วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 20:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2017, 14:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue กราบนมัสสการพระภิกษุทุกท่านด้วยค่ะ กราบสาธุ สาธุ สาธุ ต้องขออภัยท่านวลัยพรด้วยค่ะ ที่การเขียนที่ไม่ละเอียดทำให้เกิดความเข้าใจผิดไป ขอแก้ไขประโยคที่เขียนไว้เพื่อความเข้าใจร่วมกันค่ะ ขอแก้เป็น การเจริญสมถและวิปัสสนาคู่กันไปนี้มีพระสูตรที่เกี่ยวข้องที่จะนำมาอธิบายร่วมได้คือ
นิโรธสมาปัตติฌาน ดังที่ได้อธิบายบางส่วนไป และขอนำอรรถกถาบางส่วน ที่อธิบายถึงการเจริญสมถและวิปัสสนาคู่กันไว้อย่างชัดเจน
จากเนื้อความในส่วนการเจริญสมถวิปัสสนาคู่กันไป กล่าวถึง

“…ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลุดพ้นอย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร
เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้
ชื่อว่าเจโตวิมุติ
เพราะสำรอกราคะ

ชื่อว่าปัญญาวิมุติ
เพราะสำรอกอวิชชา ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความ
หลุดพ้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน
ด้วยความหลุดพ้น ฯ…”
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0

การที่หลุดพ้นทั้งสองส่วนคือทั้งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ ก็คือพระอรหันต์ประเภทอุภโตภาควิมุติ ซึ่งพระอรหันต์ที่เข้านิโรธสมาบัติแล้วท่านที่สามารถละกิเลสอาสวะได้ทั้งหมด ก็จะเป็นการหลุดพ้นทั้งสองส่วนคือเจโตวิมุติ และ ปัญญาวิมุติ

สำหรับท่านที่ยังละกิเลสอาสวะไม่ได้หมด
และยังมีความอาลัยในฌาน ยังติดอยู่เนวสัญญานาสัญญาตน ไม่สามารถก้าวล่วงฌานนั้นได้ท่านก็จะยังไม่บรรลุมรรคผลหลุดพ้นจากอาสวะกิเลส ดับอวิชชายังไม่ได้ค่ะ


แก้ไขล่าสุดโดย แก้วเก้า เมื่อ 13 มิ.ย. 2017, 15:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2017, 14:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


อรรถกถานิโรธสมาบัติฌานมีข้อความอธิบายไว้ว่า

"... พึงทราบวินิจฉัยในนิโรธสมาปัตติญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.
บทว่า สมถพลํ - สมถพละ ความว่า ชื่อว่าสมถะ เพราะอรรถว่าสงบธรรมเป็นข้าศึกมีกามฉันทะเป็นต้น.
สมถะนั่นแหละชื่อว่าเป็นพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว. เพราะพระอนาคามีและพระอรหันต์นั่นแหละเป็นผู้ถึงความเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ ด้วยการละกามฉันทะอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสมาธิ ท่านจึงทำสมาธิของพระอนาคามีและพระอรหันต์เหล่านั้นว่า พลปฺปตฺโต - ผู้ถึงซึ่งกำลัง แล้วจึงกล่าวว่า สมถพลํ มิใช่ของคนอื่น. ปาฐะว่า สมาธิพลํ บ้าง.

บทว่า วิปสฺสนาพลํ - วิปัสสนาพละ ความว่า ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะอรรถว่าเห็นธรรมด้วยอาการหลายอย่างโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. วิปัสสนานั่นแหละชื่อว่าเป็นพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว. วิปัสสนาญาณถึงซึ่งกำลังของพระอริยเจ้าทั้งสองเหล่านั้น.

สมถพละ เพื่อสงบจิตตสันดานโดยลำดับ และเพื่อดำเนินไปในนิโรธ.
ส่วนวิปัสสนาพละ เพื่อแสดงโทษในวัฏฏะ และเพื่อแสดงอานิสงส์ในนิโรธ.

บทว่า นีวรเณ - เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งนิมิตตสัตตมี. แปลว่า ในเพราะนิวรณ์. อธิบายว่า มีนิวรณ์เป็นนิมิต มีนิวรณ์เป็นปัจจัย. หรือเป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ แปลว่า เพราะนิวรณ์.
บทว่า น กมฺปติ - ไม่หวั่นไหว ได้แก่ บุคคลผู้มีความพร้อมในฌาน.
อีกอย่างหนึ่ง สมาธิสัมปยุตด้วยฌานนั้น ไม่หวั่นไหวในเพราะนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน เพราะท่านประสงค์องค์แห่งฌานในบทว่า ฌานํ. พึงถือการประกอบนี้แหละในนิทเทสนี้.
บทว่า อุทฺธจฺเจ จ - ในเพราะอุทธัจจะ คือ ในเพราะอุทธัจจะอันเป็นจิตตุปบาทสหรคตด้วยอุทธัจจะ.
อนึ่ง บทว่า อุทฺธจฺจํ ได้แก่ ความฟุ้งซ่าน. อุทธัจจะนั้นมีความไม่สงบเป็นลักษณะ.
บทว่า อุทฺธจฺจสหคตกิเลเส จ - ในเพราะกิเลสสหรคตด้วยอุทธัจจะ ได้แก่ ในเพราะกิเลสคือโมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะอันสัมปยุตด้วยอุทธัจจะ ถึงความเป็นกิเลสเกิดขึ้นร่วมกัน สหรคตด้วยอุทธัจจะ.
บทว่า ขนฺเธ จ ในเพราะขันธ์ คือ ในเพราะขันธ์ ๔ อันสัมปยุตด้วยอุทธัจจะ.
บทว่า น กมฺปติ น จลติ น เวธติ - ไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่ง ไม่คลอนแคลน เป็นไวพจน์ของกันและกัน.

พึงประกอบว่า ไม่หวั่นไหว ในเพราะอุทธัจจะ. ไม่กวัดแกว่ง ในเพราะกิเลสสหรคตด้วยอุทธัจจะ. ไม่คลอนแคลน ในเพราะขันธ์สหรคตด้วยอุทธัจจะ.
พึงทราบวิปัสสนาพละว่า เพราะท่านกล่าวอนุปัสนา ๗ วิปัสสนาพละจึงเป็นอันบริบูรณ์ด้วยอำนาจแห่งอนุปัสนานั้นนั่นเอง.
บทว่า อวิชฺชาย จ - ในเพราะอวิชชา ได้แก่ ในเพราะอวิชชาในจิตตุปบาทอันเป็นอกุศล ๑๒ อย่าง…”

“...จริงอยู่ การทำสมถะและวิปัสสนาทั้งสองของภิกษุนั้นให้เป็นยุคนัทธะคือธรรมที่เทียมคู่นี้ แล้วขึ้นสู่สมาบัติ ๘ เป็นความขวนขวายของนิโรธตามลำดับ. มิใช่เพราะเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เพราะเหตุนั้น จิตทั้งหลายจึงไม่เป็นไปเหนือจิตสองดวงเพราะเป็นปโยคะแห่งนิโรธ...”


นี่คือบางส่วนของอรรถกถาค่ะ การเจริญสมถและวิปัสสนาคู่กันไป เกิดขึ้นในลัษณะดังกล่าวนี้ น่าจะทำให้เข้าใจการเจริญสมถและวิปัสสนาคู่กันได้ เพราะผลของผู้บรรลุมรรคผล คือผู้พ้นโดยส่วนสองเช่นกัน
การที่ผู้เขียนยกคิริมาภิกษุที่ถ้าใช้สัญญา ๑๐ ก็จะหายจากป่วยไข้ นั้นพระสูตรนั้นก็เป็นพระสูตรที่เจริญสมถและวิปัสสนาคู่กันไป จะทำได้ถ้าผู้เจริญเป็นผู้ชำนาญ นี่คือตามความคิดเห็นของผู้เขียน แต่ถ้าท่านใดไม่เห็นด้วยก็แสดงความคิดเห็นมานะคะผู้เขียนพร้อมจะยอมรับค่ะ,มีคำอธิบายเรื่องนี้หลายแห่งลองตามไปศึกษาดูนะคะ และเรื่องความชำนาญในสมาธิจนเกิดวสี มีปรากฎในพระสูตรและอรรถกถาว่าเป็นปัญญาอย่างหนึ่งค่ะ

และถ้าผู้เขียนแสดงทัศนะผิดพลาดไปอย่างใดขอครูอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎกในที่นี้ สงเคราะห์ด้วย
ถ้าจะให้ผู้เขียนแสดงความคิดเห็นอีกครั้งเรื่องการเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอีกครั้ง ก็ยังคงเห็นว่า
เป็นผลของการเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจากอรรถและพยัชนะจากมรรคทั้ง ๔ มรรค ท่านอธิบายไว้ต่างกัน


แก้ไขล่าสุดโดย แก้วเก้า เมื่อ 13 มิ.ย. 2017, 15:24, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2017, 14:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


1. ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น
“… ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพ
ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้
สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญ
วิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่าธรรม
ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจ
เป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมที่ไม่ล่วง
เกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ฯ
คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคเกิดอย่างไร ฯ
สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด ...
คำว่า ย่อมเสพ ในคำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่ง
มรรคนั้น ...
รู้อยู่ชื่อว่าเสพ เห็นอยู่ชื่อว่าเสพ
พิจารณาอยู่ชื่อว่าเสพ อธิษฐานจิตอยู่ชื่อว่าเสพ น้อมจิตไปด้วยศรัทธาชื่อว่า
เสพ ประคองความเพียรไว้ชื่อว่าเสพ ตั้งสติไว้มั่นชื่อว่าเสพ ตั้งจิตไว้อยู่
ชื่อว่าเสพ ทราบชัดด้วยปัญญาชื่อว่าเสพ รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งอยู่ชื่อว่าเสพ
กำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ชื่อว่าเสพ ละธรรมที่ควรละชื่อว่าเสพ เจริญ
ธรรมที่ควรเจริญชื่อว่าเสพ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเสพ ย่อม
เสพอย่างนี้ ฯ
คำว่า เจริญ ความว่า เจริญอย่างไร ฯ
ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าเจริญ ... ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่า
เจริญ ย่อมเจริญอย่างนี้ ฯ
คำว่า ทำให้มาก ความว่า ทำให้มากอย่างไร ฯ
ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าทำให้มาก ... ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ชื่อว่าทำให้มาก ทำให้มากอย่างนี้ ฯ

คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อม
ละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
ย่อมสิ้นไป อย่างไร ฯ
ย่อมละสังโยชน์ ๓ นี้ คือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต-
*ปรามาส อนุสัย ๒ นี้ คือ ทิฐิอนุสัย วิจิกิจฉาอนุสัย ย่อมสิ้นไปด้วย
โสดาปัตติมรรค ฯ
ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วน
หยาบๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ
ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ฯ
ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์
ส่วนละเอียดๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วน
ละเอียดๆ ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ฯ
ย่อมละสังโยชน์ ๕ นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ
อวิชชา อนุสัย ๓ นี้ คือ มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย ย่อม
สิ้นไปด้วยอรหัตมรรค ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ…”


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2017, 14:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นมรรคที่ผู้เจริญจะเป็นผู้ที่มากไปด้วยสมาธินำธรรมที่เกิดในสมาธิฌานนั้นที่เห็นด้วยปัญญาจักษุ ทั้งเรื่อง ธาตุ ขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) อายตนะ ฯลฯ ที่เห็นได้จากจักษุฌานนั้นๆ โดยความเป็นสภาพ
ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ เพื่อละกิเลสอาสวะและอวิชชา
ขันธ์ที่ปรากฏส่วนรูป เช่นผม ขน เล็บ ฟัน หนัง อาการ 32 ต่างๆ อสุภ อสุภา หรือรูปที่ไกล รูปที่ใกล้ก็ตาม
ผู้เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นก็เจริญเช่นนี้จนกระทั่งส่วนของรูปนี้ดับไปกลายเป็นธาตุดินไป
พิจารณาอย่างไรๆ ก็ไม่ปรากฏนิมิตขึ้นได้อีกดับพลึบไปเป็นต้น

ในพระสูตรอื่นได้มีคำสอนเรื่องอินทรีย์สังวร สังวรปธารความเพียรระวังเห็นรูปด้วยจักษุ ไม่ถือนิมิต ไม่ถือพยัญชนะ มีพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้เป็นสมาธิที่เป็นโลกุตรมากมาย อาทิ ฌานสูตร
เป็นต้น ให้ท่านศึกษาแล้วจะได้นำมาปฎิบัติได้ถูกต้องค่ะ

ให้สำรวม ผัสสะทางอื่นอีกรวมหกทางนี้ไม่ว่าจะเป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคตก็ให้สำรวม เป็นต้น
ในส่วนของนาม คือเวทนา ๓ ทุกข์เวทนา สุขเวทนา ไม่ทุกข์ไม่สุขเวทนา ก็ให้มองโดยสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จนกระทั่งเวทนา ๓ ดับไป เป็นต้นหลังจากท่านละเวทนาได้สภาะจะเกิดคือสามารถแยกเวทนาที่เกิดกับกาย กับเวทนาที่เกิดกับจิตได้ค่ะ


สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เช่นกัน ก็ให้พิจารณาไปเช่นเดียวกัน ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมที่เนื่องด้วยจิต ท่านก็จะพิจารณาเห็น
จิตในจิต ก็พิจารณาไป สัญญาการจำได้หมายรู้ทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต สังขารจิต จิตปรุงกิเลส กิเลสปรุงจิต ก็นำมาพิจารณาโดยสภาพของความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา การละนิวรณ์ ๕ และสัมมาสมาธิ สัมมาญานะ เพื่อสัมมาวิมุติ

วิญญาณตัวรู้ ซึ่งปรากฏให้เห็นตลอดเวลา(อันเนื่องจากมรรคที่เพียรปฎิบัติจนเป็นสัมมามรรค
ขอกล่าวถึงคร่าวๆ นะคะ) ก็พิจารณาโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เช่นกันค่ะ
จนสามารถดับวิญญาณตัวรู้ได้ ดับอวิชชาได้ กิเลสอาสวะหมดสิ้นไป หรือบางท่านจะละกิเลสบางส่วนไปได้เพราะเห็นอริยสัจด้วยปัญญาค่ะ

( บุคคลที่ท่านหลุดพ้นแล้วโดยส่วนสองก็จะเป็น อุภโตภาควิมุตบุคคล ถ้าท่านที่ละกิเลสบางส่วนไปเพราะเห็นอริยสัจด้วยปัญญา ก็จะเป็นกายสักขีบุคคล)


ในส่วนนี้ขอตอบท่านวลัยพร ในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่า
ทั้งอรรถและพยัญชนะที่ปรากฏในส่วนของการเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น
นี้เป็นเจริญธรรมเบื้องต้นของการเจริญสมถและวิปัสสนาคู่กันไปค่ะ
ถ้าท่านอื่นมีความคิดเห็นที่ต่างออกไป ช่วยสงเคราะห์ด้วยค่ะ


แก้ไขล่าสุดโดย แก้วเก้า เมื่อ 13 มิ.ย. 2017, 15:53, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2017, 14:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าเราอ่านพระสูตรเราจะพบว่าธรรมของพระพุทธองค์ที่ทรงตรัสสอนไว้ย่อมมีความลงตัวซึ่งกันและกันอยู่ตลอดทั้งอรรถและพยัญชนะ การที่จะทำให้เข้าใจพระสูตรนี้มากยิ่งขึ้น เรื่องบุคคลบัญญัติน่าจะช่วยได้มาก อ่านเพิ่มเติมดูค่ะ
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.ph ... agebreak=0
และในสังคีติยสูตร ได้อธิบาย
ทักขิเณยยบุคคล ๗ อย่าง ดังนี้
“...๑. อุภโตภาควิมุตต [ท่านผู้หลุดพ้นแล้วโดยส่วนทั้งสอง]
๒. ปัญญาวิมุตต [ท่านผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอำนาจปัญญา]
๓. กายสักขิ [ท่านผู้สามารถด้วยกาย]
๔. ทิฏฐิปัตต [ท่านผู้ถึงแล้วด้วยความเห็น]
๕. สัทธาวิมุตต [ท่านผู้พ้นแล้วด้วยอำนาจศรัทธา]
๖. ธัมมานุสารี [ท่านผู้ประพฤติตามธรรม]
๗. สัทธานุสารี [ท่านผู้ประพฤติตามศรัทธา]…”
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0


กีฏาคิริสูตร พระสูตรนี้สรุปย่อๆ คือ
กล่าวถึงบุคคล ๗ จำพวก อุภโตภาควิมุติบุคคล และ ปัญญาวิมุตบุคคล บุคคลสองกลุ่มนี้
อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น(อริยสัจ) ด้วยปัญญา
กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทย่อมไม่มีกับสองบุคคลนี้
ส่วนบุคคลที่เหลือคือ กายสักขีบุคคล ทิฎฐิปัตตบุคคล สัทธาวิมุตบุคคล ธัมมานุสารีบุคคล และ สัทธานุสารีบุคคล นั้น
อาสวะ บางเหล่า ของท่านนั้นสิ้นไปเพราะเห็น(อริยสัจ) ด้วยปัญญา
กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทย่อมมีแก่ภิกษุนี้

http://84000.org/tipitaka/atita100/v.ph ... agebreak=0


แก้ไขล่าสุดโดย แก้วเก้า เมื่อ 13 มิ.ย. 2017, 15:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2017, 14:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


2. เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
“...วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความ
เป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
วิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ

ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
ฯลฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
เกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ วิปัสสนาด้วย
อรรถว่าพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความ
เป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์
และความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนา
มีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนา
เป็นเบื้องต้น ฯ

ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็น
ที่เสพ ฯ
คำว่า มรรคย่อมเกิด ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละ
สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นเวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรา และมรณะ โดยความเป็นสภาพ
ไม่เที่ยง ฯลฯ โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมี
การปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์ และความที่จิตมีอารมณ์
เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ คำว่า ย่อมเกิด ความว่า
มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้
อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างนี้ ฯ…”

การเจริญสมถมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นตามที่ปรากฏในพระสูตรนี้ ( ก็คล้ายกับ
การเจริญวิปัสสนามีสมถเป็นเบื้องต้น ในเรื่องของการพิจารณารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
คือการพิจารณาขันธ์ ธาตุ อายตนะที่เห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์และความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิการเจริญมากๆ ขึ้นๆ มรรคย่อมเกิดย่อมละสังโยชน์ ได้ หมดเช่นเดียวกับการเจริญวิปัสสนามีสมถเป็นเบื้องต้นเช่นกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2017, 14:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


การที่ผู้มากด้วยวิปัสสนาเช่นนี้ทำให้สมาธิเกิดในภายหลังค่ะ แต่ในพระสูตรท่านไม่มีการกล่าวถึงเรื่องอินทรีย์ภาวนา ฯลฯ เช่นการเจริญวิปัสสนามีสมถเป็นเบื้องต้น
ในทัศนะของผู้เขียน เห็นว่าท่านที่เจริญสมถโดยมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เป็นท่านที่มากด้วยวิปัสสนา ถ้าท่านละกิเลสอาสวะได้หมด ละอวิชชาได้ ท่านก็น่าจะเป็น ปัญญาวิมุตบุคคล แต่ถ้าอาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นอริยสัจด้วยปัญญา
ก็น่าจะเป็น ทิฎฐิปัตตบุคคล สัทธาวิมุตบุคคล ธัมมานุสารีบุคคล หรือ สัทธานุสารีบุคคล ตามแต่ท่านจะเป็นผู้มากด้วย ทิฎฐิ หรือ มากด้วยศรัทธา หรือเป็นผู้ประพฤติตามธรรม หรือท่านผู้ประพฤติตามศรัทธา ค่ะ

ถ้าผู้เขียนมีความไม่รอบคอบในคำอธิบายขอให้ท่านผู้รู้สงเคราะห์ด้วยค่ะ ยินดีน้อมรับคำชี้แนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2017, 14:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


3. เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กัน
“... ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ ...
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอารมณ์อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มี
นิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นอารมณ์ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่าน
จึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
ฯลฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
เกิดอย่างนี้ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุย่อมเจริญสมถะ
และวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ อย่างนี้ ฯ
ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจรอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นโคจร เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจร ฯ
[๕๓๙] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความละอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละกิเลสอัน
ประกอบด้วยอวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็น
โคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่
ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความละ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะ
และวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความละ ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือ ความ
ที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบด้วย
อวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย
ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกัน
และกัน ด้วยความสละ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและ
วิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละ ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความออกอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุออกจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ
คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุออกจาก
กิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มี
นิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความออก เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความออก ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลีกไปอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุหลีกไปจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ
คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุหลีกไป
จากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความหลีกไป เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลีกไป ฯ
[๕๔๐] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรม
ละเอียดอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
พิจารณาเห็น เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะ
และวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความ
เป็นธรรมละเอียด เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็น
คู่กัน ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต
อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
พิจารณาเห็น เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและ
วิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็น
ธรรมประณีต เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็น
คู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลุดพ้นอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
พิจารณาเห็น เป็นหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ ชื่อว่าเจโตวิมุติ
เพราะสำรอกราคะ ชื่อว่าปัญญาวิมุติเพราะสำรอกอวิชชา ด้วยประการดังนี้ สมถะ
และวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความ
หลุดพ้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน
ด้วยความหลุดพ้น ฯ
[๕๔๑] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะ
อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยอวิชชาสวะ มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีอาสวะ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะ ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้ามอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ คือ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลส
อันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าว
ว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนา ด้วยความไม่มีนิมิตร อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตรทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตรทั้งปวง มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีนิมิตร เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีนิมิตร ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนา
ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร
ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วง
เกินกันและกัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญ
สมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความว่างเปล่า เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรม
ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น
อันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมที่ไม่ล่วงเกินกัน
และอินทรีย์มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ฯลฯ คำว่า มรรค
ย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อม
ละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน
ด้วยความว่างเปล่าอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยอาการ ๑๖
เหล่านี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันอย่างนี้ ฯ…”


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2017, 14:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


ในส่วนนี้ผู้เขียนเห็นด้วยกับคุณวลัยพร ว่าเป็นส่วนของฌานวิปัสสนาขั้นสูง แล้ว
ผู้เขียนขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมอีกคือ
เป็นขั้นอาสวะกิเลสขั้นสุดท้าย เพราะ

“...เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา ...”


การละอุทธัจจะ และ อวิชชา อันเป็นสังโยชน์เบื้องสูงตัวสุดท้าย เพราะเมื่อละอวิชชาได้ก็จะสามารถละกิเลสอาสวะได้ทั้งหมด
และจากประโยคที่ว่า


“...เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มี
นิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน...”


การมีนิโรธเป็นอารมณ์ นิโรธถ้าตามความเข้าใจก็คือ การมีนิพพานเป็นอารมณ์
(ถ้าท่านไหนไม่เห็นด้วยช่วยสงเคราะห์แย้งด้วยนะคะ)
จะไม่สามารถมีได้ด้วยการคิดหรือการตรึก การมีนิพพานเป็นอารมณ์ต้องเกิดจากปัญญาที่ละกิเลสอาสวะ ได้หมดแล้ว
ละอวิชชาได้แล้ว ดังนั้นถ้าเป็นเช่นวิเคราะห์การปฎิบัติสมถวิปัสสนาคู่กันไป จะเป็นขั้นตอนของ มรรค ผล นิพพาน


ขอทุกท่านแสดงความคิดเห็นด้วยเพื่อความเข้าใจธรรม เพราะการสนทนาธรรมเป็นกุศลค่ะ

จะเข้ามาอธิบายเพิ่มเติมอีกหลายๆ วันนะคะถ้าเสร็จจะพิมพ์ให้ทันทีค่ะ ค้างไว้อีก 2 มรรคค่ะ
การแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ยากและยาวมากนี้ในช่วงเวลาสั้นๆ บางครั้งจะเป็นภาษาเขียนที่ผู้เขียนคิดโดยไม่มีการตรวจทาน
ถ้าผิดพลาดเช่นไรขออภัยด้วยค่ะ โดยเฉพาะเรื่องบุคคล ผู้เขียนพิจารณาเพียงคร่าวๆ เท่านั้น ขอบพระคุณค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2017, 14:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2017, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


แก้วเก้า เขียน:
ในส่วนนี้ผู้เขียนเห็นด้วยกับคุณวลัยพร ว่าเป็นส่วนของฌานวิปัสสนาขั้นสูง แล้ว
ผู้เขียนขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมอีกคือ
เป็นขั้นอาสวะกิเลสขั้นสุดท้าย เพราะ

“...เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา ...”


การละอุทธัจจะ และ อวิชชา อันเป็นสังโยชน์เบื้องสูงตัวสุดท้าย เพราะเมื่อละอวิชชาได้ก็จะสามารถละกิเลสอาสวะได้ทั้งหมด
และจากประโยคที่ว่า


“...เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มี
นิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน...”


การมีนิโรธเป็นอารมณ์ นิโรธถ้าตามความเข้าใจก็คือ การมีนิพพานเป็นอารมณ์
(ถ้าท่านไหนไม่เห็นด้วยช่วยสงเคราะห์แย้งด้วยนะคะ)
จะไม่สามารถมีได้ด้วยการคิดหรือการตรึก การมีนิพพานเป็นอารมณ์ต้องเกิดจากปัญญาที่ละกิเลสอาสวะ ได้หมดแล้ว
ละอวิชชาได้แล้ว ดังนั้นถ้าเป็นเช่นวิเคราะห์การปฎิบัติสมถวิปัสสนาคู่กันไป จะเป็นขั้นตอนของ มรรค ผล นิพพาน


ขอทุกท่านแสดงความคิดเห็นด้วยเพื่อความเข้าใจธรรม เพราะการสนทนาธรรมเป็นกุศลค่ะ

จะเข้ามาอธิบายเพิ่มเติมอีกหลายๆ วันนะคะถ้าเสร็จจะพิมพ์ให้ทันทีค่ะ ค้างไว้อีก 2 มรรคค่ะ
การแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ยากและยาวมากนี้ในช่วงเวลาสั้นๆ บางครั้งจะเป็นภาษาเขียนที่ผู้เขียนคิดโดยไม่มีการตรวจทาน
ถ้าผิดพลาดเช่นไรขออภัยด้วยค่ะ โดยเฉพาะเรื่องบุคคล ผู้เขียนพิจารณาเพียงคร่าวๆ เท่านั้น ขอบพระคุณค่ะ




แก้วเก้า เขียน:
ในส่วนนี้ผู้เขียนเห็นด้วยกับคุณวลัยพร ว่าเป็นส่วนของฌานวิปัสสนาขั้นสูง


ที่ได้นำมาอธิบายเกี่ยววิโมกข์ ๘
ไม่ได้บอกว่า เป็นส่วนของฌานวิปัสสนาขั้นสูงค่ะ

เพราะเป็นเรื่องปกติของผู้ที่มีสัมมาสมาธิ
ย่อมรู้ชัดในผัสสะ ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ


"เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
มีนิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน"


นิโรธตรงนี้ ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ
แต่เป็น สมถะ ที่เป็นสัมมาสมาธิ ที่ละอารมณ์บัญญัติขาดแล้ว

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2017, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องฌาน ฌานสมาบัติ นิโรธสมาบัติ
หากมีสัมมาสมาธิเกิดขึ้นแล้ว

จะรู้ว่า เป็นความปกติของผัสสะต่างๆที่มีอยู่
แม้ขณะจิตเป็นสมาธิที่เป็นอัปนาสมาธิ



เช่นเดียวกับเรื่อง เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป
เป็นเรื่องของ สัมมาสมาธิ ที่มีรูปนามเป็นอารมณ์
วิปัสสนา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงสามารถมีเกิดคู่กันไปได้

จึงเป็นที่มาของ ภังคญาณ จนถึง โคตรภูญาณ
ที่วลัยพรไปเกริ่นไว้ในตอนต้น


แต่ตอนนี้ ไม่ขอโพสอะไรในกระทู้นี้อีกแล้ว
ไม่ได้รู้สึกไม่พอใจอะไรทั้งสิ้น

แต่เพราะเห็นแล้วว่า ออกนอกเรื่องสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2017, 23:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว



คุณ แก้วเก้า

:b1:

...สวัสดี...นะคะ...

:b1: :b1: :b1:

:b1: :b1:

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2017, 00:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: ...

เอกอนรู้สึกแปลกใจ พอสมควรนะ ... :b1:
เวลาที่ได้อ่านการแสดงความเห็นของคุณแก้วเก้าทีไร
เอกอนจะรู้สึก ... อืมมม์... :b1:
และเอกอนก็นึกถึงใครบางคน ... :b1:

และเมื่ออ่านเสร็จ เอกอนรู้สึกว่าอยากจะทักทายคุณ
เอกอนจึงได้ ทักทาย ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ... สำหรับปี 2017 :b32: :b32:

เมื่อทักทายในครั้งที่ 2 เสร็จ
เอกอนก็ยังคงเก็บอารมณ์ที่ปรากฎขึ้นในใจไปทบทวน

ทบทวนไป เอกอนก็เห็นแต่ภาพคุณศรีวรรณ
อ่านเรื่องเล่าของคุณ เอกอนก็เห็นแต่ภาพคุณศรีวรรณในความรู้สึก
คุณศรีวรรณ คุณศรีวรรณ คุณศรีวรรณ...
เอกอนจึงเข้าไปส่องตามหาคุณศรีวรรณในห้อง สมาธิ-สติ คาดว่าจะได้เจอคนที่เอกอนนึกถึง
แต่เอกอนก็ไม่เห็นวี่แววของ คุณศรีวรรณ

และเอกอนเลยไปแอบดูกำเนิดในลานของ "แก้วเก้า"

:b1: ...

และเอกอนก็เห็นความเปิ่นของตัวเอง เปิ่นจริง ๆ เปิ่นซ้ำ เปิ่นซาก

viewtopic.php?f=1&t=50454&p=374730#p374730

eragon_joe เขียน:
Kiss Kiss Kiss

:b8: :b8: :b8:

ทันทีที่เอกอนเข้ามาแล้วเห็นชื่อ แก้วเก้า ชื่อนี้รู้สึกดึงดูดใจ
แม้ยังไม่ทันได้อ่าน เอกอน สัมผัสรู้สึกได้ถึง
อารมณ์มิตรภาพที่ละมุน ๆ ชุ่มชื่นใจบางอย่าง

จึงได้เข้าไปเริ่มต้นความเห็นแรกของคุณ และเมื่อได้เห็นว่าเป็นคุณ ศรีวรรณ ...
เอกอนรู้สึกดีใจมากที่ได้พบคุณอีกครั้ง ... คุณหายไปนานเลย

คงมีเรื่องราวมากมายที่จะได้ไต่ถามสารทุกข์สุขดิบคุณแน่เลย

:b27: :b27: :b27:


คุณหายไปนานทุกที :b1:
เอกอนรู้ ว่าคุณมีเรื่องที่ควรจะได้เล่ามากมาย เล่าเถอะ
เอกอนรู้ว่าคุณพิจารณาการดำเนินเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างพอเหมาะแน่นอน...


:b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2017, 05:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
น่าอัศจรรย์ใจในความสามารถในการสรรหาเลือกเฟ้นข้อธรรมอันมีคุณค่าและประทับใจนักปฏิบัติธรรมมาเล่าสู่กันฟัง
ของคุณแก้วเก้า

อนุโมทนาบุญด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ

สิ่งที่น่าสนใจ น่าสงสัยใคร่สนทนาต่อก็คือคำพูดที่ว่า

"มีนิโรธเป็นโคจร"

มีอธิบายว่านิโรธคือ นิพพาน

จึงสงสัยว่าที่อธิบายเรื่อง การปฏิบัติแบบ สมถะที่มีวิปัสสนานำหน้า ที่ว่านี้ เป็นเรื่องของคนที่กำลังเดินทางเข้าสู่มรรคผลหรือเป็นเรื่องของคนที่ได้ถึงมรรค ผล นิพพานแล้วกันแน่นะครับ
:b10:
:b20:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร