วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 16:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2013, 14:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เท่าที่สังเกตตามเวปบอร์ดธรรมะ (เขาว่ากันยังงั้น) หลายๆแห่ง มีไม่กี่คนที่เล่นๆ (โพสต์ๆ) กันอยู่ นับคนได้ :b1: เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอยู่ โยกไปโยกมากันอยู่ :b32:


กรัชกายเล่นเว็บพันทิบหรือเปล่า ถ้าเล่นช่วยไปชวนพวกนั้นมาแสดงความเห็นในลานธรรมจักร
เห็นหลายคนในพันทิบ ชอบเถียงกันเรื่องพระไตรปิฎก แบบนี้มันถึงจะน่าคุย

ไอ้ที่แสดงความเห็นอยู่ที่นี้ มันไม่ได้เรื่อง แสดงความเห็นเคลิ้มกันไปมา
เอาพระธรรมของพระพุทธเจ้า ไปทำเป็นธรรมะโวหารทั้งที่พระพุทธองค์ทรงห้าม

แต่อย่าเอาพวกเอาแต่ด่าอย่างเดียวมาน่ะ :b32:



นอกจากพันทิพแล้วยังมีอีกหลายๆบอร์ด ที่เข้าไปอ่านๆดูว่า ใครพูดอะไรพูดว่ายังไงกันบ้าง แต่ไม่ได้เป็นสมาชิก


อ้างคำพูด:
เห็นหลายคนในพันทิบ ชอบเถียงกันเรื่องพระไตรปิฎก แบบนี้มันถึงจะน่าคุย



ไหนลองคุยพระไตรปิฎกให้ฟังหน่อยสิ ยังไง


การสอนธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นไปในลักษณะของการชี้ให้เห็นถึงกิเลส
นั้นหมายความว่า.....มีบุคคลกำลังหลง จะเป็นการแสดงอาการทางกาย วาจา
เมื่อมีเหตุที่ว่า พระพุทธองค์จึงจะแสดงธรรมโปรดแก่บุคคลนั้น

เช่นเดียวกัน มันไม่ใช่เรื่องที่อยู่ดีๆ พี่โฮถึงจะพูดธรรมชนิดไม่ดูเหนือใต้ออกตก
ถามหน่อย ถ้ามีคนมาโพส พระไตรแต่อย่างเดียว กรัชกายเคยคิดในใจมั้ยว่า
คนโพสมันจะสื่ออะไร ถ้าเป็นพี่โฮ พี่โฮจะคิดว่า ไอ้คนโพสนี่มันไม่รู้ความ
ไม่มีวุฒิภาวะ ไร้ซึ่งกาลเทศะ :b32:





ศีล - ควบคุม กาย วาจา (กำจัดกิเลสอย่างหยาบ)

สมาธิ - กำจัดกิเลสอย่างกลาง

ปัญญา -กำจัดกิเลสอย่างละเอียด (อนุสัยกิเลส)


จะต้องปฏิบัติควบคู่กันไปทั้งสามด้านนี้ ต้องทำต้องปฏิบัติต่อเนื่อง และถูกทาง ไม่ใช่ทำเพียงชั่วครู่ชั่วยาม ใช้เวลาเท่ากับเวลาที่ตนลืมตาดูโลกนี้ คือ เกิดมากี่ปีก็ทำไปเท่านั้นปี นี่ว่าโดยทำถูกทางน่ะ ถ้าผิดท่างก็ไม่ต้องนับชาติเลย :b1:

การกำจัดกิเลสไม่ใช่เรื่องง่ายขอบอก :b1:


กรัชกาย ที่เอามาพูดน่ะ มันเป็นโวหารของคนที่อยากเป็นผู้รู้ พูดง่ายก็คือ
อวดอุตริมาสอนธรรม ทั้งๆที่ไม่รู้ เลยต้องอาศัยสร้างคำพูดให้มันเป็นโวหาร
ให้คนอื่นหลง ที่ว่าหลงก็เพราะ คิดว่ามันเท่ แท้จริงหาสาระในธรรมไม่ได้

กิเลสบ้าบอที่ไหนมีสามระดับ นี้แสดงว่าไม่รู้จักสังโยชน์



ไม่ขัดใจ จะตามใจทุกอย่า่ง สังโยชน์ก็สังโยชน์ บอกวิธีปฏิบัติเพื่อกำจัดสังโยชน์ก็ไ้ด้ว่ามา หนึ่ง สอง สาม :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2013, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b35: คุยกันรู้เรื่องเน๊าะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2013, 11:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากสังโยชน์สิบ สู่ร้อยโยชน์ฉิบ

ไขความหน่อย เดี๋ยวไม่เข้าใจ เพราะเพิ่งคิดไ้ด้ คือ โฮฮับพูดถึงสังโยชน์ 10 กรัชกายถามถึงวิธีปฏิบัติเพื่อกำจัดสังโยชน์สิบ โฮฮับก็หนีไปร้อยโยชน์เสียฉิบ หมายความว่าหนีไปไกลประมาณร้อยโยชน์ คือปล่อยๆให้เรื่องเงียบ (เพราะรู้ว่าคนไทยลืมง่าย) :b32: พอเรื่องซาๆหน่อย ก้เข้ามาใหม่ เหมือนคำขวัญคอมมิวนิสต์ที่ว่า เอ็งมาข้ามุด เอ็งหยุดข้าแหย่ เอ็งแย่ข้าตี เอ็งหนีข้าตาม :b9: :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2013, 12:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:
:b35: คุยกันรู้เรื่องเน๊าะ


ผมยังฟังคุณรู้เรื่องเลย....แต่ที่รู้ก็คือรู้ว่ามันผิด :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2013, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
จากสังโยชน์สิบ สู่ร้อยโยชน์ฉิบ

ไขความหน่อย เดี๋ยวไม่เข้าใจ เพราะเพิ่งคิดไ้ด้ คือ โฮฮับพูดถึงสังโยชน์ 10 กรัชกายถามถึงวิธีปฏิบัติเพื่อกำจัดสังโยชน์สิบ โฮฮับก็หนีไปร้อยโยชน์เสียฉิบ หมายความว่าหนีไปไกลประมาณร้อยโยชน์ คือปล่อยๆให้เรื่องเงียบ (เพราะรู้ว่าคนไทยลืมง่าย) :b32: พอเรื่องซาๆหน่อย ก้เข้ามาใหม่ เหมือนคำขวัญคอมมิวนิสต์ที่ว่า เอ็งมาข้ามุด เอ็งหยุดข้าแหย่ เอ็งแย่ข้าตี เอ็งหนีข้าตาม :b9: :b13:


"เราหยุดแล้ว ท่านซิยังไม่หยุด"...........เอาพุทธพจน์นี้ไปพิจารณา
สักวันอาจฟรุคเกิดดวงตาเห็นธรรม :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2013, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
จากสังโยชน์สิบ สู่ร้อยโยชน์ฉิบ

ไขความหน่อย เดี๋ยวไม่เข้าใจ เพราะเพิ่งคิดไ้ด้ คือ โฮฮับพูดถึงสังโยชน์ 10 กรัชกายถามถึงวิธีปฏิบัติเพื่อกำจัดสังโยชน์สิบ โฮฮับก็หนีไปร้อยโยชน์เสียฉิบ หมายความว่าหนีไปไกลประมาณร้อยโยชน์ คือปล่อยๆให้เรื่องเงียบ (เพราะรู้ว่าคนไทยลืมง่าย) :b32: พอเรื่องซาๆหน่อย ก้เข้ามาใหม่ เหมือนคำขวัญคอมมิวนิสต์ที่ว่า เอ็งมาข้ามุด เอ็งหยุดข้าแหย่ เอ็งแย่ข้าตี เอ็งหนีข้าตาม :b9: :b13:


"เราหยุดแล้ว ท่านซิยังไม่หยุด"...........เอาพุทธพจน์นี้ไปพิจารณา
สักวันอาจฟรุคเกิดดวงตาเห็นธรรม :b32:



ที่หยุด เพราะไปไม่เป็น :b9: แถไม่ออก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2013, 08:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
จากสังโยชน์สิบ สู่ร้อยโยชน์ฉิบ

ไขความหน่อย เดี๋ยวไม่เข้าใจ เพราะเพิ่งคิดไ้ด้ คือ โฮฮับพูดถึงสังโยชน์ 10 กรัชกายถามถึงวิธีปฏิบัติเพื่อกำจัดสังโยชน์สิบ โฮฮับก็หนีไปร้อยโยชน์เสียฉิบ หมายความว่าหนีไปไกลประมาณร้อยโยชน์ คือปล่อยๆให้เรื่องเงียบ (เพราะรู้ว่าคนไทยลืมง่าย) :b32: พอเรื่องซาๆหน่อย ก้เข้ามาใหม่ เหมือนคำขวัญคอมมิวนิสต์ที่ว่า เอ็งมาข้ามุด เอ็งหยุดข้าแหย่ เอ็งแย่ข้าตี เอ็งหนีข้าตาม :b9: :b13:


"เราหยุดแล้ว ท่านซิยังไม่หยุด"...........เอาพุทธพจน์นี้ไปพิจารณา
สักวันอาจฟรุคเกิดดวงตาเห็นธรรม :b32:



ที่หยุด เพราะไปไม่เป็น :b9: แถไม่ออก


คำพูดนั้นเป็นพุทธวจน ที่พระพุทธองค์ตรัสกับองคุลีมาล เพื่อที่จะเตือนสติให้รู้สึกตัว
พระพุทธองค์เห็นว่า......องคุลีมาลอยากบรรลุมรรคผล แต่ใช้วิธีการที่ผิด
องคุลีมาลฆ่าคนโดยเข้าใจว่าเป็นวิธีที่ถูกต้อง
องคุลีมาลฆ่าคนจากหนึ่งเป็นสองและฆ่าต่อไปเรื่อยๆ ดังนั้นพุทธวจนของพระพุทธองค์จึงเตือนสติ
เพื่อให้หยุดการกระทำเหล่านั้น.....(ซึ่งเรื่องนี้ยังมีลายละเอียดอีกมากมายจะข้อเว้นไว้)

ที่พี่โฮยกเอาพุทธวจนมาอ้าง ก็เพื่อจะเตือนสติกรัชกาย
พี่โฮเห็นว่ากรัชกายกำลังเป็นเหมือนองคุลีมาลล์ ช่วงที่กำลังขาดสติโง่เขลาเบาปัญญา
คิดว่าวิธีที่ตนกำลังทำ เป็นวิธีที่ถูกต้อง เลยย้ำคิดย้ำทำกับสิ่งนั้น

องคุลีมาลล์คือการฆ่าคน แต่กรัชกายคือการ...ถามซ้ำซาก
ชอบเอาปฏิเวธมาทำให้เกิดวิจิกิจฉา ทำอะไรย้อนศรกับสิ่งที่พระพุทธเจ้าแนะนำ
ชอบก่อปัญหาให้ตัวเอง เท่านั้นยังไม่พอยังเอาปัญหาของตน
ไปอิงแอบกับตำราเรียน ยิ่งทำให้ตัวเองจมลึกลงไปอีก

กรัชกายคำตอบทุกคำตอบมันอยู่ในใจตนเอง ถ้าอยากรู้ก็ดูที่ใจตนเอง
ไม่ใช่มาตั้งคำถามสร้างกิเลสให้ตัวเองแบบนี้ ถ้ายังไม่เปลี่ยนแปลงตัวเอง
ชาตินี้ก็อย่าหวังว่าจะเข้าใจแม้เปลือกของพระธรรม :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2013, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนหน้าพูดถึงกิเลส หรือสังโยชน์สิบ ตัดมาให้ดู


อ้างคำพูด:
เกณฑ์จำแนกประเภททักขิไณยบุคคล หรืออริยบุคคลนั้น ว่าโดยหลักใหญ่ มี ๒ วิธี คือ แบ่งแบบ ๘ (แบ่งตามขั้นหรือระดับที่กำจัดกิเลสได้ หรืออาจเรียกว่า แบ่งแบบลบ) และแบ่งแบบ ๗ (แบ่งตามคุณธรรม หรือข้อปฏิบัติที่ให้เข้าถึงระดับหรือขั้นนั้นๆ จะเรียกว่า แบ่งแบบบวก ก็ได้)

แบบที่ ๑ ทักขิไณยบุคคล หรืออริยบุคคล ๘

เกณฑ์แบ่งแบบนี้ จัดตามกิเลสคือสังโยชน์ที่ละได้ในแต่ละขั้น พร้อมไปกับความความก้าวหน้าในการบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ดังนั้นจึงควรรู้จักสังโยชน์ไว้

สังโยชน์ แปลตามศัพท์ว่า เครื่องผูก หมายถึงกิเลสที่ผูกใจสัตว์ หรืออกุศลธรรมที่ผูกมัดสัตว์ไว้กับทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ เหมือนผูกเทียมสัตว์ไว้กับรถ มี ๑๐ อย่าง คือ


ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ หรือขั้นหยาบ) ๕ อย่าง คือ


๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่า เป็นตัวของตน ความเห็นที่ยังติดแน่นในสมมติว่าเป็นตัวตน เรา

เขา เป็นนั่นเป็นนี่ มองไม่เห็นสภาพความจริง ที่สัตว์บุคคลเป็นเพียงองค์ประกอบต่างๆ มา

ประชุมกันเข้า ทำให้มีความเห็นแก่ตัวในขั้นหยาบ และความรู้สึกกระทบกระทั่งบีบคั้นเป็นทุกข์ได้

รุนแรง

๒. วิจิกิจฉา ความลังเล สงสัย เคลือบแคลงต่างๆ เช่น สงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม

ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในเรื่องที่มาที่ไปของชีวิต ในปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น ทำให้ไม่มั่นใจ ไม่

เข้มแข็งแกล้วกล้าที่จะดำเนินชีวิตตามหลักธรรม ด้วยความมีเหตุมีผล และในการที่จะเดินหน้าแน่ว

ดิ่งไปในอริยมรรคา

๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต คือความยึดถือผิดพลาดไปว่า จะบริสุทธิ์ จะหลุดพ้น

ได้เพียงด้วยศีลและพรต ได้แก่ การถือศีล ระเบียบ แบบแผน บทบัญญัติ และข้อปฏิบัติ

ต่างๆ โดยสักว่าทำตามๆกันไปอย่างงมงาย เห็นเป็นขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ ติดอยู่แต่รูปแบบหรือ

พิธีรีตอง ก็ดี ถือด้วยตัณหาและทิฏฐิ คือปฏิบัติเพราะอยากได้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างใด

อย่างหนึ่ง หรือเพราะเห็นว่าจะทำให้ได้เป็นนั่นเป็นนี่ ก็ดี ไม่เป็นไปตามความหมาย และความมุ่ง

หมายที่แท้จริงของศีลและพรต ทำให้เขวออกนอกลู่นอกทาง หรือเลยเถิดไป เป็นอย่างศีลและ

พรตของนักบำเพ็ญตบะ เป็นต้น ไม่เข้าสู่อริยมรรค

๔. กามราคะ ความติดใคร่ในกาม ความอยากได้ใฝ่หาในเรื่องรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ

๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง หรืองุ่นง่านใจ


ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ หรือขั้นหยาบ) ๕ อย่าง คือ


๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต เช่น ติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน พอใจในรสความสุข ความสงบของสมาธิขั้นรูปฌาน ติดใจปรารถนาในรูปภพ เป็นต้น

๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม เช่น ติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน ติดใจปรารถนาในอรูปภพ เป็นต้น

๘. มานะ ความถือตัว ความสำคัญตนเป็นนั่นเป็นนี่ เช่นว่า สูงกว่าเขา เท่าเทียบเขา ต่ำกว่าเขา เป็นต้น

๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน จิตใจไม่สงบ ว้าวุ่น ซัดส่าย คิดพล่านไป

๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง ไม่รู้เท่าทันสภาวะ ไม่เข้าใจกฎธรรมดาแห่งเหตุและผล หรือไม่รู้อริยสัจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2013, 07:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ก่อนหน้าพูดถึงกิเลส หรือสังโยชน์สิบ ตัดมาให้ดู


อ้างคำพูด:

ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ หรือขั้นหยาบ) ๕ อย่าง คือ


๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่า เป็นตัวของตน ความเห็นที่ยังติดแน่นในสมมติว่าเป็นตัวตน เรา

เขา เป็นนั่นเป็นนี่ มองไม่เห็นสภาพความจริง ที่สัตว์บุคคลเป็นเพียงองค์ประกอบต่างๆ มา

ประชุมกันเข้า ทำให้มีความเห็นแก่ตัวในขั้นหยาบ และความรู้สึกกระทบกระทั่งบีบคั้นเป็นทุกข์ได้

รุนแรง

๒. วิจิกิจฉา ความลังเล สงสัย เคลือบแคลงต่างๆ เช่น สงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม

ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในเรื่องที่มาที่ไปของชีวิต ในปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น ทำให้ไม่มั่นใจ ไม่

เข้มแข็งแกล้วกล้าที่จะดำเนินชีวิตตามหลักธรรม ด้วยความมีเหตุมีผล และในการที่จะเดินหน้าแน่ว

ดิ่งไปในอริยมรรคา

๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต คือความยึดถือผิดพลาดไปว่า จะบริสุทธิ์ จะหลุดพ้น

ได้เพียงด้วยศีลและพรต ได้แก่ การถือศีล ระเบียบ แบบแผน บทบัญญัติ และข้อปฏิบัติ

ต่างๆ โดยสักว่าทำตามๆกันไปอย่างงมงาย เห็นเป็นขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ ติดอยู่แต่รูปแบบหรือ

พิธีรีตอง ก็ดี ถือด้วยตัณหาและทิฏฐิ คือปฏิบัติเพราะอยากได้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างใด

อย่างหนึ่ง หรือเพราะเห็นว่าจะทำให้ได้เป็นนั่นเป็นนี่ ก็ดี ไม่เป็นไปตามความหมาย และความมุ่ง

หมายที่แท้จริงของศีลและพรต ทำให้เขวออกนอกลู่นอกทาง หรือเลยเถิดไป เป็นอย่างศีลและ

พรตของนักบำเพ็ญตบะ เป็นต้น ไม่เข้าสู่อริยมรรค

๔. กามราคะ ความติดใคร่ในกาม ความอยากได้ใฝ่หาในเรื่องรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ

๕.ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง หรืองุ่นง่านใจ





ข้อที่๕ ที่บอกว่า ปฏิฆะ หมายถึงสิ่งที่มากระทบทางใจ........ใช่

แต่สิ่งที่ขยายความ เช่นบอกว่า ความหงุดหงิดขัดเคือง .....นี่มันคลาดเคลื่อน
แบบนี้แสดงว่า ผู้แปลไม่มีความรู้ทางปรมัตถ์

ปฏิฆะคือสิ่งที่มากระทบทางใจ อะไรมากระทบทางใจ ประเด็นมันอยู่ตรงนี้

ไอ้หงุดหงิดขัดเคืองมันเป็นผลหรือเป็นอาการของจิต มันไม่ใช่ปฏิฆะ

แล้วอะไรบ้างเป็นปฏิฆะ ........................

ปฏิฆะเป็น โอรัมภาคิยสังโยชน์ เป็นสังโยชน์เบื้องต่ำและมีลักษณะของการกระทบทางใจ
เหตุนี้สังโยชน์ตัวนี้ จึงเกิดขึ้นที่มโนทวารเพียงอย่างเดียว

ในปุถุชน สิ่งเป็นปฏิฆะหรือมากระทบทางใจ นั้นก็คือสัญญาความจำอันเกิดจากกิเลสสังโยชน์
๔ตัว ได้แก่ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา ศีลพรตปรามาส และกามคุณห้า

ถ้าเป็นอริยโสดาบันหรือสกิทาคามี สิ่งที่มากระทบทางใจก็คือกามคุณห้า

ปฏิฆะ ไม่ได้ส่งผลให้เกิดความหงุดหงิดแค้นเคืองเพียงอย่างเดียว

อาการของจิต จะเป็นไปในทางใดมันขึ้นอยู่กับ ตัณหาความยินดียินร้าย
เมื่อมีสิ่งที่มากระทบ เกิดความคิดกับสัญญาในอดีต ถ้าสัญญานั้นเป็นสิ่งที่เราชอบยินดี
อาการของจิตก็จะเป็น......โลภะ(โลภะ๓)

ถ้าเราหวลคิดในเรื่องที่ไม่ชอบยินร้าย อาการของจิตก็จะเป็น.....โทสะ(โทสะสี่)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2013, 12:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: กัลยาณมิตรทุกท่าน

เคยอ่านเจอพระสูตรเกี่ยวกับการละสังโยชน์เบื้องต่ำดังนี้ครับ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 814&Z=2961

:b8:

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2013, 06:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 17:07
โพสต์: 39

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เอาตัณหาไปแปลความว่า......ความอยาก มันไม่ถูกต้องตามธรรม

ตัณหาไม่ใช่ความอยาก แต่ตัณหาเป็นเหตุให้เกิด....ความยินดีหรือยินร้าย

ถ้าเหตุแห่งตัณหาเป็นความยินร้าย......ตัณหาแห่งความยินร้าย จะเป็นเหตุให้จิต
มีอาการของความไม่อยาก เราเรียกอาการของจิตนั้นว่า ...โทสะ


ถ้าเหตุแห่งตัณหาเป็นความยินดี.....ตัณหาแห่งความยินดี จะเป็นเหตุให้จิต
มีอาการของความอยาก เราเรียกอาการของจิตนั้นว่า.....โลภะ


สรุปให้ฟังสั้นๆว่า......อย่าเอาคำที่ตัวไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้มาใช้
เพราะมันจะทำให้เกิดความสับสนต่อตัวเองและผู้อื่น


ขออภัยด้วยที่ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง
สิ่งที่เขียนเกิดจากสิ่งที่สังเกตจากตัวเอง
เป็นอาการเผาไหม้ ร้อนรน ที่อยู่ในจิต อยู่ในทุกการกระทำ ในทุกครั้งที่เริ่มคิด มีจุดมุ่งหมาย ไม่ว่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีหรือไม่ก็ตาม แค่เดิน 1ก้าว ก็มีความรู้สึกดังกล่าวปรากฏขึ้นมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2013, 11:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: คุณอธรรม

นั่นเป็นผลจากอาสวะ

มีผู้กล่าวว่า อาสวะำทำหน้าที่อย่างเดียวกับตัณหา

อ่านเพิ่มที่ http://pobbuddha.com/tripitaka/upload/f ... index.html

:b8:

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2014, 19:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 19:24
โพสต์: 29

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะละความอยากนั้นง่ายนิดเดียว คือต้องรู้ทันตัณหา ไม่ได้กวนนะ
เคยได้ยินคำว่ากิเลส ตัณหาไหมครับ สงไสไหมครับกิเลสก็ โลภะ โทสะ โมหะ ตัณหา ก็โลภะ
ในกิเลสก็มีโลภะ แล้วทำไมต้องพูดว่ากิเลสตัณหา
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าเมื่อกิเลสเกิด ก็จะเกิดตัณหาตามมาทันที เช่นเมื่อคุณเกิดความอยากมันจะเกิดทุกข์ ตัณหาคือตัวที่อยากจะแก้ทุกข์ตันนั้นแหละ
ทุกข์มีเหตุก็เกิดไม่ต้องไปแก้มันแค้รู้มัน ส่วนตันหาคือตัวอยากจะแก้ทุกข์ ให้ละมัน
วิธีละคือให้รู้ความจริงที่ว่ากายและใจนี้แหละคือตัวทุกข์ ไม่สามารถพ้นไปจากทุกข์ได้ทำอย่างไรก็พ้นไปไม่ได้ เมื่อจิตยอมรับว่ากายและใจนี้แหละตัวทุกข์ไม่มีทางหนีไปได้จิตจะวางความอยากจะแก้ทุกข์เอง
เมื่อตัณหาดับ โลภะก็ทนอยู่ไม่ได้ก็ดับตาม ทั้งหมดนี้ ต้องอาศัยสติ นะครับ

เห็นไหมครับง่ายนิดเดียว ยากตั้งเยอะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร