วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 02:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2017, 20:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b37:

วิปัสสนาภาวนา เป็นวิชาของพระพุทธเจ้า มีสอนเฉพาะในพุทธศาสนา เป็นเอกลักษ์ที่สำคัญยิ่งของพุทธศาสนา เป็นงานและหน้าที่ที่ชาวพุทธทุกคนจะต้องรู้และทำเป็น

ถ้าใครสามารถเข้าใจถึงหัวใจและหลักของการทำวิปัสสนาภาวนาแล้วลงมือปฏิบัติตามจริงๆ ผลที่จะได้รับตอบแทนกลับมาทันทีก็คือการมีชีวิตที่สงบ เย็น เป็นสุข ทุกเมื่อเชื่อวัน จนได้รับผลสุดท้ายเป็นความสุขชั่วนิจนิรันดร์กาล
เชิญทุกท่านมาเสวนากันดูในกระทู้นี้นะครับ

นี่เป็นข้อความตอนหนึ่งที่พูดถึงหลักและหัวใจวิปัสสนาภาวนาแบบอ้อมๆ โดยบังเอิญ

อาตาปี=มีความเพียรเผากิเลส
ตอนที่นิ่งรู้นิ่งสังเกต(โดยไร้ปฏิกิริยาตอบโต้)นี่ต้องใช้โพธิปักขิยธรรมเกือบทุกตัวเลยนะครับ ลองไปทำจริงๆดูสิจะได้รู้ว่าโพธิปักขิยธรรมข้อไหนบ้างตื่นขึ้นมาทำงาน

สัมปฌาโน=มีความรู้ตัวทั่วพร้อม มีปัญญา
ก็คือตัวคำว่า "นิ่งรู้"ซึ่ง=สัมมาทิฏฐิ "นิ่งสังเกต"=สัมมาสังกัปปะ นั่นเลยทีเดียว

สติมา=รู้ ทัน ระลึกได้ ไม่ลืม
รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ เป็นสำคัญ ระลึกได้ว่าอารมณ์ใดเป็นอดีต ใดเป็นอนาคต ใดจึงจะเป็นปัจจุบัน
ไม่ลืม หลักการภาวนา สติปัฏฐาน 4 มรรค 8 หรือโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ

ตัวนิ่งรู้นี่มีทั้งที่เป็นสติและที่เป็นปัญญารวมอยู่ในคำเดียวกัน

วิเนยยะ = เอาออกเสียให้ได้ = จนมันดับไปหรือเปลี่ยนไป(โดยไร้ปฏิกิริยาตอบโต้ใดๆ = เฉย อุเบกขา สังขารุเปกขา)

โลเก = ผัสสะของทวารทั้ง 6

อภิชฌา = ยินดี

โทมนัสสัง = ยินร้าย

ทั้ง 3 นี้รวมอยู่ในคำว่า "จนมันดับไปหรือเปลี่ยนไป (โดยไร้ปฏิกิริยาตอบโต้ใดๆ)"

"ปัจจุปันนัญจะ โยธัมมัง ตัตถะตัตถะ วิปัสสติ อสังหิรัง อะสังกุปปัง
ตังวิทธรา มนุพรูหเย"

"ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้นๆอย่างแจ่มแจ้ง ไม่คลอนแคลน
เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้"

นี่คือที่รวมของหลักปฏิบัติที่ว่า

"สำรวมกายใจมานิ่งรู้ นิ่งสังเกต ปัจจุบันอารมณ์ จนมันดับไปหรือเปลี่ยนไปต่อหน้าต่อตา(โดยไร้ปฏิกิริยาตอบโต้ใดๆ)"

การรู้และเห็นปัจจุบันอารมณ์ เกิดขึ้นดับไป ๆๆๆ ได้ตลอดสายโดยไม่มีความนึกคิดปรุงแต่งมาเกิดคั่น (อุทธัจจะ) ย่อมจะทำให้รูความเป็นจริงของธรรมว่า ตลอดเวลาชีวิต มีแต่ความ เกิด และ ดับ 2 สิ่งนี้เท่านั้นหาสาระแก่นสารอื่นไม่ได้ จะแก้ไข ลิขิตอะไร ขีดชีวิตให้ไปทางไหนทำได้ที่ปัจจุบันอารมณ์ที่เดียว และสิ่งที่จะต้องทำในการทำก็คือ

"ไม่ต้องทำอะไรเลย"

มีเพียงแต่นิ่งรู้ นิ่งสังเกต ปัจจุบันอารมณ์ ซึ่งเป็นทั้งกรรมใหม่คือผัสสะใหม่ หรือวิบากกรรมเก่าที่มาแสดงผลตามกำลังแห่งเหตุและปัจจัย มากระทุ้งให้เกิดกรรมใหม่ทับซ้ำเข้าไปแล้วส่งต่อให้หมุนเวียนเปลี่ยนไปไม่รู้จบ

ถ้าไม่ทำอะไรเลยกับอารมณ์และสภาวธรรมที่มาแสดงณ ปัจจุบันขณะปัจจุบันอารมณ์ดังที่ว่านี้ได้ นี่คือวิปัสสนาภาวนา

วิปัสสนาภาวนาเป็นกระบวนการชำระจิตของตนให้ขาวรอบตามโอวาทปาติโมกข์ข้อที่ 3 นั่นเอง

ใครเข้าถึงหลักปฏิบัติวิปัสสนาอันนี้ได้ ก็ หมายถึงผู้ที่ตกอยู่ในกระแสของแม่น้ำแห่งมรรค 8 เป็นผู้เที่ยงแท้แน่นอนถึงจะได้เข้าถึงนิพพานโดยเร็ววัน

เชิญพิจารณากันด้วยเหตุและผลนะครับ

ทั้งหมดที่กล่าวนี้คือเรื่องของการถอนสมุทัยตามหลักอริยสัจ 4 ที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ไม่จำเป็นต้องพูดถึง ตัณหา แต่ตัณหา มันจะถูกถอนไปทุกเมื่อเชื่อวัน ทุกผัสสะ ทุกปัจจุบันอารมณ์ โดยอัตโนมัติ เมื่อเข้าใจถึงแก่นแท้ของวิปัสสนาภาวนาแล้วลงมือปฏิบัติจริงๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2017, 06:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b46:
ถ้าเราสังเกตให้ดีๆจะพบว่า ร่างกายและจิตใจเรานี้จะมีการปรับตัวเองให้มีสภาวะสมดุลย์ คือเป็นกลางหรือพอดีๆอยู่ตลอดเวลา เหมือนตราชูหรือตาชั่งเข็มชี้จะอยู่ตรงกลางได้ตลอดก็ต้องคอยปรับน้ำหนักที่กดลงบนถาดชั่งทั้สองข้างให้เท่ากันเสมอกัน

ตัวอย่างที่หยาบๆและเห็นได้ง่ายๆอย่างเช่นการปรับปริมาณน้ำในร่างกาย ถ้าน้ำมากเกินก็จะมีอาการปวดฉี่ หรือเหงื่ออก ถ้าน้ำน้อยก็จะมีอาการคอแห้ง หิวน้ำ คอยขับออก เติมเข้าและปรับปริมาณน้ำให้พอดี ถ้าร่างกายร้อนมากก็ต้องเพิ่มน้ำหรืออาบน้ำให้ร่างกายเย็นลง ถ้าปริมาณน้ำในร่างกายไม่สมดุลย์ก็จะมีอาการผิดปกติมาเตือนให้รีบปรับสมดุลย์ มิฉะนั้นจะเกิดอาการเจ็บป่วย ผิดปกติเพราะน้ำในร่างกายไม่สมดุลย์
เช่นตัวบวมขาบวมเพราะน้ำไม่ระบาย เป็นโรคไตเพราะดื่มน้ำน้อย เป็นต้น นี้เป็นตัวอย่างเพียงเล็กน้อยในเรื่องการปรับสมดุลย์ของน้ำในกายเพียงอย่างเดียว
แต่ร่างกายของคนเรานี้ประกอบขึ้นมาด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งจะต้องมีการปรับอัตราส่วนผสมของธาตุทั้ง 4 นี้อยู่ตลอดเวลาร่างกายนี้จึงจะดำรงอยู่ได้ เจริญเติบโตหรือเสื่อมลงไปอย่างเป็นปกติและมีความสุขสบายไม่เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของก้อนธาตุ 4 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 นี้

จิตใจอันเป็นส่วนของนามธรรมก็เช่นกัน ต้องมีการปรับสมดุลย์อยู่ตลอดเวลาด้วย สมดุลย์ของจิตใจมี "ปกติ" หรือ
"เป็นกลาง"เป็นดุจขีดชี้กลางของตราชั่ง

สิ่งที่เป็นเครื่องชี้วัดหรือคอยบอกว่าจิตใจขาดสมดุลย์หรือผิดจากปกติไปมากน้อยเพียงไรคือ นิวรณ์ 5 อันประกอบด้วย
1.กามฉันทะ ความยินดีพอใจจนเกินพอดี
2.พยาบาท ความยินร้ายไม่พอใจจนเกินพอดี
3.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ซึ่งมักจะมีเหตุเริ่มต้นมาจากความยินดีแล้วไม่ได้หรือดิ้นรนให้ได้มาสนองความยินดี ที่เรียกว่า
กามตัณหาและภวตัณหา
4.กุกุจจะ ความหงุดหงิด งุ่นง่าน รำคาญ ซึ่งมักจะเริ่มต้นมาจากพยาบาท ความยินร้ายไม่พอใจ ไม่ต้องการ ซึ่งจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "วิภวตัณหา"
5.ถีนะ มิทธะ ความเกียจคร้าน หดหู่ ห่อเหี่ยว ความง่วงเหงาหาวนอน
ซึ่งอาจจะเกิดจากความไม่สมหวัง ไม่สมอยาก หรือความทรมาณเพราะบังคับใช้ร่างกายทำงานสนองตัณหามากเกินไป
6.วิจิกิจฉา ความลังเล สงสัย ความไม่รู้จริง จนทำให้จิตใจหาที่ยุติ เป็นกลางและสมดุลย์เป็นปกติไม่ได้ จึงต้องดิ้นรนทางความคิดหรือมีมโนกรรมอยู่ตลอดเวลาทั้งหลับและตื่น

หมายเหตุ อุทธัจจะ กุกุจจะนี้ท่านรวมไว้เป็นข้อเดียวกันคล้าย
ถีนะกับมิทธะ

ถ้านิวรณ์ 5 สงบรำงับ ด้วยการบังคับ (สมถะ) จิตใจจะดูเหมือนเป็นปกติ แต่ต้องคอยออกแรงบังคับนิวรณ์ 5 อยู่ตลอดเวลาด้วย สติ

ถ้านิวรณ์ 5 สงบรำงับลงด้วยการปล่อยให้วิบากเก่าหรือผลกรรมต่างๆแสดงตัวจนหมดเหตุปัจจัยไปเรื่อยๆ กรรมใหม่ก็ไม่สร้างเพิ่มเติมเข้าไป ไม่ช้าจิตใจก็จะไปถึงสภาวะ "หมดงาน" "หยุดกิจกรรม" สงบ ปกติ เป็นกลาง และเย็นด้วยตัวเขาเองโดยไม่ต้องออกแรงบังคับใดๆ นี่เรียกว่า "วิปัสสนา"
คือสังเกต (สังกัปปะ)และรู้ ธรรมตามความเป็นจริง(สัมมาทิฏฐิ) รู้ทันปัจจุบันอารมณ์(สติ)อย่างต่อเนื่องยาวนาน(สัมมาสมาธิ) จิตใจจะเข้าถึงความสมดุลย์ตามธรรมชาติอย่างยิ่ง
ถ้าทำได้บ่อยๆจนชำนาญ ใน "วิปัสสนาภาวนา" จิตใจจะเข้าถึง "ปกติที่สมบูรณ" เป็นธรรมชาติอันลึกซึ้งสูงสุดที่เรียกว่า
"นิพพาน"
:b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2017, 09:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ
ธรรมะที่ท่านลงมา ก่อประโยชน์แก่ผู้ที่เข้าศึกษา เพราะแสดงให้เห็นชีวิตที่เป็นพุทธะ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2017, 10:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วิเนยยะ = เอาออกเสียให้ได้ = จนมันดับไปหรือเปลี่ยนไป(โดยไร้ปฏิกิริยาตอบโต้ใดๆ = เฉย อุเบกขา สังขารุเปกขา)


ข้อนี้ก็มีส่วนสำคัญในการภาวนา

การภาวนานั้นเมื่อมีมรรคร่วม
จะต้องเกิดความเป็นวิเนยยะ
คือเห็น รู้ เข้าใจ ว่าสิ่งนี้จะเกิด เมื่อสิ่งนี้เกิดย่อมมีความแปรปรวน เมื่อแปรปรวนย่อมมีความดับ เป็นธรรมดา

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2017, 09:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b45:
ปัญญา สติ สมาธิ เขามีอยู่แล้วตามธรรมชาติในจิตใจของมนุษย์ทุกคน ขอเพียงแต่เจ้าของจิตแต่ละดวงนั้นได้พบกัลยาณมิตร พบคำสอนที่ถูกต้องของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งได้ทรงบอกและอธิบายวิธี อำนวยความสะดวกให้ ปัญญา สติ สมาธิ ได้ทำงานไปอย่างอิสระ ถูกต้องตามหน้าที่ของตนโดยปราศจากความแทรกแซง กำหนด บังคับ ของสังขาร ความนึกคิดปรุงแต่งและความเห็นผิดยึดผิด
ปัญญา สติ สมาธิ เขาจะทำการปรับสมดุลย์ในกายใจ
ให้มีและเกิดสมดุย์หรือพอดีหรือเป็นปกติอยู่ตลอดเวลาด้วยตัวของเขาเอง
เมื่อ กาย ใจ เข้าถึงความเป็นปกติได้อย่างรวดเร็วชำนาญทันทีเป็นธรรมดาของชีวิตของจิตดวงนั้นได้แล้ว จิตดวงนั้นก็จะเสร็จกิจ หมดงาน หมดสิ้นการเวียนว่ายที่ไม่รู้จบด้วยตัวของเขาเอง
:b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2017, 09:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b37:
เมื่อเอาธาตุขันธ์ รูป นาม กายใจ ที่ยังมีชีวิต มีจิตครองอยู่ มาตั้งไว้เฉยๆ ไม่ช้าไม่นาน กระบวนการทำงานของธาตุขัน์ก็จะหมุนเวียนไปตามกรรมและวิบากแห่งกรรม

เริ่มต้นจากผัสสะของทวารทั้ง 6
ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา
แล้วต่อวงกันไปจนจบ

ผัสสะใหม่ เกิดทาง ตา หู จมูก
ลิ้น กาย แล้วไปจบรวมที่ใจ ก่อให้เกืดกรรมใหม่

ผัสสะกับของเก่า เกิดที่ใจตรงๆ คือการผัสสะกับวิบากของกรรมเก่าซึ่งมากระทุ้งกระตุ้นเตือนเป็นเหตุให้เกิดกรรมใหม่ต่อเนื่องลงไปในเหตุจากวิบากกรรมเก่า
กรรมและผลกรรมทั้งหมดจึงส่งต่อเป็นเหตุปัจจัจซึ่งกันและกันผลักดัน หมุนวงวัฏฏะสงสารนี้ไปไม่รู้จบไม่รู้สิ้น ดุจนาฬิกาที่ถูกไขลานหรือเติมพลังแบตเตอรี่ให้เต็มอยู่เสมอ

ใคร อะไร เป็นผู้คอยไขลานและเต็มพลังแบตเตอรี่หมุนนาฬิกาหรือวงวัฏฏะสงสาร
พึงพากันค้นหาให้พบ แล้วฆ่าให้ตายเสีย จะได้ไม่ต้องเป็นทุกข์ที่ไม่รู้จบอีกต่อไป
:b11:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2017, 06:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
"สัพเพธัมมา อนัตตา"

ธรรมทั้งหมดทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ไม่เป็นตัวตน ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา มีแต่สภาวะหรือความเกิดขึ้นเป็นไปด้วยกำลังแห่งเหตุและปัจจัย

หมดเหตุ ก็หมดสภาวะ

หมดปัจจัย ก็หมดสภาวะ

แต่ เหตุ เป็นสิ่งที่ควบคุมแก้ไขได้ง่ายกว่าปัจจัย
พึงค้นให้พบเหตุแก้ทีเหตุ ถอนเหตุออกให้ได้
เอาอะไรมาค้น

เอาสติ ปัญญามาค้น เมื่อพบเหตุและผลที่แท้จริงแล้ว ปัญญาเขาจะถอนเหตุออกด้วยตัวเขาเอง
ถอนเหตุได้ ใจก็จะกลับสู่สมดุลย์ ปกติ หรือเป็นกลางอย่างแท้จริง

"จิตไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม"

"จิตไร้โศก"

"จิตปราศจากธุลี"

"จิตเกษม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2017, 06:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b37:
สติปัฏฐาน 4 หรือสติปัฏฐานสูตร คือหลักวิชาการปฏิบัติเพื่อทำจิตใจให้ลงกลาง ได้สมดุลย์ เป็นปกติจนปกติที่สุดอย่างแท้จริง

ลองวิเคราะห์ดูกันดีๆนะครับ

สำคัญที่ประโยคนี้

"วิเนยยะ โลเกอภิชฌา โทมนัสสัง"

:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2017, 07:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b37:
ถ้าทำวิปัสสนาภาวนาเป็น
จะได้ทั้งกายภาพบำบัดและจิตภาพบำบัดครบสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
วิปัสสนาภาวนาเริ่มแรกจะเกิดกายภาพบำบัดมาก
เมื่อกายหมดปัญหาแล้วก็จะเกิดจิตภาพบำบัดอย่างเต็มที่จนจิตขาวรอบ
ถ้าเคยอ่านเรื่องกำลังภายใน นั่นเขาเขียนมาจากเค้ามูลความจริงที่ท่านอาจารย์ตั๊กม้อนำไปเผยแพร่ในจีน
คนที่เดินกำลังภายในเป็น
นั่งเดินลมปราณเป็นสุดท้ายก็ได้ถึงความเป็นเซียนเช่นกัน
การนั่งเจริญสมถะและวิปัสสนาคือวิชาเดินกำลังภายในนั่นเอง
แต่วัตถุประสงค์การใชกำลังภายในในนิยายจีนนั้นถูกใช้เพื่อการต่อสู้คุ้มครองตนเอง
ถ้านำกลับมาใช้เพื่อความหลุดพ้นก็หลุดพ้น
แล้วแต่ใครจะประยุกต์ใช้ไปในทางใดครับ
เจริญวิปัสสนาภาวนาเป็นกันหรือยังเอ่ย????
ถ้าเจริญสติปัฏฐาน 4 เป็นก็ทำวิปัสสนาภาวนาเป็นครับ

แต่คำอธิบายสติปัฏฐาน 4
ที่เราคัดลอกมาจากพระสูตรอาจจะดูเยอะ เข้าใจยาก มากขั้นตอนสำหรับคนรุ่นใหม่หรือผู้ที่ไม่ใส่ใจศรัทธาจริงๆ

เราเอาเฉพาะหลักการของ
สติปัฏฐาน 4 มาประยุกต์แล้วอธิบายด้วยภาษาชาวบ้านอาจจะทำให้ง่ายขึ้น นำไปปฏิบัติจริงได้ง่าย สะดวกสบาย
หลักการของสติปัฏฐาน 4
คือให้รู้และทันสิ่งที่เกิดขึ้น
ในกาย เวทนา จิต ธรรม
ณ ปัจจุบันขณะแล้ว

อาตาปี=มีความเพียรเผากิเลส

สัมปฌาโน =มีปัญญาเฝ้ารู้เฝ้าสังเกต

สติมา = มีสติรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ ระลึกได้ ไม่ลืมหลักภาวนาสติปัฏฐาน 4 คือ

วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง = เอาออกเสียให้ได้ซึ่ง ความยินดียินร้ายในโลก (โลกในที่นี้คือผัสสะของทวารทั้ง 6)

นี่เป็นรายละเอียดของหลักการ ซึ่งก็ยังยากสำหรับการเข้าใจแลนำไปใช้ปฏิบัติจริง
ทำให้ง่ายเป็นสูตรสำเร็จด้วยภาษาง่ายว่า

"สำรวมกายใจมานิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์จนมันดับไปหรือเปลี่ยนไปต่อหน้าต่อตา โดยไร้ปฏิกิริยาตอบโต้ใดๆ"
สติปัฏฐาน 4 รวมลงอยู่ที่ปัจจุบันอารมณ์นั่นเอง ลองสังเกตดูกันให้ดีๆ
คำว่าเอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก
กับ
นิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์จนมันดับไปหรือเปลี่ยนไป โดยไร้ปฏิกิริยาตอบโต้ใดๆ นั้น มีค่าเท่ากันคือในที่สุดจะเหลือแต่
"เฉย"

เมื่อไร้ยิน ดียินร้าย หรือ"เฉย" ได้ทุกผัสสะ เวทนาและอารมณ์ ตลอดเวลา ในที่สุดก็จะเข้าถึงความเฉยอย่างยิ่งหรือที่ทางสายท่านโกเอ็นก้าเรียกว่า

"ความเฉยโดยสมบูรณ์"

จะเกิดขึ้น

ในทางธรรมเรียกว่า

"สังขารุเปกขาญาณ"

นั่นคือการเดินทางไปถึงหน้าประตูพระนิพพาน
ใครจะออกประตูสู่นิพพานทางประตูไหนก็แล้วแต่บุญ วาสนา บารมี วิรินะ อุตสาหะที่สร้างสะสมมา

ประตูทางออกสู่นิพพานมี 3 ประตูคือ

ประตู อนิจจัง

ประตู ทุกขัง

ประตูอนัตตา

สังขารุเปกขาญาณ = หยุดหรือหมดปฏิกิริยาตอบโต้กับผัสสะไปชั่วคราว = หยุดการปรุงแต่ง
รู้ว่า......หยุดการปรุงแต่งไปชั่วคราว
อย่าเอาแต่พากันสาธุนะจ๊ะ
จงลงมือพิสูจน์กันเดี๋ยวนี้ หรือหลังจากนี้เลยสัก 15 นาที ถึง 1 ชั่วโมงจึงจะผซึ้งและจำแม่น



"สำรวมกายใจมานิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์ จนมันดับไปหรือเปลี่ยนไปต่อหน้าต่อตา โดยไร้ปฏิกิริยาตอบโต้ใดๆ"

รอออกประตู อนัตตาค่ะพี่วี
ลองนั่งทำสัก 5 นาทีแล้วมาคุยต่อสิจะยิ่งเข้าใจและเห็นว่า

พูดง่าย ดูเหมือนไม่มีอะไร
แต่พอลงมือทำจริงมันมีสิ่งที่เกิดขึ้นให้ต้องเคลียร์เยอะแยะเลย ไม่ต้องห่วง
ไม่ต้องกังวลจงยึดมั่นในหลักภาวนา แล้วกระบวนการทางธรรมในกายใจของเราเขาจะเกิดขึ้นมาทำงานเคลียร์ทุกสิ่งให้เราเอง จนเฉยได้ในทุกผัสสะ อารมณ์ ความรู้สึก


จะออกประตูไหนยังไม่ต้องกำหนด ธรรมในตัวของเราเขาจะเกิดขึ้นมาตัดสินเอง

ของเก่าที่เราสร้างสมไว้เอนกอนันตชาติเขาจะมาแสดงตัวทำงานเองครับ
ปัจจัตตังนั่นแหละเป็นอนัตตาธรรม
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในกายใจ
ที่เกิดโดยเราไม่ได้สั่งไม่ได้บอกเกิดด้วยกำลังแห่งเหตุและปัจจัยนั้นแหละคือ

"อนัตตาธรรม"
ใครสำรวมกายใจมานิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์
ที่เขาเกิดขึ้นเองเป็นเอง บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ของเรานั้น นั่นคือการ เฝ้าปฏิบัติกับอนัตตาธรรมหรือปรมัตถธรรม

สติ ปัญญาที่เฝ้ารู้เฝ้าสังเกต เป็นปรมัตถ์ อนัตตา

สิ่งที่เฝ้ารู้เฝ้าสังเกตก็เป็นปรมัตถ์ อนัตตาจึงจะเป็นไปดังครูบาอาจารย์ท่านกล่าวไว้ว่า

"เอาปรมัตถ์ หาปรมัตถ์ เห็นปรมัตถ์ ได้ปรมัตถ์ เป็นปรมัตถ์"

"เอาบัญญัติ หาบัญญัติ เห็นบัญญัติ ได้บัญญัติ เป็นบัญญัติ"
ประตูทางออกสู่พระนิพพาน
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2017, 12:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
"วิปัสสนาภาวนา จะยุ่งยากตอนเริ่มต้น แต่เบาสบายในตอนหลัง"

"สมถะภาวนา จะง่ายตอนเริ่มต้น แต่ยากลำบากในตอนหลัง"

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ เมื่อเริ่มต้นทำวิปัสสนาเราจะต้องเอาสติ ปัญญามานิ่งรู้นิ่งสังเกตหลายอารมณ์คือ
อารมณ์ทางกาย
อารมณ์ทางเวทนา
อารมณ์ทางจิต
อารมณ์ทางธรรม
ผู้ใหม่จะดูรู้สึกวุ่นวาย มีงานต้องทำหลายอย่างจนสติปัญญาตามไม่ทัน

แต่ถ้าสังเกตให้ดีๆแล้ววิปัสสนาภาวนาก็มีอารมณ์ให้ยึดเพียง
1 อารมณ์เช่นกันคือ ยึดไว้ที่
"ปัจจุบันอารมณ์" เพราะปัจจุบันอารมณ์เป็นที่รวมปรากฏของ
กาย....เวทนา.....จิต......ธรรม
เป็นการรวมจุดหรือมีสมาธิบนสิ่งที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ผลที่ได้ทันทีจากวิปัสสนาภาวนาคือ
1.เป็นการฝึกสติปัญญาที่
ถูกเร่งรัดโดยธรรมชาติให้ต้องมีความรวดเร็วฉับไวทันการณ์
มากกว่าเป็น 4 เท่าจากการเจริญสมถะภาวนา
2.เป็นการชำระกิเลสอนุสัยพร้อมๆกันไปเลยในตัว เพราะกิเลส อนุสัย ตัณหา อัตตาต่างๆ จะถูกอำนาจแห่งเหตุและปัจจัยผลักดันให้มาเกิดและแสดงที่ปัจจุบันอารมณ์สลับสับเปลี่ยนกันไปมาตามกำลังความมากน้อยหนักเบาของกรรม วิบากกรรมที่มาเป็นเหตุปัจจัย อารมณ์ใดที่มาแสดงตัวแล้วหากสติปัญญาสังเกตเห็น รับรู้จนอารมณ์นั้นดับไปเองเพราะหมดกำลังเหตุปัจจัยที่จะส่งให้แสดงตัวต่อไปได้ โดยไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ใดๆให้เกิดกรรมและวิบากใหม่ในอารมณ์เช่นนั้น ต่อไปอารมณ์อย่างนั้นจะไม่เกิดขึ้นมารบกวนอีก
ดุจคนที่มีหนี้แล้วชำระหนี้ไปครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว

อุปมา.....การเกิดปรากฏของอารมณ์ใดที่ จอปัจจุบันอารมณ์ เป็นดุจการมาทวงหนี้ของเจ้าหนี้
หากสติปัญญามาสังเกตรู้แล้วรับทราบตลอดสายโดยไร้ปฏิกิริยาตอบโต้ อารมณ์นั้นจะถูกใช้หนี้และหมดไปไม่มาอีก

เมื่อผู้ปฏิบัติขยันเจริญวิปัสสนาภาวนา ไม่ช้าหนี้สินหนี้วิบากแห่งกรรมทั้งหลายก็จะถูกชดใช้จนหมด หนี้เหลือน้อยเท่าไรใจก็สะอาดหมดจดยิ่งขึ้น เบาสบายไร้ทุกข์เป็นสุขมากขึ้นเท่านั้น

การมาเจริญวิปัสสนาภาวนายิ่งนานยิ่งง่ายยิ่งเบาสบายสงบเย็นเป็นสมาธิเร็วและมีขยะอาสวะนิวรณ์น้อยลงๆจน
เมื่อสะอาดเบาสบายได้ที่ ธรรมเขาจะมีรางวัลมามอบให้เทียบได้กับ ปริญญาตรี โทร เอกและศาสตราจารย์ในที่สุด

จึงได้กล่าวว่า

"วิปัสสนาภาวนา จะยุ่งยากตอนเริ่มต้น แต่เบาสบายในตอนหลัง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2017, 08:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
ต่อ
3.วิปัสสนาภาวนาเป็นการสร้างสมาธิที่บริสุทธิ์สะอาดให้เกิดขึ้นจนเต็มรอบเป็นสัมมาสมาธิเต็มร้อย

สังเกตจากประโยชน์ของวิปัสสนาภาวนาข้อที่ 2 ที่กล่าวว่าเป็นกระบวนการชำระจิตของตนให้ขาวรอบ มาเนื่องเป็นประโยชน์ข้อที่ 3 เพราะในการเจริญวิปัสสนาภาวนา สิ่งที่จะผุดปรากฏขึ้นมาให้ชำระอันดับแรกๆนั้นคือ
นิวรณ์ธรรม หรือเครื่องกางกั้นทั้ง 5 มิให้เข้าถึงสมาธิและฌาณ
นิวรณ์ใดๆก็ตามเมื่อผุดปรากฏขึ้นมาให้รู้ให้สังเกตในจิต นิวรณ์นั้นๆก็จะถูกอำนาจของวิปัสสนาภาวนา ชำระขุดถอนออกไปทีละน้อยๆจนเบาบาง หยุดทำงานไปเป็นระยะๆหรือหมดเกลี้ยงในที่สุด

ผลจากการการชำระนิวรณ์ 5 ด้วยวิปัสสนาภาวนานี้จะต่างกับสมถะภาวนา
เพราะสมถะเป็นแค่หินทับหญ้าหรือเป็นแค่การไปสยบ กลบ บัง นิวรณ์ทั้ง 5 ไว้ด้วยสติ กรรมฐานหรือคำบริกรรมต่างๆไม่ให้นิวรณ์ธรรมทั้งหลายมา
รบกวนจิตได้เป็นการชั่วคราว เมื่อหย่อนสตินิวรณ์ทั้งหลายก็จะกลับมาดังเดิมหรือตีกลับแรงกว่าเพราะถูกกดดันกดทับไว้

นิวรณ์ 5 ที่ถูกชำระโดยวิปัสสนาภาวนาจะค่อยๆตายไปเบาบางไปจนหมดไปในที่สุด จึงไม่ต้องมาคอยอาศัยอำนาจของสติไปกดข่มบังคับ ทำให้ไม่หนัก ไม่เป็นภาระในการเจริญสติ เพราะนิวรณ์อันเป็นปัจจัยเขาหาย ตาย
หมดไปเองด้วยพลังแห่งวิปัสสนาภาวนา

ผู้เจริญวิปัสสนาภาวนามาจนถึงที่ที่พึงได้รับผลเขาจะเบาสบาย สติของเขาจะกลายเป็นสติอัตโนมัติตามธรรมชาติ ไม่ต้องออกกำลังตั้งท่าอะไรเลย
ธรรมชาติของสติ ปัญญา สมาธิเขาเป็นกันเอง ทำหน้าที่กันไปเองตามธรรม ตามคำสรุปว่า "ตถตา"....มันเป็นเช่นนั้นเอง

:b37:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2017, 07:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
"สมถะ ง่ายตอนแรกแต่ลำบากในตอนหลัง"

สมถะ คือการทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยใช้กรรมฐานหรือคำบริกรรม สวดมนต์
ท่องบ่นต่างๆ เป็นการกำหนดหรือสั่งบังคับจิตใจให้มารวมอยู่กับสิ่งเดียว
เช่นรวมลงในคำบริกรรมว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ หนอ อนัตตา
โอมนมัสศิวะ

รวมลงในรูปกรรมฐานเช่น กสิณ 10 อย่าง เพ่งไฟ เพ่งดิน เพ่งลม
เพ่งน้ำ เพ่งความว่าง เพ่งสี อสุภะ 10 อนุสติ 10 ฯลฯ

เป็นการภาวนาที่ง่ายเพราะสนใจ กำหนดอยู่แต่สิ่งเดียว เรื่องเดียว ตลอดเวลาที่ทำภาวนา

สมถะไม่สนใจปัจจุบันอารมณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เป็นการสร้าง
กรรมฐานที่ตนยึดให้เป็นปัจจุบัน

ผลดีที่ได้คือเกิดสมาธิ เกิดการรวมตัวของจิตให้เป็นหนึ่งเดียวได้เร็ว เกิดฌาณได้เร็ว

ผลเสียที่ได้คือ สูญเสียความรับรู้ตามธรรมชาติจากผัสสะทั้ง 6 เพราะถูกอำนาจของสมาธิและฌาณบดบังไว้ จนไม่สามารถรับรู้เวทนาและทุกข์ปัจจุบันตามธรรมชาติได้เลยเสียโอกาสที่จะได้ใช้ผัสสะ เวทนา ความรู้สึกตามธรรมชาติธรรมดามาใช้ในการพิจารณาธรรม ให้เห็นความจริงจากธรรม

นักสมถะที่ชำนาญและมีสมาธิแรงกล้าจนเข้าฌาณได้คล่องแคล่วแล้ว
จะไม่สามารถเห็นหรือรู้ความเกิด ดับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามธรรมชาติในกายใจได้ การทำวิปัสสนาภาวนาของนักสมถะ จะต้องไปสร้าง
หรือนำรูปนิมิตภายนอกมาพิจารณาแทนเช่นเพ่งอสุภะ เพ่งผม ขน เล็บ
หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก จนเข้าใจอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาภายนอก แล้วค่อยน้อมมาเทียบเคียงกับของจริงภายในกายใจ

โอกาสเผลอไปติดสุขในสมาธิและฌาณก็มีมากด้วย
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2017, 07:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สมถะ คือการทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยใช้กรรมฐานหรือคำบริกรรม สวดมนต์
ท่องบ่นต่างๆ เป็นการกำหนดหรือสั่งบังคับจิตใจให้มารวมอยู่กับสิ่งเดียว
เช่นรวมลงในคำบริกรรมว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ หนอ อนัตตา
โอมนมัสศิวะ



โอมพระศิวะเจ้า!!!

กู่ไม่กลับแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2017, 07:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมมา เขียน:
อ้างคำพูด:
สมถะ คือการทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยใช้กรรมฐานหรือคำบริกรรม สวดมนต์
ท่องบ่นต่างๆ เป็นการกำหนดหรือสั่งบังคับจิตใจให้มารวมอยู่กับสิ่งเดียว
เช่นรวมลงในคำบริกรรมว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ หนอ อนัตตา
โอมนมัสศิวะ



โอมพระศิวะเจ้า!!!

กู่ไม่กลับแล้ว

:b10:
ธรรมา ไม่รู้จักคำบริกรรม เลยหลุดโลกหลุดธรรมไปสุดกู่
อนิจจังอนิจจา
:b19:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร