วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 01:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 03 ต.ค. 2015, 06:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
asoka เขียน:
:b38:
สติ เป็นตัวกั้นนิวรณ์

สมาธิ เป็นตัวกด ข่ม กลบ บัง นิวรณ์

วิปัสสนาปัญญา เป็นตัวขุดถอนนิวรณ์

onion

ดูผ่าน ๆ ก็ดูดีอยู่หรอก

ถ้าไม่จิงจัง...นะ
:b1: :b1: :b1:


asoka เขียน:
:b12:
มันดีทั้งดูผ่านๆ และดูด้วยความพินิจพิเคราะห์นะครับกบ เพราะมันเป็นสัจจะและมีสภาวะรองรับ. พิสูจน์ได้เสมอ

ไม่เหมือนบัญญัติบางคำที่ดูเพ้อเจ้อปราศจากสภาวะรองรัยพิสูจน์ไม่ได้

onion


สติ..พอจะเรียกว่ากั้นนิวรณ์ได้..คือกั้นไม่ให้มันเจริญงอกงาม..ในขณะนั้น ๆ

แต่สมาธิ..บดบัง..ปิดกั้น..กลบ..ข่ม..นิวรณ์..นี้นะ..เห็นจะไม่จริง..นะครับ..เพราะในสมาธินั้นนิวรณ์ไม่เกิด..แล้วจะมีอะไรให้กลบ..จะมีอะไรให้บิดบัง..มีอะไรให้กดข่ม.....นี้ถ้าจะเอาจริง ๆ มันเป็นอยางนี้..

แล้วยิ่ง..มาที่..วิปัสสนาปัญญา..ด้วยแล้ว...เผิ่น ๆ...ก็พอใช้ได้ที่ว่าขุดรากถอนโคนนิวรณ์..แต่ก็อีกนั้นแหละ....อาจไม่ตรงกับสภาวะจริงเท่าไร..ก็พอกล่อมแกล่ม ๆ ไปงั้น..


โพสต์ เมื่อ: 03 ต.ค. 2015, 17:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
asoka เขียน:
:b38:
สติ เป็นตัวกั้นนิวรณ์

สมาธิ เป็นตัวกด ข่ม กลบ บัง นิวรณ์

วิปัสสนาปัญญา เป็นตัวขุดถอนนิวรณ์

onion

ดูผ่าน ๆ ก็ดูดีอยู่หรอก

ถ้าไม่จิงจัง...นะ
:b1: :b1: :b1:


asoka เขียน:
:b12:
มันดีทั้งดูผ่านๆ และดูด้วยความพินิจพิเคราะห์นะครับกบ เพราะมันเป็นสัจจะและมีสภาวะรองรับ. พิสูจน์ได้เสมอ

ไม่เหมือนบัญญัติบางคำที่ดูเพ้อเจ้อปราศจากสภาวะรองรัยพิสูจน์ไม่ได้

onion


สติ..พอจะเรียกว่ากั้นนิวรณ์ได้..คือกั้นไม่ให้มันเจริญงอกงาม..ในขณะนั้น ๆ

แต่สมาธิ..บดบัง..ปิดกั้น..กลบ..ข่ม..นิวรณ์..นี้นะ..เห็นจะไม่จริง..นะครับ..เพราะในสมาธินั้นนิวรณ์ไม่เกิด..แล้วจะมีอะไรให้กลบ..จะมีอะไรให้บิดบัง..มีอะไรให้กดข่ม.....นี้ถ้าจะเอาจริง ๆ มันเป็นอยางนี้..

แล้วยิ่ง..มาที่..วิปัสสนาปัญญา..ด้วยแล้ว...เผิ่น ๆ...ก็พอใช้ได้ที่ว่าขุดรากถอนโคนนิวรณ์..แต่ก็อีกนั้นแหละ....อาจไม่ตรงกับสภาวะจริงเท่าไร..ก็พอกล่อมแกล่ม ๆ ไปงั้น..

:b12: :b12: :b12:
55555555555
กบปล่อยไก่ตัวโตๆอีก1 ตัวแล้วละนะ

สติเป็นเหตุสมาธิ เมื่อสติกั้นนิวรณ์ไว้สมาธิก็เกิด ตอนสมาธิเกิด นิวรณ์เกิดไม่ได้ พูดอีกอย่างหนึ่งก็เรียกว่าสมาธิกลบบังนิวรณ์ไว้ เพราะพอสมาธิหย่อนนิวรณ์ก็เกิดขึ้นมาได้เหมือนเดิมถ้าสติไม่ทัน

ส่วนวิปัสสนาภาวนานั้นนิวรณ์ธรรมจะถูกถอนหรือถูกฆ่าให้หมดไปจากกมลสันดาน เมื่อถึงอนาคามีผลแล้วนิวรณ์ 5 ตายเกือบเกลี้ยงเมื่อถึงอรหัตผลแล้วนิวรณ์ 5 ตายเกลี้ยงไม่งอกเงยขึ้นมาใหม่อีก

onion


โพสต์ เมื่อ: 03 ต.ค. 2015, 19:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คนเห็นนิวรณ์.เป็นอัตตาตัวตน..ก็คิดงี้แหละ...มีกลบมีฝั่ง...มีฆ่าตายเกลี่ยงด้วย..

s002


โพสต์ เมื่อ: 06 ต.ค. 2015, 06:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
คนเห็นนิวรณ์.เป็นอัตตาตัวตน..ก็คิดงี้แหละ...มีกลบมีฝั่ง...มีฆ่าตายเกลี่ยงด้วย..

s002

:b12: :b12:
พยายามพูดภาษาที่ชาวบ้านฟังง่าย รู้เรื่องง่าย. แต่กบกับไพล่ไปตีความว่าคนเห็นนิวรณ์เป็นอัตตาตัวตน

นี่หละน้าคนที่มีความเป็นนักวิชาการจ๋าเที่ยวไปตัดสินว่าอันนั้นเป็นอย่างนี้ อันนี้เป็นอย่างนั้นด้วยอัตตา มานะ มโนมัย

:b13: :b13:
ก็ดีอยู่ที่มีคนอย่างกบคอยซักไซ้ไล่เรียงในลานนี้ จะได้มีเรื่องสนทนาวิเคราะห์ธรรมสู่กันฟัง
:b12: :b12:
เจริญๆไปสู่ที่ชอบๆนะ
:b13:


โพสต์ เมื่อ: 06 ต.ค. 2015, 06:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขอบคุณที่บอกว่าผมเป็นนักวิชาการ...แค่ความรู้เป็ด ๆ...อโสกะยังยกให้เป็นนักวิชาการ :b32: :b32: :b32:


โพสต์ เมื่อ: 06 ต.ค. 2015, 06:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
:b8: ขอบคุณที่บอกว่าผมเป็นนักวิชาการ...แค่ความรู้เป็ด ๆ...อโสกะยังยกให้เป็นนักวิชาการ :b32: :b32: :b32:

:b12: :b12: :b13:
ถ่อมตัวก็เป็นเหมือนกันเน๊าะกบ

อย่างนี้เป็ดมันทำบ่ได้ดอก

:b13:


โพสต์ เมื่อ: 06 ต.ค. 2015, 06:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ได้ถ่อมตัว....
มันเป็นอย่างนั้น..จริงจริง
:b3: :b3:


โพสต์ เมื่อ: 06 ต.ค. 2015, 06:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


นิวรณ์ข้อ 2 พยาบาทนิวรณ์นี้...อโสกะตอนทำความสงบของใจ..เวลาเจอมัน..มีอาการยังงัยรึ?

คงไม่นั่งไปแค้นคนอื่นไป...นั่งไปคิดแต่จะจองเวรคนอื่นร่ำไป...กระมัง?


โพสต์ เมื่อ: 06 ต.ค. 2015, 22:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
นิวรณ์ข้อ 2 พยาบาทนิวรณ์นี้...อโสกะตอนทำความสงบของใจ..เวลาเจอมัน..มีอาการยังงัยรึ?

คงไม่นั่งไปแค้นคนอื่นไป...นั่งไปคิดแต่จะจองเวรคนอื่นร่ำไป...กระมัง?

:b12: :b12: :b13:
ดีแล้วที่กบอยากรู้ว่าพยายาทนิวรณ์ในภาคปฏิบัติจริงๆเป็นอย่างไร

กบคงจำที่สมเด็จพระสังฆราชตรัสสอนเรื่องพยาบาทนิวรณ์นี้ได้ดีอยู่นะว่า

มันรวมเริ่มตั้งแต่ความยินร้ายไม่พอใจไปจนถึงปฏิฆะ โทสะ พยาบาทที่แปลว่าผูกโกรธ


ในปฏิกิริยาจริงๆตอนนั่งปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาอยู่ ตัวอย่างเช่น กบกำลังนั่งภาวนา

มีเสียงคนมาตะโกนร้องด่าอยู่ใกล้ว่า (ขอโทษขออนุญาตใช้คำหยาบนิดๆเพื่อจะให้เห็นจริง)


เฮ้ยๆ ไอ้กบ ไอ้ฉิบหาย มึงมันอวดรู้อวดเก่งเที่ยววิพากษ์วิจารณ์คนอื่นไปทั่ว
ไม่ชะโงกดูเงา.......ของตนเอง


เพียงคำพูดสมมุติแค่นี้ กบก็จะได้เห็นทันทีปฏิฆะความขุ่นมัวที่พุ่งขึ้นมาในจิต ถ้ากบปรุงแต่งไปตามคำที่เขาว่า ก็ยิ่งจะไปเพิ่มความเข้มข้นและรุนแรงของความขุ่นมัวจนกลายเป็นความไม่พอใจไม่ชอบใจ โมโหโกรธาโทสะ พยาบาทเคียดแค้น ผูกโกรธ อาฆาต จองเวร

นี่แหละอาการของพยาบาทนิวรณ์


แต่สำหรับอโศกะตอนนี้ถ้าเจออย่างนี้จิตจะหวั่นไหวขุ่นนิดๆ สติรู้ทัน ปัญญาจับนิ่งดูนิ่งสังเกตจนมันดับไป
:b38:


โพสต์ เมื่อ: 07 ต.ค. 2015, 05:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สภาพจริง ๆ ตอนทำสมาธิ...คงไม่เกิดโสตะวิญญาณจากโสตผัสสะอย่างนั้น..คือคงไม่มีใครมาตะโกนด่าอย่างนั้น..นะ

พยาบาทนิวรณ์..(อยากใช้คำว่าปฏิฆะมากกว่า) เกิดกับอโสกะ....มีอาการจากอะไร..มีอาการทางกายอย่างไร..อาการทางใจอย่างไร?
เพราะคนที่เน้นใช้สติปัฏฐาน 4 อย่างอโสกะนี้...คงมีอะไรดีดี...บอกได้ละน่า


โพสต์ เมื่อ: 07 ต.ค. 2015, 15:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สภาพจริง ๆ ตอนทำสมาธิ...คงไม่เกิดโสตะวิญญาณจากโสตผัสสะอย่างนั้น..คือคงไม่มีใครมาตะโกนด่าอย่างนั้น..นะ

พยาบาทนิวรณ์..(อยากใช้คำว่าปฏิฆะมากกว่า) เกิดกับอโสกะ....มีอาการจากอะไร..มีอาการทางกายอย่างไร..อาการทางใจอย่างไร?
เพราะคนที่เน้นใช้สติปัฏฐาน 4 อย่างอโสกะนี้...คงมีอะไรดีดี...บอกได้ละน่า

:b12: :b12:
ใช่นั่นคือสภาพสมมุติ แต่ถ้าเกิดมันเป็นจริงอย่างนั้เราจะได้เห็นพยาบาทนิวรณ์ลุกขึ้นอย่างชัดเจน

กามฉันทะกับพยาบาทนิวรณ์นั้นสรุปแปลออกมาง่ายๆว่า ยินดี ยินร้าย หรือชอบใจ ไม่ชอบใจกับผัสสะของทวารทั้ง6นั่นเอง ตรงกับตัวอภิชฌาและโทมนัสอันเป็นประเด็นสำคัญของสติปัฏฐาน 4. ที่จะต้องเอาออกให้ได้

จากจุดเริ่มต้นนี้มันก็จะสามารถขยายตัวลุกใหญ่ซับซ้อนแน่นหนาขึ้นไปเป็นตัณหา ราคะ โลภะ ปฏิฆะ โทสะ อาฆาตพยาบาท ยิ่งขึ้นไปได้เรื่อยถ้ามีความเห็นผิดเป็นกูเป็นเราไปสังขารปรุงแต่งมันให้ยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ

ได้ให้ข้อสังเกตไว้แต่แรกแล้วว่า กามฉันทะนี้อาจต่อยอดขึ้นไปให้กลายเป็นอุทธัจจะความฟุ้งซ่าน.

พยาบาทอาจต่อยอดขึ้นไปให้เกิดกุกุจจะ ความหงุดหงิด งุ่นง่าน ลำคาญ ซึ่งทั้งอุทธัจจะกุกุจจะนี้คือนิวรณ์ธรรมตัวที่ 3

สภาพธรรมจริงๆหรือสภาวธรรมที่จะทำให้เกิดพยาบาทนิวรณ์นั้นมันเกิดได้ง่ายๆกับผัสสะของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อย่างเช่น เสียงที่ดังรบกวน ความร้อนหนาวเกินพอดีที่เกิดกับกาย รูปที่เลวร้ายน่าขยะแขย ง. กลิ่นที่เหม็นๆ
ความรู้สึกถูกสบประมาทดูหมิ่นดูแคลน


ที่กบอยากเรียกพยาบาทนิวรณ์เป็นปฏิฆะนั้นเพราะกบไปยึดแน่นกับคำว่าพยาบาทมันจะต้องแปลว่าผูกโกรธอาฆาตพยาบาท(กันอย่างรุนแรง )
แต่ความจริงไม่ใช่ พยาบาทมันรวมหมดของอาการที่ทำให้เกิดโทสะเริ่มตั้งแต่ความไม่ชอบใจจนเป็นปฏิฆะ จิตขุ่นมัวขึ้นไปจนถึงสูงสุดอาฆาต พยาบาท จองเวร จองกรรมดังที่สมเด็จพระสังฆราชท่านทรงแสดงให้ไว้

การพยายามกดข่มกลบบังหรือขุดถอนเอากามฉันทะและพยาบาทนิวรณ์จึงเป็นสิ่งที่ดีสองชั้นคือได้ทั้งการสู้ตรงกับนิวรณ์และเป็นการเจริญสติปัฏฐานไปด้วยพร้อมๆกันนิวรณ์เบา อัตตามานะทิฏฐิก็เหงาหมดกำลังตามไปด้วย
onion


โพสต์ เมื่อ: 07 ต.ค. 2015, 19:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: ...

ลอกตำรามาแปะเล่นดีก่า...

:b16: :b16: :b16:

Quote Tipitaka:
นีวรณโคจฉกะ

[๗๔๘] ธรรมเป็นนิวรณ์ เป็นไฉน?
นิวรณ์ ๖ คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
วิจิกิจฉานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์.

[๗๔๙] บรรดานิวรณ์ ๖ นั้น กามฉันทนิวรณ์ เป็นไฉน?
ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความใคร่
ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือความใคร่ ความสยบคือความใคร่
ความหมกมุ่นคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า กามฉันทนิวรณ์.

[๗๕๐] พยาปาทนิวรณ์ เป็นไฉน?
อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้น
ได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสีย
แก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความเสื่อม
เสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รักที่ชอบพอของเรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า
ผู้นี้ได้ทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็น
ที่ชอบพอของเรา หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะอันใช่เหตุ จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความ
กระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความประทุษร้าย
ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ
มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ] การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย
การคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความคิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความ
ปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า พยาปาทนิวรณ์.

[๗๕๑] ถีนมิทธนิวรณ์ เป็นไฉน?
ถีนมิทธะนั้น แยกเป็นถีนะอย่างหนึ่ง มิทธะอย่างหนึ่ง.
ใน ๒ อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน?
ความไม่สมประกอบแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความท้อแท้ ความถดถอย
ความหดหู่ อาการที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่ ความซบเซา อาการที่ซบเซา ภาวะที่ซบเซาแห่งจิต
อันใด นี้เรียกว่า ถีนะ.
มิทธะ เป็นไฉน?
ความไม่สมประกอบแห่งนามกาย ความไม่ควรแก่งานแห่งนามกาย ความปกคลุม
ความหุ้มห่อ ความปิดบังไว้ภายใน ความง่วงเหงา ความหาวนอน ความโงกง่วง ความหาวนอน
อาการที่หาวนอน ภาวะที่หาวนอน อันใด นี้เรียกว่า มิทธะ.
ถีนะและมิทธะดังว่านี้ รวมเรียกว่า ถีนมิทธนิวรณ์.

[๗๕๒] อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ เป็นไฉน?
อุทธัจจกุกกุจจะนั้น แยกเป็นอุทธัจจะอย่างหนึ่ง กุกกุจจะอย่างหนึ่ง.
ใน ๒ อย่างนั้น อุทธัจจะ เป็นไฉน?
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความวุ่นวายใจ ความพล่านแห่งจิต อันใด
นี้เรียกว่า อุทธัจจะ.
กุกกุจจะ เป็นไฉน?
ความสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร ความสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร ความสำคัญว่ามี
โทษในของที่ไม่มีโทษ ความสำคัญว่าไม่มีโทษในของที่มีโทษ การรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ความ
รำคาญ ความเดือดร้อนใจ ความยุ่งใจ ซึ่งมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า กุกกุจจะ.
อุทธัจจะและกุกกุจจะนี้ รวมเรียกว่า อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์.

[๗๕๓] วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็นไฉน?
ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วน
อดีต ในส่วนอนาคต ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรม
นี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น การเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความ
คิดเห็นไปต่างๆ นานา ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็นเหมือนทาง
สองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิด
คิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มี
ลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉานิวรณ์.

[๗๕๔] อวิชชานิวรณ์ เป็นไฉน?
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกข-
*นิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ในส่วนอดีตและ
ส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามความเป็นจริง
ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความ
ไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความมีปัญญาทราม ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง
ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา
ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า
อวิชชานิวรณ์.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นนิวรณ์.


โพสต์ เมื่อ: 07 ต.ค. 2015, 19:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

Quote Tipitaka:
[๗๕๕] ธรรมไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน?
เว้นนิวรณธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็น
กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด
และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นนิวรณ์.

[๗๕๖] ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน?
กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร
อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของ
นิวรณ์.
ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน?
มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์.


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 07 ต.ค. 2015, 19:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 07 ต.ค. 2015, 19:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

Quote Tipitaka:
[๗๕๗] ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ เป็นไฉน?
ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยนิวรณธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์.

ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ เป็นไฉน?
ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากนิวรณธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์,
รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์.

[๗๕๘] ธรรมเป็นนิวรณ์ และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน?
นิวรณ์เหล่านั้นนั่นเอง ชื่อว่าธรรมเป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์.

ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน?
ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของนิวรณ์โดยนิวรณธรรมเหล่านั้น เว้นนิวรณธรรมเหล่านั้น
เสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร
รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น
อารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์.


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 07 ต.ค. 2015, 20:22, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสต์ เมื่อ: 07 ต.ค. 2015, 19:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

Quote Tipitaka:
[๗๕๙] ธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ เป็นไฉน?

กามฉันทนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์
เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยกามฉันทนิวรณ์

พยาปาทนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์
เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยพยาปาทนิวรณ์

ถีนมิทธนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็น
นิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยถีนมิทธนิวรณ์

อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็น
นิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอุทธัจจนิวรณ์

กุกกุจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็น
นิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยกุกกุจจนิวรณ์

วิจิกิจฉานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์
เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยวิจิกิจฉานิวรณ์

กามฉันทนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์
เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยกามฉันทนิวรณ์

พยาปาทนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์
เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยพยาปาทนิวรณ์

ถีนมิทธนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอุทธัจจนิวรณ์ อุทัจจนิวรณ์
เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยถีนมิทธนิวรณ์

กุกกุจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์
เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยกุกกุจจนิวรณ์

วิจิกิจฉานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์
เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยวิจิกิจฉานิวรณ์

อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์
เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ โดยอวิชชานิวรณ์

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์.
ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน?

ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยนิวรณธรรมเหล่านั้น เว้นนิวรณธรรมเหล่านั้นเสีย คือ
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็น
นิวรณ์.


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 07 ต.ค. 2015, 20:12, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร