วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 23:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 29 ก.ค. 2016, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผัสสะ



หากกำลังทำความเพียรอยู่
จิตมีวิตก วิจารณ์ ถึงสิ่งใดก็ตาม

หากความนึกคิดที่เกิดขึ้น ไปหาอดีตบ้าง หาอนาคตบ้าง
เพลิดเพลินกับความคิด ไม่มีความรู้สึกรำคาญแต่อย่างใด

สภาพธรรมนี้ คือ ถูกโมหะครอบงำ ตัณหาเกิด
จึงเพลิดเพลินกับความนึกคิด ที่ไปหาอดีตบ้าง อนาคตบ้าง




หากความนึกคิดที่เกิดขึ้น ไปหาอดีตบ้าง หาอนาคตบ้าง
ความนึกคิดที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกรำคาญ
ประมาณว่า จะคิดอะไรนักหนา

อาการที่เกิดขึ้น ที่มีลักษณะแบบนี้ เรียกว่า ฟุ้งซ่าน
เพราะซ่านไปในอารมณ์ จึงทำให้เกิดความรำคาญ





หากความนึกคิดที่เกิดขึ้น ไปหาอดีตบ้าง หาอนาคตบ้าง
ถ้ากำหนดรู้ว่ามีความนึกคิดไปอดีตบ้าง อนาคตบ้าง
พิจรณาว่า เป็นธรรมดาของเหตุและปัจจัยที่ยังมีอยู่
ไม่เอามาเป็นอารมณ์ แค่รู้ว่ามีเกิดขึ้น

ความนึกคิดที่เกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง เกิดก็เพราะเหตุ

ดับหายไปเอง ตามเหตุปัจจัยของสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้น


จิตย่อมตั้งมั่นเอง ตามเหตุปัจจัย
โดยไม่ต้องพยายามกระทำเพื่อให้จิตเกิดความตั้งมั่น แต่อย่างใด

===========================

[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
วิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์

เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ

========================




จริงๆแล้ว ตัวที่เป็นปัญหา คือ ตัวตัณหา ความอยากให้ใจสงบ
พอกำหหนดว่า คิดหนอ รู้หนอ มันก็ดับหายไปด้วยกำลังของการบริกรรม

พอคำบริกรรมหาย ความนึกคิดก็กลับมาอีกแล้ว
เมื่อไปจดจ่ออยู่กับความนึกคิดตรงนี้ จึงทำให้เกิดความรำคาญ
ความอยากให้หาย จึงทำให้เกิดเป็นทุกข์

การคิดในสิ่งที่น้อมเองว่า คิดไม่ดี

เช่น คิดปรามาสพระพุทธเจ้า
นี่ก็ทำให้เกิดความฟุ้งซ่านได้
เพราะถือมั่นกับคำว่า ไม่ดี อกุศล

แท้จริงแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้น ที่เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
ล้วนเป็นเหตุและปัจจัยที่มีอยู่ของผู้นั้น กับผัสสะที่เกิดขึ้น
เป็นปัจจัยให้เกิดผลกระทบทางใจ

เพียงตั้งใจทำความเพียรต่อเนื่อง
ความนึกคิดที่ติดข้องสิ่งใดอยู่ จะค่อยๆหายไป
เมื่อยังมีเหตุปัจจัยอยู่ ก็มีความนึกคิดใหม่ เกิดขึ้นแทน

ที่คิดว่า หายไปแล้ว มันแค่หายไปชั่วระยะหนึ่ง
วันเวลาผ่านไป จนลืมไปว่า ไม่เคยมีความนึกคิดนี้ๆ เกิดขึ้น
สิ่งที่เคยมีเกิดขึ้น คิดว่า ไม่มีแล้ว หายไปหมดแล้ว
วันดีคืนดี กลับมาโชว์ตัวหราอีกครั้ง

--------------------------------

สภาพธรรมที่ละเอียดขึ้นไปอีก



อนุรุทธสูตรที่ ๒

[๕๗๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่
อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว

จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกล่าวว่า ขอโอกาสเถิดท่านสารีบุตร
ผมตรวจดูตลอดพันโลกด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์

ก็ผมปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไม่หลงลืม
กายสงบระงับไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่น เป็นเอกัคคตา
เออก็ไฉนเล่า จิตของผมจึงยังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น

ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรท่านอนุรุทธะ การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า
เราตรวจดูตลอดพันโลก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ดังนี้
เป็นเพราะมานะของท่าน

การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า ก็เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน
ตั้งสติมั่นไม่หลงลืม กายสงบระงับไม่ระส่ำระสาย
จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตาดังนี้ เป็นเพราะอุทธัจจะของท่าน

ถึงการที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า เออก็ไฉนเล่า
จิตของเรายังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้
ก็เป็นเพราะกุกกุจจะของท่าน เป็นความดีหนอ

ท่านพระอนุรุทธะจงละธรรม ๓ อย่างนี้
ไม่ใส่ใจธรรม ๓ อย่างนี้ แล้วน้อมจิตไปในอมตธาตุ

ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะต่อมาได้ละธรรม ๓ อย่างนี้
ไม่ใส่ใจถึงธรรม ๓ อย่างนี้ น้อมจิตไปในอมตธาตุ

ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว
เป็นผู้ไม่ประมาท มีตนอันส่งไปอยู่

ไม่นานนัก ได้ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม
ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องกันนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ก็แหละ ท่านพระอนุรุทธะ ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 29 ก.ค. 2016, 10:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสต์ เมื่อ: 25 ส.ค. 2016, 23:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิล

กล่าวในแง่ของ ปริยัติ



ศีล (บาลี: สีล) คือข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนา
เพื่อควบคุมความประพฤติทางกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงามมีความปกติสุข


เพื่อให้เป็นกติกาข้อห้ามที่ใช้แก้ปัญหาขั้นพื้นฐาน 5 ปัญหาหลัก
ซึ่งทำให้เกิดความสงบสุข และ ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันในสังคม

ความหมายของศีลนั้นแปลได้หลายความหมาย โดยศัพท์แปลว่า
ความปกติกายวาจา กล่าวคือความปกติตามระเบียบวินัย,

ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ,

ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว,

ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น,

ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ


และยังมักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า “อธิศีลสิกขา” อันได้แก่
ข้อปฏิบัติขั้นต้นเพื่อการฝึกตนในทางพระพุทธศาสนาด้วย.








ศิล กล่าวในแง่ของสภาวะ(สิ่งที่เกิดขึ้น)

เหตุปัจจัยของการเกิด สภาวะศิล


๑.ตั้งใจทำให้เกิดขึ้น ๑

๒.ไม่ได้ตั้งใจ ทำให้เกิดขึ้น(ไม่รู้ปริยัติ)



๑. ตั้งใจทำให้เกิดขึ้น ได้แก่ การสมาทาน เช่น ข้าพเจ้าขอสมาทาน ….

๒. ไม่ได้ตั้งใจ ทำให้เกิดขึ้น แต่ เกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย ได้แก่

เมื่อมีสิ่งมากระทบ หรือ ผัสสะเกิดขึ้นทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เป็นปัจจัยให้ มีความรู้สึกยินดี/ยินร้าย เกิดขึ้น(ความรู้สึกนึกคิด)

โดยมี ตัณหาหรือกิเลส เป็นแรงผลักดัน ให้เกิดการกระทำ เช่น
ทางความคิด เรียกว่า มโนกรรม

แต่ ไม่ได้สร้างเหตุออกไปทาง วาจา(วจีกรรม) ทางกาย(กายกรรม)
ตามความรู้สึก นึกคิด ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ

เหตุของการกระทำเช่นนี้ เป็นเหตุให้ สภาวะศิล เกิดขึ้นเอง
ตามความเป็นจริง ตามเหตุปัจจัย





ในดี มีเสีย ในเสียมีดี


ตราบใด ที่ยังมีกิเลส ๒ สิ่งนี้ เกิดขึ้น เป็นคู่เสมอๆ ได้แก่ โลกธรรม ๘ คือ
ดีกับเสีย กล่าวคือ ในดี มีเสีย ในเสียมีดี


๑. การตั้งใจสมาทาน

เหตุดี ของการตั้งใจสมาทานศิล เป็นเหตุให้ เป็นผู้สังวร สำรวม ระวัง
จะทำอะไรก็มีความตั้งใจทำ เป็นผู้มีสัจจะ เป็นผู้มีสุคติภพ อย่างแน่นอน

เหตุเสีย ของการตั้งใจสมาทาน แต่ทำไม่ได้ ตามที่ได้สมาทานไว้ เป็นเหตุให้
เป็นคนเหลาะแหละ ผลัดวันประกันพรุ่ง ไม่มีสัจจะ






๒. การไม่ได้ตั้งใจสมาทาน

เหตุดี ของการเกิดสภาวะศิล ที่มีเกิดขึ้น ตามความเป็นจริง (ตามเหตุปัจจัย)

๑. เป็นเหตุให้ มรรค มีองค์ ๘ เกิดขึ้น (ตามเหตุปัจจัย)

๒. เป็นเหตุให้ ภพชาติ ณ ปัจจุบันชาติ สั้นลง (ตามเหตุปัจจัย)

๓. เป็นเหตุให้เป็นผู้มีสติ สัมปชัญญะดี (ตามเหตุปัจจัย)

๔. เป็นเหตุให้ สมาธิเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย (ตามเหตุปัจจัย)

๕. เป็นเหตุให้ หิริ โอตตัปปะ มีกำลังมากขึ้น
เป็นเหตุให้ เป็นผู้มีความละอาย และเกรงกลัวต่อบาป ทั้งต่อหน้า และลับหลัง

๖. เป็นเหตุให้ ชีวิต ความเป็นอยู่ ดีขึ้น (ตามเหตุปัจจัย)

๗. เป็นเหตุให้ เกิดปัญญา คือ การเห็นตามความเป็นจริง ได้แก่
สภาวะไตรลักษณ์ ที่มีเกิดขึ้น ตามความเป็นจริง (ตามเหตุปัจจัย)

๘. เป็นเหตุให้ เกิดสภาวะ จิตปล่อยวาง ตามความเป็นจริง (ตามเหตุปัจจัย)

๙. เป็นเหตุให้ เห็นตามความเป็นจริงของทุกสรรพสิ่ง ได้แก่
สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้น ย่อมดับลงไป เป็นธรรมดา (ตามเหตุปัจจัย)

๑๐. เป็นเหตุให้ เป็นผู้มี สุคติภพ อย่างแน่นอน (ตามเหตุปัจจัย)

๑๑. เป็นเหตุของ การเวียนว่าย ในวัฏฏสงสาร สั้นลง (ตามเหตุปัจจัย)




เหตุเสีย

ถ้าหากยังยอมรับตามความเป็นจริง ยังไม่ได้ ผลคือ
ความทุกข์ใจ ที่เกิดขึ้นเนืองๆ ในช่วงแรกๆ

แต่เมื่อใช้ขันติ หรือ ความอดทนอย่างต่อเนื่อง
ทุกๆสภาวะที่กล่าวมา จะเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 25 ส.ค. 2016, 23:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิล


นิสสายวรรคที่ ๑


๑. กิมัตถิยสูตร
[๒๐๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศีลที่เป็นกุศลมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ศีลที่เป็นกุศล มีความไม่เดือดร้อนเป็นผล
มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความไม่เดือดร้อนมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ก็ความไม่เดือดร้อนมีความปราโมทย์เป็นผล มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความปราโมทย์มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ความปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปีติมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัสสัทธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์
พ. ดูกรอานนท์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สุขมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ยถาภูตญาณทัสนะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ยถาภูตญาณทัสนะมีนิพพิทาเป็นผล มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นิพพิทามีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ นิพพิทามีวิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็วิราคะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ วิราคะมีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์

ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลมีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์
ความไม่เดือดร้อน มีความปราโมทย์เป็นผล มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์
ความปราโมทย์ มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์
ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์
ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์
สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์
สมาธิมียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์
ยถาภูตญาณทัสนะมีนิพพิทาเป็นผล มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์
นิพพิทามี วิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์
วิราคะมีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์ด้วยประการดังนี้แล

ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อม ยังความเป็นพระอรหันต์
ให้บริบูรณ์โดยลำดับ ด้วยประการดังนี้แล ฯ


จบสูตรที่ ๑

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 26 ส.ค. 2016, 11:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๖. อากังเขยยสูตร

ว่าด้วยข้อที่พึงหวังได้ ๑๗ อย่าง

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 024&Z=1135


[๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่เถิด ดังนี้

ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล

หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง

ประกอบด้วยวิปัสสนา

พอกพูนสุญญาคาร.










ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล


หมายเหตุ;


หมายถึง การหยุดสร้างเหตุนอกตัว


เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น(สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต)
สิ่งที่เกิดขึ้น(ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เป็นเรื่องของ กรรมเก่า(การกระทำที่เคยกระทำไว้ในอดีต)
ส่งมาให้รับผล ในรูปแบบของสิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต
(วิบากกรรม /เวทนา ที่มีเกิดขึ้น)



ให้โยนิโสมนสิการ(กำหนดรู้)
ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทาง กาย วาจา(ไม่สานต่อ)
เป็นการดับรอบเฉพาะตน(ดับเหตุปัจจัยของการเกิด)

ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว(กรรมใหม่/วจีกรรม กายกรรม ไม่มี)

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว(มรรค-อริยมรรค มีองค์ 8)

กิจที่ควรทำ(หยุด) ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี








หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง



หมายเหตุ;

ทำจิตให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิในระดับฌาน(มิจฉาสมาธิ-สัมมาสมาธิ)

มิจฉาสมาธิ
สมาธิที่ขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น ช่วยกดข่มกิเลสไว้
(สมาธิบดบังกิเลส)

สัมมาสมาธิ
สมาธิที่มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น เป็นเหตุปัจจัยให้
รู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิตธรรม







ประกอบด้วยวิปัสสนา


หมายเหตุ;

ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นทั้งในการดำเนินชีวิต
และขณะทำความเพียร

เมื่อกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ) เนืองๆ

สภาพธรรมที่มีชื่อเรียกว่า วิปัสสนา
(ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา/ไตรลักษณ์)
ย่อมมีเกิดขึ้นเองตามเหตุปัจจัย

เมื่อใจน้อมลงสู่วิปัสสนา(ไตรลักษณ์)เนืองๆ

หากมีผัสสะใดเกิดขึ้น
ใจย่อมน้อมลงสู่วิปัสสนาเอง โดยไม่ต้องคิดพิจรณา

เป็นเหตุปัจจัยให้จิตเกิดการปล่อยวาง จากผัสสะที่มีเกิดขึ้น
โดยไม่ต้องคิดพิจรณาเพื่อให้เกิดการปล่อยวาง




พอกพูนสุญญาคาร


หมายเหตุ;

อยู่ในเรือนว่าง

สุญญตา


เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่า
หมายถึง สุญญตา หรือ สภาวะที่ปราศจาก ความมีตัวตน เข้าไปเกี่ยวข้อง กับสิ่งที่เกิดขึ้น

1. ที่มีเกิดขึ้นในการดำเนินชีวิต
ได้แก่ โยนิโสมนสิการ(การกำหนดรู้)

2. ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ
เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของ สัมมาสมาธิ
คือ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่(รูปฌาน-อรูปฌาน)

รูปฌาน รูปยังมีอยู่ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)

อรูปฌาน รูปไม่ปรากฏ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)


หากเป็นมิจฉาสมาธิ(สมาธิที่ขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม)
วิญญาณ/ธาตุรู้ จะมีเกิดขึ้นไม่ได้เลย
จนกว่าสมาธิจะคลายตัวหรืออ่อนกำลังลง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 02 ก.ย. 2016, 07:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 30 ส.ค. 2016, 00:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรม



ภิกษุทั้งหลาย!
ใครพึงกล่าวว่า คนทำกรรม อย่างใดๆ
ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้

เมื่อเป็น อย่างนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มีไม่ได้
ช่องทาง ที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ไม่ปรากฏ




ส่วนใครกล่าวว่า คนทำกรรมอันจะพึงให้ผลอย่างใดๆ
ย่อมเสวยผลของ กรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้


เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ย่อมมีได้
ช่องทางที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ก็ย่อมปรากฏ.






หมายเหตุ;


ใครพึงกล่าวว่า คนทำกรรมใดๆ = หากใครกล่าวว่า คนกระทำสิ่งใด
(กุศล อกุศล ดี ชั่ว ถูก ผิด ตามความรู้สึกนึกคิดของตน)

ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ = ย่อมได้รับผล
(บาป บุญ กุศล อกุศล ดี ชั่ว ถูก ผิด ตามความรู้สึกนึกคิดของตน)


เมื่อเป็นอย่างนั้น = เมื่อมีความเชื่อแบบนั้นแล้ว

การประพฤติพรหมจรรย์ ก็มีมิได้ = การประพฤติ
ปฏิบัติตามมมรค-อริยมรรค มีองค์ ๘ ก็มีเกิดขึ้นไม่ได้

ช่องทาง ที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ = วิธีการที่จะกระทำเพื่อดับเหตุปัจจัยของการเกิด

โดยชอบ = โดยมีปัญญาชอบ(สัมมาทิฏฐิ)

ก็ย่อมไม่ปรากฏ =ก็ย่อมไม่มีเกิดขึ้น







ส่วนใครกล่าวว่า คนทำกรรมอันจะพึงให้ผลอย่างใดๆ = หากใครกล่าวว่า คนกระทำสิ่งใด
(ตามที่เขาได้กระทำ ตามความเป็นจริง)

อันจะพึงให้ผลอย่างใดๆ = จะพึงให้ผลอย่างใดๆ

ย่อมเสวยผลของกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ = ย่อมได้รับผล
ตามที่เขาได้กระทำ ตามความเป็นจริง ตามสิ่งที่คนได้กระทำ
(ไม่ใช่ตามความรู้สึกนึกคิดหรือตามคำกล่าวของผู้อื่นว่า เป็นการทำ บาป บุญ กุศล อกุศล ดี ชั่ว ถูก ผิด) )


เมื่อเป็นอย่างนั้น = เมื่อมีความเชื่อแบบนั้นแล้ว

การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมมีได้ = การประพฤติ
ปฏิบัติตามมมรค-อริยมรรค มีองค์ ๘ ย่อมมีเกิดขึ้นได้

ช่องทางที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ = วิธีการที่จะกระทำเพื่อดับเหตุปัจจัยของการเกิด

โดยชอบ = โดยมีปัญญาชอบ(สัมมาทิฏฐิ)

ก็ย่อมปรากฏ = ย่อมมีเกิดขึ้นได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 01 ก.ย. 2016, 22:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญสมาธิ


ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง.
รู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งอะไรเล่า ?

รู้ได้ตามเป็นจริง ซึ่ง ความจริงอันประเสริฐ ว่า

“นี้เป็นทุกข์,

นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์,

นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์

และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์;” ดังนี้.


ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง.






ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้
พวกเธอพึง ทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า

“นี้เป็นทุกข์ ,

นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์,

นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,

นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์; ” ดังนี้เถิด.


– มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๐/๑๖๕๔.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 02 ก.ย. 2016, 13:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะ


ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เป็นสมาธิ





สมถะ มี ๓ ชนิด


๑. มิจฉาสมาธิ


๒. สัมมาสมาธิ


๓. สัมมาวิมุติ (สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ)










๑. มิจฉาสมาธิ /รูปฌานและอรูปฌาน

สมาธิที่ขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่(รูปฌาน-อรูปฌาน)
เป็นเหตุปัจจัยให้ ไม่สามารถรู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิต ธรรม ได้อย่างต่อเนื่อง
กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น ช่วยกดข่มกิเลสไว้ หรือที่เรียกว่า "สมาธิหัวตอ"
(สมาธิบดบังกิเลส)










๒. สัมมาสมาธิ/รูปฌานและอรูปฌาน

สมาธิที่มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่(รูปฌาน-อรูปฌาน)
กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น เป็นเหตุปัจจัยให้
สามารถรู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิตธรรม ได้อย่างต่อเนื่อง(ญาณ 16)


รูปฌาน รูปยังมีอยู่ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)

อรูปฌาน รูปไม่ปรากฏ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)


หากเป็นมิจฉาสมาธิ
วิญญาณ/ธาตุรู้ จะมีเกิดขึ้นไม่ได้เลย
จนกว่าสมาธิจะคลายตัวหรืออ่อนกำลังลง








ข้อปฏิบัติทำให้มิจฉาสมาธิ ให้กลายเป็น สัมมาสมาธิ


วิธีที่ ๑ ปรับอินทรีย์

ให้สังเกตุเวลาจิตเป็นสมาธิว่า มีลักษณะอาการเหล่านี้มีเกิดขึ้นหรือไม่

เมื่อสติกับสมาธิที่มีเกิดขึ้น ไม่ล้าหน้ามากกว่ากันเกินไป
เป็นเหตุปัจจัยให้ สัมปชัญญะ(ความรู้สึกตัว) มีเกิดขึ้น
เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิ(รูปฌานและอรูปฌาน)

เป็นเหตุปัจจัยให้ วิญญาณ(ธาตุรู้) มีเกิดขึ้น

รูปฌาน รูปยังมีอยู่ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)

อรูปฌาน รูปไม่ปรากฏ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)



หากลองปรับอินทรีย์ดูแล้ว
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ยังคงมีอาการดิ่ง ขาดความรู้สึกตัวเหมือนเดิม

เมื่อจิตเริ่มคลายตัวจากสมาธิ ให้ใช้วิธีที่ 2 ต่อ





วิธีที่ ๒. โยนิโสมนสิการ (การกำหนดรู้)

ขณะจิตเป็นสมาธิ ขาดความรู้สึกตัว

เมื่อกำหนดสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นเนืองๆ

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมมีเกิดขึ้นเองตามเหตุและปัจจัย

เป็นเหตุปัจจัยให้ สัมปชัญญะ(ความรู้สึกตัว) มีเกิดขึ้น
เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิ(รูปฌานและอรูปฌาน)

เป็นเหตุปัจจัยให้ วิญญาณ(ธาตุรู้) มีเกิดขึ้น

รูปฌาน รูปยังมีอยู่ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)

อรูปฌาน รูปไม่ปรากฏ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)



วิธีการตรวจสอบความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่


๓. ญาณ ๑๖ (ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ ในสัมมาสมาธิ)

มีไว้ใช้สำหรับสอบอารมณ์กรรมฐานของผู้ปฏิบัติ
เพื่อดูความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิว่า
มีความรู้สึกตัวเกิดขึ้นแล้วหรือยัง

ไว้ใช้ดูตรงนี้ ดูผัสสะต่างๆที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ เช่น
รูปที่ปรากฏ
ลิ้นที่ลิ้มรส
จมูกที่ได้กลิ่น
เสียงที่ได้ยิน
กายที่สัมผัส
วิญญาณ(ธาตุรู้) ที่มีเกิดขึ้น(ใจที่รู้)


เช่น เวทนาทางกายที่มีเกิดขึ้น(อาการปวด)
รู้ชัดในเวทนาที่เกิดขึ้น

ตั้งแต่เริ่มเกิด

ขณะกำลังเกิด

ขณะกำลังคลายตัว

ขณะที่ดับหายไปในที่สุด









๓. สัมมาวิมมุติ

ผัสสะ

สิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

กำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)
ไม่สร้างเหตุออกไป(กาย วาจา)
ตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น ขณะนั้นๆ

จิตเป็นสมาธิชั่วขณะหนึ่ง(สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ)
แต่นามกาย ไม่ถูกต้องวิโมกข์ทั้ง ๘
คือ เป็นผู้ไม่ได้ฌาน

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกอย่างไร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
มีสัมมาญาณะ มีสัมมาวิมุติ

แต่ไม่ถูกต้องวิโมกข์ ๘
ด้วยนามกายอยู่



"ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่"
แต่ว่าไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วย นามกาย




[๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น
สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน


ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ

ผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฐิได้
ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็นอเนกบรรดามี

เพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัยนั้น
ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฐิสลัดได้แล้วและกุศลธรรมเป็นอเนก

ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฐิเป็นปัจจัย ฯ

ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสังกัปปะได้...

ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวาจาได้...

ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉากัมมันตะได้...

ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาอาชีวะได้...

ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวายามะได้...

ผู้มีสัมมาสติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสติได้...

ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้...

ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาญาณะได้...

ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้
ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็นอเนกบรรดามี

เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น
ก็เป็นอันผู้มีสัมมาวิมุตติสลัดได้แล้ว
และกุศลธรรมเป็นอเนก

ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย[/quote]










walaiporn เขียน:
เจริญสมาธิ


ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง.
รู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งอะไรเล่า ?

รู้ได้ตามเป็นจริง ซึ่ง ความจริงอันประเสริฐ ว่า

“นี้เป็นทุกข์,

นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์,

นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์

และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์;” ดังนี้.


ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง.






ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้
พวกเธอพึง ทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า

“นี้เป็นทุกข์ ,

นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์,

นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,

นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์; ” ดังนี้เถิด.


– มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๐/๑๖๕๔.







สมาธิในที่นี้หมายถึง สัมมาสมาธิ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 18 ธ.ค. 2016, 01:50, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสต์ เมื่อ: 02 ก.ย. 2016, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนา


เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น(สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต) ขณะดำเนินชีวิต
และมีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ


สิ่งที่เกิดขึ้น(ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด




ที่มีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิต

พิจารณาเห็นธรรมที่มีเกิดขึ้น ขณะนั้นๆ

โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง

โดยความเป็นทุกข์

โดยความเป็นอนัตตา




ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ

พิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น

โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง

โดยความเป็นทุกข์

โดยความเป็นอนัตตา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 26 ก.ย. 2016, 10:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีล



viewtopic.php?f=1&t=53188

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 10 ต.ค. 2016, 16:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:








ศิล ที่เป็นไปเพื่อ มรรค ผล นิพพาน




ผัสสะ



[๑๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในนิโครธาราม เมือง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่าวัปปะ เป็นสาวกของนิครนถ์
เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า

ดูกรวัปปะ บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวมด้วยวาจา สำรวมด้วยใจ
เขาฆ่าตัวนี้ กลับไปฆ่าตัวอื่น เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
ท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาไปตามบุคคลในสัมปรายภพ หรือไม่

วัปปศากยราชตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น
บุคคลกระทำบาปกรรมไว้ในปางก่อนซึ่งยังให้ผลไม่หมด
อาสวะทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพอันมีบาปกรรมนั้นเป็นเหตุ




ท่านพระมหาโมคคัลลานะสนทนากับวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ค้างอยู่เพียงนี้เท่านั้น
ครั้งนั้นแล เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น
เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้
ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า

ดูกรโมคคัลลานะ บัดนี้ เธอทั้งหลายประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร
และเธอทั้งหลายพูดอะไรค้างกันไว้ในระหว่าง

ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส
ข้าพระองค์ได้กล่าวกะวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ว่า

ดูกรวัปปะ บุคคลในโลกนี้
พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวมด้วยวาจา สำรวมด้วยใจ

เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
ท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่

เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว วัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น บุคคลกระทำบาปกรรมไว้ในปางก่อนซึ่งยังให้ผลไม่หมด
อาสวะทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพ อันมีบาปกรรมนั้นเป็นเหตุ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สนทนากับวัปปศากยราช สาวกของนิครนถ์ค้างอยู่เพียงนี้แล




ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคก็เสด็จมาถึง
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ว่า


ดูกรวัปปะ ถ้าท่านจะพึงยินยอมข้อที่ควรยินยอม และคัดค้านข้อที่ควรคัดค้านต่อเรา
และท่านไม่รู้ความแห่งภาษิตของเราข้อใด
ท่านพึงซักถามในข้อนั้นยิ่งขึ้นไปว่า ข้อนี้อย่างไร
ความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร ดังนี้ไซร้
เราพึงสนทนากันในเรื่องนี้ได้

วัปปศากยราชกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักยินยอมข้อที่ควรยินยอม
และจักคัดค้านข้อที่ควรคัดค้านต่อพระผู้มีพระภาค

อนึ่ง ข้าพระองค์ไม่รู้ความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคข้อใด
ข้าพระองค์จักซักถามพระผู้มีพระภาคในข้อนั้นยิ่งขึ้นไปว่า ข้อนี้อย่างไร
ความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร
ขอเราจงสนทนากันในเรื่องนี้เถิด พระเจ้าข้า ฯ




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน


ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ







พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น
เพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ…
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน


ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลใน สัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ







พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจาก การกระทำทางใจแล้ว
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ…
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน


ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ







พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ …
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน



ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ








พ. ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมบรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

ฟังเสียงด้วยหู…

สูดกลิ่นด้วยจมูก…

ลิ้มรสด้วยลิ้น…

ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย…

รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว

ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น

ดูกรวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้
ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน
ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ
เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลมและแดด

ครั้นผึ่งลมและแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า
โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ
เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้นั้น
มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน
ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด

ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมได้บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

ฟังเสียงด้วยหู…

สูดกลิ่นด้วยจมูก…

ลิ้มรสด้วยลิ้น…

ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย…

รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น ฯ


จบมหาวรรคที่ ๕

จบจตุตถปัณณาสก์

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 10 ต.ค. 2016, 16:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน






อุปวาณสูตร


[๗๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่ตรัสว่า ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
พระธรรมจึงชื่อว่าอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน พระเจ้าข้า ฯ



[๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุปวาณะ
ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน

อาการที่ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน อย่างนี้แล

เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ





[๘๐] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ ภิกษุลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ

[๘๑] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ
ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน

อาการที่ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล

เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ







[๘๒] ดูกรอุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายใน

อาการที่ภิกษุเป็นผู้เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้เสวยรูป
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายในอย่างนี้แล

เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ






[๘๓] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุฟังเสียงด้วยหู สูดกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ




[๘๔] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุรู้ซึ่งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน

อาการที่ภิกษุรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล

เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ



หมายเหตุ;

เวลาดู ดูจาก ผัสสะ ได้แก่
สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิตและที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ
สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 10 ต.ค. 2016, 18:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
วิปัสสนา


เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น(สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต) ขณะดำเนินชีวิต
และมีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ


สิ่งที่เกิดขึ้น(ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด




ที่มีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิต

พิจารณาเห็นธรรมที่มีเกิดขึ้น ขณะนั้นๆ

โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง

โดยความเป็นทุกข์

โดยความเป็นอนัตตา




เป็นที่มีของ "ขณิกสมาธิ" หรือ "วิปัสสนาขณิกสมาธิ"
สามารถกระทำให้แจ้งได้ซึ่ง "พระนิพพาน" ได้เช่นกัน

เกี่ยวกับการบรรลุ มรรค ผล
ไม่ขอนำมากล่าว เพราะ

เมื่อเกิดความถือมั่น ให้ความสำคัญคิดว่า เข้าถึงความเป็นนั่น เป็นนี่
ได้แก่ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์
อุปกิเลส จึงมีเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้

ส่วนผู้ใด จะติดกับดักหลุมพรางกิเลส มากน้อยแค่ไหน
ขึ้นอยู่ การสร้างเหตุนอกตัว ที่เกิดจาก ความถือมั่น ที่คิดว่าได้อะไร เป็นอะไร

หากกำหนดรู้ว่า เป็นสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยที่ยังมีอยู่
แล้วตั้งใจทำความเพียรต่อเนื่อง ย่อมหลุดออกจาก กับดักหลุมพรางของกิเลส(อุปกิเลส) อย่างแน่นอน

เมื่อพบเจอสภาวะใดๆ ที่มีเกิดขึ้นอีก(ขณะจิตเป็นสมาธิ)
อุปกิเลส ไม่มีเกิดขึ้นอย่างแน่นอน


สำหรับบางคน ที่อาจจะสงสัยว่า
แล้วอนุสัยกิเลส ที่ยังมีอยู่ล่ะ

ดูจาก ผัสสะ สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต(ตามความเป็นจริง)และที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ
สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
เป็นที่มาของ ปัจจเวกขณญาณ(การทบทวนกิเลส)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 22 ต.ค. 2016, 23:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
สมถะ


ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เป็นสมาธิ




สัมมาสมาธิ

สมาธิที่มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่(รูปฌาน-อรูปฌาน)
กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น เป็นเหตุปัจจัยให้
สามารถรู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิตธรรม ได้อย่างต่อเนื่อง(ญาณ 16)


รูปฌาน รูปยังมีอยู่ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)

อรูปฌาน รูปไม่ปรากฏ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)










ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ



เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น(สิ่งที่มีเกิดขึ้น)

สิ่งที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ
มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด









walaiporn เขียน:
วิปัสสนา


พิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น

โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง

โดยความเป็นทุกข์

โดยความเป็นอนัตตา







เมื่อมีสภาพธรรมใดเกิดขึ้น ให้โยนิโสมนสิการ(กำหนดรู้)

เมื่อกำหนดรู้เนืองๆ

สภาพธรรมที่เรียกว่า ไตรลักษณ์(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

ย่อมมีเกิดขึ้นตามเหตุและปัจจัย

อุปกิเลสต่างๆ ที่มีเกิดขึ้น
เกิดจาก อโยนิโสมนสิการ(ไม่มีการกำหนดรู้)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 22 ต.ค. 2016, 23:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


หลุมพรางกิเลส


โดยส่วนมาก ติดกับดักกิเลส(ตัณหา) เมื่อน้อมเข้าสู่
ในสิ่งที่คิดว่ามี คิดว่าเป็น คิดว่าใช่



สภาพธรรมต่างๆที่มีเกิดขึ้น
ให้กำหนดรู้

เมื่อกำหนดรู้เนืองๆ
ไม่ให้ค่า ให้ความหมายตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น


สภาพธรรม

โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง

โดยความเป็นทุกข์

โดยความเป็นอนัตตา


เมื่อเป็นดังนี้
อุปกิเลสต่างๆ ไม่สามารถมีเกิดขึ้นในใจอย่างแน่นอน


หากอโยนิโสมนสิการ
อุปกิเลสต่างๆ จึงมีเกิดขึ้นเพราะเหตุนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร