วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 00:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2016, 16:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ


สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด



กามภพ ความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
ต่อผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต ในแต่ละขณะ

รูปภพ ความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
ต่อผัสสะที่มีเกิดขึ้นใน รูปฌาน

อรูปภพ ความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
ต่อผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นใน อรูปฌาน





==========================

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผูมี้พระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่า
‘ภพ–ภพ’ ดังนี้ ภพ ย่อมมีได้
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า !

อานนท์ ! ถ้ากรรมมีกามธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้
กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
หามิได้ พระเจ้าข้า !

อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ
กรรมจึงเป็นเนื้อนา
วิญญาณเป็นเมล็ดพืช
ตัณหาเป็นยางของพืช (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก)

ความเจตนาก็ดี
ความปรารถนาก็ดี
ของสัตว์ทั้งหลาย
ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูก


ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นทราม (กามธาตุ)
การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป
ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.






อานนท์ ! ถ้ากรรมมีรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้
รูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
หามิได้ พระเจ้าข้า !

อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ
กรรมจึงเป็นเนื้อนา
วิญญาณเป็นเมล็ดพืช
ตัณหาเป็นยางของพืช

ความเจตนาก็ดี
ความปรารถนาก็ดี
ของสัตว์ทั้งหลาย
ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูก


ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นกลาง (รูปธาตุ)
การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป
ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.







อานนท์ ! ถ้ากรรมมีอรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้
อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
หามิได้ พระเจ้าข้า !

อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ
กรรมจึงเป็นเนื้อนา
วิญญาณเป็นเมล็ดพืช
ตัณหาเป็นยางของพืช

ความเจตนาก็ดี
ความปรารถนาก็ดีของสัตว์ทั้งหลาย
ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูก


ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นประณีต (อรูปธาตุ)
การบังเกิดขึ้นในภพใหมต่อ ไป
ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.


อานนท์ ! ภพ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.
ติก. อํ. ๒๐/๒๘๘/๕๑๗.

======================================



ภิกษุทั้งหลาย !
ถ้าบุคคลย่อมคิด (เจเตติ) ถึงสิ่งใดอยู่
ย่อมดำริ(ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใดอยู่
และย่อมมีจิตฝังลงไป (อนุเสติ)ในสิ่งใดอยู่
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่ออารมณ์ มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี
เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว
ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี
เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป มีอยู่
ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส
อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.



ภิกษุทั้งหลาย !
ถ้าบุคคลย่อมไม่คิด (โน เจเตติ) ถึงสิ่งใด
ย่อมไม่ดำริ(โน ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใด
แต่เขายังมีจิตฝังลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่ออารมณ์ มีอยู่ความตั้งขึ้นเฉพาะแหง่ วิญญาณย่อมมี
เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว
ความเกิดขึ้นแห่ง ภพใหม่ต่อไป ย่อมมี
เมี่อความเกิดขึ้นแหง่ภพใหม่ต่อไป มีอยู่
ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส
อุปายาสทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแหง่ กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.





ภิกษุทั้งหลาย !
ก็ถ้าว่าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใดด้วย
ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใดด้วย
และย่อมไม่มีจิตฝัง ลงไป (โน อนุเสติ) ในสิ่งใดด้วย
ในกาลใด ในกาลนั้น สิ่งนั้น ย่อมไม่เป็นอารมณ์
เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย
เมื่ออารมณ์ไม่มีความตั้งขึ้นเฉพาะแห่ง วิญญาณ ย่อมไม่มี
เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ ไม่เจริญงอกงามแล้ว
ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มี
เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ไม่มี
ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส
อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล.

นิทาน. สํ. ๑๖/๗๘/๑๔๕.


===============================




ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ


ความรู้สึกนึกคิด(มโนกรรม)
เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่มีอยู่
ความรู้สึกนึกคิด ห้ามไม่ได้
แต่สามารถกำหนดรู้ได้

และสามารถหยุดการกระทำ(กาย วาจา)
ที่กำลังจะกระทำให้มีเกิดขึ้น




ให้กำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)
ความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น ขณะนั้นๆ ตามความเป็นจริง
ไม่กระทำตามแรงผลักดันของกิเลส ที่มีเกิดขึ้น ขณะนั้นๆ
โดยการไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทางกาย วาจา





---------------------------------------------------------------------

“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็ชราและมรณะเป็นไฉน
ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก. นี้เรียกว่าชรา


ก็มรณะเป็นไฉน
ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความแตกแห่งขันธ์ นี้เรียกว่ามรณะ


“ก็ชาติเป็นไฉน
ความเกิด ความบังเกิด.... ความปรากฏแห่งขันธ์.... นี้เรียกว่าชาติ



“ก็ภพเป็นไฉน
ภพ ๓ เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภาพ อรูปภาพ นี้เรียกว่าภพ


“ก็อุปาทานเป็นไฉน อุปาทาน ๔ เหล่านี้คือ
กามุปาทาน ทิฏฐปาทาน สีลัมพพตุปาทาน อัตตาวาทุปาทาน นี้เรียกว่าอุปาทาน


“ก็ตัณหาเป็นไฉน ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้คือ
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา นี้เรียกว่าตัณหา


“ก็เวทนาเป็นไฉน เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้คือ
จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่าเวทนา


“ก็ผัสสะเป็นไฉน ผัสสะ ๖ หมวดเหล่านี้คือ
จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่าผัสสะ


“ก็สฬายตนะเป็นไฉน อาตนะ คือ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เรียกว่า สฬายตนะ


“ก็นามรูปเป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ
นี้เรียกว่า นาม มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป


“ก็วิญญาณเป็นไฉน วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้คือ
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ
กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าววิญญาณ


“ก็สังขารเป็นไฉน สังขาร ๓ เหล่านี้ คือ
กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร นี้เรียกว่าสังขาร


“ก็อวิชชาเป็นไฉน
ความไม่รู้ทุกข์
ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์
ความไม่รู้ในความดับทุกข์
ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
นี้เรียกว่า อวิชชา.....”



วิภังคสูตร นิ. สํ. (๖-๑๗)
ตบ. ๑๖ : ๓-๕ ตท. ๑๖ : ๓-๔
ตอ. K.S. II : ๓-๔


------------------------------------------------------------------




ชาติ ตามความหมาย ความเกิด ความบังเกิด ความปรากฏแห่งขันธ์
ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของคำว่า ชาติ ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม



เมื่อมีการกระทำทางกาย วาจา
ได้แก่ การไม่กำหนดรู้(อโยนิโสมนสิการ)

การปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทางกาย วาจา
จึงกลายเป็นการสร้างกรรมใหม่(กายกรรม วจีกรรม) ให้มีเกิดขึ้น
นี้หมายถึง ชาติ





ชรา มรณะ ถ้าหมายเอานำมากระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์

ชรา มรณะนี้ หมายถึง โลกธรรม ๘


เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้






ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

ให้กำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)
ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทางกาย วาจา

เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น

ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้




จักรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว(กายกรรม วจีกรรม ที่เป็นกรรมใหม่ ไม่มี)
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว(มรรค-อริยมรรคมีองค์ ๘)
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.(หยุดสร้างเหตุนอกตัว/ไม่สานต่อ)




เป็นที่มาของ นิพพาน เป็นธรรมดับกิเลส
การดับเหตุปัจจัยของการเกิด ภพชาติปัจจุบัน





===============================

อานนท์ ! ความทุกข์นั้น เรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเกิดขึ้น.

ความทุกข์นั้นอาศัยปัจจัยอะไรเล่า ?
ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยคือ ผัสสะ,

ผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่า กล่าวตรงตามที่เรากล่าว ไม่เป็นการกล่าวตู่เรา ด้วยคำไม่จริง ;
แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม ก็จะไม่พลอยกลายเป็นผู้ควรถูกติไปด้วย.

อานนท์ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมทั้งสี่พวกนั้น :

สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ ตนทำเอาด้วยตนเอง,
แม้ความทุกข์ ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้ ;


สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติ ความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้,
แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้ ;

สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย
แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้ ;


ถึงแม้สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่า เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทำเองหรือใครทำให้ก็เกิดขึ้นได้ ก็ตาม.
แม้ความทุกข์ที่ พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้อยู่นั่นเอง.
- นิทาน. สํ. ๑๖/๔๐/๗๕.

===================================

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 21 ธ.ค. 2016, 16:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2016, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุผลที่ต้องกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)


ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้



เมื่อรู้ชัดใน ผัสสะ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ

และสามารถนำมากระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ได้



เมื่อรู้ชัดใน ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
เป็นเหตุปัจจัยให้รู้ชัดในเรื่อง

กรรม

ผลของกรรมและการให้ผลของกรรม

กรรมเก่า

กรรมใหม่



======================

ภิกษุทั้งหลาย !
กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ

นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ

เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ

วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ

กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ

กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ


คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ?




ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวซึ่งเจตนา ว่าเป็นกรรม
เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรม
ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ


ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย คือ ผัสสะ

ภิกษุทั้งหลาย ! เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมที่ทำสัตว์ ให้เสวยเวทนาในนรก มีอยู่

กรรมที่ทำสัตว์ ให้เสวยเวทนาในกำเนิดเดรัจฉาน มีอยู่

กรรมที่ทำสัตว์ ให้เสวยเวทนาในเปรตวิสัย มีอยู่

กรรมที่ทำสัตว์ ให้เสวยเวทนาในมนุษย์โลก มีอยู่

กรรมที่ทำสัตว์ ให้เสวยเวทนาในเทวโลก มีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า
เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย





ภิกษุทั้งหลาย ! วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลาย
ว่ามีอยู่สามอย่าง คือ

วิบากในทิฏฐธรรม
วิบากในอุปปัชชะ
วิบากในอปรปริยายะ

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า
วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย




ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรมทั้งหลายย่อมมี
เพราะความดับแห่งผัสสะ


ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยอัฏฐังคิกมรรค นี้นั่นเอง
คือ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา

ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ
(สัมมาทิฏฐิ)ความเห็นชอบ
(สัมมาสังกัปปะ) ความดำริชอบ
(สัมมาวาจา)การพูดจาชอบ
(สัมมากัมมันตะ)การทำการงานชอบ
(สัมมาอาชีวะ)การเลี้ยงชีวิตชอบ
(สัมมาวายามะ)ความพากเพียรชอบ
(สัมมาสติ)ความระลึกชอบ
(สัมมาสมาธิ)ความตั้งใจมั่นชอบ


ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใดอริยสาวก
ย่อมรู้ชัดซึ่งกรรมอย่างนี้

รู้ชัดซึ่ง นิทานสัมภวะแห่งกรรมอย่างนี้

รู้ชัดซึ่ง เวมัตตตาแห่งกรรมอย่างนี้

รู้ชัดซึ่ง วิบากแห่งกรรมอย่างนี้

รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธอย่างนี้

รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธคามินีปฏิปทาอย่างนี้


อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์ นี้ว่า
เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งกรรม




ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า

กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ

ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว


( บาลี – ปญฺจก.-ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๘-๔๖๗/๓๓๔ )

=================================





เป็นเหตุปัจจัยให้รู้ชัด "โยนิโสมนสิการ" ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
และสามารถนำมากระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ได้

กรรม(การกระทำ) ที่เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม



===========================


ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว
เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ
(สัมมาทิฏฐิ)
ความเห็นชอบ

(สัมมาสังกัปปะ)
ความดำริชอบ

(สัมมาวาจา)
วาจาชอบ

(สัมมากัมมันตะ)
การงานชอบ

(สัมมาอาชีวะ)
อาชีวะชอบ

(สัมมาวายามะ)
ความเพียรชอบ

(สัมมาสติ)
ความระลึกชอบ

(สัมมาสมาธิ)
ความตั้งใจมั่นชอบ


ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว
เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม

===============================

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2016, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ประเภทของกรรม


ภิกษุทั้งหลาย ! กรรม 4 อย่างเหล่านี้
เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้รู้ทั่วกัน.
กรรม 4 อย่าง อย่างไรเล่า ?

(1) ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมดำ มีวิบากดำ ก็มีอยู่.
(2) ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมขาว มีวิบากขาว ก็มีอยู่.
(3) ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ก็มีอยู่.
(4) ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ก็มีอยู่.





(1)
ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมดำ มีวิบากดำ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้
ย่อมทำความปรุงแต่งทางกาย อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ย่อมทำความปรุงแต่งทางวาจา อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ย่อมทำความปรุงแต่งทางใจ อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน.

ครั้นเขาทำความปรุงแต่งดังนี้แล้ว
ย่อมเข้าถึงโลก อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ผัสสะทั้งหลาย อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขา
ซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลกอันเป็นไปด้วยความเบียดเบียน.

เขาอันผัสสะที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว
ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นไปด้วยความเบียดเบียน อันเป็นทุกข์โดยส่วนเดียว
ดังเช่น พวกสัตว์นรก.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่ากรรมดำ มีวิบากดำ.








(2)
ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมขาว มีวิบากขาว เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้
ย่อมทำความปรุงแต่งทางกาย อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ย่อมทำความปรุงแต่งทางวาจา อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ย่อมทำความปรุงแต่งทางใจ อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน.

ครั้นเขาทำความปรุงแต่งดังนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ผัสสะทั้งหลายที่ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขา
ซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลกอันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน.

เขาอันผัสสะที่ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว
ย่อมเสวยเวทนาที่ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน อันเป็นสุขโดยส่วนเดียว
ดังเช่น พวกเทพสุภกิณหา.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่ากรรมขาว มีวิบากขาว.







(3)
ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้
ย่อมทำความปรุงแต่งทางกาย
อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง

ย่อมทำความปรุงแต่งทางวาจา
อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง

ย่อมทำความปรุงแต่งทางใจ
อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง.

ครั้นเขาทำความปรุงแต่งดังนี้แล้ว
ย่อมเข้าถึงโลกอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง.

ผัสสะทั้งหลาย
ที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องเขา
ผู้เข้าถึงโลกอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง.

เขาอันผัสสะที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้างถูกต้องแล้ว
ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง
อันเป็นเวทนาที่เป็นสุขและทุกข์เจือกัน
ดังเช่น พวกมนุษย์ เทพบางพวก วินิบาตบางพวก.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว.






(4)
ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม
นั้นเป็นอย่างไรเล่า? คือ

สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ)
สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ)

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว
เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม.

-จตุกฺก. อํ. 21/320-321/237

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2016, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผัสสะ


ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวซึ่งเจตนา ว่าเป็นกรรม.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุเกิดของกรรมทั้งหลาย ย่อมมี เพราะความเกิดของผัสสะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรม ย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! มรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา.
ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๔/๓๓๔.


============================




วิธีการ ทำให้เกิด มรรค มีองค์ ๘
คือ โยนิโสมนสิการ





ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ


สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิด ความรู้สึกนึกคิด ให้กำหนดรู้
ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

เป็นเหตุให้ ปัญญาเกิด ได้แก่ สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมดับไป เป็นธรรมดา ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่
ทุกข์ สุข ที่เกิดขึ้น ไม่เที่ยง แปรปรวนตลอดเวลา

ทุกข์ สุขที่เกิดขึ้น บังคับให้เกิด หรือให้หาย/ดับ ตามความต้องการไม่ได้

เหตุมี ผลย่อมมี
เหตุไม่มี(ไม่สานหรือสร้างต่อ) ผลย่อมไม่มี

เพียง หยุดสร้างเหตุนอกตัว
มรรค และ อริยมรรค มีองค์ ๘ ย่อมเกิดขึ้น ตามความเป็นจริง






การชดใช้กรรม

มรรค มีองค์ ๘ คือ หนทาง ให้ถึง
ความดับแห่งกรรม ทั้งกรรมเก่า และกรรมใหม่


กรรมเก่า ได้แก่ กรรมหรือการกระทำ ที่เคยได้กระทำไปแล้ว
ทางมโนกรม วจีกรรม กายกรรม





วิบากกรม ผลของกรรม(ผลของการกระทำ)
ส่งมาให้ได้รับผล ในรูปของ ผัสสะ
หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ขณะ
ได้แก่ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด








กรรมใหม่ ได้แก่ เหตุ ที่กำลังจะสร้างให้เกิดขึ้นใหม่
เพราะ อวิชชา ความไม่รู้ ที่ยังมีอยู่

คือ ไม่รู้ชัดในผัสสะ
ไม่รู้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ)
ทำไมมีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เหตุของความไม่รู้ ที่ยังมีอยู่ เป็นเหตุให้
หลงสร้างเหตุทาง มโนกรรมบ้าง(ไหลไปตามกิเลส)
ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทางกาย วาจา
เป็นการสร้างกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้นอีก
กายกรรม(การกระทำทางกาย)
วจีกรรม(การกระทำทางวาจา)

ตามแรงผลักดัน ของกิเลส/ตัณหา ที่เกิดขึ้นภายใน
เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดภพชาติใหม่ ให้เกิดขึ้นเนืองๆ





มรรคมีองค์ ๘ คือ หนทางให้ถึงความดับแห่งกรรม ทั้งเก่าและใหม่
ซึ่งกระทำได้โดย โยนิโสมนสิการ(การกำหนดรู้)









กรรมที่แก้ได้ คือ กรรม ณ ปัจจุบัน

กรรมหรือเหตุที่กำลังจะสร้างให้เกิดขึ้น ในปัจจุบัน สามารถแก้ไขได้ โดยการไม่สานต่อ
ไม่ตอบโต้ เพียงแค่ดู แค่รู้ ยอมรับว่า ยังมีอยู่และเป็นอยู่ (สิ่งที่เกิดขึ้นในใจ)


กรรมในอดีต ส่งผล ในรูปของ ผัสสะ ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน แต่ละขณะๆๆๆๆ
สามารถแก้ไขได้ ด้วยการดับที่ ต้นเหตุ ได้แก่ หยุดสร้างเหตุ
ที่เกิดจาก ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เพราะ ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย









กรรมทั้งหมด ในอดีต ไม่สามารถแก้ไขได้
ที่แก้ได้ คือ ปัจจุบัน

โดยการดับเหตุปัจจัย ที่กำลังจะกระทำให้เกิดสร้างกรรมใหม่
ให้ดับลงไปได้ด้วย มรรคหรืออริยมรรค มีองค์ ๘
ที่แจ้ง และยังไม่แจ้ง แต่ปฏิบัติด้วยศรัทธา
โดยยึดหลัก โยนิโสมนสิการ



ไม่ว่าจะปฏิบัติ รูปแบบใดๆก็ตาม ส่งผลเหมือนกันหมด

หากใช้หลัก โยนิโสมนสิการ
คือ หยุดนอก รู้ใน สภาวะ จะดำเนินอย่างต่อเนื่อง
ตามเหตุปัจจัยเอง ไม่มีสะดุด ไม่มีติดขัด

ที่สะดุด และติดขัด หรือเกิดอุปกิเลส
เกิดจาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยินดี ความพอใจ ในสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้น
เหตุปัจจัยจาก อวิชชาที่มีอยู่ เป็นปัจจัยให้ ไม่รู้ชัดใน ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ซึ่งสามารถใช้หลักโยนิโสมนสิการ ให้หลุดจากสภาวะนั้นๆได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2017, 10:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กระจ่างในเรื่องกรรม

กรรม ผลของกรรม

กรรมเก่า ผลของกรรม กรรมใหม่





ต้องรู้ชัดใน ปฏิจจสมุปบาทในส่วนของผัสสะ

และอริยสัจ ๔





===========================

ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์



เหตุให้เกิดทุกข์
ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก
อันประกอบด้วยความกำหนัด

เพราะอำนาจแห่งความเพลิน
มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่
กามตัณหา(ตัณหาในกาม)
ภวตัณหา(ตัณหาในความมีความเป็น)
วิภวตัณหา(ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น)

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์








ความดับไม่เหลือของทุกข์
ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป
โดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย
ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง
ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์





ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์
หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้
ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)
การพูดจาชอบ(สัมมาวาจา)
การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ)
การเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ)
ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ)
ความระลึกชอบ(สัมมาสติ)
ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

=======================================




เป็นเหตุปัจจัยให้รู้ชัดว่า ทำไมสิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต ในแต่ละขณะๆๆๆ
จึงมีผลกระทบทางใจทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดและเฉยๆ

เป็นเหตุปัจจัยให้รู้ชัดว่า ทุกข์ สุข ที่มีเกิดขึ้นในชีวิต
ในแต่ละขณะๆๆๆๆ เกิดจากอะไรเป็นเหตุปัจจัย

รวมทั้งวิธีดับกรรม(ไม่ทำกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก/ไม่สานต่อ)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2017, 11:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

สิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เหตุปัจจัยจากความไม่รู้ที่มีอยู่
จึงสร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
โดยการปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทาง กาย วาจา(ชาติ)

ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส
ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้



================

ว่าด้วยเหตุเกิดของกรรม ๓ อย่าง

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้ มีอยู่
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.

๓ ประการเหล่าไหนเล่า ?
๓ ประการ คือ :-

โลภะ (ความโลภ) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย,
โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย,
โมหะ (ความหลง) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเมล็ดพืชทั้งหลาย
ที่ไม่แตกหัก ที่ไม่เน่า ที่ไม่ถูกทำลายด้วยลมและแดด

เลือกเอาแต่เม็ดดี เก็บงำไว้ดี อันบุคคลหว่านไปแล้ว
ในพื้นที่ซึ่งมีปริกรรมอันกระทำดีแล้วในเนื้อนาดี.



อนึ่ง สายฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมล็ดพืชทั้งหลายเหล่านั้น
จะพึงถึงซึ่งความเจริญงอกงาม ไพบูลย์โดยแน่นอน, ฉันใด;
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น คือ

กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโลภะ เกิดจากโลภะ
มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นสมุทัย อันใด;
กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย
อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพ ของบุคคลนั้น.

กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด
เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง

ไม่ว่าจะ เป็นไปอย่าง ในทิฏฐธรรม (คือทันควัน)
หรือว่า เป็นไปอย่าง ในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา)
หรือว่า เป็นไปอย่าง ในอปรปริยายะ (คือ ในเวลาต่อมาอีก) ก็ตาม.





กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโทสะ เกิดจากโทสะ
มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นสมุทัย อันใด;

กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย
อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพ ของบุคคลนั้น.

กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด
เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง

ไม่ว่าจะ เป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม
หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ
หรือว่า เป็นไปอย่างในอปรปริยายะ ก็ตาม.






กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโมหะ เกิดจากโมหะ
มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นสมุทัย อันใด;

กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย
อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพ ของบุคคลนั้น.

กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด
เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง

ไม่ว่าจะ เป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม
หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ
หรือว่า เป็นไปอย่างในอปรปริยายะ ก็ตาม.




ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการ เหล่านี้แล
เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.

ติก. อํ. ๒๐/๑๗๑/๔๗๓.


=========================

หมายเหตุ;

กรรมทั้งหลาย ได้แก่ มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2017, 14:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การกำหนดรู้ หากจะกำกับบาลี ควรจะใช้ว่า ปริญญา
เพราะ โยนิโสมนสิการ เป็นกระบวนการของการคิดใช้ความคิด

โยนิโสมนสิการ ด้วยปัญญา เกิดเป็นญาณ สติจึงใช้ญาณนั้นต่อปัจจุบันอารมณ์ด้วยญาณนั้น เป็นการทำปริญญา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2017, 16:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
การกำหนดรู้ หากจะกำกับบาลี ควรจะใช้ว่า ปริญญา
เพราะ โยนิโสมนสิการ เป็นกระบวนการของการคิดใช้ความคิด

โยนิโสมนสิการ ด้วยปัญญา เกิดเป็นญาณ สติจึงใช้ญาณนั้นต่อปัจจุบันอารมณ์ด้วยญาณนั้น เป็นการทำปริญญา





ตามนี้ใช่มั๊ย?

คัมภีร์ในพระไตรปิฎก ชั้นอรรถกถาและฎีกา
ได้แสดงไวพจน์แจกแจงความหมายในแง่ต่าง ๆ ของโยนิโสมนสิการ

================

http://www.edu.ru.ac.th/images/edu_file ... n_2555.pdf

หรือว่าจะเป็นแบบนี้

โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี คือ การกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสายแยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดยอุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย - reasoned attention: systematic attention; analytical thinking; critical reflection; thinking in terms of specific conditionality; thinking by way of causal relations or by way of problem-solving) และเป็น ฝ่ายปัญญา (a factor belonging to the category of insight or wisdom)

===========================





ถ้าคุณเช่นนั้นเข้าใจว่า "โยนิโสมนสิการ เป็นกระบวนการของการคิดใช้ความคิด"

งั้น "การคิดพิจณาแบบไหนหรือด้วยวิธีใด
จึงจะปราศจากตัวกู ของกู เข้าไปเกี่ยวข้องกับผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ที่กำลังมีกิดขึ้น










สำหรับเรื่องโยนิโสมนสิการ กระทู้นี้ละอีกหลายๆกระทู้ที่วลัยพรได้นำเสนอไว้
ที่สามารถนำมากระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ ยังไม่จบครอบถ้วนกระบวนความ

รวมทั้งกระทู้นี้ ในสิ่งที่ได้นำมาเสนอเกี่ยวกับ โยนิโสมนสิการ
ที่สามารถนำมากระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ ก็เป็นแบบนั้นเช่นกัน
คือ ทะยอยเขียน แต่ยังไม่จบ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2017, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:

ตามนี้ใช่มั๊ย?

คัมภีร์ในพระไตรปิฎก ชั้นอรรถกถาและฎีกา
ได้แสดงไวพจน์แจกแจงความหมายในแง่ต่าง ๆ ของโยนิโสมนสิการ

================

http://www.edu.ru.ac.th/images/edu_file ... n_2555.pdf

หรือว่าจะเป็นแบบนี้

โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี คือ การกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสายแยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดยอุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย - reasoned attention: systematic attention; analytical thinking; critical reflection; thinking in terms of specific conditionality; thinking by way of causal relations or by way of problem-solving) และเป็น ฝ่ายปัญญา (a factor belonging to the category of insight or wisdom)

===========================


ความรู้เช่นนั้น เกินกว่าจะก๊อปปี้แปะแล้วครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2017, 17:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระบวนการทางความคิด อันเกิดจากการได้ฟัง ได้ยิน หรือได้อ่านบทพระธรรม
นำไปสู่วิถีแห่งความรู้แจ้ง อันเป็นวิปัสสนา
ตกผลึกเป็นความรู้เป็นญาณ
สติจะนำญาณนั้นความรู้แจ้งในความเป็นจริงของสิ่งที่ปรากฏไปใช้ได้ทันท่วงที ไปกำหนดรู้ต่ออารมณ์เฉพาะหน้า

ไปหาดูนะครับ ว่าเช่นนั้นเขียนแบบนี้ ก๊อปจากไหนมาหรือเปล่า

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2017, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
walaiporn เขียน:

ตามนี้ใช่มั๊ย?

คัมภีร์ในพระไตรปิฎก ชั้นอรรถกถาและฎีกา
ได้แสดงไวพจน์แจกแจงความหมายในแง่ต่าง ๆ ของโยนิโสมนสิการ

================

http://www.edu.ru.ac.th/images/edu_file ... n_2555.pdf

หรือว่าจะเป็นแบบนี้

โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี คือ การกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสายแยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดยอุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย - reasoned attention: systematic attention; analytical thinking; critical reflection; thinking in terms of specific conditionality; thinking by way of causal relations or by way of problem-solving) และเป็น ฝ่ายปัญญา (a factor belonging to the category of insight or wisdom)

===========================


ความรู้เช่นนั้น เกินกว่าจะก๊อปปี้แปะแล้วครับ





นี่เป็นเรื่องของการตีความ

เมื่อตีความตามที่ตนเข้าใจ

การปรุงแต่งย่อมมีเกิดขึ้นต่อ
จึงมีคำพูดแบบนี้เกิดขึ้น



เช่นนั้น เขียน:
กระบวนการทางความคิด อันเกิดจากการได้ฟัง ได้ยิน หรือได้อ่านบทพระธรรม
นำไปสู่วิถีแห่งความรู้แจ้ง อันเป็นวิปัสสนา
ตกผลึกเป็นความรู้เป็นญาณ
สติจะนำญาณนั้นความรู้แจ้งในความเป็นจริงของสิ่งที่ปรากฏไปใช้ได้ทันท่วงที ไปกำหนดรู้ต่ออารมณ์เฉพาะหน้า

ไปหาดูนะครับ ว่าเช่นนั้นเขียนแบบนี้ ก๊อปจากไหนมาหรือเปล่า






ขนาดผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ
ที่มีเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ก็ยังไม่รู้ทัน


เมื่อเป็นดังนี้แล้ว
คงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสนทนาต่อ
ถ้ายังอยากโพสอะไรอีก ก็โพสต่อไป
วลัยพรจะไม่สนทนาใดๆด้วยทั้งสิ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 24 ม.ค. 2017, 17:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2017, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
walaiporn เขียน:

ถ้าคุณเช่นนั้นเข้าใจว่า "โยนิโสมนสิการ เป็นกระบวนการของการคิดใช้ความคิด"

งั้น "การคิดพิจณาแบบไหนหรือด้วยวิธีใด
จึงจะปราศจากตัวกู ของกู เข้าไปเกี่ยวข้องกับผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ที่กำลังมีกิดขึ้น


ตอบคำถาม ที่ถามไปด้วยค่ะ

โยนิโสนมสิการ เป็นบุพพภาคของมรรค
ยังไม่ถึงขนาดทำปริญญาครับ

ข้อกังขา เกี่ยวกับความจริงของชีวิต ที่ได้ยินได้ฟังมา
เมื่อโยนิโสนมสิการในคำสอน ในการรับทราบ กันมา บางข้อ ก็ไม่ต้องนำมากำหนดรู้ หรือทำปริญญา

ดังนั้น
การจะตอบคำถามที่คุณวลัยพรตั้งถามมา
คุณวลัยพร
ต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า

โยนิโสนมสิการ เป็นเพียงการสอนให้รู้จักคิดในการใช้ความคิด ไม่ให้เชื่ออะไรง่ายๆ
ยังไม่ใช่ การทำปริญญา

หากข้อนี้ไม่เข้าใจ ก็จบ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2017, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:

นี่เป็นเรื่องของการตีความ

เมื่อตีความตามที่ตนเข้าใจ

การปรุงแต่งย่อมมีเกิดขึ้นต่อ
จึงมีคำพูดแบบนี้เกิดขึ้น



เช่นนั้น เขียน:
กระบวนการทางความคิด อันเกิดจากการได้ฟัง ได้ยิน หรือได้อ่านบทพระธรรม
นำไปสู่วิถีแห่งความรู้แจ้ง อันเป็นวิปัสสนา
ตกผลึกเป็นความรู้เป็นญาณ
สติจะนำญาณนั้นความรู้แจ้งในความเป็นจริงของสิ่งที่ปรากฏไปใช้ได้ทันท่วงที ไปกำหนดรู้ต่ออารมณ์เฉพาะหน้า

ไปหาดูนะครับ ว่าเช่นนั้นเขียนแบบนี้ ก๊อปจากไหนมาหรือเปล่า






ขนาดผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ
ที่มีเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ก็ยังไม่รู้ทัน


เมื่อเป็นดังนี้แล้ว
คงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสนทนาต่อ
ถ้ายังอยากโพสอะไรอีก ก็โพสต่อไป
วลัยพรจะไม่สนทนาใดๆด้วยทั้งสิ้น

ตามสบาย เช่นนั้นเขียนให้คนเข้ามาอ่าน
ให้ทราบว่า
โยนิโสมนสิการ ไม่ใช่การทำปริญญา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2017, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โยนิโสมนสิการ


โยนิโสมนสิการ (อ่านว่า โยนิโส-มะนะสิกาน) ประกอบด้วย 2 คำ คือ

โยนิโส มาจากคำว่า โยนิ ซึ่งแปลว่า เหตุ ต้นเค้า แหล่งเกิด ปัญญา อุบาย วิธี ทาง

มนสิการ หมายถึง การทำในใจ การคิด คำนึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา





ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

สิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) ที่มีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิต


มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
(เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ)


เป็นเรื่องของ เหตุปัจจัยที่มีอยู่
ได้แก่ กรรม(กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม)

และผลของกรรม(ผลของการกระทำ)
ที่ส่งมาให้รับผลในรูปแบบของ ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นในชีวิต


โยนิโส แปลว่าเหตุ
หมายถึง มโนกรรม กล่าวคือ การกระทำทางความคิด(มโนกรรม)
(เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ/ความรู้สึกนึกคิด)

มนสิการ หมายถึง การทำในใจ คำแปลตรงตัวอยู่แล้ว
คือ ให้กระทำไว้ในใจ


ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ของคำที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ

และสามารถนำ โยนิโสมนสิการ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
มากระทำเพื่อ ดับเหตุแห่งทุกข์

ได้แก่ ดูตามความเป็นจริงของสิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ)
และรู้ตามความเป็นจริงของความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น(เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ)
โดยกระทำไว้ในใจ ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกมาทางกาย วาจา

การดูตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ)
การรู้ตามความเป็นจริงของความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น(มโนกรรม)

โยนิโสมนสิการ จึงเป็นเรื่องของ การกำหนดรู้ในผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
โดยปราศจากความมีตัวตน หรือความเห็นของตน เข้าไปแทรกแซงสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น



==============

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวซึ่งเจตนา ว่าเป็นกรรม.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุเกิดของกรรมทั้งหลาย ย่อมมี เพราะความเกิดของผัสสะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรม ย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! มรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา.
ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๔/๓๓๔.

======================




ส่วน คำที่เรียกว่า ปริญญากิจ

กิจที่ควรทำ ในที่นี้หมายถึงกิจ ๔ อย่าง คือ ปริญญากิจ (หน้าที่กำหนดรู้ทุกข์) ปหานกิจ (หน้าที่ละเหตุ
เกิดทุกข์) สัจฉิกิริยากิจ (หน้าที่ทำให้แจ้งความดับทุกข์) และภาวนากิจ (หน้าที่อบรมมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ)
เป็นกิจในอริยสัจ ๔ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๙/๑๒๘, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๔๙/๑๔๑, ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓)


-

เป็นเรื่อง กิจ ๔ อย่าง
เป็นคนละสภาวะ คนละเรื่องกับโยนิโสมนสิการ


แม้กระทั่งลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น แตกต่างกันอย่างโดยสิ้นเชิง
แต่ทั้งสองเรื่อง เกี่ยวเนื่องกัน


เหตุปัจจัยจาก เมื่อมีโยนิโสมนสิการ(การกำหนดรู้)
สภาพธรรมของ ผัสสะ(สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต) ตามความเป็นจริง

เป็นเหตุปัจจัยให้ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

เป็นเหตุปัจจัยให้ ปริญญากิจ (หน้าที่กำหนดรู้ทุกข์)
ปหานกิจ (หน้าที่ละเหตุเกิดทุกข์)
สัจฉิกิริยากิจ (หน้าที่ทำให้แจ้งความดับทุกข์)
และภาวนากิจ (หน้าที่อบรมมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ)
เป็นกิจในอริยสัจ ๔

มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง










คำว่า มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง หมายถึง
สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้น ปราศจากการมีตัวตน หรือความเห็นของตน
เข้าแทรกแซงสภาวะ(การให้ค่า ให้ความหมายกับผัสสะ ที่มีเกิดขึ้น)





===========

ปฐมเสขสูตร

ว่าด้วยโยนิโสมนสิการได้บรรลุผลสูงสุด


[๑๙๔] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว
พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เมื่อภิกษุผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตผลปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่
เราไม่พิจารณาเห็นแม้เหตุอันหนึ่งอย่างอื่น กระทำเหตุที่มี ณ ภายในว่ามีอุปการะมาก
เหมือนโยนิโสมนสิการนี้เลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมนสิการโดยแยบคาย
ย่อมละอกุศลเสียได้ ย่อมเจริญกุศลให้เกิดมี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ธรรมอย่างอื่นอันมีอุปการะมาก
เพื่อบรรลุประโยชน์อันสูงสุดแห่งภิกษุผู้เป็นพระเสขะ เหมือนโยนิโสมนสิการ ไม่มีเลย

ภิกษุเริ่มตั้งไว้ซึ่งมนสิการโดยแยบคาย
พึงบรรลุนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งทุกข์ได้.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบปฐมเสขสูตรที่ ๖

===================

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2017, 19:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผัสสะ



ผัสสะ(สิ่งที่เกิดขึ้น)
มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
(เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ)

ผัสสะที่มีเกิดขึ้น
เป็นเรื่องของกรรม(กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม)

และผลของกรรมที่ส่งมาให้รับผล
ในรูปแบบของ ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นในชีวิต


เหตุปัจจัยจาก อวิชชาที่มีอยู่
เป็นเหตุปัจจัยให้ ไม่รู้ชัดในผัสสะ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

เป็นเหตุปัจจัยให้ ไม่รู้ว่า เพราะอะไร
ทำไมผัสสะ(สิ่งที่มีเกิดขึ้น) ในแต่ละขณะ
บางครั้ง รู้สึกเฉยๆ
บางครั้งทำให้มีความรู้สึกนึกคิดเกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัยจากความไม่รู้ชัดในผัสสะ
เมื่อเกิดความรู้สึกนึกคิด
เหตุปัจจัยจากอวิชชาที่มีอยู่
จึงไม่มีการกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)

ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทางกาย วาจา
จึงเป็นการสร้างกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้นอีก





===============

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่งกรรมทั้งหลาย
ทั้งใหม่และเก่า (นวปุราณกัมม) กัมมนิโรธ และกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา. ….

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมเก่า (ปุราณกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! จักษุ (ตา) …. โสตะ (หู) …. ฆานะ (จมูก) …. ชิวหา (ลิ้น) …. กายะ (กาย) …. มนะ (ใจ)

อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นปุราณกัมม (กรรมเก่า)
อภิสังขตะ (อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น)
อภิสัญเจตยิตะ (อันปัจจัย ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น)
เวทนียะ (มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้).
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมเก่า.





ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมใหม่ (นวกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในกาลบัดนี้ อันใด,
อันนี้เรียกว่า กรรมใหม่.




ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม)เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลถูกต้องวิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันใด,
อันนี้เรียกว่า กัมมนิโรธ.



ภิกษุทั้งหลาย ! กัม ม นิโ รธค ามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทานั้น คือ อริยอัฏฐังคิกมรรค
(อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเอง ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ(การทำการงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ) สัมมาสติ(ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา.



ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยประการดังนี้แล (เป็นอันว่า)
กรรมเก่า เราได้แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย กรรมใหม่เราก็แสดงแล้ว,
กัมมนิโรธ เราก็ได้แสดงแล้ว,
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เราก็ได้แสดงแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย,
กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.

ภิกษุทั้งหลาย ! นั่นโคนไม้, นั่นเรือนว่าง.
พวกเธอจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท,
อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.
นี้แล เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.
สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๖/๒๒๗-๒๓๑.


============

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร