วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 16:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 15 พ.ย. 2016, 17:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอโศกะโพสต์ไว้กระทู้ไหน (ยังตามไม่พบ ไว้เจอะแล้วจะโพสต์ทีหลัง) ว่า การจัดมรรคมีองค์ ๘ เป็น ปัญญา ศีล สมาธิ กรัชกายแย้งว่า การจัดนั้น ท่านจัดเป็นสองแบบ เช่น เป็นปัญญา ศีล สมาธิด้วย จัดเป็น ศีล สมาธิ ปัญญาด้วย มีเหตุผลอย่างไร ท่านอโศกตามดูนะขอรับ :b1:


ตามหาความคิดท่านรอโศกเจอะแล้วนี่

อ้างคำพูด:
เวลาเจริญมรรค 8 จริงๆก็ต้อง ปัญญา ศีล สมาธิ คือต้องเอาปัญญานำหน้า

ศีลสมาธิเป็นกองหนุน จึงจะถึงความสำเร็จตามธรรมตามประเด็นของอริยสัจ 4 นะครับ

ลองไปตรองดูให้ดี


ศีล สมาธิ ปัญญาเป็นการเจริญเพื่อยกระดับตนเองจากปุถุชน
ขึ้นสู่กัลยาณชน


เมื่อเป็นกัลยาณชนได้แล้วจึงมาเจริญมรรค 8 คือ ปัญญา ศีล
สมาธิ เพื่อยกระดับตนเองขึ้นสู่ความเป็นอริยชน


เข้าใจลำดับแห่งธรรมถูกต้องตามสภาวธรรมที่พึงเกิดเช่นนี้ย่อมมีแต่ความเจริญรุดหน้าใกล้จะถึงฝั่งพระนิพพานมากยิ่งขึ้นและรวดเร็วครับ


viewtopic.php?f=1&t=53333&p=401591#p401591

ท่านอโศกว่ายกตนสองขั้น ครั้งแรกยกด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ยกจากปุถุชนเป็นกัลยาณชนว่า :b13:

ยกอีกทีหนึ่งอื๊ดด ด้วย ปัญญา ศีล สมาธิ เป็นอริยชนไปเลยว่างั้น :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 15 พ.ย. 2016, 20:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 15 พ.ย. 2016, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากมรรคมีองค์ 8 สู่สิกขา 3


ไตรสิกขานั้น ถือกันว่าเป็นระบบการปฏิบัติธรรมที่ครบถ้วนสมบูรณ์ มีขอบเขตครอบคลุมมรรคทั้งหมด และเป็นการนำเอาเนื้อหาของมรรคไปใช้อย่างหมดสิ้นบริบูรณ์ จึงเป็นหมวดธรรมมาตรฐาน สำหรับแสดงหลักการปฏิบัติธรรม และมักใช้เป็นแม่บทในการบรรยายวิธีปฏิบัติธรรม


ในที่นี้ขอกล่าวสรุปว่า มรรคเป็นระบบการปฏิบัติธรรมทั้งหมดในแง่เนื้อหา ฉันใด ไตรสิกขาก็เป็นระบบการปฏิบัติธรรมทั้งหมดในแง่การใช้งาน ฉันนั้น และไตรสิกขานี้แหละ ที่มารับช่วง หลักปฏิบัติ จากมรรคไปกระจายออกสู่ วิธีปฏิบัติ ในส่วนรายละเอียดอย่างกว้างขวางต่อไป

ความที่ว่ามานี้ มีความหมายและเหตุผลอย่างไร จะได้พิจารณากันต่อไป

มรรคมีชื่อเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ (อริย+อัฏฐังคิก+มัคค์) เรียกเป็นไทยว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค บ้าง อริยอัษฎางคิกมรรค บ้าง อารยอัษฎางคิกมรรค บ้าง แปลว่า ทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ ทางมีองค์ 8 ของพระอริยะ ทางมีองค์ 8 ที่ทำคนให้เป็นพระอริยะ ทางมีองค์ 8 ที่พระอริยะคือพระพุทธเจ้าทรงค้นพบ หรือมรรคอันประเสริฐ มีองค์ประกอบ 8 อย่าง

องค์หรือองค์ประกอบ 8 อย่าง ของมรรคนั้น มีดังนี้

1. สัมมาทิฏฐิ - เห็นชอบ
2. สัมมาสังกัปปะ - ดำริชอบ
3. สัมมาวาจา - วาจาชอบ
4. สัมมากัมมันตะ - กระทำชอบ
5. สัมมาอาชีวะ - เลี้ยงชีพชอบ
6. สัมมาวายามะ - พยายามชอบ
7 สัมมาสติ - ระลึกชอบ
8. สัมมาสมาธิ - จิตมั่นชอบ


มรรค มีองค์ 8 นี้ บางครั้ง เรียกกันสั้นๆว่า มรรค 8 ชวนให้บางท่านเข้าใจผิดว่า เป็นทาง 8 สาย แล้วเลยถือความหมายว่าเป็นทางหลายเส้นทางต่างหากกัน หรือทอดต่อกัน เดินจบสิ้นทางหนึ่งแล้ว จึงเดินต่ออีกทางหนึ่งเรื่อยไปจนครบทั้งหมดกลายเป็นว่า หัวข้อทั้ง 8 ของมรรคเป็นหลักการที่ต้องยกขึ้นมาปฏิบัติให้เสร็จสิ้นไปทีละข้อตามลำดับ แต่ความจริงมิใช่เช่นนั้น


คำว่า “มรรคมีองค์ 8” มีความหมายชัดเจนอยู่แล้วว่า หมายถึง ทางสายเดียว มีส่วนประกอบ 8 อย่าง
เปรียบเหมือนทางหลวงที่สมบูรณ์ ต้องมีอะไรหลายอย่างประกอบกันเข้าจึงสำเร็จเป็นถนนได้
เช่น
มีดิน กรวด ทราย หิน ลูกรัง ยาง หรือคอนกรีต เป็นชั้นลำดับขึ้นมา จนถึงผิวทาง รวมเป็นตัวถนนหรือพื้นถนน มีขอบคัน เส้นแนว ความเอียงเทของที่ลาดชัน โค้งเลี้ยว มีสัญญาณ เครื่องหมาย ป้ายบอกทิศทาง ระยะทางและสถานที่ เป็นต้น ตลอดจนแผนที่ทาง และโคมไฟในยามค่ำคืน

ถนนประกอบด้วยส่วนประกอบเหล่านี้ทั้งหมด และผู้ขับรถเดินทาง ย่อมอาศัยส่วนประกอบเหล่านี้
ทุกอย่างไปพร้อมๆกัน ฉันใด มรรคก็ประกอบขึ้นด้วยองค์ 8 ประการรวมกัน ผู้ปฏิบัติธรรม ก็ต้องใช้องค์ทั้ง 8 ของมรรคเนื่องไปด้วยกันโดยตลอด ฉันนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 15 พ.ย. 2016, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง เพื่อให้มองเห็นเป็นหมวดหมู่ อันจะช่วยเสริมความเข้าใจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ท่านจัดองค์ประกอบทั้ง 8 ของมรรคเข้าเป็นประเภทๆ เรียกว่า ขันธ์ หรือ ธรรมขันธ์ แปลว่า หมวดธรรม หรือกองธรรม มี 3 ขันธ์ หรือ 3 ธรรมขันธ์ กล่าวคือ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ และปัญญาขันธ์ * เรียกง่ายๆว่า ศีล สมาธิ ปัญญา

ทั้งนี้ โดยจัด สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เข้าเป็นหมวดศีล เหมือนดังจัดกองดินที่ก่อแน่นขึ้น พร้อมทั้งหิน กรวด ทราย วัสดุผิวจราจรที่เป็นตัวถนน หรือพื้นถนนเข้าเป็นพวกหนึ่ง

จัดสัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ เข้าเป็นหมวดสมาธิ เหมือนดังจัดขอบกั้น ดินถนน เส้นแนวโค้งเลี้ยว เป็นต้น ที่เป็นเครื่องกั้นแนวถนนเป็นพวกหนึ่ง

จัดสัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ เข้าเป็นหมวดปัญญา เหมือนดังจัดสัญญาณ เครื่องหมาย ป้าย โคมไฟ เป็นต้น เป็นอีกพวกหนึ่ง

เขียนให้ดูง่าย ดังนี้

1. สัมมาทิฏฐิ
2.สัมมาสังกัปปะ = ปัญญาขันธ์

3. สัมมาวาจา
4. สัมมากัมมันตะ
5 . สัมมาอาชีวะ = ศีลขันธ์

6. สัมมาวายามะ
7. สัมมาสติ
8. สัมมาสมาธิ = สมาธิขันธ์

นี้ เป็นการจัดหมวดหมู่ตามสภาวะที่เป็นธรรมประเภทเดียวกัน เรียกชื่อเต็มว่า ธรรมขันธ์ 3 (ในจำนวนทั้งหมด 5) เป็น ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ และปัญญาขันธ์

ส่วนในทางปฏิบัติ คือการใช้งาน ก็จัดตามแนวเดียวกันนี้ แต่เรียกชื่อว่า สิกขา 3 หรือ ไตรสิกขา มีชื่อแยกต่างไปเล็กน้อยเป็น อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา

ทั้งสองชุดนี้ก็เรียกกันง่ายๆสั้นๆว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เหมือนกัน ถือคร่าวๆว่า อธิศีล ก็คือ ศีล อธิจิตต์ ก็คือ สมาธิ และอธิปัญญา ก็คือ ปัญญา*

อาจเขียนให้ดูง่ายขึ้น ดังนี้

1. อธิศีลสิกขา 2. อธิจิตตสิกขา 3. อธิปัญญาสิกขา
- สัมมาวาจา - - - สัมมาวายามะ -- สัมมาทิฏฐิ
- สัมมากัมมันตะ -- สัมมาสติ - - - สัมมาสังกัปปะ
- สัมมาอาชีวะ - - - สัมมาสมาธิ


ย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า การจัดแบบธรรมขันธ์ 3 นั้น มุ่งเพียงให้เห็นองค์ธรรมเป็นหมวดหมู่ตามประเภท
แต่การจัดเป็นไตรสิกขา มุ่งให้เห็นลำดับในกระบวนการปฏิบัติ หรือใช้งานจริง

…………

ที่อ้างอิง *

* ม.มู. 12/508/549... และการจัดเป็นธรรมขันธ์ 5 (คือ รวมธรรมที่เลยจาก ศีล สมาธิ ปัญญา ขึ้นไป เป็นอีก 2 ธรรมขันธ์ คือ วิมุตติขันธ์ และวิมุตติญาณทัสสนขันธ์)

* พึงกำหนดในใจด้วยว่า การเรียกสิกขา 3 ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา นี้เป็นการเรียกอย่างไม่เป็นทางการเท่านั้น ในบาลีไม่มีคำว่า สีลสิกขา สมาธิสิกขา และปัญญาสิกขาเลย ในคัมภีร์บางแห่ง ท่านเรียงทั้งธรรมขันธ์ 3 และสิกขา 3 ไว้ต่อลำดับกัน และใช้คำให้ตรงตามหลักอย่างเคร่งครัด เช่น วิภงฺค. อ.158; ปฏิสํ.อ.237

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 15 พ.ย. 2016, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า ไตรสิกขา แปลว่า สิกขา 3 คำว่า สิกขา * แปลว่า การศึกษา การสำเหนียก การฝึก ฝึกหัด ฝึกปรือ ฝึกอบรม ได้แก่ ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับฝึกอบรม กาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป จนบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ ความหลุดพ้น หรือนิพพาน

สิกขา 3 มีความหมายคร่าวๆ ดังนี้ *

1. อธิศีลสิกขา การฝึกอบรมในด้านความประพฤติ ระเบียบวินัย ให้มีสุจริตทางกาย วาจา และอาชีวะ

2. อธิจิตตสิกขา การฝึกอบรมทางจิตใจ การปลูกฝังคุณธรรม สร้างเสริมคุณภาพจิต และรู้จักใช้ความสามารถในกระบวนสมาธิ

3. อธิปัญญาสิกขา การฝึกอบรมทางปัญญาอย่างสูง ทำให้เกิดความรู้แจ้ง ที่สามารถชำระจิตให้บริสุทธิ์หลุดพ้นโดยสมบูรณ์ เป็นอิสระไร้ทุกข์สิ้นเชิง


นี้เป็นความหมายอย่างคร่าวๆ ถ้าจะให้สมบูรณ์ ก็ต้องให้ความหมายเชื่อมโยงถึงความมุ่งหมายด้วย โดยเติมข้อความแสดงลักษณะที่สัมพันธ์กับจุดหมายต่อท้ายสิกขาทุกข้อ ได้ความตามลำดับว่า

ไตรสิกขา คือ การฝึกปรือความประพฤติ การฝึกปรือจิต และการฝึกปรือปัญญา ชนิดที่ทำให้แก้ปัญหาของมนุษย์ได้ เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ นำไปสู่ความสุข และความเป็นอิสระแท้จริง

………….

สิกขา” มีคำคล้ายคือ “ภาวนา” ซึ่งแปลว่า การทำให้เกิดมี ทำให้มีให้เป็น เจริญ เพิ่มพูน บำเพ็ญ ฝึกอบรม และบางทีมี ๓ เหมือนกัน คือ กายภาวนา - เจริญกาย จิตตภาวนา - เจริญจิต ปัญญาภาวนา - เจริญปัญญา (ที.ปา.11/228/231) แต่อรรถกถาอธิบายว่า ในที่นั้นหมายเฉพาะกาย จิต และปัญญา ที่พัฒนาแล้วของพระอรหันต์ (ที.อ.3/252) ภาวนา ที่ใช้แสดงภาวะพัฒนาแล้วของพระอรหันต์นั้นตามปกติจัดเป็น ๔ โดยมี ศีลภาวนา เป็นข้อ ๒ และนิยมใช้ในรูป “ภาวิต” เป็นภาวิตกาย ภาวิตศีล ภาวิตปัญญา ตามลำดับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 15 พ.ย. 2016, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อความหมายแสดงความมุ่งหมายได้ชัดเจนแล้ว ก็จะทำให้มองเห็นสาระของไตรสิกขาแต่ละข้อ ดังนี้

-สาระของอธิศีล คือ การดำรงตนอยู่ด้วยดี มีชีวิตเกื้อกูล ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ตนมีส่วนช่วยสร้างสรรค์รักษา ให้เอื้ออำนวยแก่การมีชีวิตที่ดีงามร่วมกัน เป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการพัฒนาคุณภาพจิตและการเจริญปัญญา

-สาระของอธิจิตต์ คือ การพัฒนาคุณภาพจิต หรือการปรับปรุงจิตให้มีคุณภาพและสมรรถภาพสูง ซึ่งเอื้อแก่การมีชีวิตที่ดีงาม และพร้อมที่จะใช้งานในทางปัญญาอย่างได้ผลดีที่สุด

- สาระของอธิปัญญา คือ การมองดูรู้จักและเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง หรือรู้เท่าทันธรรมดาของสังขารธรรมทั้งหลาย ที่ทำให้เป็นอยู่ และทำการต่างๆ ด้วยปัญญา คือรู้จักวางใจวางท่าที และปฏิบัติต่อโลกและชีวิต ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ในทางที่เป็นไปเพื่อแผ่ขยายประโยชน์สุข มีจิตใจผ่องใส ไร้ทุกข์ เป็นอิสรเสรี และสดชื่นเบิกบาน



สาระของไตรสิกขา เริ่มด้วยอธิศีล อันแสดงตัวออกมา ไม่เฉพาะที่ที่การปฏิบัติของบุคคลเท่านั้น แต่ส่องถึงภารกิจที่มนุษย์จะต้องจัดทำในระดับชุมชนและสังคมด้วย กล่าวคือ การจัดวางระบบแบบแผน จัดตั้งสถาบันและกิจการต่างๆ จัดแจงกิจกรรมและวิธีการต่างๆ โดยมีวินัยเป็นฐานของระบบที่เชื่อมโยงเข้าสู่ศีล เพื่อให้สาระของไตรสิกขาเป็นไปในหมู่มนุษย์ หรือให้มนุษย์ดำรงอยู่ในสาระของไตรสิกขา

โดยนัยนี้ เมื่อพูดถึงศีลในความหมายแบบคลุมๆ โดยให้รวมทั้งวินัยด้วย ศีลก็จึงกินความถึงการจัดสรรสภาพแวดล้อมทั้งทางวัตถุ และทางสังคม ที่ปิดกั้นโอกาสในการทำชั่ว และส่งเสริมโอกาสในการทำความดี เฉพาะอย่างยิ่งการจัดระเบียบชีวิต จัดระบบสังคม และจัดการกิจกรรมกิจการ โดยจัดตั้งชุมชน องค์กร หรือสถาบัน วางระบบ กำหนดโครงสร้าง ตราหลักเกณฑ์ กฎข้อบัง บทบัญญัติต่างๆ เพื่อควบคุมความประพฤติของบุคคล จัดกิจการของส่วนรวม ส่งเสริมความอยู่ร่วมกันด้วยดี ดังที่กล่าวแล้ว มุ่งปิดกั้นช่องทางทำกรรมชั่ว และเปิดขยายโอกาสสำหรับการทำความดี เรียกด้วยคำศัพท์ที่ตรงแท้ทางพระศาสนาว่า วินัย *

ถ้าพูดอย่างาเคร่งครัดแยกกันให้ชัด การจัดตั้งวางระบบ ที่เรียกว่า “วินัย” นี้ เป็นการจัดเตรียมการที่จะทำให้คนมีศีล หรือเป็นเคร่าองมือฝึกคนให้มีศีล ยังไม่ใช่เป็นตัวศีลแท้
แต่เพราะเหตุที่ว่า เมื่อมองในแง่ของการศึกษา หรือการฝึกคน วินัยนั้นก็พ่วงมากับศีล เป็นฐานของศีล เมื่อพูดคลุมๆ ก็เลยเรียกรวมๆไปในศีลด้วย


วินัยนี้ พึงจัดวางขึ้นให้เหมาะสมกับความมุ่งหมายของชุมชน หรือสังคมระดับนั้นๆ เช่น
วินัย ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสำหรับสังฆะ ทั้งภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ มีทั้งข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติส่วนตัวของภิกษุและภิกษุณีแต่ละรูป กับข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดระบบความเป็นอยู่ของชุมชน การปกครอง การสอบสวนพิจารณาคดี การลงโทษ วิธีแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ระเบียบและวิธีดำเนินการประชุม ตลอดกระทั่งระเบียบปฏิบัติและมรรยาทต่างๆ ในการต้อนรับแขก ในการไปเป็นอาคันตุกะ และในการใช้สาธารณสมบัติเป็นต้น


มองนอกสังฆะออกไป ก็อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำหลักการกว้างๆ ไว้สำหรับปกครองบ้านเมือง
จะพึงนำไปกำหนดรายละเอียด วิธีปฏิบัติต่อสังคมวงกว้างระดับประเทศชาติ เช่น
ทรงสอนหลักที่เรียกว่า จักรวรรดิวัตร ให้พระเจ้าจักรพรรดิ จัดการคุ้มครอง ป้องกัน
อันชอบธรรม ให้เหมาะสมกับประชาชน แต่ละจำพวก แต่ละประเภท ให้วางวิธีการ
ป้องกัน แก้ไข ปราบปราม มิให้มีการอันอธรรม หรือความชั่วร้าย เดือดร้อนขึ้นใน
แผ่นดิน ให้หาทางจัดแบ่งรายได้ หรือเฉลี่ยทุนทรัพย์มิให้มีคนขัดสน ยากไร้ ใน
แผ่นดิน เป็นต้น *


วินัยที่จะสร้างเสริมศีล สำหรับสังคมวงกว้างนี้ ถ้าพูดตามภาษาปัจจุบัน ก็คือ ระบบการปกครอง ทั้งบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ระบบเศรษฐกิจ ระเบียบแบบแผน ทางขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ตลอดถึงระบบการทางสังคมอย่างอื่นๆ รวมทั้งปลีกย่อยที่สำคัญเช่น วิธี อำนวย หรือไม่อำนวยโอกาสเกี่ยวกับแหล่งเริงรมย์ สถานอบายมุข สิ่งเสพติด การประกอบอาชญากรรมต่างๆ และมาตรการเกี่ยวกับการงานอาชีพ เป็นต้น

.....

ที่อ้างอิง *

* คำว่า วินัย มักมองความหมายกันแคบๆ เพียงแค่บทบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติส่วนตัว นับว่าความเข้าใจเกี่ยวกับวินัยได้เรียวเข้ามาก

* ดูจักรวรรดิวัตรที่ ที.ปา. 11/35/65....ตัวอย่างการจัดวินัยสำหรับสังคมระดับประเทศตามแนวคำสอนนี้ ที่เด่น ก็คงได้แก่ระบบการปกครองของพระเจ้าอโศกมหาราช (ประมาณ พ.ศ.๒๑๘-๒๖๐ หรือ ๒๗๐-๓๑๒)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 15 พ.ย. 2016, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิจิตต์ หรือสมาธิ ว่าโดยระดับสูงสุด หรือเต็มรูปแบบ ก็ได้แก่ สมถวิธี หรือวิธีบำเพ็ญกรรมฐาน (ฝ่ายสมถะ) แบบต่างๆ ซึ่งมากอาจารย์ มากสำนักปฏิบัติได้เพียรกำหนดกันขึ้น และวิวัฒนาการเรื่อยมาในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ดังที่ปรากฏเป็นแบบแผน ในชั้นอรรถกถา (เช่นวิสุทธิ. 1/105-2/284) แล้วขยายตัดแปลงต่อๆกันมา


แต่เมื่อมองอย่างกว้างๆ ให้คลุมไปทุกระดับ ก็ย่อมกินความถึงวิธีการและอุปกรณ์ทั้งหลายที่จะช่วยชักจูงจิตใจของคนให้สงบ ให้มีจิตใจยึดมั่น และมั่นคงในคุณธรรม เร้าใจให้ฝักใฝ่ และมีวิริยะอุตสาหะในการสร้างความดีงามยิ่งขึ้นไป

มองกว้างออกไป เหมือนมองศีลคลุมถึงวินัย อธิจิตตสิกขา ก็คลุมลงไปถึงการจัดระบบ กัลยาณมิตร และจัดสรรสัปปายะ * ทั้ง 7 ประการ รวมทั้งอุบายวิธีต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพจิตของคน ให้คนพร้อมที่จะก้าวไปในทางของการเจริญสมาธิ และที่จะพัฒนาจิตใจยิ่งขึ้นไป เช่น

การมีสถานพักผ่อนหย่อนใจ อันสงบร่มรื่น ชักจูงความคิดในทางที่ดีงาม การสร้างบรรยากาศในสถานที่อยู่อาศัย ในที่ทำงาน สถานประกอบอาชีพ เป็นต้น ให้สดชื่นแจ่มใส ประกอบด้วยเมตตา กรุณา ชวนให้อยากทำแต่ความดี และทำให้มีคุณภาพจิตประณีตยิ่งขึ้น กิจกรรมต่างๆ ที่ปลุกเร้าคุณธรรม การส่งเสริมกำลังใจในการทำความดี และทำให้คุณภาพจิตประณีตยิ่งขึ้น กิจกรรมต่างๆ ที่ปรุงเร้าคุณธรรม การส่งเสริมกำลังใจในการทำความดี ความมีอุดมคติ และการฝึกจิตใจให้เข้มแข็งหนักแน่นมั่นคงมีสมรรถภาพสูง

……

* สัปปายะ (สิ่งที่สบาย เหมาะกัน เกื้อกูล สภาพเอื้อ สภาวะที่เกื้อหนุนการเจริญภาวนา ช่วยให้สมาธิมั่น ไม่เสื่อม) ปรากฏในพระไตรปิฎกกระจายอยู่ต่างแห่ง ต่อมา ในชั้นอรรถกถา ท่านประมวลว่ามี ๗ คือ อาวาส / เสนาสนะ (ที่อยู่) โคจร (แหล่งอาหาร) ภัสสะ/ธัมมัสสวนะ (การพูดจาสดับฟัง) บุคคล โภชนะ/อหาร อุตุ (ดินฟ้าอากาศ สภาพแวดล้อม) อิริยาบถ ทั้ง ๗ ข้อนี้ ที่เหมาะที่เอื้อถูกกัน ช่วยเสริม เป็นสัปปายะ (เช่น เป็นบุคคลสัปปายะ) ที่ไม่เอื้อ เป็นอสัปปายะ (วิสุทฺธ. 1/161 วินย.อ.1/524 ม.อ.3/570)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 15 พ.ย. 2016, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิปัญญา ว่าโดยรูปศัพท์ที่เคร่งครัด ก็คือวิปัสสนาภาวนา ซึ่งมีวิวัฒนาการในด้านวิธีฝึกปฏิบัติ จนเป็นแบบแผนทำนองเดียวกับสมถะวิธี

แต่เมื่อมองให้กว้างตามสาระและความมุ่งหมาย เรื่องปัญญา ก็ได้แก่ กิจการฝึกปรือ ความรู้ ความคิด ซึ่งเรียกกันว่า การศึกษาเล่าเรียนทั้งหมด ที่อาศัยกัลยาณมิตร โดยเฉพาะครูอาจารย์ มาช่วยถ่ายทอดสุตะ (ความรู้แบบรับถ่ายทอด หรือแบบเล่าเรียนสดับฟัง) และความชัดเจนในศิลปวิทยาต่างๆ เริ่มแต่วิชาชีพ (เรื่องระดับศีล) เป็นต้นไป


แต่การที่จะเป็นอธิปัญญาได้นั้น เพียงความรู้ความจัดเจนในวิชาชีพและวิทยาการต่างๆหาเพียงพอไม่ ผู้สอนพึงเป็นกัลยาณมิตร ที่สามารถเสร้างศรัทธา และสามารถชี้แนะให้ผู้เรียนเป็นคนรู้จักคิดเองได้ อย่างน้อยทำให้เขามีความเห็นชอบตามคลองธรรม
และ
ถ้าสามารถทำได้ยิ่งกว่านั้น ก็ให้เขารู้จักมองโลกและชีวิตอย่างรู้เท่าทันความจริง ที่จะให้วางใจ วางท่าที มีความสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา เป็นผู้มีการศึกษาชนิดที่ขัดเกลากิเลสและแก้ทุกได้ สามารถทำประโยชน์แก่ผู้อื่น พร้อมกับที่ตนเองมีจิตใจเป็นสุข

การฝึกฝนอบรมในข้อนี้ ตามปกติเป็นภารกิจของสถานศึกษาต่างๆ ธรรมดาสถานศึกษาทั้งหลายนั้น ย่อมสมควรเกื้อหนุนให้บุคคลฝึกปรือพัฒนาครบทั้ง 3 ระดับ คือ ทั้งศีล สมาธิ และปัญญา มิใช่มุ่งแต่ปัญญาอย่างเดียว ทั้งนี้โดยเหตุผลว่า
อธิปัญญาเป็นการศึกษาขั้นสูงสุด ซึ่งจะสำเร็จได้ด้วยดี ต้องอาศัยการศึกษา 2 ระดับแรกเป็นพื้นฐาน และยิ่งกว่านั้น การศึกษาและการฝึกปรือ 3 ขั้นนี้ มีองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยส่งเสริมกันและกัน เมื่อพัฒนาครบทั้ง 3 ขั้น จึงจะก้าวถึงอธิปัญญาได้จริง และเป็นการศึกษาที่สมบูรณ์


ลำดับขั้นตอนของการส่งผลต่อกันในการฝึกอบรม หรือปฏิบัติตามไตรสิกขา อย่างพื้นๆขั้นต้นๆ เช่น พอจะมองเห็นได้ง่ายๆ ก็เช่นว่า

เมื่ออยู่ร่วมกันในหมู่ หรือในสังคมโดยสงบเรียบร้อย ไม่ต้องหวาดระแวง หรือสะดุ้งสะท้านหวั่นไหว ใจก็สงบสบาย เมื่อใจสงบสบาย ก็พอจะใช้ความคิดพิจารณาทำความเข้าใจอะไรๆได้
หรือ
เมื่อไม่ได้ทำความผิดอะไร ก็มีความมั่นใจในตนเอง จิตใจก็แน่วแน่ เมื่อจิตใจแน่วแน่ ก็คิดอะไรๆได้
อย่างจริงจัง ความคิดก็พุ่งแล่นได้ผล
หรือ
เมื่อประพฤติดี เช่น เอื้อเฟื้อช่วยเหลือใครมา ใจก็ปลาบปลื้มปีติมีความสุข หรือปลอดโปร่งผ่องใส เมื่อใจโปร่ง ความคิดก็โล่งและฉับไว
หรือ
เมื่อ ไม่ได้มีเรื่องราวเบียดเบียน เป็นเวรภัยกับใคร ใจก็ไม่ขุ่นมัว ไม่กระทบกระแทกติดขัด เมื่อใจไม่ขุ่นมัวไม่มีแง่มีงอน จะพิจารณาเรื่องราวอะไร ก็มองเห็นชัดถูกต้อง ไม่เขวไม่ลำเอียง ดังนี้เป็นต้น จากพื้นฐานที่ดีพร้อมอย่างนี้ จึงพัฒนาประณีตสูงขึ้นไป

........

ศีล เพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ = ศีล => สมาธิ =>ปัญญา=>วิมุตติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 16 พ.ย. 2016, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มรรคที่จัดแบบเป็น ศีล สมาธิ ปัญญานี้ เป็นคำสอนเน้นเฉพาะพระภิกษุ ถ้าเป็นคฤหัสถ์คือชาวบ้าน ท่านจัดมรรคใหม่ แทนที่จะเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา ก็จัดเป็น ทาน ศีล ภาวนา มีชื่อเรียกว่า บุญกิริยา หรือบุญกิริยาวัตถุ ๓


ในคำสอนธรรมเพื่อให้เหมาะสำหรับคฤหัสถ์คือชาวบ้าน แทนที่ท่านจะนำระบบของมรรคมาจัดขั้นตอนในรูปของไตรสิกขาเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา แต่ท่านจัดใหม่ เหมือนดังจะให้เป็นไตรสิกขาฉบับที่ง่ายลงมา โดยวางรูปขั้นตอนใหม่ เป็นหลักทั่วไป ที่เรียกว่าบุญกิริยา หรือบุญกิริยาวัตถุ ซึ่งมีจำนวน ๓ ข้อ หรือ ๓ ขั้นเท่ากับไตรสิกขานั่นเอง แต่มีชื่อหัวข้อต่างออกไปเป็น ทาน ศีล ภาวนา

ที่ท่านอโศกพูดไว้ที่ลิงค์นั่นนี่

อ้างคำพูด:
อโศกะ
กรัชกายนี่ท่าจะประสาทกลับไปเป็นคนปัญญาอ่อน
ออธิสติกส์เสียแล้วกระมังครับ เรื่องง่ายๆที่รู้ไดตอบได้โดยสามัญสำนึก กลับมาเป็นปัญหาของกรัชกายเสียได้

ศีล สมาธิ ปัญญา

ทาน ศีล ภาวนา

นี่เป็นเรื่องพื้นๆใครๆที่มาศึกษาพุทธศาสนาเขาก็รู้ก็จำกัน

ส่วนมรรค 8 ย่อลงมาเป็นศีล สมาธิ ปัญญาอย่างที่กรัชกายว่านั้น กรัชกายยังนำมาอ้างอย่างไม่ถูกต้องตามลำดับแห่งธรรมและข้อธรรม

ย่อของมรรค 8 คือ

ปัญญา

ศีล

สมาธิ


นั่นแหละท่านจัดมรรคใหม่ เป็น ทาน ศีล ภาวนา เพื่อให้เหมาะกับคฤหัสถ์


ต่อ ทาน ศีล ภาวนา ที่

viewtopic.php?f=1&t=53395&p=401655#p401655

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 17 พ.ย. 2016, 06:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




1472678810542(1).jpg
1472678810542(1).jpg [ 178.21 KiB | เปิดดู 3309 ครั้ง ]
:b12:
ไปก้อปความคิดเห็นของใครก็ไม่รู้มาโพสต์เพื่อจะพยายามบิดเบือนธรรมะที่ตรงตามสภาวะลงมาสู่ธรรมะตามตำราและตัวหนังสือ นี่คือนักวิชาการผู้ไม่เคยผ่านประสบการณ์จริงและยึดแน่นในบัญญัติตำรา

ต้องไปทำการบ้านมาอีกให้ดีๆ มอบแอสไซเมนท์ให้ไปทำอีก 1 เรื่องคือ

มีธรรมะในพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ว่า อุปมา
ปัญญาเปรียบเหมือนพระราชา ............และรายละเอียดต่างๆ
ซึ่งเมื่อศึกษาแล้วจะได้รู้ว่า ปัญญาเป็นพระราชามี ศีล สติ สมาธิ เป็นข้าราชบริพารแม่ทัพ นายกอง อำมาตย์ราชบัณฑิตคอยรับใช้จัดทำการงานสนองพระราชดำรัชพระราชประสงค์ของพระราชา ถ้าเข้าใจธรรมตามลำดับที่ถูกต้องตามธรรมอย่างนี้แล้ว ทุกสิ่งจะง่าย งดงามตามกันไปหมด แต่ถ้าผิดธรรมขัดธรรม จะทำให้เกิดความยุ่งยากขัดข้องกันไปหมดเช่นกัน

กรัชกายจงไปสังเกตพิจารณาทำการบ้านปฏิบัติธรรมสัมผัสความจริงมาให้เยอะๆนะ วันข้างหน้าจะได้เป็นกัลยาณมิตรที่พึ่งที่ดีของปวงชนอย่างแท้จริง

:b38:
โพสต์ เมื่อ: 17 พ.ย. 2016, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b12:
ไปก้อปความคิดเห็นของใครก็ไม่รู้มาโพสต์เพื่อจะพยายามบิดเบือนธรรมะที่ตรงตามสภาวะลงมาสู่ธรรมะตามตำราและตัวหนังสือ นี่คือนักวิชาการผู้ไม่เคยผ่านประสบการณ์จริงและยึดแน่นในบัญญัติตำรา

ต้องไปทำการบ้านมาอีกให้ดีๆ มอบแอสไซเมนท์ให้ไปทำอีก 1 เรื่องคือ

มีธรรมะในพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ว่า อุปมา
ปัญญาเปรียบเหมือนพระราชา ............และรายละเอียดต่างๆ
ซึ่งเมื่อศึกษาแล้วจะได้รู้ว่า ปัญญาเป็นพระราชามี ศีล สติ สมาธิ เป็นข้าราชบริพารแม่ทัพ นายกอง อำมาตย์ราชบัณฑิตคอยรับใช้จัดทำการงานสนองพระราชดำรัชพระราชประสงค์ของพระราชา ถ้าเข้าใจธรรมตามลำดับที่ถูกต้องตามธรรมอย่างนี้แล้ว ทุกสิ่งจะง่าย งดงามตามกันไปหมด แต่ถ้าผิดธรรมขัดธรรม จะทำให้เกิดความยุ่งยากขัดข้องกันไปหมดเช่นกัน

กรัชกายจงไปสังเกตพิจารณาทำการบ้านปฏิบัติธรรมสัมผัสความจริงมาให้เยอะๆนะ วันข้างหน้าจะได้เป็นกัลยาณมิตรที่พึ่งที่ดีของปวงชนอย่างแท้จริง


ไปใหญ่อ้าว มีพระราชา มีเสนาข้าราชบริพาน เป็นต้นอีก ยุ่งกันไปใหญ่

ไม่ดูที่ตัวเองพูดก่อนหน้า คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 19 พ.ย. 2016, 05:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อนึ่ง เพื่อให้มองเห็นเป็นหมวดหมู่ อันจะช่วยเสริมความเข้าใจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ท่านจัดองค์ประกอบทั้ง 8 ของมรรคเข้าเป็นประเภทๆ เรียกว่า ขันธ์ หรือ ธรรมขันธ์ แปลว่า หมวดธรรม หรือกองธรรม มี 3 ขันธ์ หรือ 3 ธรรมขันธ์ กล่าวคือ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ และปัญญาขันธ์ * เรียกง่ายๆว่า ศีล สมาธิ ปัญญา

ทั้งนี้ โดยจัด สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เข้าเป็นหมวดศีล เหมือนดังจัดกองดินที่ก่อแน่นขึ้น พร้อมทั้งหิน กรวด ทราย วัสดุผิวจราจรที่เป็นตัวถนน หรือพื้นถนนเข้าเป็นพวกหนึ่ง

จัดสัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ เข้าเป็นหมวดสมาธิ เหมือนดังจัดขอบกั้น ดินถนน เส้นแนวโค้งเลี้ยว เป็นต้น ที่เป็นเครื่องกั้นแนวถนนเป็นพวกหนึ่ง

จัดสัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ เข้าเป็นหมวดปัญญา เหมือนดังจัดสัญญาณ เครื่องหมาย ป้าย โคมไฟ เป็นต้น เป็นอีกพวกหนึ่ง

เขียนให้ดูง่าย ดังนี้

1. สัมมาทิฏฐิ
2.สัมมาสังกัปปะ = ปัญญาขันธ์

3. สัมมาวาจา
4. สัมมากัมมันตะ
5 . สัมมาอาชีวะ = ศีลขันธ์

6. สัมมาวายามะ
7. สัมมาสติ
8. สัมมาสมาธิ = สมาธิขันธ์



สัมมาวายามะ..เป็น..สมาธิขันธ์..หรอ? :b9: :b9: :b9:

ควรจัดอยู่ในปัญญาขันธ์..มากกว่า..นะ


โพสต์ เมื่อ: 19 พ.ย. 2016, 07:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อนึ่ง เพื่อให้มองเห็นเป็นหมวดหมู่ อันจะช่วยเสริมความเข้าใจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ท่านจัดองค์ประกอบทั้ง 8 ของมรรคเข้าเป็นประเภทๆ เรียกว่า ขันธ์ หรือ ธรรมขันธ์ แปลว่า หมวดธรรม หรือกองธรรม มี 3 ขันธ์ หรือ 3 ธรรมขันธ์ กล่าวคือ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ และปัญญาขันธ์ * เรียกง่ายๆว่า ศีล สมาธิ ปัญญา

ทั้งนี้ โดยจัด สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เข้าเป็นหมวดศีล เหมือนดังจัดกองดินที่ก่อแน่นขึ้น พร้อมทั้งหิน กรวด ทราย วัสดุผิวจราจรที่เป็นตัวถนน หรือพื้นถนนเข้าเป็นพวกหนึ่ง

จัดสัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ เข้าเป็นหมวดสมาธิ เหมือนดังจัดขอบกั้น ดินถนน เส้นแนวโค้งเลี้ยว เป็นต้น ที่เป็นเครื่องกั้นแนวถนนเป็นพวกหนึ่ง

จัดสัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ เข้าเป็นหมวดปัญญา เหมือนดังจัดสัญญาณ เครื่องหมาย ป้าย โคมไฟ เป็นต้น เป็นอีกพวกหนึ่ง

เขียนให้ดูง่าย ดังนี้

1. สัมมาทิฏฐิ
2.สัมมาสังกัปปะ = ปัญญาขันธ์

3. สัมมาวาจา
4. สัมมากัมมันตะ
5 . สัมมาอาชีวะ = ศีลขันธ์

6. สัมมาวายามะ
7. สัมมาสติ
8. สัมมาสมาธิ = สมาธิขันธ์



สัมมาวายามะ..เป็น..สมาธิขันธ์..หรอ? :b9: :b9: :b9:

ควรจัดอยู่ในปัญญาขันธ์..มากกว่า..นะ


อะไรบันดาลใจให้คิดเช่นนั้น ได้มาจากตำราเล่มใด ไหนลองว่าไปสิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร