วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 21:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 04 ต.ค. 2013, 05:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าถามว่า ขันธ์๕หมายถึงสิ่งใด จะเห็นหลายคนตอบว่า....
รูป..เวทนา...สัญญา..สังขาร..วิญญาน
ยิ่งมีครูสอนธรรมบางท่านบอกว่า ขันธ์๕ ก็คือชีวิต
แทนที่จะเข้าใจขันธ์๕ กลับทำให้หลงเข้าใจผิดไปกันใหญ่

อย่าเข้าใจว่า สิ่งที่พวกเราบอกว่า ขัน๕คือรูป เวทนา สัญญาสังขารและวิญญาน
แท้จริงแล้วมันไม่ใช่ สื่งที่เราบอกว่ารู้ แท้จริงแล้วกำลังเป็นอุปทานในรูป เวทนา สัญญา
สังขารและวิญญาน เน้นว่ากำลังเป็นไม่ใช่รู้ :b13:


โพสต์ เมื่อ: 04 ต.ค. 2013, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ทำไมถึงเรียกขันธ์ห้า



ถามไม่ฉลาดเลย ก็มีแค่ห้า แล้วจะเรียกขันธ์ 4 ขันธ์ 6 ได่อย่าง่ไรกันเล่า :b1:

เก่งจริงบอกสิทำไมจึงเรียกขันธ์ห้า (แต่ 5 ขัน ไม่เอานะ ล้างไม่เกลี้ยง)

บ่งตงตง เห็นสภาพโฮฮับแล้ว นึกถึงสภาพของอาตี๋สักมังกร :b9:

http://www.youtube.com/watch?v=2wp956HF8Ig

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 04 ต.ค. 2013, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ถ้าถามว่า ขันธ์๕หมายถึงสิ่งใด จะเห็นหลายคนตอบว่า....
รูป..เวทนา...สัญญา..สังขาร..วิญญาน
ยิ่งมีครูสอนธรรมบางท่านบอกว่า ขันธ์๕ ก็คือชีวิต
แทนที่จะเข้าใจขันธ์๕ กลับทำให้หลงเข้าใจผิดไปกันใหญ่

อย่าเข้าใจว่า สิ่งที่พวกเราบอกว่า ขัน๕คือรูป เวทนา สัญญาสังขารและวิญญาน
แท้จริงแล้วมันไม่ใช่ สื่งที่เราบอกว่ารู้ แท้จริงแล้วกำลังเป็นอุปทานในรูป เวทนา สัญญา
สังขารและวิญญาน เน้นว่ากำลังเป็นไม่ใช่รู้ :b13:


การไม่รู้ในไตรลักษณ์ ทำให้ไม่รู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ของสิ่งที่เรียกว่า
รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญานด้วย

ความสำคัญมันอยู่ตรงนี้ครับ ไม่รู้ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาน มันเกิดแล้วก็ดับ
เหตุนี้จึงทำให้เกิดอุปาทานขึ้นที่จิต และไปยึดรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาน
ความเป็นขันธ์จึงเกิดขึ้น .......สรุปให้ฟังสั้นๆ ในความเป็นขันธ์๕นั้น
จะต้องมีอุปาทานมาเป็นองค์ประกอบใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาน

อาจกล่าวได้เป็นสองนัยคือ ถ้าเป็นจิตที่ยังเป็นอวิชา
รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาน เป็นขันธ์๕

แต่ถ้าจิตของบุคคลที่เกิดวิชชาขึ้นแล้ว
รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญานของบุคคลนั้น ไม่ได้เป็นขันธ์หรือขันธ์๕

คำว่าวิชชาในรูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาน
หมายความว่า.....รู้การเกิดดับของ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาน
เมื่อจิตรู้ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาน มันเกิดแล้วต้องดับ
จิตก็จะไม่เข้าไปยึดนามเหล่านั้น อุปาทานที่เป็นเหตุแห่งขันธ์ห้าก็ไม่เกิด
รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาน จึงเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย
เมื่อเกิดแล้วก็ดับ ไม่ใช่สิ่งที่เที่ยงแท้ คงทน ไม่ได้มีความเป็นตัวตนในสิ่งเหล่านั้น


โพสต์ เมื่อ: 04 ต.ค. 2013, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ถ้าถามว่า ขันธ์๕หมายถึงสิ่งใด จะเห็นหลายคนตอบว่า....
รูป..เวทนา...สัญญา..สังขาร..วิญญาน
ยิ่งมีครูสอนธรรมบางท่านบอกว่า ขันธ์๕ ก็คือชีวิต
แทนที่จะเข้าใจขันธ์๕ กลับทำให้หลงเข้าใจผิดไปกันใหญ่

อย่าเข้าใจว่า สิ่งที่พวกเราบอกว่า ขัน๕คือรูป เวทนา สัญญาสังขารและวิญญาน
แท้จริงแล้วมันไม่ใช่ สื่งที่เราบอกว่ารู้ แท้จริงแล้วกำลังเป็นอุปทานในรูป เวทนา สัญญา
สังขารและวิญญาน เน้นว่ากำลังเป็นไม่ใช่รู้ :b13:


การไม่รู้ในไตรลักษณ์ ทำให้ไม่รู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ของสิ่งที่เรียกว่า
รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญานด้วย

ความสำคัญมันอยู่ตรงนี้ครับ ไม่รู้ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาน มันเกิดแล้วก็ดับ
เหตุนี้จึงทำให้เกิดอุปาทานขึ้นที่จิต และไปยึดรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาน
ความเป็นขันธ์จึงเกิดขึ้น .......สรุปให้ฟังสั้นๆ ในความเป็นขันธ์๕นั้น
จะต้องมีอุปาทานมาเป็นองค์ประกอบใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาน

อาจกล่าวได้เป็นสองนัยคือ ถ้าเป็นจิตที่ยังเป็นอวิชา
รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาน เป็นขันธ์๕

แต่ถ้าจิตของบุคคลที่เกิดวิชชาขึ้นแล้ว
รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญานของบุคคลนั้น ไม่ได้เป็นขันธ์หรือขันธ์๕

คำว่าวิชชาในรูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาน
หมายความว่า.....รู้การเกิดดับของ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาน
เมื่อจิตรู้ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาน มันเกิดแล้วต้องดับ
จิตก็จะไม่เข้าไปยึดนามเหล่านั้น อุปาทานที่เป็นเหตุแห่งขันธ์ห้าก็ไม่เกิด
รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาน จึงเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย
เมื่อเกิดแล้วก็ดับ ไม่ใช่สิ่งที่เที่ยงแท้ คงทน ไม่ได้มีความเป็นตัวตนในสิ่งเหล่านั้น



พูดคำศัพท์มากมาย เ่ช่น รูป เวทนา เป็นต้น อะไรครับรูป ชี้ลงไปชัดๆสิขอรับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 04 ต.ค. 2013, 13:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

การไม่รู้ในไตรลักษณ์ ทำให้ไม่รู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ของสิ่งที่เรียกว่า
รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญานด้วย

ความสำคัญมันอยู่ตรงนี้ครับ ไม่รู้ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาน มันเกิดแล้วก็ดับ
เหตุนี้จึงทำให้เกิดอุปาทานขึ้นที่จิต และไปยึดรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาน



อ้างคำพูด:
การไม่รู้ในไตรลักษณ์ ทำให้ไม่รู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ของสิ่งที่เรียกว่า
รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญานด้วย




ต้องพูดใหม่เพ่โฮ ความไม่รู้เห็นการเกิดดับของนามรูป (เรียกสั้นๆ) ก็จึงไม่เห็นไตรลักษณ์ด้วย เพราะไตรลักษณ์ ก็คือสภาพเกิดๆดับๆ ของนามรูป :b1:



สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์ ก็คือ สันตติ อิริยาบถ ฆนะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 04 ต.ค. 2013, 15:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์


ทั้งที่ความเป็นอนิจจัง ทุกข์ และอนัตตานี้เป็นลักษณะสามัญของสิ่งทั้งหลาย เป็นความจริงที่แสดงตัวของมันเองอยู่ตามธรรมดาตลอดทุกเวลา แต่คนทั่วไปก็มองไม่เห็น ทั้งนี้เพราะเป็นเหมือนมีสิ่งปิดบังคอยซ่อนคลุมไว้ ถ้าไม่มนสิการคือไม่ใส่ใจพิจารณาอย่างถูกต้อง ก็มองไม่เห็น สิ่งที่เป็นเหมือนเครื่องปิดบังซ่อนคลุมเหล่านี้ คือ

1. สันตติ บังอนิจจลักษณะ

2. อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ

3. ฆนะ บังอนัตตลักษณะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 04 ต.ค. 2013, 16:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบายข้อที่ 1 สันตติ บังอนิจจลักษณะ


1. ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความเกิดและความดับ หรือความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไป

ก็ถูก สันตติ คือ ความสืบต่อ หรือความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ปิดบังไว้อนิจจลักษณะจึงไม่ปรากฏ


สิ่งทั้งหลายที่เรารู้เราเห็นนั้น ล้วนแต่มีความเกิดขึ้นและความแตกสลายอยู่ภายในตลอดเวลา แต่ความ
เกิด-ดับนั้นเป็นไปอย่างหนุนเนื่องติดต่อกันรวดเร็วมาก คือ เกิด-ดับ-เกิด-ดับ-เกิด-ดับ ฯลฯ

ความเป็นไปต่อเนื่องอย่างรวดเร็วยิ่งนั้น ทำให้เรามองเห็นเป็นว่า สิ่งนั้นคงที่ถาวร เป็นอย่างหนึ่งอย่างเดิม ไม่มีความเปลี่ยนแปลง เหมือนอย่างตัวเราเองหรือคนใกล้เคียงอยู่ด้วยกัน มองเห็นกันเสมือนว่า เป็นอย่างเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานสังเกตดู หรือไม่เห็นกันนานๆ เมื่อพบกันอีกจึงรู้ว่าได้มีความเปลี่ยนแปลง ไปแล้วจากเดิม แต่ความเป็นจริง ความเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทีละน้อยและต่อเนื่องจนไม่เห็นช่องว่าง


ตัวอย่าง เปรียบเทียบพอให้เห็นง่ายขึ้น เช่น ใบพัดที่กำลังหมุนอยู่อย่างเร็วยิ่ง มองเห็นเป็นแผ่นกลมแผ่นเดียวนิ่ง เมื่อทำให้หมุนช้าลง ก็เห็นเป็นใบพัดกำลังเคลื่อนไหวแยกเป็นใบๆ เมื่อจับหยุดมองดูก็เห็นชัดว่า เป็นใบพัดต่างหากกัน 2 ใบ 3 ใบ 4 ใบ

หรือเหมือนคนเอามือจับก้านธูปที่จุดไฟติดอยู่แล้วแกว่งหมุนอย่างรวดเร็วเป็นวงกลม มองดูเหมือนเป็นไฟรูปวงกลม แต่ความจริงเป็นเพียงธูปก้านเดียว ที่ทำให้เกิดรูปต่อเนื่องติดเป็นพืดไป

หรือเหมือนหลอดไฟฟ้าที่ติดไฟอยู่สว่างจ้า มองเห็นเป็นดวงไฟที่สว่างคงที่ แต่ความจริงเป็นกระแสไฟฟ้าที่เกิด-ดับไหลเนื่องผ่านไปอย่างรวดเร็ว

หรือเหมือนมวลน้ำในแม่น้ำ ที่มองเห็นดูเป็นผืนหนึ่งผืนเดียว แต่ความจริงเป็นกระแสน้ำที่ไหลผ่านไปๆ เกิดจากน้ำหยดน้อยๆมากมายมารวมกันและไหลเนื่อง

สิ่งทั้งหลายเช่นดังตัวอย่างเหล่านี้ เมื่อใช้เครื่องมือหรือวิธีการที่ถูกต้องมากำหนดแยกมนสิการเห็น
ความเกิดขึ้นและความดับไป จึงจะประจักษ์ความไม่เที่ยงแท้ ไม่คงที่ เป็นอนิจจัง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 04 ต.ค. 2013, 16:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบายข้อที่ 2. อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ


2. ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความบีบคั้นกดดันที่มีอยู่ตลอดเวลา ก็ถูก อิริยาบถ คือความ

ยักย้ายเคลื่อนไหว ปิดบังไว้ ทุกขลักษณะจึงไม่ปรากฏ


ภาวะที่ทนอยู่มิได้ หรือภาวะที่คงสภาพเดิมอยู่มิได้ หรือ ภาวะที่ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้ ด้วยมี

แรงบีบคั้นกดดันขัดแย้งเร้าอยู่ภายในส่วนประกอบต่างๆนั้น จะถึงระดับที่ปรากฏแก่สายตาหรือความรู้สึก

ของคน มักจะต้องกินเวลาระยะหนึ่ง แต่ในระหว่างนั้น ถ้ามีการคืบเคลื่อน ยักย้าย หรือ ทำให้แปรรูปเป็น

อย่างอื่นไปเสียก่อนก็ดี สิ่งที่ถูกสังเกตเคลื่อนย้ายพ้นจากผู้สังเกตไปเสียก่อน หรือ ผู้สังเกตแยกพราก

จากสิ่งที่ถูกสังเกตไปเสียก่อน ก็ดีภาวะที่บีบคั้น กดดัน ขัดแย้งนั้น ไม่ทันปรากฏให้เห็น ปรากฏการณ์ ส่วน

ใหญ่มักเป็นเช่นนี้ ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ


ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ ในร่างกายของมนุษย์นี้แหละไม่ต้องรอให้ถึงขั้นชีวิตแตกดับดอก แม้ในชีวิตประจำวัน

นี้เอง ความบีบคั้น กดดัน ขัดแย้งก็มีอยู่ตลอดเวลา ทั่วองคาพยพ จนทำให้มนุษย์ไม่อาจอยู่นิ่งเฉยใน

ท่าเดียวได้ ถ้าเราอยู่หรือต้องอยู่ในท่าเดียวนานมากๆ เช่น ยืนอย่างเดียว นั่งอย่างเดียว เดินอย่าง

เดียว นอนอย่างเดียว

ความบีบคั้น กดดันตามสภาวะจะค่อยๆเพิ่มมากขึ้นๆจนถึงระดับที่เกิดเป็นความรู้สึกบีบคั้น กดดันที่คน

ทั่วไปเรียกว่าทุกข์ เช่น เจ็บ ปวด เมื่อยจนในที่สุดก็จะทนไม่ไหวและต้องยักย้ายเปลี่ยน ไปสู่ท่าอื่น

ที่เรียกว่าอิริยาบถอื่น เมื่อความบีบคั้น กดดัน อันเป็นทุกข์ตามสภาวะนั้นสิ้นสุดลง ความบีบคั้น กดดัน

ที่เรียกว่า ความรู้สึกทุกข์ (ทุกขเวทนา) ก็หายไปด้วย

(ในตอนที่ความรู้สึกทุกข์หายไปนี้ มักจะมีความรู้สึกสบาย ที่เรียกว่าความสุขเกิดขึ้นมาแทนด้วย แต่อันนี้

เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น ว่าโดยสภาวะแล้ว มีแต่ความทุกข์หมดไปอย่างเดียว เข้าสู่ภาวะปราศจากทุกข์)



ในความเป็นอยู่ประจำวันนั้น เมื่อเราอยู่ในท่าหนึ่ง หรืออิริยาบถหนึ่งนานๆ พอจะรู้สึกปวดเมื่อยเป็นทุกข์

เราก็ชิงเคลื่อนไหว เปลี่ยนไปสู่ท่าอื่นหรืออิริยาบถอื่นเสีย หรือเรามักจะเคลื่อนไหว เปลี่ยนท่า เปลี่ยน

อิริยาบถอยู่เสมอ จึงหนีรอด จากความรู้สึกทุกข์ไปได้ เมื่อไม่รู้สึกทุกข์ ก็เลยพลอยมองข้าม ไม่เห็น

ความทุกข์ที่เป็นความจริงตามสภาวะ ไปเสียด้วย ท่านจึงว่าอิริยาบถ บังทุกขลักษณะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 04 ต.ค. 2013, 16:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบายข้อที่ 3. ฆนะ บังอนัตตลักษณะ


3. ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความแยกย่อยออกเป็นธาตุต่างๆก็ถูกฆนะ คือความเป็นแท่ง

เป็นก้อนเป็นชิ้นเป็นอันเป็นมวลหรือเป็นหน่วยรวม ปิดบังไว้ อนัตตลักษณะจึงไม่ปรากฏ


สิ่งทั้งหลายที่เรียกว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ล้วนเกิดจากเอาส่วนประกอบทั้งหลาย มารวบรวมปรุงแต่งขึ้น

เมื่อแยกย่อยส่วนประกอบเหล่านั้นออกไปแล้ว สิ่งที่เป็นหน่วยรวม ซึ่งเรียกว่าอย่างนั้นๆ ก็ไม่มี

โดยทั่วไป มนุษย์มองไม่เห็นความจริงข้อนี้ เพราะถูกฆนสัญญาคือความจำหมายหรือความสำคัญหมาย

เป็นหน่วยรวม คอยปิดบังไว้ เข้ากับคำกล่าวอย่างชาวบ้านว่า เห็นเสื้อ แต่ไม่เห็นผ้า เห็นแต่ตุ๊กตา

มองไม่เห็นเนื้อยาง คือ คนที่ไม่ได้คิดไม่ได้พิจารณา บางทีก็ถูกภาพตัวตนปิดบังตาหลอกไว้ ไม่ได้มอง

เห็นเนื้อผ้าที่ปรุงแต่งขึ้น เป็นรูปเสื้อนั้น ซึ่งว่าที่จริง ผ้านั้นเองก็ไม่มี มีแต่เส้นด้ายมากมายที่มาเรียงกันเข้าตามระเบียบ



ถ้าแยกด้ายทั้งหมดออกจากกัน ผ้านั้นเองก็ไม่มี หรือเด็กที่มองเห็นแต่รูปตุ๊กตา เพราะถูกภาพตัวตน

ของตุ๊กตาปิดบังหลอกตาไว้ ไม่ได้มองถึงเนื้อยาง ซึ่งเป็นสาระที่แท้จริงของตัวตุ๊กตานั้น เมื่อจับเอา

แต่ตัวจริง ก็มีแต่เนื้อยาง หามีตุ๊กตาไม่ แม้เนื้อยางนั้นเอง ก็เกิดจากส่วนผสมต่างๆ มาปรุงแต่งขึ้นต่อๆกันมา

ฆนสัญญา ย่อมบังไว้ในทำนองแห่งตัวอย่างง่ายๆ ที่ได้ยกมากล่าวไว้นี้ เมื่อใช้อุปกรณ์หรือวิธีการที่ถูกต้องมาวิเคราะห์มนสิการ เห็นความแยกย่อยออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ จึงจะประจักษ์ในความไม่ใช่ตัวตน มองเห็นว่า เป็นอนัตตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 04 ต.ค. 2013, 19:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องแยกแยะให้ดีระหว่างพุทธพจน์ที่ว่า........สังขารทั้งหลายเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

และคำว่า "ไตรลักษณ์" ซึ่งเป็นคำที่อรรถกถาจารย์บัญญัติขึ้นภายหลัง

พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึงสังขารหรือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญานโดยตรง
ความหมายของพุทธพจน์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน...เป็นอนิจัง ทุกขัง อนัตตา

แต่"ไตรลักษณ์"หมายถึง ลักษณะของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ดังนั้นไตรลักษณ์ก็คือ.... อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ
และอนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะนั้นก็คือ.......การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

อธิบายปัญญาไตรลักษณ์ ในส่วนของปัญญาคือการรู้สภาวะธรรม
นั้นก็คือเห็นตัวอารมณ์ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน
ส่วนที่เป็นปัญญานี้ จะทำให้เกิดญานรู้(รู้ตามเหตุปัจจัย) ไม่ใช่รู้ตามสภาวะจริง
ญานรู้ที่ว่าก็คือ.....รู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของ รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน


ที่ว่าต้องอาศัยญานรู้นั้นเป็นเพราะ เราไม่สามารถเห็นสภาวะการเกิดดับได้ทัน
ด้วยสาเหตุ๓อย่าง นั้นก็คือ
สันตติ...... บดบัง ลักษณะของอนิจจัง นั้นก็คือบดบัง การเกิดดับของสังขาร
อิริยาบท..... บดบัง ลักษณะของทุกขัง นั้นคือบดบัง การเกิดดับของสังขาร
ฆนะ....... บดบัง ลักษณะของอนัตตา นั้นคือบดบัง การเกิดดับของสังขาร

ปล สังขารก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน


โพสต์ เมื่อ: 04 ต.ค. 2013, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

ปล สังขารก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน [/b]


ไหนพี่โฮชี้ชัดๆสักที รูป ได้แก่อะไร เอาตรงๆเลย เห็นร่าย แต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ถามจริงๆ อะไรบ้างนะ ที่ยกคำศัพท์มานั่นน่ะ ว่าแต่เขายกคำศัพท์ ตัวเองเล่นมาแต่ไม่่เคยบอกความหมายให้ชาวบ้านเข้าใจเลย อะไร รูปๆๆๆๆๆ



ที่ปล.ไว้เนี่ย
อ้างคำพูด:
สังขารก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน


มันซ้ำกันไ่ม่ใช่หรอ :b1: ว่าไง ตอบหน่อย :b8: :b36:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 05 ต.ค. 2013, 00:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: คุณโฮฮับ

โฮฮับ เขียน:
ถ้าถามว่า ขันธ์๕หมายถึงสิ่งใด จะเห็นหลายคนตอบว่า....
รูป..เวทนา...สัญญา..สังขาร..วิญญาน

ผมเห็นว่าข้อความนี้น่าจะจริงนะ ขันธ์๕หมายถึง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ




โฮฮับ เขียน:
ยิ่งมีครูสอนธรรมบางท่านบอกว่า ขันธ์๕ ก็คือชีวิต
แทนที่จะเข้าใจขันธ์๕ กลับทำให้หลงเข้าใจผิดไปกันใหญ่

ข้อความนี้ รบกวนคุณโฮฮับอธิบายเพิ่มเติมว่า ทำไมจึงทำให้หลงเข้าใจผิดไปกันใหญ่ครับ




โฮฮับ เขียน:
อย่าเข้าใจว่า สิ่งที่พวกเราบอกว่า ขันธ์๕คือรูป เวทนา สัญญาสังขารและวิญญาน

ผมเข้าใจว่าพระพุทธองค์ตรัสว่า เบญจขันธ์คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ขอบคุณครับ :b8:

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสต์ เมื่อ: 05 ต.ค. 2013, 04:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:

ปล สังขารก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน [/b]


ไหนพี่โฮชี้ชัดๆสักที รูป ได้แก่อะไร เอาตรงๆเลย เห็นร่าย แต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ถามจริงๆ อะไรบ้างนะ ที่ยกคำศัพท์มานั่นน่ะ ว่าแต่เขายกคำศัพท์ ตัวเองเล่นมาแต่ไม่่เคยบอกความหมายให้ชาวบ้านเข้าใจเลย อะไร รูปๆๆๆๆๆ


สาเหตุที่ตั้งกระทู้ เป็นเพราะจะอธิบายในสิ่งที่ยกขึ้นมาเป็นประเด็น
มันไม่ใช่เรื่องที่จะต้องมาคอยบอกความหมายของคำศัพท์ทุกคำ กรัชกายหัดเข้าใจบ้างน่ะ

........บอกไปหลายหนแล้ว อย่ามาเว้าซี้ถามคำแปลหรือถามมหมายของคำศัพท์
เคยอธิบายว่า.......พุทธพจน์ เป็นภาษาสากลของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ
พุทธพจน์ทุกคำ ไม่สามารถอธิบายด้วยบัญญัติแต่อย่างเดียว
บุคคลนั้นจะต้องเอาบัญญัติไปเทียบเคียงกับสภาวะในกายใจตนเองด้วย.....

หรืออาจเป็นเพราะไม่รู้วิธีเทียบเคียงสภาวะอารมณ์ในกายใจตัวเอง
พี่โฮจะสอนให้ตัวอย่างเช่น....................."รูป" ที่กรัชกายถามมา
ก่อนอื่นและเราต้องยึดถือไว้เสมอว่า เราต้องเอาพุทธพจน์เป็นหลักเสมอ
ไม่ใช่ไปเอาคำแปลหรือภาษาของชาวบ้านมาเป็นหลักในการที่จะพิจารณาธรรม

รูปที่เป็นพุทธพจน์ คือสภาวะธรรมเป็นอารมณ์ที่เกิดภายในกายใจเรา

ดังนั้นอยากรู้ว่า พุทธพจน์ที่ว่าด้วย"รูป"คืออะไร ก็ลองหาอะไรรอบตัวสักอย่างมาเป็นหลัก
แล้วมองไปที่สิ่งนั้น หลังจากนั้นก็ไปดูที่ใจตนเอง
สิ่งแรกที่เกิดภายในกายใจตนเองเขาเรียกว่า......รูปารมณ์ก็คือรูปนั้นเอง
หรือจะเป็นการ..ฟัง ...ดมกลิ่น...ลิ้มรส...สัมผัส...คิด.....สิ่งแรกที่เกิดก็คือรููป



ย้ำอีกที่อย่าศึกษาพระธรรมด้วยวิธีท่องจำคำศัพท์
หรืออย่าฟังธรรมแล้วเอาไปเทียบเคียงกับคำแปล(ในพจนานุกรม)
เพราะคำแปลของใคร มันก็เป็นเพียงความเข้าใจเฉพาะตัว ของคนๆนั้น
เหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงบอกให้ ฟังพระธรรมแล้ว ต้องทำให้แจ้งโดยปรมัตถ์
ความหมายก็คือ ดูไปที่กายใจตนเอง


กรัชกาย เขียน:
ที่ปล.ไว้เนี่ย
อ้างคำพูด:
สังขารก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน


มันซ้ำกันไ่ม่ใช่หรอ :b1: ว่าไง ตอบหน่อย :b8: :b36:


ที่ไม่รู้เป็นเพราะคำศัพท์ใช่มั้ยล่ะ ไม่รู้จักหาเหตุปัจจัย จะบอกให้ว่าบัญญัติ
ที่กล่าวถึงสถาวะธรรมหรือปรมัตต์ จะไม่มีคำกิรยา คำวิเศษณ์ คำขยายความฯลฯ
บัญญัติที่เป็นปรมัตต์จะมีความหมายในตัวเอง
ถ้าไปเห็นบัญญัติปรมัตต์ใดที่มีรูปบัญญัติเหมือนกัน แสดงว่าเป็นสภาวะเดียวกัน
แต่ที่เราจะต้องเข้าใจ ถ้ามีพุทธวจนใดที่มีบัญญัติปรมัตถ์ซ้ำกันหลายคำ
แสดงว่า บัญญัติปรมัตถ์นั้นเป็นสภาวะที่เหมือนกัน....แต่แตกต่างกันด้วยเหตุปัจจัย

จากประเด็นที่ถาม....ว่าทำไมมีคำว่า"สังขาร"ซ้ำกัน ก็เพราะมันเหมือนกันด้วยสภาวะ
แต่แตกต่างกันด้วยเหตุปัจจัย อย่างเช่น.......


สังขาร ก็คือ รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาน

สังขารและ....สังขาร เป็นสภาวะแห่งการปรุงแต่งเหมือนกัน
แต่เหตุปัจจัยแห่งการปรุงแต่งแตกต่างกัน

สังขารตัวนี้ เกิดจากการปรุงแต่งของรูปนาม
มันก็คือชีวิตที่ประกอบด้วยรูปกับนามหรือกายกับจิตนั้นเอง

ส่วนสังขาร ตัวนี้เกิดจากการปรุงแต่งของนามเพียงอย่างเดียว พุทธพจน์เรียกว่า...สังขาร
แต่อรรถกถาจารเรียกว่า....จิตสังขาร


แก้ไขล่าสุดโดย โฮฮับ เมื่อ 05 ต.ค. 2013, 12:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 05 ต.ค. 2013, 04:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โกเมศวร์ เขียน:
:b8: คุณโฮฮับ

โฮฮับ เขียน:
ถ้าถามว่า ขันธ์๕หมายถึงสิ่งใด จะเห็นหลายคนตอบว่า....
รูป..เวทนา...สัญญา..สังขาร..วิญญาน

ผมเห็นว่าข้อความนี้น่าจะจริงนะ ขันธ์๕หมายถึง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ขันธ์ห้าเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญานของ ปุถุชนและพระเสขะครับ
สาเหตุก็เพราะ บุคคลที่กล่าวมายังมีอุปาทานอยู่ มากน้อยขึ้นอยู่กับปัญญาของบุคคล
ตัวอุปาทานเป็นผลจากการที่จิตไปยึดนามเหล่านั้นไว้ แทนที่จะปล่อยวางมันตามสภาพของนามนั้น
ก็คือมันเกิดแล้วก็ดับไปแล้ว เมื่อไม่วางจึงทำให้เกิดเป็นความยึดมั่นหรือขันธ์
ขันธ์กล่าวอีกนัยก็คือ การที่จิตเข้าไปติดในวัฏฏแห่งปฏิจจสมุบาท

สรุป....ปุถุชนและพระเสขะยังมีขันธ์ใน รูป..เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน เรียกขันธ์ห้า

แต่พระอรหันต์หรือพระอเสขะไม่มีขันธ์ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญานแล้ว
เหตุนี้ใครบอกว่า พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่ ยังมีขันธ์ห้าหลงเหลืออยู่ เป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก


โกเมศวร์ เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ยิ่งมีครูสอนธรรมบางท่านบอกว่า ขันธ์๕ ก็คือชีวิต
แทนที่จะเข้าใจขันธ์๕ กลับทำให้หลงเข้าใจผิดไปกันใหญ่

ข้อความนี้ รบกวนคุณโฮฮับอธิบายเพิ่มเติมว่า ทำไมจึงทำให้หลงเข้าใจผิดไปกันใหญ่ครับ


อธิบายแล้วครับ อยู่ในส่วนของความเห็นด้านบน

โกเมศวร์ เขียน:
โฮฮับ เขียน:
อย่าเข้าใจว่า สิ่งที่พวกเราบอกว่า ขันธ์๕คือรูป เวทนา สัญญาสังขารและวิญญาน

ผมเข้าใจว่าพระพุทธองค์ตรัสว่า เบญจขันธ์คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ขอบคุณครับ :b8:

ที่พระพุทธองค์กล่าวเช่นนั้น พระองค์กำลังกล่าวถึงปุถุชนที่ยังติดในอวิชา
หรือพระเสขะที่ยังติดในอวิชาเป็นบางส่วนครับ

แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์หรือพระอเสขะ จะเป็นเพียงรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน
นามที่กล่าวมาในพระอรหันต์ ไม่ใช่เบญขันธ์
เพราะนามเหล่านั้น มีอินทรีย์๕ ศรัทธา วิริยะ สติ ปัญญาและสมาธิคอยกำกับอยู่ครับ


โพสต์ เมื่อ: 05 ต.ค. 2013, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับเข้าใจธรรมะว่าอยู่นอกโลก พ้นจากเรื่องของคน (หรือชีวิต) พูดไปเรื่อยเปื่อย ที่จริงธรรมะ (พูดโดยภาษาสมมติ) มันเรื่องของคนล้วนๆ เรื่องของชีวิตนี้แท้ๆ แต่เราไปหลงภาษาของเขา พูดได้แต่ไม่เข้าใจว่าเขาสื่อถึงอะไร นี้เรื่องใหญ่สำหรับผู้ศึกษาธรรมะบ้านเรา

ดูนะธรรมะเรื่องของชีวิตยังไง แล้วท่านจำแนกออกไปมากมายยังไง ตามภาษาบาลีเค้า

ชีวิต=> นามรูป => ขันธ์ 5 => อายตนะ 12 => ธาตุ 18 => อินทรีย์ 22

คัมภีร์อภิธรรมจำแนกชีวิตออกเป็น จิต เจตสิก รูป เทียบกับที่ท่านจำแนกโดยความเป็นขันธ์ (กอง) ที่เราท่องติดปากว่าขันธ์ 5

-รูป = รูป - รูปคำภีร์อภิธรรมยังจำแนกออกอีกมากมายจารไนไม่หวาดไหว

-เวทนา

-สัญญา

-สัีงขาร - เวทนา สัญญา สังขาร = เจตสิก เจตสิก ท่านก็จำแนกออกไปอีกมากมาย

-วิญญาณ = จิต จิต ท่านก็จำแนกออกไปอีกมากมาย

เราไปหลงไปติดอยู่ที่ท่านจำแนกโดยภาษาของเขานี่แหละ หรือใครจะเถียง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร