วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 05:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 129 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2013, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
“สังขตธรรมทั้งปวง ไม่เที่ยง สังขตธรรมทั้งปวง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา....”


ชีวิตตามสภาพของมันเอง :b1:


ชีวิตประกอบด้วยขันธ์ ๕ (จำแนกโดยความเป็นขันธ์ หรือกอง จำแนกแจกแจงได้หลายแนว โดยความเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขา) เท่านั้น ไ่ม่มีสิ่งใดอื่นอีกนอกเหนือจากขันธ์ ๕ หรืออยู่ต่า่งหากจากขันธ์ ๕ ที่ีจะมาเป็นเจ้าของหรือควบคุมให้ขันธ์ ๕ ให้ชีวิตดำเนินไป ในการพิจารณาเรื่องชีวิต เมื่อยกเอาขันธ์ ๕ ขึ้นเป็นตัวตั้งแล้ว ก็เป็นอันครบถ้วนเพียงพอ

ชีวิตเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปตามกฎแห่งปฏิจจสมุปบาท คือมีอยู่ในรูปเป็นกระแสแห่งปัจจัยต่า่งๆ ที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยสืบต่อกัน ไม่มีส่วนใดในกระแสคงที่อยู่ได้ มีแต่การเกิดขึ้นแล้วสลายตัวไป พร้อมกับที่เป็นปัจจัยให้มีการเกิดขึ้นแล้วสลายตัวต่อๆไปอีก ส่วนต่างๆสัมพันธ์กัน เนื่องอาศัยกัน เป็นปัจจัยแก่กัน จึงทำให้กระแสหรือกระบวนการนี้ดำเนินไปอย่างมีเหตุผลและคุมเป็นรูปร่างต่อเนื่องกัน

ในภาวะเช่นนี้้ ชีวิต จึงเป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ อยู่ในภาวะแห่ง อนิจจตา ไม่เที่ยง ไม่คงที่ เกิดดบเสื่อมสลายอยู่ตลอดเวลา อนัตตตา ไม่มีส่วนใดที่มีที่เป็นตัวตนแท้จริง และไม่อาจยึดถือเอาเป็นตัว จะเข้ายึดครองเป็นเจ้าของ บังคับบัญชาให้เป็นไปตามความปรารถนาของคนจริงจังไม่ได้ ทุกขตา ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัวอยู่ทุกขณะ และพร้อมที่จะก่อให้เกิดความทุกข์ได้เสมอ ในกรณีที่มีการเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยความไม่รู้่และยึดติดถือมั่น



^เชื่อมกันกับ V

จากทุกข์ไตรลักษณ์ ไปเกิดเป็นทุกข์ในอริยสัจ ก็ไม่ใช่แค่จากทุกข์ในไตรลักษณ์ ไปเป็นทุกข์ในอริยสัจ แต่ที่จริง คือ จากไตรลักษณ์ครบ 3 คือ อนิจจา ทุกขา และอนัตตา ไปเป็นตัวตั้งให้คนที่ไม่รู้ทันมัน ก่อเป็นทุกข์ในอริยสัจขึ้นมา

นั่นแง่หนึ่งละว่า สังขารหรือเบญจขันธ์ ซึ่งรวมคนหมดทั้งตัวแล้วทั้งกายและใจ เป็นอนิจจา ทุกขา และอนัตตา เป็นไตรลักษณ์ครบทั้ง 3 เป็นเรื่องของสภาวะตามธรรมดาของธรรมชาติทั้งนั้น ไม่ต้องมีตัวตนเข้าไปยุ่งเกี่ยว มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น จึงยังไม่มาเข้าในเรื่องของอริยสัจ (ทั้งที่ทุกข์/ทุกขา ก็มีอยู่ในไตรลักษณ์)

ก็ถามว่าต่อไปว่า แล้วเมื่อไรล่ะ เบญจขันธ์ หรือขันธ์ 5 จึงจะมาเป็นทุกข์ในอริยสัจ ก็ตอบว่า เมื่อมันกลายเป็นเบญจอุปาทานขันธ์ หรือเป็นอุปาทานขันธ์ 5

อุปาทานขันธ์ 5 คืออะไร ? ก็คือ ขันธ์ 5 ที่มีอุปาทานยึดถือยึดครอง ท่านใช้คำว่า “ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน” เป็นเรื่องของอวิชชาตัณหาอุปาทาน อันนี้แหละคือ ทุกข์ที่เป็นข้อ 1 ในอริยสัจ 4.


พิณาดูว่า ทำไมทุกข์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ จึงกลายมาเป็นทุกข์ของคนไ้ด้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 00:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
“สังขตธรรมทั้งปวง ไม่เที่ยง สังขตธรรมทั้งปวง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา....”


ชีวิตตามสภาพของมันเอง :b1:


ชีวิตประกอบด้วยขันธ์ ๕ (จำแนกโดยความเป็นขันธ์ หรือกอง จำแนกแจกแจงได้หลายแนว โดยความเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขา) เท่านั้น ไ่ม่มีสิ่งใดอื่นอีกนอกเหนือจากขันธ์ ๕ หรืออยู่ต่า่งหากจากขันธ์ ๕ ที่ีจะมาเป็นเจ้าของหรือควบคุมให้ขันธ์ ๕ ให้ชีวิตดำเนินไป ในการพิจารณาเรื่องชีวิต เมื่อยกเอาขันธ์ ๕ ขึ้นเป็นตัวตั้งแล้ว ก็เป็นอันครบถ้วนเพียงพอ

ชีวิตเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปตามกฎแห่งปฏิจจสมุปบาท คือมีอยู่ในรูปเป็นกระแสแห่งปัจจัยต่า่งๆ ที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยสืบต่อกัน ไม่มีส่วนใดในกระแสคงที่อยู่ได้ มีแต่การเกิดขึ้นแล้วสลายตัวไป พร้อมกับที่เป็นปัจจัยให้มีการเกิดขึ้นแล้วสลายตัวต่อๆไปอีก ส่วนต่างๆสัมพันธ์กัน เนื่องอาศัยกัน เป็นปัจจัยแก่กัน จึงทำให้กระแสหรือกระบวนการนี้ดำเนินไปอย่างมีเหตุผลและคุมเป็นรูปร่างต่อเนื่องกัน

ในภาวะเช่นนี้้ ชีวิต จึงเป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ อยู่ในภาวะแห่ง อนิจจตา ไม่เที่ยง ไม่คงที่ เกิดดบเสื่อมสลายอยู่ตลอดเวลา อนัตตตา ไม่มีส่วนใดที่มีที่เป็นตัวตนแท้จริง และไม่อาจยึดถือเอาเป็นตัว จะเข้ายึดครองเป็นเจ้าของ บังคับบัญชาให้เป็นไปตามความปรารถนาของคนจริงจังไม่ได้ ทุกขตา ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัวอยู่ทุกขณะ และพร้อมที่จะก่อให้เกิดความทุกข์ได้เสมอ ในกรณีที่มีการเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยความไม่รู้่และยึดติดถือมั่น



^เชื่อมกันกับ V

จากทุกข์ไตรลักษณ์ ไปเกิดเป็นทุกข์ในอริยสัจ ก็ไม่ใช่แค่จากทุกข์ในไตรลักษณ์ ไปเป็นทุกข์ในอริยสัจ แต่ที่จริง คือ จากไตรลักษณ์ครบ 3 คือ อนิจจา ทุกขา และอนัตตา ไปเป็นตัวตั้งให้คนที่ไม่รู้ทันมัน ก่อเป็นทุกข์ในอริยสัจขึ้นมา

นั่นแง่หนึ่งละว่า สังขารหรือเบญจขันธ์ ซึ่งรวมคนหมดทั้งตัวแล้วทั้งกายและใจ เป็นอนิจจา ทุกขา และอนัตตา เป็นไตรลักษณ์ครบทั้ง 3 เป็นเรื่องของสภาวะตามธรรมดาของธรรมชาติทั้งนั้น ไม่ต้องมีตัวตนเข้าไปยุ่งเกี่ยว มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น จึงยังไม่มาเข้าในเรื่องของอริยสัจ (ทั้งที่ทุกข์/ทุกขา ก็มีอยู่ในไตรลักษณ์)

ก็ถามว่าต่อไปว่า แล้วเมื่อไรล่ะ เบญจขันธ์ หรือขันธ์ 5 จึงจะมาเป็นทุกข์ในอริยสัจ ก็ตอบว่า เมื่อมันกลายเป็นเบญจอุปาทานขันธ์ หรือเป็นอุปาทานขันธ์ 5

อุปาทานขันธ์ 5 คืออะไร ? ก็คือ ขันธ์ 5 ที่มีอุปาทานยึดถือยึดครอง ท่านใช้คำว่า “ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน” เป็นเรื่องของอวิชชาตัณหาอุปาทาน อันนี้แหละคือ ทุกข์ที่เป็นข้อ 1 ในอริยสัจ 4.


พิณาดูว่า ทำไมทุกข์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ จึงกลายมาเป็นทุกข์ของคนไ้ด้
ไอ้ตรงนี้พูดกันมากเหลือเกินนะทุกข์นี่คืออะไร ถามว่ากลัวแก่ เจ็บ ตายมั้ย. ถ้าไม่กลัวก็ไม่ต้องทำไร อยุ่ๆไป. ถ้ากลัวไม่อยากกลับมาเป็นอย่างนี้อีกก็ทำตามที่พระองค์บอก เพราพระองค์เกิดมาเพื่อแก่สิ่งนี้คือทำให้ไม่กลับมาเกิดอีก และพระองค์ก็บอกถึงสาเหตุและวิธีดับเหตุ. ตัวทุกข์นั้นคงไม่ต้องบอกนะ ตัวทุกข์กับเหตุอย่าคิดว่าตัวเดียวกันนะ. ตัวต้นเหตุนั้นืคืออุปทานเพราะหลงสรุปคืออวิชา. แล้วเราจะดับอวิชานี้ได้อย่างไร เราต้องมีวิชาวิชาที่พระองค์ให้ไว้คือมรรคมีองค์แปด. ย่อเหลือสามคือศิล สมาธิ ปัญญา. ย่อเหลือสองคือสมถะวิปัสสนา ย่อเหลือหนึ่งเดียวคือ อานาปานสติ อานาปานสติบริบูรณ์ทำให้สติปัฎฐานบริบูรณ์. สติปัฎฐานบริบุรณ์ทำให้โพชฌงค์บริบูรณ์ โพชฌงค์บริบุรณ์ย่อมทำให้วิชาและวิมุติบริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมอันเอกนั้นมีอยู่ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์; ครั้นธรรมทั้ง ๔ นั้น อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์; ครั้นธรรมทั้ง ๗ นั้น อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๒ ให้บริบูรณ์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธินี้แล เป็นธรรมอันเอก ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์; สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์; โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้.

อานาปานสติบริบูรณ์
ย่อมทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว, เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น, เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับหายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ” หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็นอย่างดีต่อลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่าเป็นเวทนาอันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้ง หลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้.


สติปัฏฐานบริบูรณ์
ย่อมทำโพชฌงค์ให้บริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ ก็ดี; เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ ก็ดี; เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ ก็ดี; เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ ก็ดี; มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้; สมัยนั้นสติที่ภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง, สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว; สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์; สมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ; ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ทำการเลือกเฟ้น ใคร่ครวญธรรมนั้นอยู่ด้วยปัญญา, สมัยนั้นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว, สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์, สมัยนั้นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ. ภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน ชื่อว่าเป็นธรรมอันภิกษุนั้นปรารภแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ความเพียรไม่ย่อหย่อน อันภิกษุผู้เลือกเฟ้น ใคร่ครวญในธรรมนั้นด้วยปัญญา, สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว, สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์, สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้ว ปีติอันเป็นนิรามิสก็เกิดขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ปีติอันเป็นนิรามิส เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว, สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว, สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์, สมัยนั้นปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ. ภิกษุนั้น เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ทั้งกายและทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำงับ, สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว, สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์, สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ. ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันรำงับแล้ว มีความสุขอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายอันรำงับแล้วมีความสุขอยู่ ย่อมตั้งมั่น, สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว, สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์, สมัยนั้นสมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ. ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี, สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว, สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์, สมัยนั้นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ได้.



โพชฌงค์บริบูรณ์
ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงจะทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ (ความจางคลาย) อันอาศัยนิโรธ (ความดับ) อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (ความสละ,ความปล่อย);
ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;
ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;
ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;
ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;
ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;
ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;

ภิกษุทั้งหลาย ! โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้ บริบูรณ์ได้, ดังนี้.
พุทธวจน อานาปานสติ หน้า ๑๑ - ๒๓
(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๓๕/๑๓๘๐-๑๔๐๓. : คลิกดูพระสูตร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าอ่านหนังสือ อ่านตำราแล้วสรุปลงที่ที่ชีวิตปัจจุบันนี้ไม่ไ้ด้ หรือสรุปไม่เป็นแล้วล่ะก็เปล่าประโยชน์ขอรับ :b1: กระดาษเปล่า

อเมสซิ่ง อ่านแล้วเตลิดยึดติดตำราเลย เอาชีวิตทั้งชีวิตฝากไ้ว้นั่นเลย โอนหน่วยกิตเข้ามาที่ชีวิต หรือสังขตธรรมนี้ไม่เป็น จึงว่าไงว่าศรัทธาแรงล้ำปัญญา :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 06:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนมาก..ก็พูดเพราะอวิชชา..อวิชชา.....มีวิชาก็แก้อวิชชาได้....เสมือนว่ามีสิ่งหนึ่งขึ้นมาเพื่อมาแก้อีกสิ่งที่ไม่ต้องการ..
แต่...ก็มีน้อยนักที่จะรู้ว่า..จริง ๆ สิ่งไม่ต้องการ...มีรายละเอียดอย่างไร...จุดสังเกตของสิ่งไม่ต้องการว่า..ตอนนี้กำลังมีสิ่งนั้นเกิดกับกายใจเราแล้วนะ..อันนี้มีการพูดถึงน้อย..เอาแต่ยกวิชชากันมาเลย...วิชชาก็วิชชาตำราอีก....มันถึงแก้กันไม่ได้สักทีอยู่นี้งัย

จะย่อมรรค8 เหลือ 3 จะย่อ3 เหลือ 2 ก็ไม่ว่าถ้าเข้าใจนะ...แต่ย่อเหลือ1 คือ อานาปาฯ ดูจะขาดข้อสำคัญไป
แม้จะยกพระสูตรที่ทรงยกย่องอานาปาฯมาอ้าง...ก็ไม่ได้สนับสนุนข้อที่อเมสซิ้งยึดว่า..อานาปาฯคือทั้งหมดในการปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์...

ยกตัวอย่างง่าย ๆ ...ปรารถอุเบกขา..นี้...อเมสซิ้งเข้าใจว่างั้ย.จึงจะเรียกว่าเป้นการปรารถ..คงไม่ใช่แค่การบ่นถึงธรรมดาหรอกมั้ง?

การทำอานาปาฯอย่างเดียว...ของอเมสซิ้ง...ต้องใช้ปัญญาประกอบอย่างหนัก...ไม่ได้ทำไปเปล่า ๆ. หรอกนะ..คงเข้าใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 06:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่ใช้เป็นกรรมฐานโอ้ ...โอ๋ มีมากมาย อะไรก็ได้ ที่จิตเกาะจับเข้าแล้วสงบได้ ในตำราท่านจัดไว้ แค่ 40 อย่าง อานาปานสติ กายคตาสติ ก็อยู่ในบรรดากัมมัฏฐาน 40 นั้นเอง

ใครก็ตามจะทำกรรมฐานหรือฝึกอบรมจิต หรือพัฒนาจิตใจ หรือจะเรียกว่าอะไรก็ตาม ควรศึกษาเืรื่องนี้ให้ถ่องแท้ ไม่ยังงั้นแล้วปฏิบัติไปๆภาวนาไปๆ ธรรมดาของสังขาร (หรือชีวิต หรือสังขตธรรม เรียกให้หลายชื่อเข้าไว้ เพื่อไม่ให้หลงชื่อหลงศัพท์เขา) ปรากฎแล้ว ไม่ยึดติด (อุปาทาน) สภาวะเป็นจริงเป็นจัง ก็เพี้ยนๆ :b1: ที่รู้รอดเข้าใจนั้นยังหายาก เพราะอะไร ? เพราะเขาไม่เข้าใจปรมัตถธรรม คือชีวิตหรือสังขตธรรมนี้ :b1: :b9:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมชาติ คือ สังขตธรรม (หรือชีวิตทั้งองคาพยพ) มีอะไรที่มาเป็นบุคคลเป็นสมมุติบัญญัติแล้วเจ้าของเองยังง งวยกับมัน


อ้างคำพูด:
เพิ่งปฏิบัติมาได้ไม่นานเท่าไรค่ะ แต่่ว่าในบางครั้งที่นั่งสมาธิอยู่ๆ ก็จะมีเสียงพูดขึ้นมาสอนบ้าง หรือพูดประโยคบางประโยคซึ่งมั่นใจว่า ไม่ได้คิดไปเองแน่นอน (เพราะดิฉันไม่น่าจะคิดคำ พูดแบบนั้นได้แน่ๆ) และก็ไม่ได้เป็นการได้ยินจากข้างนอกนะคะ มันไม่ได้เป็นการกระทบ หรือรับรู้จากภายนอก แต่เป็นการได้ยินจากข้างในค่ะ (ไม่รู้จะอธิบายอย่าง ไรดี) หรือในบางครั้ง ที่ดิฉันนอนหลับอยู่ และตื่นขึ้นมา ก็เคยได้ยินจิตมันร้องเพลง ขึ้นมาเองได้ ซึ่งอาการไม่ได้เหมือนเราร้องเพลงในใจนะคะ คือ แบบว่า เราไม่ได้คิดนะ แต่จิตมันร้องออกมาเองได้ ซึ่งเป็นเพลงที่เราไม่รู้จัก ไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย (เป็นเพลงธรรมะ) รบกวนผู้รู้อธิบายด้วยคะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 10:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ูดูที่เขาใช้ อานาปาน ไงบ้าง

อ้างคำพูด:
เพิ่งเริ่มนั่งสมาธิได้สองเดือนกว่า ช่วงแรกที่นั่งก็ใช้อานาปานสติ และพุทโธค่ะ ก็จะเอาจิตแนบกับลมหายใจตอนเข้าออก

ตอนแรกที่นั่งไม่มีความรู้อะไรเลยค่ะ ปรากฎว่านั่งได้นานกว่า ช.ม. มีอยู่ครั้งนึงเหมือนสัปหงก รู้สึกตัวอีกทีก็เห็นหัวตัวเอง และช่วงบ่าจากด้านซ้ายมือ ทั้งที่นั่งตอนเย็นกลับรู้สึกเหมือนกลางวันค่ะ ก็แปลกใจระคนตกใจนิดหน่อย มีความรู้สึกว่ามีตัวตนอีกคนดูตัวเราที่นั่งสมาธิอยู่

อีกครั้งนั่งดูลมหายใจ และภาวนาพุทโธก่อนจะหลับ เน้นยังไม่หลับค่ะ รู้ตัวตลอด รู้สึกเหมือนมีอาการคล้ายผีอำค่ะ แต่ขนลุกด้านหลังแบบเย็นวาบ เลยค่ะ แต่เรากลับเห็นแขนเรา กะขาหนึ่งข้าง (เรานอนตะแคงขวา) เราก็เกิดความกลัวระคนแปลกใจ นึกในใจว่า เฮ้ย วิญญานออกจากร่าง ก็เลยพยายามขยับแขนกะขาข้างที่เห็น ปรากฎว่าไม่สามารถค่ะ แถมมันสว่างเหมือนกลางวัน ต้องพยายามหมุนตัวให้แขนมันตรงกัน จนค่อยขยับออกมาได้ (ยังขำตัวเองจนถึงปัจจุบัน ที่พยายามหมุนให้แขนมันตรงกัน



หลงเข้าใจผิดไ้ด้ทุกขั้นตอน :b1: อเมสซิ่งว่าจริงมั้ยขอรับ :b10: :b14: พอเข้าใจคำว่า การเกิดเป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์มั้ยขอรับ

พระสูตร พระอภิธรรม อยู่ที่ชีวิตนี้ทั้งหมด คุณว่าจริงมั้ยเออๆๆ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 14:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ูดูที่เขาใช้ อานาปาน ไงบ้าง

อ้างคำพูด:
เพิ่งเริ่มนั่งสมาธิได้สองเดือนกว่า ช่วงแรกที่นั่งก็ใช้อานาปานสติ และพุทโธค่ะ ก็จะเอาจิตแนบกับลมหายใจตอนเข้าออก

ตอนแรกที่นั่งไม่มีความรู้อะไรเลยค่ะ ปรากฎว่านั่งได้นานกว่า ช.ม. มีอยู่ครั้งนึงเหมือนสัปหงก รู้สึกตัวอีกทีก็เห็นหัวตัวเอง และช่วงบ่าจากด้านซ้ายมือ ทั้งที่นั่งตอนเย็นกลับรู้สึกเหมือนกลางวันค่ะ ก็แปลกใจระคนตกใจนิดหน่อย มีความรู้สึกว่ามีตัวตนอีกคนดูตัวเราที่นั่งสมาธิอยู่

อีกครั้งนั่งดูลมหายใจ และภาวนาพุทโธก่อนจะหลับ เน้นยังไม่หลับค่ะ รู้ตัวตลอด รู้สึกเหมือนมีอาการคล้ายผีอำค่ะ แต่ขนลุกด้านหลังแบบเย็นวาบ เลยค่ะ แต่เรากลับเห็นแขนเรา กะขาหนึ่งข้าง (เรานอนตะแคงขวา) เราก็เกิดความกลัวระคนแปลกใจ นึกในใจว่า เฮ้ย วิญญานออกจากร่าง ก็เลยพยายามขยับแขนกะขาข้างที่เห็น ปรากฎว่าไม่สามารถค่ะ แถมมันสว่างเหมือนกลางวัน ต้องพยายามหมุนตัวให้แขนมันตรงกัน จนค่อยขยับออกมาได้ (ยังขำตัวเองจนถึงปัจจุบัน ที่พยายามหมุนให้แขนมันตรงกัน



หลงเข้าใจผิดไ้ด้ทุกขั้นตอน :b1: อเมสซิ่งว่าจริงมั้ยขอรับ :b10: :b14: พอเข้าใจคำว่า การเกิดเป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์มั้ยขอรับ

พระสูตร พระอภิธรรม อยู่ที่ชีวิตนี้ทั้งหมด คุณว่าจริงมั้ยเออๆๆ :b32:
อุปทานมันเป็นต้นเหตุแต่ตอนนี้มันปลายเหตุจนเกิดมาแล้วจู่ๆคิดจะดับอุปาทานนั้นคิดเอามันดับไม่ได้ มันต้องดับที่ตัวตัณหาอุปาทานมันจึงจะดับ. ตัณหาดับได้อย่างไรก็ต้องดับทีเวทนา เวทนาดับได้อย่างไรก็ต้องดัผัสสะ. ผัสสะดัได้อย่างไรก็ต้องดับสฬายตนะ สฬายตนะดับได้อย่างไร. ก็ต้องดับรูปนามตรงน้แหล่ครับที่เราทำได้จริง วิชชา วิมุติเกิดขึ้นตรงนี้ ดับตัณหาดับตรงนี้เมื่อรูปนามดับสฬายตะก็ดับไล่ลงไปผัสสะเวทนาตัณหาอุปาทานดับหมด ไล่ขึ้นรูปนามดับทำให้เกิควิญญานดับ วิญญานดับทำให้สังขารดับ สังขารดับอวิชากม็ดับ. ธรรมทั้งหมดยู่ที่ดับรูปนาม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2013, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
amazing เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลคือทุกขอริยสัจ ความเกิด ก็เป็นทุกข์ ความแก่ ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บ ก็เป็นทุกข์ ความตาย ก็เป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์

ดูชัดๆ คำสรุปความหมายของตอนลงท้ายที่ว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ (สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา) ตรงนี้เป็นสาระสำคัญ คือที่ว่านั่นก็ทุกข์ นี่ก็ทุกข์นั้น รวมความแล้ว ก็อยู่แค่ที่ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

พูดถึงชีวิต ๕ กองอีกกกก :b32:


ได้แต่จ้อไปวันๆ เหมือนคนขี้เหงาหาเพื่อนคุยไร้แก่นสาร
บอกให้ฟังสั้นๆน่ะกรัชกาย ..........ทุกข์อริยสัจจ์กับเป็นทุกข์ มันคนล่ะเรื่อง
ทุกขอริยสัจจ์คือปฏิจจสมุบาท ส่วนเป็นทุกข์คือไตรลักษณ์

สรุปปฏิจจสมุบาทคือทุกข์...(เกิด แก่ เจ็บ ตาย=ชีวิต)
ไตรลักษณ์เป็นเหตุให้เกิดอุปาทานขันธ์ ไตรลักษณ์จึงเป็นสมุทัยเหตุแห่งทุกข์
หรือเรียกอีกอย่างว่ากองทุกข์ มันเป็นเหตุแห่งการเกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นชีวิตในชาติต่อไป


พูดสั้นๆ รู้ดีว่าพูดยาวไปก็เปล่าประโยชน์
เดี๋ยวก็เอาคำอธิบายมาสร้างปัญหาถามแบบไม่ต้องการคำตอบ :b32:



กระทู้นี้นับว่าสุดยอด คือ อเมสซิง นำรูปนาม (ชีวิต) ซึ่งกำลังเกิดอยู่กลางทุ่งหญ้า แล้วชีวิต (นามรูป) นี่แหละเป็นที่รวมของธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ไว้ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับต้นๆพื้นๆ ซึ่งใช้สอนชาวบ้าน ทั้งระดับสูงสุดที่เรียกปรมัตถธรรม รวมอยู่ที่ชีวิตเดียวนี้ บลาๆๆ

อย่างโฮฮับนี่ไม่เข้าใจธรรมะ เพราะมองธรรมะพ้นจากชีวิตไป เพราะมิจฉาทิฏฐิตัวเดียว :b1:

ตอนต่อไป จะนำมาให้ดูว่า ธรรมะทุกระดับรวมที่ชีวิตนี้อย่างไร :b32:



โถ. กรัชกายไม่น่ปล่อยเมียมาคลอดลูกอย่างนี้เลย. ผมเกือบบรรลุเลยนะนี่



นี่คือความเห็นของคนๆหนึ่ง ซึ่งมองไม่ทะลุทะลวงถึงสัจธรรม ไปติดอยู่แค่หญิงคลอดลูก คิกๆๆ คงอีกนาน พูดเอาฮาก็ว่า คงตายเกิดๆๆๆๆ อีกหลายภพชาติ กว่าจะเห็นแสงแห่งพระธรรม :b32:

ก่อนที่จะก้าวต่อไป ปรับระดับความคิดกันหน่อย :b32:

คือ (พูดโดยภาษาสมมติบัญญัตินะไม่งั้นคุยกันไม่รู้เรื่อง ) ตัวเราเองด้วย ก็คือสังขตธรรม (ชีวิตนี้แหละคือสังขตธรรม) สรุปยังงี้เลย มนุษย์ทั้งโลก ที่มีแล้ว กำลังมี และจะมี (อดีต ปัจจุบัน อนาคต) เป็นสังขตธรรมทั้งสิ้น ใครจะเกิดกลางทุ่งนา ทุ่งหญ้า ทุ่งเสลียง (สุโขทัย) โรงพยาบาล คลีนิก ในประเทศ ต่างประเทศ ฯลฯ ชีวิตของเขาผู้นั้นคือสังขตธรรม พอเข้าใจมั้ย :b1: รับได้มั้ยว่า ชีวิตหมดทั้งตัวทั้งองคาพยพเนี่ย เป็นสังขตธรรม :b1:

ดันกระทู้ขึ้นมาเตือนสติอิตาบิ๊กทู่หน่อย
จริงๆคุณน้องก็คิดเหมือนพี่กรัชกาย สงสารบิ๊กทู่ ไม่อยากให้ติดอยู่กับหญิงคลอดลุกแล้วเกิดอุปทานข์ว่าไม่อยากเกิดอีก น่าสางสารแท้ :b9:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 129 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร