วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 16:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 82 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2013, 21:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b36:
:b38:
:b37:
่ต้นฉบับเหลืออยู่อย่างนี้ เหมือนสมุดข่อย ยังไม่ได้คัดกรองรีบเอามาให้ดูก่อนลองจับประเด็นดูนะครับ บางฟ้อนท์ Wordรุ่นใหม่ก็อ่านไม่ได้ ซ่อมกลับไม่เป็นครับ หน้าก็สับไปสับมานิดหนึ่งลองก็อปออกไปดจัดเรียงใหม่ก็ได้นะครับ.......
ประวัติ ความเป็นมาของหลวงพ่อธี
ฉายา ราชะวังสะ (ไตย) วิจิตตะธัมโม (ไทย)
ชื่อเดิม โยย ต่อมาได้ชื่อว่า จเรธี บิดาชื่อ นายแกง มารดาชื่อนางทอน นามสกุล ปู่หม่าน เกิดเมื่อ จุลศักราช 1286 ตรงกับ พ.ศ. 2468 บ้านเกิด บ้านหินแฮ่ อำเภอเมืองหนอง จังหวัด ต่องกี ประเทศพม่า
การศึกษาและเหตุการณ์สำคัญในชีวิต
พ.ศ.2478 ถูกควายชน ตายหรือสลบไป 1วัน
พ.ศ. 2478 -2483 เข้าเป็นศิษย์วัดที่วัดหินแฮ่ เมืองหนอง
พ.ศ. 2483 บวชเณร ได้ชื่อว่า “วิเจยยะ”
พ.ศ. 2487 ไปเรียนภาษาพม่า ที่เมือง เหม่เมี้ยว
พ.ศ. 2489 อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเหม่เมี้ยวได้ฉายาว่า“ราจะชะ”
ศึกษาพระวินัย 4 ฉบับ สัตตาใหญ่ 8 ฉบับ สังคหะ 9 ตอน และ วิสุทธิ
พ.ศ. 2491 ประเทศพม่าเดือดร้อน จึงอพยพเข้ามาอยู่ในเมืองไทย โดยเข้ามาอยู่ที่วัด กาญจนนันทาราม (ไทยใหญ่) อำเภอเชียงคำ
จ.เชียงราย
พ.ศ. 2492 กลับไปประเทศพม่า ไปอยู่ที่วัดตอยะ เมืองหย่องลิเปน ศึกษาพระอภิธรรม

16
สิ่งสำคัญในการไปพบปะกับมหากัลยาณมิตรเช่นนี้ ก็คือ จงไปด้วยใจที่เป็นกุศล บริสุทธิ์ เป็นกลาง ระมัดระวังมโนกรรมของตนเองให้จงหนัก จงมีเป้าหมายที่การศึกษาธรรมปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นจริง ๆ จึงจะได้ประโยชน์ ถ้าไปพบด้วยจุดประสงค์
อื่นแล้ว อาจเป็นโทษมากกว่าเป็นคุณ เพราะมีลักษณะ อาการ และหลายสิ่งหลายอย่าง ที่ไม่มีปรากฏบอกไว้ในตำรา อย่าเอาความรู้อันเป็นสุตต และจินต มยปัญญาไปจับ จงพิจารณาโดยธรรมเป็นใหญ่เถิด เพราะธรรมชาติอันเป็นปรมัตถ์นั้น มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ท่านไม่อาจคืบลามรู้ด้วยการ คิดนึก ยึดตำราหรือครูบาอาจารย์ ปฏิบัติเอง ถึงเองจักรู้ชัดเองไม่ต้องสงสัย

15
3.การรีดนมจากเขาวัว เรื่องมีอยู่ว่า มีชายผู้หนึ่งเลี้ยงแม่วัวที่กำลังให้น้ำนม เขารู้ชัดว่าแม่วัวตัวนี้มีน้ำนมแน่นอนเพราะกำลังคลอดลูกใหม่ ๆ แต่การรีดเอาน้ำนมนั้นเขากลับไปทำความเพียรรีดเอาตรงเขาของวัว เพาะความไม่รู้ หรือสำคัญผิด ด้วยความเห็นที่ผิด ๆ ( อวิชชา มิจฉาทิฐิ) ของตนเอง นมวัวจะไปออกที่เขาวัวได้อย่างไร เพราะมันผิดธรรมหากชายผู้นั้นยังดื้อดึงไม่เปลี่ยนความเห็นของตนให้เป็นความเห็นที่ถูกต้อง (สัมมาทิฐิ)ความเพียรทั้งหมดที่เขาทุ่มเทลงไปในการรีดเอานมจากเขาวัว ถึงจะเป็นความเพียรที่เยี่ยมยอดสักแค่ไหน ก็จะเป็นความเพียรที่สูญเปล่า เวลาชีวิตที่ใช้ไปทั้งหมดก็จักสูญเปล่า ไปด้วยเพราะเขาไปทำความเพียรไม่ถูกที่ อุปมัย ก็ดุจดังผู้ปฏิบัติธรรมที่ไม่รู้จักใช้ปัญญาแยกแยะ ค้นหาเหตุและผล ยึดบุคคล ยึดตำรา ยึดแนว สาย จึงมืดมัว สำคัญผิด จนวันตาย ดุจดังชายรีดนมจากเขาวัว ตัวอย่างจริงในการปฏิบัติก็ดังเช่นผู้ที่ภาวนาที่ทำสมถะภาวนาเพื่อดับทุกข์ เฝ้ากำหนดบริกรรมตามองค์ภาวนา เพ่งกสิณ กำหนดความรู้สึกด้วยการบริกรรม อันเป็น บัญญัติ เป็นอัตตา สู้อยู่ที่ผลทุกข์อันดุจเขาวัว ไม่ค้นหาเหตุทุกข์อันดุจนมวัว เขาจึงไม่พบ ไม่ได้ดื่มนมวัว ถ้าฉลาดใช้ปัญญาพิจารณาที่ตัวผลทุกข์แล้วสาวไปหาเหตุให้พบ ดับเหตุนั้นเสียก็จักถึงสุขแล เรื่องราวที่นำมากล่าว บอกเล่าให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายได้ทราบ จนถึงหน้านี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากการสนทนาธรรมและได้คลุกคลี อุปัฏฐากใกล้ชิดและฝึกหัด ปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงพ่อธี เป็นเวลานานพอสมควรเริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2545 ท่านที่อยากจะพบ อยากจะพิสูจน์ของจริง ผู้ที่ทำจริง รู้จริง ถึงจริง อ่านเรื่องราวเหล่านี้แล้ว ก็เชิญไปพิสูจน์ด้วยตัวของท่านเองเถิด โอกาสเช่นนี้หาได้ยากยิ่งนักในยุคสมัย อันไกลจากพุทธกาลเช่นนี้
2
พ.ศ. 2493-2496 ไปอยู่เมืองย่างกุ้ง เรียน ปธาน เรียนพระอภิธรรมทั้ง 5
ได้เข้าฝึกปฏิบัติธรรม กับอาจารย์ ญาณส่ากี 1 เดือน และไปปฏิบัติธรรมกับพระฤาษี อูเหม่น 7 วัน
พ.ศ. 2496 กลับเมืองไทยใหญ่ ไปอยู่ที่เมืองแสนหวีใต้ ทำหน้าที่เป็นครูสอนหนังสือ
พ.ศ. 2498 กลับไปอยู่ที่วัดหินแฮ่ เมืองหนอง ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส ได้สร้างวัดหินแฮ่จนสำเร็จ
พ.ศ. 2499-2500 ย้ายไปอยู่บ้านนาสาร เมืองลายค่า ไปทำหน้าที่ครูสอนหนังสือ ได้สร้างวัดนาสารจนเสร็จ
เริ่มปฏิบัติธรรมเข้มข้นขึ้น โดยได้ไปฝึกอานาปานสติ ที่ถ้ำเปียงลาง และนำไปฝึกปฏิบัติต่อเนื่องถึง 12 เดือน
พ.ศ. 2501-2504 ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดเมืองนาง
ได้ไปฝึกกรรมฐานแบบสติปัฏฐาน ที่สำนัก จ๊อกแม อยู่นาน และฝึกกับสำนักมังกุงอยู่ 7 วัน สำนักโขหมักก่ำ เมืองนาย 7 วัน
พ.ศ. 2504 ลาสิกขาบท มาร่วมงานกับขบวนการกู้ชาติไทยใหญ่ ได้ภรรยา ชื่อนางจิ่ง อยู่ด้วยกันได้ 3 ปี นางจิ่งถึงแก่กรรม มีบุตรชายด้วยกัน 1 คน

3
พ.ศ. 2504-2506 ไปร่วมงานสังคายนาพระไตรปิฎกที่วัดจ๊อกเมียง เมืองย่างกุ้ง และกลับมาอุปสมบทอีกเป็นครั้งที่ 2
ช่วงเวลาดังกล่าวได้เข้าฝึกปฏิบัติสติปัฏฐานสี่ ที่สำนัก
เปียนปะโก เมืองย่างกุ้ง 17 วัน
พ.ศ.2506-2508 กลับมาเมืองไทยใหญ่ ไปอยู่ที่วัดบ้านซาง เมืองลายค่า สร้างวัดใหม่ สร้างเจดีย์ 9 พระองค์
พ.ศ. 2509 จัดงานบวชเณร 128 องค์ คิดริเริ่มเครื่องแต่งกายส่างลองเป็นแบบของไทยใหญ่เป็นคนแรกของเมืองไทยใหญ่ เดิมใช้แบบของพม่ามาตลอด
พ.ศ.2510-2539 ลาสิกขาบท มาช่วยงานของกองทัพกู้ชาติไทยใหญ่ ภายใต้การนำของเจ้ากวานเจิง ช่วยงานกองทัพอยูถึง 29 ปี โดยทำหน้าที่ฝ่ายศาสนา เป็นอนุศาสนาจารย์ประจำกองทัพ 14 ปี ได้นำสร้างเจดีย์ถึง 14 องค์ ในที่ต่าง ๆ ทั่วเมืองไทยใหญ่
ในช่วงเวลา 29 ปีดังกล่าวได้เดินทางเข้าออกเมืองไทย ตั้งรกรากอยู่บริเวณบ้านหลักแต่งและบ้านเปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ จนได้สัญชาติไทย และได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาและปฏิบัติธรรมในเมืองไทยหลายที่หลายแห่งดังต่อไปนี้
1. สำนักจิตภาวันวิทยาลัย จ.ชลบุรี เป็นเวลา 1 เดือน เรียนสติปัฏฐานสี่
(พองหนอ ยุบหนอ)
2. สำนักวัดธรรมนิมิต จ.ชลบุรี เป็นเวลา 7 วัน เรียนสติปัฏฐานสี่เช่นเดิม
14
ใครในที่นี้หมายถึง อัตตา ความเป็นตัวเป็นตนนั่นเอง อัตตาในนิทานเรื่องนี้จึงหมายถึง ผู้ที่ขว้างค้อน มากระทบตัวสุนัข ซึ่งเป็นต้นเหตุที่แท้จริง
2. ราชสีห์กับลูกธนูและนายพราน ธรรมดาของราชสีห์นั้นเมื่อถูกลูกศรยิงมาต้องกาย ราชสีห์ตัวนั้น จะไม่สนใจลูกศรหรือความเจ็บปวดที่เกิดกับกายของมัน แต่มัน จะกวดสายตามองหาผู้ยิงศรมาถูกตัวมัน คือ นายพราน ผู้ยิงศรมาต้องกายทำให้มันเจ็บ เมื่อเห็นแล้วมันจะกระโจนเข้าใส่หรือไล่กวดให้ทัน เพื่อตะครุบและฆ่านายพรานผู้นั้นเสีย ให้ตาย เมื่อนายพรานตายแล้วก็จะไม่มีใครยิงศรมาถูกตัวมันให้ต้องเจ็บอีกอุปมัย ราชสีห์คือ จิต ศร ที่มาต้องกายคือ ผัสสะ ต่าง ๆ ความเจ็บจากคมศรคือ เวทนา หรือความทุกข์ สุข ความยินดี ยินร้าย ทั้งหลาย อันทำให้เกิดตัณหาความทะยานอยากหากปล่อยวางไม่ได้ นายพรานคือ อัตตา ตาที่สอดส่ายหาและกระโจน ไล่ล่าคือ สัมมาสังกัปปะ สัมมาสติ คือความจ่อรู้อยู่กับปัจจุบันเป็นแรงหนุน อุเบกขาที่สมบูรณ์
(สังขารุเปกบาญาณ)จะทำให้เกิด สัมมาทิฐิ ความเห็นที่ถูกต้อง ว่าอัตตาความยึดถือเป็นตัวตนคือต้นเหตุ มีกิเลสทั้งหลายเป็นลูกหลานคอยช่วย การตะครุบจับตัวนายพรานได้ (อนุโลมญาณ) คือกรงเล็บราชสีห์ที่ส่งตัวนายพรานสู่ปากและฟันของราชสีห์ ปากแลฟันของราชสีห์ที่ขบกัดจนนายพรานตาย คือ มรรค ความสงบเย็นเป็นปกติสุขเพราะปลอดจากลูกศร คือ ผล ความสงบเย็นหมดสิ้นจากตัวตน และกิเลสตัณหาทั้งปวง คือ นิพพาน

13
ทางเข้าหมู่บ้านอยู่ติดถนนสายอ้อมเมืองฝาง ท่านที่สนใจและศรัทธาจะไปกราบสนทนาธรรมกับหลวงพ่อ เมื่อเดินทางไปใกล้จะถึงตัวอำเภอฝางจะมีทางอ้อมเมืองแยกไปทางซ้ายขับรถตามทางนั้นไปอีกประมาณ 5 กม. เลยทางแยกไปวนอุทยานน้ำพุร้อนฝางจะพบทางแยกเข้าหมู่บ้านห้วยบอน อยู่ทางซ้ายมือ มีป้ายชี้บอกทางไปหาหลวงพ่อธีที่พระธาตุห้วยบอนเก่าติดไว้ปากทางเข้า นำไปจนถึงที่พักจำพรรษาของหลวงพ่อ ซึ่งญาติโยมลูกศิษย์ได้ช่วยกันสร้างเป็นศาลาไม้ไผ่มุงหญ้าคา สำหรับญาติโยมที่อยากจะมานั่งปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงพ่อ มีกุฏิปฏิบัติธรรม อยู่หลายหลัง กำลังมีศรัทธาช่วยกันสร้างเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ รายละเอียดอื่น ๆ อาจโทรศัพท์สอบถามได้ที่ ผู้ใหญ่บ้านห้วยบอน คุณตานหลู่ โทรฯ 053-229248 ,081-7240311 คุณพงษ์ศักดิ์ 053-451267 คุณวีระ 089-8386213
นิทานสำคัญ 3 เรื่อง
1.เรื่องสุนัขกับค้อน หลวงพ่ออุปมาการปฏิบัติธรรมที่ไม่ตรงกับตัวเหตุหรือต้นเหตุว่า เหมือนสุนัขที่เมื่อถูกค้อนขว้างกระทบตัว เกิดความเจ็บปวด สุนัขตัวนั้น จะกระโจนกัดค้อน ที่กระทบตัวด้วยความโกรธแค้นที่มาทำให้มันเจ็บ มันจะกัดฟัดค้อนอันนั้นจนสะใจ หายเจ็บแล้วจึงจะปล่อยค้อนนั้นไป เป็นอย่างนี้อยู่เสมอเมื่อถูกค้อนขว้างกระทบกาย เพราะสำคัญว่าค้อนคือต้นเหตุทำให้มันเจ็บ อุปมัย ก็ดุจผู้ปฏิบัติที่ไปกำหนดเอาผลว่าเป็นเหตุ เช่น การกำหนดลมหายใจเข้าออก กำหนดความรู้สึก (เวทนา) ต่าง ๆ กำหนดกิริยาอาการ ท่าทาง ต่าง ๆ โดยไม่มีความแยบคาย ไม่พิจารณาให้ลึกลงไปจากรูปบัญญัติเหล่านั้น ให้ถึงรูปปรมัตถ์ คือสภาวะ หรือความจริงที่ซ่อนอยู่ภายใน และความจริงที่สำคัญที่สุดและเป็นเป้าหมายหลักของการปฏิบัติธรรม คือ ใคร เป็นผู้หายใจเข้า ออก ใครเป็นผู้รับความรู้สึกต่างๆ
4
3. สำนักสุญญตาราม จ.กาญจนบุรี 20 วัน เรียน ภาวนา พุทโธ
4. สำนักไทรงาม จ.สุพรรณบุรี 7 วัน เรียนสติปัฏฐานสี่
5. สำนักพระพยอม กัลยาโณ วัดสระแก้ว อ.บางใหญ่ จ.ปทุมธานี 10 วัน เรียนสติปัฏฐานสี่
ในห้วงเวลา 29 ปีนี้ ได้ตั้งครอบครัว อยู่ที่บ้านหลักแต่ง ต.เปียงหลวง มีภรรยาชื่อนางเมี๊ยะทวย ชาว เมืองต๊อก บ้านปางก้ำก่อ ตำบลปางยาง ในเขตประเทศพม่าอยู่ห่างจากชายแดนไทยที่บ้าน หลักแต่ง ต.เปียงหลวงประมาณ 1 กิโลเมตร มีลูกหญิง 2 คน ชาย 1 คน คนแรกชื่อ นางคำก๋อง คนที่สองชื่อนางเปาหอม คนที่สามชื่อนายเกี๋ยงวัน
ความทุกข์เจียนตายในชีวิตเกิดขึ้น 5 ครั้ง
1. อายุ 29 ปี ถูกทหารทัพกระฉิ่นจับไปขัง เตรียมประหาร แต่หนีรอดมาได้
2. ถูกทหารจีนฮ่อกองทัพนายพลเลาลี จับที่เมืองกว๋าวโหลงใกล้เมืองว้า ทางเหนือของพม่า แล้วถูกปล่อยตัว
3. อายุ 40 ปี เจ้าน้อย (หยั่นต๊ะโข่) กองทัพหนุ่มศึกหาญ จับจะประหารชีวิต มีผู้ชราอายุเกิน 60 ปี ถึง 40 คน มารับรองค้ำประกัน จึงถูกปล่อยตัว
4. ถูกจับโดยทหารรัฐบาลพม่า 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ถูกขัง 18 วัน รอลงอาญา 3 ปี ครั้งที่สองถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต แต่พอขังได้ 1 ปี กับ 18 วันก็ปล่อยตัวกลับบ้าน
5. ถูกยิงที่โคนขา 1 ครั้ง
5
ประสบการณ์การปฏิบัติธรรมครั้งสำคัญ
พ.ศ. 2543 เดือนสิงหาคม วันแรม 4 ค่ำ เกิดธรรมสังเวช โดยได้นั่งพิจารณาลูกแมวที่ถูกแมวใหญ่กัด มาดิ้นตายต่อหน้า ท่านได้นั่งดูอาการตั้งแต่เริ่มถูกกัด ดิ้นทุรนทุราย
ด้วยความ เจ็บปวดทรมาน อุจจาระ ปัสสาวะแตกเรี่ยราด จนสิ้นลมขาดใจตายไปต่อหน้าต่อตาแล้วเกิดธรรมสังเวช พิจารณาเข้าไปในตัวตน จนเกิดความกลัวตาย นอนไม่หลับตลอด เวลา 4 วัน 4 คืน จนเกิดแรงบันดาลใจ ขึ้นในคืนวันแรม 8 ค่ำ เดือน 8 (สิงหาคม) เวลาประมาณ 23 นาฬิกา ได้ลุกขึ้นแต่งกายชุดขาว ค้นเอากลดออกมาเพื่อจะหนีออกไปบวชเป็นฤาษี ปฏิบัติธรรมเพื่อทำพระนิพานให้แจ้งทันก่อนตาย ภรรยาได้ยินเสียงจึงลุกขึ้นมาสอบถาม และร้องให้ห้ามมิให้ออกบวช ท่านก็ได้ชี้แจงให้ทราบความประสงค์ และบอกว่าจะขอไปปฏิบัติธรรมอย่างเข้มข้นต่อเนื่องเป็นเวลาสัก 1 เดือน ภรรยาจึงยินยอม ขณะนั้น ภรรยาของท่าน กำลังอายุได้ 45 ปี ตัวท่านอายุ ได้ 75 ย่าง 76 ปี เวลาประมาณ ตีหนึ่ง จึงได้ออกเดินเท้าจากบ้านที่เมืองต๊อกประเทศพม่า ผ่านด่านพม่า ด่านไทย เข้ามาที่บ้านหลักแต่ง บ้านเปียงหลวง เดินขึ้นไปบนดอยพระธาตุแสงขาว ทางทิศตะวันตกของบ้านเปียงหลวง ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักปฏิบัติธรรมที่ท่านได้ร่วมก่อตั้งและเป็นวิปัสนาจารย์สอนผู้คนทั้งในเมืองไทยและพม่า ปฏิบัติธรรมมาเป็นเวลาหลายปี ระยะทางจากบ้านมาถึงสำนักปฏิบัติธรรม ประมาณ 7 กิโลเมตร ท่านเดินทางถึงยอดดอยพระธาตุแสงขาวเมื่อเวลาประมาณ ตีสาม เมื่อถึงแล้วท่านก็นั่งลงทำสมาธิภาวนาเป็นเวลา 2 ชั่วโมง แล้วจึงลืมตาขึ้นมาตั้งจิตอธิษฐาน ว่า “ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันเพ็ญเดือน 9 (กันยายน) ข้าพเจ้าจะขอบวชเป็นฤาษีค้นหา
12
4 รูป มาทำการบอกสมมุติให้ถูกต้องตามแบบธรรมเนียมของคณะสงฆ์ รับรองหลวงพ่อเป็นพระสงฆ์องค์หนึ่งของเมืองไทย ที่วัดเจ้าคณะอำเภอเวียงแหง หลวงพ่อได้จาริกไปโปรดญาติโยมที่ บ้านหมอกจ๋าม อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ 7 เดือน ไปช่วยงานเขียนธรรมที่วัด
ป่าเป้า อ.เมือง จ.เชียงใหม่ประมาณ 1 เดือน ไปโปรดที่วัดเมืองนะ ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว ระยะหนึ่ง ก็กลับมาพักอยู่กับท่านเจ้าคณะตำบลเวียงแหง ที่วัดห้วยไคร้ จนกระทั่งมีคณะปลัดอำเภอหลายอำเภอ และท่านนายอำเภอเวียงแหง ได้มาพบปะสนทนาธรรมกับท่านจนเกิดศรัทธาปะสาทะ นิมนต์ท่านอยู่จำพรรษาที่ พระธาตุเวียงแหง อยู่บนเนินกลางหมู่บ้านเวียงแหง ไม่ไกลจากที่ว่าการอำเภอเวียงแหง สักเท่าไร หลังจากนั้นมีโยมจากอำเภอฝางชื่อวีระ ได้มากราบสนทนาธรรมกับหลวงพ่อ แล้วเรียบเรียงเรื่องที่สนทนาทำเป็นหนังสือแจกไปในที่ต่าง ๆ จนมีท่านนายแพทย์ทิพย์ กับภรรยาเกิดศรัทธาปะสาทะ นิมนต์หลวงพ่อไปเมตตาแสดงธรรมโปรดญาติโยม ในตัวเมืองเชียงใหม่ อยู่เป็นเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ จนเกิดดำริกันว่าจะทำอย่างไรให้หลวงพ่อออกไปจำพรรษาอยู่ในเมืองให้ญาติโยมได้มาฟังธรรมได้สะดวกกว่าการเดินทางเข้าไปหาหลวงพ่อที่ อ.เวียงแหง ปรึกษาหลวงพ่อแล้ว หลวงพ่อบอกว่าเรื่องนี้ต้องพูดกับท่านนายอำเภอเวียงแหงเพราะหลวงพ่อรับคำนิมนต์ของท่านไว้ก่อนแล้ว คณะญาติโยมจึงไปเรียนขอร้องท่านนายอำเภอฯ
ด้วยเล็งเห็นประโยชน์เพื่อชนหมู่มากท่านนายอำเภอฯจึงกรุณาถอนนิมนต์ คณะญาติโยมจึงได้นิมนต์ท่านมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดร้าง พระธาตุห้วยบอนเก่า เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2545 พระธาตุห้วยบอนเก่า และบ้านห้วยบอน ม. 13 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวอำเภอฝางไปทางตะวันตกประมาณ 4 กม.

11
เสวยสุขอยู่กับ สอุปาทิเสสะนิพพาน มีอุเบกขาญาน และพละสมาบัติให้เสวยอยู่เป็นนิจโดย ธรรมชาติ เป็นปกติวิสัย ของ อเสขะบุคคล ตราบจนเมื่อสังขารร่างกายอันนี้ หมดอายุขัย ตั้งอยู่ต่อไปไม่ได้ ก็จักถึงวาระแห่งการดับสูญ สู่ธรรมธาตุ อันเรียกว่า อนุปาทิเสสะนิพพาน หมดงาน หมดกิจ โดยสิ้นเชิงและบริบูรณ์
ปรากฏการณ์ดังที่กล่าวนี้ท่านอาจสามารถพิสูจน์ความจริงได้ทุกเมื่อ เมื่อท่านได้ไปพบปะกับหลวงพ่อธี แล้วลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง ตามคำแนะนำของหลวงพ่อ หลวงพ่อสามารถรับรองและนำพาผู้มีปัญญา ที่อัตตมานะเบาบาง และมีความตั้งใจจริงที่จะทำพระนิพพานให้แจ้งในปัจจุบันชาตินี้ ไปถึงจุดหมายได้จริง ๆ เพราะหลวงพ่อได้พิสูจน์สิ่งที่กล่าวแล้วด้วยตนเอง และได้เสวยผลต่าง ๆ เหล่านั้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เป็นพยานหลักฐานที่น่าอนุโมทนายินดี สำหรับผู้คน หมู่ชน ผู้เสาะแสวงหาทางออกและต้องการพบเห็น ประจักษ์ พยาน ด้วยตาเนื้อ ด้วยหูหนัง และด้วยใจปุถุชน ในโลกยุคปัจจุบันนี้
สุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ
เมื่อธรรมมะทุกอย่างประจักษ์ชัดแก่ตนสิ้นหมดแล้ว หลวงพ่อธี ก็มาพิจารณาว่า เครื่องครองฤาษีนี้ มิอาจแบกรับน้ำหนักอันยิ่งใหญ่นี้ได้ หากไม่เปลี่ยนสู่เพศอันอุดมแล้ว ยากที่จะรักษารูปขันธ์นี้ไว้ได้ จึงได้ไปพบกับท่านเจ้าคณะตำบลเวียงแหง ที่วัดห้วยไคร้ ต.ม่อนจอง อ.เวียงแหง เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ท่านฟัง ท่านเจ้าคณะตำบลซึ่งก็เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมตามแนวทางสติปัฏฐานสี่อยู่ประจำ ได้ทราบก็พลอยกราบอนุโมทนา ยินดี แล้วจึงประสาน นิมนต์ หลวงพ่อ อายุ 82 พรรษา 62 จากวัดที่อ.เชียงดาว พร้อมหมู่สงฆ์อีก

6
ธรรมมะที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ และนำมาสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้รู้และปฏิบัติตาม ตลอดเวลา ข้าพเจ้าจะปฏิบัติดังนี้คือ
1. จะรับประทานอาหารเป็นขนมเพียงวันละ 2 ก้อน กับน้ำนม 1 แก้วจนกว่าจะออกพรรษา
2. ถ้าออกพรรษาแล้วยังไม่บรรลุธรรม จะเอาข้าวสาร 1 ถังติดตัวแล้วเดินทางขึ้นเขาเข้าป่าลึกไปสู่ดอยไม้ยมเหิน หัวห้วยผักเลิน ข้าวสาร 1 กระป๋องนม จะหุงกิน 3 วัน ถ้าข้าวสารหมด 1 ถังแล้ว ก็จะปลงสังขาร กินเปลือกไม้ ใบไม้ หัวเผือกหัวมันเป็นอาหารแทนข้าว ประพฤติปฏิบัติธรรมไปจนกว่าจะบรรลุธรรม หรือ ตายไป
การอฐิษฐานดังกล่าวได้ประกาศให้ลูกศิษย์ ลูกหาเดิมที่รู้ข่าวและตามขึ้นไปส่งบนเขาประมาณ 14 – 15 คนได้ทราบด้วย ในวันนั้นเองบรรดาลูกศิษย์ก็ต่างพากันขนไม้ สังกะสี วัสดุที่พอหาได้ขึ้นไปสร้างกุฎิชั่วคราวแบบเร่งด่วนให้ท่าน 1 หลัง บนยอดเขาทางทิศใต้ของเจดีย์แสงขาว เย็นวันนั้น (เป็นวันแรม 9 ค่ำ เดือน 8 )(สิงหาคม) ท่านก็ปลงผม โกนหัว เอาผ้าขาวย้อมฝาด อธิษฐานบวชเป็นฤาษี รักษาศีล 8 ข้อ ประพฤติธรรมทำสมาธิภาวนา วิปัสสนาภาวนา ตามแนวทางที่ท่านได้ศึกษาและฝึกปฏิบัติมาจากหลาย ๆ สำนัก โดยยึดเอาอานาปานสติภาวนาพิจารณาลมหายใจเข้าออก กำหนดรู้ที่การพอง ยุบ ของท้อง เอา สติ สมาธิ นำหน้า เอาคำสอนทุกอย่างทุกสำนักที่ได้ฝึกหัดร่ำเรียนมามาพิจารณา ค้นคว้า ปฏิบัติ หา

7
สัจธรรม โดยไม่หลับไม่นอน ตลอดเวลา อยู่ในอิริยาบถเพียง 3 คือ นั่ง ยืน เดิน จนถึงวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 9 (กันยายน) รวมเวลา 14 วัน
พอถึงวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 9 ท่านก็เรียกนายตานหลู่ ซึ่งเป็นลูกศิษย์และเคยเป็นอาจารย์ช่วยสอนกรรมฐานของท่านมาพบแล้วบอกว่า “วิธีปฏิบัติที่เราได้ตั้งใจปฏิบัติมาอย่างจริงจังตลอดระยะเวลา 14 วันนี้ ถ้าเป็นวิธีที่จะทำให้เข้าถึง มรรค ผล นิพพาน ได้ เราก็น่าจะได้พบเห็น มรรค ผล นิพพาน บ้างแล้ว แต่นี่ยังไม่สามารถทำพระนิพพานให้แจ้งได้ แสดงว่าวิธีปฏิบัติที่เล่าเรียน ฝึกหัดมาทั้งหมด อาจมีอะไรที่ไม่ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงไม่ทำให้ผู้ปฏิบัติตามประสบความสำเร็จ “
“ดังนั้น นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเราจะทิ้งปริยัติ และรูปแบบวิธีการปฏิบัติทั้งหมด นายตานหลู่ ก็ถามว่า “ท่านจะเอาอสุภกรรมฐานหรือ “ ฤาษีจเรธีก็ตอบว่า “ไม่เอาอสุภกรรมฐาน” “ที่เราต้องการคือพระนิพพาน” “เราจะเอาธรรมมะ ที่ทำให้ถึงพระนิพพาน” นายตานหลู่ก็ถามว่า “ธรรมอันใดหรือที่จะทำให้ถึงพระนิพพาน” ฤาษีก็ตอบว่า “ธรรมอันที่ปัญจวัคคีย์ ท่านได้มรรค ผล นิพพาน นั่นแหละ คือปฏิบัติตามเส้นทาง อนัตตลักขณสูตร ที่พระพุทธองค์ทรงประกาศแก่ปัญจวัคคีย์นั่นแหละ”
ที่เราปฏิบัติมาโดยตลอด และตลอดทั้ง 14 วันที่ผ่านมานี้ เราเอา สติ และสมาธินำหน้า จึงไม่สามารถเห็นถึง ปรมัตถ์ธรรม ที่พบเห็นเป็นได้ก็เป็นเพียง อุคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต เท่านั้น มรรค ผล นิพพาน นั้น ไม่มีนิมิต จำเราจะต้องเอาปัญญานำหน้า ให้เห็น อนิมิตตะ อปนิหิตตะ และสุญญตะ อันยังไม่บังเกิดแก่เรานั้นเสียก่อน เราจะถือปฏิบัติอย่างนี้
10
พระปัญญาธิคุณ พระกรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าช่างเลิศล้ำยิ่ง พระเมตตาอันเอกของพระองค์ ที่ทรงสั่งสอนแจกแจงธรรม ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าได้ทำให้แจ้งประจักษ์แก่ใจตนเองแล้ว”
พิสูจน์ธรรม เครื่องพิสูจน์ความเข้าถึงสัจธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำไว้มีอยู่ คือพละสมาบัติและนิโรธสมาบัติ ซึ่งเป็นผลสมบัติอันเป็นธรรมดาของผู้ทำกิจเสร็จสิ้นแล้ว หลวงพ่อธีจึงพิสูจน์ตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำไว้ และก็เป็นไป แจ่มแจ้งประจักษ์จริงตามนั้น ท่า นบอกว่าครั้งแรกจะทำยากหน่อยเพราะไม่ชำนาญ แต่เมื่อรู้ทางแล้ว เขาก็เป็นไปเองโดยธรรมชาติ ทุกครั้ง หรือแม้แต่กระทั่งหากไม่มีกิจเกี่ยวข้องใดๆ กับโลก ภาวะนั้นก็บังเกิดขึ้นเองเป็นปกติวิสัย
ภาวะที่เกิดขึ้นจริงและหลวงพ่อธีได้แสดงเป็นธรรมมะให้ลูกศิษย์ฟัง เพื่อให้รู้ว่า ผู้เอาปัญญามรรค คือสัมมาสังกัปปะ และ สัมมาทิฐิ นำหน้า แทนการเอา สติและสมาธินำหน้า ได้ชื่อว่าเป็นลูกศิษย์ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพุทธบิดา คือปฏิบัติธรรมตามลำดับที่ถูกต้อง โดยเอาปัญญานำหน้า ให้ปัญญาอบรม ศีลมรรค และสมาธิมรรค ให้ศีลและสมาธิเป็นกองหนุน คอยค้ำจุนปัญญาสัมมาสังกัปปะ ค้นคว้า เสาะแสวงหา จนพบต้นเหตุแห่งทุกข์ คือ อัตตา อันอวิชชา หรือโมหะ ครอบบังไว้ เมื่อเห็นอัตตาชัดด้วยอำนาจ สัมมาสังกัปปะ สติ ก็จับอัตตาตัวจริงได้ ณ.ปัจจุบันขณะ เป็นสัมมาทิฐิ อนุโลมญาณก็จะปรากฏขึ้นมาทำหน้าที่ รับจับตัวอัตตานั้น ส่งให้ มรรคญาณ ปหาน ความเป็นตัวเป็นตน ก็ขาดสะบั้นลง เกิดผล ขึ้นรองรับในชั่วพริบตาเดียวกันนั้นเอง คือ นิพพานธาตุ อมตะธาตุ ที่สุดแห่งการเวียนว่าย ไม่เกิด ไม่ตาย อีกต่อไป เมื่อสังขารยังไม่ดับทำลายก็ได้
9
ชั่วพริบตาเดียว หลังจากนั้นแล้ว ทรัพย์ ศฤงคาร พัสถาน สมบัติ ลูก เมีย ญาติ บริวาร ทุกสิ่งทุกประการ ก็ขาดสะบั้น ความเป็นฉันก็พลันหาย ตายขาดไปจาก กมลสันดาน บังเกิด
ความสุขเย็น ดุจการปลดแอก วางของหนัก พักผ่อนเพราะถึงบ้านที่แท้จริงแล้ว สิ้นสุดการเดินทางแล้วหลังจากเสวยความสุขสงบเย็นเช่นนั้นอยู่เป็นเวลาพอสมควร จิตยินดียินร้ายอย่างละเอียดอ่อน ในสัมผัสต่าง ๆ กลับปรากฏผุดขึ้น ทำให้รู้ว่า ยังไม่ถึงความหมดจด ท่านก็เจริญสัมมาสังกัปปะ และ เข้าถึงสัมมาทิฐิอันสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง ภาวะ คล้ายกับที่เกิดในครั้งแรก ก็บังเกิดขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 2 ความสุข สงบ เย็นที่ได้รับ ช่างละเอียดและเบาสบายกว่าครั้งที่ 1 อย่างมากมาย สิ่งข้องค้างดูเหมือนว่าหมดสิ้นไป
จากครั้งที่สอง มาเป็นเวลาพอสมควร จิตคิดประหวัดไปถึงชีวิตครอบครัวเกิดขึ้น (กามราคะ)ท่านก็ประจักษ์ว่างานยังไม่หมดสิ้น จึงเจริญสัมมาสังกัปปะ ต่อไปอีก จนเกิดภาวะ คล้ายกับครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 อีกครั้งหนึ่ง เป็น ครั้งที่ สาม ครั้งนี้มีอาการช็อตวาบไปทั้งร่างอย่างรุนแรงมาก แล้วดับไป พิจารณาแล้วมีสิ่งข้องค้างคงเหลือน้อยมากเพียง อย่างละประมาณ ครึ่ง ๆ อารมณ์สำคัญที่เกิดผุดขึ้นให้รู้คือ มีความคิดว่า จากปัญญาความรู้ที่ได้มาฉันจะขึ้นธรรมมาส แสดงธรรมโปรดผู้คน ให้ได้รู้ธรรม (มานะ) เกิดขึ้น โอ้ ความคิดอย่างนี้ยังมีอยู่หนอ ท่านจึงทำความพิจารณาด้วย สัมมาสังกัปปะต่อไปอีก จนเข้าถึงสภาวะคล้ายครั้งที่ 1 – 2 – 3 ครั้งที่สี่นี้มีอาการดุจมีของแหลมทิ่มแทงตรงหัวใจ เจ็บแปลบ ชั่วพริบตาเดียว ซ่านไปทั้งตัวแล้วก็ดับไป หลังจากนั้นท่านก็ได้รู้ประจักษ์ชัดโดยสมบูรณ์ในคำสอนของพระพุทธบิดา ท่านได้รับผลอันพระองค์ทรงตรัสไว้โดยสมบูรณ์ จนเปล่งวาจาออกมาว่า “ธรรมมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนี้น่าอัศจรรย์จริง ๆ หนอ
8
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ถ้าเราได้พบธรรมแล้วก็จะมาแสดงธรรมให้พวกเธอทั้งหลายฟัง ถ้ายังไม่พบธรรม เราจะไม่พูดอะไรอีกต่อไป ธรรมที่เราปฏิบัติมาอย่างเข้มข้นตลอด 14 วัน โดยไม่หลับ ไม่นอน ไม่สามารถทำพระนิพพานให้แจ้งแก่เราได้
การปฏิบัติในเวลาที่เหลือต่อมา เป็นเวลาอีก ประมาณ 62 ชั่วโมง หรือ กว่า 3 วัน พระฤาษี จเรธี ได้เอา มรรคข้อที่ 1 และ 2 นำหน้า คือเอาสัมมาสังกัปปะอันเป็นปรมัตถ์บัญญัตินำหน้า ดำริ คิดค้น เสาะแสวงหาธรรมจนละบัญญัติได้ เหลือแต่สภาวะอันเป็นปรมัตถ์ล้วน ๆ สติ อยู่กับปรมัตถ์ล้วน ๆ ณ.ปัจจุบันขณะ จึงเป็นสัมมาทิฐิที่สมบูรณ์ วิปัสสนาญาณก็เกิดขึ้นทันที เป็นสังขารุเปกขาญาณ (ความสงบรำงับไปจนวางเฉย หยุดความนึก คิด ปรุงแต่ง)พ้นจากสมมุติบัญญัติ สู่สภาวะที่เป็นปรมัตถ์ล้วน ๆ ตัดทิ้ง อนิจจะ ทุกขะ เหลือแต่สภาวะที่เป็นอนัตตาธรรม สมดังบาลีที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ว่า
“สัพเพสังขารา อนิจจา สัพเพสังขารา ทุกขา สัพเพธัมมา อนัตตา” สังขาร คือร่างกาย จิตใจ แลรูปธรรม นามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ ธรรมทั้งปวง ทั้งที่เป็นสังขาร และมิใช่สังขาร ทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ ถือเอาเป็นของเราไม่ได้ ตอนที่ ความปรุงแต่งเป็นอุเบกขาไปแล้วนั้น หลวงพ่อเล่าอาการให้ฟังว่า “เวลานั้น ได้ยิน และรู้สึกแต่เสียงหัวใจทีเต้น ดัง ต๊อก ๆ ๆ ๆ เป็นจังหวะช้า ๆ ไม่มีความนึกคิด ปรุงแต่ง(สังขาร)หรือ เวทนา ใด ๆ ปรากฏ เหลืออยู่แต่ ผู้รู้อันบริสุทธิ์ กับสภาวะเต้นตอดของหัวใจที่กำลังดำเนินไปเท่านั้น เมื่อจดจ่อต่อเนื่องอยู่กับสภาวะอันเป็นปรมัตถ์ อนัตตาธรรมนี้ไปไม่นาน อาการดุจไฟฟ้าช็อต เบา ๆก็บังเกิดขึ้นคั่นกลาง เกิดและดับลงไปใน
อธิบายแผนภูมิแสดงทางหมุนเวียนอยู่ในทุกข์และทางพ้นจากทุกข์
เพราะความที่มีศีลห้า อันรักษาไว้ดีแล้วในอดีตชาติ จึงได้โอกาสมาเกิดเป็นมนุษย์ ความได้เกิดเป็นมนุษย์นั้นเป็นคุณสมบัติที่สามารถจะเข้าถึงพระนิพพานได้ คล้ายดังได้พาสปอร์ต หรือบัตรผ่านประตูเพื่อจะเข้าสู่พระนิพพานติดตัวมาด้วย แต่มนุษย์หรือคนผู้นั้นจะใช้สิทธิของตนเองหรือไม่ เท่านั้น
เกิดมาเป็นคนแล้ว ได้พบกัลยาณมิตร คือ เพื่อน ดี สหายดี หรือครูอาจารย์ที่ดี นำข่าวสาร พุทธะ มาบอกกล่าวให้ได้ทราบ ข่าวสารพุทธะเหมือนข่าวของสถานที่ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่เคยไปถึง แต่มีคนบางกลุ่มได้ไปถึงมาแล้ว ได้รับความสุข สงบเย็น เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นสถานที่ที่หมดทุกข์โดยสิ้นเชิงไม่ต้องเหนื่อย หมุนวนอยู่ในห้วงแห่งทุกข์ (วัฏฏะสงสาร)อีก จึงนำมาบอกเล่าสืบต่อกันมาและชักชวนเพื่อนฝูง มิตรสหายเดินทางไปสู่สถานที่แห่งนั้น โดยได้บอกแผนที่และวิธีการเดินทางไปสู่สถานที่นั้นให้ทราบโดยละเอียด เมื่อได้ฟังข่าวแล้วเกิดความสนใจ จึงศึกษาหาความรู้ในข่าวสารนั้น ด้วยการ ฟัง คิด ถาม ซักไซ้ไล่เลียง ศึกษา จนเข้าใจถ่องแท้ในทางเดินไปสู่พระนิพพานแล้ว เกิดศรัทธา จึงลงมือปฏิบัติ คือเริ่มการเดินทางชีวิต คือการเดินทางอันยาวนานอย่างไม่รู้จบหากยังไม่มีปัญญาค้นพบเส้นทางออกไปเสียจากความหมุนวน (วิวัฏฏะ) บัดนี้ได้พบกัลยาณมิตร มาชี้ทาง นำแสงสว่าง มาส่องให้แล้ว เกิดศรัทธาแล้ว จงมุ่งหน้าเดินทางไปตามแผนที่ที่ศึกษามาดีแล้วนั้นเถิด การเดินทาง หรือการปฏิบัตินั้น เรียกว่า “ภาวนา” แปลว่า “ทำให้เจริญ” หรือทำให้ก้าวหน้าไปอยู่เรื่อย ๆ อย่างมุ่งมั่นและมีเป้าหมายนั่นเอง การภาวนา มีอยู่ 2 วิธีการใหญ่ ๆ คือ สมถะภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา “สมถะ” แปลว่าความสงบของจิตจากสิ่งรบกวน คือนิวรณ์ทั้งห้า เป็นวิธีภาวนาที่มีมาแต่ดึกดำบรรพ์ก่อนที่เจ้าชายสิทธัตถะจะมาประสูติ เป็นการเอาความสงบมาสยบทุกข์ไว้ เพื่อให้เกิดความสุข แต่ไม่อาจดับต้นเหตุแห่งทุกข์ วิธีปฏิบัติสมถะภาวนาก็ด้วยการ บัญญัติ องค์กรรมฐาน คือกำหนดสิ่งที่จะเป็นที่เพ่งรู้และรวมจิตใจให้เข้ามาเป็นหนึ่งเดียว จนสงบ นิ่งอยู่ กับที่ เช่นเพ่งรูปหรือบริกรรมคาถาต่าง ๆ มีกรรมฐาน 40 อนุสติ 10 เป็นต้น ผลที่จะได้รับคือ “อุคหนิมิต” แปลว่า จิตนิ่งอยู่กับรูปที่เพ่ง
ทางออกจากสังสารวัฏ ความทุกข์ยาก ลำบากใจ
แนวทางพิจารณา ของหลวงพ่อธี ราชะวังสะ (ไตย) ทวิจิตตะธัมโม (ไทย)


ถ้าละได้ก็จะเกิดความวางเฉย (อุเบกขา) อันเป็นต้นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ (วิวัฏฏะ) ถ้าละไม่ได้ก็จะเกิด ความอยาก (ตัณหา) อันเป็นต้นทางหมุนไปสู่ความเวียนว่ายตายเกิดในทุกข์(วัฏฏะสงสาร) ละความยินดียินร้ายเสียได้ก็จะเกิดความวางเฉย(อุเบกขา) การเฝ้าดู หรือเฝ้าสังเกตรู้ความรู้สึกทั้งทางกายและทางจิต อยู่เป็นประจำ แล้วฝึก เพียรปล่อยวางความยินดี ยินร้าย ในโลก ออกเสียได้ นี้คือเส้นทางออกจากทุกข์ เป็นงานสำคัญของผู้ปฏิบัติธรรมทุกคน เพราะเมื่อฝึกปล่อยวางไปในทุกผัสสะและเวทนา ไม่ช้าก็จะถึงสภาวะที่เรียกว่า “สังขารุเปกขาญาณ” คือสังขารความปรุงแต่ง อันเป็นผลจากเวทนาทางจิต และ เวทนาทางกายทั้งหมดจะสงบรำงับ เข้าถึงภาวะอันนิ่งสนิทแต่มีปัญญารู้อยู่ เรียกว่านิ่งรู้ ก็จะได้เห็น ความจริง ของชีวิต(สัมมาทิฐิ) คือความเกิดขึ้นและดับไปของสภาวะธรรมที่ยังเหลืออยู่ เช่น ลมหายใจ หรือหัวใจเต้น ความเกิดขึ้น เป็น ทุกขัง ความดับลงไปเป็นอนิจจัง ความเกิด – ดับ ๆ บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีตัวตน คือ อนัตตา มีเพียง สามสิ่งนี้เท่านั้น (มีสัมมาสมาธิเป็นตัวหนุน) ความพยายามเข้าไปควบคุมบังคับธรรมชาติที่ไม่เที่ยง ปรวนแปร เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาให้อยู่กับที่ หรือเป็นไปตามความต้องการของอัตตา คือ ทุกขสัจจะ ผู้ปฏิบัติ จะทำความรู้ชัดเฉพาะ ธรรมอันใดอันหนึ่งในสามอันนี้เริ่มจากทุกขัง ไปหาอนิจจัง และอนัตตา จากหยาบเข้าไปหาละเอียด เอาความรู้ชัดอันนั้นเป็นแรงส่งให้ อนุโลมญาณ คือการแก้เหตุ เมื่อแก้เหตุเสร็จ ก็เกิดมรรคญาณ การดับเหตุ คือดับอัตตา ความเห็นผิดว่าเป็นตัวตน เข้าสู่ผลญาณ คือเข้าไปรู้จักและเสวยนิพพาน ในธรรมทั้งสามอย่าง คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา นั้น ธรรมที่เป็นคู่ปรับของอัตตา คือ อนัตตา พึงค้นหา ให้เห็น อนัตตา ชัดเจนเถิด อัตตา ความเห็นเป็นเรา เป็นตัว เป็นตน จักดับลงได้โดยง่าย ดับอัตตา ก็คือดับต้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นในชั่วเวลาลัดนิ้วมือเดียวแล้วจบลง ประตูอบายก็จะปิดสนิทพร้อมกับเปิดประตูพระนิพพานไว้ให้แก่ผู้ปฏิบัติ ทุกข์ก็สิ้นสุดเป็นนิโรโธ ด้วยเหตุนี้ แล (ส่วนที่จะวนไปสู่ความเวียนว่ายตายเกิด ตามวงปฏิจจะสมุปบาท ส่วนที่เป็นขันธ์ห้า อายตนะ 12 ขอให้ท่านไปศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเอง ส่วนที่เป็นมรรคทั้ง 8 และสติ ปัฏฐานทั้งสี่ก็ได้แสดงมาโดยคร่าว ๆ ดังกล่าวไว้ข้างต้นนี้แล้ว)

หรือคาถา คำบริกรรมที่ท่องบ่น “ปฏิภาคนิมิต” ความสามารถ เห็นรูปที่เพ่ง และย่อ ขยาย ใหญ่ เล็กได้ตามประสงค์ “อัปปนาฌาน” ความสงบนิ่งเป็นหนึ่งเดียวอยู่กับที่ของจิต คือฌาน 4และฌาน 8 (ซึ่งต้องแยกศึกษาไปต่างหาก ถ้าสนใจ) ที่สุดแห่ง สมถะ คือ ตายแล้วไปเกิดในพรหมโลก เป็นที่อันสงบเย็น แต่ทุกข์ยังไม่ดับ เพราะหมดกำลังแห่งฌานแล้วยังต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีก หากมีปัญญาประสงค์จะให้เข้าถึงความดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิง ณ จุดที่ ถึง อุคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต ทำความเห็นเสียใหม่ให้ถูกต้อง (สัมมาทิฐิ) แล้วเปลี่ยนไปเจริญ วิปัสสนา จึงจักพ้นทุกข์ วิปัสสนา วิ = ค้นคว้าให้ลึกซึ้งเข้าไป ปัสสนา = เฝ้าดู (ให้เห็นความจริงให้เห็นสิ่งที่ตามนุษย์ เทวดา พรหม มองไม่เห็นคือปรมัตถ์ธรรม) วิปัสสนา จึงมีความหมายว่า “เฝ้าดูให้ลึกซึ้งเข้าไป เพื่อให้เห็นความจริง” การทำวิปัสสนาภาวนา มีศีลห้า และอานาปานสติ คือการเฝ้าดูลมหายใจเป็นกำลังหนุนที่สำคัญ มี ปัญญา ผู้รู้ เป็นกองหน้า ปัญญาที่นำมาใช้ทำงานมี 2 อย่าง คือ สัมมาสังกัปปะ และสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ แปลว่าความดำริชอบ หมายถึง การค้นหาทางออกจาก ความยินดี (กามฉันทะ) ความยินร้าย (พยาบาท) และ ดำริในความ ไม่เบียดเบียน ความหมายในทางปฏิบัตินั้น สัมมาสังกัปปะ หมายถึง ปัญญาค้นหาเหตุ แห่งทุกข์ การค้นหาเหตุแห่งทุกข์มี “สัมปะชัญญะ(ความรู้ตัวทำแต่เหตุดี ละเหตุชั่วเป็นกองหนุน) เมื่อพบปัจจุบันธรรม แล้วจึงค้นเจาะลึกเข้าไปในสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันขณะ นั้น เรียก ว่า “สัมมาสังกัปปะ” (ค้นลึก) ตัวความที่ค้น รู้อยู่กับปัจจุบัน เรียกว่า “สัมมาสติ” เป็นกำลังหนุนสัมมาสังกัปปะ การค้นหาเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) ต้องค้นลงไปในตัว ทุกขสัจจะ ที่ที่ทุกขสัจจะแสดงตัวชัดคือ การกระทบ(ผัสสะ)ของประสาทรับรู้ทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วเกิด ความรู้สึก (เวทนา ) ความรู้สึกเกิดขึ้นได้สองทางคือ กาย กับ จิต เวทนาทางกาย มีสุขกับ ทุกข์ เวทนาทางจิต มี โสมนัส (ชอบใจ) กับ โทมนัส (ไม่ชอบใจ) แปลให้ง่ายว่า ความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับกายและจิต จะมี ความยินดี และ ความยินร้าย สองอย่างนี้ ซึ่งคือมูลเหตุสำคัญ ที่เป็นต้นกำเนิดแห่งความเวียนว่ายตายเกิด หรือ ความสิ้นสุดแห่งความเวียนว่ายตายเกิดแต่ยังไม่ใช่ตัวต้นเหตุจริงๆ เพราะถ้าค้นหา หรือถามต่อไปว่า ใคร คือผู้ที่รับรู้ความยินดี ยินร้าย ก็จะพบต้นเหตุแห่งทุกข์ ความยินดี ยินร้าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2013, 22:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อ่านแล้วเป็นความรู้สึกที่บรรยายออกมาไม่ถูกค่ะ
ขอบคุณค่ะ :b8: คุณอโศกะ :b41: :b55: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2013, 07:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหลง ในวัฏฏะ ไม่มีการปราณีใคร

ผู้แนะนำ ก็ไม่รู้ชัดในสภาวะที่เกิดขึ้น

ผู้ถูกแนะนำ ก็ไม่รู้ชัดในสภาวะที่เกิดขึ้น

คิดว่า "ใช่" (เหตุปัจจัยสร้างมาให้เชื่อกัน) ก็นำมาบอกต่อ

คนที่เชื่อ เพราะ สร้างเหตุปัจจัยมาร่วมกัน

ไม่รู้กับไม่รู้ จึงกอดคอ พากันว่ายต่อไป

เห็นภาพมายาของจิต(ความอยากที่แฝงอยู่) หลงคิดว่า "ใช่"


แต่ไม่เป็นไร ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่

พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย ! บาปกรรมแม้ประมาณน้อย
บุคคล บางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้น นำเขาไปนรกได้

ส่วนบาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น บางคนทำแล้ว
กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมาก ต่อไปเลย…

ภิกษุทั้งหลาย ! ใครกล่าวว่า
คนทำกรรม อย่างใดๆ ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้

เมื่อเป็นอย่างนั้นๆ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีไม่ได้
ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ไม่ปรากฏ

ส่วนใครกล่าวว่า

คนทำกรรม อันจะพึงให้ผล อย่างใดๆ
ย่อมเสวยผลของกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้

เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้
ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ย่อมปรากฏ.
ติก. อํ. ๒๐/๓๒๐/๕๔๐.


หาทางให้เจอ ก่อนจะหมดลมหายใจนะ

อย่ามัวหลงกับคำว่า ได้อะไร เป็นอะไร

อย่าหลงแค่เปลือก เฝ้าลูบคลำกับคำว่า นิพพาน

เอ่ยออกมา มีแต่ นิพพานๆๆๆๆๆ
แต่อธิบาย ให้เห็นเป็นรูปธรรมไม่ได้ เพราะเกิดจาก การท่องจำ

ปากบอกว่า นิพพาน ที่เป็นการกระทำ เพื่อดับเหตุของการเกิด
แต่การกระทำ กลับตรงข้าม มีแต่เหตุของ การสร้างเหตุของการเกิดร่ำไป

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2013, 07:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ที่ง่ายๆและพื้นๆกว่านั้นเช่น
ส่วน สิ่งที่เป็นธรรม หรือเป็นสัจจธรรมนั้น เป็น อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีแก่นสาร ตัวตน เขาหากเป็นของเขาอยู่เช่นนั้นไม่มีเปลี่ยนแปลงไปเป็นอื่น

สัจจธรรมของธาตุดิน คือ หนัก เบา แข็ง อ่อน หยาบกระด้าง นุ่มนิ่ม.....ธาตุดิน จะไปอยู่ที่ใด ยุคสมัยใด โลกหรือจักรวาลอันใด ชาติหรือภาษาใด ธาตุดินก็จะคงความจริงของมันไว้ ถ้าเรียกด้วยบัญญัติภาษาไทยก็จะมีคุณลักษณะหรือสัจจะของดิน คือ หนัก เบา แข็ง อ่อน หยาบกระด้าง นุ่มนิ่ม


โสกะนีมั่วได้มั่วดีไม่มีลิมิต เอาลักษณะของธรรมชาติมาละเลง
ลักษณะของธรรมชาติ กับสัจจะของธรรมชาติ...มันเป็นคนล่ะอย่างกัน

ธรรมชาติมันมีสองอย่าง นั้นคือธรรมชาตินอกกายใจและธรรมชาติภายในกายใจเรา(ตัวเรา)
การพิจารณาธรรมชาตินอกกายใจ มันเป็นตัวเราไปพิจารณาธรรมชาตินั้น
เมื่อเป็นตัวเราเป็นผู้พิจารณา ธรรมที่เกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งที่เกิดภายในกายใจเรา
สิ่งที่เกิดภายในกายใจเรา ท่านเรียกสังขาร.......

สังขารมันแปรป่วนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา.....เข้าใจหรือเปล่าล่ะ

แทนที่จะตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติ มัวแต่ไปถ่ายรูปคนนั้นคนนี้ เพื่อแค่จะเอามาอวด
ทำตัวเหมือนเด็กเล็กที่พึ่งจะรู้จักการเอารูปขึ้นเว็บ ชาวบ้านเขาเห็นแล้วมันรกลูกกะตา :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2013, 07:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อาการหรือสิ่งที่เกิดขึ้น ในสมาธิ

อาการดุจไฟฟ้าช็อต

มีอาการดุจมีของแหลมทิ่มแทงตรงหัวใจ

มีอาการช็อตวาบไปทั้งร่างอย่างรุนแรงมาก


สภาวะที่เกิดขึ้นเหล่านี้ เป็นความปกติของสภาวะ ที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

เรื่องสภาวะที่ดูวิเศษ หรือ พิเศษ

สิ่งที่เกิดขึ้น ดูแปลกประหลาด มหัศจรรย์ มีเกิดขึ้นมากมาย ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

แค่ดู แค่รู้ ว่ามีเกิดขึ้น อย่ายึด

ยึดเมื่อใด สภาวะอุปกิเลส เกิดขึ้นทันที




ที่กล้าพูด เพราะ เจอมาหมดแล้ว และ เคยหลงติดกับความอยากมาแล้ว

อยากมี อยากได้ อยากเป็นอะไรๆ ในสมมุติ

มีอาการแบบ ที่คิดว่า กามราคะ ไม่มีอีกแล้ว หมดแล้ว

ไม่มานั่งตรวจสอบตัวเองแบบนั้นหรอก

ไม่ทำอย่างที่คนอื่นทำ เช่น ไปนั่งดูหนังโป๊ เพื่อสอบอารมณ์ตัวเอง

สภาวะจะเกิดขึ้น ตามความเป็นจริงได้อย่างไร

กิเลสถูกกดข่มไว้ แต่ไม่รู้ว่าถูกกดข่ม ก็หลงคิดว่า ไม่มี
เพราะไม่มีความรู้สึกใดๆเกิดขึ้น ขณะที่ดูหนังโป๊


วลัยพร เป็นฆราวาส สามารถตรวจสอบได้ตามความเป็นจริง

ก็ไม่ยากนิ ลองของจริงเลย จะได้ไม่หลง

เหตุที่ วลัยพร มีคู่ครองเพราะเหตุนี้แหละ

แต่เป็นเหตุที่เกิดกับผู้มีเหตุปัจจัยร่วมกับ

ทำให้ วลัยพรไม่หลงทาง เลยหลุดจากอุปกิเลสได้

ชีวิตคู่ก็ไม่เสียหาย
เพราะเขาเองก็อยากรู้บางอย่าง ที่ตัวเขาไม่รู้

เมื่อต่างคนต่างรู้แล้ว
ชีวิตคู่ของเราสองคน จึงมีความเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ไม่ใช่แบบสามีภรรยา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2013, 07:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
สัจจธรรมของธาตุดิน คือ หนัก เบา แข็ง อ่อน หยาบกระด้าง นุ่มนิ่ม.....ธาตุดิน จะไปอยู่ที่ใด ยุคสมัยใด โลกหรือจักรวาลอันใด ชาติหรือภาษาใด ธาตุดินก็จะคงความจริงของมันไว้ ถ้าเรียกด้วยบัญญัติภาษาไทยก็จะมีคุณลักษณะหรือสัจจะของดิน คือ หนัก เบา แข็ง อ่อน หยาบกระด้าง นุ่มนิ่ม

ธาตุน้ำ สัจจะของธาตุน้ำคือ....ซึมซับ เอิบอาบ ไหลหยดย้อย แตกแยก เกาะกุมกันเข้า

ธาตุลม สัจจะของธาตุลมคือ ..... เจ็บ ปวด เต้น ตอด โยก คลอน ไหว นิ่ง

ธาตุไฟ สัจจะของธาตุไฟคือ.....ร้อน หนาว เย็น อุ่น

สัจจะของเกลือคือ เค็ม

สัจจะของ รูป คือ สิ่งที่ถูกรู้

สัจจะของนาม คือ สิ่งที่ไปรู้รูป

ดังนี้เป็นต้น


เลอะเทอะ! คำว่า.."ดิน" มันเป็นสมมุติบัญญัติ
ตัวธรรมชาติแท้ๆคือ ลักษณะของสมมุติบัญญัตินั้น

ความสำคัญหรือความเป็นธรรมชาติ มันไม่ได้อยู่ที่ชื่อที่เราไปเรียกขานมัน
คำว่าดิน จึงไม่มีความหมายในธรรมชาติ ความหมายตามธรรมชาติและเป็นธรรมชาติ
ก็คือลักลักษณะของสิ่งนั้น....เช่น อ่อน แข็งฯลฯ

โดยธรรมชาติที่กล่าวมา ถ้าเราไม่เอาใจเราไปยุ่งเกี่ยวกับมัน
ความเป็นสัจจะของมันเรียกว่า.....สมมติสัจจะ
ซึ่งพระพุทธองค์ทรงให้สัจจะวาจาสิ่งนี้ไว้ว่า........เป็นอนัตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2013, 08:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

ไตรลักษณ์ ไม่ใช่สัจจะ แต่เป็นสมมุติบัญญัติภาษาบาลี ที่ใช้เรียกชื่อหรือบอกถึงปรมัตถ์บัญญัติทั้ง 3 หรือลักษณะ หรือ สัจจะ หรือความจริง 3 ประการ คือ

สัพเพ สังขารา อนิจจัง
สัพเพ สังขารา ทุกขัง
สัพเพธัมมา อนัตตา


ไม่ได้รู้เรื่องรู้ราวเลย ชอบพูดอะไรเรื่อยเปื้อย ไม่เข้าใจความหมายแต่ก็ชอบพูด

ภาษาทั้งหมดในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาษาเขียน ภาษามือหรือภาษาพูด.....
มันล้วนเป็นสมมติทั้งนั้นแหล่ะ

ความเห็นนี้บอกไว้แค่นี้แหล่ะ ขี้เกียจอธิบาย เพราะรู้ดีว่าเสียเวลาเปล่า
เริ่มต้นมันก็มั่วได้ขนาดนี้ สงสัยยังอีกหลายชาติกว่าจะเข้าใจ


asoka เขียน:
โฮฮับถาม
อ้างคำพูด:
สัจจธรรมโลกไหนครับ ถึงอยู่เหนือกฎของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
หรือว่าเป็นสัจจธรรมของดาวเคราะห์แคระ


ย้อนถามโฮฮับว่า "นิพพาน อยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ ของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาไหม"

อธิบายมา


โยงมั่วไม่ได้รู้เรื่องอะไรกับเขาเลย รู้หรือเปล่าว่า...สัจจะมีอยู่สองอย่าง...
นั้นก็คือ.....สมมติสัจจะกับปรมัตถสัจจะ

ปรมัตถสัจจะมันเกิดในกายใจเรา แบ่งเป็นสองลักษณะ.........
นั้นคือสังขตธรรมและอสังขตธรรม

ทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรม มันไม่ได้มีใครอยู่เหนือใคร
เพราะธรรมทั้งสองล้วนเป็น ปรมัตถสัจจะ

ความสำคัญมันขึ้นอยู่ที่ว่า จะเกิดธรรมตัวไหน มันขึ้นอยู่กับจิตจะไปยึดธรรมตัวไหน
ถ้าจิตไปยึดสังขาร สัจจะก็คือสังขตลักษณะ ถ้าจิตไปยึดนิพพานสัจจะก็คือ...อสังขตลักษณะ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2013, 08:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนประกอบของโลกที่เกิดขึ้น ทั้งโลกภายนอก และโลกภายใน

ล้วนเกิดจาก เหตุปัจจัย และ ดับลง ตามเหตุปัจจัย

สมมุติต่างๆ จึงมีเกิดขึ้นเพราะ เหตุนี้

เพื่อใช้ในการสื่อสาร

เมื่อไม่รู้ชัดในสมมุติ จึงหลงในสมมุติ

หลงมาก การสร้างเหตุของการเกิด ย่อมมีมาก

หลงน้อย การสร้างเหตุของการเกิด ย่อมน้อย

ไม่หลง การสร้างเหตุของการเกิด ย่อมไม่มี



สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงทิ้งเป็นแนวทางไว้ให้

คือ การกระทำเพื่อ ให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ แล้วการกระทำที่สุดแห่งทุกข์ คืออะไร

อะไรที่หมายถึง ที่สุดแห่งทุกข์


จะรู้วิธีการกระทำเพื่อ ให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ต้องรู้ชัดในสภาวะที่เกิดขึ้น ของสภาวะเหล่านี้

ทุกข์ ทุกข์-สุข ที่เกิดขึ้น ในชีวิต คืออะไร

เหตุแห่งทุกข์ เหตุปัจจัยให้เกิดทุกข์ คืออะไร

ความดับทุกข์ ที่ว่า ดับทุกข์ คืออะไร

วิธีการดับทุกข์ วิธีการกระทำ ทำอย่างไร



จึงจำเป็นต้องศึกษาพุทธวจนะ ตลอดทั้งคำสอนของพระพุทธเจ้า เท่าที่จะทำได้

อย่าเชื่อในสิ่งที่เกิดขึ้น แต่จงรู้ลงไปในสิ่งที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจาก เหตุปัจจัยที่มีอยู่

ทุกข์ คืออะไร เมื่อรู้ครั้งแรกว่า นั่นคือทุกข์ นี่คือทุกข์ จงอย่าเชื่อ

ทุกข์ มีคำนิยามเยอะแยะ ความบีบคั้น ความทนอยู่ไม่ได้ นี่ก็เรียกว่า ทุกข์

ทุกข์แท้จริงล่ะ ที่เป็นทุกข์สูงสุด มีเพียงหนึ่งเดียว

ที่พระพุทธเจ้าทรงย่อให้เหลือ อุปทานขันธ์ ๕ คือ ทุกข์

ย่อให้สั้นลงมาอีก ขึ้นชื่อว่า การเกิด ล้วนเป็นทุกข์


เหตุแห่งทุกข์ เมื่อครั้งแรกรู้ รู้ว่า เป็นตัณหา ให้แค่รู้ลงไป จงอย่าเชื่อ

เหตุแห่งทุกข์ มีคำนิยามเยอะแยะ

เหตุแห่งทุกข์แท้จริง คือ ผัสสะ ที่เกิดขึ้น หากรู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น
การสร้างเหตุแห่งทุกข์ ให้เกิดขึ้นอีก ย่อมมีการสร้างเหตุน้อยลง เพราะ ทุกคน ไม่มีใคร ชอบความทุกข์


บางคนอาจบอกว่า ถ้าไม่รู้หนังสือ จะทำยังไง

ทุกสิ่ง เกิดขึ้นที่จิต รู้ที่จิต ถึงแม้ไม่รู้หนังสือก็ตาม

รู้แล้ว มีแต่ดับเหตุของการเกิด นั่นแหละ คือ วิธีการกระทำเพื่อให้ถึง ที่สุดแห่งทุกข์

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2013, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
:b8: อ่านแล้วเป็นความรู้สึกที่บรรยายออกมาไม่ถูกค่ะ
ขอบคุณค่ะ :b8: คุณอโศกะ :b41: :b55: :b49:


ที่คุณเต้บอกว่า "ความรู้สึกที่บรรยายไม่ถูก" มันเป็นเพราะอ่านไม่รู้เรื่อง
หรืออ่านแค่สามบรรทัด.......

คุณเต้ครับ เห็นคุณเต้ปรารถนาพุทธภูมิ การจะได้มาซึ่งพุทธภูมิ มันต้องมีเมตตาเป็นหลัก
จะเมตตาอะไรต้องเข้าใจด้วยครับว่า สิ่งที่เราเมตตานั้น มันจะทำให้เกิดโทษต่อผู้ที่เราให้
ความเมตตาหรือเปล่า

ผมกล้ารับรองได้ว่า คุณเต้อ่านเนื้อหาที่เห็นไม่หมดหรืออ่านไม่รู้เรื่อง
ดังนั้นการกล่าว ในทำนองเหมือนจะ ให้กำลังใจผู้เอาเนื้อหานั้นมาเผยแพร่
มันอาจก่อให้เกิดโทษกับเขา เพราะเขาอาจหลงระเริงคิดว่า
สิ่งที่ตัวเองเอามาโพสถูกต้อง มันเลยจะเป็นการปิดหนทางธรรมเขาน่ะครับ

สรุปครับว่า.....อ่านไม่รู้เรื่องก็บอกเขาไปตามตรง
หรือถ้าไม่เห็นด้วยก็บอกเขาว่า.....ฉันไม่เห็นด้วย
อย่าสักแต่อนุโมทนาซี้ซั่ว มันจะทำให้เขาหลงระเริงกับอวิชาเสียเปล่าๆ
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2013, 09:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องทำลาย

สภาวะที่เกิดขึ้น กับการปฏิบัติ

แท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรหรอก


ที่มีเกิดขึ้น ล้วนเกิดจาก เหตุเดียวกันหมด คือ ไม่อยากเกิด

เมื่อไม่อยากเกิด ต้องทำลาย ความไม่อยาก เหตุของ ความอยากที่มีอยู่ก่อน

ความไม่อยากเกิด คือ ความอยากมี อยากได้ อยากเป็นอะไรๆในสุมมติ ที่เป็นเหตุของ ความไม่อยาก

ต้องทำลายความอยากที่เหนียวแน่น ตัวนี้ ให้ได้ก่อน

หากทำลายความอยาก ที่แฝงอยู่ในความไม่อยาก ตัวนี้ ลงไปได้

อุปกิเลส ย่อมเกิดขึ้นได้ยาก เพราะ มีสติ รู้เท่าทันต่อ ความอยาก ที่แฝงอยู่ในความไม่อยาก ที่เกิดขึ้น

ความอยาก ที่แฝงอยู่ในความไม่อยาก จึงปรากฏในสภาวะของ อุเบกขา ที่เกิดขึ้น

จึงคิดว่า ไม่มีอะไรๆ ในสิ่งที่ต้องการ สภาวะที่เกิดขึ้น ทำให้คิดว่า ไม่มี

ส่วนมีหรือไม่มี มักหลุดสิ่งที่มีอยู่ และเป็นอยู่เนืองๆ ความเป็นนั่น เป็นนี่ ออกมาให้เห็น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2013, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

ข้ออื่นด้วย น้ำ ลม ไฟ สัจจะหรือคุณลักษณะของมันจะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ไหม? อธิบาย

สัจจะของหู คือ รับรู้เสียง

สัจจะของตาคือ รู้รูป

สัจจะของจมูก คือ รู้กลิ่น

สัจจะของลิ้น คือ รู้รส

นี่แหละอนัตตา ชัดๆเลย โฮฮับแน่จริงลองไปเปลี่ยนหน้าที่ ให้ตา มารู้รส จมูกไปรู้รูป ลิ้นไปดมกลิ่นดูซิ

ทีนี้เข้าใจละยังที่ว่าสัจจะ คือความจริงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้


"สัจจะของหู" โสกะจะเอาฮาไปถึงไหน :b32:

สงสัยเป็นดาวเคราะห์แคระที่ผมว่า.....มันถึงได้มีสัจจะของหู :b9:

ความหมายของสัจจะ คือสัจจะของธรรมชาติ
มันไม่มีหรอกไอ้สัจจะของหูน่ะ
โสกะบอก "สัจจะของหู คือรับรู้เสียง" ถ้าคนหูหนวกล่ะ
สัจจะของหูจะเป็นอย่างไร


ทั้งหมดทั้งมวล โสกะไม่รู้เรื่องแล้วก็มั่วไปเรื่อย
จินตนาเอาเอง


ถ้าจะกล่าวในลักษณะลงลึกไปในรายละเอียดย่อย......
การได้ยิน เป็นสัจจะแห่งรูป นาม ตรงข้ามถ้าหูพิการมันก็เป็นสัจจะแห่งธรรมชาติโดยรวม

คนบางคนเกิดมาพิการ เช่นตาบอด หูหนวกฯลฯ แบบนี้เรียกเป็นสัจจะแห่งธรรมชาติ
อยากให้ตาดี หูไม่หนวกแบบชาวบ้าน มันก็ไม่สามารถทำได้ มันเป็นกฎหรือสัจจะแห่งธรรมชาติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2013, 11:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโฮฮับเขียน

อ้างคำพูด:
ที่คุณเต้บอกว่า "ความรู้สึกที่บรรยายไม่ถูก" มันเป็นเพราะอ่านไม่รู้เรื่อง
หรืออ่านแค่สามบรรทัด.......

คุณเต้ครับ เห็นคุณเต้ปรารถนาพุทธภูมิ การจะได้มาซึ่งพุทธภูมิ มันต้องมีเมตตาเป็นหลัก
จะเมตตาอะไรต้องเข้าใจด้วยครับว่า สิ่งที่เราเมตตานั้น มันจะทำให้เกิดโทษต่อผู้ที่เราให้
ความเมตตาหรือเปล่า

ผมกล้ารับรองได้ว่า คุณเต้อ่านเนื้อหาที่เห็นไม่หมดหรืออ่านไม่รู้เรื่อง
ดังนั้นการกล่าว ในทำนองเหมือนจะ ให้กำลังใจผู้เอาเนื้อหานั้นมาเผยแพร่
มันอาจก่อให้เกิดโทษกับเขา เพราะเขาอาจหลงระเริงคิดว่า
สิ่งที่ตัวเองเอามาโพสถูกต้อง มันเลยจะเป็นการปิดหนทางธรรมเขาน่ะครับ


:b1: :b12:

ผิดคาดค่ะ เราอ่านทุกตัวอักษรเลยค่ะ เรากลับมีความรู้สึกว่าธรรมะของท่าน
เป็นธรรมะที่เราอ่านแล้วรู้สึกเข้าใจง่ายค่ะ ตัวอักษรทุกตัวเหมือนอยู่ในสมองเลยค่ะ
นึกขึ้นมาก็จำได้เหมือนมีความรู้สึกคุ้นๆค่ะ

ถามอย่างหนึ่งน่ะค่ะคุณโฮฮับ คุณโฮฮับก็เป็นผู้รู้ท่านหนึ่ง ซึ่งเราชอบอ่านแนวธรรมะคุณโฮฮับเช่นกันแต่ทำไม คุณโฮฮับชอบไปจับแนวธรรมะของผู้อื่นมาติค่ะ
เพราะเรามีความรู้สึกว่า ธรรมะของแต่ล่ะคนที่ได้รู้มานั้น
จะไม่เหมือนกันแบบcopy ออกมาหรอกค่ะ

อาจจะคล้ายๆ แต่พอถึงที่สุดแล้ว ก็คือทุกคน
หาเส้นทาง ที่ไปสู่จุดหมายเดียวกันไม่ใช่เหรอค่ะ :b8: :b41: :b55: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2013, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:

ผิดคาดค่ะ เราอ่านทุกตัวอักษรเลยค่ะ เรากลับมีความรู้สึกว่าธรรมะของท่าน
เป็นธรรมะที่เราอ่านแล้วรู้สึกเข้าใจง่ายค่ะ ตัวอักษรทุกตัวเหมือนอยู่ในสมองเลยค่ะ
นึกขึ้นมาก็จำได้เหมือนมีความรู้สึกคุ้นๆค่ะ


พูดจริงหรือเปล่า.....อยากจะเป็นพระโพธิสัตว์......เขาห้ามมุสาน่ะ

ถ้าคุณเต้พูดจริง ขอถามหน่อย คนที่นิมนต์พระรูปนี้ไปเชียงใหม่ชื่ออะไร :b32:

แล้วพระรูปนี่ บอกแนวทางไหนเป็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกแและแนวทางไหนผิด

เอาตามเนื้อหาในนั้นเลย ถามง่ายๆถ้าตอบไม่ได้แสดงว่า.....คุณโกหก

คนที่ปรารถนาพุทธภูมิ ถ้าโกหกตายไปจะต้องตกนรกหลายร้อยชาติ และไม่แน่ว่า
เมื่อหมดกรรมแล้วจะได้มาเกิดเป็นมนุษย์หรือเปล่าก็ไม่รู้ :b32:

bbby เขียน:
ถามอย่างหนึ่งน่ะค่ะคุณโฮฮับ คุณโฮฮับก็เป็นผู้รู้ท่านหนึ่ง ซึ่งเราชอบอ่านแนวธรรมะคุณโฮฮับเช่นกันแต่ทำไม คุณโฮฮับชอบไปจับแนวธรรมะของผู้อื่นมาติค่ะ
เพราะเรามีความรู้สึกว่า ธรรมะของแต่ล่ะคนที่ได้รู้มานั้น
จะไม่เหมือนกันแบบcopy ออกมาหรอกค่ะ


คุณก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบมั่วครับ เขามาแสดงความประเภทเลอะเทอะ
พูดเรื่องเจ้ากรรมนายเวรบ้าบอคอแตก

ผมไม่อยากถือสา เพราะคุณไม่ได้อ้างพระพุทธเจ้า
ผมก็เลยปล่อยๆให้คุณพูดตามสบาย

กระทู้นี้ผมต้องแสดงความเห็นสะกิดสะเกาคุณ เพราะคุณทำเป็นมารู้ดี
กับเนื้อหาที่แอบอ้างพระธรรมของพระพุทธเจ้า ซึ่งในความเป็นจริง
คุณไม่ได้มีความนับถือพระพุทธเจ้า สิ่งที่คุณนับคือเทพเจ้าหรือเซียน

คนที่ไม่รู้ก็มักจะอ้างว่า ธรรมะของแต่ล่ะคนไม่เหมือนกัน ใช่ครับ
แต่ธรรมะจะต้องเหมือนกับที่พระพุทธองค์ทรงสอน........
ไม่ใช่แนวทางของโยคีมามั่ว
กับคุณเต้ก็เหมือนกัน ดีน่ะที่ไม่อ้างพระพุทธองค์
ถ้าอ้างพุทธองค์แล้วพูดจาโยงไปเจ้ากรรมนายเวร อิทธิฤทธิ์ ก็ต้องเจอผมสวนเช่นกัน :b6:


bbby เขียน:
อาจจะคล้ายๆ แต่พอถึงที่สุดแล้ว ก็คือทุกคน
หาเส้นทาง ที่ไปสู่จุดหมายเดียวกันไม่ใช่เหรอค่ะ :b8: :b41: :b55: :b49:


เห็นมั้ยที่พูดมา ตัวตนของตัวเป็นอย่างไร ต้องการอะไรยังไม่รู้เรื่อง

อยากเป็นโพธิสัตว์ก็เป็นไป แต่ไม่ใช่เอาพระธรรมของพระโคดมไปมั่ว
พระโพธิสัตว์กับพระธรรมที่พระโคดมสอน ไม่เกี่ยวข้องกัน....เข้าใจมั้ย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2013, 13:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
แล้วก็ติดคำว่าไตรลักษณ์ เกินไป ปล่อยวางเสียบ้าง ไม่ชอบอรรถกถาจารย์สอน
จะเอาแต่พุทธวัจนะ แต่เอาคำว่าไตรลักษณ์ของท่านมาใช้ข่มขู่ผู้อื่นตลอด น่าไม่อาย


เอาอีกแล้ว ดูถูกไตรลักษณ์อีกแล้ว เดี๋ยวก็มาแถว่า ไม่ได้พูด
แล้วใครบอกว่าผม ไม่ชอบอรรถกถาจารย์ ผมว่าคุณเข้าใจอะไรผิดไปหรือเปล่า

ที่ผมไม่เอาก็คือ พวกนักบวชที่อวดอุตริมนุษย์ธรรม
สอนพระธรรมผิดเพี้ยน บุคคลหรือนักบวชที่โสกะเอามาอ้าง
เขาไม่เรียกอรรถกถาจารย์นะครับ อรรถกถาจารย์คือบุคคลที่สามารถ
อธิบายพระอภิธรรมที่มาจากพุทธพจน์ได้
แต่ของโสกะเป็นแค่นักปฏิบัตินอกลู่นอกทาง


asoka เขียน:

ค้นหาอนัตตา นั้น ไม่ใช่ ค้นหา ไตรลักษณ์ ข้อที่ 3 หรือ "สัพเพธัมมา อนัตตา" ธรรมทั้งหมดทั้งปวงเป็นอนัตตา ....ถ้าค้นพบอนัตตา ก็คือพบธรรมทั้งปวงนั่นเอง


ถึงได้บอกไงว่าเลอเทอะ อาศัยแค่บัญญัติมามอมเมาชาวบ้าน

ดูแค่ประโยคนี้ก็รู้แล้วว่าไม่รู้เรื่อง ดันพูดมาได้ "ค้นหาไตรลักษณ์ข้อที่๓
สัพเพธัมมา อนัตตา
:b32: พุทโธ่! มันคนล่ะเรื่องกันเลย
สัพเพสังขารากับสัพเพธัมมา มันเป็นธรรมคนละอย่างกัน ดันเอาไปมั่วกันได้

ความเป็นไตรลักษณ์......จะต้องเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

สัพเพธัมมา อนัตตามันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

และที่บอกว่าค้นหาไตรลักษณ์ ไม่ใช่ค้นหาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เขาค้นหา สังขตลักษณะของสังขาร มันต้องเห็นการเกิด ตั้งอยู่ ดับไปของสังขาร
จึงจะได้ชื่อว่าเห็น...อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2013, 13:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

จริงๆแล้วการค้นหาอนัตตา ไม่ใช่วิธีการของหลวงพ่อหรืออโศกะ แต่เป็นวิธีการของพระบรมศาสดา ที่ทรงสอนไว้ตั้งแต่วันที่ 2 ของการแสดงธรรม

ลองไปทบทวน อนัตตลักขณะสูตรดูดีๆซิครับ หลวงพ่อธีท่านก็เอาเฉพาะสูตรนี้มาจับประเด็นแล้ว ทำให้ง่ายไปสู่วิธีปฏิบัติ อันมีเคล็ดลับให้ท่องจำง่ายๆว่า[/b][/color]

"หา...... เห็น... ตัด..... ถึง"

ตีความให้แตก นำไปสู่การภาวนาให้เป็น ได้เห็นธรรมถึงธรรมแน่ๆ ชาตินี้
:b8:


ถึงได้บอกว่า เอาพระธรรมของพระพุทธองค์มามั่ว ทำพระธรรมผิดเพี้ยน

ในอนัตตลักขณสูตร ท่านไม่ได้ให้ปัญจวัครคีย์หาอนัตตา

แต่พระพุทธองค์ทรงให้ ปัญจวัคคีย์วาง สังขารลงอย่าไปยึดมั่น

พระพุทธองค์บอกเหตุผลไว้ว่า สังขาร มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่น....พระพุทธองค์ไม่ได้ให้หาอนัตตา

ปัญจวัคคีย์เห็นอนัตตาแล้ว แต่เห็นแล้วไม่ปล่อยวาง พระพุทธองค์จึงตรัสให้วางลง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 82 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร