วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 00:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 63 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2013, 08:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลายๆคนกำลังเข้าใจผิดหลงคิดไปว่า พระธรรมหรือธรรมะ มีความหมายว่า ธรรมชาติ
ถ้าใครคิดแบบนี้ บอกได้เพียงว่า คิดผิด
ความหมายที่ถูกต้องของ บัญญัติที่ว่าด้วยธรรมะ นั้นก็คือ...

คำสอนของพระโคดม อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ


ความไม่รู้ตั้งแต่ต้น เข้าใจเบื้องต้นผิด ปลายมันจึงผิด
คนที่ปฏิบัติแบบงูๆปลาๆหรือปฏิบัติผิดหลักตามที่พระพุทธองค์ทรงสอน
มักจะเป็นแบบนี้ พูดง่ายๆก็คือ ไม่รู้เรื่องอะไรเลย

ปริยัติใช้ไม่ได้ ปฏิบัติก็ผิด แบบนี้ ปฏิเวธมันจะเกิดได้อย่างไร


มีโมฆะบุรุษบางคน ไปแปลความหมายธรรมะว่า ธรรมชาติ
จึงทำให้ไปคิดเองเออเองว่า.....ธรรมะไม่มีเจ้าของ
แถมยังบอกแบบขาดสติยังคิดอีกว่า .....ใครบอกว่าพระธรรมหรือธรรมะเป็นของพระโคดม
คนนั้นมีอัตตา

ก็พูดธรรมมั่วซั่วแบบนี่ แล้วจะไม่ให้คนอื่นเข้าไปแย้ง น่าขำ

พูดผิดหลักการทั้งการใช้ภาษาในทางโลก ยิ่งผิดไปกว่านั้นก็คือทางธรรม
นั้นก็คือขาดปัญญามองธรรมไปตามความเป็นจริงอันเป็นเหตุปัจจัย

อย่าลืมธรรมชาติก็คือธรรมชาติ พระธรรมก็คือพระธรรม
มันเป็นคนล่ะความหมาย


ปล. เราวางกระจกไว้เพื่อให้มันสะท้อนกลับ กันพวกพ่อมดหมอผีเข้ามาใช้เวทมนต์
ถ้าใครไม่อยากลิ้นพองปากเบี้ยว ก็อย่าเข้ามาสาปแช่งในกระทู้นี้ :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2013, 09:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:



อย่าลืมธรรมชาติก็คือธรรมชาติ พระธรรมก็คือพระธรรม
มันเป็นคนล่ะความหมาย




ไม่ใช่อยากปากเบี้ยวตูดบิด ฟันเกนะ ขอแค่เป็นคนหน้าเิดิมก็พอใจแล้ว http://www.youtube.com/watch?v=tCCjbCE7gHo ... แต่จะมาขอความชัดเจน ก็คือว่า :b1:

เราจะให้ผู้ฟังผู้อ่านเขาเชื่อตามที่เราพูด เราก็ต้องแจกแจงให้เขาเห็นชัดๆ เช่นว่า ธรรมชาตินี่ นี้เรียกว่า "ธรรมชาติ" ธรรมนี่ นี้เรียกวา่ "ธรรม" เห็นไหมๆเห็นหรือยังๆว่าคนละอย่างคนละความหมายกัน เห็นหรือยัง บอกไม่เชื่อ :b9:


ไหนลองแยกที่ว่า "ธรรมชาติก็คือธรรมชาติ" ธรรมชาติที่ว่านั้น ได้แก่อะไร ยกตัวอย่างประกอบด้วย

กับที่ว่า "พระธรรมก็คือพระธรรม" พระธรรมที่ว่านั้น ได้แก่ อะไร ยกตัวอย่า่งประกอบด้วย

คนอ่านเห็นถึงกับร้องอ๋อ...อ้อ...อืม... มันคนละอย่างกันจริงๆ ธรรมชาติก็คือธรรมชาติ พระธรรมก็คือพระธรรม :b1: เห็นความต่างเลย บรรลุธรรมกันเห็นๆเลย :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2013, 16:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ไม่ใช่อยากปากเบี้ยวตูดบิด ฟันเกนะ ขอแค่เป็นคนหน้าเิดิมก็พอใจแล้ว http://www.youtube.com/watch?v=tCCjbCE7gHo ... แต่จะมาขอความชัดเจน ก็คือว่า :b1:

เราจะให้ผู้ฟังผู้อ่านเขาเชื่อตามที่เราพูด เราก็ต้องแจกแจงให้เขาเห็นชัดๆ เช่นว่า ธรรมชาตินี่ นี้เรียกว่า "ธรรมชาติ" ธรรมนี่ นี้เรียกวา่ "ธรรม" เห็นไหมๆเห็นหรือยังๆว่าคนละอย่างคนละความหมายกัน เห็นหรือยัง บอกไม่เชื่อ :b9:


ไหนลองแยกที่ว่า "ธรรมชาติก็คือธรรมชาติ" ธรรมชาติที่ว่านั้น ได้แก่อะไร ยกตัวอย่างประกอบด้วย

กับที่ว่า "พระธรรมก็คือพระธรรม" พระธรรมที่ว่านั้น ได้แก่ อะไร ยกตัวอย่า่งประกอบด้วย

คนอ่านเห็นถึงกับร้องอ๋อ...อ้อ...อืม... มันคนละอย่างกันจริงๆ ธรรมชาติก็คือธรรมชาติ พระธรรมก็คือพระธรรม :b1: เห็นความต่างเลย บรรลุธรรมกันเห็นๆเลย :b13:



คำว่า"ธรรมชาติ" มันเป็นบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับทางโลก มันเป็นวิทยาสตร์
ความหมายของมันก็คือ.....ลักษณะความเป็นไปที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้
เราเรียกว่า.....โลกียะ

แต่พระธรรมหรือธรรมะ ไม่ได้หมายรวมหรือหมายถึงธรรมชาติทั้งหมด
ธรรมะเป็นสิ่งที่พระโคดมทรงค้นพบ ที่มันเกี่ยวข้องกับธรรมชาติก็เพราะ
มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลก ถึงแม้มันจะเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ แต่เราจะเรียก
ธรรมะว่าธรรมชาติไม่ได้.............เพราะแก่นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสอน
ท่านเน้นสอนให้บุคคลหลุดพ้นจากธรรมชาติของโลกใบนี้....ธรรมะของพุทธ
จึงได้ชื่อว่า โลกุตตระธรรม



พระพุทธองค์ทรงแบ่งธรรมให้รู้ว่า สิ่งไหนเป็นธรรมชาติ
เพียงแต่ท่านไม่ได้กล่าวว่าธรรมชาติ พระพุทธองค์ทรงเรียกสิ่งที่พระองค์ค้นพบว่า...ตถตา

ตถตาเป็นพุทธบัญญัติ ที่กล่าวถึงความเป็นไปของธรรมะ นั้นก็คือ....
ปฏิจจสมุบาท อิทัปปจยตาและสังขาร

จะสรุปสั้นๆถึงความแตกต่างระหว่างธรรมชาติกับธรรมะ
อย่างคนเราเมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องตาย นี้เป็นความหมายของธรรมชาติ
มันจบแค่ความตาย

แต่ถ้าเป็นธรรมะ คนเราเมื่อเกิดและตาย มันไม่จบแค่นั้น
มันจะต้องหมุนเวียนกลับมาเกิดใหม่อีก

และอีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ.....เรื่องบางเรื่องธรรมชาติบอกว่า...เป็นเหตุบังเอิญ
แต่ธรรมะไม่มีเหตุบังเอิญ ทุกเรื่องที่เกิดขึ้นมันเกิดจากเหตุปัจจัย
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2013, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:





คำว่า"ธรรมชาติ" มันเป็นบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับทางโลก มันเป็นวิทยาสตร์
ความหมายของมันก็คือ.....ลักษณะความเป็นไปที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้
เราเรียกว่า.....โลกียะ

แต่พระธรรมหรือธรรมะ ไม่ได้หมายรวมหรือหมายถึงธรรมชาติทั้งหมด
ธรรมะเป็นสิ่งที่พระโคดมทรงค้นพบ ที่มันเกี่ยวข้องกับธรรมชาติก็เพราะ
มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลก ถึงแม้มันจะเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ แต่เราจะเรียก
ธรรมะว่าธรรมชาติไม่ได้.............เพราะแก่นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสอน
ท่านเน้นสอนให้บุคคลหลุดพ้นจากธรรมชาติของโลกใบนี้....ธรรมะของพุทธ
จึงได้ชื่อว่า โลกุตตระธรรม




ก็เข้าใจยังงั้นเขียนยังงั้น มันก็เป็นยังงั้นน่าซี่ ก็เติม ธรรม ต่อท้าย "โลกียธรรม" เท่านี้เอง เข้าคู่กับ "โลกุตรธรรม" ถ้าไม่เติมคำว่า "ธรรม" ก็เขียนแค่ โลกิียะ -โลกุตระ เข้าคู่กัน ไม่เห็นมีอะไร

สิ่งทั้งหลายทั้งปวงบรรดามี ทั้งคำว่า ไม่มี ที่คู่กับมีด้วย เรียกว่า "ธรรม" ว่า "ธรรมชาติ" ว่า "ธรรมดา" ทั้งหมดทั้งสิ้น เป็นธรรมด๊า ธรรมดา :b1:

ตถตา = ความเป็นเช่นนั้นเอง1

สภาวะ จริยะ บัญญัติ ถ้าต้องการให้เป็นหมวดธรรม ก็เติมศัพท์ธรรมหลัง เข่น

สภาวะ เติมธรรมเข้าไป ก็เป็น สภาวธรรม

จริยะ เต็มธรรมเข้าไป ก็เป็น จริยธรรม

บัญญัติ เต็มศัพท์ธรรมเข้า ก็เป็น บัญญัติธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 28 ธ.ค. 2013, 18:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2013, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ก็เข้าใจยังงั้นเขียนยังงั้น มันก็เป็นยังงั้นน่าซี่ ก็เติม ธรรม ต่อท้าย "โลกียธรรม" เท่านี้เอง เข้าคู่กับ "โลกุตรธรรม" ถ้าไม่เติมคำว่า "ธรรม" ก็เขียนแค่ โลกิียะ -โลกุตระ เข้าคู่กัน ไม่เห็นมีอะไร

สิ่งทั้งหลายทั้งปวงบรรดามี ทั้งคำว่า ไม่มี ที่คู่กับมีด้วย เรียกว่า "ธรรม" ว่า "ธรรมชาติ" ว่า "ธรรมดา" ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นธรรมด๊า ธรรมดา :b1:


เลอะเทอะน่ากรัชกาย พิจารารณาธรรม ต้องพิจารณาถึงเหตุที่มาของคำๆนั้น
และที่สำคัญจะต้องเข้าใจด้วยว่า....คำไหนเป็นคำที่พวกปุถุชนบัญญัติขึ้นเอง
และคำไหนเป็นพุทธพจน์

การพิจารณาธรรมจะต้องเอาสิ่งที่เป็นพุทธพจน์มาเป็นหลักในการพิจารณา

อย่างโลกียะหรือโลกุตตระก็เช่นกัน การพิจารณาธรรมจะต้องพิจารณาที่โลกุตระธรรม
ส่วนโลกียะธรรม เป็นแค่การรู้ไว้เพื่อเป็นการสื่อสารกันในสังคม

การพิจารณาเพื่อให้รู้ถึงบัญญัติที่เป็นโลกุตระ....จะต้องหาเหตุปัจจัยที่มาของบัญญัตินั้น

ส่วนบัญญัติที่เป็นโลกียะ ไม่ใช่การพิจารณาธรรม เป็นเพียงความจำได้หมายรู้ของคำๆนั้น
หรือพูดให้ตรงก็คือ ให้รู้คำแปลของคำๆนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2013, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ก็เข้าใจยังงั้นเขียนยังงั้น มันก็เป็นยังงั้นน่าซี่ ก็เติม ธรรม ต่อท้าย "โลกียธรรม" เท่านี้เอง เข้าคู่กับ "โลกุตรธรรม" ถ้าไม่เติมคำว่า "ธรรม" ก็เขียนแค่ โลกิียะ -โลกุตระ เข้าคู่กัน ไม่เห็นมีอะไร

สิ่งทั้งหลายทั้งปวงบรรดามี ทั้งคำว่า ไม่มี ที่คู่กับมีด้วย เรียกว่า "ธรรม" ว่า "ธรรมชาติ" ว่า "ธรรมดา" ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นธรรมด๊า ธรรมดา :b1:


เลอะเทอะน่ากรัชกาย พิจารารณาธรรม ต้องพิจารณาถึงเหตุที่มาของคำๆนั้น
และที่สำคัญจะต้องเข้าใจด้วยว่า....คำไหนเป็นคำที่พวกปุถุชนบัญญัติขึ้นเอง
และคำไหนเป็นพุทธพจน์

การพิจารณาธรรมจะต้องเอาสิ่งที่เป็นพุทธพจน์มาเป็นหลักในการพิจารณา

อย่างโลกียะหรือโลกุตตระก็เช่นกัน การพิจารณาธรรมจะต้องพิจารณาที่โลกุตระธรรม
ส่วนโลกียะธรรม เป็นแค่การรู้ไว้เพื่อเป็นการสื่อสารกันในสังคม

การพิจารณาเพื่อให้รู้ถึงบัญญัติที่เป็นโลกุตระ....จะต้องหาเหตุปัจจัยที่มาของบัญญัตินั้น

ส่วนบัญญัติที่เป็นโลกียะ ไม่ใช่การพิจารณาธรรม เป็นเพียงความจำได้หมายรู้ของคำๆนั้น
หรือพูดให้ตรงก็คือ ให้รู้คำแปลของคำๆนั้น




นี่แหละถึงว่า พูดกับคนที่ภูมิรู้ต่างกันก็เป็นเช่นนี้แล เถียงกันทุกเรื่อง ตั้งแต่เรืองสากเบือยันเรือรบ ถึงบอกว่าไปเรียนก่อน ไปลงมือปฏิบัติก่อน :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2013, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากจะยกตัวอย่าง...เช่นคำว่า ธรรมชาติ เราไม่สามารถเอาคำว่าธรรมชาติ
ไปพิจารณาหาเหตุที่มาได้ เพราะธรรมชาติไม่ใช่ธรรมะ ไม่ใช่โลกุตตระ

ธรรมชาติเป็นบัญญัติที่บัญญัติขึ้นจากความเป็นโลกียะ หมายความว่า...
ธรรมชาติมันไม่ใช่พุทธพจน์ มันเป็นเพียงภาษาที่คนในสังคมเขาใช้กัน
มันไม่สามารถเอามาพิจารณาหาเหตุปัจจัยของมันได้

ตรงข้ามถ้าเป็นพุทธพจน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นอภิธรรม
พุทธพจน์นั้นจะต้องเอามาพิจารณาหาเหตุปัจจัยหรือหาธรรมที่เป็นเหตุให้เกิด
พุทธพจน์นั้นได้

เช่นพุทธพจน์ที่บัญญัติว่าตถตา
ถ้าเราอยากรู้ความหมายของพุทธพจน์นี้ ไม่ใช่การไปเปิดพจนานุกรมเพื่อเอาคำแปล

แต่สิ่งที่เราต้องทำก็คือ เราจะต้องพิจารณาหาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิด..ตถตา
มันแน่นอนอยู่แล้วว่า เราจำเป็นต้องพิจารณาธรรมต่างในพระธรรมวินัย
ต้องหาว่า พระธรรมวินัยบทไหนบอกเหตุที่มาของคำว่า....ตถตา

จากประสบการณ์ เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิด..ตถตาก็คือ ปฏิจสมุบาท อิทัปปัจจยตาและสังขาร
กระบวนการเกิดขึ้นของปฏิจจสมุบาทและสังขาร ซึ่งเป็นไปตามกฎแห่งอิทัปปจยตา
ท่านเรียกกระบวนการเหล่านี้ว่า
.......ตถตา

ดูแล้ว"ตถตา" อาจดูเหมือนความเป็นธรรมชาติของโลก
แต่ในความเป็นจริงมันไม่ใช่ เพราะ"ตถตา"เมื่อตายแล้วไม่ดับสูญ
แต่ธรรมชาติตายแล้วดับสูญ

ดังนั้นความเป็นธรรมะ จึงหมายถึงเป็นธรรมของพระโคดมพุทธเจ้า
เพราะธรรมะไม่ใช่ธรรมชาติ ธรรมชาติไม่มีเจ้าของ แต่ธรรมะมีเจ้าของ
นั้นก็คือพระโคดม
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2013, 18:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ก็เข้าใจยังงั้นเขียนยังงั้น มันก็เป็นยังงั้นน่าซี่ ก็เติม ธรรม ต่อท้าย "โลกียธรรม" เท่านี้เอง เข้าคู่กับ "โลกุตรธรรม" ถ้าไม่เติมคำว่า "ธรรม" ก็เขียนแค่ โลกิียะ -โลกุตระ เข้าคู่กัน ไม่เห็นมีอะไร

สิ่งทั้งหลายทั้งปวงบรรดามี ทั้งคำว่า ไม่มี ที่คู่กับมีด้วย เรียกว่า "ธรรม" ว่า "ธรรมชาติ" ว่า "ธรรมดา" ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นธรรมด๊า ธรรมดา :b1:


เลอะเทอะน่ากรัชกาย พิจารารณาธรรม ต้องพิจารณาถึงเหตุที่มาของคำๆนั้น
และที่สำคัญจะต้องเข้าใจด้วยว่า....คำไหนเป็นคำที่พวกปุถุชนบัญญัติขึ้นเอง
และคำไหนเป็นพุทธพจน์

การพิจารณาธรรมจะต้องเอาสิ่งที่เป็นพุทธพจน์มาเป็นหลักในการพิจารณา

อย่างโลกียะหรือโลกุตตระก็เช่นกัน การพิจารณาธรรมจะต้องพิจารณาที่โลกุตระธรรม
ส่วนโลกียะธรรม เป็นแค่การรู้ไว้เพื่อเป็นการสื่อสารกันในสังคม

การพิจารณาเพื่อให้รู้ถึงบัญญัติที่เป็นโลกุตระ....จะต้องหาเหตุปัจจัยที่มาของบัญญัตินั้น

ส่วนบัญญัติที่เป็นโลกียะ ไม่ใช่การพิจารณาธรรม เป็นเพียงความจำได้หมายรู้ของคำๆนั้น
หรือพูดให้ตรงก็คือ ให้รู้คำแปลของคำๆนั้น




นี่แหละถึงว่า พูดกับคนที่ภูมิรู้ต่างกันก็เป็นเช่นนี้แล เถียงกันทุกเรื่อง ตั้งแต่เรืองสากเบือยันเรือรบ ถึงบอกว่าไปเรียนก่อน ไปลงมือปฏิบัติก่อน :b1:


ต้องเป็นกรัชกาย ที่จะต้องไปปฏิบัติให้เห็นจริง ไอ้เรื่องที่กรัชกายเคยเอามาโพสน่ะ
พี่โฮรู้และเข้าใจทุกอย่าง เพราะรู้และเข้าใจไง ถึงได้บอกว่า
สิ่งที่เป็นพุทธพจน์ ต้องอาศัยการพิจารณาธรรมจากพระธรรมวินัย(พระไตรปิฎก)

ไม่ใช่ไปเปิดพจนานุกรมแปลคำศัพท์ที่ล่ะตัว
แบบนี้มันเป็นโลกียะ ใช้ไม่ได้


แล้วที่บอกว่าเถียงได้ทุกเรื่อง มันย่อมต้องเป็นอย่างนั้น
เพราะหลายคนในนี้ ศึกษาธรรมแบบการท่องจำคำศัพท์ หรือไม่ก็อาศัยการอ่าน
จากตำราที่เป็นโลกียะ แต่ล่ะคนหาเข้าใจในหลักของเหตุปัจจัย
พุทธพจน์ที่เป็นธัมมาธิษฐาน จะต้องมีเหตุปัจจัยที่มา
การเอาไปแปลเป็นคำศัพท์มันผิดแต่ต้นแล้ว
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2013, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นำความหมายของธรรมะให้ดู


อ้างคำพูด:
ธรรมเป็นกฏธรรมชาติ มีอยู่ของมันตามธรรมดา

ธรรม ในความหมายที่ ๑ (๑. ความจริง ๒. ความถูกต้อง ๓. ความดีงาม) ซึ่งเป็นความหมายหลัก เป็นพื้นฐาน ก็คือ ความจริง การที่เราศึกษาธรรมกัน ก็ศึกษาเพื่อหาเพื่อรู้ความจริงนี่แหละ คือทำอย่างไรจะรู้เข้าใจเข้าถึงความจริงได้

ทางพระบอกว่า ความจริงมีอยู่ของมันตามธรรมดา อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ขอยกคำบาลีมาให้ดูว่า

อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ ฐิตาว สา ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา...

แปลว่า ตถาคต (คือพระพุทธเจ้า) ทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่อุบัติก็ตาม ธาตุ (สภาวะหรือหลักแห่งความจริง) นั้น คือ ความดำรงอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปแน่นอนแห่งธรรม ก็ตั้งอยู่อย่างนั้นเอง.....ตถาคตตรัสรู้ ค้นพบธาตุนั้น ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่าย ว่าดังนี้ๆ


ถ้ายังไม่เห็นธรรมดา ธรรมชาติ ความเป็นอย่างนั้น ก็เร่ร่อนไปเป็นเอนกชาติ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2013, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:


ก็เข้าใจยังงั้นเขียนยังงั้น มันก็เป็นยังงั้นน่าซี่ ก็เติม ธรรม ต่อท้าย "โลกียธรรม" เท่านี้เอง เข้าคู่กับ "โลกุตรธรรม" ถ้าไม่เติมคำว่า "ธรรม" ก็เขียนแค่ โลกิียะ -โลกุตระ เข้าคู่กัน ไม่เห็นมีอะไร

สิ่งทั้งหลายทั้งปวงบรรดามี ทั้งคำว่า ไม่มี ที่คู่กับมีด้วย เรียกว่า "ธรรม" ว่า "ธรรมชาติ" ว่า "ธรรมดา" ทั้งหมดทั้งสิ้น เป็นธรรมด๊า ธรรมดา :b1:


ถ้าเข้าใจตามเหตุปัจจัย มันก็ต้องเป็นอย่างนั้น ถูกต้องตามหลัก..ธัมมวจยะ

เอาพุทธพจน์ไปแปลเป็นคำใหม่ มันก็ต้องเป็นไปตามผู้แปลน่ะซิ มันเหมือนกันที่ไหน

พูดซ้ำซากอีกแล้ว

กรัชกาย เขียน:
ตถตา = ความเป็นเช่นนั้นเอง1


ความเป็นเช่นนั้นเอง แล้วอะไรล่ะที่เป็นเช่นนั้น พูดส่งเดช
ไม่มีที่มาที่ไป ถ้ามีคนเขาเชื่อว่า โลกหน้าไม่มี ตายแล้วสูญ
แบบนี้มันเป็นเช่นนั้นเองหรือเปล่า ถ้าศาสนาอื่นเขาบอกว่า พระเจ้าสร้างโลก
แบบนี้เป็นเช่นนั้นเองหรือเปล่า

กรัชกาย เขียน:


ก็เข้าใจยังงั้นเขียนยังงั้น มันก็เป็นยังงั้นน่าซี่ ก็เติม ธรรม ต่อท้าย "โลกียธรรม" เท่านี้เอง เข้าคู่กับ "โลกุตรธรรม" ถ้าไม่เติมคำว่า "ธรรม" ก็เขียนแค่ โลกิียะ -โลกุตระ เข้าคู่กัน ไม่เห็นมีอะไร

สิ่งทั้งหลายทั้งปวงบรรดามี ทั้งคำว่า ไม่มี ที่คู่กับมีด้วย เรียกว่า "ธรรม" ว่า "ธรรมชาติ" ว่า "ธรรมดา" ทั้งหมดทั้งสิ้น เป็นธรรมด๊า ธรรมดา :b1:

สภาวะ จริยะ บัญญัติ ถ้าต้องการให้เป็นหมวดธรรม ก็เติมศัพท์ธรรมหลัง เข่น

สภาวะ เติมธรรมเข้าไป ก็เป็น สภาวธรรม

จริยะ เต็มธรรมเข้าไป ก็เป็น จริยธรรม

บัญญัติ เต็มศัพท์ธรรมเข้า ก็เป็น บัญญัติธรรม


เลอะเทอะแล้ว เอาพุทธพจน์มาทำซะเละ บัญญัติที่ว่า"ธรรม"

เป็นบัญญัติที่เน้นให้รู้ว่า บัญญัติตัวหน้า เป็นพุทธพจน์เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์บัญญัติขึ้น

อย่างเช่น สภาวธรรม ก็คือ สภาวะเป็นพุทธพจน์
พระพุทธองค์ทรงบัญญัติคำว่าสภาวะขึ้นมา เพื่อสอนสาวก
คำอื่นๆก็เช่นกัน

นี่ถึงได้บอกว่า ธรรมะเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติขึ้น
ดังนั้นธรรมะจึงเปรียบได้ว่า ธรรมะเป็นของพระพุทธองค์


โสกะมาดูความเห็นนี้ด้วยน่ะ จะได้ฉลาดขึ้น :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2013, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:


ก็เข้าใจยังงั้นเขียนยังงั้น มันก็เป็นยังงั้นน่าซี่ ก็เติม ธรรม ต่อท้าย "โลกียธรรม" เท่านี้เอง เข้าคู่กับ "โลกุตรธรรม" ถ้าไม่เติมคำว่า "ธรรม" ก็เขียนแค่ โลกิียะ -โลกุตระ เข้าคู่กัน ไม่เห็นมีอะไร

สิ่งทั้งหลายทั้งปวงบรรดามี ทั้งคำว่า ไม่มี ที่คู่กับมีด้วย เรียกว่า "ธรรม" ว่า "ธรรมชาติ" ว่า "ธรรมดา" ทั้งหมดทั้งสิ้น เป็นธรรมด๊า ธรรมดา :b1:


ถ้าเข้าใจตามเหตุปัจจัย มันก็ต้องเป็นอย่างนั้น ถูกต้องตามหลัก..ธัมมวจยะ

เอาพุทธพจน์ไปแปลเป็นคำใหม่ มันก็ต้องเป็นไปตามผู้แปลน่ะซิ มันเหมือนกันที่ไหน

พูดซ้ำซากอีกแล้ว

กรัชกาย เขียน:
ตถตา = ความเป็นเช่นนั้นเอง1


ความเป็นเช่นนั้นเอง แล้วอะไรล่ะที่เป็นเช่นนั้น พูดส่งเดช
ไม่มีที่มาที่ไป ถ้ามีคนเขาเชื่อว่า โลกหน้าไม่มี ตายแล้วสูญ
แบบนี้มันเป็นเช่นนั้นเองหรือเปล่า ถ้าศาสนาอื่นเขาบอกว่า พระเจ้าสร้างโลก
แบบนี้เป็นเช่นนั้นเองหรือเปล่า

กรัชกาย เขียน:


ก็เข้าใจยังงั้นเขียนยังงั้น มันก็เป็นยังงั้นน่าซี่ ก็เติม ธรรม ต่อท้าย "โลกียธรรม" เท่านี้เอง เข้าคู่กับ "โลกุตรธรรม" ถ้าไม่เติมคำว่า "ธรรม" ก็เขียนแค่ โลกิียะ -โลกุตระ เข้าคู่กัน ไม่เห็นมีอะไร

สิ่งทั้งหลายทั้งปวงบรรดามี ทั้งคำว่า ไม่มี ที่คู่กับมีด้วย เรียกว่า "ธรรม" ว่า "ธรรมชาติ" ว่า "ธรรมดา" ทั้งหมดทั้งสิ้น เป็นธรรมด๊า ธรรมดา :b1:

สภาวะ จริยะ บัญญัติ ถ้าต้องการให้เป็นหมวดธรรม ก็เติมศัพท์ธรรมหลัง เข่น

สภาวะ เติมธรรมเข้าไป ก็เป็น สภาวธรรม

จริยะ เต็มธรรมเข้าไป ก็เป็น จริยธรรม

บัญญัติ เต็มศัพท์ธรรมเข้า ก็เป็น บัญญัติธรรม


เลอะเทอะแล้ว เอาพุทธพจน์มาทำซะเละ บัญญัติที่ว่า"ธรรม"

เป็นบัญญัติที่เน้นให้รู้ว่า บัญญัติตัวหน้า เป็นพุทธพจน์เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์บัญญัติขึ้น

อย่างเช่น สภาวธรรม ก็คือ สภาวะเป็นพุทธพจน์
พระพุทธองค์ทรงบัญญัติคำว่าสภาวะขึ้นมา เพื่อสอนสาวก
คำอื่นๆก็เช่นกัน

นี่ถึงได้บอกว่า ธรรมะเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติขึ้น
ดังนั้นธรรมะจึงเปรียบได้ว่า ธรรมะเป็นของพระพุทธองค์


โสกะมาดูความเห็นนี้ด้วยน่ะ จะได้ฉลาดขึ้น :b32:


ตถตา ความเป็นเช่นนั้น ความเป็นเช่นนั้นเอง ก็คือ ธรรม (ความจริงธรรมชาติ)

ธรรมเป็นกฏธรรมชาติ มีอยู่ของมันตามธรรมดา

อ้างคำพูด:
ความเป็นเช่นนั้นเอง แล้วอะไรล่ะที่เป็นเช่นนั้น


ความจริงตามธรรมชาติ ความหมายตถตา ที่เรียกันทั่วไปว่า "อริยสัจ ๔" นั่นเอง

ธรรมะ แปลว่า ๑.ความจริง ๒. ความถูกต้อง ๓. ความดีงาม


ธรรม ในความหมายที่ ๑ (๑. ความจริง) ซึ่งเป็นความหมายหลัก เป็นพื้นฐาน ก็คือ ความจริง

ทางพระบอกว่า ความจริงมีอยู่ของมันตามธรรมดา อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ขอยกคำบาลีมาให้ดูว่า

อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ ฐิตาว สา ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา...

แปลว่า ตถาคต (คือพระพุทธเจ้า) ทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่อุบัติก็ตาม ธาตุ (สภาวะหรือหลักแห่งความจริง) นั้น คือ ความดำรงอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปแน่นอนแห่งธรรม ก็ตั้งอยู่อย่างนั้นเอง.....ตถาคตตรัสรู้ ค้นพบธาตุนั้น ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่าย ว่าดังนี้ๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 28 ธ.ค. 2013, 21:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2013, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:


นี่ถึงได้บอกว่า ธรรมะเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติขึ้น
ดังนั้นธรรมะจึงเปรียบได้ว่า ธรรมะเป็นของพระพุทธองค์


โสกะมาดูความเห็นนี้ด้วยน่ะ จะได้ฉลาดขึ้น


อ้างคำพูด:
นี่ถึงได้บอกว่า ธรรมะเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติขึ้น
ดังนั้นธรรมะจึงเปรียบได้ว่า ธรรมะเป็นของพระพุทธองค์


ตามที่โฮฮับเข้าใจ ถูกในด้านโลกิียธรรม เช่น ที่พระองค์สอนชาวบ้านทั่วๆไปยังงี้พอได้ เป็นความหมายธรรมะ ข้อ ๓ หรือ ข้อ ๒ ไป แต่ไม่ใช่ความหมายข้อ ๑

ทำความเข้าใจความหมาย "ธรรม" ตามลำดับ

ธรรม แปลว่า ๑. ความจริง ๒. ความถูกต้อง ๓. ความดีงาม

ต่อไปความหมายข้อที่ ๑ (ความจริงตามธรรมดา พระพุทธเจ้าจะเกิดหรือไม่มันก็มีของมันอยุู่แล้ว) ดู

ความจริงมีอยู่ของมันตามธรรมดา อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ขอยกคำบาลีมาให้ดูว่า

อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ ฐิตาว สา ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา.

แปลว่า ตถาคตทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่อุบัติก็ตาม ธาตุ นั้น คือ ความดำรงอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปแน่นอนแห่งธรรม ก็ตั้งอยู่อย่างนั้นเอง.....ตถาคตตรัสรู้ ค้นพบธาตุนั้น ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่าย ว่าดังนี้ๆ


พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม บัญญัติวินัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2013, 20:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ดูต่อ เพื่อให้ถึงความหมาย ข้อ ๓ ความดีงาม จากธรรมเชื่อมถึงคน)

อ้างคำพูด:
ธรรม แปลกันมาว่า ๑.ความจริง ๒. ความถูกต้อง ๓. ความดีงาม

ความหมายที่เป็นหลักเป็นแกนของธรรมนั้น ก็คือ ความจริง หรือสภาวะที่เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นๆ เป็นธรรมดา

มนุษย์เรานั้น ต้องการสิ่งที่เกื้อกูลเป็นคุณเป็นประโยชน์แก่ตน แต่สิ่งทั้งหลายที่จะเกื้อกูลเป็นคุณเป็นประโยชน์แก่คนแท้จริง จะต้องสอดคล้องกับความจริง มิฉะนั้น ก็จะไม่เกื้อกูลเป็นประโยชน์ได้แน่แท้ยั่งยืน


สิ่งที่เกื้อกูลเป็นประโยชน์แก่มนุษย์แท้จริง เรียกว่า เป็นความดีงาม

ความดีงาม จึงอยู่สอดคล้อง คือถูกต้องตามความจริง

ความจริง เป็นหลักยืนตัว ความดีงาม เป็นคุณค่าที่มนุษย์ต้องการ ความถูกต้องเป็นความสัมพันธ์ที่น่าพอใจ ระหว่างคุณค่าที่มนุษย์ต้องการ กับความจริงที่เป็นหลักยืนตัวนั้น



ธรรมะเชื่่อมถึงคน คือคนจะดีงามได้ก็ต้องทำให้ตรงกับความจริง

จะยกธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนชาวบ้านให้ดูเป็นแนวคิด เอาแต่หัวข้อก่อน "การแสวงหาทรัพย์และการรักษาทรัพย์" อุ. อา. กะ. สะ.

๑.อุฏฐานสัมปทา

๒. อารักขสัมปทา

๓.กัลยาณมิตตตา

๔. สมชีวิตา


ที่โฮฮับพูดมาตั้งแต่วันสมัครสมาชิกวันแรก จนถึงวันนี้เีนี่ยะ เรียกว่าพูดไปเรื่อยเปื่อย ฟุ้งไปตามอารมณ์ ไม่มีหลักมีเกณฑ์อะไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2013, 06:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

ตถตา ความเป็นเช่นนั้น ความเป็นเช่นนั้นเอง ก็คือ ธรรม (ความจริงธรรมชาติ)

ธรรมเป็นกฏธรรมชาติ มีอยู่ของมันตามธรรมดา


มั่วแล้ว! ความหมายของธรรมก็คือ บัญญัติที่เป็นของพระพุทธองค์
หรือจะเรียกว่า สัจจะของพุทธองค์ก็ได้




ตัวอย่างให้เข้าใจ ถ้าเราจะเอาธรรมชาติเป็นหลัก ศาสนาพุทธก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งในธรรมชาติ
ในธรรมชาติยังมี ศาสนาและลัทธิอีกมากมาย

ดังนั้นเราจะกล่าวว่า ธรรมะเป็นธรรมชาติไม่ได้ เพราะยังมีความเชื่อของคนต่างศาสนาอีก
ด้วยเหตุธรรมะจึงเป็นเพียง..........สัจจะของพระพุทธองค์ ไม่ใช่สัจจะของธรรมชาติ

ได้ยกให้ดูความต่างของสัจจะที่เป็นธรรมะและ สิ่งที่เป็นธรรมชาติให้ดูในตอนต้นแล้ว

กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ความเป็นเช่นนั้นเอง แล้วอะไรล่ะที่เป็นเช่นนั้น


ความจริงตามธรรมชาติ ความหมายตถตา ที่เรียกันทั่วไปว่า "อริยสัจ ๔" นั่นเอง


พูดส่งเดชอีกแล้ว ธรรมชาติก็คือธรรมชาติ ทำไมต้องมีความจริงตามธรรมชาติ
ทุกสิ่งอย่างที่เกิดบนโลกใบนี้ล้วนเป็นธรรมชาติ
การโกหกก็เป็นเป็นธรรมชาติของคนโกหก
การพูดจริงก็เป็นธรรมชาติของการพูดจริง

สิ่งที่นอกเหนือธรรมชาติก็คือ...โลกุตระธรรม
โลกุตตระธรรม ก็คือ สัจจะธรรมของพระพุทธเจ้า


ถ้ากรัชกายจะให้ความหมายของ "ตถตา"ว่า...ความเป็นเช่นนั้นเอง
จะต้องบอกว่า ความเป็นเช่นนั้นของ ปฏิจจสมุบาทและสังขาร
ไม่ใช่มั่วส่งว่า ความเป็นเช่นนั้นของอริยสัจจ์สี่

กรัชกาย เขียน:
ธรรมะ แปลว่า ๑.ความจริง ๒. ความถูกต้อง ๓. ความดีงาม


ที่แปลมานี่ เอามาหมดพจนานุกรมหรือยัง เล่นเหวี่ยงแหให้มั่วไปหมด

ความจริง เป็นธรรมะ....ความเท็จก็เป็นธรรมะ

ความถูกต้องเป็นธรรมะ...ความไม่ถูกต้องก็เป็นธรรมะ

ความดีงามเป็นธรรมะ....ความชั่วก็เป็นธรรมะ

ธรรมะของพระพุทธองค์ ไม่ได้แบ่งแยกอย่างที่กรัชกายอ้าง
ธรรมะของพระพุทธองค์ เป็นการกล่าวถึงจิตของบุคคลล้วนๆ
แต่ที่กรัชกายกำลังจ้อ มันเป็นเรื่องของการกระทำหรือความประพฤติในสังคม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2013, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

ธรรม ในความหมายที่ ๑ (๑. ความจริง) ซึ่งเป็นความหมายหลัก เป็นพื้นฐาน ก็คือ ความจริง


เลอะเทอะน่า! พระพุทธองค์ไม่ได้ตรัสอะไรจริงอะไรเท็จ จริงเท็จมันเป็นการกระทำทางกาย
แต่สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนเป็นเรื่องของจิต
เมื่อเป็นเรื่องของจิต มันจึงมีแต่ วิชชากับอวิชา(รู้กับไม่รู้)

กรัชกาย เขียน:
ทางพระบอกว่า ความจริงมีอยู่ของมันตามธรรมดา อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้


สิ่งที่พระพุทธองค์บอกเขาเรียกว่า วิชชา
นั้นหมายความว่าการได้เข้าไปรับรู้ถึงสิ่งที่มีอยู่

และพระพุทธองค์ยังบอกด้วยว่า คนที่ยังไม่เห็นสิ่งที่พระองค์บอก
เรียกว่า.....อวิชา
หมายความว่า ยังไม่รู้ถึงสิ่งที่มีอยู่

กรัชกาย เขียน:
อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ ฐิตาว สา ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา...

แปลว่า ตถาคต (คือพระพุทธเจ้า) ทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่อุบัติก็ตาม ธาตุ (สภาวะหรือหลักแห่งความจริง) นั้น คือ ความดำรงอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปแน่นอนแห่งธรรม ก็ตั้งอยู่อย่างนั้นเอง.....ตถาคตตรัสรู้ ค้นพบธาตุนั้น ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่าย ว่าดังนี้ๆ


มั่วจริงๆเลย ข้อความที่เอาอ้างมันใช่คำแปลซะที่ไหน
มันเป็นการอธิบายความของบุคคลที่มีต่อพุทธพจน์ มันเป็นความเห็นเฉพาะตน

อันที่จริงถ้าจะอธิบาย ให้ได้ใจความสั้นๆ
มันก็แค่..........."สิ่งที่พระพุทธองค์นำมาบอก มันมีอยู่เพียงแค่บุคคลยังไม่เห็น"
เหตุนี้จึงมีพุทธพจน์ที่ว่าด้วย วิชชาและอวิชา


กรัชกาย เขียน:

ตามที่โฮฮับเข้าใจ ถูกในด้านโลกิียธรรม เช่น ที่พระองค์สอนชาวบ้านทั่วๆไปยังงี้พอได้ เป็นความหมายธรรมะ ข้อ ๓ หรือ ข้อ ๒ ไป แต่ไม่ใช่ความหมายข้อ ๑

ทำความเข้าใจความหมาย "ธรรม" ตามลำดับ

ธรรม แปลว่า ๑. ความจริง ๒. ความถูกต้อง ๓. ความดีงาม


ที่กรัชกายยกมามันผิดทั้งหมดไม่ว่าจะข้อไหน เนื้อหาที่เอามา
พระพุทธองค์ไม่ได้สอน

สิ่งที่กรัชกายเอามาโชว์ มันเป็นการสอนให้รู้ถึงการมีสมบัติผู้ดี
มันคนล่ะเรื่อง

หรืออีกอย่างก็คือ เขาเอาไว้สอนพระเณรที่ยังไม่ต้องการนิพพาน
แต่เพื่อต้องการหาวิชาความรู้ เอาไว้สอนคนในสังคมให้อยู่กับความดี
สังคมจะได้สงบสุข


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 63 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร