วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 16:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2015, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ muisun เขียน

อ้างคำพูด:
ถ้ารวมจิตได้ ตรงนั้นจะไม่มีข้อความ จะไม่มีข้อความเกิดว่านิ่ง สงบ สงสัย สุขใจ ข้อความเหล่านี้จะไม่เกิด แม้แต่กระทั่งตัว จะ ก็ดับเกลี้ยงไม่เหลือหรอ เรียกว่าวิญญาณดับ.. ธรรมอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นมาเป็นธรรมดา ธรรมนั้นทั้งปวงย่อมดับไปเป็นธรรมดา แล้วเกิดญาณหยั่งรู้ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นยิ่งกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว..




ตรงนั้น คือ ตรงไหนค่ะ คุณ muisun


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2015, 19:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1239

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงนั้น คือ ความเกิดดับที่ไวกว่าแสง ผู้ปฏิบัติต้องรู้เอง เห็นเอง ไม่รู้ได้ด้วยการบอก..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2015, 19:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1239

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเปลี่ยนชื่อใหม่คะ จิตมีตั้ง 6 จิต ตาวิญญาณ หูวิญญาณ จมูกวิญญาณ ลิ้นวิญญาณ กายวิญญาณ จิตวิญญาณ ไปได้ทั่วร่าง จิตกับวิญญาณตัวเดียวกัน รวมกันแล้วมี 6 ความคิด ถ้าคิดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ดับ คือ อายตนะ 5 ดับ ถ้าได้ยินทางหู อายตะนะอีก 5 ก็ดับ อายตนะมี 6 แต่เรารู้ทีละ 1 อีก 5 ทางก็ดับ ตอนนี้รู้ที่ใจ อีก 5 ทางก็ดับ ตอนนี้รู้ที่หัว อีก 5 ทางก็ดับ แล้วจิตเปลี่ยนแปลงไวกว่าแสง ชั่วพริบตาเดียวเกิดดับเป็นแสนๆ ดวง แล้ว จึงต้องเข้าไปรู้ความเปลี่ยนแปลงที่ไวกว่าแสงให้ได้..จึงต้องตรัสรู้ด้วยญาณ ด้วยปัญญา ด้วยตนเองเท่านั้น..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2015, 20:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


muisun เขียน:
คุณเปลี่ยนชื่อใหม่คะ จิตมีตั้ง 6 จิต ตาวิญญาณ หูวิญญาณ จมูกวิญญาณ ลิ้นวิญญาณ กายวิญญาณ จิตวิญญาณ ไปได้ทั่วร่าง จิตกับวิญญาณตัวเดียวกัน รวมกันแล้วมี 6 ความคิด ถ้าคิดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ดับ คือ อายตนะ 5 ดับ ถ้าได้ยินทางหู อายตะนะอีก 5 ก็ดับ อายตนะมี 6 แต่เรารู้ทีละ 1 อีก 5 ทางก็ดับ ตอนนี้รู้ที่ใจ อีก 5 ทางก็ดับ ตอนนี้รู้ที่หัว อีก 5 ทางก็ดับ แล้วจิตเปลี่ยนแปลงไวกว่าแสง ชั่วพริบตาเดียวเกิดดับเป็นแสนๆ ดวง แล้ว จึงต้องเข้าไปรู้ความเปลี่ยนแปลงที่ไวกว่าแสงให้ได้..จึงต้องตรัสรู้ด้วยญาณ ด้วยปัญญา ด้วยตนเองเท่านั้น..


พระพุทธเจ้า..มีสอนให้ไปรู้การเกิดดับตรงที่ไวกว่าแสง...ด้วยรึคับ??

จิตรวม...มันก็รวมเอง...อย่างที่คุณเปลี่ยนชื่อว่านั้นแหละ...เพราะมันเป็นผล

เรามีหน้าที่ทำแค่เหตุ...วิธีการก็ทำตามอาจารย์ตนสอนอีกนัันแหละ...(อาจารย์ถึงไหน..สอนได้แค่ไหน..ก็บุญกรรมทำกันมา...ใครก็ช่วยไม่ได้).

จิตรวม...นี้...ไม่ว่าใครจะทำสมถะนำ..รึ..วิปัสสนานำ...มันก็มาสู่จุดร่วมกันตรงจิตรวม..นี้แหละ

จิตรวม...แล้วงัยต่อ?..
ก็ไม่ต้องทำอะไร....เขาจะทำงานเพื่อให้รู้อริยะสัจ..เอง (ถ้าเขาไม่ทำงานรู้..ก็อาจจะต้องช่วยกระทุ้งนิดๆ..สะกิดหน่อยๆ).

ส่วนรู้แล้ว...แล้วตนบรรลุ...รึไม่บรรลุ...บรรลุถึงขั้นไหน..ก็น่าจะขึ้นกับพลังงานที่สะสมมาว่ามากน้อยแค่ไหน....เพียงพอที่จะแทงไปถึงไหน..หรือไม่

รู้อะไรก็ชั่ง....อย่าลืมประหวัดให้มันมารู้อริยะสัจ..นะครับ...ไม่งั้นก็ไม่ได้ประโยชน์ตามที่พระพุทธเจ้าต้องการ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2015, 20:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=311

อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค


[๑๘๒] ธรรมมีความปราโมทย์เป็นเบื้องต้น ๙ ประการ เมื่อพระโยคาว-
*จรมนสิการโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อม
เกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มีความสุข
จิตย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามความ
เป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายความกำหนัด เพราะคลายความ
กำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิด
ปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อ
มนสิการรูปโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยความ
เป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ เมื่อมนสิการ
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยความ
ไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิด
ปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ย่อมรู้
ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อ
เบื่อหน่ายย่อมคลายความกำหนัด เพราะคลายความกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
ธรรมมีความปราโมทย์เป็นเบื้องต้น ๙ ประการนี้ ฯ
[๑๘๓] ธรรมมีโยนิโสมนนิการเป็นเบื้องต้น ๙ ประการ เมื่อพระ
โยคาวจรมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปิติ เมื่อใจมีปิติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ
ย่อมได้เสวยความสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
ด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิด
ปราโมทย์ ... เมื่อมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิด
ปราโมทย์ ฯลฯ
เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นทุกข์
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นอนัตตา
ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายอันแยบคาย โดยความ
เป็นทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายอันแยบคาย
โดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มีความสุข จิตย่อม
ตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมอันมีโยนิโสมนสิการเป็นเบื้องต้น ๙
ประการนี้ ฯ
[๑๘๔] ความต่าง ๙ ประการ ความต่างแห่งผัสสะอาศัยความต่างแห่ง
ธาตุเกิดขึ้น ความต่างแห่งเวทนาอาศัยความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้น ความต่างแห่ง
สัญญาอาศัยความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้น ความต่างแห่งความดำริอาศัยความต่างแห่ง
สัญญาเกิดขึ้น ความต่างแห่งฉันทะอาศัยความต่างแห่งความดำริเกิดขึ้น ความ
ต่างแห่งความเร่าร้อน อาศัยความต่างแห่งฉันทะเกิดขึ้น ความต่างแห่งการแสวงหา
อาศัยความต่างแห่งความเร่าร้อนเกิดขึ้น ความต่างแห่งการได้ (รูปเป็นต้น) อาศัย
ความต่างแห่งการแสวงหาเกิดขึ้น ความต่าง ๙ ประการนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะ
อรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ ประการ เป็นธรรมนานัตตญาณ


http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=311

อ้างคำพูด:
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)


[311] วิปัสสนาญาณ 9 (ญาณในวิปัสสนา, ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือที่จัดเป็นวิปัสสนา คือ เป็นความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้ง เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง — insight-knowledge)
1. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น ครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด — knowledge of contemplation on rise and fall)
2. ภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้นแล้ว คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด — knowledge of contemplation on dissolution)
3. ภยตูปัฏฐานญาณ (ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือ เมื่อพิจารณาเห็นความแตกสลายอันมีทั่วไปแก่ทุกสิ่งทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น -- knowledge of the appearance as terror)
4. อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์ — knowledge of contemplation on disadvantages)
5. นิพพิทานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ — knowledge of contemplation on dispassion)
6. มุญจิตุกัมยตาญาณ (ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น — knowledge of the desire for deliverance)
7. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลายขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป — knowledge of reflective contemplation)
8. สังขารุเปกขาญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง ว่า มีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารเสียได้ — knowledge of equanimity regarding all formations)
9. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นมุ่งตรงไปสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้นก็จะเกิดโคตรภูญาณมาคั่นกลาง แล้วเกิดมรรคญาณให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป — conformity-knowledge; adaptation-knowledge)

ธรรมหมวดนี้ ท่านปรุงศัพท์ขึ้น โดยถือตามนัยแห่งคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค นำมาอธิบายพิสดารในวิสุทธิมรรค แต่ในอภิธัมมัตถสังคหะ ท่านเติม สัมมสนญาณ (ญาณที่กำหนดพิจารณานามรูป คือ ขันธ์ 5 ตามแนวไตรลักษณ์ — Comprehension-knowledge) เข้ามาเป็นข้อที่ 1 จึงรวมเป็น วิปัสสนาญาณ 10 และเรียกชื่อญาณข้ออื่นๆ สั้นกว่านี้ คือ เรียก อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ อนุโลมญาณ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2015, 11:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1239

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายของโยนิโสมนสิการ
ว่าโดยรูปศัพท์ โยนิโสมนสิการ ประกอบด้วย โยนิโส กับ มนสิการ โยนิโส มาจาก โยนิ ซึ่งแปลว่า เหตุ ต้นเค้า แหล่งเกิด ปัญญา อุบาย วิธี ทาง ส่วนมนสิการ แปลว่า การทำในใจ การคิด คำนึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา
https://analyticalreflection.wordpress. ... %E0%B8%81/

โยนิโสนมสิการ รวมกันแล้วหมายถึง การใส่ใจเข้าไปถึงต้นเหตุ ต้นเหตุก็คือตัวเริ่ม ฉะนั้น ไม่ว่า ยืน เดิน นั่ง นอน คู้ เหยียด ก้ม เงย หลับ ตื่น พูด นิ่ง ก็มีตัวเริ่มทั้งนั้น ตัวเริ่มก็คือตัว จะ จะเดินหนอ จะคิดหนอ จะนิ่งหนอ จะสงบหนอ จะเผลอหนอ
1.การใส่ใจ ถ้าเราใส่ใจเข้าไปถึงเราก็เกิด
2. ความปราโมทย์
3. เกิดปิติ..
4.เกิดสุข.
5.เกิดความตั้งมั่น..
6. รู้เห็นตามความเป็นจริง..
7. จิตย่อมเบื่อหน่าย..
8. จิตย่อมคลายกำหนัด
9. จิตย่อมหลุดพ้น..
เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว..กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว..กิจอื่นยิ่งกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว..จะคิดหนอๆๆ

พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสว่า จิตดวงเก่าดับไปแล้วจิตดวงใหม่เกิดขึ้นเป็นอย่างนี้ทั้งวันและทั้งคืน กิเลสจะเกิดก็เกิดพร้อมจิต จะดับก็ดับพร้อมจิต.. จิตเกิดทันทีแล้วดับทันที..แล้วจะเอาที่ไหนไปรวม..เพราะฉะนั้น จิตจะรวมตัวไม่ได้..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2015, 19:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


muisun เขียน:
ความหมายของโยนิโสมนสิการ
ว่าโดยรูปศัพท์ โยนิโสมนสิการ ประกอบด้วย โยนิโส กับ มนสิการ โยนิโส มาจาก โยนิ ซึ่งแปลว่า เหตุ ต้นเค้า แหล่งเกิด ปัญญา อุบาย วิธี ทาง ส่วนมนสิการ แปลว่า การทำในใจ การคิด คำนึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา
https://analyticalreflection.wordpress. ... %E0%B8%81/

โยนิโสนมสิการ รวมกันแล้วหมายถึง การใส่ใจเข้าไปถึงต้นเหตุ ต้นเหตุก็คือตัวเริ่ม ฉะนั้น ไม่ว่า ยืน เดิน นั่ง นอน คู้ เหยียด ก้ม เงย หลับ ตื่น พูด นิ่ง ก็มีตัวเริ่มทั้งนั้น ตัวเริ่มก็คือตัว จะ จะเดินหนอ จะคิดหนอ จะนิ่งหนอ จะสงบหนอ จะเผลอหนอ
1.การใส่ใจ ถ้าเราใส่ใจเข้าไปถึงเราก็เกิด
2. ความปราโมทย์
3. เกิดปิติ..
4.เกิดสุข.
5.เกิดความตั้งมั่น..
6. รู้เห็นตามความเป็นจริง..
7. จิตย่อมเบื่อหน่าย..
8. จิตย่อมคลายกำหนัด
9. จิตย่อมหลุดพ้น..
เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว..กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว..กิจอื่นยิ่งกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว..จะคิดหนอๆๆ

พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสว่า จิตดวงเก่าดับไปแล้วจิตดวงใหม่เกิดขึ้นเป็นอย่างนี้ทั้งวันและทั้งคืน กิเลสจะเกิดก็เกิดพร้อมจิต จะดับก็ดับพร้อมจิต.. จิตเกิดทันทีแล้วดับทันที..แล้วจะเอาที่ไหนไปรวม..เพราะฉะนั้น จิตจะรวมตัวไม่ได้..


1.การใส่ใจ ถ้าเราใส่ใจเข้าไปถึงเราก็เกิด
ข้อ 1 อันนี้...เอามาจากไหนครับ...??

อ้างคำพูด:
พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสว่า จิตดวงเก่าดับไปแล้วจิตดวงใหม่เกิดขึ้นเป็นอย่างนี้ทั้งวันและทั้งคืน กิเลสจะเกิดก็เกิดพร้อมจิต จะดับก็ดับพร้อมจิต.. จิตเกิดทันทีแล้วดับทันที..แล้วจะเอาที่ไหนไปรวม..เพราะฉะนั้น จิตจะรวมตัวไม่ได้

:b12: :b12:
ไหน ๆ..คุณmuisun ก็เอามากล่าวรวมกัน แล้ว

งั้นผมของถามว่า...ก็ในเมื่อ จิตเกิดแล้วก็ดับ

แล้ว...เราจะขวนไขวไปสู่...จิตเบื่อหน่าย..จิตคลายกำหนัด..ไปทำไมละคับ...ก็ไหนๆมันก็เกิดแล้วก็ดับไป...อยู่แล้ว..นีน่า?? อิอิ

จิตรวม..นี้..ผมเข้าใจว่าเป็นคำของสาวก..กล่าว

อีกคำ...ก็..มรรคสามังคี

จะใช้คำไหนก็แล้วแต่...อาการที่เกิด.
.ปราโมทย์..ปีติ..ปัสสัทธิ...สุข...สงบมีจิตตั้งมั่น..(ฝ่ายสมาธิ)
เห็นความเกิดดับ..(เห็นไตรลักษณ์)..เกิดเบื่อหน่าย...คลายกำหนัด...(ฝ่ายปัญญา)

เหล่านี้...เกิดผลจากจิตรวม....เพียงแต่ใครจะเกิดอาการไปถึงไหนก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่คนๆนั้นสะสมมาว่าเพียงพอแค่ไหน..

(จิต..ในที่นี้..อย่าเอาไปเป็นคำเดียวกับจิตในแง่อภิธรรม อย่าที่คุณ muisun นะครับ...มันจะปนกันมั่ว)


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 11 เม.ย. 2015, 07:35, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2015, 19:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


มีพระเคยเทศน์ใว้...
http://www.manager.co.th/Dhamma/viewnew ... 0000030615

อ้างคำพูด:
วันนี้จะเทศน์เรื่องสิ่งทั้งปวงมารวมอันเดียวจึงจะสำเร็จ ถ้าหากไม่รวมในที่เดียวแล้วไม่สำเร็จ ในการที่จะสำเร็จนั้น จะเป็นไปในรูปใดก็แล้วแต่ ไม่ว่าโลกว่าธรรม ต้องให้รวมเสียก่อน ดูใกล้ๆ ตัวเรานี่แหละ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม กระจัดกระจายกันอยู่ ไม่เป็นตนเป็นตัวหรอก เมื่อธาตุผสมกันเข้าพร้อมบริบูรณ์เมื่อไหร่ จึงค่อยเป็นตนเป็นตัวขึ้นมาค่อยเจริญเติบโตขึ้นมาโดยลำดับ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่หนีไปจากธาตุทั้งนั้น ถ้าหากกระจัดกระจายกันอยู่ เป็นแต่น้ำมันก็สำเร็จเป็นแค่น้ำเท่านั้น เพราะไม่มีไฟ ไม่มีลม เป็นดิน มันก็สำเร็จเป็นแค่ดินสิ่งอันเดียวมันไม่ครบพร้อมบริบูรณ์ บ้านหนึ่ง เมืองหนึ่ง ครอบครัวหนึ่งก็เหมือนกัน พ่อแม่ลูกเต้าหลายๆ คนมารวมกันเข้าค่อยเป็นบ้าน บ้านหลายๆบ้านมารวมกันเข้าจึงค่อยเป็นตำบล ก็หลายตำบลมารวมกันเข้าเป็นอำเภอ เป็นจังหวัด เป็นอะไรต่างๆเป็นขั้นเป็นตอนไป
ในทางธรรมก็ฉันเดียวกัน กิเลสต่างๆ มันไม่รวมกันเมื่อใด กระจัดกระจายกันอยู่ไม่พร้อมบริบูรณ์เมื่อใด มันก็ไม่สำเร็จมรรคผลนิพพานได้ ที่ท่านเรียกว่า “มรรคสมังคี” คือจิตที่ค้นคว้าแสวงหาเรื่องมรรคต่างๆ เรียกว่าค้นคว้า ปฏิบัติหาเหตุหาผล เรื่องราวต่างๆ จิตแน่วแน่รวมลงไป ในที่เดียว จึงค่อยประหัตประหารกิเลสทั้งหลายได้ แต่ละมรรคก็รวมลงได้อย่างนั้นเหมือนกัน

คนเรานั้นยากที่จะรวมกิเลสได้ คือเป็นไปตามแต่เรื่องของกิเลส ไม่รู้จักมูลฐานของกิเลส ไม่รู้จักที่ตั้งของกิเลส มันก็ละไม่ได้ ความเศร้าหมองเรียกว่ากิเลส มันทำให้จิตใจของเราไม่ผ่องใส
ความเศร้าหมองไม่มีใครอยากได้ อยากได้แต่ความผ่องใส อันความเศร้าหมองจะชำระด้วยประการใดแล้วแต่อุบายของตน อย่างเช่นความโกรธเกิดขึ้นมาจิตใจเศร้า หมองไม่ผ่องใส ไม่เบิกบาน ใครโกรธ ความโกรธมันก็วิ่งเข้ามาหา ใครโลภ ความโลภมันก็วิ่งเข้ามาหา ใครหลง ความหลงมันก็วิ่งเข้ามาหา มันวิ่งเข้ามาหาตัวใจนั่นแหละ จึงว่ามันรวมที่ใจ ถ้าไม่เห็นใจแล้วก็ไม่เห็นตัวกิเลส เราพิจารณาชำระใจของเราให้ผ่องใส จึงจะเห็นใจอันบริสุทธิ์ ใจที่บริสุทธิ์แล้วนั้นเอาปกติธรรมดานี่แหละ ระลึกถึงเรื่อง ปกติธรรมดานี่แหละ ในเมื่อผ่องใสอยู่ปกติธรรมดามันไม่ โกรธ ได้ความสุขความสบายใจชอบใจในที่นั้น ความโกรธ มันก็มืดมิดทุกสิ่งทุกอย่าง หาทางออกไม่ได้ ยิ่งดิ้นก็ยิ่งผูกมัดเข้าทุกที...
คนเราในเมื่อไม่มีโกรธ ไม่มีโลภ ไม่มีหลง มันก็สบายอยู่ ถ้ามันโลภ มันโกรธ มันหลง มันติดแน่นหมด ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าอย่างนั้นความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง จะไม่ดีหรือ
ความโกรธมันเกิดจากความไม่พอใจ เห็นสิ่งใดๆ ผิด หูผิดตาไปหมด อันนี้ก็พูดถึงใจเหมือนกัน ผิดหู ผิดตา ไม่ถูกหู ไม่ถูกตา มันก็ไม่ถูกใจนั่นแหละ ถ้าไม่มีใจแล้ว หู ตา มันไม่มีประโยชน์อะไรเลย หูก็ไม่ได้ยิน ตาก็ไม่ได้ เห็น ก็ตัวใจตัวเดียวนั่นแหละที่ไม่พอใจ เมื่อไม่พอใจแล้ว มันก็ขุ่น ขุ่นแล้วก็ไม่เห็นอะไร มันก็มืด มันก็เศร้าหมอง ความโกรธเกิดขึ้นแล้วย่อมประหารจิตใจของคนให้เป็นจุณมหาจุณ จึงให้หาหลัก คือใจเสียก่อนเป็นของสำคัญ
คนทั้งหมดในโลกนี้เกิดจากใจ สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้เกิดจากใจ ที่เป็นตนเป็นตัววิ่งเต้นอยู่ตามโลก คือพลิก ไหวเคลื่อนไปมาอยู่ในโลกอันนี้ล้วนแต่มีใจทั้งนั้น ใจตัวนั้นแหละมันเป็นเหตุ ใครๆ ก็พูดเรื่องใจ แต่หากไม่เห็น ใจสักที ไม่ถูกใจ ไม่พอใจ น้อยใจ เสียใจ ดีใจ อะไรพูด ถึงใจทั้งนั้น พุทธศาสนาของเราจึงว่าสอนถึงใจ ไม่ได้สอน ที่อื่น ทำบุญสุนทานด้วยประการต่างๆ ก็ใจนั่นแหละ ใจเกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงค่อย ‘จาคะ’ บริจาคทำบุญ ใจบุญ ใจกุศล จึงค่อยทำทาน มีเจตนางดเว้นจากข้อนั้นๆ จึงเรียกว่า รักษาศีล ทำสมาธิภาวนา ก็รักษาสำรวมใจ ปัญญาก็ตัวใจนั่นแหละ ศาสนาพูดถึงใจอย่างนี้ โดยสรุปรวมแล้ว หากพูดถึงศีล สมาธิ ปัญญา มันจะมีอะไร มันก็พูดถึง ใจนั่นแหละ อย่างที่อธิบายมาแล้ว ถ้าหากเราถึงใจเมื่อใด ก็ถึงศาสนาเมื่อนั้น
พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ก็ตรัสรู้ที่หัวใจของพระองค์ คนที่ไปตกนรกหมกไหม้ก็เพราะใจนั่นเองเศร้าหมอง จะขึ้น สวรรค์ชั้นฟ้าก็เพราะใจนั่นเองผ่องใสสะอาด จึงว่าสิ่งทั้งปวงหมดในโลกนี้ ถ้าไม่รวมใจแล้ว ไม่สำเร็จประโยชน์
ปฏิบัติธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน ปฏิบัติมากมายสักเท่าไร พิจารณารอบคอบรอบด้านแล้วมารวมที่ใจเป็นสมาธิภาวนานั่นแหละ เกิดสมาธิที่ตรงนั้น เป็นสมาธิภาวนาแน่วแน่ลงไป สมาธิภาวนานั่นแหละ ตัวทาน บ่อทาน ตัวอิ่มใจ มันจะอิ่มของมันเองหรอก มันเกิดปัญญาอุบายก็เกิดของมันเองหรอก เหมือนกับของภายนอกของภายในอันเดียวกัน โลกธรรมอันเดียวกัน เป็นแต่พิจารณาถึงเรื่องโลกมันไม่รวม แต่มันรวมอยู่ในตัวแล้ว แต่เราไม่รวม อันนั้นเรียกว่า ‘โลก’ ส่วน‘ธรรม’ นี้พิจารณารวมลงในที่เดียว รวมที่หัวใจแห่งเดียว มันจะเกิดอุบายปัญญาก็ตามหรือไม่เกิดก็ช่าง เรียกว่าเป็นธรรม แท้ทีเดียว ถ้าหากมันเกิดรู้แจ้งชัดเจนขึ้นมาในใจนั้นเป็นธรรมแท้ทีเดียว

(แสดงธรรม ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๒๔)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2015, 22:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1239

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจร 1.นมสิการ (นมสิการ หมายถึงใส่ใจ) 2.เกิดความปราโมทย์

อ้างคำพูด:
กบนอกกะลาเขียน :
ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อ
เบื่อหน่ายย่อมคลายความกำหนัด เพราะคลายความกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น



อ้างคำพูด:
      บทอญฺญํ นิรุชฺฌติ ความว่า จิตใจเกิดขึ้นและดับไปในเวลากลางคืน จิตดวงอื่นนอกจากจิตดวงนั้นนั่นแลย่อมเกิดขึ้นและดับไป
ในกว่า อญฺญเทว อุปฺปชฺชติ อญฺญํ นิรุชฺฌติ ความว่า จิตใจเกิดขึ้นและดับไปในเวลากลางคืน จิตดวงอื่นนอกจากจิตดวงนั้นนั่นแลย่อมเกิดขึ้นและดับไปในกลางวัน. แต่ไม่ควรถือเอาอรรถอย่างนี้ว่า จิตดวงอื่นเกิดขึ้น จิตดวงอื่นที่ยังไม่เกิดขึ้นนั่นแลย่อมดับไป. 
              บทว่า รตฺติยา จ ทิวสสฺส จ นี้ ท่านถือเอาความสืบต่ออันน้อยกว่าความสืบต่อเดิมแล้วกล่าวด้วยอำนาจความสืบต่อนั่นเอง. ก็จิตดวงเดียวเท่านั้นชื่อว่าสามารถเพื่อตั้งอยู่สิ้นคืนหนึ่งหรือวันหนึ่ง ย่อมไม่มี. 
จริงอยู่ ในขณะดีดนิ้วครั้งเดียว จิตเกิดขึ้นหลายโกฏิแสนดวง. 
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=16&i=230



อ้างคำพูด:
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้แต่อย่างเดียว 
ที่เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเหมือนจิต 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้จะเปรียบเทียบให้เห็นว่า 
จิตเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเพียงใดนั้น ก็กระทำไม่ได้ง่าย ฯ"

พระบาลีจากพระสูตรนี้ รจนาไว้ชัดๆว่า 
"ฯ ยาว ลหุปริวตฺตํ จิตฺตนฺติ ฯ" จิตเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก 

พระบาลีพูดถึงจิตในแบบลักษณะ คือ 
จิตฺตนฺติ จิตย่อมรู้ชัดว่า ลหุปริวตฺตํ เปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก
http://www.bloggang.com/m/viewblog.php? ... y&group=17



แล้วเราไม่จำเป็นต้องขวนขวาย ..เมื่อเข้าไปรู้เห็นตามความเป็นจริงว่าจิตเกิดทันทีแล้วดับทันที.. แล้วจิตจะเบื่อหน่ายเอง และคลายกำหนัดเอง..เป็นไปตามสภาวะธรรมของจิต..ถึงขวนขวายยังไงมันก็ไม่อยู่ให้ยึดอยู่แล้วเพราะจิตเปลี่ยนแปลงเร็วมาก..(แค่ดีดนิ้วครั้งเดียวก็เกิดดับหลายแสนโกฎิดวง)



พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสว่า เธอจงเบื่อหน่ายในสิ่งทั้งปวง..


โค้ด:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณอาศัยจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน สัมผัสอาศัยจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์ มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย              ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสต ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียงทั้งหลาย ...              ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่นทั้งหลาย ...              ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสทั้งหลาย ...              ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะทั้งหลาย ...              ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน วิญญาณอาศัยมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัมผัสอาศัยมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย.              เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้น แล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จ แล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี. ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุ ๑๐๐๐ รูปนั้น พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=04&A=1124&Z=1215






จิตจะอภิธรรมหรือไม่อภิธรรมมันก็ตัวเดียวกันแหละ..ไม่เห็นมีใครแยกเหมือนคุณกบนอกกะลาเลย..

อ้างคำพูด:
พระอภิธรรม ความหมายของ ปรมัตถธรรม

เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
จิต คือ ธรรมชาติที่ทำหน้าที่เห็น ได้ยิน รับกลิ่น รับรส รู้สัมผัสถูกต้อง ตลอดจนธรรมชาติ ที่ทำให้เกิดการคิด นึก จำนวนของจิตมีทั้งหมด ๘๙ หรือ ๑๒๑ (โดยพิสดาร) แต่เมื่อกล่าวโดยลักษณะแล้วมีเพียง ๑ เท่านั้น คือ รู้อารมณ์ (อารมณ์ในที่นี้หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งต่าง ๆ เรื่องราวต่าง ๆ ที่จิตไปรับรู้)

คัดลอกจาก http://www.geocities.com/gogfox/aphithum2.html




ถ้าแยกเหมือนคุณกบนอกกะลา จิตนอกอภิธรรม คุณก็คงไม่เห็น ไม่ได้ยินอะไรทั้งนั้น ก็คงบ้า ใบ้ บอด หนวก ละมั้ง..

เพราะจิตในอภิธรรมทำหน้าที่เห็น ได้ ยิน..

อ้างคำพูด:

ส่วนวิญญาณ หมายถึง คือ จิตนั่นเอง
http://www.dhammahome.com/webboard/topic/18915



ถ้ารวมจิตไม่เห็นถึงการดับของเค้า และยังมีความคิดอยู่ว่า สงบ นิ่ง สุข อิ่มใจ ยังไม่ใช่การรวมจิต เพราะยังมีข้อความอยู่
การรวมจิตจิตจะรวมได้ต้องเป็นมรรคสมังคี คือ การรวมโพธิปักขิยธรรม 37 ประการมา เข้าสู่จิตดวงเดียว คือ การดับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2015, 11:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1239

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตรวมไม่ได้ เพราจิตเปลี่ยนแปลง เกิดดับไวมาก ในขณะดีดนิ้วครั้งเดียว จิตเกิดขึ้นหลายโกฏิแสนดวง. ..
รวมได้แต่สภาวะธรรมเพื่อไปสู่ความดับเท่านั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2015, 12:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ muisun เขียน

อ้างคำพูด:
ถ้ารวมจิตไม่เห็นถึงการดับของเค้า และยังมีความคิดอยู่ว่า สงบ นิ่ง สุข อิ่มใจ ยังไม่ใช่การรวมจิต เพราะยังมีข้อความอยู่
การรวมจิตจิตจะรวมได้ต้องเป็นมรรคสมังคี คือ การรวมโพธิปักขิยธรรม 37 ประการมา เข้าสู่จิตดวงเดียว คือ การดับ





ขอคำอธิบายเพิ่ม ตรงที่ทำสีแดงไว้ด้วยค่ะ เราสนใจมากค่ะ :b8: :b41: :b55: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2015, 13:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


muisun เขียน:

ถ้ารวมจิตไม่เห็นถึงการดับของเค้า และยังมีความคิดอยู่ว่า สงบ นิ่ง สุข อิ่มใจ ยังไม่ใช่การรวมจิต เพราะยังมีข้อความอยู่
การรวมจิตจิตจะรวมได้ต้องเป็นมรรคสมังคี คือ การรวมโพธิปักขิยธรรม 37 ประการมา เข้าสู่จิตดวงเดียว คือ การดับ


เอ้า..เอางัยแน่....

ต้องลง..มีจิตรวม..แล้วเน๊าะ..อิอิ

:b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2015, 14:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การรวมจิต : ไม่มีหรอกในพระศาสนานี้
จิต มีดวงเดียว ไม่รวมกับอะไร กับใครได้

V
เว้นแต่รวบรวมชนิด ประเภทของจิต โดยโวหาร โดยสมมติ ไว้ให้อ่าน
ซี่งหาอ่านได้ มีการ รวมจิต ไว้ในอภิธรรมปิฏก

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2015, 15:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1239

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตรวมไม่ได้ เพราะเค้าเกิดดับของเค้าอยู่ จะเอาจิต 1 มารวมกับจิต 2 ไม่ได้

ในที่นี้พูดถึงเฉพาะสภาวะธรรมเท่านั้นที่รวมได้ สภาวะธรรมที่มารวม คือ

สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4อิทธิบาท 4อินทรีย์ 5พละ 5โพชฌงค์ 7มรรคมีองค์ 8 รวมกันเป็นโพธิปักษ์นิยธรรม 37 ประการ เข้าสูจิตดวงเดียว แล้วประหารกิเลส เรียกว่า มรรคสมังคี

มรรคสมังคี ไม่ใช่การรวมจิต แต่เป็นรวมองค์แห่งการตรัสรู้

คุณเช่นนั้นพูดถูกต้องเลย..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2015, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


muisun เขียน:
จิตรวมไม่ได้ เพราะเค้าเกิดดับของเค้าอยู่ จะเอาจิต 1 มารวมกับจิต 2 ไม่ได้

ในที่นี้พูดถึงเฉพาะสภาวะธรรมเท่านั้นที่รวมได้ สภาวะธรรมที่มารวม คือ

สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4อิทธิบาท 4อินทรีย์ 5พละ 5โพชฌงค์ 7มรรคมีองค์ 8 รวมกันเป็นโพธิปักษ์นิยธรรม 37 ประการ เข้าสูจิตดวงเดียว แล้วประหารกิเลส เรียกว่า มรรคสมังคี

มรรคสมังคี ไม่ใช่การรวมจิต แต่เป็นรวมองค์แห่งการตรัสรู้

คุณเช่นนั้นพูดถูกต้องเลย..

:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร