วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 04:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 110 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 08:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน


[๓๓๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี

ก็สมัยนั้น เมื่อภิกษุผู้เถระหลายรูป กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต นั่งประชุมกันอยู่ที่โรงกลม ได้เกิดการสนทนากันขึ้น ในระหว่างว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในปัญหาของเมตเตยยมาณพ ในปรายนสูตรว่า

ผู้ใดทราบส่วนสุดทั้งสองด้วยปัญญาแล้ว ไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นก้าวล่วงเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้แล้ว ดังนี้ ฯ

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ส่วนสุดที่ ๑ เป็นไฉนหนอ ส่วนสุดที่ ๒ เป็นไฉน
อะไรเป็นส่วนท่ามกลาง อะไรเป็นเครื่องร้อยรัด ฯ

เมื่อสนทนากันอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๑
เหตุเกิดขึ้นแห่งผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๒
ความดับแห่งผัสสะเป็นส่วนท่ามกลาง

ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่า ตัณหาย่อมร้อยรัดผัสสะ

และเหตุเกิดขึ้นแห่งผัสสะนั้น เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ

ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำ ที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในปัจจุบันเทียว ฯ

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
อดีตเป็นส่วนสุดที่ ๑
อนาคตเป็นส่วนสุดที่ ๒
ปัจจุบัน เป็นส่วนท่ามกลาง

ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัดอดีต อนาคต และปัจจุบันนั้นไว้

เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุเท่านี้แล

ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในปัจจุบันเทียว ฯ

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
สุขเวทนาเป็นส่วนสุดที่ ๑
ทุกขเวทนาเป็นส่วนสุดที่ ๒
อทุกขมสุขเวทนาเป็นส่วนท่ามกลาง

ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัดสุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนานั้นไว้

เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ

ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว ฯ

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
นามเป็นส่วนสุดที่ ๑
รูปเป็นส่วนสุดที่ ๒
วิญญาณเป็นส่วนท่ามกลาง

ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัด นาม รูป และวิญญาณนั้นไว้

เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุเท่านี้แล

ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว ฯ

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
อายตนะภายใน ๖
เป็นส่วนสุดที่ ๑
อายตนะภายนอก ๖ เป็นส่วนสุดที่ ๒
วิญญาณเป็นส่วนท่ามกลาง

ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัดอายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ และวิญญาณนั้นไว้

เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ

ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว ฯ

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
สักกายะเป็นส่วนสุดที่ ๑
เหตุเกิดสักกายะเป็นส่วนสุดที่ ๒
ความดับสักกายะเป็นส่วนท่ามกลาง

ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัดสักกายะ เหตุเกิดสักกายะ และความดับสักกายะนั้นไว้

เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ

ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว ฯ

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พวกเราทั้งปวงเทียวได้พยากรณ์ตามปฏิภาณของตนๆ มาเถิด เราทั้งหลายจักพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

แล้วจักกราบทูล เนื้อความนั้นให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคจักทรงพยากรณ์แก่พวกเรา โดยประการใด เราทั้งหลายจักทรงจำข้อที่ทรงพยากรณ์นั้นไว้ โดยประการนั้น

ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย รับคำของภิกษุนั้นแล้ว ครั้งนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูล การที่สนทนาปราศรัย ทั้งหมดนั้น แด่พระผู้มีพระภาค แล้วทูลถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คำของใครหนอเป็นสุภาษิต พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำของเธอทั้งปวง เป็นสุภาษิตโดยปริยาย อนึ่ง เราหมายเอาข้อความที่กล่าวไว้ใน ปัญหาของเมตเตยยมาณพ ในปรายนสูตรว่า

ผู้ใดทราบส่วนสุดทั้ง ๒ ด้วยปัญญา แล้วไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง
เรากล่าวผู้นั้นว่า เป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นก้าวล่วงเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้แล้ว ดังนี้ ฯ

เธอทั้งหลาย จงฟังข้อความนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๑
เหตุเกิดผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๒
ความดับผัสสะเป็นส่วนท่ามกลาง
ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัดผัสสะ

เหตุเกิดผัสสะ และความดับผัสสะนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ

ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้
เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้

ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 368&Z=9442

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 08:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
walaiporn เขียน:
โฮฮับ เขียน:
walaiporn เขียน:
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=25&A=5245&w=%CA%CD%D8%BB%D2%B7%D4%E0%CA%CA%B9%D4%BE%BE%D2%B9
อย่าไปนำบทความตัดสอนมาสิ ต้องนำฉบับเต็มมา

เอ่! ไม่เข้าใจครับที่ว่าผมเอาบทความตัดตอนมา ผมก็ยกมาทั้งพระสูตรเต็มๆ
แถมวางลิ้งไว้ด้วย........ถ้าอย่างไรอธิบายมาหน่อยก็ดีครับ

walaiporn เขียน:
[/b]




ฉบับเต็ม

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0


ฉบับนี้ไม่เต็ม

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... E%BE%D2%B9

ตามความเห็นผม ฉบับเต็มหรือไม่ มันไม่ได้เป็นปัญหาครับ
ความสำคัญคือเนื้อหาที่เป็นพุทธพจน์

ฉบับเต็มที่ว่า....มันก็แค่ทำให้รู้ว่า ใครเป็นผู้ถ่ายทอดพุทธพจน์

ส่วนฉบับไม่เต็ม ท่านเน้นเนื้อของพุทธพจน์เลยครับ ซึ่งชาวพุทธต่างรู้ดีกันอยู่แล้วว่า
จะเป็นพระสูตรฉบับเต็มหรือไม่ล้วนแล้วแต่ถ่ายทอดมาจาก....พระอานนท์





ในความเห็นของวลัยพร ควรคงสภาพต้นแบบไว้

เพราะท่อนแรก เป็นคำบอกเล่า จากพระอานนท์

ท่อนสรุปสุดท้าย เป็นคำสอนจากพระพุทธเจ้าโดยตรง ที่ทรงบัญญัติไว้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ขอบคุณสำหรับคำท้วงติง ที่มีมา

เป็นเหตุให้ ย้อนกลับไปดูข้อความทั้งหมดอีกครั้ง

จึงเห็นว่า อ่านไม่หมด โดยเฉพาะประโยคท่อนสุดท้าย คือ
1. สอุปาทิเสสบุคคล = พระเสขะ
2. อนุปาทิเสสบุคคล = พระอเสขะ


พึงเข้าใจความเห็นนี่ว่าคุณวไลพรจะสื่ออะไร........
จากความเห็นที่คุณวไลพรเอามาอ้างอิง ผมขอแย้งครับ

๑.สอุปาทิเสสบุคคล คือ พระเสขะ ......ผมเห็นด้วยครับ

แต่ข้อ๒. ที่ว่า อนุปาทิเสสบุคล ถ้าจะหมายถึงพระอเสขะ...ไม่เห็นด้วยครับ

อนุปาทิเสสบุคคลน่าจะหมายถึง.........ผู้ปฏิบัติในเรื่องฌานสมาบัติครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 09:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
walaiporn เขียน:
ขอบคุณสำหรับคำท้วงติง ที่มีมา

เป็นเหตุให้ ย้อนกลับไปดูข้อความทั้งหมดอีกครั้ง

จึงเห็นว่า อ่านไม่หมด โดยเฉพาะประโยคท่อนสุดท้าย คือ
1. สอุปาทิเสสบุคคล = พระเสขะ
2. อนุปาทิเสสบุคคล = พระอเสขะ


พึงเข้าใจความเห็นนี่ว่าคุณวไลพรจะสื่ออะไร........
จากความเห็นที่คุณวไลพรเอามาอ้างอิง ผมขอแย้งครับ

๑.สอุปาทิเสสบุคคล คือ พระเสขะ ......ผมเห็นด้วยครับ

แต่ข้อ๒. ที่ว่า อนุปาทิเสสบุคล ถ้าจะหมายถึงพระอเสขะ...ไม่เห็นด้วยครับ

อนุปาทิเสสบุคคลน่าจะหมายถึง.........ผู้ปฏิบัติในเรื่องฌานสมาบัติครับ



ง่ายๆ จับคู่ให้ดู เสขบุคคล คู่ อเสขบุคคล - สอุปาทิเสสบุคคล คู่ อนุปาทิเสสบุคคล

อ้างคำพูด:
อนุปาทิเสสบุคคลน่าจะหมายถึง.........ผู้ปฏิบัติในเรื่องฌานสมาบัติ


ผู้ปฏิบัติเกี่ยวฌานสมาบัติ จึงจัดอยู่ในเสขบุคคล ผู้ยังต้องศึกษาในไตรสิกขาต่อไปอีก เพราะยังไม่จบการศึกษา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 10:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
โฮฮับ เขียน:

ส่วนคำนิพพานคือ....ผลของการดับกิเลสด้วยปัญญา



นิพพาน ไม่ใช่ผล



walaiporn เขียน:
อนุปาทาปรินิพพานสูตร
ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน



[๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์อะไร

เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.

[๑๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทางมีอยู่หรือ?
ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่หรือ?

เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ทางมีอยู่ ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่.

[๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางเป็นไฉน?

ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานเป็นไฉน?

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบนี้
เป็นข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน



ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว
พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน


อริยมรรคมีองค์๘เป็นเหตุ(มรรค) นิโรธเป็นผลของมรรค
นิโรธคือสภาวะที่เป็นวิเวก วิราคะ วิมุตติ รวมเรียกว่า...นิพพาน

อริยมรรคมีองค์๘เป็นเหตุ(การปฏิบัติ) ผลของการปฏิบัติก็คือนิโรธหรือนิพพาน

อธิบายในส่วนเพื่อ..."เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน"

อนุปาทาปรินิพพานก็เป็นผลเช่นกัน ทั้งนิพพานและอนุปาทาปรินิพพาน
ล้วนเป็นผลของอริยมรรคมีองค์๘ด้วยกันทั้งคู่ เพียงแต่มันต่างกันด้วยเวลา
เพราะนิพพานเป็นผลจากอริยมรรคมีองค์๘ ในขณะที่ยังมีชีวิตหรือยังเป็นสถานะพระอรหัต์
แต่อนุปาทาปรินิพพาน เกิดหลังจากที่พระอรหันต์ละสังขาร(ตาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 10:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

อริยมรรคมีองค์๘เป็นเหตุ (มรรค) นิโรธเป็นผลของมรรค
นิโรธคือสภาวะที่เป็นวิเวก วิราคะ วิมุตติ รวมเรียกว่า...นิพพาน

อริยมรรคมีองค์๘เป็นเหตุ (การปฏิบัติ) ผลของการปฏิบัติก็คือนิโรธหรือนิพพาน




ทุกข์ - ผล = ปัญหาต่างๆของมนุษย์
สมุทัย - เหตุ = ตัณหา

นิโรธ - ผล = นิพพาน
มรรค - เหตุ = วิธีปฏิบัติ (มัชฌิมาปฏิปทา) < = องค์ประกอบของมรรค ได้แก่ สัมมา
ทิฏฐิ เป็นต้น มีสัมมาสมาธิเป็นที่สุด

นิพาพนมีอย่างเดียว แต่ที่แยกก็อย่างที่กล่าวแล้ว


อ้างคำพูด:
นิโรธ (คือสภาวะที่เป็นวิเวก วิราคะ วิมุตติ)รวมเรียกว่า...นิพพาน


นิโรธ = นิพพาน พอแล้ว อย่าเติมนั่นนี่เข้ามาอีก ในวงเล็บส่วนเกิน :b1: พูดตรงๆก็มั่วนั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 12:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมจำเป็น ทั้งสำหรับบรรพชิต และคฤหัสถ์ พระพุทธเจ้าจึงทรงย้ำ ให้ภิกษุทั้งหลายสอนให้ชาวบ้านรู้เข้าใจอริยสัจ ดังบาลีว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าหนึ่งเหล่าใด ที่พวกเธอพึงอนุเคราะ์ห์ ก็ดี เหล่าชนที่พอจะรับฟังคำสอน ก็ดี ไม่ว่าเป็นมิตร เป็นผู้ร่วมงาน เป็นญาติ เป็นสาโลหิตก็ตาม พวกเธอพึงชักชวน พึงสอนให้ดำรงอยู่ ให้ประดิษฐานอยู่ ในการตรัสรู้ตามเป็นจริง ซึงอริยสัจ 4 ประการ"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 12:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


ดับวจีสังขาร กายสังขาร จิตสังขาร ก็นิพพานแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
ดับวจีสังขาร กายสังขาร จิตสังขาร ก็นิพพานแล้ว



Kiss น่าจะมีคนสนใจเยอะ ดูแล้วสั้นกระชับดี แต่เหมือนยังขาดวิธี คือ วิธีดับ...คุณ amazing บอกวิธีในการดับ....เขาด้วยสิครับ :b8: แต่ละอย่างๆ ดับยังไง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2013, 03:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
amazing เขียน:
ดับวจีสังขาร กายสังขาร จิตสังขาร ก็นิพพานแล้ว

Kiss น่าจะมีคนสนใจเยอะ ดูแล้วสั้นกระชับดี แต่เหมือนยังขาดวิธี คือ วิธีดับ...คุณ amazing บอกวิธีในการดับ....เขาด้วยสิครับ :b8: แต่ละอย่างๆ ดับยังไง

นี่มันก็พอกันทั้งสองคนทั้งสองคน อาศัยแค่เอาคำศัพท์มาละเลง
แค่นี่ก็รู้แล้วว่า............ขาดความรู้ที่ว่า จิตเป็นอย่างไร เจตสิกเป็นอะไร
ไอ้ที่บอกว่า ดับโน้นดับนี่ พูดได้คำเดียวว่า จ้อไปเรื่อย

จิตและเจตสิกเป็นสังขารธรรม ทั้งจิตและเจตสิกเป็นอนิจจลักษณะ นั้นก็คือ
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นี่เป็นหนึ่งในลักษณะของสังขาร

ส่วนลักษณะที่สองคือ ทุกขลักษณะ เพราะสังขารมันทนอยู่ไม่ได้เมื่อเกิดแล้วต้องดับ

ลักษณะที่สามคือ อนัตตา สังขารมันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เราไม่สามารถไปบังคับบัญชามันได้

ฝากการบ้านทิ้งไว้ ให้อเมชิ่งกลิ้งไปกลิ้งมากับกรัชกาย
ลองเอาสิ่งที่พี่โฮพูด ไปพิจารณา กับสิ่งที่อเมชิ่งกล่าว
ลองกลับไปดูซิว่า มันทำได้มั้ย :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2013, 04:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
amazing เขียน:
ดับวจีสังขาร กายสังขาร จิตสังขาร ก็นิพพานแล้ว

Kiss น่าจะมีคนสนใจเยอะ ดูแล้วสั้นกระชับดี แต่เหมือนยังขาดวิธี คือ วิธีดับ...คุณ amazing บอกวิธีในการดับ....เขาด้วยสิครับ :b8: แต่ละอย่างๆ ดับยังไง

นี่มันก็พอกันทั้งสองคนทั้งสองคน อาศัยแค่เอาคำศัพท์มาละเลง
แค่นี่ก็รู้แล้วว่า............ขาดความรู้ที่ว่า จิตเป็นอย่างไร เจตสิกเป็นอะไร
ไอ้ที่บอกว่า ดับโน้นดับนี่ พูดได้คำเดียวว่า จ้อไปเรื่อย

จิตและเจตสิกเป็นสังขารธรรม ทั้งจิตและเจตสิกเป็นอนิจจลักษณะ นั้นก็คือ
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นี่เป็นหนึ่งในลักษณะของสังขาร

ส่วนลักษณะที่สองคือ ทุกขลักษณะ เพราะสังขารมันทนอยู่ไม่ได้เมื่อเกิดแล้วต้องดับ

ลักษณะที่สามคือ อนัตตา สังขารมันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เราไม่สามารถไปบังคับบัญชามันได้

ฝากการบ้านทิ้งไว้ ให้อเมชิ่งกลิ้งไปกลิ้งมากับกรัชกาย
ลองเอาสิ่งที่พี่โฮพูด ไปพิจารณา กับสิ่งที่อเมชิ่งกล่าว
ลองกลับไปดูซิว่า มันทำได้มั้ย :b32:


อ้างคำพูด:
ลองเอาสิ่งที่พี่โฮพูด ไปพิจารณา กับสิ่งที่อเมชิ่งกล่าว
ลองกลับไปดูซิว่า มันทำได้มั้ย



พูดค้างๆคาๆ เป็นหญ้าคาอีก แล้วมันทำได้มั้ยล่ะน่ะเออ พูดให้หมดเปลือกดิ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2013, 04:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ทราบว่า คุณวไลพรและกรัชกาย
พอจะเข้าใจ กับประโยคที่ผมเอามาโพสนี่มั้ย.......
"พระตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส นิพพานธาตุ "

ถ้าเข้าใจ ก็จะเข้าใจว่า ปรินิพาน เป็นอย่างไร

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ คืออะไร อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ คืออะไร :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2013, 04:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ไม่ทราบว่า คุณวไลพรและกรัชกาย
พอจะเข้าใจ กับประโยคที่ผมเอามาโพสนี่มั้ย.......
"พระตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส นิพพานธาตุ "

ถ้าเข้าใจ ก็จะเข้าใจว่า ปรินิพาน เป็นอย่างไร

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ คืออะไร อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ คืออะไร :b13:



เข้าใจก็บอกมาดิ พูดค้างๆคาๆอีก พูดทำไมน่า :b10: อุตส่าห์ตื่นแต่เช้าเพื่อจะพูดจะถามแค่เนี่ยหรอ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2013, 04:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
amazing เขียน:
ดับวจีสังขาร กายสังขาร จิตสังขาร ก็นิพพานแล้ว

Kiss น่าจะมีคนสนใจเยอะ ดูแล้วสั้นกระชับดี แต่เหมือนยังขาดวิธี คือ วิธีดับ...คุณ amazing บอกวิธีในการดับ....เขาด้วยสิครับ :b8: แต่ละอย่างๆ ดับยังไง

นี่มันก็พอกันทั้งสองคนทั้งสองคน อาศัยแค่เอาคำศัพท์มาละเลง
แค่นี่ก็รู้แล้วว่า............ขาดความรู้ที่ว่า จิตเป็นอย่างไร เจตสิกเป็นอะไร
ไอ้ที่บอกว่า ดับโน้นดับนี่ พูดได้คำเดียวว่า จ้อไปเรื่อย

จิตและเจตสิกเป็นสังขารธรรม ทั้งจิตและเจตสิกเป็นอนิจจลักษณะ นั้นก็คือ
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นี่เป็นหนึ่งในลักษณะของสังขาร

ส่วนลักษณะที่สองคือ ทุกขลักษณะ เพราะสังขารมันทนอยู่ไม่ได้เมื่อเกิดแล้วต้องดับ

ลักษณะที่สามคือ อนัตตา สังขารมันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เราไม่สามารถไปบังคับบัญชามันได้

ฝากการบ้านทิ้งไว้ ให้อเมชิ่งกลิ้งไปกลิ้งมากับกรัชกาย
ลองเอาสิ่งที่พี่โฮพูด ไปพิจารณา กับสิ่งที่อเมชิ่งกล่าว
ลองกลับไปดูซิว่า มันทำได้มั้ย :b32:


อ้างคำพูด:
ลองเอาสิ่งที่พี่โฮพูด ไปพิจารณา กับสิ่งที่อเมชิ่งกล่าว
ลองกลับไปดูซิว่า มันทำได้มั้ย



พูดค้างๆคาๆ เป็นหญ้าคาอีก แล้วมันทำได้มั้ยล่ะน่ะเออ พูดให้หมดเปลือกดิ :b1:


แล้วเนี่ยทำได้มั้ย บอกก่อน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2013, 05:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกายก็ตื่นแต่เช้ามืดเพื่อจะมาโต้กับพี่โฮหมัดต่อหมัด หายไปอีก เสียเวลานอนจริงๆ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 110 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร