923



มรรค ในอรรถว่า เหตุ ในปฏิสัมภิทามรรคกล่าวเอาไว้ว่า
สัมมาทิฏฐิเป็นมรรคแห่งการเห็น ทรงตรัสว่าเรากล่าว
ไว้ในมหาจัตตารีสกสูตรว่า

สัมมาทิฏฐิเป็นสองอย่าง ๑ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์
เป็นโลกียะ ๒ เป็นอาสวะ เป็นโลกุตระ

เมื่ออริยมรรค มีองค์ ๘ หนึ่งในนั้นมี "สัมมาทิฏฐิ" เป็นปัญญา
ปัญญาในการได้ยินได้ฟัง ไตร่ตรอง สุตตะ จินตะ ในทางโลกก็ดี
ปัญญาในการพิจารณาเห็นสภาพธรรม ภาวนามยะ เห็นรูปนาม ในทางธรรมก็ดี
สัมมาทิฏฐิทั้งสองนี้ อรรถกถาจารย์จึง กล่าวว่า เป็นโลกียะ
และโลกุตระ คล้อยตามพุทธวจนะที่พระองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้ว

และมรรคนั่นเอง ที่ท่านพระสารีบุตรได้อรรถาธิบายในปฏิสัมภิทามรรค
มหาวรรค มรรคกถาว่า เป็นเหตุ เป็นหนทางนำออกจากทุกข์^^

โดยมี สัทธิวิหาริก(ลูกศิษย์ลูกหา)ของท่านพระสารีบุตร
ก็ให้มติ อธิบายอรรถกถาของท่านพระสารีบุตรเอาไว้ว่า ปัญญา
ที่เป็นสัมมาทิฏฐิตามที่พระองค์ตรัส นั้นเป็นปัญญาทั้งทางโลกและทางธรรม

(หมายเหตุ : ปัญญาทางโลก ต้องเป็นสัมมาทิฏฐิในสาสวะ -
เป็นบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นโลกียะ เป็นสัมมาทิฏฐิ ๑๐ ฯลฯ)

ไม่ใช่สัมมาทิฏฐิ ๑๐ ข้อ ไม่ถือว่าเป็นปัญญา

ขอเจริญพร.

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2013, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ .. :b8: ขอโมทนาครับท่านพุทธฏีกา .. :b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2013, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2013, 12:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2013, 13:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron