วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 08:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2013, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ความสงบมีสอง ..

ความสงบจากสมาธิ ๑
ความสงบจากปัญญา ๑

ความสงบจากสมาธิ ไม่ยั่งยืนถาวร เมื่อเลิกหรือถอนสมาธิ
กิเลสก็ฟุ้งขึ้นตามเดิม ลักษณะเหมือนหินทับหญ้า ..

ความสงบที่เกิดจากปัญญา คือความรู้เห็นตามความจริงของสุขทุกข์
แล้วไม่มีอุปทานยึดมั่นในสุขทุกข์ ทำให้จิตเหนือสุขเหนือทุกข์ ..

ความสงบที่เกิดจากปัญญา จึงเป็นเป้าหมายของพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2013, 09:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2013, 09:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อจิตเป็นสมาธิ....จิตมีอารมณ์เดียว....จึงสงบ...
ความสงบ....เป็นผลของสมาธิ....

ที่สงบได้..เพราะจิตไม่แล่นไปเอาโลก....โลกคือโลกธรรม 4 มีลาภ..ยศ..สรรเสริญ...สุข

เมื่อพิจารณาให้เห็นจริงว่า..แท้แล้ว...โลกธรรมทั้ง4 ไม่ได้นำสุขที่แท้จริงมาให้...เพราะหากเป็นสุขที่แท้จริง...จะต้อง
ไม่ผันแปรไปเป็นทุกข์ในยามที่ต้องผลัดพรากจากมัน...ในยามที่เสื่อมลาภ..เสื่อมยศ...เสื่อมสรรเสริญ...หรือเสื่อมจากฌาณ

เมื่อจิต...พิจารณาจนเห้นจริงในธรรมทั้งหลาย....จนจิตยอมรับความจริงเหล่านี้....จิตก็ย่อมไม่แล่นไปเอาโลก
เมื่อจิตไม่เอาโลก....จิตก็สงบ
เมื่อจิตสงบ....จิตก็เป็นสมาธิ....เป็นสมาธิเพราะจิตไม่เอาโลก
พระอรหันตเจ้า....จึงเป็นสมาธิ..ทุกอาการยืน..เดิน..นั่ง...นอน

แม้ในปุถุชน...หรือกับเสขะบุคคล....ในช่วงเวลาที่จิตสงบนี้...จึงเป็นช่วงเวลาเหมาะแก่การทำงาน (ภาวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2013, 11:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปนิสสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=704&Z=784&pagebreak=0

...ศรัทธา>ปราโมทย์>ปิติ>ปัสสัทธิ(ความสงบ)>สุข>สมาธิ>ยถาภูตญาณทัสสนะ>นิพพิทา>วิราคะ>วิมุติ>อรหัตผล

พิจารณาองค์ธรรมต่างๆ อันเป็นเหตุเป็นปัจจัยกัน จากพระสูตรนี้ได้

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2013, 13:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อุปนิสสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=704&Z=784&pagebreak=0

...ศรัทธา>ปราโมทย์>ปิติ>ปัสสัทธิ(ความสงบ)>สุข>สมาธิ>ยถาภูตญาณทัสสนะ>นิพพิทา>วิราคะ>วิมุติ>อรหัตผล

พิจารณาองค์ธรรมต่างๆ อันเป็นเหตุเป็นปัจจัยกัน จากพระสูตรนี้ได้

ที่ว่าเหตุผลเป็นปัจจัยกัน อะไรอย่างไรล่ะ

แล้วที่เอามาแสดงมันเกี่ยวอะไรกับความเห็นของจขกทอย่างไร
ไม่อธิบายมาด้วยล่ะ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2013, 16:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
อุปนิสสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=704&Z=784&pagebreak=0

...ศรัทธา>ปราโมทย์>ปิติ>ปัสสัทธิ(ความสงบ)>สุข>สมาธิ>ยถาภูตญาณทัสสนะ>นิพพิทา>วิราคะ>วิมุติ>อรหัตผล

พิจารณาองค์ธรรมต่างๆ อันเป็นเหตุเป็นปัจจัยกัน จากพระสูตรนี้ได้

ที่ว่าเหตุผลเป็นปัจจัยกัน อะไรอย่างไรล่ะ

แล้วที่เอามาแสดงมันเกี่ยวอะไรกับความเห็นของจขกทอย่างไร
ไม่อธิบายมาด้วยล่ะ :b32:

โฮฮับ ... เหงามากหรือครับ ^ ^

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2013, 23:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อุปนิสสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=704&Z=784&pagebreak=0

...ศรัทธา>ปราโมทย์>ปิติ>ปัสสัทธิ(ความสงบ)>สุข>สมาธิ>ยถาภูตญาณทัสสนะ>นิพพิทา>วิราคะ>วิมุติ>อรหัตผล

พิจารณาองค์ธรรมต่างๆ อันเป็นเหตุเป็นปัจจัยกัน จากพระสูตรนี้ได้


อ่านแล้วครับ ความรู้เกี่ยวกับเหตุอิงอาศัยดีมากครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2013, 03:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อุปนิสสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=704&Z=784&pagebreak=0

...ศรัทธา>ปราโมทย์>ปิติ>ปัสสัทธิ(ความสงบ)>สุข>สมาธิ>ยถาภูตญาณทัสสนะ>นิพพิทา>วิราคะ>วิมุติ>อรหัตผล

พิจารณาองค์ธรรมต่างๆ อันเป็นเหตุเป็นปัจจัยกัน จากพระสูตรนี้ได้


หากดูเพียงความหมายของคำว่า..ปัสสัทธิ..ที่แปลว่า..สงบ..ซึ่งตรงกับคำว่า..สงบ..ของเจ้าของกระทู้..อาจคิดว่าเป็นจุดเดียวกัน
.แต่...ผมคิดว่า..ยังไม่ใช่ในความหมายที่..กระทู้...พยายามจะสื่อ

ปัสสัทธิ...เป็นการสงบ.ที่ผู้นั้น..มีศีลสมบูรณ์...เป็นอยู่ไม่เดือดร้อน...มีความปราโมทย์ยินดีในการปฏิบัติธรรม....มีปิติคืออิ่มใจในวัตรของตน.จึงเกิดปัสสัทธิคือ..กายสงบระงับ...

เมื่อกายสงบระงับ....ผู้นั้นก็ยิ่งสุขมากกว่าขั้นปิติคือใจสุขสบาย...เมื่อใจสบาย...สมาธิก็เกิดได้ง่าย...
เมื่อมีสมาธิ....ใจก็ยิ่งสงบ... .สงบตรงสมาธิจึงสงบมากกว่า.ลึกกว่า...ในขั้นปัสสัทธิ..
..ญาณรู้จึงรู้เห็นตามความเป้นจริงได้ชัดกว่า..เกิดจากปัญญาญาณมากกว่าสัญญาญาณ(จินตมยปัญญา)

ที่จริงแล้ว....ความสงบ..เริ่มตั้งแต่มีศีลแล้ว...จะสังเกตุว่า...ยิ่งลึกก็ยิ่งสงบมากขึ้น...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2013, 05:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อุปนิสสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=704&Z=784&pagebreak=0

...ศรัทธา>ปราโมทย์>ปิติ>ปัสสัทธิ(ความสงบ)>สุข>สมาธิ>ยถาภูตญาณทัสสนะ>นิพพิทา>วิราคะ>วิมุติ>อรหัตผล

พิจารณาองค์ธรรมต่างๆ อันเป็นเหตุเป็นปัจจัยกัน จากพระสูตรนี้ได้


ความสำคัญของพระสูตรบทนี้ มันอยู่ตรงนี้.........

๓. อุปนิสสูตร
[๖๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ-
*บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเรารู้อยู่ เห็นอยู่ เราจึงกล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เมื่อเราไม่รู้
ไม่เห็น เราก็มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้
เราเห็นอะไรเล่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี เมื่อเรารู้ เราเห็นว่า
ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ... ดังนี้เวทนา ... ดังนี้สัญญา ...
ดังนี้สังขารทั้งหลาย ... ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับ
แห่งวิญญาณ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้ เรา
เห็นอย่างนี้แล ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี ฯ


พระพุทธองค์ทรงชี้แนะ ให้รู้เหตุแห่งการสิ้นไปของอาสวะ
เราเรียกการรู้นี้ว่า....ปัญญา
เมื่อรู้แล้วหมั่นใช้ พูดภาษาบ้านๆก็คือใช้ให้เป็นนิสสัย

ตัวอย่างที่เช่นนั้นยกมา ไม่ใช่ประเด็นของพระสูตรนี้
มันเป็นเพียงส่วนประกอบของการพูดถึง การใช้ปัญญา

การใช้ก็คือเอาไปใช้กับเหตุปัจจัยทุกเหตุ อย่างเช่น ตัวอย่างของเช่นนั้น

.ศรัทธา>ปราโมทย์>ปิติ>ปัสสัทธิ(ความสงบ)>สุข>สมาธิ>ยถาภูตญาณทัสสนะ>นิพพิทา>วิราคะ>วิมุติ>อรหัตผล

ประโยคที่ยกมา อธิบายถึงเหตุอิงอาศัยกันเกิด
.ศรัทธา>ปราโมทย์>ปิติ>ปัสสัทธิ(ความสงบ)>สุข>สมาธิ

เหตุปัจจัยข้างบนนี้ จะต้องมีปัญญาประกอบด้วย นั้นคือรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะ(ปัญญา)

ศรัทธาต้องประกอบด้วยปัญญา
ปราโมทย์...ปิติ...ปัสสสัทธิและสมาธิ ธรรมทุกธรรมที่กล่าวมาต้องประกอบด้วปัญญา

ในพระสูตรนี้พระพุทธองค์ทรงเปรียบเทียบ การใช้เหตุปัจจัยที่ประกอบด้วยปัญญา
และที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา........ดังนี้

[๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเมล็ดใหญ่ตกอยู่บนยอดภูเขา น้ำนั้น
ไหลไปตามที่ลุ่ม ยังซอกเขา ระแหง และห้วยให้เต็ม ซอกเขาระแหงและห้วย
ทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังหนองทั้งหลายให้เต็ม หนองทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว
ย่อมยังบึงทั้งหลายให้เต็ม บึงทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังแม่น้ำน้อยๆ ให้เต็ม
แม่น้ำน้อยๆ เต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ๆ ให้เต็ม แม้น้ำใหญ่ๆ เต็ม
เปี่ยมแล้ว ย่อมยังมหาสมุทรให้เต็ม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขาร
ทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย ฯลฯ ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่
อิงอาศัย
ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ

สรุปเหตุปัจจัยไม่มีปัญญา(ญานในธรรมที่สิ้นไป)ย่อมเป็นที่รวมแห่งอวิชา

เหตุปัจจัยมีปัญญา(ญานในธรรมที่สิ้นไป)ย่อมเกิดผลเป็นวิมุตติ


พระสูตรบทนี้สอนให้ใช้ปัญญา ความสิ้นไปแห่งธรรม
ใช้ทุกครั้งที่พิจารณาธรรม ท่านจึงเรียกพระสูตรบทนี้ว่า......"อุปนิสสูตร"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2013, 07:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบใจ มีสอง ...

ปัสสัทธิ ที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็น ๑ ใน ๑๐ ของวิปัสสนูกิเลส ทำให้หลง ติดข้อง
เข้าใจว่าเป็นทางหลุดพ้น หรือเป็นนิพพาน ซึ่งเกิดกับโยคีทั้งหลาย เมื่อครั้งก่อนพุธกาล

ปัสสัทธิ คือความสงบที่ประกอบด้วยปัญญา (สัมโพชฌงค์) เป็นองค์ธรรมของการตรัสรู้
เป็นฐานของปัญญา ทั้งภาวนามัยปัญญาหรือยถาภูตญาณทัสสนะ อันเป็นปัญญาให้เกิด
ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง ..

ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมแสดงความคิดเห็น :b8:

:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2013, 12:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:

ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบใจ มีสอง ...

ปัสสัทธิ ที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็น ๑ ใน ๑๐ ของวิปัสสนูกิเลส ทำให้หลง ติดข้อง
เข้าใจว่าเป็นทางหลุดพ้น หรือเป็นนิพพาน ซึ่งเกิดกับโยคีทั้งหลาย เมื่อครั้งก่อนพุธกาล

ปัสสัทธิ คือความสงบที่ประกอบด้วยปัญญา (สัมโพชฌงค์) เป็นองค์ธรรมของการตรัสรู้
เป็นฐานของปัญญา ทั้งภาวนามัยปัญญาหรือยถาภูตญาณทัสสนะ อันเป็นปัญญาให้เกิด
ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง ..

ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมแสดงความคิดเห็น :b8:

:b1:


อนุโมทนาครับ

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นองค์ธรรมในจิตเหตุ ขณะแห่งการเจริญมรรคภาวนา ย่อมได้ความสงบ
ส่วนองค์ธรรมในจิตผล นั้นเป็นความสุขอันเกิดจากเหตุที่กระทำไว้แล้วจึงไม่ต้องกล่าวถึงความสงบอีกต่อไป..... :b8:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร