วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 04:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2013, 04:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:



เพื่อไม่ให้กรัชกายเสียกำลังใจ พี่โฮจะหยวนๆให้บทความที่ก็อปปี้มาโพส
เป็นเรื่องธรรมะก็ได้ แต่มันเป็นธรรมะจำพวก...."ใบไม้นอกกำมือ"
อย่าเสียใจน่ะกรัชกาย



แน่ๆๆ "ใบไม้นอกกำมือ" :b1: แล้วใบไม้ในกำมือที่โฮฮับคิด ได้แก่อะไร ? ไหนยกตัวอย่างมาดิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2013, 04:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
การศึกษาที่แท้จริงนั้น เป็นกระบวนการพัฒนาชีวิต ซึ่งเป็นระบบของธรรมชาติ ที่เป็นไปตามกฎธรรมชาติ จึงต้องจัดให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกระบวนการของเหตุปัจจัยในธรรมชาติ

ดูที่หลักการศึกษาหรือหลักธรรมที่จะสอน ทำไมจึงต้องมี ๓ ข้อเท่านั้น เป็นชุด ๓ (ไตรสิกขา) ก็ตอบสั้นๆว่า เพราะเป็นเรื่องของชีวิตคน ซึ่งมีแค่ ๓ ด้าน หรือ ๓ แดน เป็นองค์ประกอบหรือองค์ร่วม ๓ อย่าง ที่รวมกันเป็นชีวิต ซึ่งพากันดำเนินเดินหน้าพัฒนาไปด้วยกัน


ชีวิต 3 ด้าน ของคนเรานี้ ที่พัฒนาไปด้วยกัน มีอะไรบ้าง? ก็แยกเป็น

1. ด้านสื่อกับโลก ได้แก่ การรับรู้ติดต่อสื่อสารสัมพันธ์ พฤติกรรม ความประพฤติ และการแสดงออกต่อหรือกับเพื่อนมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมอื่นๆผ่านทวาร (ช่องทาง ประตู) 2 ชุด คือ

ก. ผัสสทวาร (ทางรับรู้) คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย (รวมทั้งชุมทาง คือ ใจ เป็น 6)

ข. กรรมทวาร (ทางทำกรรม) คือ กาย วาจา (รวมชุมทาง คือ ใจ ด้วย เป็น 3)

ด้านนี้ พูดง่ายๆว่า แดนหรือด้านที่สื่อกับโลก เรียกสั้นๆคำเดียวว่า ศีล

2. ด้านจิตใจ ได้แก่ การทำงานของจิตใจ ซึ่งมีองค์ประกอบและคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องมากมาย เริ่มแต่ต้องมีเจตนา หรือ เจตจำนง ความจงใจ ตั้งใจ มีแรงจูงใจอย่างใดอย่างหนึ่ง มีความดี-ความชั่ว ความสามารถหรือความอ่อนด้อย พร้อมทั้งความรู้สึกสุข-ทุกข์ สบาย-ไม่สบาย หรือเฉยๆ เพลินๆและปฏิกิริยาต่อจากสุข-ทุกข์นั้น เช่น ชอบใจ หรือไม่ชอบใจ อยากจะได้ อยากจะเอา หรืออยากจะหนี หรืออยากจะทำลาย ที่ควบคุมชักนำการรับรู้และพฤติกรรมทั้งหลาย เช่น ว่า จะให้ดูอะไร หรือไม่ดูอะไร จะพูดอะไร จะพูดกับใครว่าอย่างไรด้านนี้ เรียกสั้นๆว่า จิต หรือแดนของ สมาธิ

3. ด้านปัญญา ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ ตั้งแต่สุตะ คือ ความรู้ที่ได้เรียนสดับ หรือ ข่าวสารข้อมูล จนถึงการพัฒนาทุกอยาง ในจินตาวิสัย และญาณวิสัย เช่น แนวคิด ทิฏฐิ ความเชื่อถือ ทัศนคติ ค่านิยม ความยึดถือตามความรู้ ความคิด ความเข้าใจ แง่มุมในการมอง ในการพิจารณา อย่างใดอย่างหนึ่งด้านนี้เรียกสั้นๆตรงๆว่า ปัญญา

องค์ประกอบของชีวิต 3 ด้านนี้ ทำงานไปด้วยกัน ประสานกันไป และเป็นเหตุปัจจัยแก่กัน ไม่แยกต่างหากจากกัน



เพื่อจะบอกว่า มนุษย์จะต้องฝึก ฝึกที่สามด้านนี้ :b1: แม้แต่พระสัมพุทธเจ้าก็ฝึกตน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2013, 19:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวนา 4 คือ

1. กายภาวนา -การพัฒนากาย

2. ศีลภาวนา -การพัฒนาศีล

3. จิตตภาวนา -การพัฒนาจิต

4. ปัญญาภาวนา -การพัฒนาปัญญา


ภาวิต 4 คือคุณสมบัติของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย

1. ภาวิตกาย -มีกายที่พัฒนาแล้ว

2. ภาวิตศีล -มีศีลที่พัฒนาแล้ว

3. ภาวิตจิตต์ - มีจิตที่พัฒนาแล้ว

4. ภาวิตปัญญา -มีปัญญาที่พัฒนาแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2013, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวนา 4 นั้น คืออะไร ขอแสดงความหมายสั้นๆ ดังนี้


1. กายภาวนา การเจริญกาย หรือพัฒนากาย คือ พัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ หรือ ทางกายภาพ (รวมทั้งเทคโนโลยี) โดยเฉพาะรับรู้สิ่งทั้งหลาย ทางอินทรีย์ 5 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ด้วยดี โดยปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้มีโทษ ให้กุศลธรรมงอกงาม ให้อกุศลธรรมเสื่อมสูญ

2. ศีลภาวนา การเจริญศีล หรือพัฒนาศีล คือ พัฒนาความประพฤติ พัฒนาความสัมพันธ์ทางสังคม โดยตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลกัน

3. จิตตภาวนา การเจริญจิต หรือพัฒนาจิต คือ ฝึกอบรมพัฒนาจิตใจให้เข้มแข็งมั่นคง เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม เช่น มีเมตตา กรุณา ขยันหมั่นเพียร อดทน มีสมาธิ และสดชื่น เป็นสุข ผ่องใส เป็นต้น

4. ปัญญาภาวนา การเจริญปัญญา หรือพัฒนาปัญญา คือ ฝึกอบรมพัฒนาปัญญา ให้เจริญงอกงาม จนเกิดความรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง โดยรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น รู้เท่าทัน เห็นแจ้งโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถทำจิตใจให้เป็นอิสระ ทำตนให้บริสุทธิ์ จากกิเลสและปลอดพ้นจากความทุกข์ มีชีวิตเป็นอยู่ แก้ไขปัญหาและทำการทั้งหลายด้วยปัญญาที่รู้ถึงเหตุปัจจัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ก.ย. 2013, 19:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2013, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อรู้ความหมายของหลักธรรมคือ ภาวนา ที่เป็นเนื้อตัวของการปฏิบัติทั้ง 4 แล้ว ก็เข้าใจภาวิตที่เป็นคุณสมบัติของท่านผู้จบการปฏิบัติผู้มีธรรมทั้ง 4 ข้อนั้นแล้ว ดังนี้

1.ภาวิตกาย ผู้ได้เจริญกายหรือมีกายที่พัฒนาแล้ว คือได้ฝึกอบรมพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ หรือ ทางกายภาพ โดยรู้จักอยู่ดีมีสุขอย่างเกื้อกูลกันกับสิ่งสรรค์และธรรมชาติโดย เฉพาะให้การรับรู้ทางอินทรีย์ 5 เช่น ดู ฟัง เป็นไปด้วยสติและเพื่อปัญญา และให้การใช้สอยเสพบริโภคต่างๆ เป็นไปอย่างพอดี ที่จะได้คุณค่าแท้ที่เป็นประโยชน์จริง ไม่หลงใหลเตลิดเพริดไปตามอิทธิพลของความชอบใจ หรือไม่ชอบใจ ไม่ลุ่มหลงมัวเมา มิให้เกิดโทษ แต่ให้เป็นคุณ มิให้ถูกบาปอกุศลครอบงำ แต่หนุนให้กุศลธรรมงอกงาม

2.ภาวิตศีล ผู้ได้เจริญศีล หรือมีศีลที่พัฒนาแล้ว คือได้พัฒนาความประพฤติมีพฤติกรรมดีงามในความสัมพันธ์ทางสังคม โดยตั้งอยู่ในระเบียบวินัยอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี ไม่ใช้กายวาจา และอาชีพในทางที่เบียดเบียน หรือก่อความเดือดร้อนเสียหายแก่ใครๆ แต่ใช้เป็นเครื่องพัฒนาชีวิตของตน และช่วยเหลือเกื้อกูลกันสร้างสรรค์สังคม

3. ภาวิตจิต ผู้ได้เจริญจิตหรือมีจิตใจพัฒนาแล้ว คือได้ฝึกฝนอบรมพัฒนาจิตใจให้สดใส เบิกบานร่าเริง ผ่องใสโปร่งโล่งเป็นสุขเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีน้ำใจเมตตา กรุณา ศรัทธากตัญญูกตเวทิตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ขยันหมั่นเพียร เข้มแข็งอดทน สงบมั่นคง มีสติ มีสมาธิ เป็นต้น

4. ภาวิตปัญญา ผู้ได้เจริญปัญญา หรือมีปัญญาที่พัฒนาแล้ว คือได้ฝึกฝนอบรมพัฒนาปัญญา ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นแจ้งโลกและชีวิตตามสภาวะ ใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาและดับทุกข์ได้ปลดเปลื้องตนให้บริสุทธิ์ปลอดพ้นจากกิเลส มีชีวิตเป็นอยู่ด้วยปัญญาโดยมีจิตใจเป็นอิสระสุขเกษมไร้ทุกข์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2013, 02:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เพื่อไม่ให้กรัชกายเสียกำลังใจ พี่โฮจะหยวนๆให้บทความที่ก็อปปี้มาโพส
เป็นเรื่องธรรมะก็ได้ แต่มันเป็นธรรมะจำพวก...."ใบไม้นอกกำมือ"
อย่าเสียใจน่ะกรัชกาย

แน่ๆๆ "ใบไม้นอกกำมือ" :b1: แล้วใบไม้ในกำมือที่โฮฮับคิด ได้แก่อะไร ? ไหนยกตัวอย่างมาดิ

ใบไม้ในกำมือ.......

"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคต

ทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความ

ดับของธรรมเหล่านี้ พระมหาสมณะทรง

สั่งสอนอย่างนี้."


ธรรมหมายถึง...อริยสัจจ์สี่
ความดับของธรรม....นิพพาน

ธรรมของพระพุทธองค์เป็นไปเพื่อความดับ นั้นคือรู้อริยสัจจ์สี่และดับด้วยอริยมรรคมีองค์๘
แบบนี้จึงจะเป็นใบไม้ในกำมือ ซึ่งพระพุทธองค์เอามากล่าวเพื่อให้เข้าใจว่าพระองค์สอนอะไร

บทความที่กรัชกายเอามาโพส มันไม่ได้เป็นไปตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
พระพุทธองค์สอนแค่ให้รู้ธรรม(ทุกข์)และรู้เหตุ(สมุทัย)
และให้ดับเหตุนั้นเสียด้วยมรรค(อริยมรรคมีองค์๘)นั้นคือการดับธรรมหรือทุกข์(นิโรธ)

กรัชกายกำลังทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอน
เอาธรรมะของพระพุทธองค์ซีฃึ่งมีแค่ใบไม้ในกำมือ เอาพระธรรมนั้นไปขยายความ
จนผิดจุดประสงค์ สวนทางกับคำสอนของพุทธองค์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2013, 05:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

ใบไม้ในกำมือ.......

"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคต

ทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความ

ดับของธรรมเหล่านี้ พระมหาสมณะทรง

สั่งสอนอย่างนี้."

ธรรมหมายถึง...อริยสัจจ์สี่
ความดับของธรรม....นิพพาน

ธรรมของพระพุทธองค์เป็นไปเพื่อความดับ นั้นคือรู้อริยสัจจ์สี่และดับด้วยอริยมรรคมีองค์๘
แบบนี้จึงจะเป็นใบไม้ในกำมือ ซึ่งพระพุทธองค์เอามากล่าวเพื่อให้เข้าใจว่าพระองค์สอนอะไร

บทความที่กรัชกายเอามาโพส มันไม่ได้เป็นไปตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
พระพุทธองค์สอนแค่ให้รู้ธรรม (ทุกข์) และรู้เหตุ (สมุทัย)
และให้ดับเหตุนั้นเสียด้วยมรรค (อริยมรรคมีองค์๘) นั้นคือการดับธรรมหรือทุกข์ (นิโรธ)





:b1: นึกถึงการชักลากไม้ (ท่อนซุง) ออกจากป่า แล้วนำมาเรียงหมอนไว้ตามข้างทาง

รู้มายังงั้นแล้ว โฮฮับได้ประโยชน์อะไรจากการรู้ยังนั้น :b10: ถ้าไม่ฝึก ไม่ภาวนา ไม่เจริญมรรค นั่งๆนอนๆ มรรคเกิดได้หรา
โฮฮับพอรู้มั้ย มรรค ได้แก่อะไร แล้วต้องทำยังไง :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2013, 09:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มรรค ในฐานะอุปกรณ์สำหรับใช้ มิใช่สำหรับยึดถือหรือแบกโก้ไว้

“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางไกล พบห้วงน้ำใหญ่ ฝั่งข้างนี้ น่าหวาดระแวง น่ากลัวภัย แต่ฝั่งข้างโน้น ปลอดโปร่ง ไม่มีภัย ก็แล เรือ หรือสะพานสำหรับข้ามก็ไม่มี บุรุษนั้นจึงคิดว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่ ฝั่งข้างนี้ น่าหวาดระแวง…ถ้ากระไร เราพึงเก็บรวมเอาหญ้า ท่อนไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ มาผู้เป็นแพ แล้วอาศัยแพนั้น พยายามเอาด้วยมือและเท้า พึงข้ามถึงฝั่งโน้นได้โดยสวัสดี”

“คราวนั้น เขาจึง...ผูกแพ ข้ามถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดี ครั้นเขาได้ข้ามไป ขึ้นฝั่งข้างโน้นแล้ว ก็มีความคิดว่า แพนี้ มีอุปการะแก่เรามากแท้ เราอาศัยแพนี้...ถึงกระไร เราพึงยกแพขึ้นฝั่ง เทินไว้บนหัว หรือแบกขึ้นบ่าไว้ ไปตามความปรารถนา”

“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเห็นเป็นอย่างไร บุรุษนั้น ผู้กระทำอย่างนี้ จะชื่อว่า เป็นผู้กระทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้น หรือไม่”

(ภิกษุทั้งหลาย ทูลตอบว่า ไม่ถูก จึงตรัสต่อไปว่า)

“บุรุษนั้น ทำอย่างไร จึงจะชื่อว่าทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้น ? ในเรื่องนี้ บุรุษนั้น เมื่อได้ข้ามไปถึงฝั่งโน้นแล้ว มีความดำริว่า แพนี้ มีอุปการะแก่เรามากแท้ ...ถ้าแระไร เราพึงยกแพนี้ขึ้นไว้บนบก หรือผูกให้ลอยอยู่ในน้ำ แล้วจึงไปตามความปรารถนา บุรุษนั้นกระทำอย่างนี้ จึงจะชื่อว่า เป็นผู้กระทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้น นี้ฉันใด”


ธรรม ก็มีอุปมาเหมือนแพ เราแสดงไว้ เพื่อมุ่งหมายให้ใช้ข้ามฝั่ง มิใช่เพื่อให้ยึดถือไว้ ฉันนั้น เมื่อเธอทั้งหลาย รู้ทั่วถึงธรรม อันมีอุปมาเหมือนแพ ที่เราแสดงแล้ว พึงละเสียแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปใยถึงอธรรมเล่า”


“ภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิ (หลักการ ความเข้าใจธรรม) ที่บริสุทธิ์ถึงอย่างนี้ ผุดผ่องถึงอย่างนี้ ถ้าเธอทั้งหลาย ยังยึดติดอยู่ เริงใจกระหยิ่มอยู่ เฝ้าถนอมอยู่ ยึดถือว่าเป็นของเราอยู่ เธอทั้งหลายจะพึงรู้ทั่วถึงธรรม อันมีอุปมาเหมือนแพ ที่เราแสดงแล้วเพื่อมุ่งหมายให้ใช้ข้ามไป มิใช่เพื่อให้ยึดถือเอาไว้ ได้ละหรือ?”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2013, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธพจน์ทั้งสองแห่งนี้ นอกจากจะเป็นเครื่องเตือนไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นในธรรมทั้งหลาย (แม้ที่เป็นความจริง ความถูกต้อง) โดยมิได้ถือเอาประโยชน์จากธรรมเหล่านั้นตามความหมาย คุณค่า และประโยชน์ตามความเป็นจริงของมันแล้ว ข้อที่สำคัญยิ่งก็คือ เป็นการย้ำให้มองเห็นธรรมทั้งหลาย ในฐานะเป็นอุปกรณ์ หรือวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมาย มิใช่สิ่งลอยๆ หรือจบให้ตัว

ด้วยเหตุนี้ เมื่อปฏิบัติธรรมข้อใดข้อหนึ่ง จะต้องรู้ตระหนักชัดเจนถึงวัตถุประสงค์ของธรรมนั้น พร้อมทั้งความสัมพันธ์ของมันกับธรรมอย่างอื่นๆ ในการดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์นั้น

วัตถุประสงค์ในที่นี้ มิได้หมายเพียงวัตถุประสงค์ทั่วไปในขั้นสุดท้ายเท่านั้น แต่หมายถึงวัตถุประสงค์เฉพาะธรรมข้อนั้น เป็นสำคัญ ว่าธรรมข้อนั้นปฏิบัติ เพื่อช่วยสนับสนุนหรือให้เกิดธรรมข้อใด จะไปสิ้นสุดลงที่ใด มีธรรมใดรับช่วงต่อไป ดังนี้เป็นต้น

เหมือนการเดินทางไกล ที่ต่อยานพาหนะหลายทอด และอาจใช้ยานพาหนะต่างกัน ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ จะรู้คลุ่มๆเพียงว่าจะไปสู่จุดหมายปลายทางที่นั่นๆ เท่านั้นไม่ได้ จะต้องรู้ด้วยว่า ยานแต่ละทอดแต่ละอย่างนั้น ตนกำลังอาศัยเพื่อไปถึงที่ใด ถึงที่นั้นแล้ว จะอาศัยยานใดต่อไป ดังนี้เป็นต้น (ดูตัวอย่าง รถวินีตสูตร ตามวิสุทธิ 7)

การปฏิบัติธรรม ที่ขาดความตระหนักในวัตถุประสงค์ ความเป็นอุปกรณ์ และความสัมพันธ์กับธรรมอื่นๆ ย่อมกลายเป็นการปฏิบัติที่เลื่อนลอย คับแคบ ตัน และที่ร้ายยิ่งคือ ทำให้เขวออกนอกทาง ไม่ตรงจุดหมาย และกลายเป็นธรรมที่เฉื่อยชา เป็นหมัน ไม่แล่นทำการ ไม่ออกผลที่หมาย

เพราะการปฏิบัติธรรมอย่างไร้จุดหมายเช่นนี้ ความไขว้เขว และผลเสียหายต่างๆ จึงเกิดขึ้นแก่หลักธรรมสำคัญๆ เช่น สันโดษ อุเบกขา เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร