วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 22:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2013, 03:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
สตินั้นน่ะ มันก็คือจิต

เอาอีกแล้ว สติก็คือจิตอีกแล้ว จิตมันก็จิต เจตสิกก็เจตสิก สติเป็นเจตสิก มันจะคือจิตเป็นจิตไปได้อย่างไรกัน คิกๆๆ


สติ เป้นต้น เป็นเจตสิก ที่เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีอารมณ์เป็นอย่างเดียวกันกับจิต สังขารเป็นเครื่องปรุงจิตให้ดีให้ชั่ว (เจตสิก 50 อย่าง) นี่แหละ



ที่บอกว่า สติก็คือจิต ก็เพราะสติเป็นเจตสิก
เจตสิกมันเป็นเพียง"บัญญัติ"ที่ให้รู้ว่า ในขณะจิตดวงปัจจุบันมีอาการอย่างไร

จิตเกิดและดับอย่างรวดเร็ว...ที่ล่ะดวง

เจตสิกเกิดพร้อมจิตและดับพร้อม ที่เป็นอย่างนี้เพราะ มันเป็นเพียงอาการของจิต

ในขณะที่จิตมีอาการ(เจตสิก) จิตดวงที่มีเจตสิกประกอบ
จิตดวงนั้นจะยังไม่รู้อาการที่ว่า แต่จิตดวงนั้นจะเป็นอาการที่ว่า
จิตจะรู้อาการได้ต่อเมื่อจิตที่เป็นอาการนั้นดับไป จะเกิดจิตที่เรียกว่าวิญญาน
ขึ้นมารู้จิตดวงที่ดับไปแล้วนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2013, 04:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b12: :b12: :b12:
อ้างคำพูด:
สติไม่ได้มีหน้าที่ แต่ในความเป็นจริง จิตในขณะนั้นกำลังทำหน้าที่
หน้าที่ที่จิตกำลังทำก็คือระลึกรู้เรียกอีกอย่างว่าสติ

:b16:
คุณโฮฮับกำลังสะดุดขาตัวเองแล้วนะครับ

สติ กับจิต เป็นคนละอันกันนะครับ

สติกับจิต เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เจตสิกต้องอาศัยจิตเกิด
และดับไปพร้อมจิต ในขณะที่จิตมีเจตสิกประกอบ จิตจะไม่รู้อาการหรือเจตสิกนั้น
แต่จิตดวงนั้นจะเป็นเจตสิกนั้นเอง ต่อเมื่อจิตดวงที่มีเจตสิกประกอบดับไป
จิตดวงใหม่ซึ่งเป็นจิตผู้รู้ จะไปรู้จิตดวงที่มีเจตสิกประกอบนั้น

ในความเป็นจริง จิตมีสภาพรู้ แต่จิตไม่สามารถรู้ได้เพราะจิตกำลังเป็นสภาพอื่น
นั้นคือจิตกำลังเป็นสภาพที่เรียกว่า...เจตสิก
ในสภาวะธรรมจิตเกิดและเป็นได้ที่ล่ะอย่าง รู้ก็รู้อย่างเดียว เป็นเจตสิกก็เป็นได้อย่างเดียว
และเป็นเจตสิกอย่างเดียวเช่นกัน ........เรียกว่าเกิดที่ล่ะขณะ

asoka เขียน:
จิต มีหน้าที่ รู้อารมณ์ เปรียบเหมือน ต้นเงา


"จิต"เป็นปรมัตถ์บัญญัติ ที่ใช้เรียกแทนสภาวะหรือเรียกนามธรรมทั้งหมด

"เจตสิก"เป็นปรมัตถ์บัญญัติ ที่ใช้เรียกความแตกต่างของจิตแต่ล่ะดวง

ความแตกต่างของจิตโดยหลักใหญ่ก็คือ จิตที่เป็นสภาพรู้กับจิตที่เป็นสภาพของอาการ(เจตสิก)

และยังมีความแตกต่างของจิตที่ย่อยลงไปอีกนั้นคือ จิตที่มีอาการแตกต่างกัน

จิตไม่ได้มีหน้าที่อะไรเลย จิตเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
มีเหตุเกิดก็เกิด เหตุดับก็ดับ มันเป็นของมันเช่นนั้นเอง


asoka เขียน:
สติ มีหน้าที่ รู้ทันอารมณ์ เปรียบเหมือนเงา เป็นเจตสิก หรืออาจเรียกว่า เงาของจิต ก็ได้

มีด้วยหรือ สติมีหน้าที่ สับสนหรือเปล่า
รู้ทันอารมณ์นี่ก็อีก

ตัวรู้ทันอารมณ์ไม่ใช่สติ ตัวรู้ทันอารมณ์ก็คือจิตผู้รู้ หรือวิญญานนั้นเอง
ส่วนสตินั้นก็คือ การระลึกรู้
ความหมายของการระลึกรู้ก็คือ การที่จิตผู้รู้หรือวิญญานไปรู้อดีต
การที่จิตไปรู้อดีตคือการเอาอดีตมาเป็นปัจจุบัน เขาเรียกว่า....สติ

asoka เขียน:

จิตรู้เกิด สตินทรีย์เจตสิกก็ตามรู้ เหมือนต้นเงากับเงา เกิดคู่กัน พร้อมกัน[/b]
:b12: :b12: :b12: :b12: :b12:

จิตรู้เกิด เจตสิกไม่สามารถเกิดได้ ต้องให้จิตรู้ดับไปก่อน จิตที่เป็นเจตสิกจึงจะเกิดได้

จิตที่เป็นเจตสิกไม่สามารถรู้ตัวเองได้ ต้องให้จิตผู้รู้ดวงใหม่มาระลึกรู้
เอาอดีตของจิตที่เป็นเจตสิกมาเป็นปัจจุบัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2013, 04:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
"จิต"เป็นปรมัตถ์บัญญัติ ที่ใช้เรียกแทนสภาวะหรือเรียกนามธรรมทั้งหมด

"เจตสิก"เป็นปรมัตถ์บัญญัติ ที่ใช้เรียกความแตกต่างของจิตแต่ล่ะดวง



อ๋อ นี่ละหรา "ใบไม้ในกำมือ" ถามพี่โฮฮับหน่อย ไปเอามาแต่ไหนเนี่ย ความคิดนี้ท่านได้แต่ใดมา


สภาวะอย่างนี้ๆ เรียกว่า ว่าจิต

สภาวะอย่างนี้ๆ เรียกว่า เจตสิก

ทั้งจิตทั้งเจตสิก เป็นนามธรรมทั้งนั้น

ความจริงตำราท่านแยกไว้ให้แล้ว แต่นายโฮฮับนำมายำสะเละ โดยคิดว่า ตนเองรู้ธรรมคิดเลยไปอีกว่าถกธรรมว่างั้น :b9:

ตำราเขาแยกให้ไว้ศึกษาแล้ว รู้ตามนั้นเรียกว่าจบปริยัติ แล้วจะต้องลงมือปฏิบัติ แต่โฮฮับนำธรรมนามธรรมที่ท่านแยกให้ศึกษานั้น มาคิดย้ำเข้าไปอีก เลยเละเป็นเต้าหู้ตกลงพื้นฉะนี้แล. เอวัง :b13:


อ้อ แต่ยังดีหน่อย ยังไม่คิดเป็นพระอรหันต์ เอ๊ะ หรือคิดเข้าไปแล้ว เพราะรู้ทะลุทะลวงไปหมดเนี่ย คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2013, 21:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b6:
อ้างคำพูด:
จิตรู้เกิด เจตสิกไม่สามารถเกิดได้ ต้องให้จิตรู้ดับไปก่อน จิตที่เป็นเจตสิกจึงจะเกิดได้

จิตที่เป็นเจตสิกไม่สามารถรู้ตัวเองได้ ต้องให้จิตผู้รู้ดวงใหม่มาระลึกรู้
เอาอดีตของจิตที่เป็นเจตสิกมาเป็นปัจจุบัน

grin
ความตอนนี้ก็เช่นกัน คุณโฮฮับคงจะรู้มากเกินธรรมไปแล้ว เข้าตำรา "รู้มากยากนาน"

เพราะ จิตก็คือจิต....เจตสิก ก็คือ เจตสิก มิใช่เจตสิกเป็นจิตอีกดวงหนึ่งแยกต่างหาก

ได้บอกแล้วว่า เจตสิก เปรียบเป็นเงาของจิต เกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต

หากไม่เป็นเช่นนั้นแล้วพระบรมศาสดาคงไม่แยกปรมัตถธรรมออกมาว่า ประกอบไปด้วย

จิต

เจตสิก

รูป

นิพพาน


:b34: :b34: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2013, 03:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b6:
อ้างคำพูด:
จิตรู้เกิด เจตสิกไม่สามารถเกิดได้ ต้องให้จิตรู้ดับไปก่อน จิตที่เป็นเจตสิกจึงจะเกิดได้

จิตที่เป็นเจตสิกไม่สามารถรู้ตัวเองได้ ต้องให้จิตผู้รู้ดวงใหม่มาระลึกรู้
เอาอดีตของจิตที่เป็นเจตสิกมาเป็นปัจจุบัน

grin
ความตอนนี้ก็เช่นกัน คุณโฮฮับคงจะรู้มากเกินธรรมไปแล้ว เข้าตำรา "รู้มากยากนาน"

เพราะ จิตก็คือจิต....เจตสิก ก็คือ เจตสิก มิใช่เจตสิกเป็นจิตอีกดวงหนึ่งแยกต่างหาก

ได้บอกแล้วว่า เจตสิก เปรียบเป็นเงาของจิต เกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต

หากไม่เป็นเช่นนั้นแล้วพระบรมศาสดาคงไม่แยกปรมัตถธรรมออกมาว่า ประกอบไปด้วย

จิต

เจตสิก

รูป

นิพพาน


:b34: :b34: :b13:


รู้มากก็ยังดีกว่ารู้น้อยแล้วทำให้คนอื่นรำคาญน่ะผมว่า......

โสกะไปเรียนมาจากฤษีคนไหนครับ ที่ว่า พระพุทธองค์แยกปรมัตถ์ธรรม จิต เจตสิก รูป นิพพาน

พูดเรื่อยเปื้อยครับ .......

การแยก จิต เจตสิก รูป นิพพาน ออกมาเป็นปรมัตถ์ธรรม มาจากคัมภีร์ที่แต่งขึ้นภายหลัง
หลังที่ว่าไม่ใช่หลังจากพระพุทธองค์ปรินิพพานอีกด้วย แต่เป็นหลังจากมีพระไตรปิฎกแล้ว
เรียกคัมภีร์นี่ว่า......."อภิธัมมัตถสังคหะ"
และผู้แต่งก็คือ.......พระอนุรุทธาจารย์


โสกะครับ รู้น้อยไม่มีใครเขาว่าหรอกครับ แต่รู้น้อยแล้วทำเป็นรู้มากแบบนี้
มันต้องตำหนิกันบ้าง อย่าหาว่าดูถูกดูแคลนเลยครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2013, 05:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
asoka เขียน:
:b6:
อ้างคำพูด:
จิตรู้เกิด เจตสิกไม่สามารถเกิดได้ ต้องให้จิตรู้ดับไปก่อน จิตที่เป็นเจตสิกจึงจะเกิดได้

จิตที่เป็นเจตสิกไม่สามารถรู้ตัวเองได้ ต้องให้จิตผู้รู้ดวงใหม่มาระลึกรู้
เอาอดีตของจิตที่เป็นเจตสิกมาเป็นปัจจุบัน

grin
ความตอนนี้ก็เช่นกัน คุณโฮฮับคงจะรู้มากเกินธรรมไปแล้ว เข้าตำรา "รู้มากยากนาน"

เพราะ จิตก็คือจิต....เจตสิก ก็คือ เจตสิก มิใช่เจตสิกเป็นจิตอีกดวงหนึ่งแยกต่างหาก

ได้บอกแล้วว่า เจตสิก เปรียบเป็นเงาของจิต เกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต

หากไม่เป็นเช่นนั้นแล้วพระบรมศาสดาคงไม่แยกปรมัตถธรรมออกมาว่า ประกอบไปด้วย

จิต

เจตสิก

รูป

นิพพาน


:b34: :b34: :b13:


รู้มากก็ยังดีกว่ารู้น้อยแล้วทำให้คนอื่นรำคาญน่ะผมว่า......

โสกะไปเรียนมาจากฤษีคนไหนครับ ที่ว่า พระพุทธองค์แยกปรมัตถ์ธรรม จิต เจตสิก รูป นิพพาน

พูดเรื่อยเปื้อยครับ .......

การแยก จิต เจตสิก รูป นิพพาน ออกมาเป็นปรมัตถ์ธรรม มาจากคัมภีร์ที่แต่งขึ้นภายหลัง
หลังที่ว่าไม่ใช่หลังจากพระพุทธองค์ปรินิพพานอีกด้วย แต่เป็นหลังจากมีพระไตรปิฎกแล้ว
เรียกคัมภีร์นี่ว่า......."อภิธัมมัตถสังคหะ"
และผู้แต่งก็คือ.......พระอนุรุทธาจารย์


โสกะครับ รู้น้อยไม่มีใครเขาว่าหรอกครับ แต่รู้น้อยแล้วทำเป็นรู้มากแบบนี้
มันต้องตำหนิกันบ้าง อย่าหาว่าดูถูกดูแคลนเลยครับ :b13:



ก็บอกแล้วว่า ตำราเขาแยกไว้แล้ว เราเรียนแล้ว (หรือยังไม่เรียนเดาเอาก็ตาม) จบปริยัติ ชีวิตที่เหลือก็ก้มหน้าก้มตาปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ธรรม (ด้วยสัมมาปฏิบัติ) แล้วก็จะปฏิเวธ คือรู้ธรรมคือชีวิตจากประสบการณ์ตรง (ถ้าไม่เป็นสัมมาปฏิบัติ ก็เข้าศรีธัญญา) :b32:

แล้วนิพพาน ก็ไม่น่าใข่ะนิพพานอย่าง่นี้

http://www.watpanonvivek.com/index.php? ... Itemid=199

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2013, 09:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อภิธัมมัตถสังคหะ พระอนุรุทธาจารย์

พระอนุรุทธาจารย์ และอรรถกถาจารย์ ตลอดคนอื่นๆ เขียนตามความรู้ที่มีอยู่

http://www.thepathofpurity.com/%E0%B8%9 ... %E0%B8%B0/



ปริเฉทที่ ๑

http://www.thepathofpurity.com/%E0%B8%9 ... %E0%B9%91/




"นิพพาน มีลักขณาทิจตุกะ หรือวิเสสลักษณะเพียง ๓ ประการเท่านั้น คือ ไม่มี ปทัฏฐาน เหตุใกล้ให้เกิด
เพราะนิพพานเป็นธรรมที่พ้นจากเหตุจากปัจจัยทั้งปวง"


งั้น โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ก็เป็นหมัน



นิพพาน

เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสแสดงอดีตชาติของพระกุณฑธานะ จบลงแล้ว
จึงตรัสกับพระกุณฑธานะนั้นว่า

“ภิกษุ เธออาศัยกรรมลามกนี้ จึงมีเรื่องอันแปลกเช่นนี้แล้ว
บัดนี้ การที่เธอถือทิฏฐิอันลามกเช่นนั้นอีก ไม่สมควร เธออย่ากล่าวอะไรๆ กับภิกษุทั้งหลายอีก

จงเป็นผู้ไม่มีเสียง เช่นกังสดาลอันเขาตัดขอบปากแล้ว
เมื่อทำอย่างนั้น จักเป็นผู้ชื่อว่าบรรลุพระนิพพาน” ดังนี้แล

เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า…
“เธออย่าได้กล่าวคำหยาบกะใครๆ ชนเหล่าอื่นถูกเธอว่าแล้ว จะพึงตอบเธอ
เพราะการกล่าวแข่งขันกันย่อมทำให้เกิดทุกข์ อาชญาตอบ พึงถูกต้องเธอ

ผิเธออาจยังตนไม่ให้หวั่นไหวได้ ดังกังสดาลที่ถูกจำกัดแล้วไซร้
เธอนั่นย่อมบรรลุพระนิพพาน


การกล่าวแข่งขันโต้ตอบกัน ย่อมไม่มีแก่เธอ.”

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2013, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ประวัติการสังคายนาพระไตรปิฎกบาลี

http://www.mcu.ac.th/mcutrai/menu2/Arti ... cle_23.htm


การสังคยา ในแต่ละครั้งนั้น ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย ของคนยุคนั้น สมัยนั้น
ไม่ใช่เรื่องถูก-ผิด แต่เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่มีต่อกัน ของแต่ละคน

อย่างน้อยๆ ยังดีที่มีร่องรอยเหลือไว้ให้เห็น ดีกว่า ไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2013, 20:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


onion onion
๔. พระอภิธรรมปิฎก ธรรมใดที่แสดงไว้เป็นส่วน ล้วนแต่เป็นปรมัตถสัจจะ คือ ตามความเป็นจริงอันมีเนื้อความไม่เปลี่ยนแปลงผันแปร เพื่อจะได้เห็นแจ้งในสภาวธรรมนั้นๆ โดยไม่กล่าวอ้างบุคลมาเป็นสำคัญนั้น เรียกว่าพระอภิธรรมปิฎกมี ๔๒๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระอภิธรรมนี้เป็นพื้นฐาน ในอันที่จะสร้างสรรค์ให้มีสติว่องไว มั่นคง และมีปัญญาหลักแหลมพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งมี ๔๒๐๐๐ พระธรรมขันธ์นี้ จำแนกเป็น ๗ คัมภีร์มีชื่อว่า ธัมมสังคณี วิภังค ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และมหาปัฏฐาน เพื่อให้สะดวกแก่การจดจำรำลึก ท่านโบราณาจารย์จึงได้ยกพยางค์หน้าแห่งคัมภีร์นั้นๆ มาเป็นเครื่องจดจำ คือ สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ ต่อมาก็เลยถือกันว่า สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ นี้คือ หัวใจของพระอภิธรรม
คัมภีร์ ธัมมสังคณี ว่าด้วย หมวดแห่งปรมัตถธรรม
คัมภีร์ วิภังค ว่าด้วย การจำแนกปรมัตถธรรม
คัมภีร์ ธาตุกถา ว่าด้วย ธาตุแห่งปรมัตถธรรม
คัมภีร์ ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วย บัญญัติ บุคคล และปรมัตถ
คัมภีร์ กถาวัตถุ ว่าด้วย การถามและตอบในปรมัตถธรรม
คัมภีร ยมก ว่าด้วย การแสดงปรมัตถธรรมเป็นคู่ๆ
คัมภีร์ มหาปัฏฐาน ว่าด้วย ปัจจัยของปรมัตถธรรม

๕. พระอภิธรรมมัตถสังคหะ มาจากคำว่า อภิธมฺม แปลว่า ธรรมอันประเสริฐยิ่ง หมายความว่า เป็นธรรมที่มีอยู่จริง เป็นธรรมที่เป็นจริงได้แก่ พระอภิธรรมปิฎก ๗ คัมภีร์ อตฺถ แปลว่า เนื้อความ หมายความว่า เป็นเนื้อหาหรือเป็นหัวข้อแห่งพระอภิธรรม ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน และบัญญัติ สํ แปลว่า โดยย่อ คห แปลว่า รวบรวม เมื่อประมวลความหมายแห่งคำเหล่านี้เข้าด้วยกันแล้วก็มีความหมายว่า จิต เจตสิก รูป นิพพาน และบัญญัติ ที่พระองค์ทรงแสดงไว้ในพระอภิธรรมปิฎก ๗ คัมภีร์นั้นได้ รวบรวมมาแสดงโดยย่อในปกรณ์นี้ พระอภิธัมมัตถสังคหะนี้ เป็นชื่อของปรณ์ ที่พระอนุรุทธาจารย์ได้รวบรวมอธิบายความโดยย่อแห่ง พระอภิธรรมปิฎก
:b8:
ขอบคุณคุณวลัยพรครับ

ฝากข้อความข้างบนมาให้คุณโฮฮับพิจารณาด้วยครับ เพราะดูเหมือนว่าตอนนี้คุณโฮฮับ จะเก่งกว่าท่านพระอนุรุทธาจารย์เสียอีกด้วยซ้ำ ที่กล่าวว่า จิตและเจตสิกเป็นอันเดียวกัน
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2013, 04:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ประวัติการสังคายนาพระไตรปิฎกบาลี

http://www.mcu.ac.th/mcutrai/menu2/Arti ... cle_23.htm


การสังคยา ในแต่ละครั้งนั้น ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย ของคนยุคนั้น สมัยนั้น
ไม่ใช่เรื่องถูก-ผิด แต่เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่มีต่อกัน ของแต่ละคน

อย่างน้อยๆ ยังดีที่มีร่องรอยเหลือไว้ให้เห็น ดีกว่า ไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย


ประเด็นไม่เกี่ยวกับพระอธิธรรมมัตถสังคหะหรือพระอนุรุธาจารย์
แต่เรื่องของเรื่อง มันอยู่ที่คุณโสกะ .........

คุณโสกะแกเข้าใจไปเองว่า ....
พระบรมศาสดาเป็นผู้แบ่งแยก จิต เจตสิก รูป นิพพาน ซึ่งมัน...ไม่ใช่

ผมเห็นความไม่รู้ของคุณโสกะ ก็เลยอธิบายความเป็นมาเป็นของสิ่งที่แกกำลังเขาใจผิด

สรุปก็คือพระอภิธัมมัตถสังคหะและพระอนุรุทธาจารย์.....ไม่ผิด



แต่ที่ผิดเป็นคุณโสกะ แกเข้าใจผิดในตัวบุคคลที่แต่งหรือเป็นผู้แบ่งบัญญัติเหล่านั้นออกเป็นปรมัตถ์

และที่ผิดอีกกรณีก็คือเจ๊วไลพร เจ๊วไลพรตีความหมายคำพูดผมผิดครับ


เพิ่มเติมให้ครับ พระพุทธองค์ไม่ได้แบ่งแยกว่าอะไรเป็นปรมัตถ์
แต่พระพุทธองค์ให้สาวก ปฏิบัติให้เห็นแจ้งโดยปรมัตถ์ เห็นธรรมหรือสรรพสิ่งให้ถึงปรมัตถ์
พุทธพจน์ที่ใช้อ้างอิงก็คือ.....สัจฉิกัตถปรมัตถ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2013, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การสนทนา เพื่อมุ่งในสิ่งที่ตนถูกใจ มักจะพลาดรายละเอียดในการอ่าน


คนหนึ่งนำไปกล่าว สนับสนุน ในข้อคิดเห็นของตนเอง

คนหนึ่ง นำไปกล่าวว่า ตีความข้อคิดเห็นของตนเองผิด



สิ่งที่วลัยพรนำมาโพสนั้น ไม่ได้สนับสนุนข้อคิดเห็นของใคร แต่นำมาแสดงในข้อคิดเห็นของตนเอง


ปริเฉทที่ ๑

http://www.thepathofpurity.com/%E0%B8%9 ... %E0%B9%91/




"นิพพาน มีลักขณาทิจตุกะ หรือวิเสสลักษณะเพียง ๓ ประการเท่านั้น คือ ไม่มี ปทัฏฐาน เหตุใกล้ให้เกิด เพราะนิพพานเป็นธรรมที่พ้นจากเหตุจากปัจจัยทั้งปวง"


งั้น โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ก็เป็นหมัน




และนำข้อความที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ เรื่อง นิพพาน เพื่อแสดงในข้อคิดเห็น เกี่ยวกับบทความที่เขียนไว้ด้านบน ที่กล่าวว่า

"นิพพาน มีลักขณาทิจตุกะ หรือวิเสสลักษณะเพียง ๓ ประการเท่านั้น คือ ไม่มี ปทัฏฐาน เหตุใกล้ให้เกิด เพราะนิพพานเป็นธรรมที่พ้นจากเหตุจากปัจจัยทั้งปวง"



การสอนเรื่องนิพพาน มีหลากหลาย ตามเหตุปัจจัยของบุคคลนั้น แต่ละคน พระองค์จะทรงให้อุบายในการพิจรณาแตกต่างกันไปตามเหตุปัจจัย


ถ้าไม่มีที่มาที่ไป ไม่มีเหตุปัจจัย พระพุทธเจ้าคงไม่สอนเกี่ยวกับนิพพาน ในลักษณะนี้


นิพพาน

เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสแสดงอดีตชาติของพระกุณฑธานะ จบลงแล้ว
จึงตรัสกับพระกุณฑธานะนั้นว่า

“ภิกษุ เธออาศัยกรรมลามกนี้ จึงมีเรื่องอันแปลกเช่นนี้แล้ว
บัดนี้ การที่เธอถือทิฏฐิอันลามกเช่นนั้นอีก ไม่สมควร เธออย่ากล่าวอะไรๆ กับภิกษุทั้งหลายอีก

จงเป็นผู้ไม่มีเสียง เช่นกังสดาลอันเขาตัดขอบปากแล้ว
เมื่อทำอย่างนั้น จักเป็นผู้ชื่อว่าบรรลุพระนิพพาน” ดังนี้แล

เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า…
“เธออย่าได้กล่าวคำหยาบกะใครๆ ชนเหล่าอื่นถูกเธอว่าแล้ว จะพึงตอบเธอ
เพราะการกล่าวแข่งขันกันย่อมทำให้เกิดทุกข์ อาชญาตอบ พึงถูกต้องเธอ

ผิเธออาจยังตนไม่ให้หวั่นไหวได้ ดังกังสดาลที่ถูกจำกัดแล้วไซร้
เธอนั่นย่อมบรรลุพระนิพพาน

การกล่าวแข่งขันโต้ตอบกัน ย่อมไม่มีแก่เธอ.”



ส่วนใครจะกล่าวว่า จิต เจตสิก เป็นสภาวะเดียวกัน หรือ คนละสภาวะ
ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะเป็นแค่สัญญา

สิ่งที่สำคัญ คือ การกระทำ
สร้างเหตุของการเกิด หรือ การดับเหตุของการเกิด



ปัญญา ยิ่งรู้ ยิ่งกระชับ มีแต่สั้นลง รู้แล้วจบ


สัญญา เปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ แล้วแต่รู้ ณ ขณะนั้นๆ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2013, 10:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โพธิปักขิยธรรม 37 ตัว ถ้าว่าโดยภาคปฏิบัติแล้ว คือเมื่อปฏิบัติถูกต้องเป็นสัมมาปฏิปทาแล้ว มันเกิดร่วมกันขณะจิตเดียว วิบเดียว ไม่ได้แยกข้อแยกพูด เหมือนที่เราๆทท่านๆหยิบตัวนั้นตัวนี้ข้อนั้นข้อนี้มาพูดทีละข้อทีละตัวดอก

ที่เราพูดๆกันเนี่ยนะ ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย อีก 10 ครั้ง โพธิปักขิยธรรม 37 ตัว ก็ยังไม่สามัคคีกัน :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2013, 14:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โพธิปักขิยธรรม 37 ตัว ถ้าว่าโดยภาคปฏิบัติแล้ว คือเมื่อปฏิบัติถูกต้องเป็นสัมมาปฏิปทาแล้ว มันเกิดร่วมกันขณะจิตเดียว วิบเดียว ไม่ได้แยกข้อแยกพูด เหมือนที่เราๆทท่านๆหยิบตัวนั้นตัวนี้ข้อนั้นข้อนี้มาพูดทีละข้อทีละตัวดอก
ที่เราพูดๆกันเนี่ยนะ ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย อีก 10 ครั้ง โพธิปักขิยธรรม 37 ตัว ก็ยังไม่สามัคคีกัน :b1:

เละเป็นโจ๊กเลยกรัชกาย โพธิปักฯ๓๗ประการ ใครกันหรือที่ร่วมกันขณะจิตเดียว

องค์โพธิปักฯ๓๗ประการ เมื่อรวมกันแล้ว จะเกิดเป็นสัมมาญาน และเป็นสัมมาวิมุตติ

และจะเป็นอย่างนั้นตลอดไป มันไม่ใช่ร่วมกันแค่วิบเดียวจึ๋งเดียว แบบกรัชกายบอกที่ไหน :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2013, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โพธิปักขิยธรรม 37 ตัว ถ้าว่าโดยภาคปฏิบัติแล้ว คือเมื่อปฏิบัติถูกต้องเป็นสัมมาปฏิปทาแล้ว มันเกิดร่วมกันขณะจิตเดียว วิบเดียว ไม่ได้แยกข้อแยกพูด เหมือนที่เราๆทท่านๆหยิบตัวนั้นตัวนี้ข้อนั้นข้อนี้มาพูดทีละข้อทีละตัวดอก
ที่เราพูดๆกันเนี่ยนะ ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย อีก 10 ครั้ง โพธิปักขิยธรรม 37 ตัว ก็ยังไม่สามัคคีกัน :b1:


เละเป็นโจ๊กเลยกรัชกาย โพธิปักฯ๓๗ประการ ใครกันหรือที่ร่วมกันขณะจิตเดียว

องค์โพธิปักฯ๓๗ประการ เมื่อรวมกันแล้ว จะเกิดเป็นสัมมาญาน และเป็นสัมมาวิมุตติ

และจะเป็นอย่างนั้นตลอดไป มันไม่ใช่ร่วมกันแค่วิบเดียวจึ๋งเดียว แบบกรัชกายบอกที่ไหน



ฟ้าแลบ ไม่ได้แลบโร่อยู่ทั้งคืนทั้งวัน มันแลบแป๊บ แล้วมันก็ดับไป

ความเห็นสีแดงเป็นลักษณะของสัสสตทิฏฐิ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2013, 02:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โพธิปักขิยธรรม 37 ตัว ถ้าว่าโดยภาคปฏิบัติแล้ว คือเมื่อปฏิบัติถูกต้องเป็นสัมมาปฏิปทาแล้ว มันเกิดร่วมกันขณะจิตเดียว วิบเดียว ไม่ได้แยกข้อแยกพูด เหมือนที่เราๆทท่านๆหยิบตัวนั้นตัวนี้ข้อนั้นข้อนี้มาพูดทีละข้อทีละตัวดอก
ที่เราพูดๆกันเนี่ยนะ ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย อีก 10 ครั้ง โพธิปักขิยธรรม 37 ตัว ก็ยังไม่สามัคคีกัน :b1:


เละเป็นโจ๊กเลยกรัชกาย โพธิปักฯ๓๗ประการ ใครกันหรือที่ร่วมกันขณะจิตเดียว

องค์โพธิปักฯ๓๗ประการ เมื่อรวมกันแล้ว จะเกิดเป็นสัมมาญาน และเป็นสัมมาวิมุตติ

และจะเป็นอย่างนั้นตลอดไป มันไม่ใช่ร่วมกันแค่วิบเดียวจึ๋งเดียว แบบกรัชกายบอกที่ไหน


ฟ้าแลบ ไม่ได้แลบโร่อยู่ทั้งคืนทั้งวัน มันแลบแป๊บ แล้วมันก็ดับไป

ความเห็นสีแดงเป็นลักษณะของสัสสตทิฏฐิ :b1:

เละอีกแล้ว รู้แล้วหรือว่า "อะไรที่เป็นอย่างนั้น" เถียงเรื่อยเปื่อย
ไม่มีเหตุผลมาเถียงก็ไปหยิบ คำศัพท์จากตำราที่ตัวเรียนมาเถียง ถูกผิดไม่สนใจ เฮ่อกรัชกาย!

ไอ้ที่พี่โฮบอกว่า "จะเป็นอย่างนั้นตลอดไป" หมายถึงสัมมาวิมุตตติหรือจิตที่ปราศจากกิเลส
จิตของพระอรหันต์ ย่อมต้องเป็นจิตของพระอรหันต์ ไม่มีวันกลับเป็นจิตที่ต่ำกว่านั้นอีกแล้ว

ที่กรัชกายบอกว่า "ฟ้าแลบ" พี่โฮถามหน่อยศาสนาพุทธเว่อชั่น ไซอิ๋ว หรือเปล่า
โพธิปักฯเมื่อรวมกัน ถึงได้มีฟ้าแลบเปรี้ยงป้างแบบนั้น :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร