วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 01:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2017, 15:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิภัชชวาทในฐานะวิธีตอบปัญหา

วิภัชชวาท ในรูปของการตอบปัญหา และท่านจัดเป็นวิธีตอบปัญหาอย่างหนึ่ง ในบรรดาวิธี ตอบปัญหา ๔ อย่าง มีชื่อเฉพาะเรียกว่า “วิภัชชพยากรณ์”

เพื่อความความเข้าใจชัดเจน พึงทราบวิธีตอบปัญหา (ปัญหาพยากรณ์) ๔ อย่าง คือ

๑. เอกังสพยากรณ์ การตอบแง่เดียว คือตอบอย่างเดียวเด็ดขาด

๒.วิภัชชพยากรณ์ การแยกแยะตอบ

๓.ปฏิปุจฉาพยากรณ์ การตอบโดยย้อนถาม

๔. ฐปนา การยั้งหรือหยุด พับปัญหาเสีย ไม่ตอบ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2017, 15:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีตอบปัญหา ๔ อย่างนี้ แบ่งตามลักษณะของปัญหา ดังนั้น ปัญหาจึงแบ่งได้เป็น ๔ ประเภท ตรงกับวิธีตอบเหล่านั้น จะยกตัวอย่างปัญหาตามที่แสดงไว้ในคัมภีร์รุ่นหลังมาแสดงประกอบความเข้าใจ ดังนี้

๑. เอกังสพยากรณียปัญหา ปัญหาที่ควรตอบอย่างเดียวเด็ดขาด เช่น ถามว่า จักษุไม่เที่ยงใช่ไหม ? พึงตอบได้ทีเดียวแน่นอนลงไปว่า ใช่


๒. วิภัชชพยากรณียปัญหา ปัญหาที่แยกแยะ หรือ จำแนกตอบ เช่น ถามว่า สิ่งที่ไม่เที่ยง ได้แก่จักษุใช่ไหม ? พึงแยกแยะตอบว่า ไม่เฉพาะจักษุเท่านั้น แม้โสตะ ฆานะ เป็นต้น ก็ไม่เที่ยง


๓. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ปัญหาที่ควรตอบโดยย้อนถาม เช่น จักษุฉันใด โสตะก็ฉันนั้น โสตะฉันใด จักษุก็ฉันนั้น ใช่ไหม ? พึงย้อนถามว่า มุ่งความหมายแง่ใด ถ้าถามโดยหมายถึงแง่ใช้ดูหรือเห็น ก็ไม่ใช่ แต่ถ้ามุ่งความหมายแง่ว่าไม่เที่ยง ก็ใช่


๔. ฐปนียปัญหา ปัญหาที่พึงยับยั้ง หรือพับเสีย ไม่ควรตอบ เช่น ถามว่า ชีวะกับสรีระคือ สิ่งเดียวกัน ใช่ไหม ? พึงยับยั้งเสีย ไม่ต้องตอบ


นี้เป็นเพียงตัวอย่างสั้น ๆ ง่ายๆ เพื่อความเข้าใจในเบื้องต้น เมื่อว่าโดยใจความ

ปัญหาแบบที่ ๑ ได้แก่ ปัญหาซึ่งไม่มีแง่ที่จะชี้แจงหรือไม่มีเงื่อนงำ จึงตอบแน่นอนลงไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้ทันที เช่น อีกตัวอย่างหนึ่งว่า คนทุกคนต้องตายใช่ไหม ? ก็ตอบได้ทันทีว่า ใช่

ปัญหาแบบที่ ๒ ได้แก่ เรื่องซึ่งมีแง่ที่จะต้องชี้แจง โดยใช้วิธีวิภัชชวาทแบบต่างๆที่กล่าวมาแล้ว

ปัญหาแบบที่ ๓ พึงย้อนถามทำความเข้าใจกันก่อนจึงตอบ หรือตอบด้วยการย้อนถาม หรือสอบถามไปตอบไป อาจใช้ประกอบไปกับการตอบแบบที่ ๒ คือ ควบกับวิภัชชพยากรณ์

ใน บาลี พระพุทธเจ้าทรงใช้วิธีย้อนถามบ่อยๆ และด้วยการย้อนถามนั้นผู้ถามจะค่อยๆเข้าใจสิ่งที่เขาถามไปเอง หรือช่วยให้เขาตอบปัญหาของเขาเองโดย พระองค์ทรงชี้แนะแง่คิดต่อให้ไม่ต้องทรงตอบ

ส่วน ปัญหาแบบที่ ๔ ซึ่งควรยับยั้งไม่ตอบ ได้แก่ คำถามเหลวไหลไร้สาระจำพวกหนวดเต่า เขากระต่ายบ้าง ปัญหาที่เขายังไม่พร้อมที่จะเข้าใจ จึงยับยั้งไว้ก่อน หันไปทำความเข้าใจเรื่องอื่นที่เป็นการเตรียมพื้นของเขาก่อน แล้วจึงค่อยมาพูดกันใหม่ หรือให้เขาเข้าใจได้เองบ้าง

ที่ลึกลงไป ก็คือ ปัญหาที่ตั้งขึ้นมาไม่ถูก โดยคิดขึ้นจากความเข้าใจผิด ไม่ตรงตามสภาวะ หรือไม่มีตัวสภาวะอย่างนั้นจริง * เช่น ตัวอย่างในบาลี มีผู้ถามว่า ใครผัสสะหรือผัสสะของใคร
ใครเสวยอารมณ์ หรือเวทนาของใคร เป็นต้น ซึ่งไม่อาจตอบตามที่เขาอยากฟังได้ จึงต้องยับยั้ง หรือ พับเสีย อาจชี้แจงเหตุผลในการไม่ตอบ หรือ ให้เขาตั้งปัญหาเสียใหม่ให้ถูกต้อง ตรงตามสภาวะ

………….

ที่อ้างอิง *

* ท่านว่า ความเห็นความเข้าใจที่ทำให้ตั้งคำถามประเภทนี้ เกิดจากอโยนิโสมนสิการ หรือจากปรโตโฆสะที่ผิด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2017, 11:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1239

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธะ ก็คือรู้ทันไง ไม่เชื่อลองไปดูในมหาสติปัฎฐานสูตรซิ
จากสายสืบนิสัยศาสตร์


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร