วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 06:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 17:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b37:
ท่านที่ประสงค์จะไปปฏิบัติธรรม หรือพูดให้ดูแปลกใหม่ว่า "ปรนนิบัติธรรม" ตัวจริง ต้องเอาตัว ใจ ของตนเองข้ามผ่านด่านแห่ง ความนึกคิด (จิตสังขาร หรือ อุทธัจจะ) ไปให้ได้เป็นพักๆ เสียก่อนจึงจะได้พบธรรมตัวจริงเห็นธรรมตัวจริง ชัดขึ้นมาในกายและจิต

"สมมุติ บังปรมัตถ์ บัญญัติ บังความจริง" ถ้าจิตยังคิดนึก วิตกวิจารณ์ธรรม ไปตามคัมภีร์ ตำหรับตำรา และสิ่งได้รำ่เรียนรู้มา มันจะได้รับได้รู้แต่ธรรมที่เป็นแต่ตัวหนังสือหรือคำพูด

เมื่อไหร่เจริญภาวนาจนเอาชนะอุทธัจจะนิวรณ์ได้ชั่วคราวแล้วจึงจะได้สัมผัส สภาวะ สภาวัง หรือตัวธรรมที่แท้จริง
onion onion
:b36:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 18:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คูณอโศกบอกวิธีปฏิบัติเค้าชัดๆสิครับ :b8: เพื่อว่าใครต่อใครจะนำไปใช้กันได้ :b31:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 18:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อโสกะ....พูดไม่หมด...
จะท่องตำราหรือไม่ท่องตำรา.....จุดมันอยู่ที่....จิตเป็นสมาธิ....พ้นจากนิวรณ์....ต่างหาก

ความคิด...ที่เกิดตอนนั้น...คือ..การทำงานที่แท้จริง...

บางที...ความคิดดี..ดี....ก็อาจไม่ใช่เราคิดเองก็มี....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หากเข้าใจความหมายคำว่า "กััมมัฏฐาน" แล้วจะไปสับสนเรื่องความคิดอะไรเลย :b1:

กัมมัฏฐาน (หลบใช้คำว่า "แปลว่า" เพื่อให้โฮฮัีบเข้าใจด้วย) หมายถึงที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต หรือที่ให้จิตทำงาน คือ สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา หรืออุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำสมาธิ เพื่อที่จิตจะได้มีงานทำเป็นเรื่องเป็นราว สงบอยู่ที่ได้ ไม่เที่ยวแล่นเตลิดหรือเลื่อนลยฟุ้งซ่านไปอย่างไร้จุดหมาย


พูดสั้นๆ กัมมัฏฐาน คือ สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ของจิตที่จะชักนำให้เกิดสมาธิ หรืออะไรก็ได้ที่พอจิตเพ่งหรือจับแล้ว จะช่วยให้จิตแน่วแน่อยู่กับมัน เป็นสมาธิได้เร็ว และมั่นคงที่สุด พูดให้สั้นที่สุดว่า สิ่งที่ใช้ฝึกจิตฝึกสมาธิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 04:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b37:
ท่านที่ประสงค์จะไปปฏิบัติธรรม หรือพูดให้ดูแปลกใหม่ว่า "ปรนนิบัติธรรม" ตัวจริง ต้องเอาตัว ใจ ของตนเองข้ามผ่านด่านแห่ง ความนึกคิด (จิตสังขาร หรือ อุทธัจจะ) ไปให้ได้เป็นพักๆ เสียก่อนจึงจะได้พบธรรมตัวจริงเห็นธรรมตัวจริง ชัดขึ้นมาในกายและจิต


จะสรรหาคำมาพูดให้ตัวเองสับสนทำไมหนออุ้ยโสฯ(ใจเด็ก) :b9:

หยิบคำโน้นมาสมคำนี้ให้วุ่นวายไปหมด มาบอกให้ชาวบ้านข้ามด่านความคิด
แต่ดูตัวทำซิ เอาคำโน้นนี่นั้นมาปรุงแต่ง แบบนี้เรียกอะไรครับ

ที่โสกะกำลังทำอยู่มันหนักกว่าความคิดเสียอีก
เอาความคิดไปปรุงแต่ง จนเกิดกายสังขาร จวีสังขาร

เอาเรื่องความคิด จิตสังขาร อุทธัจจะ มาพูดผสมปนเปกันไปหมด
สอนเท่าไรไม่จำว่า ถ้าไม่รู้ก็อย่าพยายามเอาศัพท์แสงมาใช้มากเกินควร

โสกะจะบอกให้ความคิดมันเป็น ธรรมชาติ มันขึ้นอยู่กับกฎของอิทัปปจยตา
เพราะบุคคลยังมีรูปนามอยู่ ย่อมต้องมีความคิด พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิต ก็ยังมีความคิด

เราต้องเข้าใจความคิดด้วย....อนัตตา แบบนี้ถึงจะถูก
ไม่ใช่มาบอกให้ชาวบ้านก้าวข้ามความคิด

เพราะความไม่รู้ในเหตุปัจจัยของโสกะ เลยเอาจิตสังขารมาเป็นความคิด
ไม่รู้เลยว่า มันเป็นคนล่ะอย่างกัน
ถ้ามาบอกว่า ให้ก้าวข้ามความคิดแบบนี้เรียกว่า มีอวิชา ไม่รู้ถึงสภาพธรรมที่เรียกว่า
ความคิด

asoka เขียน:
:b37:

"สมมุติ บังปรมัตถ์ บัญญัติ บังความจริง" ถ้าจิตยังคิดนึก วิตกวิจารณ์ธรรม ไปตามคัมภีร์ ตำหรับตำรา และสิ่งได้รำ่เรียนรู้มา มันจะได้รับได้รู้แต่ธรรมที่เป็นแต่ตัวหนังสือหรือคำพูด


ใครบอกโสกะครับว่า สมมุติบังปรมัตถ์ แบบนี้เรียกว่า..เละจนเลอะ
โสกะไปเห็นคำศัพท์แปลกๆเท่ๆ ก็เอามาพูดโดยขาดความเข้าใจ แบบนี้ทำให้พระธรมเพี้ยนหมด

ฟังให้ดีน่ะโสกะ......สิ่งที่บดบังปรมัตถ์ที่แท้คือ...อวิชา
แต่ถ้าเอาเหตุปัจจัยที่โสกะยกมา สมมุติไม่ได้บดบังปรมัตถ์ สิ่งที่บดบังปรมัตถ์คือบัญญัติ

ในส่วนของสมมุติ ........

สมมุติมีความสำคัญ เป็นสิ่งที่เราต้องปฏิบัติต่อสมมติ เราต้องทำสมมุติให้แจ้ง
การทำให้แจ้งหมายความว่า แจ้งในปรมัตถ์ คือแยกว่าธรรมชาติใดเป็นสมมติ
และธรรมชาติใดเป็นปรมัตถ์


asoka เขียน:
เมื่อไหร่เจริญภาวนาจนเอาชนะอุทธัจจะนิวรณ์ได้ชั่วคราวแล้วจึงจะได้สัมผัส สภาวะ สภาวัง หรือตัวธรรมที่แท้จริง


:b32: โสกะคำพูดความเห็นนี่แหล่ะ เขาเรียกกายกรรม วจีกรรม ถูกจิตสังขารเล่นงาน
โดนอุทธัจจะเล่นงานซะอ่วมยังไม่รู้ตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 05:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
หากเข้าใจความหมายคำว่า "กััมมัฏฐาน" แล้วจะไปสับสนเรื่องความคิดอะไรเลย :b1:
กัมมัฏฐาน (หลบใช้คำว่า "แปลว่า" เพื่อให้โฮฮัีบเข้าใจด้วย) หมายถึงที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต หรือที่ให้จิตทำงาน คือ สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา หรืออุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำสมาธิ เพื่อที่จิตจะได้มีงานทำเป็นเรื่องเป็นราว สงบอยู่ที่ได้ ไม่เที่ยวแล่นเตลิดหรือเลื่อนลยฟุ้งซ่านไปอย่างไร้จุดหมาย


พูดสั้นๆ กัมมัฏฐาน คือ สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ของจิตที่จะชักนำให้เกิดสมาธิ หรืออะไรก็ได้ที่พอจิตเพ่งหรือจับแล้ว จะช่วยให้จิตแน่วแน่อยู่กับมัน เป็นสมาธิได้เร็ว และมั่นคงที่สุด พูดให้สั้นที่สุดว่า สิ่งที่ใช้ฝึกจิตฝึกสมาธิ



จากความเห็นของกรัชกาย พี่โฮขอนอกประเด็นกับความเห็นนี้หน่อย
ไม่ใช่อะไรหรอก เพียงแต่จะแนะนำให้กรัชกายมีความเข้าใจกับภาษา
เวลาเอาไปใช้หรือแสดงความเห็นมันจะได้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น

คำศัพท์.....หมายถึง กลุ่มคำหรือภาษาที่ใช้กันในสังคมใดสังคมหนึ่ง
อย่างเช่น ภาษาไทย....ภาษาอังกฤษ...ภาษาบาลี..สันสกฤตฯลฯ

คำแปล......หมายถึง บัญญัติหรือภาษาที่มีความหมายตรงกันอย่างเดียวกัน
กับบัญญัติหรือภาษาอื่นๆ เช่น eat แปลว่ากิน กมฺมแปลว่าทำฯลฯ

ความหมาย....หมายถึง สิ่งที่สื่อให้รู้ว่า คำศัพท์กับคำแปล ต้องมีความหมายเดียวกัน
เช่น eatกับกิน ต้องสื่อไปในทางเดียวกัน......คืออาการของการเอาอาหารเข้าปาก


อยากชี้ถึงปัญหาที่มักจะเกิดกับกรัชกาย นั้นคือความไม่เข้าใจในภาษา
อย่างเช่น บางครั้งภาษาที่เราใช้ ไม่มีคำศัพท์ที่ตรงกับภาษาอื่น
หมายความว่าเรายังไม่มีคำศัพท์ ที่แสดงอาการนั้น จึงจำเป็นต้องใช้คำทับศัพท์
หรือเรียกว่ายืมคำเขามาใช้ เช่น ก๋วยเตี๋ยว คอมพิวเตอร์ฯลฯ

เช่นเดียวกัน ภาษาบาลีบางคำมันไม่มีคำเฉพาะในภาษาไทย
คำบางคำที่ใช้ในภาษาไทยจึงทับศัพท์บาลี.......
ด้วยเหตุนี้คำศัพท์นั้น ย่อมต้องไม่มีคำแปล เพราะมันเป็นคำทับศัพท์


ประเด็นที่กรัชกายมักชอบก่อปัญหาก็คือ มักจะถามคำแปล หลังจากที่เขาอธิบายความหมาย
ของคำศัพท์ ซึ่งคำศัพท์นั้นเป็นบาลีที่ไม่มีคำในภาษาไทย
ที่เห็นเป็นภาษาไทยเป็นเพียงคำที่ยืมมาจากบาลี แล้วแปลงรูปแต่คงเสียงบาลีต้นแบบไว้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 05:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
หากเข้าใจความหมายคำว่า "กััมมัฏฐาน" แล้วจะไปสับสนเรื่องความคิดอะไรเลย :b1:
กัมมัฏฐาน (หลบใช้คำว่า "แปลว่า" เพื่อให้โฮฮัีบเข้าใจด้วย) หมายถึงที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต หรือที่ให้จิตทำงาน คือ สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา หรืออุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำสมาธิ เพื่อที่จิตจะได้มีงานทำเป็นเรื่องเป็นราว สงบอยู่ที่ได้ ไม่เที่ยวแล่นเตลิดหรือเลื่อนลยฟุ้งซ่านไปอย่างไร้จุดหมาย


พูดสั้นๆ กัมมัฏฐาน คือ สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ของจิตที่จะชักนำให้เกิดสมาธิ หรืออะไรก็ได้ที่พอจิตเพ่งหรือจับแล้ว จะช่วยให้จิตแน่วแน่อยู่กับมัน เป็นสมาธิได้เร็ว และมั่นคงที่สุด พูดให้สั้นที่สุดว่า สิ่งที่ใช้ฝึกจิตฝึกสมาธิ



จากความเห็นของกรัชกาย พี่โฮขอนอกประเด็นกับความเห็นนี้หน่อย
ไม่ใช่อะไรหรอก เพียงแต่จะแนะนำให้กรัชกายมีความเข้าใจกับภาษา
เวลาเอาไปใช้หรือแสดงความเห็นมันจะได้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น

คำศัพท์.....หมายถึง กลุ่มคำหรือภาษาที่ใช้กันในสังคมใดสังคมหนึ่ง
อย่างเช่น ภาษาไทย....ภาษาอังกฤษ...ภาษาบาลี..สันสกฤตฯลฯ

คำแปล......หมายถึง บัญญัติหรือภาษาที่มีความหมายตรงกันอย่างเดียวกัน
กับบัญญัติหรือภาษาอื่นๆ เช่น eat แปลว่ากิน กมฺมแปลว่าทำฯลฯ

ความหมาย....หมายถึง สิ่งที่สื่อให้รู้ว่า คำศัพท์กับคำแปล ต้องมีความหมายเดียวกัน
เช่น eatกับกิน ต้องสื่อไปในทางเดียวกัน......คืออาการของการเอาอาหารเข้าปาก


อยากชี้ถึงปัญหาที่มักจะเกิดกับกรัชกาย นั้นคือความไม่เข้าใจในภาษา
อย่างเช่น บางครั้งภาษาที่เราใช้ ไม่มีคำศัพท์ที่ตรงกับภาษาอื่น
หมายความว่าเรายังไม่มีคำศัพท์ ที่แสดงอาการนั้น จึงจำเป็นต้องใช้คำทับศัพท์
หรือเรียกว่ายืมคำเขามาใช้ เช่น ก๋วยเตี๋ยว คอมพิวเตอร์ฯลฯ

เช่นเดียวกัน ภาษาบาลีบางคำมันไม่มีคำเฉพาะในภาษาไทย
คำบางคำที่ใช้ในภาษาไทยจึงทับศัพท์บาลี.......
ด้วยเหตุนี้คำศัพท์นั้น ย่อมต้องไม่มีคำแปล เพราะมันเป็นคำทับศัพท์


ประเด็นที่กรัชกายมักชอบก่อปัญหาก็คือ มักจะถามคำแปล หลังจากที่เขาอธิบายความหมาย
ของคำศัพท์ ซึ่งคำศัพท์นั้นเป็นบาลีที่ไม่มีคำในภาษาไทย
ที่เห็นเป็นภาษาไทยเป็นเพียงคำที่ยืมมาจากบาลี แล้วแปลงรูปแต่คงเสียงบาลีต้นแบบไว้



อุตสาห์นั่งจิ้มแป้นมาสะยืดยาว เห็นแต่น้ำ เนื้อไม่มี

ถามสั้นๆ ในความคิดของโฮฮับ "กัมมัฏฐาน" หมายถึงอะไร ?

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b37:
ท่านที่ประสงค์จะไปปฏิบัติธรรม หรือพูดให้ดูแปลกใหม่ว่า "ปรนนิบัติธรรม" ตัวจริง ต้องเอาตัว ใจ ของตนเองข้ามผ่านด่านแห่ง ความนึกคิด (จิตสังขาร หรือ อุทธัจจะ) ไปให้ได้เป็นพักๆ เสียก่อนจึงจะได้พบธรรมตัวจริงเห็นธรรมตัวจริง ชัดขึ้นมาในกายและจิต

"สมมุติ บังปรมัตถ์ บัญญัติ บังความจริง" ถ้าจิตยังคิดนึก วิตกวิจารณ์ธรรม ไปตามคัมภีร์ ตำหรับตำรา และสิ่งได้รำ่เรียนรู้มา มันจะได้รับได้รู้แต่ธรรมที่เป็นแต่ตัวหนังสือหรือคำพูด

เมื่อไหร่เจริญภาวนาจนเอาชนะอุทธัจจะนิวรณ์ได้ชั่วคราวแล้วจึงจะได้สัมผัส สภาวะ สภาวัง หรือตัวธรรมที่แท้จริง
onion onion
:b36:

ถามหน่อยแล้วเมื่อเจริญภาวนาจนเอาชนะ อุทธัจจะนิวรณ์ได้ชั่วคราวแล้ว เกิดสภาวะตัวธรรมแท้
ตัวธรรมแท้คืออะไร :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
หากเข้าใจความหมายคำว่า "กััมมัฏฐาน" แล้วจะไปสับสนเรื่องความคิดอะไรเลย :b1:
กัมมัฏฐาน (หลบใช้คำว่า "แปลว่า" เพื่อให้โฮฮัีบเข้าใจด้วย) หมายถึงที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต หรือที่ให้จิตทำงาน คือ สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา หรืออุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำสมาธิ เพื่อที่จิตจะได้มีงานทำเป็นเรื่องเป็นราว สงบอยู่ที่ได้ ไม่เที่ยวแล่นเตลิดหรือเลื่อนลยฟุ้งซ่านไปอย่างไร้จุดหมาย


พูดสั้นๆ กัมมัฏฐาน คือ สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ของจิตที่จะชักนำให้เกิดสมาธิ หรืออะไรก็ได้ที่พอจิตเพ่งหรือจับแล้ว จะช่วยให้จิตแน่วแน่อยู่กับมัน เป็นสมาธิได้เร็ว และมั่นคงที่สุด พูดให้สั้นที่สุดว่า สิ่งที่ใช้ฝึกจิตฝึกสมาธิ



จากความเห็นของกรัชกาย พี่โฮขอนอกประเด็นกับความเห็นนี้หน่อย
ไม่ใช่อะไรหรอก เพียงแต่จะแนะนำให้กรัชกายมีความเข้าใจกับภาษา
เวลาเอาไปใช้หรือแสดงความเห็นมันจะได้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น

คำศัพท์.....หมายถึง กลุ่มคำหรือภาษาที่ใช้กันในสังคมใดสังคมหนึ่ง
อย่างเช่น ภาษาไทย....ภาษาอังกฤษ...ภาษาบาลี..สันสกฤตฯลฯ

คำแปล......หมายถึง บัญญัติหรือภาษาที่มีความหมายตรงกันอย่างเดียวกัน
กับบัญญัติหรือภาษาอื่นๆ เช่น eat แปลว่ากิน กมฺมแปลว่าทำฯลฯ

ความหมาย....หมายถึง สิ่งที่สื่อให้รู้ว่า คำศัพท์กับคำแปล ต้องมีความหมายเดียวกัน
เช่น eatกับกิน ต้องสื่อไปในทางเดียวกัน......คืออาการของการเอาอาหารเข้าปาก


อยากชี้ถึงปัญหาที่มักจะเกิดกับกรัชกาย นั้นคือความไม่เข้าใจในภาษา
อย่างเช่น บางครั้งภาษาที่เราใช้ ไม่มีคำศัพท์ที่ตรงกับภาษาอื่น
หมายความว่าเรายังไม่มีคำศัพท์ ที่แสดงอาการนั้น จึงจำเป็นต้องใช้คำทับศัพท์
หรือเรียกว่ายืมคำเขามาใช้ เช่น ก๋วยเตี๋ยว คอมพิวเตอร์ฯลฯ

เช่นเดียวกัน ภาษาบาลีบางคำมันไม่มีคำเฉพาะในภาษาไทย
คำบางคำที่ใช้ในภาษาไทยจึงทับศัพท์บาลี.......
ด้วยเหตุนี้คำศัพท์นั้น ย่อมต้องไม่มีคำแปล เพราะมันเป็นคำทับศัพท์


ประเด็นที่กรัชกายมักชอบก่อปัญหาก็คือ มักจะถามคำแปล หลังจากที่เขาอธิบายความหมาย
ของคำศัพท์ ซึ่งคำศัพท์นั้นเป็นบาลีที่ไม่มีคำในภาษาไทย
ที่เห็นเป็นภาษาไทยเป็นเพียงคำที่ยืมมาจากบาลี แล้วแปลงรูปแต่คงเสียงบาลีต้นแบบไว้



อุตสาห์นั่งจิ้มแป้นมาสะยืดยาว เห็นแต่น้ำ เนื้อไม่มี

ถามสั้นๆ ในความคิดของโฮฮับ "กัมมัฏฐาน" หมายถึงอะไร ?



อ้ออ๋อ หรือว่านี่คือคำตอบ

ด้วยเหตุนี้คำศัพท์นั้น ย่อมต้องไม่มีคำแปล เพราะมันเป็นคำทับศัพท์



"ด้วยเหตุนี้คำศัพท์นั้น ย่อมต้องไม่มีคำแปล เพราะมันเป็นคำทับศัพท์"

ถึงจะตอบเลี่ยงบาลีไปยังงั้น ก็อดมีคำถามไม่ได้ว่า แล้วทับๆโดยไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าคำว่า กัมมัฏฐาน หมายถึงอะไร จะนำไปใช้ไปปฏิบัติกันยัีงไงอิท่าไหน หรือเพียงพูดๆว่ากัมมัฏฐานๆ สมาธิๆ วิปัสสนาๆ สติๆ พอแล้วจบแล้ว ยังงี้ใช่ไหมครับนะ

ขอคำยืนยันสั้นๆ ใช่ ไม่ใช่ แล้วจะไม่ถามความหมายศัพท์บาลีอีก :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 20:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
asoka เขียน:
:b37:
ท่านที่ประสงค์จะไปปฏิบัติธรรม หรือพูดให้ดูแปลกใหม่ว่า "ปรนนิบัติธรรม" ตัวจริง ต้องเอาตัว ใจ ของตนเองข้ามผ่านด่านแห่ง ความนึกคิด (จิตสังขาร หรือ อุทธัจจะ) ไปให้ได้เป็นพักๆ เสียก่อนจึงจะได้พบธรรมตัวจริงเห็นธรรมตัวจริง ชัดขึ้นมาในกายและจิต


จะสรรหาคำมาพูดให้ตัวเองสับสนทำไมหนออุ้ยโสฯ(ใจเด็ก) :b9:

หยิบคำโน้นมาสมคำนี้ให้วุ่นวายไปหมด มาบอกให้ชาวบ้านข้ามด่านความคิด
แต่ดูตัวทำซิ เอาคำโน้นนี่นั้นมาปรุงแต่ง แบบนี้เรียกอะไรครับ

ที่โสกะกำลังทำอยู่มันหนักกว่าความคิดเสียอีก
เอาความคิดไปปรุงแต่ง จนเกิดกายสังขาร จวีสังขาร

เอาเรื่องความคิด จิตสังขาร อุทธัจจะ มาพูดผสมปนเปกันไปหมด
สอนเท่าไรไม่จำว่า ถ้าไม่รู้ก็อย่าพยายามเอาศัพท์แสงมาใช้มากเกินควร

โสกะจะบอกให้ความคิดมันเป็น ธรรมชาติ มันขึ้นอยู่กับกฎของอิทัปปจยตา
เพราะบุคคลยังมีรูปนามอยู่ ย่อมต้องมีความคิด พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิต ก็ยังมีความคิด

เราต้องเข้าใจความคิดด้วย....อนัตตา แบบนี้ถึงจะถูก
ไม่ใช่มาบอกให้ชาวบ้านก้าวข้ามความคิด

เพราะความไม่รู้ในเหตุปัจจัยของโสกะ เลยเอาจิตสังขารมาเป็นความคิด
ไม่รู้เลยว่า มันเป็นคนล่ะอย่างกัน
ถ้ามาบอกว่า ให้ก้าวข้ามความคิดแบบนี้เรียกว่า มีอวิชา ไม่รู้ถึงสภาพธรรมที่เรียกว่า
ความคิด

asoka เขียน:
:b37:

"สมมุติ บังปรมัตถ์ บัญญัติ บังความจริง" ถ้าจิตยังคิดนึก วิตกวิจารณ์ธรรม ไปตามคัมภีร์ ตำหรับตำรา และสิ่งได้รำ่เรียนรู้มา มันจะได้รับได้รู้แต่ธรรมที่เป็นแต่ตัวหนังสือหรือคำพูด


ใครบอกโสกะครับว่า สมมุติบังปรมัตถ์ แบบนี้เรียกว่า..เละจนเลอะ
โสกะไปเห็นคำศัพท์แปลกๆเท่ๆ ก็เอามาพูดโดยขาดความเข้าใจ แบบนี้ทำให้พระธรมเพี้ยนหมด

ฟังให้ดีน่ะโสกะ......สิ่งที่บดบังปรมัตถ์ที่แท้คือ...อวิชา
แต่ถ้าเอาเหตุปัจจัยที่โสกะยกมา สมมุติไม่ได้บดบังปรมัตถ์ สิ่งที่บดบังปรมัตถ์คือบัญญัติ

ในส่วนของสมมุติ ........

สมมุติมีความสำคัญ เป็นสิ่งที่เราต้องปฏิบัติต่อสมมติ เราต้องทำสมมุติให้แจ้ง
การทำให้แจ้งหมายความว่า แจ้งในปรมัตถ์ คือแยกว่าธรรมชาติใดเป็นสมมติ
และธรรมชาติใดเป็นปรมัตถ์


asoka เขียน:
เมื่อไหร่เจริญภาวนาจนเอาชนะอุทธัจจะนิวรณ์ได้ชั่วคราวแล้วจึงจะได้สัมผัส สภาวะ สภาวัง หรือตัวธรรมที่แท้จริง


:b32: โสกะคำพูดความเห็นนี่แหล่ะ เขาเรียกกายกรรม วจีกรรม ถูกจิตสังขารเล่นงาน
โดนอุทธัจจะเล่นงานซะอ่วมยังไม่รู้ตัว

I :b12:
พอเปิดฉากเข้ามาได้ก็ขวางธรรมเลยนะโฮฮับ

ใครฟุ้งซ่านกว่าใคร ก็ลองดูจำนวนตัวอักษรที่พิมพ์ในกระทู้ตอนนี้นะครับ กระทู้เขาตั้งไว้ดีแล้ว ย่นย่อ ลัดสั้น เข้าใจง่ายๆ คุณโฮกลับมาทำให้วุ่นวาย เข้าใจยาก เหมือนมาชักใบให้เรือเสียๆยังงั้นแหละ

เอาสั้นเข้าไปอีกไม่รู้ว่าโฮฮับจะเข้าใจได้หรือเปล่า

"หยุดความคิดนึกได้ ก็พบธรรม"

จะหยุดความคิดนึกได้ยังไงเดี๋ยวมาคุยกันต่อ เพราะนี่ท่านกรัชกายก็กำลังจ่อจะอธิบายอยู่แล้วครับ
:b51:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 12:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


เคยได้ยินคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อลุโต คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดได้จึงรู้ แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละจึงรู้ (ถ้ามีใครเคยผ่านสภาวะนี้มาก็ต้องรู้อยู่แล้วว่าหลวงปู่หมายถึงอะไร)
แล้วเอาประโยค หมดนึกคิดจะพบธรรมแท้ มีนึกคิดจะพบธรรมเทียมมาละเลงเป็นธรรมมะ มันน่าหัวเราะเสียจริงๆ
เล่นเอาธรรมมะของพระพุทธองค์เละตุ้มเป๊ะ onion คิดเองพุดเองไม่มีหลักปฏิบัติเทียบเคียงสภาวะ สภาวะคิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดได้จึงรู้ แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละจึงรู้ เป็นผลมาจากการปฏิบัติที่เกิดจากตัวปัญญาน้อมสิ่งนั้นมาพิจารณา เพราะเมื่อจิตมีสมาธิแล้วเกิดตัวรู้ชัดเมื่อเิกิดตัวรู้ชัด สติก็มาปัญญาก็เกิดตามมาเอง เมื่อปัญญาเกิดก็สามารถน้อมจิตมาพิจารณาธรรมนั้นๆได้โดยอาศัย การโยนิโสมนสิการ ไปฟังคำสอนของพระพุทธองค์ทรงตรัษไว้จากพระโอษฐ์ดีกว่า
โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑
โยนิโสมนสิการเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๖] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน
สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความ
บังเกิดแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจ
โดยแยบคาย ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจ
โดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่ง
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.
[๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อม
เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่าง
ไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน
การสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรค
อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๒
โยนิโสมนสิการเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๔๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่
ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน
เพื่อความเกิดแห่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้
ในใจโดยแยบคาย ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้
ในใจโดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มาก
ซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘.
[๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อม
เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไร
เล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิมีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็น
ที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอัน
กำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำ
ไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค
ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 13:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
โฮฮับ เขียน:
asoka เขียน:
:b37:
ท่านที่ประสงค์จะไปปฏิบัติธรรม หรือพูดให้ดูแปลกใหม่ว่า "ปรนนิบัติธรรม" ตัวจริง ต้องเอาตัว ใจ ของตนเองข้ามผ่านด่านแห่ง ความนึกคิด (จิตสังขาร หรือ อุทธัจจะ) ไปให้ได้เป็นพักๆ เสียก่อนจึงจะได้พบธรรมตัวจริงเห็นธรรมตัวจริง ชัดขึ้นมาในกายและจิต


จะสรรหาคำมาพูดให้ตัวเองสับสนทำไมหนออุ้ยโสฯ(ใจเด็ก) :b9:

หยิบคำโน้นมาสมคำนี้ให้วุ่นวายไปหมด มาบอกให้ชาวบ้านข้ามด่านความคิด
แต่ดูตัวทำซิ เอาคำโน้นนี่นั้นมาปรุงแต่ง แบบนี้เรียกอะไรครับ

ที่โสกะกำลังทำอยู่มันหนักกว่าความคิดเสียอีก
เอาความคิดไปปรุงแต่ง จนเกิดกายสังขาร จวีสังขาร

เอาเรื่องความคิด จิตสังขาร อุทธัจจะ มาพูดผสมปนเปกันไปหมด
สอนเท่าไรไม่จำว่า ถ้าไม่รู้ก็อย่าพยายามเอาศัพท์แสงมาใช้มากเกินควร

โสกะจะบอกให้ความคิดมันเป็น ธรรมชาติ มันขึ้นอยู่กับกฎของอิทัปปจยตา
เพราะบุคคลยังมีรูปนามอยู่ ย่อมต้องมีความคิด พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิต ก็ยังมีความคิด

เราต้องเข้าใจความคิดด้วย....อนัตตา แบบนี้ถึงจะถูก
ไม่ใช่มาบอกให้ชาวบ้านก้าวข้ามความคิด

เพราะความไม่รู้ในเหตุปัจจัยของโสกะ เลยเอาจิตสังขารมาเป็นความคิด
ไม่รู้เลยว่า มันเป็นคนล่ะอย่างกัน
ถ้ามาบอกว่า ให้ก้าวข้ามความคิดแบบนี้เรียกว่า มีอวิชา ไม่รู้ถึงสภาพธรรมที่เรียกว่า
ความคิด

asoka เขียน:
:b37:

"สมมุติ บังปรมัตถ์ บัญญัติ บังความจริง" ถ้าจิตยังคิดนึก วิตกวิจารณ์ธรรม ไปตามคัมภีร์ ตำหรับตำรา และสิ่งได้รำ่เรียนรู้มา มันจะได้รับได้รู้แต่ธรรมที่เป็นแต่ตัวหนังสือหรือคำพูด


ใครบอกโสกะครับว่า สมมุติบังปรมัตถ์ แบบนี้เรียกว่า..เละจนเลอะ
โสกะไปเห็นคำศัพท์แปลกๆเท่ๆ ก็เอามาพูดโดยขาดความเข้าใจ แบบนี้ทำให้พระธรมเพี้ยนหมด

ฟังให้ดีน่ะโสกะ......สิ่งที่บดบังปรมัตถ์ที่แท้คือ...อวิชา
แต่ถ้าเอาเหตุปัจจัยที่โสกะยกมา สมมุติไม่ได้บดบังปรมัตถ์ สิ่งที่บดบังปรมัตถ์คือบัญญัติ

ในส่วนของสมมุติ ........

สมมุติมีความสำคัญ เป็นสิ่งที่เราต้องปฏิบัติต่อสมมติ เราต้องทำสมมุติให้แจ้ง
การทำให้แจ้งหมายความว่า แจ้งในปรมัตถ์ คือแยกว่าธรรมชาติใดเป็นสมมติ
และธรรมชาติใดเป็นปรมัตถ์


asoka เขียน:
เมื่อไหร่เจริญภาวนาจนเอาชนะอุทธัจจะนิวรณ์ได้ชั่วคราวแล้วจึงจะได้สัมผัส สภาวะ สภาวัง หรือตัวธรรมที่แท้จริง


:b32: โสกะคำพูดความเห็นนี่แหล่ะ เขาเรียกกายกรรม วจีกรรม ถูกจิตสังขารเล่นงาน
โดนอุทธัจจะเล่นงานซะอ่วมยังไม่รู้ตัว

I :b12:
พอเปิดฉากเข้ามาได้ก็ขวางธรรมเลยนะโฮฮับ

ใครฟุ้งซ่านกว่าใคร ก็ลองดูจำนวนตัวอักษรที่พิมพ์ในกระทู้ตอนนี้นะครับ กระทู้เขาตั้งไว้ดีแล้ว ย่นย่อ ลัดสั้น เข้าใจง่ายๆ คุณโฮกลับมาทำให้วุ่นวาย เข้าใจยาก เหมือนมาชักใบให้เรือเสียๆยังงั้นแหละ

เอาสั้นเข้าไปอีกไม่รู้ว่าโฮฮับจะเข้าใจได้หรือเปล่า

"หยุดความคิดนึกได้ ก็พบธรรม"

จะหยุดความคิดนึกได้ยังไงเดี๋ยวมาคุยกันต่อ เพราะนี่ท่านกรัชกายก็กำลังจ่อจะอธิบายอยู่แล้วครับ
:b51:

อุ้ยนี่ไม่ยอมที่จะเข้าใจอะไรเลย ทำเป็นไม้แก่ดัดยากอยู่นั้นแหล่ะ :b32:

ใครเขาให้หยุด"คิดนึก"กันครับ มันต้องคิดก็รู้กำลังคิด เขาให้รู้เฉยๆ
ไม่ใช่ไปหยุดความคิดนึก
อุ้ยชอบเล่นคำเล่นภาษาหลงแล้วก็ไม่รู้ตัว
สำบัดสำนวนที่อุ้ยใช้ เก็บๆไว้บ้างก็ดีครับ
หรือเอาไว้จีบสาวอย่างเดียวก็พอครับ ท่านผู้อาวุโส(หัวใจเด็กวัยรุ่น) :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 20:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
asoka เขียน:
:b37:
ท่านที่ประสงค์จะไปปฏิบัติธรรม หรือพูดให้ดูแปลกใหม่ว่า "ปรนนิบัติธรรม" ตัวจริง ต้องเอาตัว ใจ ของตนเองข้ามผ่านด่านแห่ง ความนึกคิด (จิตสังขาร หรือ อุทธัจจะ) ไปให้ได้เป็นพักๆ เสียก่อนจึงจะได้พบธรรมตัวจริงเห็นธรรมตัวจริง ชัดขึ้นมาในกายและจิต

"สมมุติ บังปรมัตถ์ บัญญัติ บังความจริง" ถ้าจิตยังคิดนึก วิตกวิจารณ์ธรรม ไปตามคัมภีร์ ตำหรับตำรา และสิ่งได้รำ่เรียนรู้มา มันจะได้รับได้รู้แต่ธรรมที่เป็นแต่ตัวหนังสือหรือคำพูด

เมื่อไหร่เจริญภาวนาจนเอาชนะอุทธัจจะนิวรณ์ได้ชั่วคราวแล้วจึงจะได้สัมผัส สภาวะ สภาวัง หรือตัวธรรมที่แท้จริง
onion onion
:b36:

ถามหน่อยแล้วเมื่อเจริญภาวนาจนเอาชนะ อุทธัจจะนิวรณ์ได้ชั่วคราวแล้ว เกิดสภาวะตัวธรรมแท้
ตัวธรรมแท้คืออะไร :b13:

:b16:
ตัวธรรมแท้คือสภาวธรรมหรือความจริงที่ปรากฏให้รู้อยู่เฉพาะหน้าโดยไม่ต้องมีสมมุติบัญัติอะไรมาบรรยาย เป็นความรู้ที่ใจตรงๆ
เช่น เสียงนกกระทบหู จิตจะรู้แค่ว่าเสียง ไม่มีความปรุงแต่งคิดนึกบอกว่าเป็นเสียงนก
ตากระทบรูป จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรส ใจกระทยอารมณ์ ก็จะมีเพียงความรู้รูป กลิ่น รส อารมณ์แต่ไม่มีความคิดนึกปรุงแต่งว่าเป็นอะไร รู้เฉยๆ รู้ซื่อๆ

เมื่เป็นได้อย่างนี้ก็จะมีแต่ความจิงมากระทบให้รู้ทางทวารทั้ง 6 แล้วดับไป เวทนาเกิดขึ้นให้รู้แล้วทางกายทางจิตเกิดขึ้นให้รู้แล้วดับไป ธรรมารมณ์เกิดขึ้นใหตู้แล้วดับไป

:b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 20:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
asoka เขียน:
โฮฮับ เขียน:
asoka เขียน:
:b37:
ท่านที่ประสงค์จะไปปฏิบัติธรรม หรือพูดให้ดูแปลกใหม่ว่า "ปรนนิบัติธรรม" ตัวจริง ต้องเอาตัว ใจ ของตนเองข้ามผ่านด่านแห่ง ความนึกคิด (จิตสังขาร หรือ อุทธัจจะ) ไปให้ได้เป็นพักๆ เสียก่อนจึงจะได้พบธรรมตัวจริงเห็นธรรมตัวจริง ชัดขึ้นมาในกายและจิต


จะสรรหาคำมาพูดให้ตัวเองสับสนทำไมหนออุ้ยโสฯ(ใจเด็ก) :b9:

หยิบคำโน้นมาสมคำนี้ให้วุ่นวายไปหมด มาบอกให้ชาวบ้านข้ามด่านความคิด
แต่ดูตัวทำซิ เอาคำโน้นนี่นั้นมาปรุงแต่ง แบบนี้เรียกอะไรครับ

ที่โสกะกำลังทำอยู่มันหนักกว่าความคิดเสียอีก
เอาความคิดไปปรุงแต่ง จนเกิดกายสังขาร จวีสังขาร

เอาเรื่องความคิด จิตสังขาร อุทธัจจะ มาพูดผสมปนเปกันไปหมด
สอนเท่าไรไม่จำว่า ถ้าไม่รู้ก็อย่าพยายามเอาศัพท์แสงมาใช้มากเกินควร

โสกะจะบอกให้ความคิดมันเป็น ธรรมชาติ มันขึ้นอยู่กับกฎของอิทัปปจยตา
เพราะบุคคลยังมีรูปนามอยู่ ย่อมต้องมีความคิด พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิต ก็ยังมีความคิด

เราต้องเข้าใจความคิดด้วย....อนัตตา แบบนี้ถึงจะถูก
ไม่ใช่มาบอกให้ชาวบ้านก้าวข้ามความคิด

เพราะความไม่รู้ในเหตุปัจจัยของโสกะ เลยเอาจิตสังขารมาเป็นความคิด
ไม่รู้เลยว่า มันเป็นคนล่ะอย่างกัน
ถ้ามาบอกว่า ให้ก้าวข้ามความคิดแบบนี้เรียกว่า มีอวิชา ไม่รู้ถึงสภาพธรรมที่เรียกว่า
ความคิด

asoka เขียน:
:b37:

"สมมุติ บังปรมัตถ์ บัญญัติ บังความจริง" ถ้าจิตยังคิดนึก วิตกวิจารณ์ธรรม ไปตามคัมภีร์ ตำหรับตำรา และสิ่งได้รำ่เรียนรู้มา มันจะได้รับได้รู้แต่ธรรมที่เป็นแต่ตัวหนังสือหรือคำพูด


ใครบอกโสกะครับว่า สมมุติบังปรมัตถ์ แบบนี้เรียกว่า..เละจนเลอะ
โสกะไปเห็นคำศัพท์แปลกๆเท่ๆ ก็เอามาพูดโดยขาดความเข้าใจ แบบนี้ทำให้พระธรมเพี้ยนหมด

ฟังให้ดีน่ะโสกะ......สิ่งที่บดบังปรมัตถ์ที่แท้คือ...อวิชา
แต่ถ้าเอาเหตุปัจจัยที่โสกะยกมา สมมุติไม่ได้บดบังปรมัตถ์ สิ่งที่บดบังปรมัตถ์คือบัญญัติ

ในส่วนของสมมุติ ........

สมมุติมีความสำคัญ เป็นสิ่งที่เราต้องปฏิบัติต่อสมมติ เราต้องทำสมมุติให้แจ้ง
การทำให้แจ้งหมายความว่า แจ้งในปรมัตถ์ คือแยกว่าธรรมชาติใดเป็นสมมติ
และธรรมชาติใดเป็นปรมัตถ์


asoka เขียน:
เมื่อไหร่เจริญภาวนาจนเอาชนะอุทธัจจะนิวรณ์ได้ชั่วคราวแล้วจึงจะได้สัมผัส สภาวะ สภาวัง หรือตัวธรรมที่แท้จริง


:b32: โสกะคำพูดความเห็นนี่แหล่ะ เขาเรียกกายกรรม วจีกรรม ถูกจิตสังขารเล่นงาน
โดนอุทธัจจะเล่นงานซะอ่วมยังไม่รู้ตัว

I :b12:
พอเปิดฉากเข้ามาได้ก็ขวางธรรมเลยนะโฮฮับ

ใครฟุ้งซ่านกว่าใคร ก็ลองดูจำนวนตัวอักษรที่พิมพ์ในกระทู้ตอนนี้นะครับ กระทู้เขาตั้งไว้ดีแล้ว ย่นย่อ ลัดสั้น เข้าใจง่ายๆ คุณโฮกลับมาทำให้วุ่นวาย เข้าใจยาก เหมือนมาชักใบให้เรือเสียๆยังงั้นแหละ

เอาสั้นเข้าไปอีกไม่รู้ว่าโฮฮับจะเข้าใจได้หรือเปล่า

"หยุดความคิดนึกได้ ก็พบธรรม"

จะหยุดความคิดนึกได้ยังไงเดี๋ยวมาคุยกันต่อ เพราะนี่ท่านกรัชกายก็กำลังจ่อจะอธิบายอยู่แล้วครับ
:b51:

อุ้ยนี่ไม่ยอมที่จะเข้าใจอะไรเลย ทำเป็นไม้แก่ดัดยากอยู่นั้นแหล่ะ :b32:

ใครเขาให้หยุด"คิดนึก"กันครับ มันต้องคิดก็รู้กำลังคิด เขาให้รู้เฉยๆ
ไม่ใช่ไปหยุดความคิดนึก
อุ้ยชอบเล่นคำเล่นภาษาหลงแล้วก็ไม่รู้ตัว
สำบัดสำนวนที่อุ้ยใช้ เก็บๆไว้บ้างก็ดีครับ
หรือเอาไว้จีบสาวอย่างเดียวก็พอครับ ท่านผู้อาวุโส(หัวใจเด็กวัยรุ่น) :b9:

onion
ถ้าหยุดความคิดนึก วิตกวิจารณ์ไม่ได้ ไม่เป็นเสียตั้งแต่ตอนเริ่มต้น ไอ้ที่ว่าเพียงแต่เฝ้ารู้ตามอารมณ์นั้นอย่าได้ฝันไปเลย มันจะจะกลายเป็น รู้ แบบวิปัสสนึกไปเสียทั้งหมด
:b11: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 05:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

ถ้าหยุดความคิดนึก วิตกวิจารณ์ไม่ได้ ไม่เป็นเสียตั้งแต่ตอนเริ่มต้น ไอ้ที่ว่าเพียงแต่เฝ้ารู้ตามอารมณ์นั้นอย่าได้ฝันไปเลย มันจะจะกลายเป็น รู้ แบบวิปัสสนึกไปเสียทั้งหมด
:b11: :b13:

ที่อุ้ยโส พูดนั้นน่ะมันเป็นอวิชา อุ้ยโสไม่รู้จักลักษณะของสังขาร
สังขารมันเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป เราไม่ต้องไปให้มันดับ มันเกิดแล้วก็ดับของมันเอง

อุ้ยโสพยายามที่จะดับความคิด ตัวพยายามนั้นแหล่ะก็คือความคิด เอาความคิดมาซ้อนความคิด
ความคิดแทนที่จะดับแล้ว อุ้ยโสกลับไปเอาความคิดที่ดับไปแล้วมาปรุงแต่งต่อ :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร