วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 20:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 54 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2015, 23:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
แต่คุนน้อง เห็น อนิจจัง ความไม่เที่ยงของขันธ์ 5 เป็น ทุกข์ จนละความเห็นผิด ละอุปทาน อัตตา ตัวตนในขันธ์ 5 ว่าเป็นเรา คือเรา และคุนน้องก็เห็น อนัตตา เพราะ เห็นอนิจจัง เห็นทุกขัง จนเข้าใจอนัตตา


คุณน้อง เข้าใจว่า เมื่อเห็นอนิจจัง และเห็นทุกขังจึงเข้าใจอนัตตา
นักบวชสมัยก่อนหน้า พระพุทธองค์ ต่างก็เห็นอนิจจัง ทุกขัง จึงพากันทิ้งเรือนเพื่อแสวงหาโมกขธรรมกัน

สงสัยไหมครับว่า ทำไมจึงไม่เห็นอนัตตา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2015, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
คุนน้องขอถามกลับนะค่ะ เพื่อเทียบเคียงสภาวะที่ตนรู้ ว่าตรงกันไม่ตรงกัน..ท่านเช่นนั้น เห็นอนิจจังในขันธ์5 อย่างไร ท่านเห็นทุกขัง ในขันธ์5 อย่างไร และเห็น อนัตตาในขันธ์5 อย่างไร

อนิจจัง
ทุกขัง
อนัตตา
ไม่ใช่ การเป็นเหตุก่อผลต่อกันและกัน

อนิจจัง เป็นสัจจะความจริงของสังขตธรรม ที่ว่า สังขตธรรมทั้งปวงมีความแปรปรวน เปลี่ยนแปลง
ทุกขัง เป็นสัจจะความจริงของสังขตธรรม ที่ว่า สังขตธรรมทั้งปวงมีสภาวะบีบคั้น ให้มีความเกิด ความดับ
อนัตตา ก็เป็นสัจจะความจริงของสังขตธรรม ที่ว่าสังขตธรรมทั้งปวง ไม่มีสภาวะใดเลยที่ดำรงอยู่ได้โดยเอกเทศ อิสระจากสิ่งทั้งปวง

ความเห็นว่า มีอัตตาเที่ยงแท้มั่นคงดุจเสารระเนียดไม่ขาดสูญ ก็เพราะไม่เห็นความบีบคั้น ความเกิดความ ความดับของสิ่งทั้งปวงตามเป็นจริง

ความเห็นว่า อัตตานั้นขาดสูญ เมื่อกายแตกทำลายไป ก็เพราะไม่เห็นถึงความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงตามเป็นจริง

ทัศนะคติว่ามีตัวตน ก่อให้เกิดความเชื่อ ความเห็นว่า อัตตานั่นมีอยู่ในขันธ์ 5 ลึกลงไปถึงกับเห็นถึงกับถือเอาว่ามีอัตตาในจิต

ทัศนะบางอย่างก็มีการขัดแย้งกับทัศนะดังกล่าวข้างต้น โดยถือเอาอัตตาเป็นเอกเทศ และเห็นว่าขันธ์5 เป็นของอัตตา

ทัศนะบางอย่างก็มีโดยปฏิเสธทัศนะทั้งสองข้างต้น แต่เห็นว่ามีอัตตาและขันธ์ 5 อิงอาศัยกันและกัน

การค้นพบสัจจะความจริง ของอิทัปปัจยตา ซึ่งเป็นการตรัสรู้ เข้าไปรู้ของพระพุทธองค์ และนำมาสอนให้พวกเราพิจารณาตามเห็นตาม เพื่อไขความจริง โดยการเชื่อมโยงสภาวะธรรมต่างๆ สรุปว่า เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงมี

ด้วย หลักอิทัปปัจยตา ธรรมชาติทั้งมวลของสังขตธรรม จึงถูกไขให้เห็นความเป็นจริงของการประกอบกันแห่งสัจจะ ทั้งสามประการ ความแปรปรวนของสังขตธรรม เพราะการอิงอาศัยกันของสิ่งๆหนึ่งแปรไป อีกสิ่งหนึ่งจึงแปรตาม ความเกิด-ดับ ของสังตธรรมอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นเพราะความเกิด-ดับของสัขตธรรมอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้นความเป็นเอกเทศใดๆ ซึ่งเป็นอัตตา จึงไม่อาจเป็นจริงได้ เพราะสังขตธรรมทั้งหลายล้วนมีสภาวะที่อิงอาศัยกัน จึงไม่มีความไม่มี และมีความมี หรือมีความมี และมีความไม่มี อันเป็นเอกเทศได้

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2015, 00:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ผมกลับเห็นว่า...

อนิจจัง...เป็นส่วนขยาย..เพื่อบอกให้เห็นชัดในอนัตตา

และ..ทุกขัง...ก็เป็นส่วนขยาย..เพื่อบอก..อธิบายให้เห็นชัดในอนัตตา..

อนิจจัง..ทุกขัง...เป็นส่วนขยายให้เห็นชัดของความเป็นอนัตตา

พระไตรลักษณ์...อนิจจัง..ทุกขัง..อนัตตา...บอกไปที่จุดเดียว..คือ...ความไม่มีสาระแก่นสาร...

เมื่อเห็นความไม่มีสาระแก่นสารของสิ่งใดใด....การละความยึดมั่นในสิ่งนั้นๆ..จึงจะเกิดขึ้นได้..

..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2015, 00:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


หากเราทำความเพียร เราย่อมกำหนดรู้ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา

เมื่อยกขันธ์5ขึ้นมาพิจารณา จะปรากฎถึงความเป็นอนัตตาอย่างชัดเจน

อย่างจิตเราไปตั้งไว้ที่มือ คนที่เห็นเป็นอัตตาคือนี่มือเรา เส้นเลือดหล่อเลี้ยงนั้นเลือดเรา ผิวเรา กระดูกเรา ความเจ็บปวดเมื่อยเรา ว่ากันไป แต่หากเราพิจารณาขันธ์5ตามความเป็นจริงแล้วจะพบว่า เราไม่ได้เอาจิตไปตั้งไว้ที่มือโดยปรมัตถ์ แต่แค่เอาจิตไปตั้งไว้ที่มือโดยสมมุติ เพราะมือเราโดยปรมัตถ์นั้นไม่มี ขันธ์5คือรูป28 มี มหาภูติ4 คือดิน น้ำ ลม ไฟ จิตของผู้กำหนดรู้จะเข้าไปรู้ธาตุต่างๆ เช่น ธาตุไฟบ้าง ดินบ้าง ลมบ้าง น้ำบ้าง คือเราบังคับได้แค่เอาจิตไปตั้งไว้ที่ธาตุใดธาตุหนึ่ง แต่เราบังคับไม่ได้ว่าเราจะตั้งจิตไว้ที่ธาตุทั้ง4ในเวลาเดียวกัน เป็นฐานะที่เป็นไปไม่ได้ เมื่อเราตั้งจิตไว้ที่ธาตุไฟบ้าง เราย่อมรู้ถึงอุณหภูมิ ถ้าในขณะนั้นเรียกปัจจุบันอารมณ์ แต่อุณหภูมินั้นบังคับไม่ได้ นั่งๆไปลองบังคับอุณหภูมิให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามอำนาจใจ ย่อมเป็นไปไม่ได้ ไหนล่ะมือ? มือนั้นไม่มี มีแต่ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันอยู่ ไม่ว่าจิตจะพลิกแพลงไปอย่างไรก็ประจบกับแค่ธาตุทั้ง4 ไม่มีอื่นเลยจึงจะเป็นอนัตตาโดยความเป็นขันธ์5 จะไม่มีเห็นมือขยายออก โตขึ้น เปลี่ยนสี โดยความเป็นขันธ์5 ไม่มี ไม่ใช่แน่นอน แต่ถ้าลืมตา มองที่มือ ก็เป็นรูปโดยความเป็นขันธ์5คือ ปสาทรูป คือสี จึงจะเป็นอนัตตาโดยความเป็นขันธ์5 คำว่าขันธ์5คือ สัจจะโดยความเป็นพระธรรม ให้รู้ว่า มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2015, 01:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
แต่ผมกลับเห็นว่า...

อนิจจัง...เป็นส่วนขยาย..เพื่อบอกให้เห็นชัดในอนัตตา

และ..ทุกขัง...ก็เป็นส่วนขยาย..เพื่อบอก..อธิบายให้เห็นชัดในอนัตตา..

อนิจจัง..ทุกขัง...เป็นส่วนขยายให้เห็นชัดของความเป็นอนัตตา

พระไตรลักษณ์...อนิจจัง..ทุกขัง..อนัตตา...บอกไปที่จุดเดียว..คือ...ความไม่มีสาระแก่นสาร...

เมื่อเห็นความไม่มีสาระแก่นสารของสิ่งใดใด....การละความยึดมั่นในสิ่งนั้นๆ..จึงจะเกิดขึ้นได้..

..

ถ้าหาก อนิจจัง และทุกขัง เป็นส่วนขยายเพื่อบอกให้เห็นชัดในอนัตตา
อุทกดาสรามบุตรบุตร และ อาฬรดาบส ต้องเห็นอนัตตาก่อนที่จะเห็นอนิจจัง และทุกขัง

แต่ใน อุปาทาน 4 นั้น อัตตาวาทุปาทานมีแต่พระบรมศาสดาเท่านั้นที่รอบรู้เรื่องของอัตตา จึงตรัสแสดงเรื่องอนัตตาได้ และการที่จะเห็นอนัตตา และความสัมพันธ์ของสัจจะทั้งสามประการนำมาตรัสสอนได้นั้นต้องตรัสรู้และเข้าใจอิทัปปัจยตา

นำข้อสังเกตุนี้มาพิจารณาดูครับ คุณกบ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2015, 01:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
หากเราทำความเพียร เราย่อมกำหนดรู้ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา

เมื่อยกขันธ์5ขึ้นมาพิจารณา จะปรากฎถึงความเป็นอนัตตาอย่างชัดเจน

อย่างจิตเราไปตั้งไว้ที่มือ คนที่เห็นเป็นอัตตาคือนี่มือเรา เส้นเลือดหล่อเลี้ยงนั้นเลือดเรา ผิวเรา กระดูกเรา ความเจ็บปวดเมื่อยเรา ว่ากันไป แต่หากเราพิจารณาขันธ์5ตามความเป็นจริงแล้วจะพบว่า เราไม่ได้เอาจิตไปตั้งไว้ที่มือโดยปรมัตถ์ แต่แค่เอาจิตไปตั้งไว้ที่มือโดยสมมุติ เพราะมือเราโดยปรมัตถ์นั้นไม่มี ขันธ์5คือรูป28 มี มหาภูติ4 คือดิน น้ำ ลม ไฟ จิตของผู้กำหนดรู้จะเข้าไปรู้ธาตุต่างๆ เช่น ธาตุไฟบ้าง ดินบ้าง ลมบ้าง น้ำบ้าง คือเราบังคับได้แค่เอาจิตไปตั้งไว้ที่ธาตุใดธาตุหนึ่ง แต่เราบังคับไม่ได้ว่าเราจะตั้งจิตไว้ที่ธาตุทั้ง4ในเวลาเดียวกัน เป็นฐานะที่เป็นไปไม่ได้ เมื่อเราตั้งจิตไว้ที่ธาตุไฟบ้าง เราย่อมรู้ถึงอุณหภูมิ ถ้าในขณะนั้นเรียกปัจจุบันอารมณ์ แต่อุณหภูมินั้นบังคับไม่ได้ นั่งๆไปลองบังคับอุณหภูมิให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามอำนาจใจ ย่อมเป็นไปไม่ได้ ไหนล่ะมือ? มือนั้นไม่มี มีแต่ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันอยู่ ไม่ว่าจิตจะพลิกแพลงไปอย่างไรก็ประจบกับแค่ธาตุทั้ง4 ไม่มีอื่นเลยจึงจะเป็นอนัตตาโดยความเป็นขันธ์5 จะไม่มีเห็นมือขยายออก โตขึ้น เปลี่ยนสี โดยความเป็นขันธ์5 ไม่มี ไม่ใช่แน่นอน แต่ถ้าลืมตา มองที่มือ ก็เป็นรูปโดยความเป็นขันธ์5คือ ปสาทรูป คือสี จึงจะเป็นอนัตตาโดยความเป็นขันธ์5 คำว่าขันธ์5คือ สัจจะโดยความเป็นพระธรรม ให้รู้ว่า มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


คุณ student มีจิต เป็นเอกเทศขึ้นมาตลอดหรือเปล่าครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2015, 01:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
student เขียน:
หากเราทำความเพียร เราย่อมกำหนดรู้ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา

เมื่อยกขันธ์5ขึ้นมาพิจารณา จะปรากฎถึงความเป็นอนัตตาอย่างชัดเจน

อย่างจิตเราไปตั้งไว้ที่มือ คนที่เห็นเป็นอัตตาคือนี่มือเรา เส้นเลือดหล่อเลี้ยงนั้นเลือดเรา ผิวเรา กระดูกเรา ความเจ็บปวดเมื่อยเรา ว่ากันไป แต่หากเราพิจารณาขันธ์5ตามความเป็นจริงแล้วจะพบว่า เราไม่ได้เอาจิตไปตั้งไว้ที่มือโดยปรมัตถ์ แต่แค่เอาจิตไปตั้งไว้ที่มือโดยสมมุติ เพราะมือเราโดยปรมัตถ์นั้นไม่มี ขันธ์5คือรูป28 มี มหาภูติ4 คือดิน น้ำ ลม ไฟ จิตของผู้กำหนดรู้จะเข้าไปรู้ธาตุต่างๆ เช่น ธาตุไฟบ้าง ดินบ้าง ลมบ้าง น้ำบ้าง คือเราบังคับได้แค่เอาจิตไปตั้งไว้ที่ธาตุใดธาตุหนึ่ง แต่เราบังคับไม่ได้ว่าเราจะตั้งจิตไว้ที่ธาตุทั้ง4ในเวลาเดียวกัน เป็นฐานะที่เป็นไปไม่ได้ เมื่อเราตั้งจิตไว้ที่ธาตุไฟบ้าง เราย่อมรู้ถึงอุณหภูมิ ถ้าในขณะนั้นเรียกปัจจุบันอารมณ์ แต่อุณหภูมินั้นบังคับไม่ได้ นั่งๆไปลองบังคับอุณหภูมิให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามอำนาจใจ ย่อมเป็นไปไม่ได้ ไหนล่ะมือ? มือนั้นไม่มี มีแต่ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันอยู่ ไม่ว่าจิตจะพลิกแพลงไปอย่างไรก็ประจบกับแค่ธาตุทั้ง4 ไม่มีอื่นเลยจึงจะเป็นอนัตตาโดยความเป็นขันธ์5 จะไม่มีเห็นมือขยายออก โตขึ้น เปลี่ยนสี โดยความเป็นขันธ์5 ไม่มี ไม่ใช่แน่นอน แต่ถ้าลืมตา มองที่มือ ก็เป็นรูปโดยความเป็นขันธ์5คือ ปสาทรูป คือสี จึงจะเป็นอนัตตาโดยความเป็นขันธ์5 คำว่าขันธ์5คือ สัจจะโดยความเป็นพระธรรม ให้รู้ว่า มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


คุณ student มีจิต เป็นเอกเทศขึ้นมาตลอดหรือเปล่าครับ


ต้องทำให้เกิดขึ้นมาครับ เพราะเป็นขั้นของความเห็น สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2015, 02:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
student เขียน:
หากเราทำความเพียร เราย่อมกำหนดรู้ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา

เมื่อยกขันธ์5ขึ้นมาพิจารณา จะปรากฎถึงความเป็นอนัตตาอย่างชัดเจน

อย่างจิตเราไปตั้งไว้ที่มือ คนที่เห็นเป็นอัตตาคือนี่มือเรา เส้นเลือดหล่อเลี้ยงนั้นเลือดเรา ผิวเรา กระดูกเรา ความเจ็บปวดเมื่อยเรา ว่ากันไป แต่หากเราพิจารณาขันธ์5ตามความเป็นจริงแล้วจะพบว่า เราไม่ได้เอาจิตไปตั้งไว้ที่มือโดยปรมัตถ์ แต่แค่เอาจิตไปตั้งไว้ที่มือโดยสมมุติ เพราะมือเราโดยปรมัตถ์นั้นไม่มี ขันธ์5คือรูป28 มี มหาภูติ4 คือดิน น้ำ ลม ไฟ จิตของผู้กำหนดรู้จะเข้าไปรู้ธาตุต่างๆ เช่น ธาตุไฟบ้าง ดินบ้าง ลมบ้าง น้ำบ้าง คือเราบังคับได้แค่เอาจิตไปตั้งไว้ที่ธาตุใดธาตุหนึ่ง แต่เราบังคับไม่ได้ว่าเราจะตั้งจิตไว้ที่ธาตุทั้ง4ในเวลาเดียวกัน เป็นฐานะที่เป็นไปไม่ได้ เมื่อเราตั้งจิตไว้ที่ธาตุไฟบ้าง เราย่อมรู้ถึงอุณหภูมิ ถ้าในขณะนั้นเรียกปัจจุบันอารมณ์ แต่อุณหภูมินั้นบังคับไม่ได้ นั่งๆไปลองบังคับอุณหภูมิให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามอำนาจใจ ย่อมเป็นไปไม่ได้ ไหนล่ะมือ? มือนั้นไม่มี มีแต่ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันอยู่ ไม่ว่าจิตจะพลิกแพลงไปอย่างไรก็ประจบกับแค่ธาตุทั้ง4 ไม่มีอื่นเลยจึงจะเป็นอนัตตาโดยความเป็นขันธ์5 จะไม่มีเห็นมือขยายออก โตขึ้น เปลี่ยนสี โดยความเป็นขันธ์5 ไม่มี ไม่ใช่แน่นอน แต่ถ้าลืมตา มองที่มือ ก็เป็นรูปโดยความเป็นขันธ์5คือ ปสาทรูป คือสี จึงจะเป็นอนัตตาโดยความเป็นขันธ์5 คำว่าขันธ์5คือ สัจจะโดยความเป็นพระธรรม ให้รู้ว่า มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


คุณ student มีจิต เป็นเอกเทศขึ้นมาตลอดหรือเปล่าครับ


ต้องทำให้เกิดขึ้นมาครับ เพราะเป็นขั้นของความเห็น สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ

คุณstudent ยกขันธ์ 5 มาพิจารณา แต่ก็ยังไม่ได้นำจิตมาพิจารณา แต่กลับมีจิตเป็นเอกเทศไปรู้นั่น ตั้งนี่ อยู่หรือเปล่าครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2015, 03:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
student เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
student เขียน:
หากเราทำความเพียร เราย่อมกำหนดรู้ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา

เมื่อยกขันธ์5ขึ้นมาพิจารณา จะปรากฎถึงความเป็นอนัตตาอย่างชัดเจน

อย่างจิตเราไปตั้งไว้ที่มือ คนที่เห็นเป็นอัตตาคือนี่มือเรา เส้นเลือดหล่อเลี้ยงนั้นเลือดเรา ผิวเรา กระดูกเรา ความเจ็บปวดเมื่อยเรา ว่ากันไป แต่หากเราพิจารณาขันธ์5ตามความเป็นจริงแล้วจะพบว่า เราไม่ได้เอาจิตไปตั้งไว้ที่มือโดยปรมัตถ์ แต่แค่เอาจิตไปตั้งไว้ที่มือโดยสมมุติ เพราะมือเราโดยปรมัตถ์นั้นไม่มี ขันธ์5คือรูป28 มี มหาภูติ4 คือดิน น้ำ ลม ไฟ จิตของผู้กำหนดรู้จะเข้าไปรู้ธาตุต่างๆ เช่น ธาตุไฟบ้าง ดินบ้าง ลมบ้าง น้ำบ้าง คือเราบังคับได้แค่เอาจิตไปตั้งไว้ที่ธาตุใดธาตุหนึ่ง แต่เราบังคับไม่ได้ว่าเราจะตั้งจิตไว้ที่ธาตุทั้ง4ในเวลาเดียวกัน เป็นฐานะที่เป็นไปไม่ได้ เมื่อเราตั้งจิตไว้ที่ธาตุไฟบ้าง เราย่อมรู้ถึงอุณหภูมิ ถ้าในขณะนั้นเรียกปัจจุบันอารมณ์ แต่อุณหภูมินั้นบังคับไม่ได้ นั่งๆไปลองบังคับอุณหภูมิให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามอำนาจใจ ย่อมเป็นไปไม่ได้ ไหนล่ะมือ? มือนั้นไม่มี มีแต่ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันอยู่ ไม่ว่าจิตจะพลิกแพลงไปอย่างไรก็ประจบกับแค่ธาตุทั้ง4 ไม่มีอื่นเลยจึงจะเป็นอนัตตาโดยความเป็นขันธ์5 จะไม่มีเห็นมือขยายออก โตขึ้น เปลี่ยนสี โดยความเป็นขันธ์5 ไม่มี ไม่ใช่แน่นอน แต่ถ้าลืมตา มองที่มือ ก็เป็นรูปโดยความเป็นขันธ์5คือ ปสาทรูป คือสี จึงจะเป็นอนัตตาโดยความเป็นขันธ์5 คำว่าขันธ์5คือ สัจจะโดยความเป็นพระธรรม ให้รู้ว่า มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


คุณ student มีจิต เป็นเอกเทศขึ้นมาตลอดหรือเปล่าครับ


ต้องทำให้เกิดขึ้นมาครับ เพราะเป็นขั้นของความเห็น สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ

คุณstudent ยกขันธ์ 5 มาพิจารณา แต่ก็ยังไม่ได้นำจิตมาพิจารณา แต่กลับมีจิตเป็นเอกเทศไปรู้นั่น ตั้งนี่ อยู่หรือเปล่าครับ


เพราะบัญญัติขันธ์5จึงรู้ว่านี่รูป นี่เวทนา นี่สัญญา นี่สังขาร นี่วิญญาณ(จิต)
การพิจารณาต้องเอาความเห็น(สัมมาทิฎฐิ) สัมมาสติ และสัมมาสมาธิครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2015, 06:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
แต่ผมกลับเห็นว่า...

อนิจจัง...เป็นส่วนขยาย..เพื่อบอกให้เห็นชัดในอนัตตา

และ..ทุกขัง...ก็เป็นส่วนขยาย..เพื่อบอก..อธิบายให้เห็นชัดในอนัตตา..

อนิจจัง..ทุกขัง...เป็นส่วนขยายให้เห็นชัดของความเป็นอนัตตา

พระไตรลักษณ์...อนิจจัง..ทุกขัง..อนัตตา...บอกไปที่จุดเดียว..คือ...ความไม่มีสาระแก่นสาร...

เมื่อเห็นความไม่มีสาระแก่นสารของสิ่งใดใด....การละความยึดมั่นในสิ่งนั้นๆ..จึงจะเกิดขึ้นได้..

..


เช่นนั้น เขียน:
ถ้าหาก อนิจจัง และทุกขัง เป็นส่วนขยายเพื่อบอกให้เห็นชัดในอนัตตา
อุทกดาสรามบุตรบุตร และ อาฬรดาบส ต้องเห็นอนัตตาก่อนที่จะเห็นอนิจจัง และทุกขัง


คุณเช่นนั้น..ยังมองเห็นเป็นก้อน ๆ 3 ก้อน..หรือคับ?

ผมเห็นพระไตรลักษณะ...มันคือก้อนเดียว...แยกเป็นเอกเทศไม่ได้

เมื่อเห็นอาการอนิจจังของสรรพสิ่ง....ก็ย่อมเห็นความไม่มีตัวตนที่แน่นอนของสรรพสิ่งนั้นๆไปด้วย
เมื่อเห็นอาการทุกขังของสรรพสิ่ง....ก็ย่อมเห็นความไม่มีตัวตนที่แน่นอนของสรรพสิ่งนั้นๆไปด้วย
เมื่อเข้าใจความเป็นอนัตตาในสรรพสิ่งใด..ก็ย่อมเห็นอาการอนิจจัง....อาการทุกขัง...ของสรรพสิ่งนั้นๆไปด้วย

อาการทั้ง3 เป็นก้อนเดียวกัน..แยกเป็นเอกเทศไม่ได้
..ก็เหมือนงู....มีหาง...มีลำตัวงู...มีหัว...รวมเรียกว่างู...แม้ตัดหางงู..ตัวงู..หัวงู...นำมาเรียงต่อๆกัน..ก็ไม่เรียกว่างู....เพราะงูมันตายไปแล้ว..เป็นงูไม่ได้


เช่นนั้น เขียน:
แต่ใน อุปาทาน 4 นั้น อัตตาวาทุปาทานมีแต่พระบรมศาสดาเท่านั้นที่รอบรู้เรื่องของอัตตา จึงตรัสแสดงเรื่องอนัตตาได้ และการที่จะเห็นอนัตตา และความสัมพันธ์ของสัจจะทั้งสามประการนำมาตรัสสอนได้นั้นต้องตรัสรู้และเข้าใจอิทัปปัจยตา

นำข้อสังเกตุนี้มาพิจารณาดูครับ คุณกบ


ในทิฏฐิ 62 พราหมณ์บางพวก...ยังเห็นบางอย่างเที่ยง...บางอย่างไม่เที่ยง..ก็มี
.เขาก็ยึดอันที่เขาเห็นว่าเที่ยง..อยู่.....อันไหนไม่เที่ยง...เขาก็ไม่เข้าไปยึด..

นี้..ตัดภพยังไม่หมด....มีภพอยู่

ผมมีความเห็นว่า...อุทกดาสรามบุตรบุตร และ อาฬรดาบส ก็เห็นไตรลักษณะอยู่...ไม่ต้องการ..โศกะ..ปริเทวะ..ทุกขะ...อุปปายาส...เช่นกัน..แต่แก้ทุกข์ทั้งปวงผิดที่..โดยคิดว่าหากไม่ไปรับรู้สิ่งใดใดภายนอกเสียก็ย่อมไม่ทุกข์...เพราะไม่ได้เห็นเหตุให้เกิดทุกข์ที่แท้จริง...จึงไม่ได้แก้ที่เหตุ...คือ..ปฏิจจสมุปบาท...จึงตัดภพไม่ได้..

เห็นความเป็นไตรลักษณ์ได้..เห็นทุกข์ได้...ก็เป็นเหตุใกล้ยิ่งแล้ว...แต่ต้องเห็นเหตุคือปฏิจจสมุปบาทด้วย...อริยะสัจจ4.จึงจะสมบูรณ์..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2015, 14:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
คุณเช่นนั้น..ยังมองเห็นเป็นก้อน ๆ 3 ก้อน..หรือคับ?

ผมเห็นพระไตรลักษณะ...มันคือก้อนเดียว...แยกเป็นเอกเทศไม่ได้

เมื่อเห็นอาการอนิจจังของสรรพสิ่ง....ก็ย่อมเห็นความไม่มีตัวตนที่แน่นอนของสรรพสิ่งนั้นๆไปด้วย
เมื่อเห็นอาการทุกขังของสรรพสิ่ง....ก็ย่อมเห็นความไม่มีตัวตนที่แน่นอนของสรรพสิ่งนั้นๆไปด้วย
เมื่อเข้าใจความเป็นอนัตตาในสรรพสิ่งใด..ก็ย่อมเห็นอาการอนิจจัง....อาการทุกขัง...ของสรรพสิ่งนั้นๆไปด้วย

อาการทั้ง3 เป็นก้อนเดียวกัน..แยกเป็นเอกเทศไม่ได้
..ก็เหมือนงู....มีหาง...มีลำตัวงู...มีหัว...รวมเรียกว่างู...แม้ตัดหางงู..ตัวงู..หัวงู...นำมาเรียงต่อๆกัน..ก็ไม่เรียกว่างู....เพราะงูมันตายไปแล้ว..เป็นงูไม่ได้

ผมจะอุปมานะครับ
ชิวิตมนุษย์เรา มีขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มาประชุมกันอยู่มาประกอบกันอยู่

แต่ละขันธ์ ก็มีลักษณะแตกต่างกัน แยกลักษณะออกจากกัน แต่ก็มาประชุมรวมกันอยู่

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เป็นสามัญญลักษณะของ สังขตะธรรมหนึ่งๆ
โดย แต่ละลักษณะก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเช่นกันครับ
ไม่ได้กล่าวว่าลักษณะหนึ่งจะเป็นผลอันมีอีกลักษณะหนึ่งเป็นเหตุครับ
จะไม่กล่าวว่า อนิจจังเป็นเหตุ โดยมีทุกขังเป็นผลของอนิจจัง
จะไม่กล่าวว่า ทุกขังเป็นเหตุ โดยมีอนิจจังเป็นผลของทุกขัง
จะไม่กล่าว อนัตตา เป็นเหตุ โดยมี อนิจจัง หรือทุกขังเป็นผล
จะไม่กล่าว อนิจจัง หรือทุกขังเป็นเหตุ โดยมีอนัตตาเป็นผล

การทำความเข้าใจลักษณะของสังขตะธรรม แต่ละอย่างๆ ก็จะเข้าใจธรรมชาติของสังขตะธรรมครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2015, 14:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ในทิฏฐิ 62 พราหมณ์บางพวก...ยังเห็นบางอย่างเที่ยง...บางอย่างไม่เที่ยง..ก็มี
.เขาก็ยึดอันที่เขาเห็นว่าเที่ยง..อยู่.....อันไหนไม่เที่ยง...เขาก็ไม่เข้าไปยึด..

นี้..ตัดภพยังไม่หมด....มีภพอยู่

ผมมีความเห็นว่า...อุทกดาสรามบุตรบุตร และ อาฬรดาบส ก็เห็นไตรลักษณะอยู่...ไม่ต้องการ..โศกะ..ปริเทวะ..ทุกขะ...อุปปายาส...เช่นกัน..แต่แก้ทุกข์ทั้งปวงผิดที่..โดยคิดว่าหากไม่ไปรับรู้สิ่งใดใดภายนอกเสียก็ย่อมไม่ทุกข์...เพราะไม่ได้เห็นเหตุให้เกิดทุกข์ที่แท้จริง...จึงไม่ได้แก้ที่เหตุ...คือ..ปฏิจจสมุปบาท...จึงตัดภพไม่ได้..

เห็นความเป็นไตรลักษณ์ได้..เห็นทุกข์ได้...ก็เป็นเหตุใกล้ยิ่งแล้ว...แต่ต้องเห็นเหตุคือปฏิจจสมุปบาทด้วย...อริยะสัจจ4.จึงจะสมบูรณ์..


ในสามัญญลักษณะ นั้น มีอนัตตา ซึ่งเป็นสัจจะความจริงของการไม่มีสิ่งใดมีตัวตนเป็นเอกเทศ อันทำให้อัตตวาทุปาทานนั้นหมดสิ้นไป มีแต่พระศาสดาอรหันตสัมมสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่ประกาศได้ครับ
อุกทกดาบสรามบุตร และอาฬรดาบส ไม่มีทางเห็นอนัตตาครับ

รู้ได้อย่างไร
มีพระบันลือสีหนาทประกาศไว้ในพระสูตรเป็นหลักฐานครับ จึงแน่ใจได้ว่า อนัตตา เป็นลักษณะที่มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ตรัสรู้และประกาศได้ครับ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
Quote Tipitaka:
[๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔ อย่างเหล่านี้. ๔ อย่างเป็นไฉน? คือ กามุปาทาน
ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน. ......แล้ว มิใช่สภาพนำออก
จากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่อันผู้รู้เองโดยชอบประกาศไว้.
[๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นแล เป็นผู้มีวาทะว่า
รอบรู้อุปาทานทุกอย่าง ปฏิญาณอยู่ ย่อมบัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ ย่อม
บัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน ย่อมบัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน ย่อมบัญญัติความรู้สีลัพพัตตุ-
*ปาทาน ย่อมบัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในศาสดาใด
ความเลื่อมใสนั้น เรากล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความเลื่อมใสในธรรมใด ความเลื่อมใสนั้น เรา
กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความกระทำให้บริบูรณ์ในศีลใด ข้อนั้น เรากล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ
ความเป็นที่รักและน่าพอใจในหมู่สหธรรมิกใด ข้อนั้น เรากล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ในพระ-
*ธรรมวินัยเห็นปานนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนั้น เป็นความเลื่อมใส
ในธรรมวินัยอันศาสดากล่าวดีแล้ว ประกาศดีแล้ว เป็นสภาพนำออกจากทุกข์ เป็นไปเพื่อความ
สงบอันท่านผู้รู้เองโดยชอบประกาศแล้ว.


หากไม่ตรัสรู้ เห็นปฏิจสมุปปบาท หรืออิทัปปัจยตา แล้วก็ไม่อาจเห็นอนัตตาได้เลยครับ
ซึ่งเวลาพระพุทธองค์แสดงความรอบรู้ใน อุปาทานทั้งสี่ ครบถ้วนบริบูรณ์ พระองค์แสดงโดยลักษณะของปฏิจสมุปบาทธรรมครับ

Quote Tipitaka:
[๑๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง อุปาทาน ๔ เหล่านี้ มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุ
เกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? อุปาทาน ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นต้นเหตุ
มีตัณหาเป็นเหตุเกิด มีตัณหาเป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหานี้เล่า
มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุ เกิดมีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? ตัณหามีเวทนา
เป็นต้นเหตุ มีเวทนาเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นกำเนิด มีเวทนาเป็นแดนเกิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เวทนานี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด?
เวทนามีผัสสะเป็นต้นเหตุ มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีผัสสะเป็นกำเนิด มีผัสสะเป็นแดนเกิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสะนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด? ผัสสะมีสฬายตนะเป็นต้นเหตุ มีสฬายตนะเป็นเหตุเกิด มีสฬายตนะ
เป็นกำเนิด มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สฬายตนะนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ
มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สฬายตนะ
มีนามรูปเป็นต้นเหตุ มีนามรูปเป็นเหตุเกิด มีนามรูปเป็นกำเนิด มีนามรูปเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นามรูปนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น-
*แดนเกิด? นามรูปมีวิญญาณเป็นต้นเหตุ มีวิญญาณเป็นเหตุเกิด มีวิญญาณเป็นกำเนิด มีวิญญาณ
เป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไร
เป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? วิญญาณมีสังขารเป็นต้นเหตุ มีสังขารเป็นเหตุเกิด มีสังขาร
เป็นกำเนิด มีสังขารเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? สังขารมีอวิชชาเป็นต้นเหตุ มีอวิชชา
เป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด มีอวิชชาเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ภิกษุ
ละอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว เมื่อนั้น ภิกษุนั้น เพราะสำรอกอวิชชาเสียได้เพราะวิชชา
บังเกิดขึ้น ย่อมไม่ถือมั่นกามุปาทาน ย่อมไม่ถือมั่นทิฏฐุปาทาน ย่อมไม่ถือมั่นสีลัพพัตตุปาทาน
ย่อมไม่ถือมั่นอัตตวาทุปาทาน เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตน
นั่นเทียว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ดังนี้.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2015, 17:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2015, 21:52
โพสต์: 32

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เข้ามาดูกระทู้นี้ และมีความเห็นต่างในบางเรื่องบางประการ
nongkong เขียน:
...
2.สังขารขันธ์ คือ ส่วนของความคิด การใช้ความคิด จะคิดในใจรู้แค่คนเดียว รึจะคิดแล้วบอกให้คนอื่นรู้ ก็ไม่ว่ากัน ซึ่งในทางวิทยาศาตร์สังขารขันธ์คือ ระบบการทำงานของสมอง..

อันนี้ต่างจากที่ผมเข้าใจนะ เพราะ ที่ผมเข้าใจคือ สังขารมี 3 ประการ คือ กายสังขาร วจีสังขาร และจิตตสังขาร
กายสังขารคือส่วนที่เกี่ยวข้องกับกาย ถ้าเทียบกับร่างกายคนเราก็คือ อวัยวะทั้งหลายที่ประกอบกันเป็นรูป รวมทั้งลมหายใจด้วยเนื่องจากเกี่ยวข้องกับกาย สัมผัสกับกาย
วจีสังขาร คือคำพูด รวมทั้งการคิด (การตรึก - วิตก) และการวิเคราะห์ (การตรอง - วิจารณ์)
สัญญาและเวทนาเป็นจิตตสังขารเพราะเป็นธรรมที่เนื่องในจิต อยู่กับจิต
ซึ่งจากความหมายที่คุณให้มา มันตรงอยู่ข้อเดียวในวจีสังขาร
ลองเข้าไปศึกษา "จูฬเวทัลลสูตร" ดูครับ คิดว่าเรื่องสังขารอาจมีในอีกหลาย ๆ พระสูตรด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2015, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
คุณเช่นนั้น..ยังมองเห็นเป็นก้อน ๆ 3 ก้อน..หรือคับ?

ผมเห็นพระไตรลักษณะ...มันคือก้อนเดียว...แยกเป็นเอกเทศไม่ได้

เมื่อเห็นอาการอนิจจังของสรรพสิ่ง....ก็ย่อมเห็นความไม่มีตัวตนที่แน่นอนของสรรพสิ่งนั้นๆไปด้วย
เมื่อเห็นอาการทุกขังของสรรพสิ่ง....ก็ย่อมเห็นความไม่มีตัวตนที่แน่นอนของสรรพสิ่งนั้นๆไปด้วย
เมื่อเข้าใจความเป็นอนัตตาในสรรพสิ่งใด..ก็ย่อมเห็นอาการอนิจจัง....อาการทุกขัง...ของสรรพสิ่งนั้นๆไปด้วย

อาการทั้ง3 เป็นก้อนเดียวกัน..แยกเป็นเอกเทศไม่ได้
..ก็เหมือนงู....มีหาง...มีลำตัวงู...มีหัว...รวมเรียกว่างู...แม้ตัดหางงู..ตัวงู..หัวงู...นำมาเรียงต่อๆกัน..ก็ไม่เรียกว่างู....เพราะงูมันตายไปแล้ว..เป็นงูไม่ได้

ผมจะอุปมานะครับ
ชิวิตมนุษย์เรา มีขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มาประชุมกันอยู่มาประกอบกันอยู่

แต่ละขันธ์ ก็มีลักษณะแตกต่างกัน แยกลักษณะออกจากกัน แต่ก็มาประชุมรวมกันอยู่

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เป็นสามัญญลักษณะของ สังขตะธรรมหนึ่งๆ
โดย แต่ละลักษณะก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเช่นกันครับ
ไม่ได้กล่าวว่าลักษณะหนึ่งจะเป็นผลอันมีอีกลักษณะหนึ่งเป็นเหตุครับ
จะไม่กล่าวว่า อนิจจังเป็นเหตุ โดยมีทุกขังเป็นผลของอนิจจัง
จะไม่กล่าวว่า ทุกขังเป็นเหตุ โดยมีอนิจจังเป็นผลของทุกขัง
จะไม่กล่าว อนัตตา เป็นเหตุ โดยมี อนิจจัง หรือทุกขังเป็นผล
จะไม่กล่าว อนิจจัง หรือทุกขังเป็นเหตุ โดยมีอนัตตาเป็นผล

การทำความเข้าใจลักษณะของสังขตะธรรม แต่ละอย่างๆ ก็จะเข้าใจธรรมชาติของสังขตะธรรมครับ

ท่านเช่นนั้น ยังไม่รู้หรือค่ะว่า เวลาเกิดญาณที่รู้ลงพระไตรลักษณ์ มันจะเกิดลักษณะ 3 ประการ ขึ้นใจจิต เห็นความไม่เที่ยงในขันธ์ เห็นว่าตั้งทนอยู่ไม่ได้ มีทุกข์บีบคั้น และประจักษ์ อนัตตา.. คุนน้องไม่แปลกใจเลย ที่ท่านเห็นแย้งเรื่องไตรลักษณ์ กับท่านพุทฎีกา พี่โฮฮับ ท่านกบ รวมถึงคุนน้องด้วย
ทุกคนสภาะตรงกัน ยกเว้นท่านเช่นนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2015, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
nongkong เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
nongkong เขียน:
ท่านเช่นนั้น ถาม


อ้างคำพูด:
หากเป็นอย่างนั้น อนัตตาก็ เป็นสิ่งเที่ยง ดำรงอยู่ในขันธ์ 5 หรือเปล่า?

การเข้าไปรู้ในสภาวะนั้น จะเห็นว่า ขันธ์5 เป็นสิ่งที่ไม่สามารถยึดไว้ได้ การเห็นอนัตตาย่อมไร้ ตัวตน ไม่มีตัวเราในขันธ์ใดขันหนึ่ง และพระพุทธองค์ไม่สอนว่า อนัตตา เป็นสิ่งที่เที่ยง ดำรงค์อยู่ในขันธ์5 ตรวจสอบกับพระสูตรที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ด้วยค่ะ

เมื่อเห็นอนัตตา ย่อมไร้ ตัวตน ไม่มีตัวเราในขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง
ขันธ์ 5 เป็นสิ่งสูญ ไม่มีสิ่งใดเลยในขันธ์ 5 หรือครับ?

เมื่อเห็นอนัตตา ไม่ใช่ไร้ตนตัวแบบว่างเปล่าสูญนะค่ะ แต่เห็นว่า เราไม่มี เราไม่เป็น เราไม่ใช่ ในขันธ์
แต่ขันธ์5 ก็ยังดำเนินอยู่ ดำรงค์อยู่ ตามกฏอิทิปปัจยตา ยกตัวอย่าง เราต้องกิน เพราะเรามีรูปขันธ์ เราไม่กิน เราทุกข์มั้ย ถ้าไม่มีอาหาร รูปขันธ์ก็ตั้งทนอยู่ไม่ได้
แต่เราไม่ได้เข้าไปยึด ว่าเราหิว เราต้องกิน เพื่อร่างกายเรา ตัวตนของเรา แล้วมันบังคับได้ไหมล่ะ ค่ะ ควบคุมให้ไม่กินได้ไหม เพราะเข้าไปรู้อย่างนี้ ก็ประจักษ ลง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.. คุนน้องรู้เช่นนี้

คุณน้องบอกว่าการที่ขันธ์ 5 ดำเนินอยู่ เราต้องกิน เพราะเรามีรูป เราจึงต้องกิน เพื่อร่างกายเรา
และคุณน้องก็บอกว่า อนัตตา ไม่ใช่ไร้ตัวตนแบบว่างเปล่าสูญ แต่เห็นว่าเราไม่มี เราไม่เป็น.....

เอ๊ะ มันยังไงกันแน่ครับ

ท่านเช่นนั้น อย่าทำนิสัยแบบนี้สิค่ะ คุนน้องอธิบายไว้ชัดแล้ว แต่ท่านกลับไม่ยอมรับรู้เข้าใจ ทั้งที่ถ้าท่านเป็นนักปฏิบัติ ท่านต้องดูออกอยู่แล้วว่า คุนน้องใช้บัญญัติเทียบสภาวะ เป็นไปในทางปรมัตถ์ เช่นไร..คืออ่านดูก็นึกออกแล้ว แต่ยังตัดเอาข้อความบางท่อนมา แล้วมาแกล้งถามคุนน้องเล่นๆ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 54 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร