วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 20:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2018, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การที่จะอธิบายลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น รวมทั้งรายละเอียดของคำเรียกนั้นๆ
ต้องรู้ชัดโดยสภาวะด้วยตนเองก่อน จึงจะสามารถนำมาอธิบายได้

อย่างที่เคยบอกว่า ปริยัติมีไว้ให้รู้ ให้ศึกษาได้ แต่อย่าถือมั่นในสิ่งที่ได้ศึกษามา
จะมีแต่การสร้างเหตุไม่รู้จบ เพราะเป็นเพียงสุตตะ ไม่ได้เกิดจากภาวนา
แม้เกิดจากการภาวนา ก็ต้องลงรอยเดียวกันกับพระธรรมคำสอน
คือ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด



ดังคำที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

[๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔ อย่างเหล่านี้. ๔ อย่างเป็นไฉน?
คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขาย่อมไม่บัญญัติ ความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ
คือ ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน.
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?

เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น
ไม่รู้ทั่วถึงฐานะ ๓ ประการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้นพวกเขา จึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ
คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน.




ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ
คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?

เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น
ไม่รู้ทั่วถึงฐานะ ๒ ประการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ
คือ ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน





ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ
คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?

เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น
ไม่รู้ทั่วถึงฐานะอย่างหนึ่งนี้ตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ
คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน




ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในศาสดาใด
ความเลื่อมใสนั้น เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ

ความเลื่อมใสในธรรมใด ความเลื่อมใสนั้น
เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ

ความกระทำให้บริบูรณ์ในศีลใด
ข้อนั้น เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ

ความเป็นที่รักและน่าพอใจในหมู่สหธรรมิกใด
ข้อนั้น เราไม่กล่าวว่าไปแล้วโดยชอบ ในธรรมวินัยเห็นปานนี้แล
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนั้น
เป็นความเลื่อมใสในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวชั่วแล้ว
ประกาศชั่วแล้ว
มิใช่สภาพนำออกจากทุกข์
ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ
มิใช่อันผู้รู้เองโดยชอบประกาศไว้.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2018, 14:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กามุปาทาน ได้แก่ กามราคะ ปฏิฆะ
อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด


มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต ได้แก่ กามภพ

และมีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ได้แก่ รูปภพ อรูปภพ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2018, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อนำมาอธิบายตามสภาวะ เกี่ยวกับลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น



๑. อย่างหยาบ มีเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
กล่าวคือ กามอารมณ์ทั้ง ๕ ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง กายสัมผัส
มากระทบทวารทั้ง ๕ แล้วมีความยินดีพอใจเป็นอย่างมาก จนถึงสามารถจะล่วงอกุศลกรรมบถได้
เช่น ความพอใจในรูปารมณ์ที่มากระทบ สามารถให้กระทำกรรมอันเป็นกาเมสุมิจฉาจารได้ เป็นต้น




๒. อย่างกลาง เป็นความพอใจในกามอารมณ์ทั้ง ๕ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
แต่ความพอใจนั้นไม่รุนแรง เป็นความพอใจที่ปรากฏอยู่แต่ในใจพอประมาณ




๓. อย่างละเอียด ได้แก่ กามอารมณ์ทั้ง ๕ เมื่อมากระทบทวารทั้ง ๕
แล้วไม่อาจยังให่้เกิดความยินดีติดอยู่ในอารมณ์นั้นๆได้

เช่น รูปที่มากระทบจักขุทวาร แม้รูปารมณ์นั้น จะมีความสวยงามสักเพียงไร
ก็ไม่สามารถทำให้เกิดความกำหนัดยินดีติดอยู่ในอารมณ์นั้นๆได้





ปฏิฆะ ก็ทำนองเดียวกัน เพียงแต่เป็นเรื่องของ ความยินร้าย ความไม่พอใจ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2018, 14:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


จะเล่าอาการที่มีเกิดขึ้น ให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น


การเกิดสภาวะจิตดวงสุดท้าย ครั้งที่ ๑
มีเกิดขึ้น ขณะทำความเพียร(จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ)


ความรู้สึกต่างๆ ยังคงเหมือนเดิม เวลาโกรธ อารมณ์ก็ยังคงรุนแรง
คือ ความชอบใจ ไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งไม่ได้เบาลง
ก่อนเกิดสภาวะจิตดวงสุดท้าย กับหลังเกิดสภาวะจิตดวงสุดท้าย
ความรู้สึกต่างๆ เหมือนเดิมทุกอย่าง



มีสิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดในเรื่องของการกระทำ
คือ จะมีตัวช่วยในการหยุด ไม่ให้กระทำตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
ซึ่งมีเกิดขึ้นหลังจากเกิดสภาวะจิตดวงสุดท้าย
ได้แก่ ความรู้ชัดในผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงด้วยตนเอง

คือรู้ว่า เพราะอะไร สิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) จึงมีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
เมื่อรู้ดังนี้แล้ว แรกๆ ใช้ความอดทน อดกลั้น กดข่มใจเป็นอย่างมาก ที่จะไม่สร้างเหตุนอกตัว หรือสานต่อ
เรียกได้ว่า ใช้เรี่ยวแรง ใช้ความพยายามเป็นอย่างมาก

ทำไมต้องพยายามหยุดหรือไม่สานต่อ
เพราะผัสสะที่มีเกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
เป็นเรื่องของของกรรม(ในอดีต)ที่เคยกระทำไว้
ส่งมาให้รับผลในรูปแบบของผัสสะที่มีเกิดขึ้นในชีวิต(ปัจจุบัน)
ด้วยเหตุปัจจัยนี้ สิ่งที่เกิดขึ้น จึงทำให้มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด


ถ้ากระทำไปแล้ว คือ กระทำตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
จะกลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก เป็นการสร้างเหตุปัจจัยภพชาติของการเกิดขึ้นมาอีก
เป็นการทำกรรมซ้ำ กรรมซ้อน คือ ของเก่าไม่ยอมรับ ของใหม่ทำขึ้นมาอีก
ภพชาติของการเกิด จึงมีเกิดขึ้นไม่รู้จักจบสิ้น




เมื่อกระทำดังนี้เนืองๆ คือ หยุดสร้างเหตุนอกตัว
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมมีเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย


เมื่อรู้ชัดในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาที่มีเกิดขึ้นเนืองๆ
ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ในเหตุปัจจัยที่มีอยู่ ได้แก่ กรรมและการให้ผลของกรรม

เมื่อเป็นดังนี้แล้ว จิตจึงเกิดการปล่อยวางโดยไม่ต้องพยายามคิดที่จะปล่อยวาง
ที่เคยใช้เรี่ยวแรง ใช้ความพยายามในการที่จะหยุด ค่อยๆลดน้อยลงไปเอง


ส่วนความรู้สึก รัก โลภ โกรธ หลง ความพลุ่งพล่านต่างๆ
ก็ยังคงมีอยู่ปกติน่ะแหละ แต่รู้ทันมากขึ้น คือ กระทบแล้วเกิดความรู้ชัดทันที
หยุดทันบ้าง ไม่ทันบ้าง คือ ยังมีการสร้างเหตุนอกตัวตามใจตนเองอยู่บ้าง
แต่มีเกิดขึ้นน้อยกว่าในสมัยที่ยังไม่รู้ชัดในผัสสะ


สำหรับเรื่องการเข้าสังคม การคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ตรงนี้ยังคงมีอยู่เป็นเรื่องปกติ
แต่รู้จักใช้ชีวิตในทางที่ควร มากกว่าตามใจตนเอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2018, 14:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การเกิดสภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่ ๒
มีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิต "หัวใจวาย" ภาษาชาวบ้าน "ตาย"



มีสิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด คือเรื่องของความรู้สึกต่างๆ
ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น ทำให้รู้ว่า มีเกิดขึ้นในใจแค่พอประมาณนั้น
มีลักษณะอาการเกิดขึ้นเป็นแบบไหน

คือจะรู้ว่ามีเกิดขึ้น แต่ไม่รุนแรง ไม่มีการพลุ่งพล่านแบบก่อนๆ
มีความสงบจากภายนอก รู้ชัดอยู่ภายใน มีเกิดขึ้นเป็นระยะๆ
สมัยก่อนแทบจะไม่มีอาการแบบนี้เกิดขึ้น มีเกิดขึ้นเฉพาะเวลาที่ทำกรรมฐานโดยส่วนมาก
แต่นี่มีเกิดขึ้นในการใช้ชีวิตปกติ มีเกิดขึ้นเป็นปกติ โดยไม่ได้พยายามทำให้มีเกิดขึ้นแต่อย่างใด



เรื่องการหยุดสร้างเหตุนอกตัว เรียกได้ว่า แทบจะไม่ต้องใช้ความพยายามเหมือนเมื่อก่อน
แค่กระทบ รู้ว่ามีเกิดขึ้น ความรู้สึกนั้นๆ ดับหายไปเอง

หากบางครั้ง มีเกิดขึ้นนาน จิตจะคิดพิจรณาหาเหตุผล เห็นเหตุปัจจัยที่มีอยู่
คือ ไม่กล่าวโทษนอกตัว มองที่ตัวเองเป็นหลัก หากไม่เคยกระทำไว้ ผลจะมาจากไหน
จิตจะปล่อยวาง ก็มีเหตุให้ปล่อยวางเอง จบเรื่องนี้ เรื่องใหม่เกิดต่อ



สำหรับการเข้าสังคม แทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้
การคลุกคลีด้วยหมู่คณะยิ่งแล้วใหญ่ ไม่ชอบคลุกคลี เพราะเห็นแต่เหตุปัจจัยของการเกิด
เมื่อเบื่อหน่ายภพชาติของการเกิด จึงกลายเป็นคนไม่มีสังคมไปเอง



ที่สำคัญ การรู้ชัดสภาวะต่างๆ ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในวิโมกข์ ๘ ด้วยตนเอง
และสภาวะจิตเสื่อม สมาธิเสื่อม ที่เคยมีเกิดขึ้นกับตน ทำให้ความยึดมั่นถือมั่นในสภาวะไม่ค่อยมี

อย่างกรณีที่ ความรู้สึกต่างๆที่เกิดแค่ในใจพอประมาณ นี่เชื่อถือไม่ได้นะ
อาจจะเป็นเพราะเกิดจากปัจจุบัน กำลังสมาธิมีมากขึ้นเรื่อยๆ จิตเป็นสมาธิเนืองๆ
อาจทำให้กดข่มกิเลสไว้ส่วนหนึ่ง จึงตัดทิ้งไปได้เรื่องความมี ความเป็น


และความมี ความเป็น จะโสดา สกิทาคา อนาคามี ล้วนยังมีเชื้อของการเกิด
แล้วจะไปอยากได้ใคร่ดีในสิ่งเหล่านี้ทำไม อุปกิเลสต่างๆ จึงสงบลงไปด้วยเหตุปัจจัยนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2018, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
เมื่อนำมาอธิบายตามสภาวะ เกี่ยวกับลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น



๑. อย่างหยาบ มีเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
กล่าวคือ กามอารมณ์ทั้ง ๕ ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง กายสัมผัส
มากระทบทวารทั้ง ๕ แล้วมีความยินดีพอใจเป็นอย่างมาก จนถึงสามารถจะล่วงอกุศลกรรมบถได้
เช่น ความพอใจในรูปารมณ์ที่มากระทบ สามารถให้กระทำกรรมอันเป็นกาเมสุมิจฉาจารได้ เป็นต้น
ปฏิฆะ ก็ทำนองเดียวกัน เพียงแต่เป็นเรื่องของ ความยินร้าย ความไม่พอใจ





โสดาปัตติมรรคประหาณสังโยชน์ได้ ๕ อย่าง คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อปายคมนียกามราคะ อปายคมนียปฏิฆะ




ถ้านำมากล่าวโดย กิเลส ๑๐ อย่าง ทิฏฐิและวิจิกิจฉา
โสดาปัตติมรรคประหาณได้โดยเด็ดขาด

ทิฏฐิกิเลส ได้แก่ สักกายทิฏฐิ คือความเข้าใจผิดในขันธ์ ๕
เข้าไปยึดมั่น ถือมั่น ว่าปัญจขันธ์นี้เป็นของตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล,เรา,เขา

วิจิกิจฉากิเลส ได้แก่ ความลังเลสงสัย
หมายเอาเฉพาะ ความสงสัยในพระรัตนตรัย
พระพุทธเจ้ามีจริงมั๊ย
พระธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้มีจริงมั๊ย ปฏิบัติตามแล้วได้ผลจริงมั๊ย
พระสงฆ์สาวก ที่เป็นพระอริยะมีจริงมั๊ย สามารถดับกิเลสได้จริงมั๊ย ที่สามารถบรรลุมรรค ผล นิพพานได้ มีจริงมั๊ย

สำหรับผู้ที่ปฏิบัติจนประจักษ์แจ้งแก่ใจตน ได้แก่ อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
จนกระทั่งแจ้งในนิพพานตามความเป็นจริง วิจิกิจฉาย่อมถูกทำลายเป็นสมุจเฉทประหาณ ไม่มีการกำเริบเกิดขึ้นอีกต่อไป


โสดาบันบุคคลนั้น ย่อมเห็น รูป,นาม ขันธ์ ๕ นี้ สักแต่ว่าสภาวธรรมเท่านั้นไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
ได้แก่ การรู้แจ้งแทงตลอดในอุปทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ขณะเกิด อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ
และโดยความเห็นดังนี้จึงละสักกายทิฏฐิได้



เมื่อละสักกายทิฏฐิได้แล้ว กรรมใดที่เป็นทุจริตอันจะนำไปสู่อบาย ก็ย่อมไม่กระทำกรรมนั้น
แต่ถึงแม้จะละสักกายทิฏฐิได้ ก็ยังไม่สามารถจะละมานสังโยชน์ได้
ฉะนั้น ถึงแม้จะเห็นรูป,นาม ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวตนแล้วก็จริง แต่ยังเห็นเป็นเราเป็นเขาอยู่
ความยินดีพอใจในอารมณ์ที่มากระทบจึงยังมีอยู่

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร