วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 17:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 12 มี.ค. 2018, 04:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


มิลินทปัญหา

นมัสการ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ สัมมาสัมพุทธะพระองค์นั้น.
อารัมภคาถา
พระเจ้าแผ่นดินในสาคลราชธานี อันทรงพระนามว่ามิลินท์ ได้เสด็จไป
หาพระนาคเสน, เหมือนน้ำในคงคาไหลไปสู่มหาสมุทร ฉะนั้น. ครั้นพระองค์
เสด็จถึงแล้วได้ตรัสถามปัญหาอันละเอียด ในเหตุที่ควรและไม่ควรเป็นอัน
มาก กะพระนาคเสน ซึ่งเป็นผู้กล่าวแก้ไพเราะ มีปัญญาสามารถที่จะบรรเทา
ความหลง ดุจส่องคบเพลิงบรรเทามืดเสียฉะนั้น ทั้งคำปุจฉาและวิสัชนาล้วน
อาศัยอรรถอันลึกซึ้ง น่าเป็นที่พึงใจและให้เกิดสุขแก่โสตประสาท เป็น
อัศจรรย์ให้ชูชันโลมชาติของผู้สดับ. ถ้อยคำของพระนาคเสนเถรเจ้าไพเราะ
โดยอุปมาและนัย หยั่งลงในพระอภิธรรมและพระวินัย ประกอบด้วยพระสูตร.
ขอท่านทั้งหลายจงส่งญาณไปทำอัธยาศัยให้ร่าเริงยินดี ในกถามรรค
นั้นแล้ว, จงสดับปัญหาซึ่งเป็นเครื่องทำลายเหตุที่ตั้งแห่งความสงสัย อย่าง

มิลินทปัญหา

นมัสการ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ สัมมาสัมพุทธะพระองค์นั้น.
อารัมภคาถา
พระเจ้าแผ่นดินในสาคลราชธานี อันทรงพระนามว่ามิลินท์ ได้เสด็จไป
หาพระนาคเสน, เหมือนน้ำในคงคาไหลไปสู่มหาสมุทร ฉะนั้น. ครั้นพระองค์
เสด็จถึงแล้วได้ตรัสถามปัญหาอันละเอียด ในเหตุที่ควรและไม่ควรเป็นอัน
มาก กะพระนาคเสน ซึ่งเป็นผู้กล่าวแก้ไพเราะ มีปัญญาสามารถที่จะบรรเทา
ความหลง ดุจส่องคบเพลิงบรรเทามืดเสียฉะนั้น ทั้งคำปุจฉาและวิสัชนาล้วน
อาศัยอรรถอันลึกซึ้ง น่าเป็นที่พึงใจและให้เกิดสุขแก่โสตประสาท เป็น
อัศจรรย์ให้ชูชันโลมชาติของผู้สดับ. ถ้อยคำของพระนาคเสนเถรเจ้าไพเราะ
โดยอุปมาและนัย หยั่งลงในพระอภิธรรมและพระวินัย ประกอบด้วยพระสูตร.
ขอท่านทั้งหลายจงส่งญาณไปทำอัธยาศัยให้ร่าเริงยินดี ในกถามรรค
นั้นแล้ว, จงสดับปัญหาซึ่งเป็นเครื่องทำลายเหตุที่ตั้งแห่งความสงสัย อย่าง
ละเอียดนี้เทอญ.
พาหิรกถา
คำที่ได้กล่าวนั้นเป็นฉันใด ? ดังได้สดับสืบ ๆ กันมาว่า ยังมีราชธานี
หนึ่งชื่อว่าสาคลนคร เป็นที่ประชุมแห่งการค้าขาย, เป็นที่เปิดห่อหีบสินค้า
ต่าง ๆ ออกจำหน่ายของชนชาวโยนก, เป็นภูมิประเทศที่น่าสนุกยินดี, มีแม่น้ำ
และภูเขาประดับให้งดงาม, สมบูรณ์ด้วยสวนไม้มีผล ไม้มีดอก, ป่าละเมาะ
คลองน้ำและสระโบกขรณี, เป็นที่น่าสนุกด้วยแม่น้ำ ภูเขาและป่าไม้ อัน

พระเจ้าสุตวันต์บรมราชทรงสร้างไว้เป็นที่ป้องกันหมู่ปัจจามิตรไม่ให้เข้าไป
เบียดเบียนได้; มีป้อมปราการมั่นวิจิตรอย่างต่าง ๆ, มีหอรบและประตูอันมั่น
คง, มีคูลึก, มีกำแพงโบกปูนขาวล้อมรอบพระราชวัง, มีถนนหลวงและสนาม,
ทางสี่แยก สามแยก, จำแนกปันเป็นระยะพอเหมาะดี; มีตลาดเต็มด้วยสิ่งของ

เครื่องใช้อย่างดีหลายอย่างต่าง ๆ ที่ตั้งขาย, มีโรงทานต่าง ๆ อย่างหลายร้อย
หลังประดับให้งดงาม; อร่ามด้วยยอดเรือนหลายแสนหลังดังยอดแห่งเขา

พาหิรกถา
คำที่ได้กล่าวนั้นเป็นฉันใด ? ดังได้สดับสืบ ๆ กันมาว่า ยังมีราชธานี
หนึ่งชื่อว่าสาคลนคร เป็นที่ประชุมแห่งการค้าขาย, เป็นที่เปิดห่อหีบสินค้า
ต่าง ๆ ออกจำหน่ายของชนชาวโยนก, เป็นภูมิประเทศที่น่าสนุกยินดี, มีแม่น้ำ
และภูเขาประดับให้งดงาม, สมบูรณ์ด้วยสวนไม้มีผล ไม้มีดอก, ป่าละเมาะ
คลองน้ำและสระโบกขรณี, เป็นที่น่าสนุกด้วยแม่น้ำ ภูเขาและป่าไม้ อัน

พระเจ้าสุตวันต์บรมราชทรงสร้างไว้เป็นที่ป้องกันหมู่ปัจจามิตรไม่ให้เข้าไป
เบียดเบียนได้; มีป้อมปราการมั่นวิจิตรอย่างต่าง ๆ, มีหอรบและประตูอันมั่น
คง, มีคูลึก, มีกำแพงโบกปูนขาวล้อมรอบพระราชวัง, มีถนนหลวงและสนาม,
ทางสี่แยก สามแยก, จำแนกปันเป็นระยะพอเหมาะดี; มีตลาดเต็มด้วยสิ่งของ

เครื่องใช้อย่างดีหลายอย่างต่าง ๆ ที่ตั้งขาย, มีโรงทานต่าง ๆ อย่างหลายร้อย
หลังประดับให้งดงาม; อร่ามด้วยยอดเรือนหลายแสนหลังดังยอดแห่งเขา
หิมาลัยประดับแล้ว, เกลื่อนกล่นด้วยพลช้างม้ารถและทหารเดินเท้า, มีหมู่
ชายหญิงที่มีรูปงามเที่ยวเดินสลอน, เกลื่อนกล่นด้วยหมู่คน, มีชนที่เป็น
ชาติกษัตริย์ ชาติพราหมณ์ ชาติแพศย์ ชาติศูทร เป็นอันมากหลายชนิด, มีหมู่
สมณพราหมณ์ต่าง ๆ เพศต่าง ๆ วงศ์เบียดเสียดกัน, เป็นที่อันคนมีวิชชา
ความรู้และผู้กล้าหาญ อยู่อาศัยแล้วเป็นอันมาก; สมบูรณ์ด้วยร้านขายผ้า
อย่างต่าง ๆ : มีผ้าที่ทอในเมืองกาสีและผ้าที่ทอในเมืองกุฏุมพรเป็นต้น, หอม
ตลบด้วยกลิ่นหอม ที่ฟุ้งไปจากร้านขายดอกไม้หอมและเครื่องหอมหลาย
อย่างที่งดงาม และออกเป็นระยะอันดี; บริบูรณ์ด้วยรัตนะที่คนปรารถนาเป็น
อันมาก, มีหมู่พ่อค้าที่มั่งคั่งซึ่งตั้งห้างขายของในประเทศใหญ่ในทิศนั้น ๆ
เที่ยวอยู่สลอน, บริบูรณ์ด้วยกหาปณะเงินทองโลหะและเพชรพลอย, เป็นที่อยู่
แห่งแร่ซึ่งเป็นขุมทรัพย์อันสุกใส มีธัญญาหารและเครื่องมือสำหรับที่เป็น
อุปการให้เกิดทรัพย์สมบัติ เป็นอันมาก, มีคลังและฉางเต็มบริบูรณ์, มีข้าวน้ำ
และขัชชะโภชชาหารของควรดื่มของควรจิบควรลิ้มมากอย่าง, สมบูรณ์ด้วย
ธัญญาหารดุจกุรุทวีป, (ประกอบด้วยสมบัติเห็นป่านนี้) เหมือนเมืองสวรรค์

ชายหญิงที่มีรูปงามเที่ยวเดินสลอน, เกลื่อนกล่นด้วยหมู่คน, มีชนที่เป็น
ชาติกษัตริย์ ชาติพราหมณ์ ชาติแพศย์ ชาติศูทร เป็นอันมากหลายชนิด, มีหมู่
สมณพราหมณ์ต่าง ๆ เพศต่าง ๆ วงศ์เบียดเสียดกัน, เป็นที่อันคนมีวิชชา
ความรู้และผู้กล้าหาญ อยู่อาศัยแล้วเป็นอันมาก; สมบูรณ์ด้วยร้านขายผ้า
อย่างต่าง ๆ : มีผ้าที่ทอในเมืองกาสีและผ้าที่ทอในเมืองกุฏุมพรเป็นต้น, หอม
ตลบด้วยกลิ่นหอม ที่ฟุ้งไปจากร้านขายดอกไม้หอมและเครื่องหอมหลาย
อย่างที่งดงาม และออกเป็นระยะอันดี; บริบูรณ์ด้วยรัตนะที่คนปรารถนาเป็น
อันมาก, มีหมู่พ่อค้าที่มั่งคั่งซึ่งตั้งห้างขายของในประเทศใหญ่ในทิศนั้น ๆ
เที่ยวอยู่สลอน, บริบูรณ์ด้วยกหาปณะเงินทองโลหะและเพชรพลอย, เป็นที่อยู่
แห่งแร่ซึ่งเป็นขุมทรัพย์อันสุกใส มีธัญญาหารและเครื่องมือสำหรับที่เป็น
อุปการให้เกิดทรัพย์สมบัติ เป็นอันมาก, มีคลังและฉางเต็มบริบูรณ์, มีข้าวน้ำ
และขัชชะโภชชาหารของควรดื่มของควรจิบควรลิ้มมากอย่าง, สมบูรณ์ด้วย
ธัญญาหารดุจกุรุทวีป, (ประกอบด้วยสมบัติเห็นป่านนี้) เหมือนเมืองสวรรค์
อันมีนามว่า อาฬกมันทาเทพนคร.
ควรหยุดไว้เพียงเท่านี้ แล้วกล่าวบุรพกรรมของพระเจ้ามิลินท์และพระ
นาคเสนก่อน, ก็เมื่อกล่าวควรแบ่งกล่าวเป็นหกภาค: คือ บุรพกรรมหนึ่ง, มิลิ
นทปัญหาหนึ่ง, ลักขณปัญหาหนึ่ง, เมณฑกปัญหาหนึ่ง, อนุมานปัญหาหนึ่ง,
โอปัมมกถาปัญหาหนึ่ง.
ในปัญหาเหล่านั้น: มิลินทปัญหามีสองอย่าง: คือ ลักขณปัญหาหนึ่ง,
วิมติจเฉทนปัญหาหนึ่ง แม้เมณฑกปัญหาก็มีสองอย่าง: คือ มหาวรรคหนึ่ง,
โยคิกถาปัญหาหนึ่ง



บุรพกรรมของพระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสนนั้น ดังนี้: ดังได้สดับมา
ในอดีตกาล เมื่อครั้งพระศาสนาแห่งพระกัสสปผู้มีพระภาคเจ้ายังเป็นไปอยู่,
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ได้อาศัยอยู่ในอาวาสใกล้แม่น้ำคงคาแห่งหนึ่ง. ในภิกษุสงฆ์
หมู่นั้น ภิกษุที่ถึงพร้อมด้วยวัตรและศีลลุกขึ้นแต่เช้าแล้ว, ถือไม้กราดไปกวาด

ควรหยุดไว้เพียงเท่านี้ แล้วกล่าวบุรพกรรมของพระเจ้ามิลินท์และพระ
นาคเสนก่อน, ก็เมื่อกล่าวควรแบ่งกล่าวเป็นหกภาค: คือ บุรพกรรมหนึ่ง, มิลิ
นทปัญหาหนึ่ง, ลักขณปัญหาหนึ่ง, เมณฑกปัญหาหนึ่ง, อนุมานปัญหาหนึ่ง,
โอปัมมกถาปัญหาหนึ่ง.
ในปัญหาเหล่านั้น: มิลินทปัญหามีสองอย่าง: คือ ลักขณปัญหาหนึ่ง,
วิมติจเฉทนปัญหาหนึ่ง แม้เมณฑกปัญหาก็มีสองอย่าง: คือ มหาวรรคหนึ่ง,
โยคิกถาปัญหาหนึ่ง



บุรพกรรมของพระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสนนั้น ดังนี้: ดังได้สดับมา
ในอดีตกาล เมื่อครั้งพระศาสนาแห่งพระกัสสปผู้มีพระภาคเจ้ายังเป็นไปอยู่,
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ได้อาศัยอยู่ในอาวาสใกล้แม่น้ำคงคาแห่งหนึ่ง. ในภิกษุสงฆ์
หมู่นั้น ภิกษุที่ถึงพร้อมด้วยวัตรและศีลลุกขึ้นแต่เช้าแล้ว, ถือไม้กราดไปกวาด
ลานอาวาสพลาง ระลึกถึงพุทธคุณพลาง กวาดหยากเยื่อรวมไว้เป็นกองแล้ว;
ภิกษุรูปหนึ่งใช้สามเณรรูปหนึ่งว่า "ท่านจงมานำหยากเยื่อนี้ไปทิ้งเสีย."
สามเณรรูปนั้นแกล้งทำไม่ได้ยินเดินเฉยไปเสีย, แม้ภิกษุนั้นร้องเรียกถึงสอง
ครั้งสามครั้ง ก็แกล้งทำไม่ได้ยินเดินเฉยไปเสีย เหมือนอย่างนั้น. ภิกษุนั้นขัด
ใจว่า "สามเณรผู้นี้ว่ายาก." จึงเอาคันกราดตีสามเณรนั้น. สามเณรนั้น
มีความกลัว, ร้องไห้พลางขนหยากเยื่อไปทิ้งพลาง, ได้ตั้งความปรารถนาเป็น
ประถมว่า "ด้วยบุญกรรมที่เราได้กระทำเพราะทิ้งหยากเยื่อนี้ ขอเรามีศักดา
เดชานุภาพใหญ่ เหมือนดวงอาทิตย์ในเวลาตะวันเที่ยง ในสถานที่เราเกิด
แล้ว ๆ กว่าจะบรรลุพระนิพพานเถิด." ครั้นทิ้งหยากเยื่อเสร็จแล้ว ไปอาบน้ำที่
ท่าน้ำ, เห็นกระแสคลื่นในแม่น้ำคงคาไหลเชี่ยวเสียงดังดุจสูบ, จึงตั้งความ
ปรารถนาเป็นครั้งที่สองว่า "ขอเรามีปัญญาว่องไวไม่สิ้นสุดดุจกระแสคลื่นแห่ง
แม่น้ำคงคานี้ ในสถานที่เราเกิดแล้ว ๆ กว่าจะบรรลุพระนิพพานเถิด."
ฝ่ายพระภิกษุนั้น เก็บกราดไว้ในศาลาสำหรับเก็บกราดแล้ว, เมื่อไป
อาบน้ำที่ท่าน้ำ, ได้ฟังความปรารถนาของสามเณรแล้ว, คิดว่า "สามเณรนั่น

ภิกษุรูปหนึ่งใช้สามเณรรูปหนึ่งว่า "ท่านจงมานำหยากเยื่อนี้ไปทิ้งเสีย."
สามเณรรูปนั้นแกล้งทำไม่ได้ยินเดินเฉยไปเสีย, แม้ภิกษุนั้นร้องเรียกถึงสอง
ครั้งสามครั้ง ก็แกล้งทำไม่ได้ยินเดินเฉยไปเสีย เหมือนอย่างนั้น. ภิกษุนั้นขัด
ใจว่า "สามเณรผู้นี้ว่ายาก." จึงเอาคันกราดตีสามเณรนั้น. สามเณรนั้น
มีความกลัว, ร้องไห้พลางขนหยากเยื่อไปทิ้งพลาง, ได้ตั้งความปรารถนาเป็น
ประถมว่า "ด้วยบุญกรรมที่เราได้กระทำเพราะทิ้งหยากเยื่อนี้ ขอเรามีศักดา
เดชานุภาพใหญ่ เหมือนดวงอาทิตย์ในเวลาตะวันเที่ยง ในสถานที่เราเกิด
แล้ว ๆ กว่าจะบรรลุพระนิพพานเถิด." ครั้นทิ้งหยากเยื่อเสร็จแล้ว ไปอาบน้ำที่
ท่าน้ำ, เห็นกระแสคลื่นในแม่น้ำคงคาไหลเชี่ยวเสียงดังดุจสูบ, จึงตั้งความ
ปรารถนาเป็นครั้งที่สองว่า "ขอเรามีปัญญาว่องไวไม่สิ้นสุดดุจกระแสคลื่นแห่ง
แม่น้ำคงคานี้ ในสถานที่เราเกิดแล้ว ๆ กว่าจะบรรลุพระนิพพานเถิด."
ฝ่ายพระภิกษุนั้น เก็บกราดไว้ในศาลาสำหรับเก็บกราดแล้ว, เมื่อไป
อาบน้ำที่ท่าน้ำ, ได้ฟังความปรารถนาของสามเณรแล้ว, คิดว่า "สามเณรนั่น
เราใช้แล้วยังปรารถนาถึงเพียงนี้ก่อน, ถ้าเราตั้งความปรารถนาบ้าง เหตุไฉน
ความปรารถนานั้นจักไม่สำเร็จแก่เรา;" จึงตั้งความปรารถนาบ้างว่า "ขอเรามี
ปัญญาไม่สิ้นสุดดุจกระแสคลื่นแห่งแม่น้ำคงคานี้, ขอเราสามารถจะแก้ไข
ปัญหาที่สามเณรผู้นี้ถามแล้ว ๆ ทุกอย่าง, ในสถานที่เราเกิดแล้ว ๆ กว่าจะ
บรรลุถึงพระนิพพานเถิด."


โพสต์ เมื่อ: 12 มี.ค. 2018, 06:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


...สาธุ.... มิลินทปัญหาเป็น ปุชฉา-วิสัชนา ที่พรรณาความในพระไตรปิฎกได้พิสดาร..ยิ่งนัก..


โพสต์ เมื่อ: 14 มี.ค. 2018, 03:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


เทียบเคียงกับประวัติศาสตร์อินเดีย

พระเจ้าโปรุส หรือ พระเจ้าโปรอส กษัตริย์แห่ง อาณาจักรเปารวะ อันเป็นชายแดนของ ภูมิภาคปัญจาบ ซึ่งมีชื่อเสียงจากการนำกองทัพเปารวะเข้าต่อสู้กับกองทัพมาเซดอนอันเกรียงไกรของ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ที่ ยุทธการไฮดาสเปส ... วิกิพีเดีย
เกิดเมื่อ: พ.ศ. 188, ภูมิภาคปัญจาบ
เสียชีวิตเมื่อ: พ.ศ. 227, ภูมิภาคปัญจาบ
สัญชาติ: อินเดีย
พ่อแม่: Anusuya
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E ... 8%E0%B8%AA


เทียบเคียงกับประวัติศาสตร์กรีก

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ... วิกิพีเดีย
เกิดเมื่อ: กรกฎาคม พ.ศ. 188, เพลลา, กรีซ
เสียชีวิตเมื่อ: มิถุนายน พ.ศ. 221, บาบิโลน, ประเทศอิรัก
ชื่อเต็ม: Alexander III of Macedon
คู่สมรส: ร็อกซานา (สมรส พ.ศ. 216–พ.ศ. 220), Stateira II (สมรส พ.ศ. 219–พ.ศ. 220), Parysatis II (สมรส พ.ศ. 219–พ.ศ. 220)
บุตร: อเล็กซานเดอร์ที่ 4 แห่งมาซิโดเนีย, Heracles of Macedon, Keikavus
พ่อแม่: พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา, โอลิมเพียสแห่งเอพิรุส

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD ... 2%E0%B8%8A


โพสต์ เมื่อ: 14 มี.ค. 2018, 03:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


เทียบเคียงกับพระเจ้ามิลินท์

พระเจ้ามิลินท์
กษัตริย์ อินเดีย - กรีก

กษัตริย์ อินเดีย - กรีก
ครองราชย์ พ.ศ. 378/388–413
ก่อนหน้า อันติมาคัส ที่ 2
ถัดไป สตราโต ที่ 1
อัครมเหสี อะกาทอคลีอา (Agathokleia)
พระราชบุตร สตราโต ที่ 1
ประสูติ พ.ศ. ณ กาลาสี อะเล็กซานเดรีย แห่ง คอเคซัส ปัจจุบัน คือ เมืองบาแกรม ของอัฟกานิสถาน
สวรรคต พ.ศ. 413 (ชันษา )
ศาสนา พุทธ

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E ... 7%E0%B9%8C


โพสต์ เมื่อ: 14 มี.ค. 2018, 03:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


เทียบเคียง กับหนังสือมิลินท์ปัญหา

มีอ้างพุทธพจน์ว่า


"ต่อจากเราปรินิพพานไปล่วงได้ ๕๐๐ ปี จักมีพระราชาองค์หนึ่ง ชื่อว่า "มิลินท์" ผู้ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ดีแล้ว จะทำให้เกิดปัญหาอันละเอียดขึ้น ด้วยอานุภาพปัญญาของตน จะย่ำยีเสียซึ่งสมณพราหมณ์ทั้งหลายด้วยปัญหาอันละเอียด

จะมีภิกษุองค์หนึ่ง ชื่อว่า "นาคเสน" ไปทำลายถ้อยคำของ มิลินทราชา ทำให้มิลินทราชาเกิดความร่าเริงยินดีด้วยอุปมาเป็นเอนก จะทำศาสนาของเราให้หมดเสี้ยนหนามหลักตอ จะทำศาสนาของเราให้ตั้งอยู่ตลอด ๕๐๐๐ พรรษา" ดังนี้


http://www.dhammathai.org/milin/milin01.php?#2


โพสต์ เมื่อ: 14 มี.ค. 2018, 03:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงชัดเจนว่า พระเจ้าอเลกซานเดอร์มหาราชตามที่ชาวพุทธทั่วไปหลงเชื่อ ว่าคือพระเจ้ามิลินท์

ไม่ใช่พระเจ้ามิลินท์ เพราะ พศ. ที่ประสูติ เมืองที่ประสูติ ห่างและแตกต่าง

จากบทในหนังสือ มิลินท์ปัญหา อย่างมากมาย ค่ะ


โพสต์ เมื่อ: 14 มี.ค. 2018, 03:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
เทียบเคียงกับพระเจ้ามิลินท์

พระเจ้ามิลินท์
กษัตริย์ อินเดีย - กรีก

กษัตริย์ อินเดีย - กรีก
ครองราชย์ พ.ศ. 378/388–413
ก่อนหน้า อันติมาคัส ที่ 2
ถัดไป สตราโต ที่ 1
อัครมเหสี อะกาทอคลีอา (Agathokleia)
พระราชบุตร สตราโต ที่ 1
ประสูติ พ.ศ. ณ กาลาสี อะเล็กซานเดรีย แห่ง คอเคซัส ปัจจุบัน คือ เมืองบาแกรม ของอัฟกานิสถาน
สวรรคต พ.ศ. 413 (ชันษา )
ศาสนา พุทธ

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E ... 7%E0%B9%8C



และไม่ใช่พระเจ้ามิลินท์นี้ ตามที่วิกิได้ลงไว้

เพราะสวรรคต ก่อนหน้า พระเจ้าแผ่นดินในสาคลราชธานี อันทรงพระนามว่ามิลินท์ จะถือกำเนิด
ของแท้ที่เป็นต้น เรื่อง มิลินท์ปัญหา หลายปีค่ะ


โพสต์ เมื่อ: 14 มี.ค. 2018, 04:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


ปญฺจวสฺสสตานิ อจฺจเยน ตโต ปรํ มิลินฺโท นาม ราชา


เบื้องหน้าแต่พระมหินทเถระ
เอาศาสนาไปตั้งไว้ในเกาะลังกานั้น พระศาสนากำหนดได้ ๕๐๐ ปี จะมีบรมขัตติยวงศวเรศเรือง
พระปรีชาเฉลิมเลิศประเสริฐในสาคลนคร ข้างเกาะชมพูประเทศ ทรงพระกิตตินามอันวิเศษ
ชื่อว่ามิลินทภูมินทราธิบดี ทรงพระปรีชาเฉลียวฉลาด เป็นเอกอัครมหานักปราชญ์หาผู้จะ
เปรียบปานมิได้ โดยปัญญาเธอฉลาดเที่ยวถามปัญหาสมณพราหมณาจารย์ หาบุคคลผู้ใดใคร
ผู้หนึ่งที่จะต่อต้านทานฉลาดถึงไม่ มีแต่ชัยเฉลิมเลิศประสาปัญญาเชือนแช ข้างจะผันแปร
ศาสนาตถาคตให้ฟั่นเฟือนไป จนแต่พระอรหันต์ก็ไม่ละลด เสร็จไปเที่ยวจดโจทนา ถ้าไม่ทันคิด
ฉวยแก้ปัญหาเธอเข้า ก็กลับเซ้าซี้ซักไปไล่ให้จน จนว่าคนทั้งหลายที่มีปัญญาเขลาให้พลอยเห็น
ด้วย ถือว่าใครไม่เสมอพระองค์ ในการที่จะถามฉลาดลึกซึ้ง ครั้งนั้นยังมีภิกขุองค์หนึ่งมีนาม
ชื่อว่านาคเสน แสนฉลาด อาจสามารถที่จะแก้อรรถปัญหาของพระเจ้ามิลินท์ ให้ทรงโสมนัส
ยินดีได้ด้วยวิจิตรอุปมา และพระนาคเสนนั้น จะกระทำศาสนาของตถาคตให้ปรากฏถาวรตั้งมั่น
ไป ถ้วน ๕,๐๐๐ พระวรรษาในกาลนั้น


http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=2



นี่คือปัญหาข้อที่หนึ่ง ของมิลินทปัญหาค่ะ

ระหว่างประวัติศาสตร์ และพระไตรปิฎก


โพสต์ เมื่อ: 14 มี.ค. 2018, 04:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


พระมหินทเถระ ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ

ประมาณ พ.ศ. 236


https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8 ... 1%E0%B8%B2


และนี่ก็ก่อน ที่พระเจ้ามิลินท์ตามพระไตรปิฎก จะประสูติ

"อันดับนั้นสืบไปภายหน้า ยังมีพระเถระผู้หนึ่งมีนามกรชื่อว่ามหินทเถระ จะนำเอาศาสนา
ของตถาคตไปตั้งไว้ให้ปรากฏในเกาะลังกา
ปญฺจวสฺสสตานิ อจฺจเยน ตโต ปรํ มิลินฺโท นาม ราชา เบื้องหน้าแต่พระมหินทเถระ
เอาศาสนาไปตั้งไว้ในเกาะลังกานั้น พระศาสนากำหนดได้ ๕๐๐ ปี "

http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=2


โพสต์ เมื่อ: 16 มี.ค. 2018, 01:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กว่าจะมีพระเจ้ามิลินท์ ในพระไตรปิฎก ซึ่งเกิดขึน เมื่อพระศาสนาได้ 500 ปี

พวกบุคคล ชื่อต่างๆ ในประวัติศาตร์ ที่มีชื่อซ้ำกันกับชื่อในมิลินท์ปัญหา

ทั้งพระเจ้ามิลินท์ อเลกซานเดอร์ รวมทั้งชื่ออื่นๆ ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ที่ชาติต่างๆของคนเหล่านั้น ได้จดจารึกไว้ บุคคลที่มีชื่อเหมือนกันนั้นได้ ลาลับโลกไปหมดแล้วค่ะ ก่อนหน้าจะมีมิลินท์ปัญหา

ไม่ใช่บุคคลในมิลินท์ปัญญหาตามพระไตรปิฎก ทั้งหมดค่ะ


โพสต์ เมื่อ: 16 มี.ค. 2018, 02:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


ทั้งพระไตรปิฎก ฉบับหลวง และฉบับมหาจุฬาฯ
http://tripitaka-online.blogspot.com/2016/05/ml001.html

http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=0

ได้บันทีกตรงกัน ว่า

พระเจ้ามิลินนท์ เกิดเมื่อล่วงได้ 500 ปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานค่ะ



แต่บันทึกประวัติศาสตร์ ของประเทศอินเดีย ประเทศกรีก ประเทศศรีลังกา รวมทั้งเปอร์เซีย ที่บันทึกเหตุการ์ณตรงกัน กับรัชสมัย พระเจ้าโปรอส กษัตริองค์นึงของอินเดีย อเลกซานเดอร์ พระเจ้าดาไลอัส ต่างบันทึกตรงกัน

บุคคลที่มีชื่อเหมือนในพระไตรปิฎกเหล่านั้น
ลาโลกไปก่อนหน้ามิลินท์ปัญหา หมดแล้วค่ะ


โพสต์ เมื่อ: 20 มี.ค. 2018, 07:24 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2943


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสต์ เมื่อ: 22 มี.ค. 2018, 14:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


ในมิลินท์ทปัญญหา จะจำแนกสติไว้หลายอาการค่ะ

มีมากมายหลายระดับ หลายขั้นและมากถึง 17 อาการ



ตัวอย่าง เช่น

สติที่เป็นสติปัฎฐานในวิปัสสนา

สติที่ไม่ถึงความเป็นสติปัฎฐานในวิปัสสนา

สติในศีล

สติในขนิกสมาธิ

สติในอุปจารสมาธิ

สติในอัปมาสมาธิ

หรือ อภิลาปนลักขณสติ

หรือ อุปคัณหนลักขณสติ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร