วันเวลาปัจจุบัน 15 ก.ค. 2025, 23:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 63 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2013, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เขามีชุดของเขาอยู่นี่นะ เอาหลักโดดๆไปก่อนเนี่ยะเอ้าา ตถา (ตถตา) อวิตถา, อนัญญถา

เป็นเหมือนการสาดน้ำมันเข้ากองไฟอีกถังหนึ่ง เอ้าคิดกันให้เลือดออกปากออกจูกเลยนะ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ธ.ค. 2013, 08:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2013, 08:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้สึกเบื่อๆนะ ดูแล้วไม่เห็นมีอะไร บอกจนจำครั้งไม่ได้แล้วว่า เริ่มทำบุญพื้นๆไปก่อน นี่ก็อากาศหนาวเย็นแล้ว ถ้ามีกำลังทำได้ นำผ้าห่มกันหนาวไปแจกเด็กๆบนดอย จะสิ้นปีแล้วไปสวดมนต์ข้ามปีนะ :b1: สร้างห้องน้ำวัด-โรงเรียน ทาสีกำแพงวัด ปล่อยนก ปล่อยปลา ...ถวายสังฆทาน ไหว้พระสวดมนต์ สวดอิติปิโส 108 สวดพาหุง มหากา สวดชินบัญชร ปิดทองฝังลูกนิมิต ทอดผ้าป่าสามัคคี ทัวร์ไหว้พระ ๙ วัด ฯลฯ ขณะเดียวกันยังพอมีเวลาว่างๆก็ค่อยๆศึกษาหลักธรรมจากแหล่งตำหรับตำราที่ถูกต้องควบคู่กันไปด้วย แล้วก็ลงไม้ลงมือฝึกอบรมจิตตภาวนาคู่กันไปอีกด้วย :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2013, 10:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม บัญญัติวินัย


นี่ก็เรื่อยเปื้อย หลักที่ถูกต้องคือ..............

พระพุทธเจ้าตรัสรู้....สมมติและปรมัตถ์

จึงบัญญัตพระวินัยขึ้น เรียกว่าพระธรรมวินัย

ในส่วนของสมมติเรียกว่า พระวินัย
ในส่วนของปรมัตถ์เรียกว่า พระอภิธรรม
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2013, 11:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เขามีชุดของเขาอยู่นี่นะ เอาหลักโดดๆไปก่อนเนี่ยะเอ้าา ตถา (ตถตา) อวิตถา, อนัญญถา

เป็นเหมือนการสาดน้ำมันเข้ากองไฟอีกถังหนึ่ง เอ้าคิดกันให้เลือดออกปากออกจูกเลยนะ :b32:


อย่าพยายามเอาอะไรมาอ้างมั่วซั่ว แต่ก็ยังดีกว่าโสกะ
รายนั้นอ้าง.....โยคีศรีเกตุ ไปโน้น
ชาวพุทธเรานับวันยิ่งมั่ว :b32:
กรัชกาย เขียน:
รู้สึกเบื่อๆนะ ดูแล้วไม่เห็นมีอะไร บอกจนจำครั้งไม่ได้แล้วว่า เริ่มทำบุญพื้นๆไปก่อน นี่ก็อากาศหนาวเย็นแล้ว ถ้ามีกำลังทำได้ นำผ้าห่มกันหนาวไปแจกเด็กๆบนดอย จะสิ้นปีแล้วไปสวดมนต์ข้ามปีนะ :b1: สร้างห้องน้ำวัด-โรงเรียน ทาสีกำแพงวัด ปล่อยนก ปล่อยปลา ...ถวายสังฆทาน ไหว้พระสวดมนต์ สวดอิติปิโส 108 สวดพาหุง มหากา สวดชินบัญชร ปิดทองฝังลูกนิมิต ทอดผ้าป่าสามัคคี ทัวร์ไหว้พระ ๙ วัด ฯลฯ ขณะเดียวกันยังพอมีเวลาว่างๆก็ค่อยๆศึกษาหลักธรรมจากแหล่งตำหรับตำราที่ถูกต้องควบคู่กันไปด้วย แล้วก็ลงไม้ลงมือฝึกอบรมจิตตภาวนาคู่กันไปอีกด้วย :b1:


ที่ดูแล้วไม่มีอะไร เป็นเพราะยังไม่มีปัญญา ไม่มีปัญญาก็ไม่สามารถใช้หลักของธัมมวิจยะได้
อยากจะบอกให้กรัชกายสำเหนียก ......ปริยัติมีความสำคัญ

แต่ต้องเข้าใจว่า ปริยัติไม่ใช้ตำราที่เขาแต่งไว้ให้พระหรือเณร ที่ศึกษาอยู่ตามมหาลัยสงฆ์
มันเป็นคนล่ะเรื่อง

ปริยัติก็คือพระธรรมวินัยหรือพระไตรปิฎก
การศึกษาปริยัติ ก็ไม่ใช่การไปนั่งท่องจำสิ่งที่เป็นบัญญัติตัวหนังสือ
แต่ต้องเอาปัญญาไปพิจารณาบัญญัติในพระธรรมวินัยหรือพระไตรปิฎก
แบบนี้แหล่ะที่เรียกว่า...........สุตมยปัญญา


สุตมยปัญญา ไม่ได้หมายความว่า การอ่านหรือฟังทำให้เกิดปัญญา
แต่ความหมายที่แท้จริงก็คือ การอ่านการฟังด้วยปัญญาทำให้เกิดวิมุตติ
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2013, 12:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เขามีชุดของเขาอยู่นี่นะ เอาหลักโดดๆไปก่อนเนี่ยะเอ้าา ตถา (ตถตา) อวิตถา, อนัญญถา

เป็นเหมือนการสาดน้ำมันเข้ากองไฟอีกถังหนึ่ง เอ้าคิดกันให้เลือดออกปากออกจูกเลยนะ :b32:


อย่าพยายามเอาอะไรมาอ้างมั่วซั่ว แต่ก็ยังดีกว่าโสกะ
รายนั้นอ้าง.....โยคีศรีเกตุ ไปโน้น
ชาวพุทธเรานับวันยิ่งมั่ว :b32:
กรัชกาย เขียน:
รู้สึกเบื่อๆนะ ดูแล้วไม่เห็นมีอะไร บอกจนจำครั้งไม่ได้แล้วว่า เริ่มทำบุญพื้นๆไปก่อน นี่ก็อากาศหนาวเย็นแล้ว ถ้ามีกำลังทำได้ นำผ้าห่มกันหนาวไปแจกเด็กๆบนดอย จะสิ้นปีแล้วไปสวดมนต์ข้ามปีนะ :b1: สร้างห้องน้ำวัด-โรงเรียน ทาสีกำแพงวัด ปล่อยนก ปล่อยปลา ...ถวายสังฆทาน ไหว้พระสวดมนต์ สวดอิติปิโส 108 สวดพาหุง มหากา สวดชินบัญชร ปิดทองฝังลูกนิมิต ทอดผ้าป่าสามัคคี ทัวร์ไหว้พระ ๙ วัด ฯลฯ ขณะเดียวกันยังพอมีเวลาว่างๆก็ค่อยๆศึกษาหลักธรรมจากแหล่งตำหรับตำราที่ถูกต้องควบคู่กันไปด้วย แล้วก็ลงไม้ลงมือฝึกอบรมจิตตภาวนาคู่กันไปอีกด้วย :b1:


ที่ดูแล้วไม่มีอะไร เป็นเพราะยังไม่มีปัญญา ไม่มีปัญญาก็ไม่สามารถใช้หลักของธัมมวิจยะได้
อยากจะบอกให้กรัชกายสำเหนียก ......ปริยัติมีความสำคัญ

แต่ต้องเข้าใจว่า ปริยัติไม่ใช้ตำราที่เขาแต่งไว้ให้พระหรือเณร ที่ศึกษาอยู่ตามมหาลัยสงฆ์
มันเป็นคนล่ะเรื่อง

ปริยัติก็คือพระธรรมวินัยหรือพระไตรปิฎก
การศึกษาปริยัติ ก็ไม่ใช่การไปนั่งท่องจำสิ่งที่เป็นบัญญัติตัวหนังสือ
แต่ต้องเอาปัญญาไปพิจารณาบัญญัติในพระธรรมวินัยหรือพระไตรปิฎก
แบบนี้แหล่ะที่เรียกว่า...........สุตมยปัญญา


สุตมยปัญญา ไม่ได้หมายความว่า การอ่านหรือฟังทำให้เกิดปัญญา
แต่ความหมายที่แท้จริงก็คือ การอ่านการฟังด้วยปัญญาทำให้เกิดวิมุตติ


อ้างคำพูด:
การอ่านการฟังด้วยปัญญาทำให้เกิดวิมุตติ


ยกตัวอย่างหรือวิธีการอ่านการฟังด้วยปัญญาที่ว่าทำให้เกิดวิมุตติ (มุดๆๆ) ให้ดูหน่อยสิ อ่าวว่าปาย :b1: :b13: อ่านยังไง ฟังยังไง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2013, 12:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เขามีชุดของเขาอยู่นี่นะ เอาหลักโดดๆไปก่อนเนี่ยะเอ้าา ตถา (ตถตา) อวิตถา, อนัญญถา

เป็นเหมือนการสาดน้ำมันเข้ากองไฟอีกถังหนึ่ง เอ้าคิดกันให้เลือดออกปากออกจูกเลยนะ :b32:


อย่าพยายามเอาอะไรมาอ้างมั่วซั่ว แต่ก็ยังดีกว่าโสกะ
รายนั้นอ้าง.....โยคีศรีเกตุ ไปโน้น
ชาวพุทธเรานับวันยิ่งมั่ว :b32:
กรัชกาย เขียน:
รู้สึกเบื่อๆนะ ดูแล้วไม่เห็นมีอะไร บอกจนจำครั้งไม่ได้แล้วว่า เริ่มทำบุญพื้นๆไปก่อน นี่ก็อากาศหนาวเย็นแล้ว ถ้ามีกำลังทำได้ นำผ้าห่มกันหนาวไปแจกเด็กๆบนดอย จะสิ้นปีแล้วไปสวดมนต์ข้ามปีนะ :b1: สร้างห้องน้ำวัด-โรงเรียน ทาสีกำแพงวัด ปล่อยนก ปล่อยปลา ...ถวายสังฆทาน ไหว้พระสวดมนต์ สวดอิติปิโส 108 สวดพาหุง มหากา สวดชินบัญชร ปิดทองฝังลูกนิมิต ทอดผ้าป่าสามัคคี ทัวร์ไหว้พระ ๙ วัด ฯลฯ ขณะเดียวกันยังพอมีเวลาว่างๆก็ค่อยๆศึกษาหลักธรรมจากแหล่งตำหรับตำราที่ถูกต้องควบคู่กันไปด้วย แล้วก็ลงไม้ลงมือฝึกอบรมจิตตภาวนาคู่กันไปอีกด้วย :b1:


ที่ดูแล้วไม่มีอะไร เป็นเพราะยังไม่มีปัญญา ไม่มีปัญญาก็ไม่สามารถใช้หลักของธัมมวิจยะได้
อยากจะบอกให้กรัชกายสำเหนียก ......ปริยัติมีความสำคัญ

แต่ต้องเข้าใจว่า ปริยัติไม่ใช้ตำราที่เขาแต่งไว้ให้พระหรือเณร ที่ศึกษาอยู่ตามมหาลัยสงฆ์
มันเป็นคนล่ะเรื่อง

ปริยัติก็คือพระธรรมวินัยหรือพระไตรปิฎก
การศึกษาปริยัติ ก็ไม่ใช่การไปนั่งท่องจำสิ่งที่เป็นบัญญัติตัวหนังสือ
แต่ต้องเอาปัญญาไปพิจารณาบัญญัติในพระธรรมวินัยหรือพระไตรปิฎก
แบบนี้แหล่ะที่เรียกว่า...........สุตมยปัญญา


สุตมยปัญญา ไม่ได้หมายความว่า การอ่านหรือฟังทำให้เกิดปัญญา
แต่ความหมายที่แท้จริงก็คือ การอ่านการฟังด้วยปัญญาทำให้เกิดวิมุตติ


อ้างคำพูด:
การอ่านการฟังด้วยปัญญาทำให้เกิดวิมุตติ


ยกตัวอย่างหรือวิธีการอ่านการฟังด้วยปัญญาที่ว่าทำให้เกิดวิมุตติ (มุดๆๆ) ให้ดูหน่อยสิ อ่าวว่าปาย :b1: :b13: อ่านยังไง ฟังยังไง


ไปถามบิกทู่นู้น บิกทู่ชำนาญเรื่องมุดๆๆ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2013, 13:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

ไปถามบิกทู่นู้น บิกทู่ชำนาญเรื่องมุดๆๆ


ดำหายเข้าถ้ำทองไปแล้วนี่ :b1: ไม่รู้จะไปตามที่ไหน

เจ้าของบ้านชายคล้ายๆจะยังไม่ฟื้น :b13:

http://www.youtube.com/watch?v=d6Xgzwecplc

เมสซิ่งกลับเข้าบอร์ดเหมือนเดิมเถอะครับ กรัชกายขอโทษที่ล่วงเกิน :b8: เรื่องมันจบแล้วครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2013, 14:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักธรรมต่อไปนี้ นักศึกษาธรรมท่านใดอ่านเข้าใจ แสดงว่าเข้าใจพุทธธรรม พิจารณาดูครับ

อ้างคำพูด:
ธรรมนิยาม ๑ และธรรมนิยาม ๓

มีหลักธรรม ๒ หมวดใหญ่ ที่พระพุทธเจ้าแสดงโดยตรัสเรียกว่าเป็น "ธรรมนิยามตา" ซึ่งในภาษา ไทยนิยมใช้รูปศัพท์ที่เรียกได้สะดวกขึ้นว่า "ธรรมนิยาม" และแปลเป็น ภาษาไทยอย่างง่ายว่า "ภาวะที่แน่นอนแห่งธรรม" "ธรรมดา" "กฎธรรมชาติ" คือ หลักความจริงที่มีอยู่โดยธรรมดา หรือความเป็นของธรรมชาติตามที่ดำรงอยู่หรือเป็นไปของมันเอง พระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่ มันก็มีก็เป็นไปของมันอยู่อย่างนั้นๆ

หลักธรรม ๒ หมวดสำคัญ หรือธรรมนิยาม ๒ ชุดนั้น คือ

ชุดที่ ๑ อิทัปปัจจยตา ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาทมีองค์ ๑๒ หรือพูดให้ง่ายว่า ๑๒ หัวข้อ

ชุดที่ ๒ อนิจจตา ทุกขตา และอนัตตตา ซึ่งในยุคอรรถกถาเป็นต้นมา นิยมเรียกชื่อรวมชุดว่า "ไตรลักษณ์" (พระไตรปิฎกเล่ม ๒๐ อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต)

ที่จริง คำที่ทรงเรียกหลักนี้ ตรัสเป็นคำคู่ว่า "ธมมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา" ซึ่งในภาษาไทยเรียกกันว่า "ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม" และนิยมใช้คำคำเดียวว่า "ธรรมนิยาม"



มีต่อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2013, 14:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

อ้างคำพูด:
ธรรมนิยาม ชุด ๑ ข้อ และชุด ๓ ข้อ เรียงต่อกัน ๔ ข้อ และโยงถึงอริยสัจ ๔


ธรรมนิยาม ๒ ชุด นั้น ถ้านับจำนวนเรียงต่อกัน ก็รวมเป็นธรรมนิยาม ๔ คือ ธรรมนิยาม ๑ (อิทัปปัจจยตา) กับ ธรรมนิยาม ๓ (อนิจจตา ทุกขตา และอนัตตตา)

ธรรมนิยาม (ธรรมนิยามตา) ชุดที่ ๑ คือ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ต่อด้วยธรรมนิยามชุดที่ ๒ ที่แสดงไตรลักษณ์ (๓ ข้อ) นำมาเรียงต่อกัน รวมเป็นธรรมนิยาม ๔ ข้อ ดังนี้

๑. ...อุปฺปาทา วา ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ ฐิตาว สา ธาตุ ธมมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา อิทปฺปจฺจยตา...

๒. อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ ฐิตาว สา ธาตุ ธมมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ

๓. อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ ฐิ ตาว สา ธาตุ ธมมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ

๔. อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ ฐิ ตาว สา ธาตุ ธมมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ


มีคำแปลดังนี้

๑. "...ตถาคตทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธาตุ (หลัก) นั้น ก็ดำรงอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม คือ อิทัปปัจจยตา..."

๒. "ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธาตุ (หลัก) นั้น ก็ดำรงอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ว่า สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง"

๓. "ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่ก็ ตาม ธาตุ (หลัก) นั้น ก็ดำรงอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็น ธรรมนิยาม ว่า สังขารทั้งปวง คงทนอยู่มิได้"

๔. "ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่ก็ ตาม ธาตุ (หลัก) นั้น ก็ดำรงอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็น ธรรมนิยาม ว่า ธรรมทั้งปวง ไม่เป็นอัตตา"


จับแต่หัวข้อ มาเรียงเป็น ๔ คือ

ธรรมนิยามที่ ๑ อิทัปปัจจยตา (ปฏิจจสมุปบาท)

ธรรมนิยามที่ ๒ อนิจจตา (ภาวะที่สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง)

ธรรมนิยามที่ ๓ ทุกขตา (ภาวะที่สังขารทั้งปวง คงอยู่มิได้)

ธรรมนิยามที่ ๔ อนัตตตา (ภาวะที่ธรรมทั้งปวง ไม่เป็นอัตตา)


อย่างที่พูดแล้วว่า ข้อ ๑ อิทัปปัจจยตา (ปฏิ จจสมุปบาท) เป็นธรรมนิยาม ที่แสดงความเป็นไปของขันธ์ ๕ ในอาการที่สัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยแก่กัน เป็นเรื่องอาการความเป็นไปของสังขตธรรม คือประดาสังขาร ที่เรียกได้ว่าอยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ในโลกแห่งสมมติ (สมมติ - ตกลงร่วมกัน)

ข้อ ๒ - ๓ อนิจจตา และ ทุกขตา เป็นธรรมนิยามที่แสดงสภาวะของประดาสังขาร อันเป็นสังขตธรรม ได้แก่ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด ว่ามีลักษณะร่วมกันที่ว่า "สพฺเพ สงฺขารา" สังขาร ทั้งปวง คือทุกอย่างที่เป็นสังขตะ ล้วนไม่เที่ยง คงอยู่มิได้ เสมอเหมือนกันทั้งหมด

ข้อ ๔ อนัตตตา เป็นธรรมนิยามที่แสดงสภาวะของธรรมทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสังขตธรรม หรืออสังขตธรรม ไม่ว่าจะอยู่ในขันธ์ ๕ หรือพ้นจากขันธ์ ๕ (ขันธวิมุต) ว่ามีลักษณะร่วมกัน คือ "สพฺเพ ธมฺมา" ธรรม ทั้งปวง ไม่ว่าสังขาร เป็นสังขตะ หรือวิสังขาร เป็นอสังขตะ ล้วนไม่เป็นอัตตา (อนัตตา) เสมอกันทั้งสิ้น


ธรรมนิยามที่ ๑ คือ อิทัปปัจจยตา (ปฏิจจสมุปบาท) แสดงที่สภาวธรรมทั้งหลายอันเรียกรวมๆ ว่า ขันธ์ ๕ สัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยแก่กันในแนวทางที่รวมเป็นกระบวนการก่อให้เกิดทุกข์ ถือว่าเป็นความหมายของอริยสัจ ข้อที่ ๒ คือ สมุทัยอริยสัจ ดังที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทสมุทัยวาร


อาการที่ขันธ์ ๕ เป็นไปตามกฎอิทัปปัจจยตานี้ แสดงออกมาในตัวมันเองถึงลักษณะที่เป็นอนิจจัง และทุกขัง ของขันธ์ทั้ง ๕ หรือของประดาสังขตธรรมนั้น นี่ก็คือ ธรรมนิยามที่ ๒ และ ๓ คือ อนิจจตา และ ทุกขตา (พูดให้เต็มตามหลักว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา, สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา)


เมื่อขันธ์ ๕ เป็นไปตามอิทัปปัจจยตา โดยมีลักษณะเป็นอนิจจา ทุกขา อย่างนี้ แล้วยังไปรวมอยู่ใต้ธรรมนิยามที่ ๔ คือ อนัตตตาข้อต่อไปด้วย มันจึงมีสภาพเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เป็นที่ก่อตัวของทุกข์ หรือเป็นที่รวมไว้แห่งศักยภาพของการที่จะเป็นทุกข์ และนี่ก็คือความหมายของอริยสัจข้อที่ ๑ อันได้แก่ ทุกขอริยสัจ


ในที่สุด ถึงแม้สังขารทั้งปวงนั้นจะเป็นอย่างไรก็ตาม มันก็คือธรรม มันเป็นสภาวธรรม เมื่อเป็นสภาวธรรม มันก็มีภาวะของมันเอง ไม่เป็นใคร ไม่เป็นของใคร ไม่ใช่ตัวตนของใคร ไม่อยู่ในอำนาจของใครที่จะไปสั่งไปบังคับมันได้จริง แล้วตามฐานะที่เป็นสังขตธรรม มันจึงเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งมัน แล้วก็เป็นอนิจจา เป็นทุกขา ไปตามเหตุปัจจัยนั้น ไม่มีใครสั่งบังคับให้มันไม่เป็นอย่างนั้นได้ ดังนั้น สังขารหรือสังขตธรรมทั้งปวงนั้น จึงมีลักษณะร่วมตามธรรมนิยามที่ ่๔ ข้อ อนัตตตา คือ "สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา"



ทีนี้ นอกจากธรรมที่เป็นสังขตธรรมหรือสังขาร ก็ยังมีธรรมที่เป็นอสังขตธรรม ซึ่งพ้นเหนืออิทัปปัจจยตา ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงเป็นนิจจา ไม่เป็นทุกขา เป็นทุกขนิโรธ นี่ก็คือ อริยสัจข้อที่ ๓ ที่เรียกว่า นิโรธอริยสัจ อันได้แก่นิพพาน


แต่เมื่อเป็นธรรม เป็นสภาวธรรม ก็อย่างที่ว่าแล้ว คือ จึงมีภาวะของมันเอง ไม่เป็นใคร ไม่เป็นของใคร ไม่ใช่ตัวตนของใคร ไม่อยู่ในอำนาจของใครที่จะไปสั่งบังคับมันได้ นี่คืออนัตตตาเช่นกัน ดังนั้น ธรรมนิยามที่ ๔ คือ อนัตตตา คือ "สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา" จึงเป็นลักษณะร่วมของธรรมทั้งปวง ทั้งสังขาร และวิสังขาร หรือทั้งสังขตธรรม และอสังขตธรรม


เป็นอันว่า อสังขตธรรมแห่งนิโรธ อันประจักษ์ในที่จบ ที่สิ้นสุด ที่ไม่เป็นไปแห่งปฏิจจสมุปบาทสมุทัยวาร คือในนิโรธวารแห่งปฏิจจสมุปบาท หรือพูดให้ง่ายว่า อันลุถึงด้วยการหยุด ดับ ไม่เป็นไป ไม่เกิดขึ้นแห่งปฏิจจสมุปบาทนี้ แม้จะพ้นจากภาวะที่เป็นสังขตะ จึงไม่เป็นอนิจจัง ไม่เป็นทุกขัง แต่ก็เช่นเดียวกับสภาวธรรมทั้งหลายในแง่ที่ว่า ไม่เป็นอัตตา (อนัตตา) ไม่เป็นของใคร ไม่เป็นใครๆ ไม่เป็นตัวตนของใคร ไม่เป็นไปตามปรารถนาของใคร คือเป็นสภาวะตามที่เป็นของมันเอง




มีต่อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2013, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


อ้างคำพูด:
ส่วนอริยสัจข้อที่ ๔ คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ที่เรียกสั้นๆว่า มรรค พูดอย่างรวบรัดก็คือ วิธีปฏิบัติในการที่จะให้กระบวนการของอิทัปปัจจยตา ที่เป็นปฏิจจสมุปบาทสมุทัยวาร ไม่เป็นไป หยุดลับดับสลายหายไป หรือให้พลิกกลับเป็นปฏิจจสมุปบาทนิโรธวารนั่นเอง แต่ในการปฏิบัติที่จะให้เป็นอย่างนี้ เมื่อแยกแยะออกไป ก็มีรายละเอียดมากมาย ซึ่งจัดเป็นระบบชีวิตดีงามที่เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ อันสำเร็จด้วยไตรสิกขา ซึ่งทั้งหมดนี้ ว่าโดยสาระก็คือ การละอกุศล และเจริญกุศล แล้วทั้งอกุศลและกุศล ก็อยู่ในขันธ์ ๕ นั่นเอง

(จะพูดให้ง่ายก็ว่า พัฒนากุศลขันธ์ หรืออย่างที่บางท่านชอบพูดให้สะดวกปากพอรู้กันโดยนัยว่า พัฒนาขันธ์ ๕ หรือชีวิต ก็พอได้) ดังนั้น อริยสัจข้อที่ ๔ คือ มรรคนี้ จึงเป็นไปตามธรรมนิยามที่ ๒ - ๓ - ๔ คือ อนิจจตา ทุกขตา และ อนัตตตา ทั้งหมด


เป็นอันว่า ในธรรมนิยาม ๔ ข้อนี้

ข้อที่ ๑ อิทัปปัจจยตา แสดงอาการที่เป็นไปของสังขตธรรม (เป็นสาระของอริยสัจข้อที่ ๒)

ข้อที่ ๒-๓ อนิจจตา, ทุกขตา แสดงลักษณะร่วมของสังขตธรรม (ครอบคลุบอริยสัจข้อ ๑,๒ และ ๔)

ข้อที่ ๔ อนัตตตา แสดงลักษณะร่วมของสัพพธรรม คือทุกขสภาวะ (ครอบคลุมอริยสัจหมดทั้ง ๔ ข้อ)


่มีต่อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2013, 15:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

(สังเกตความหมายคำว่า ตถตา, อวิตถตา, อนัญญถตา ที่ยกมาโดดๆ ก่อนหน้าโน่น)


อ้างคำพูด:
ตถตา: ความเป็นเช่นนั้นเอง

ในหลักธรรมนิยาม (ธมฺมนิยามตา) ชุดที่ ๑ คือ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ผู้ศึกษาคงสังเกตเห็นว่า พุทธพจน์ที่ตรัสเริ่มต้นเหมือนกันกับในหลักธรรมนิยามชุดที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ คือมีคำ ๒ คำว่า "ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา" นำหน้า แต่ตอนลงท้ายแปลกออกไปว่า อิทัปปัจจยตา มีคำนำหน้าเพิ่มเข้ามา ๓ คำ คือ "ตถตา อวิตถตา อนญฺญถตา" ซึ่งไม่ปรากฏในหลักไตรลักษณ์

ข้อความเต็มตรงนี้ว่า

"อิติ โข ภิกฺขเว ยา ตตฺร ตถตา อวิตถตา อนญฺญถตา อิทปฺปจฺจยตา อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว ปฏิจฺจสมุปฺปาโท"

แปลว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นตถา ความเป็นอวิตถา ความเป็นอนัญญถา คือ อิทัปปัจจยตา ดังกล่าวมานี้แล เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท"

ที่จริงคำเหล่านี้ ก็คือคำเน้นย้ำ หรือสำทับให้หนักแน่น หรือให้ใส่ใจจริงจังนั่นเอง แต่บางคำเป็นคำที่กระชับและให้ความรู้สึกสะดุดเด่น ก็มีการยกขึ้นมาเอ่ยอ้างบ่อยจนคุ้นหรือเป็นที่นิยม อย่างใน ๓ คำนี้ คำว่า "ตถตา" ได้กลายเป็นคำที่มีการกล่าวถึงค่อนข้างมาก หรือได้ยินค่อนข้างบ่อย และเพราะเหตุที่คำนี้พบเฉพาะที่ตรัสกับอิทัปปัจจยตา จึงอาจจะทำให้เข้าใจว่า จำเพาะหมายถึงอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาทเท่านั้น

เพื่อให้มองกว้างออกไป จึงยกพุทธพจน์ต่อไปนี้มาให้ดู

"ภิกษุทั้งหลาย สภาวะ ๔ อย่าง่นี้ เป็นตถา เป็นอวิตถา เป็นอนญฺญถา สภาวะ ๔ อย่า่งเป็นไฉน? คือ สภาวะที่ว่า นี้ทุกข์...สภาวะที่ว่า นี้ทุกขสมุทัย...สภาวะที่ว่า นี้ ทุกขนิโรธ...สภาวะที่ว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา...

"ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนี้แล เธอทั้งหลายพึงกระทำการประกอบความเพียร เพื่อรู้ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์...นี้ทุกขสมุทัย...นี้ทุกขนิโรธ...นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา...



เห็นชัดว่า สภาวะที่เป็น ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา ในพุทธพจน์นี้ ก็คือสภาวะที่เรียกกันทั่วไปว่า อริยสัจ ๔ นั่นเอง และคำทั้ง ๓ ก็คือคำเสริมความหมายของคำว่า "สัจจะ" นั่นแหละ
นอกจากนั้น ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาฎีกา บางทีก็เรียกอริยสัจว่า "ตถธรรม" เช่นเดียวกับที่บางครั้งเรียกว่า "สัจธรรม" (แต่คำว่า "สัจธรรม" มิใช่หมายถึงอริยสัจเสมอไป)

คำที่กล่าวถึงอริยสัจ ๔ โดยใช้คำว่า ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา ยังมีอีกในพระไตรปิฎก และก็น่ารู้น่าสนใจ จะยกมาให้ดูกันบ้าง แห่งหนึ่งต่อจากข้างบนนั้น ว่า

"ทุกข์เป็นสัจจะ ด้วยอรรถอันเป็นตถา อย่างไร ?

ทุกข์มีความหมายว่าเป็นทุกข์ ๔ ความหมาย อันเป็นตถา เป็นอวิตถา เป็นอนัญญถา คือ ทุกข์มีความหมายว่าเป็นการบีบคั้น ๑ ความหมายว่าเป็นสังขตะ ๑ ความหมายว่าเป็นภาวะเผาร้อน ๑ ความหมายว่าเป็นความผันแปรกลับกลาย ๑ ...

"สมุทัยเป็นสัจจะ ด้วยอรรถอันเป็นตถา อย่างไร ?

สมุทัยมีความหมายว่าเป็นสมุทัย ๔ ความหมาย อันเป็น อวิตถา เป็นอนัญญถา คือ สมุทัยมี ความหมายว่าเป็นที่รวมตัวก่อขึ้น ๑ หมายความว่า เป็นเหตุ (แหล่งมา/นิทาน) ๑ ความหมายว่าประกอบผูกไว้ ๑ ความหมายว่าหน่วงเหนี่ยวพันพัว ๑...

"นิโรธเป็นสัจจะ ด้วยอรรถอันเป็นตถา อย่างไร ?

นิโรธ มีความหมายว่าเป็นนิโรธ ๔ ความหมาย อันเป็นตถา เป็นอวิตถา เป็นอนัญญถา คือ ความหมายว่าเป็นที่พ้นโล่ง ๑ ความหมายว่าเป็นภาวะปลอดสงัด (ไร้สิ่งรบกวน) ๑ ความหมายว่าเป็นอสังขตะ ๑ ความหมายว่าเป็นอมตะ ๑ ...

"มรรคเป็นสัจจะ ด้วยอรรถอันเป็นตถา อย่างไร ?

มรรค มีความหมายว่าเป็นมรรค ๔ ความหมาย อันเป็น ตถา เป็นอวิตถา เป็นอนัญญถา คือ ความหมายว่าเป็นเครื่องนำออกไป ๑ ความหมายว่าเป็นเหตุ ๑ ความหมายว่าเป็นการมองเห็น ่๑ ความหมายว่าเป็นอธิปไตย ๑..."


ขอจบด้วยข้อความสรุปอริยสัจ ๔ ต่อไปนี้ ซึ่งเป็นคำตอบต่อคำถามหลายอย่างพร้อมไปในตัว ว่า

"สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งแทงตลอดพร้อมด้วยกันอันเป็นหนึ่งเดียว โดยอาการเท่าไร ?

สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งแทงตลอดพร้อมด้วยกันอันเป็นหนึ่งเดียว โดยอาการ ๔ คือ โดยอรรถที่เป็นตถา ๑ โดยอรรถที่เป็นอนัตตา ๑ โดยอรรถที่เป็นสัจจะ ๑ โดยอรรถที่เป็นปฏิเวธ ๑

"สัจจะทั้ง ๔ สังเคราะห์เป็นหนึ่งเดียว ด้วยอาการ ๔ เหล่านี้ โดยที่สัจจะอันสังเคราะห์เป็นหนึ่งเดียว แต่ละอย่างนั้นๆ มีภาวะเป็นหนึ่งเดียวๆ ที่รู้แจ้งแทงตลอดด้วยญาณอันเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะทั้ง ๔ จึงมีการรู้แจ้งแทงตลอดพร้อมด้วยกันอันเป็นหนึ่งเดียว...



- ตถตา ภาวะที่เป็นเช่นนั้น,เป็นอยู่คงอยู่อย่างนั้น

- อวิตถตา ภาวะที่ไม่เพี้ยนไม่ผันแปรไปจากที่เป็นอย่างนั้น

- อนญฺญถตา ภาวะที่ไม่เป็นอย่างอื่น

มีต่อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2013, 11:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแทรกคำถามว่า ทำไม ทุกข์ที่เป็นธรรมดาของธรรมชาติ (ทุกข์ในไตรลักษณ์) จึงกลายมาเป็นทุกข์ (ทุกขอริยสัจ) ของคนได้ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2013, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

Quote Tipitaka:
ตถตา ก็คือภาวะที่เป็นตถา (ตา = ภาวะ) เหมือนกับคำว่า อนิจจตา ก็คือภาวะที่เป็นอนิจจา ทุกขตา ก็คือภาวะที่เป็นทุกขา อนัตตตา ก็คือภาวะที่เป็นอนัตตา

ตรงนี้ก็เลยเป็นโอกาสให้สังเกตว่า คำศัพท์ธรรมะเดิมในภาษาบาลีนั้น ท่านมีหลักภาษาที่มักชวนให้แยกความหมายไว้ค่อนข้างชัดเจนดี แต่เวลานำมาใช้ในภาษาไทย บางทีเราใช้ปนเปกัน แล้วบางทีก็ทำให้เกิดความสับสนในการศึกษา

ข้อที่ให้สังเกตในที่นี้ก็คือ "ตา" นี่แหละ จะเห็นว่า คำศัพท์ในจำพวกนิยามนี้ มี "ตา" ต่อท้ายบ่อยๆ

ที่ว่าควรสังเกตไว้ ก็เช่น ธมฺมนิยามตา (ธรรมนิยามต) กับ ธมฺมนิยาม (ธรรมนิยาม) ตัวหลักที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใช้คำว่า ธมฺมนิยามตา ซึ่งมีความหมายว่าเป็น ภาวะ (-ตา) ลักษณะ อาการ หรืืือความเป็นไปของสภาวธรรมที่เ่ป็นธรรมนิยาม

ส่วนธมฺมนิยาม เ็ป็นคำที่นิยมใช้กันในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา และฎีกาเป็นต้นมา ซึ่งใช้อย่างหลวมสักหน่อย หมายถึงสภาวธรรมที่เป็นปัจจัยนั้นๆ ในปฏิจจสมุปบาท ก็ได้ หมายถึงธัมมนิยามตาที่เ็ป็นภาวะ เป็นลักษณะ หรือความเป็นไปของสภาวธรรมเหล่านั้น ก็ได้



ธมฺมฏฺฐิตตา คือ ภาวะ ลักษณะ หรือความเป็นไปของสภาวธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ส่วนธมฺมฏฺฐิติ (ธรรมฐิติ) หมายถึงภาวะอยางนั้นก็ได้ แต่มักหมายถึงตัวสภาวธรรมนั้นๆ เอง ที่เป็นเหตุปัจจัย หรือเป็นไปตามเหตุปัจจัย

อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา ก็คือภาวะ ลักษณะ อาการ หรือความเป็นไปของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอนิจจา เ็ป็นทุกขา เป็นอนัตตา ดังกล่าวมาแล้ว

เมื่อได้ข้อสังเกตอย่างนี้แล้ว จึงขอย้ำให้เข้าใจร่วมกันว่า ธรรมนิยาม ในที่นี้ โดยทั่วไปใช้ในความหมายของ "ธมฺมนิยามตา" (ธรรมนิยามตา) คือ เป็นลักษณะ เป็นอาการ ที่แสดงความเป็นอยู่เป็นไปของธรรม หรือของสภาวะนั้นๆ ไม่ใช่เป็นองค์ธรรม ไม่ใช่เป็นตัวสภาวธรรมนั้นเอง

ดังนั้น ธัมมนิยามตา (ที่ใช้กันสบายๆว่า "ธรรมนิยาม") อิทัปปัจจยตา ตถตา อนิจจตา อนัตตตา ฯลฯ จึงไม่ใช่เป็นเบญจขันธ์ ไ่่ม่ใช่เป็นนิพพาน ไม่ใช่เป็นสังขาร ไม่ใช่เป็นสังขตธรรม ไม่ใช่เป็นอสังขตธรรม เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2013, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกายมาทำให้กระทู้มันรกซะเปล่าๆ
เนื้อหาที่เอาลง มันหาอ่านได้ในวิกิพีเดียอยู่แล้ว

ห้องนี้เขาเอาไว้สนทนาธรรม ถ้าอยากจะโพสแบบนี้เอาไปโพสห้อง หนังสือธรรมมะนู้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2013, 15:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หัวข้อกระทู้ "ธรรมะไม่ใช่ธรรมชาติ" คือปฏิเสธว่าธรรมะกับธรรมชาติ คนละอย่างคนละความหมายกัน ใช่ไหมล่ะ :b10:

แต่กรัชกายไม่เห็นด้วย ก็จึงเอาธรรมะ หรือ ธรรมชาติ มาลงแทียบให้เห็น ถึงขนาดนี้แล้วโฮฮับยังเห็นว่า คนละอย่าง ก็แย้งไปซี่ :b12: ว่าไปตามความเห็นของตน ส่วนกรัชกายก็จะหาหลักมาวางจนเห็นว่าครบแล้วก็ไป ไม่อยู่หรอก ไม่ต้องไล่ :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 63 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร