วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 13:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 111 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 27 พ.ย. 2017, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำสอนของพระพุทธเจ้า ก็สอนเรื่องชีวิตเกี่ยวกับชีวิตนี่เอง ถ้าแยกให้เห็นชัดก็แยกชีวิตออกเป็นสองด้าน คือ ด้านที่หนึ่ง ชีวิตสำหรับใช้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง พูดเป็นคำศัพท์ว่า โลกียธรรม เช่น คำสอนในสิงคาลกสูตร เป็นต้น

ชีวิตด้านที่สอง ชีวิตสำหรับรู้เท่าทันเข้าใจมัน เรียกเป็นคำศัพท์ โลกุตรธรรม ได้แก่ คำสอนเรื่องไตรลักษณ์,ปฏิจจสมุปฺบาท เป็นต้น

ชีวิตทั้งสองด้านนี้ ควรทำความเข้าใจให้พอดีกัน ไม่สุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง พูดรวมๆก็ชีวิตๆเดียวนี่แหละ แต่แยกทำความเข้าใจ ชีวิตจึงจะอยู่ดีมีสุขตามสมควรแก้อัตภาพปัจจุบันนี้

ดังนั้น โจทก์นี้ "รู้กันหรือยังว่าที่เราทำอะไรๆกันอยู่มากมายทุกวันนี้เราทำกันเพื่ออะไร" ตั้งโจทก์ถามแบบโลกียธรรม (เรื่องการทำมาหาเลี้ยงชีวิต) แต่ตนคิดแบบโลกุตรธรรม (ด้านสำหรับรู้เข้าใจ) จึงดูขัดๆกัน

ทำนองเดียวกับความคิดของกบนอกกะลานี่ก็ขัดกัน

อ้างคำพูด:
เรื่องทั้งหมดมันเกิดจากคน...ต้องยอมรับอย่างซื่อตรงว่า..รัฐ..สังคมเป็นภาพสะท้อนมาจากคนในสังคม

คนที่มีขันธ์ 5...ที่ทำงานไปตามตัญหา...

viewtopic.php?f=1&t=54762&start=30

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 27 พ.ย. 2017, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คำสอนของพระพุทธเจ้า ก็สอนเรื่องชีวิตเกี่ยวกับชีวิตนี่เอง ถ้าแยกให้เห็นชัดก็แยกชีวิตออกเป็นสองด้าน คือ ด้านที่หนึ่ง ชีวิตสำหรับใช้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง พูดเป็นคำศัพท์ว่า โลกียธรรม เช่น คำสอนในสิงคาลกสูตร เป็นต้น

ชีวิตด้านที่สอง ชีวิตสำหรับรู้เท่าทันเข้าใจมัน เรียกเป็นคำศัพท์ โลกุตรธรรม ได้แก่ คำสอนเรื่องไตรลักษณ์,ปฏิจจสมุปฺบาท เป็นต้น

ชีวิตทั้งสองด้านนี้ ควรทำความเข้าใจให้พอดีกัน ไม่สุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง พูดรวมๆก็ชีวิตๆเดียวนี่แหละ แต่แยกทำความเข้าใจ ชีวิตจึงจะอยู่ดีมีสุขตามสมควรแก้อัตภาพปัจจุบันนี้

ดังนั้น โจทก์นี้ "รู้กันหรือยังว่าที่เราทำอะไรๆกันอยู่มากมายทุกวันนี้เราทำกันเพื่ออะไร" ตั้งโจทก์ถามแบบโลกียธรรม (เรื่องการทำมาหาเลี้ยงชีวิต) แต่ตนคิดแบบโลกุตรธรรม (ด้านสำหรับรู้เข้าใจ) จึงดูขัดๆกัน

ทำนองเดียวกับความคิดของกบนอกกะลานี่ก็ขัดกัน

อ้างคำพูด:
เรื่องทั้งหมดมันเกิดจากคน...ต้องยอมรับอย่างซื่อตรงว่า..รัฐ..สังคมเป็นภาพสะท้อนมาจากคนในสังคม

คนที่มีขันธ์ 5...ที่ทำงานไปตามตัญหา...

viewtopic.php?f=1&t=54762&start=30
คนเรามันอินทรีย์ต่างกัน ถ้าตราบใดชีวิตเกิดมายังไม่รู้ว่าชีวิตตนเองคือปัญหา ก็ไม่มีทางจะแก้ปัญหาใหญ่สุดได้ มันก็แสวงหาสิ่งนอกตัวไม่รู้จักจบสิ้น ทั้งๆมันก็พาแค่ใจแค่กายไปหาปัญหาเพิ่มเติมอยู่ดี และความพอดีมันจะเกิดขึ้นได้อย่างไร กิเลสตัณหาทั้งนั้น ที่จริงแล้วความพอดีนั้นในทางพุทธศาสนาสูงสุดแล้วคือการไม่เข้าไปค่องเกี่ยวกับกามเลยและไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการทรมานตนเองเลย แต่คนเรามันอินทรีย์ต่างกัน พุทธะท่านจึงสอนคนต่างกันออกไป ก็เลยทำให้คนไม่เข้าใจก็เอาความพอดีตามใจตนเป็นหลัก มันถึงไม่ก้าวหน้ากันสักเท่าไร ระดับอนาคายังต้องเห็นโลกอัปรีย์กันเลยทีเดียว พวกศาสตรจารย์ทั้งหลายคงคิดในใจ อ้อ!กูไม่เคยรู้เลยชีวิตกูนี่คือปัญหา 555 ก็เลยไปคว้าเมียมาเพิ่ม ก็เลยมีปัญหากันไม่สิ้นสุด ลูกออกมาอีก คอรบครัวญาติมันอีก มองกันให้ออกเถอะอัปรีย์จริงๆโลกนี้

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2017, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธศาสนายอมรับ และยืนยันความจำเป็นทางวัตถุ โดยเฉพาะปัจจัย ๔ ดังเช่น พุทธพจน์ที่ตรัสบ่อยว่า* (ที.ปา.11/226/226; 375/289 ฯลฯ)

"สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิติกา" สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร

@ ปัจจัย ๔ อย่าง คือ ๑. อาหาร ๒. เครื่องนุ่งห่ม ๓. ที่อยู่อาศัย ๔. ยารักษาโรค

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2017, 09:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณค่าและความสำคัญของวัตถุนี้ ยังมีส่วนยึดหยุ่น โดยสมพันธ์กับเงื่อนไขทางสังคม และองค์ประกอบภายในบุคคล คือปัญญาที่รู้เข้าใจ เท่าทัน คุณ โทษ และขอบเขตความสำคัญของวัตถุ และความสามารถประสบปีติสุขที่ประณีตกว่าการเสพเสวยอามิสสุข

ด้วยเหตุนี้ พุทธศาสนาจึงไม่สนใจที่จะกะเกณฑ์ว่า คนเราจะต้องมีวัตถุเท่ากัน เพราะเกณฑ์นั้นไม่ใช่เครื่องวัดว่าจะทำให้ทุกคนเป็นสุข และมีชีวิตที่ดีงามได้ แต่สนใจเกณฑ์อย่างต่ำที่ว่า ทุกคนควรมีปัจจัย ๔ เพียงพอที่จะมีชีวิตรอดได้ด้วยดี

พ้นจากนั้นแล้ว พุทธศาสนายอมให้มีวัตถุเสพเสวย ตามความพร้อมและพัฒนาการทางจิตปัญญาภายในขอบเขตเท่าที่จะไม่เป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น


ข้อนี้ หมายความว่า ในการที่จะมีชีวิตเป็นสุข บุคคลที่มีพัฒนาการทางจิตปัญญาต่ำ ย่อมต้องการวัตถุเสพ หรือมีชีวิตที่ขึ้นต่อความพรั่งพร้อมปรนเปรอทางวัตถุ มากกว่าบุคคลที่มีพัฒนาการทางจิตปัญญาสูงกว่า


ส่วนความตกต่ำแห่งจิตปัญญา ที่เลยขอบเขตที่ยอมรับได้ออกไป ก็คือ ความต้องการที่กลายเป็นความหลงใหลมัวเมา เอาแต่หาสิ่งปรนเปรอตน หมกมุ่นติดกาม จนลืมนึกถึงภาวะที่ความพรั่งพร้อมทางวัตถุเป็นพื้นฐานเพื่อสิ่งดีงามที่สูงขึ้นไป และสามารถทำการบีบคั้นเบียดเบียนผู้อื่นได้ทันที เพื่อเห็นแก่ตน


เลยจากนี้ออกไปอีกทางหนึ่ง ในทิศตรงข้าม ได้แก่ ความยึดติดถือมั่น ตกเป็นทาสของทรัพย์สมบัติเป็นต้น ที่แสวงหามาไว้ เกิดความหวงแหนห่วงกังวลจนไม่ยอมใช้ ไม่จ่ายทำประโยชน์ เป็นการเบียดเบียนทั้งตนเอง และผู้อื่น ซึ่งนับว่าเป็นความชั่วร้ายอีกรูปแบบหนึ่ง


อีกด้านหนึ่ง เลยเถิดออกไปอีกเช่นเดียวกัน ก็คือ ความผิดหวังเบื่อหน่ายกามวัตถุ จนกลายเป็นเกลียดชัง ตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์กับโลกามิสทั้งหลาย แล้วหันมาจงใจบีบคั้นชีวิตของตนเอง เป็นอยู่อย่างบีบรัดเข้มงวด วุ่นวาย หรือหมกมุ่นอยู่กับวิธีการต่างๆ ที่จะจำขังพรากตัวบีบคั้นตน ให้พ้นจากอำนาจของวัตถุ
ดูเผินๆบางทีวิธีการนี้คล้ายกับความเป็นอยู่ง่าย อาศัยวัตถุแต่น้อย แต่ผิดพลาด ที่ถือเอาการปฏิบัติเช่นนี้เป็นตัววิธีที่จะให้หลุดพ้น หรือมุ่งบีบคั้นทรมานตัว

รูปภาพ


โดยมิใช่ทำด้วยปัญญารู้เท่าทันที่มุ่งความเป็นอิสระ ซึ่งอาศัยวัตถุเพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อเปิดโอกาสให้โล่งกว้างสำหรับชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา

(นั่นคือลักษณะสุดโต่ง หรือทำนองนั้น ซึ่งคิดทำแบบทื่อๆ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2017, 09:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยอัฏฐังคิกมรรค ๘ ประการ

๑.สัมมาทิฏฐิ
๒. สัมมาสังกัปปะ (๒ ข้อนี้ฝ่ายปัญญา เรียกเต็ม อธิปัญญาสิกขา)

๓.สัมมาวาจา
๔.สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ (๓ ข้อนี้ฝ่ายศีล เรียกเต็ม อธิศีลสิกขา)

๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ
๘. สัมมาสมาธิ (๓ ข้อนี้ฝ่ายสมาธิ เรียกเต็ม อธิจิตตสิกขา)


อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า ทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ, ทางมีองค์ ๘ ของพระอริยะ, ทางมีองค์ ๘ ที่ทำคนให้เป็นอริยะ, ทางมีองค์ ๘ ที่พระอริยะ คือ พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ, หรือมรรคาอันประเสริฐ มีองค์ประกอบ ๘ ประการ

(นี่จัดตามสภาวะ ถ้าจัดตามภาคปฏิบัติ ท่านจัดเป็น ศีล สมาธิ และปัญญา = อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา)

คือสื่อให้เห็นว่า อาชีพ - อาชีวะ-สัมมาอาชีวะ อยู่ขั้นศีล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2017, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อริยอัฏฐังคิกมรรค ๘ ประการ

๑.สัมมาทิฏฐิ
๒. สัมมาสังกัปปะ (๒ ข้อนี้ฝ่ายปัญญา เรียกเต็ม อธิปัญญาสิกขา)

๓.สัมมาวาจา
๔.สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ (๓ ข้อนี้ฝ่ายศีล เรียกเต็ม อธิศีลสิกขา)

๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ
๘. สัมมาสมาธิ (๓ ข้อนี้ฝ่ายสมาธิ เรียกเต็ม อธิจิตตสิกขา)


อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า ทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ, ทางมีองค์ ๘ ของพระอริยะ, ทางมีองค์ ๘ ที่ทำคนให้เป็นอริยะ, ทางมีองค์ ๘ ที่พระอริยะ คือ พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ, หรือมรรคาอันประเสริฐ มีองค์ประกอบ ๘ ประการ

(นี่จัดตามสภาวะ ถ้าจัดตามภาคปฏิบัติ ท่านจัดเป็น ศีล สมาธิ และปัญญา = อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา)

คือสื่อให้เห็นว่า อาชีพ - อาชีวะ-สัมมาอาชีวะ อยู่ขั้นศีล
ลุงเคยอ่านเจอ อารมณ ของการทำอนาคามีมรรคหรือเปล่า ต้องคิดอย่างไรในเวลาใด

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2017, 20:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อริยอัฏฐังคิกมรรค ๘ ประการ

๑.สัมมาทิฏฐิ
๒. สัมมาสังกัปปะ (๒ ข้อนี้ฝ่ายปัญญา เรียกเต็ม อธิปัญญาสิกขา)

๓.สัมมาวาจา
๔.สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ (๓ ข้อนี้ฝ่ายศีล เรียกเต็ม อธิศีลสิกขา)

๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ
๘. สัมมาสมาธิ (๓ ข้อนี้ฝ่ายสมาธิ เรียกเต็ม อธิจิตตสิกขา)


อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า ทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ, ทางมีองค์ ๘ ของพระอริยะ, ทางมีองค์ ๘ ที่ทำคนให้เป็นอริยะ, ทางมีองค์ ๘ ที่พระอริยะ คือ พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ, หรือมรรคาอันประเสริฐ มีองค์ประกอบ ๘ ประการ

(นี่จัดตามสภาวะ ถ้าจัดตามภาคปฏิบัติ ท่านจัดเป็น ศีล สมาธิ และปัญญา = อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา)

คือสื่อให้เห็นว่า อาชีพ - อาชีวะ-สัมมาอาชีวะ อยู่ขั้นศีล
ลุงเคยอ่านเจอ อารมณ ของการทำอนาคามีมรรคหรือเปล่า ต้องคิดอย่างไรในเวลาใด



เพียงบอกว่าคิดเอา ก็ไม่ใช่แล้วหลานเอ้ย คิกๆๆ

ถ้าคิดเอา คิดเอาทำไมคิดแค่อนาคา คิดๆเป็นออระหันไปเลยพรวดเดียวจบ ไม่ต้องคิดหลายขยัก อิอิ

แต่ก็เรื่องของหลานนะ ไม่เกี่ยวกับลุง อยากคิดไรก็คิดไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ย. 2017, 08:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คิดๆแล้วก็ประกาศตนเป็นออระหัน :b1: :b1:

https://www.youtube.com/watch?v=AnnomLIxYm0

https://www.google.com.pk/search?source ... dmgYAPosFw

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ย. 2017, 08:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่เขาก็คิดว่าเป็นออระหันแบบของเขา

รูปภาพ


รูปภาพ


ท่านนี้แหละเป็นเจ้าของลัทธิหนึ่ง ที่เรียกว่า

ปุพเพกตเหตุวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวง เป็นเพราะกรรมเก่า (past-action) เรียกสั้นๆว่า ปุพเพกตวาท

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ย. 2017, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
รู้กันหรือยังว่าที่เราทำอะไรๆกันอยู่มากมายทุกวันนี้เราทำกันเพื่ออะไร


Kiss ไม่รู้ครับ :b9: :b9: :b9:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ย. 2017, 16:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะจิต เขียน:
bigtoo เขียน:
รู้กันหรือยังว่าที่เราทำอะไรๆกันอยู่มากมายทุกวันนี้เราทำกันเพื่ออะไร


Kiss ไม่รู้ครับ :b9: :b9: :b9:
ทำไมท่านถึงตื่นนอน ทำไมท่านถึงต้องแปลงฟัน ทำไมท่านถึงขับถ่าย ทำไมท่านถึงต้องไปทำงาน ทำไมท่านถึงต้องสืบพันธุ์ ฯ ก็เพราะชีวิตมันมีแต่ปัญหาที่ต้องแก้ไงครับ ถ้าเราไม่รู้ชีวิตคือปัญหา จะไปได้ถูกทางมั้ยครับ ก็เห็นคนส่วนใหญ่ก็แก้ปัญหากันทุกวัน แต่แก้ไม่ตรงจุดก็แกกัยไม่เลิกสักที แก้มันที่ปัญหาใหญ่เลย คือแก้การเกิดมันก็จบเรื่อง

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ย. 2017, 19:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อริยอัฏฐังคิกมรรค ๘ ประการ

๑.สัมมาทิฏฐิ
๒. สัมมาสังกัปปะ (๒ ข้อนี้ฝ่ายปัญญา เรียกเต็ม อธิปัญญาสิกขา)

๓.สัมมาวาจา
๔.สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ (๓ ข้อนี้ฝ่ายศีล เรียกเต็ม อธิศีลสิกขา)

๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ
๘. สัมมาสมาธิ (๓ ข้อนี้ฝ่ายสมาธิ เรียกเต็ม อธิจิตตสิกขา)


อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า ทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ, ทางมีองค์ ๘ ของพระอริยะ, ทางมีองค์ ๘ ที่ทำคนให้เป็นอริยะ, ทางมีองค์ ๘ ที่พระอริยะ คือ พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ, หรือมรรคาอันประเสริฐ มีองค์ประกอบ ๘ ประการ

(นี่จัดตามสภาวะ ถ้าจัดตามภาคปฏิบัติ ท่านจัดเป็น ศีล สมาธิ และปัญญา = อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา)

คือสื่อให้เห็นว่า อาชีพ - อาชีวะ-สัมมาอาชีวะ อยู่ขั้นศีล


ลุงเคยอ่านเจอ อารมณ ของการทำอนาคามีมรรคหรือเปล่า ต้องคิดอย่างไรในเวลาใด


ทีนี้...คงจะพอเห็นแล้ว..ว่า..600 วัน..เขาทำไปทำไม.. :b32: :b32: :b32:


viewtopic.php?f=1&t=54815&p=411866#p411866
อ้างคำพูด:
bigtoo เขียน:
ตั้งใจเลิกเสพเมถุนธรรมหรือกามรสในเรื่องเพศ อสุจิไม่เคลือนออกจากกายมาแล้วเกือ600วัน
รู้สึกสบายๆหายห่วงแล้ว เรารู้ว่าเราพ้นแล้ว


กบนอกกะลา เขียน:
รู้สึกยังงัยครับ..อะไรถึงทำให้อยากกลับมาบอก...

:b9: :b9: :b9:


bigtoo เขียน:
ทำเป็นเด็กน้อยเหมือนเดิม คำที่คุณสมควรกล่าวดูเม้นข้างบน


กบนอกกะลา เขียน:
:b9: :b9: :b9:

ยังไม่บอกเลย..นะว่า..รู้สึกยังงัย..


bigtoo เขียน:
คันตะงิดตะงิด


กบนอกกะลา เขียน:

รู้สึกตะงิด..ตะงิด..นั้นนะ...ไม่สบายหายห่วง..แล้วละ




โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ย. 2017, 22:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
ขณะจิต เขียน:
bigtoo เขียน:
รู้กันหรือยังว่าที่เราทำอะไรๆกันอยู่มากมายทุกวันนี้เราทำกันเพื่ออะไร


Kiss ไม่รู้ครับ :b9: :b9: :b9:
ทำไมท่านถึงตื่นนอน ทำไมท่านถึงต้องแปลงฟัน ทำไมท่านถึงขับถ่าย ทำไมท่านถึงต้องไปทำงาน ทำไมท่านถึงต้องสืบพันธุ์ ฯ ก็เพราะชีวิตมันมีแต่ปัญหาที่ต้องแก้ไงครับ ถ้าเราไม่รู้ชีวิตคือปัญหา จะไปได้ถูกทางมั้ยครับ ก็เห็นคนส่วนใหญ่ก็แก้ปัญหากันทุกวัน แต่แก้ไม่ตรงจุดก็แกกัยไม่เลิกสักที แก้มันที่ปัญหาใหญ่เลย คือแก้การเกิดมันก็จบเรื่อง


ก็คนมันเกิดมาแล้วนี่ เออ ก็ต้องนอน ต้องตื่น ตื่นแล้วก็ต้องแปรงฟัน ไม่แปรงก็เหม็นขี้ฟัน กินแล้วไม่ถ่าย ก็ท้องอืด ไม่ทำงานจะเอาอะไรกิน ไม่สืบพันธ์ ก็ได้ถ้าไม่อยากมีลูกไว้ผูกพัน ทำหมันสะ อิอิ เรื่องแค่นี้ คิดมากไปได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 30 พ.ย. 2017, 05:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าไม่อยากเกิดเอานี่ โดยไม่ต้องรอถึงชาติหน้า ซึ่งยังหวังลมๆแล้งๆ

เกิดและตายแบบปัจจุบัน

การเวียนว่ายตายเกิดแบบที่เป็นไปในปัจจุบัน ภายในชาตินี้ อาจศึกษาพระสูตรตอนหนึ่งต่อไปนี้ เป็นตัวอย่าง

“ความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมม ย่อมไม่เป็นไปแก่บุคคลผู้ดำรงอยู่ในธรรม ๔ ประการ เมื่อไม่มีความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมมเป็นไป ย่อมเรียกได้ว่า เป็นมุนีผู้สงบ”


“ข้อความที่กล่าวไว้ดังนี้นั้น เราได้กล่าวโดยอาศัยเหตุผลอะไร ?

ความสำคัญตน ย่อมมีว่า เราเป็นบ้าง เราไม่เป็นบ้าง เราจักเป็นบ้าง เราจักไม่เป็นบ้าง เราจักเป็นผู้มีรูปบ้าง เราจักเป็นผู้ไม่มีรูปบ้าง เราจักเป็นผู้มีสัญญาบ้าง เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญาบ้าง เราจักเป็นเนวสัญญานาสัญญีบ้าง
ดูกรภิกษุ ความสำคัญตนเป็นโรคร้าย เป็นฝีร้าย เพราะก้าวล่วงความสำคัญตนว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เสียทั้งหมดได้ จึงจะเรียกว่า เป็นมุนีผู้สงบ”


“ดูกรภิกษุ มุนีผู้สงบ ย่อมไม่เกิด ย่อมไม่แก่ ย่อมไม่ตาย ย่อมไม่วุ่นใจ ย่อมไม่ใฝ่ทะยาน สิ่งอันเป็นเหตุที่เขาจะเกิด ย่อมไม่มี เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักวุ่นใจได้อย่างไร เมื่อไม่วุ่นใจ จักใฝ่ทะยานได้อย่างไร”


“ความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมม ย่อมไม่เป็นไปแก่บุคคลผู้ดำรงอยู่ในธรรม ๔ ประการ เมื่อไม่มีความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมมเป็นไป ย่อมเรียกได้ว่า เป็นมุนีผู้สงบ”

ข้อความที่เรากล่าวไว้ดังนี้ เราได้กล่าวโดยอาศัยเหตุผลดังว่ามานี้ ดูกรภิกษุ เธอจงทรงจำการจำแนกธาตุ ๖ โดยย่อ แห่งเราดังนี้” * (บาลีนี้มาใน ม.อุ.14/693/446ฯลฯ)

(ธรรม ๔ ประการ ได้แก่ ปัญญา สัจจะ จาคะ อุปสมะ)

มุนี นักปราชญ์, ผู้สละเรือนและทรัพย์สมบัติแล้ว มีจิตใจตั้งมั่นเป็นอิสระไม่เกาะเกี่ยวติดพันในสิ่งทั้งหลาย สงบเย็น ไม่ทะเยอทะยานฝันใฝ่ ไม่แส่พล่านหวั่นไหว มีปัญญาเป็นกำลัง และมีสติรักษาตน, พระสงฆ์หรือนักบวชที่เข้าถึงธรรม และดำเนินชีวิตอันบริสุทธิ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 30 พ.ย. 2017, 07:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หรือเอาบาลีนี้

“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกเห็นปฏิจจสมุปบาทนี้ และปฏิจจสมุปบันธรรม (สิ่งที่อาศัยกันเกิดขึ้นตามหลักปฏิจจสมุปบาท) เหล่านี้ ชัดเจนตามที่มันเป็น ด้วยสัมมาปัญญาแล้ว
เมื่อนั้น การที่อริยสาวกนั้น จะแล่นเข้าหาที่สุดข้างต้นว่า
ในอดีต เราได้เคยมีหรือไม่หนอ ?
ในอดีต เราได้เป็นอะไรหนอ ?
ในอดีต เราได้เป็นอย่างไรหนอ ?
ในอดีต เราได้เป็นอะไรแล้วจึงได้มาเป็นอะไรหนอ ?

หรือจะแล่นเข้าหาที่สุดข้างปลายว่า
ในอนาคต เราจักมีหรือไม่หนอ ?
ในอนาคต เราจักเป็นอะไรหนอ?
ในอนาคต เราจักเป็นอย่างไรหนอ?
ในอนาคต เราเป็นอะไรแล้วจักได้เป็นอะไรหนอ?

หรือแม้แต่จะเป็นผู้มีความสงสัยกาลปัจจุบันเป็นภายใน ณ บัดนี้ว่า
เรามีอยู่หรือไม่หนอ ?
เราคืออะไรหนอ?
เราเป็นอย่างไรหนอ?
สัตว์นี้มาจากที่ไหน แล้วจักไป ณ ที่ไหนอีก ? ดังนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
เพราะอะไร?
ก็เพราะว่า อริยสาวกเห็นปฏิจจสมุปบาทนี้ และปฏิจจสมุปบันธรรมนี้ ชัดเจนแล้วตามที่มันเป็น ด้วยสัมมาปัญญา” (สํ.นิ.16/63/31)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 111 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร