วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 18:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 110 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๙ ผู้เป็น สอุปาทิเสสะ
กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต

ดูกรสารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชกบางพวกโง่เขลา ไม่ฉลาด
อย่างไรจักรู้บุคคลผู้เป็น สอุปาทิเสสะ ว่า เป็นสอุปาทิเสสะ

หรือจักรู้บุคคลผู้เป็น อนุปาทิเสสะ ว่า เป็นอนุปาทิเสสะ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 018&Z=8096

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 16:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ

ย่อมได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบท อันสงบระงับอย่างยิ่ง ด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง

อนุสัย คือมานะ ... อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนุปาทาปรินิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้ และอนุปาทาปรินิพพาน ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=25&A=5245&w=%CA%CD%D8%BB%D2%B7%D4%E0%CA%CA%B9%D4%BE%BE%D2%B9
อย่าไปนำบทความตัดสอนมาสิ ต้องนำฉบับเต็มมา

เอ่! ไม่เข้าใจครับที่ว่าผมเอาบทความตัดตอนมา ผมก็ยกมาทั้งพระสูตรเต็มๆ
แถมวางลิ้งไว้ด้วย........ถ้าอย่างไรอธิบายมาหน่อยก็ดีครับ

walaiporn เขียน:

บทแรก เป็นเรื่องเล่าจาก พระอานนท์ ว่าพระผู้มีพระภาค ทรงตรัสไว้เช่นนี้
"เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า"

และอีกบท เป็นส่วนที่พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสไว้โดยตรง
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี
พระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ พระตถาคต ผู้มีจักษุผู้อันตัณหา
และทิฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว อันนิพพานธาตุ
อย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสส เพราะสิ้นตัณหา
เครื่องนำไปสู่ภพ

ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง) เป็นที่
ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง อันมีในเบื้องหน้า
ชื่อว่าอนุปาทิเสส ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้
มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ ชน
เหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลสเพราะบรรลุธรรม
อันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0




ในคำกล่าวนี้ พระผู้มีพระภาค ทรงประกาศ เกี่ยวกับ นิพพานธาตุว่า มีสองประเภท

ชื่อก็บอกตรงๆว่า เป็น สอุปาทิเสสและอนุปาทิเสส


เมื่อต้องการรู้ว่า สอุปาทิเสส คืออะไร ก็มีปรากฏอยู่ในพระสูตร
ที่เหลือ อนุปาทิเสส ก็ไม่จำเป็นต้องหา
เพราะไม่มีเกี่ยวข้องใน สอุปาทิเสส นั่นคือ พระขีณาสพ


นี่ก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าจะสื่ออะไร เอาเป็นว่าผมจะแสดงความเห็น ในส่วนที่ผมไม่เห็นด้วยนะครับ

ที่คุณวไลบอกว่า นิพพานธาตุมี๒ประเภทแล้วบอกว่า เป็น สอุปาทิเสสและอนุปาทิเสส

ถ้าคุณวไลพรตอบแบบนี้ มันเป็นการแปลคำศัพท์ครับ ในความเป็นจริง
พุทธพจน์เป็นสิ่งที่ใช้เรียกสภาวะธรรมครับ ถ้าเรียกสอุปาทิเสสและอนุปาทิเสสเพียงสั้นๆ
แบบนี้บัญญัติสองคำนั้นไม่ได้มีความหมายว่า....สภาวะนิพพานครับ

สอุปาทิเสสในพุทธพจน์นี้ คือ การดับกิเสสด้วยปัญญาครับ
มันไม่ได้มีความหมายว่านิพพาน แต่เป็นเป็นเหตุปัจจัยแห่งการดับสังโยชน์๑๐
พูดให้เข้าใจอีกทีก็คือ.....สอุปาทิเสสเป็นเหตุให้เกิดนิพพานธาตุ

ส่วนอนุปาทิเสสในพุทธพจน์นี้ คือการดับราคะ โทสะ โมหะด้วยฌาน
อนุปาทิเสสเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดนิพพานธาตุ

กล่าวโดยนัยก็คือ การแตกต่างกันของนิพพานธาตุทั้งสองก็เพราะ
มีเหตุปัจจัยที่แตกต่างกัน


สรุปถ้าจะให้เข้าใจว่า สภาวะนั้นเป็นนิพพานธาตุ จะต้องมีนิพพานธาตุต่อท้าย
เพราะไม่เช่นนั้น สิ่งที่เรียกจะกลายเป็น......มรรคไป ซึ่งนิพพานธาตุเป็นนิโรธ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 19:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:


นี่ก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าจะสื่ออะไร เอาเป็นว่าผมจะแสดงความเห็น ในส่วนที่ผมไม่เห็นด้วยนะครับ

ที่คุณวไลบอกว่า นิพพานธาตุมี ๒ ประเภทแล้วบอกว่า เป็น สอุปาทิเสสและอนุปาทิเสส

ถ้าคุณวไลพรตอบแบบนี้ มันเป็นการแปลคำศัพท์ครับ ในความเป็นจริง
พุทธพจน์เป็นสิ่งที่ใช้เรียกสภาวะธรรมครับ ถ้าเรียกสอุปาทิเสสและอนุปาทิเสสเพียงสั้นๆ
แบบนี้บัญญัติสองคำนั้นไม่ได้มีความหมายว่า....สภาวะนิพพานครับ

สอุปาทิเสสในพุทธพจน์นี้ คือ การดับกิเสสด้วยปัญญาครับ
มันไม่ได้มีความหมายว่านิพพาน แต่เป็นเป็นเหตุปัจจัยแห่งการดับสังโยชน์ ๑๐
พูดให้เข้าใจอีกทีก็คือ.....สอุปาทิเสสเป็นเหตุให้เกิดนิพพานธาตุ

ส่วนอนุปาทิเสสในพุทธพจน์นี้ คือการดับราคะ โทสะ โมหะด้วยฌาน
อนุปาทิเสสเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดนิพพานธาตุ

กล่าวโดยนัยก็คือ การแตกต่างกันของนิพพานธาตุทั้งสองก็เพราะ
มีเหตุปัจจัยที่แตกต่างกัน

สรุปถ้าจะให้เข้าใจว่า สภาวะนั้นเป็นนิพพานธาตุ จะต้องมีนิพพานธาตุต่อท้าย
เพราะไม่เช่นนั้น สิ่งที่เรียกจะกลายเป็น......มรรคไป ซึ่งนิพพานธาตุเป็นนิโรธ



อ้างคำพูด:
พูดให้เข้าใจอีกทีก็คือ.....สอุปาทิเสสเป็นเหตุให้เกิดนิพพานธาตุ



สอุปาทิเสสเป็นเหตุให้เกิดนิพพานธาตุ


อ่านแล้วสำลักยาดอง :b14: ว่าเข้าไปนั่น "สอุปาทิเสสเป็นเหตุให้เกิดนิพพานธาตุ" :b32: ไร้เหตุผลสิ้นดี เอาคำศัพท์นี้ไปชนกับคำนั้น ชนไปชนมาเป็นนิพพานจนได้ โดยที่ตนเองไม่รู้ว่าสอุปาทิเสส หมายถึงอะไร เป็นเหตุใ้ห้นิพพานได้ยังไง ก็แค่สอุปาทิเสส (ส+อุปาทิ+เสส) จะบ้าตาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูต่ออีกหน่อย คิดว่าประเด็นนี้น่าจะลงตัวแล้ว :b1: สังเกตคำว่า "อุปาทิ" ที่สอุปาทิเสสบุคคล อนุปาทิเสสบุคคล กับ สอุปาทิเสสนิพพาน อนุปาทิเสสินพพาน มีความหมายต่างกัน


- พระเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษา) หรือ สอุปาทิเสสบุคคล (ผู้ยังมีเชื้อคืออุปาทานเหลืออยู่) คือ
1. พระโสดาบัน ผู้ถึงกระแสคือเข้าสู่มรรค เดินทางถูกต้องอย่างแท้จริง หรือปฏิบัติถูกต้องตามอริยมรรคอย่างแท้จริง เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในขั้นศีล ทำได้พอประมาณในสมาธิ และทำให้พอประมาณในปัญญา ละสังโยชน์ได้ 3 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส

2. พระสกทาคามี ผู้กลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวก็จะกำจัดทุกข์ได้สิ้น เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในขั้นศีล ทำได้พอประมาณในสมาธิ และทำให้พอประมาณในปัญญา นอกจากละสังโยชน์ 3 ข้อต้นได้แล้ว ยังทำราคะ โทสะ และโมหะ ให้เบาบางลงไปอีกต่อจากขั้นของพระโสดาบัน

3. พระอนาคามี ผู้จะปรินิพพานในที่ผุดเกิดขึ้น ไม่เวียนกลับมาอีก เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในขั้นศีล ทำได้บริบูรณ์ในสมาธิ แต่ทำให้พอประมาณในปัญญา ละสังโยชน์ได้อีก 2 ข้อ คือ กามราคะ และปฏิฆะ (รวมละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ครบ 5 ข้อ)

-พระอเสขะ (ผู้ไม่ต้องศึกษา) หรือ อนุปาทิเสสบุคคล (ผู้ไม่มีเชื้อคืออุปาทานเหลืออยู่เลย) คือ

4. พระอรหันต์ ผู้ควร (แก่ทักษิณา หรือการบูชาพิเศษ) หรือผู้หักกำแห่งสารจักรได้แล้ว เป็นผู้สิ้นอาสวะ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา 3 คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ละสังโยชน์เบื้องสูงได้ทั้ง 5 ข้อ (คือรวมเป็นละสังโยชน์หมดทั้ง 10)


-พระเสขะ แปลว่า ผู้ยังต้องศึกษา คือยังมีกิจเกี่ยวกับการฝึกฝนอบรมตนที่จะต้องทำต่อไปอีก จึงได้แก่ทักขิไณยบุคคล 3 ระดับต้น ซึ่งจะต้องปฏิบัติในสิกขา เพื่อละสังโยชน์ และบรรลุธรรมสูงขึ้นต่อไป จนถึงเป็นพระอรหันต์ ส่วนพระอเสขะ แปลว่า ผู้ไม่ต้องศึกษา คือทำกิจเกี่ยวกับการฝึกฝนอบรมตนเสร็จสิ้นแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว ไม่ต้องปฏิบัติในสิกขาต่อไป ไม่มีกิเลสที่ต้องพยายามละต่อไป และไม่มีภูมิธรรมสูงกว่านั้นที่จะต้องขวนขวายบรรลุอีก จึงได้แก่พระอรหันต์

- สอุปาทิเสสบุคคล คือผู้ยังมีอุปาทิเหลืออยู่ คือยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ซึ่งก็หมายถึงยังมีกิเลสเหลืออยู่บ้างนั่นเอง จึงได้แก่ ทักขิไณยบุคคล 3 ระดับต้น ส่วนอนุปาทิเสสบุคคล ผู้ไม่มีอุปาทิเหลืออยู่ คือไม่มีอุปาทานเหลือ ซึ่งก็หมายถึงว่า ไม่มีกิเลสเหลืออยู่เลยนั่นเอง จึงได้แก่พระอรหันต์


พึงสังเกตว่า ในที่นี้ แปลคำว่า อุปาทิ ว่าอุทาทาน คือ ความยึดมั่นในตัวกิเลสเอง ให้ต่างจากอุปาทิในสอุปาทิเสสนิพพาน และอนุปาทิเสสนิพพาน ซึ่งแปลว่าสิ่งที่ถูกยึดมั่น อันหมายถึงเบญจขันธ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 23:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุปาทาปรินิพพานสูตร
ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน



[๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์อะไร

เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.

[๑๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทางมีอยู่หรือ?
ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่หรือ?

เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ทางมีอยู่ ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่.

[๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางเป็นไฉน?

ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานเป็นไฉน?

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบนี้
เป็นข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว
พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
walaiporn เขียน:
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=25&A=5245&w=%CA%CD%D8%BB%D2%B7%D4%E0%CA%CA%B9%D4%BE%BE%D2%B9
อย่าไปนำบทความตัดสอนมาสิ ต้องนำฉบับเต็มมา

เอ่! ไม่เข้าใจครับที่ว่าผมเอาบทความตัดตอนมา ผมก็ยกมาทั้งพระสูตรเต็มๆ
แถมวางลิ้งไว้ด้วย........ถ้าอย่างไรอธิบายมาหน่อยก็ดีครับ

walaiporn เขียน:
[/b]




ฉบับเต็ม

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0


ฉบับนี้ไม่เต็ม

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... E%BE%D2%B9

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 03:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
โฮฮับ เขียน:
walaiporn เขียน:
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=25&A=5245&w=%CA%CD%D8%BB%D2%B7%D4%E0%CA%CA%B9%D4%BE%BE%D2%B9
อย่าไปนำบทความตัดสอนมาสิ ต้องนำฉบับเต็มมา

เอ่! ไม่เข้าใจครับที่ว่าผมเอาบทความตัดตอนมา ผมก็ยกมาทั้งพระสูตรเต็มๆ
แถมวางลิ้งไว้ด้วย........ถ้าอย่างไรอธิบายมาหน่อยก็ดีครับ

walaiporn เขียน:
[/b]




ฉบับเต็ม

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0


ฉบับนี้ไม่เต็ม

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... E%BE%D2%B9

ตามความเห็นผม ฉบับเต็มหรือไม่ มันไม่ได้เป็นปัญหาครับ
ความสำคัญคือเนื้อหาที่เป็นพุทธพจน์

ฉบับเต็มที่ว่า....มันก็แค่ทำให้รู้ว่า ใครเป็นผู้ถ่ายทอดพุทธพจน์

ส่วนฉบับไม่เต็ม ท่านเน้นเนื้อของพุทธพจน์เลยครับ ซึ่งชาวพุทธต่างรู้ดีกันอยู่แล้วว่า
จะเป็นพระสูตรฉบับเต็มหรือไม่ล้วนแล้วแต่ถ่ายทอดมาจาก....พระอานนท์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 04:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ขอบคุณสำหรับคำท้วงติง ที่มีมา

เป็นเหตุให้ ย้อนกลับไปดูข้อความทั้งหมดอีกครั้ง

จึงเห็นว่า อ่านไม่หมด โดยเฉพาะประโยคท่อนสุดท้าย คือ
1. สอุปาทิเสสบุคคล = พระเสขะ
2. อนุปาทิเสสบุคคล = พระอเสขะ


............................................................................

หมายเหตุ: ตามคำอธิบายนัยหนึ่งว่า
1. = ดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ( = กิเลสปรินิพพาน - extinction of the defilements)
2. = ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ( = ขันธปรินิพพาน - extinction of the Aggregates)
หรือ
1. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ 5 รับรู้สุขทุกข์อยู่
2. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว

It.38. ขุ.อิติ. 25/222/258.

อีกนัยหนึ่งกล่าวถึงบุคคลว่า

1. สอุปาทิเสสบุคคล = พระเสขะ
2. อนุปาทิเสสบุคคล = พระอเสขะ

http://www.84000.org/heart.html
.........................................
สำหรับการสนทนา
ใครจะหาหลักฐานมาอ้างอิงยังไงกัน
ก็หามาแนบไว้ เพื่อนำมาแสดงในทิฏฐิของตน


ผู้ใดเห็นไม่ตรงกัน หรืออาจจะเห็นเหมือนกัน เพียงมีข้อปลีกย่อยออกไปอีก
ทุกคนสามารถแสดงข้อคิดเห็น ตามทิฏฐิของตนได้ เหมือนกันหมด


อยากชี้แจงเพื่อความเข้าใจครับ ที่ผมเข้ามาแย้งประเด็นมันอยู่ที่...
ผมไม่เห็นด้วยกับความหมายที่อ้างอิงด้านบน สาเหตุเป็นเพราะมันเป็นการแปลจากคำศัพท์ที่ล่ะตัว
เหตุนี้จึงทำให้ ความหมายที่เป็นพุทธพจน์ผิดเพี้ยนไป

สรุปให้เข้าใจง่ายๆก็คือ สิ่งที่คุณวไลพรเอามาอ้างอิง(เข้าใจว่าเอามาจากพจนานุกรม)
สิ่งที่อ้างอิงนั้นเป็นการสร้างคำขึ้นมาใหม่ครับ

จะชี้ตรงเป้าให้เห็นที่ผมบอกว่าสร้างคำใหม่ ทำให้ความหมายพุทธพจน์เพี้ยนไป
อย่างเช่น.......สอุปาทิเสสนิพพาน ถ้าอธิบายความตามพุทธพจน์
สอุปาทิเสสเป็นเหตุหรือมรรค
ส่วนนิพพานเป็นผลหรือนิโรธ


เราจะใช้พุทธพจน์เหมือนการใช้ภาษาไทยไม่ได้ เพราะคำไทยใช้หลักการยืมคำมาสร้างคำใหม่
พุทธพจน์แต่ล่ะคำมีความหมายในตัวเองอยู่แล้ว
การเอาพุทธพจน์มาผสมกันให้เกิดคำใหม่ ทำให้ความหมายไม่ตรงกับสิ่งที่พระพุทธเจ้าสื่่อ

........................................................

อยากให้คุณวไลพร เทียบเคียงความแตกต่าง......จากคำที่ว่าสอุปาทิเสสนิพพาน
ที่คุณวไลพรเอามาอ้างท่านให้ความหมายว่า......"ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ( = ขันธปรินิพพาน - extinction of the Aggregates) "
นี่แหล่ะครับเป็นการสร้างคำใหม่
ในพุทธพจน์ท่านหมายให้รู้ถึงวิธีปฏิบัติ แต่ที่อ้างอิงกลับกลายเป็นตัวบุคคล

ในพุทธพจน์ที่กล่าวว่า สอุปาทิเสสนิพพาน มีความหมายสองความหมายในคำนั้นครับ
สอุปาทิเสสคือ.......การดับกิเลสด้วยปัญญา
ส่วนคำนิพพานคือ....ผลของการดับกิเลสด้วยปัญญา
สรุปให้เข้าใจในส่วนนี้ สอุปาทิเสส เป็นวิธีปฏิบัติด้วยการใช้ปัญญา

ส่วนอนุปาทิเสสนิพพานก็เช่นกัน ความหมายตามพุทธพจน์ คือ.....
ลักษณะการดับกิเลสด้วยฌาน....มันเป็นวิธีการปฏิบัติ ไม่ใช่ตัวบุคคล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 04:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ดูกรสารีบุตร นี้
กระทำกาละ

ดูกรสารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชกบางพวกโง่เขลา ไม่ฉลาด
อย่างไรจักรู้บุคคลผู้เป็น สอุปาทิเสสะ ว่า เป็นสอุปาทิเสสะ

หรือจักรู้บุคคลผู้เป็น อนุปาทิเสสะ ว่า เป็นอนุปาทิเสสะ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 018&Z=8096


ผมไม่เข้าใจคุณวไลพร อ้างอิงพระสูตรนี้เพื่อแย้งความเห็นของผมในส่วนไหน
ถ้ายังไงบอกมาอีกที่ก็ได้ครับ

ผมขอถือโอกาสอธิบายพุทธพจน์ในส่วนนี้ไปก่อน......

พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า ...... บุคคลจำพวกที่ ๙ ผู้เป็น สอุปาทิเสสะ

ได้ชื่อว่าเป็น สอุปาทิเสสบุคคล(เสขะ) ย่อมพ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต

พูดง่ายก็คือ พระอริยบุคคลเมื่อตายไป จะไม่ไปนรก ไม่เกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉานหรือผีเปรต

ถ้าดูจากพระสูตรเต็มๆ บอกถึงความเข้าใจผิดของคนในศาสนาอื่น
คิดว่า หลักการปฏิบัติแบบสอุปาทิเสส เมื่อตายลงก็ไม่พ้นสิ่งที่กล่าวมา
พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า เป็นการเข้าใจที่ผิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 05:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
อนุปาทาปรินิพพานสูตร
ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน



[๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์อะไร

เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.

[๑๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทางมีอยู่หรือ?
ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่หรือ?

เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ทางมีอยู่ ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่.

[๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางเป็นไฉน?

ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานเป็นไฉน?

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบนี้
เป็นข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว
พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

ไม่ทราบว่าคุณวไลพรเข้าใจคำว่า...อนุปาทาปรินิพพาน ไปในทางไหนอย่างไร

สำหรับผมขอบอกไว้สั้นๆก่อนว่าปรินิพพานแตกต่างจากนิพพานธาตุ๒ที่เราคุยกัน

ปรินิพพานไม่ใช่ทั้งสอุปาทิเสสนิพพานธาตุและอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ถ้าเอาไปเปรียบในลักษณะที่เป็นบุคคล เป็นการละสังขาร(ตาย)ของพระอรหันต์

ดังนั้นใครที่ว่า นิพพานธาตุ๒แล้วยกเอาเรื่อง การตายหรือไม่ตายมาเปรียบ
มันเป็นการเข้าใจผิด เพราะการตายต้องเป็น...ปรินิพพาน ไม่ใช่อนุปาทิเสสนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 07:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
walaiporn เขียน:
ดูกรสารีบุตร นี้
กระทำกาละ

ดูกรสารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชกบางพวกโง่เขลา ไม่ฉลาด
อย่างไรจักรู้บุคคลผู้เป็น สอุปาทิเสสะ ว่า เป็นสอุปาทิเสสะ

หรือจักรู้บุคคลผู้เป็น อนุปาทิเสสะ ว่า เป็นอนุปาทิเสสะ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 018&Z=8096


ผมไม่เข้าใจคุณวไลพร อ้างอิงพระสูตรนี้เพื่อแย้งความเห็นของผมในส่วนไหน
ถ้ายังไงบอกมาอีกที่ก็ได้ครับ

ผมขอถือโอกาสอธิบายพุทธพจน์ในส่วนนี้ไปก่อน......

พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า ...... บุคคลจำพวกที่ ๙ ผู้เป็น สอุปาทิเสสะ

ได้ชื่อว่าเป็น สอุปาทิเสสบุคคล(เสขะ) ย่อมพ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต

พูดง่ายก็คือ พระอริยบุคคลเมื่อตายไป จะไม่ไปนรก ไม่เกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉานหรือผีเปรต

ถ้าดูจากพระสูตรเต็มๆ บอกถึงความเข้าใจผิดของคนในศาสนาอื่น
คิดว่า หลักการปฏิบัติแบบสอุปาทิเสส เมื่อตายลงก็ไม่พ้นสิ่งที่กล่าวมา
พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า เป็นการเข้าใจที่ผิด





ไม่ได้นำมาเพื่อแย้ง เหตุที่ที่หยิบยกมา

"ดูกรสารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชกบางพวกโง่เขลา ไม่ฉลาด
อย่างไรจักรู้บุคคลผู้เป็น สอุปาทิเสสะ ว่า เป็นสอุปาทิเสสะ

หรือจักรู้บุคคลผู้เป็น อนุปาทิเสสะ ว่า เป็นอนุปาทิเสสะ"


ในที่นี้ วลัยพร ไม่ได้หมายถึงเฉพาะศาสนาอื่นๆ

แต่หมายถึงบุคคลทั่วโลก ไม่ว่าเป็นคนไหนก็ตาม

คือ ไม่ได้เจาะจงว่าใคร แต่นำมากล่าวโดยรวม



ส่วนเรื่องของ อรรถกถาจารย์ ไม่ใช่เฉพาะที่วลัยพรนำหยิบยกมา

แต่หมายถึง อรรถกถาจารย์ ทุกๆคน


มีบ้างบางครั้ง ที่ยังหลุดสร้างเหตุอยู่ นำมาสร้างเหตุ แทนที่จะหยิบยกมาบางส่วน

จะกลับมาแก้ ก็แก้ไม่ทัน เพราะมีข้อคิดเห็นอื่นๆ เกิดขึ้นมาจากข้อความที่หยิบยกมา


วลัยพรนับถืออรรถกถาจารย์ทุกๆท่าน ถือว่ามีคุณูประการ ที่เป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนามากๆๆ

คำเรียกบางครั้ง ต้องไปดูรากศัพท์ คือ ภาษาบาลี

ยกตัวอย่าง เช่น โยนิโสมนสิการ เมื่อรู้โดยสภาวะที่เกิดขึ้น แต่ไม่รู้จักคำเรียก

เพราะสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่มีคำเรียกให้เรียก ต้องอาศัยการเกิดขึ้น มาเทียบเคียงกับคำเรียกว่า

คำเรียกนั้นๆ มาจากคำอะไร แปลว่าอะไร


ถ้าไม่มีความรู้ด้านบาลี จะแปลออกได้ยังไง ล้วนต้องอาศัยคนแปลทั้งสิ้น


เรื่องข้อคิดเห็น ให้ความเคารพในข้อคิดเห็นของทุกๆคน

ทุกคนสามารถแสดงข้อคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

ส่วนคำนิพพานคือ....ผลของการดับกิเลสด้วยปัญญา



นิพพาน ไม่ใช่ผล



walaiporn เขียน:
อนุปาทาปรินิพพานสูตร
ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน



[๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์อะไร

เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.

[๑๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทางมีอยู่หรือ?
ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่หรือ?

เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ทางมีอยู่ ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่.

[๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางเป็นไฉน?

ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานเป็นไฉน?

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบนี้
เป็นข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน



ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว
พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0







เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน


[๒๙๖] ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้วเข้าไปหาท่านพระ
ปุณณมันตานีบุตรถึงสำนัก ได้ปราศรัยกับท่านพระปุณณมันตานีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้
ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงถามท่านพระปุณณมัน
ตานีบุตรดังนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคของเราหรือ?
ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า ถูกแล้ว ท่านผู้มีอายุ?
สา. ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อสีลวิสุทธิหรือท่านผู้มีอายุ?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อจิตตวิสุทธิหรือท่านผู้มีอายุ?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อทิฏฐิวิสุทธิหรือ ท่าน
ผู้มีอายุ?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกังขาวิตรณวิสุทธิหรือ
ท่านผู้มีอายุ?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อมัคคามัคคญาณทัสสน
วิสุทธิหรือ ท่านผู้มีอายุ?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อปฏิปทาญาณทัสสน
วิสุทธิหรือ ท่านผู้มีอายุ?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อญาณทัสสนวิสุทธิ
หรือ ท่านผู้มีอายุ?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ?
สา. ท่านผู้มีอายุ ผมถามท่านว่า ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อ
สีลวิสุทธิหรือ ท่านตอบผมว่า ไม่ใช่อย่างนั้น เมื่อผมถามท่านว่า ท่านประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระผู้มีพระภาค เพื่อจิตตวิสุทธิหรือ เพื่อทิฏฐิวิสุทธิหรือ เพื่อกังขาวิตรณวิสุทธิหรือ เพื่อมัคคา
มัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เพื่อปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เพื่อญาณทัสสนวิสุทธิหรือ ท่าน
ก็ตอบผมว่าไม่ใช่อย่างนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อ
อะไรเล่า?
ปุ. ท่านผู้มีอายุ ผมประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.
สา. ท่านผู้มีอายุ สีลวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านผู้มีอายุ จิตตวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านผู้มีอายุ ทิฏฐิวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านผู้มีอายุ กังขาวิตรณวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านผู้มีอายุ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านผู้มีอายุ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านผู้มีอายุ ญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านผู้มีอายุ ที่นอกไปจากธรรมเหล่านี้หรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านผู้มีอายุ ผมถามท่านว่า สีลวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพานจิตตวิสุทธิ
หรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ทิฏฐิวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพานกังขาวิตรณวิสุทธิหรือ
เป็นอนุปาทาปรินิพพาน มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ปฏิปทาญาณ
ทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพานญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ที่
นอกไปจากธรรมเหล่านี้หรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ท่านก็ตอบผมว่า ไม่ใช่อย่างนั้นๆ เมื่อ
เป็นเช่นนี้ จะพึงเห็นเนื้อความของถ้อยคำที่ท่านกล่าวนี้อย่างไรเล่า?
[๒๙๗] ปุ. ท่านผู้มีอายุ ถ้าพระผู้มีพระภาคจักทรงบัญญัติสีลวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทา
ปรินิพพานแล้ว ก็ชื่อว่าทรงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทาน ว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน.

ถ้าจักทรงบัญญัติจิตตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิญาณทัสสนวิสุทธิว่า เป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว

ก็ชื่อว่าทรงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทาน ว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ถ้าหากว่า ธรรมนอกจากธรรมเหล่านี้ จักเป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว
ปุถุชน จะชื่อว่าปรินิพพาน เพราะว่า ปุถุชนไม่มีธรรมเหล่านี้

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 938&Z=5108

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 01 ต.ค. 2013, 08:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อรู้แจ้งสภาวะสัญญา

ภิกษุนั้น ย่อม รู้ชัดว่า “สัญญาคตะว่าอย่างนี้ ๆ ก็มีอยู่, สัญญาคตะว่าเลว ก็มีอยู่,
สัญญาคตะว่าประณีต ก็มีอยู่, และอุบายอันยิ่งเป็นเครื่องออกจากสัญญาคตะนี้ ก็มีอยู่” ดังนี้.

เมื่อเธอนั้นรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ
แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ.

เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้ว”.
เธอย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว
กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ อาบแล้วด้วยเครื่องอาบอันเป็นภายใน, ดังนี้แล.
- มู. ม. ๑๒/๖๙/๙๗.




เมื่อรู้แจ้งนิพพาน


ในกาลไหน ๆ ท่านเหล่าใด เห็นภัยในความยึดถือ อันเป็นตัวเหตุให้เกิดและให้ตายแล้ว

เลิกยึดมั่นถือมั่นหลุดพ้นไปได้ เพราะอาศัยนิพพานอันเป็นธรรมที่สิ้นไป แห่งความเกิดความตาย ;

เหล่าท่านผู้เช่นนั้น ย่อมประสพความสุข ลุพระนิพพานอันเป็นธรรมเกษม
เป็นผู้ดับเย็นได้ ในปัจจุบันนี้เอง ล่วงเวรล่วงภัยทุกอย่างเสียได้
และก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งความเป็นทุกข์ทั้งปวง.
- อุปริ. ม. ๑๔/๓๔๖/๕๒๕.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 08:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพานคือ วิราคธรรม

ภิกษุ ท. ! สังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดี มีประมาณเท่าใด,
วิราคธรรม เรากล่าวว่า เป็นยอดของสังขตธรรม และอสังขตธรรมเหล่านั้นทั้งหมด.

วิราคธรรมนั้นได้แก่ ธรรมอันเป็นที่สร่างแห่งความเมา, เป็นที่ขจัดความกระหาย,
เป็นที่ถอนความอาลัย,เป็นที่ตัดวัฏฏะ (วน), เป็นที่สิ้นตัณหา,เป็นที่คลายความกำหนัด,

เป็นที่ดับกิเลส, นี่แลคือ นิพพาน.
- อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๙๘/๒๗๐.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 110 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร