วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 22:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 47 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 26 ส.ค. 2018, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
ฝึกจิตให้พยศมากๆๆขึ้นเป็นล้านๆเท่าได้มั๊ยคะ หรือทำได้แค่ให้หมดพยศ ?


ได้ครับ ตัวอย่าง เช่น อหิงสกะ (องคุลิมาล) ฆ่าคนไปเยอะแยะ เพราะเหตุใด ถ้าไม่มีคนให้แง่คิด ยังจะฆ่าอีกนะน่า แม้แต่แม่ยังจะฆ่าเลย

มนุษย์ทุกคนทั้งหญิงทั้งชาย มีเชื้ออำมหิตอยู่ในตัวอยู่แล้ว คือ โลภะ โทสะ โมหะ ไงขอรับ ลองนึกดู ถ้าไม่มีกฎหมาย ไม่มีศีลธรรม (หลักศาสนา) โลกฉิบหายแน่นวล คิกๆๆ ปล้นฆ่ากันหนุกหนาน นี่กฎหมายบัญญัติว่าฆ่าคนตายติดคุก ถูกประหารยังฆ่ากันไม่เว้นวัน คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 26 ส.ค. 2018, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โย สหสฺสํ สหสฺเสน สงฺคาเม มานุเส ชิเน
เอกญฺจ เชยฺยมตฺตานํ ส เว สงฺคามชุตฺตโม.

ผู้ใด พึงชนะมนุษย์พันหนึ่งคูณด้วยพัน (หนึ่งล้านคน) ในสงคราม ผู้นั้น หาชื่อว่าเป็นยอดแห่งชนผู้ชนะในสงครามไม่
ส่วนผู้ใด พึงชนะตนคนเดียวได้ ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็นยอดแห่งผู้ชนะในสงคราม.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 26 ส.ค. 2018, 08:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
ฝึกจิตให้พยศมากๆๆขึ้นเป็นล้านๆเท่าได้มั๊ยคะ หรือทำได้แค่ให้หมดพยศ ?



นู๋เมโลกสวยถามปัญหา นึกถึงคาถาหนึ่งซึ่งพราหมณ์คนหนึ่งถามพระพุทธเจ้า คนที่เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าร้อยทั้งร้อยถามสิ่งที่เป็นประโยชน์ แต่แกถามสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เมื่อมีคนถามพระพุทธเจ้าก็ตอบ

พระองค์ตอบว่า

อุสฺสูรเสยฺยํ อาลสฺยํ จณฺฑิกํ ทีฆโสตฺติยํ
เอกสฺสทฺธานคมนํ ปรทารูปเสวนํ
เอตํ พฺราหฺมณ เสวสฺสุ อนตฺถํ เต ภวิสฺสติ.

การนอนตื่นสายหนึ่ง ๑ ความเกียจคร้าน ๑ ความดุร้าย ๑ การพลัดวันประกันพรุ่ง ๑
การเดินทางไกลคนเดียว ๑ การเข้าไปเสพภรรยาของผู้อื่น ๑
ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงเสพกรรม ๖ อย่างนี้เถิด ความฉิบหายจักมีแก่ท่าน.

(อัตถะ แปลว่า ประโยชน์ อนัตถะ แปลว่า มิใชประโยชน์ ก็ได้ แปลว่า ความฉิบหาย ก็ได้)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 26 ส.ค. 2018, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สสังขาริก “เป็นไปกับด้วยการชักนำ” มีการชักนำ ใช้แก่จิตที่คิดดีหรือชั่วโดยถูกกระตุ้น หรือชักจูงจากภายนอก มิใช่เริ่มขึ้นเอง จึงมีกำลังอ่อน

อสังขาริก “ไม่เป็นไปกับด้วยการชักนำ” ไม่มีการชักนำ ใช้แก่จิตที่คิดดีหรือชั่วโดยเริ่มขึ้นเอง มิใช่ถูกกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก จึงมีกำลังมาก ตรงข้ามกับสสังขาริก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 26 ส.ค. 2018, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
ฝึกจิตให้พยศมากๆๆขึ้นเป็นล้านๆเท่าได้มั๊ยคะ หรือทำได้แค่ให้หมดพยศ ?



นู๋เมโลกสวยถามปัญหา นึกถึงคาถาหนึ่งซึ่งพราหมณ์คนหนึ่งถามพระพุทธเจ้า คนที่เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าร้อยทั้งร้อยถามสิ่งที่เป็นประโยชน์ แต่แกถามสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เมื่อมีคนถามพระพุทธเจ้าก็ตอบ

พระองค์ตอบว่า

อุสฺสูรเสยฺยํ อาลสฺยํ จณฺฑิกํ ทีฆโสตฺติยํ
เอกสฺสทฺธานคมนํ ปรทารูปเสวนํ
เอตํ พฺราหฺมณ เสวสฺสุ อนตฺถํ เต ภวิสฺสติ.

การนอนตื่นสายหนึ่ง ๑ ความเกียจคร้าน ๑ ความดุร้าย ๑ การพลัดวันประกันพรุ่ง ๑
การเดินทางไกลคนเดียว ๑ การเข้าไปเสพภรรยาของผู้อื่น ๑
ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงเสพกรรม ๖ อย่างนี้เถิด ความฉิบหายจักมีแก่ท่าน.

(อัตถะ แปลว่า ประโยชน์ อนัตถะ แปลว่า มิใชประโยชน์ ก็ได้ แปลว่า ความฉิบหาย ก็ได้)


เห็นม๊ะคะ คุณลุงกรัชกาย

ว่าสิ่งที่หนูถามไปน่ะ ทำให้เกิดประโยชน์ได้ต่อจิต ดีต่อใจ
คุณลุงว่าเหมือนพราหมณ์ (เขียนยากจัง)
ที่ถามไม่มีประโยชน์
แต่จริงๆ เพราะหนูเข้าใจที่จะถามคำถามนี้ ทำให้เกิดคำตอบมีประโยชน์มาก เนอะคะ







โพสต์ เมื่อ: 26 ส.ค. 2018, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
ฝึกจิตให้พยศมากๆๆขึ้นเป็นล้านๆเท่าได้มั๊ยคะ หรือทำได้แค่ให้หมดพยศ ?


ได้ครับ ตัวอย่าง เช่น อหิงสกะ (องคุลิมาล) ฆ่าคนไปเยอะแยะ เพราะเหตุใด ถ้าไม่มีคนให้แง่คิด ยังจะฆ่าอีกนะน่า แม้แต่แม่ยังจะฆ่าเลย

มนุษย์ทุกคนทั้งหญิงทั้งชาย มีเชื้ออำมหิตอยู่ในตัวอยู่แล้ว คือ โลภะ โทสะ โมหะ ไงขอรับ ลองนึกดู ถ้าไม่มีกฎหมาย ไม่มีศีลธรรม (หลักศาสนา) โลกฉิบหายแน่นวล คิกๆๆ ปล้นฆ่ากันหนุกหนาน นี่กฎหมายบัญญัติว่าฆ่าคนตายติดคุก ถูกประหารยังฆ่ากันไม่เว้นวัน คิกๆๆ


พูดให้ฉุกคิดแง่หนึ่ง คือหลักศีลธรรมนั้นไม่ระบุโทษไว้ แต่ให้เป็นความสมัครใจ พระพุทธเจ้าสอนกลางๆคือให้สังคมมนุษย์มีจิตสำนึกเอาเอง

ดูตัวอย่างศีลข้อ 1

อ้างคำพูด:
"คหบดีทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายสำหรับน้อมเข้ามาเทียบตัว...

๑) อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเองอยากมีชีวิต ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์
ถ้าใครจะปลงชีวิตเรา ผู้อยากอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ก็จะไม่เป็นที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา
ก็ถ้าเราจะปลงชีวิตคนอื่น ผู้อยากอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน

สิ่งใดตัวเราเองไม่ชื่นชอบ ไม่พอใจ ถึงคนอื่นเขาก็ไม่ชื่นชอบ ไม่พอใจ เหมือนกัน สิ่งใด ตัวเราเองก็ไม่ชอบ ไม่พอใจ ไฉนจะพึงเอาไปผูกใส่คนอื่นเล่า

อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตด้วยตนเองด้วย
ย่อมชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากปาณาติบาตด้วย
ย่อมกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากปาณาติบาตด้วย
กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์ทั้งสามด้านอย่างนี้


กายสมาจาร ความประพฤติทางกาย


ไม่ระบุโทษไว้ ต่างจากกฎหมายเขียนระบุโทษไว้เลยว่า ฆ่าคนตายต้องโทษจำคุกเท่านั้นเท่านี้ปี ถึงกฎหมายจะระบุไว้อย่างนั้นก็ตาม หากผู้ร้ายนั้น มีเงินมีอำนาจมีอิทธิพล อาจไม่เป็นไปตามนั้น ตัวอย่างเยอะแยะไปหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 26 ส.ค. 2018, 20:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
ฝึกจิตให้พยศมากๆๆขึ้นเป็นล้านๆเท่าได้มั๊ยคะ หรือทำได้แค่ให้หมดพยศ ?


ได้ครับ ตัวอย่าง เช่น อหิงสกะ (องคุลิมาล) ฆ่าคนไปเยอะแยะ เพราะเหตุใด ถ้าไม่มีคนให้แง่คิด ยังจะฆ่าอีกนะน่า แม้แต่แม่ยังจะฆ่าเลย

มนุษย์ทุกคนทั้งหญิงทั้งชาย มีเชื้ออำมหิตอยู่ในตัวอยู่แล้ว คือ โลภะ โทสะ โมหะ ไงขอรับ ลองนึกดู ถ้าไม่มีกฎหมาย ไม่มีศีลธรรม (หลักศาสนา) โลกฉิบหายแน่นวล คิกๆๆ ปล้นฆ่ากันหนุกหนาน นี่กฎหมายบัญญัติว่าฆ่าคนตายติดคุก ถูกประหารยังฆ่ากันไม่เว้นวัน คิกๆๆ


พูดให้ฉุกคิดแง่หนึ่ง คือหลักศีลธรรมนั้นไม่ระบุโทษไว้ แต่ให้เป็นความสมัครใจ พระพุทธเจ้าสอนกลางๆคือให้สังคมมนุษย์มีจิตสำนึกเอาเอง

ดูตัวอย่างศีลข้อ 1

อ้างคำพูด:
"คหบดีทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายสำหรับน้อมเข้ามาเทียบตัว...

๑) อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเองอยากมีชีวิต ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์
ถ้าใครจะปลงชีวิตเรา ผู้อยากอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ก็จะไม่เป็นที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา
ก็ถ้าเราจะปลงชีวิตคนอื่น ผู้อยากอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน

สิ่งใดตัวเราเองไม่ชื่นชอบ ไม่พอใจ ถึงคนอื่นเขาก็ไม่ชื่นชอบ ไม่พอใจ เหมือนกัน สิ่งใด ตัวเราเองก็ไม่ชอบ ไม่พอใจ ไฉนจะพึงเอาไปผูกใส่คนอื่นเล่า

อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตด้วยตนเองด้วย
ย่อมชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากปาณาติบาตด้วย
ย่อมกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากปาณาติบาตด้วย
กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์ทั้งสามด้านอย่างนี้


กายสมาจาร ความประพฤติทางกาย


ไม่ระบุโทษไว้ ต่างจากกฎหมายเขียนระบุโทษไว้เลยว่า ฆ่าคนตายต้องโทษจำคุกเท่านั้นเท่านี้ปี ถึงกฎหมายจะระบุไว้อย่างนั้นก็ตาม หากผู้ร้ายนั้น มีเงินมีอำนาจมีอิทธิพล อาจไม่เป็นไปตามนั้น ตัวอย่างเยอะแยะไปหมด


พระพุทธองค์ ได้ทรงแสดงอาทินาวะโทษตามพระสูตร
เพียง ทรงอุปมาอุปมัย ว่าดุจบ่วงแห่งมารท่านั้นค่ะ

ไม่ได้แทรงแสดง ปรมัตถเทศนาตามแบบอภิธรรม ที่แสดงถึงปัจจัย ของอกุศล ที่มีต่อกุศล และอัพยากตะ
อย่างละเอียดค่ะ

และพระพุทธองค์ ไม่ทรงแสดงกฎหมายมหาชน หรือกฎหมายจารีตประเพณี ที่แสดงไว้ในเวลานั้น
ว่า ได้โทษจำ โทษปรับ หรือโทษประหารชีวิต ไม่ได้ทรงแสดงไว่แต่ประการใดค่ะ


โพสต์ เมื่อ: 26 ส.ค. 2018, 22:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณลุงกรัชกายคะ

ผู้คนที่ไปที่ขว้างหินไส่ท่านองคุลีมาลบาดเจ็บ โดนปรับ โดนโบย โดนติดคุกกันคนละเท่าไรคะ ?


โพสต์ เมื่อ: 27 ส.ค. 2018, 08:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
คุณลุงกรัชกายคะ

ผู้คนที่ไปที่ขว้างหินไส่ท่านองคุลีมาลบาดเจ็บ โดนปรับ โดนโบย โดนติดคุกกันคนละเท่าไรคะ ?


กฎหมายเป็นเรื่องของฝ่ายบ้านเมือง คือฝ่ายอาณาจักรที่ต้องบัญญัติขึ้นเพื่อลงโทษผู้ฝ่าฝืน แต่ทางฝ่ายศาสนจักร ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าพระถูกขว้างหินใส่ต้องโทษโบยเท่านั้นทีเท่านี้ที ประเด็นที่ถามยังไม่ปรากฏ โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา (แต่ของศาสนาอื่นมีเขียนเป็นกฎหมายใช้แล้ว ถ้าไปหมิ่นพระเจ้าของเขา ติดคุกนะ คิกๆๆ ดู https://mgronline.com/around/detail/9610000083818) แต่ปัจจุบันถ้าพระถูกทำร้าย ต้องแจ้งความเอา เพราะผิดกฎหมาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 27 ส.ค. 2018, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
คุณลุงกรัชกายคะ

ผู้คนที่ไปที่ขว้างหินไส่ท่านองคุลีมาลบาดเจ็บ โดนปรับ โดนโบย โดนติดคุกกันคนละเท่าไรคะ ?


พุทธเราแบบนี้ก็ได้ไม่มีปัญหา

https://scontent.fbkk5-3.fna.fbcdn.net/ ... e=5C342F20

https://scontent.fbkk5-3.fna.fbcdn.net/ ... e=5BF65B91


แต่ถ้าเป็นของฝ่ายอื่น จองหลุมจองศาลาได้เลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 29 ส.ค. 2018, 05:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
ฝึกจิตให้พยศมากๆๆขึ้นเป็นล้านๆเท่าได้มั๊ยคะ หรือทำได้แค่ให้หมดพยศ ?



นู๋เมโลกสวยถามปัญหา นึกถึงคาถาหนึ่งซึ่งพราหมณ์คนหนึ่งถามพระพุทธเจ้า คนที่เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าร้อยทั้งร้อยถามสิ่งที่เป็นประโยชน์ แต่แกถามสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เมื่อมีคนถามพระพุทธเจ้าก็ตอบ

พระองค์ตอบว่า

อุสฺสูรเสยฺยํ อาลสฺยํ จณฺฑิกํ ทีฆโสตฺติยํ
เอกสฺสทฺธานคมนํ ปรทารูปเสวนํ
เอตํ พฺราหฺมณ เสวสฺสุ อนตฺถํ เต ภวิสฺสติ.

การนอนตื่นสายหนึ่ง ๑ ความเกียจคร้าน ๑ ความดุร้าย ๑ การพลัดวันประกันพรุ่ง ๑
การเดินทางไกลคนเดียว ๑ การเข้าไปเสพภรรยาของผู้อื่น ๑
ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงเสพกรรม ๖ อย่างนี้เถิด ความฉิบหายจักมีแก่ท่าน.

(อัตถะ แปลว่า ประโยชน์ อนัตถะ แปลว่า มิใชประโยชน์ ก็ได้ แปลว่า ความฉิบหาย ก็ได้)


เห็นม๊ะคะ คุณลุงกรัชกาย

ว่าสิ่งที่หนูถามไปน่ะ ทำให้เกิดประโยชน์ได้ต่อจิต ดีต่อใจ
คุณลุงว่าเหมือนพราหมณ์ (เขียนยากจัง)
ที่ถามไม่มีประโยชน์
แต่จริงๆ เพราะหนูเข้าใจที่จะถามคำถามนี้ ทำให้เกิดคำตอบมีประโยชน์มาก เนอะคะ




ศาสนาพราหมณ์เกิดก่อน พระพุทธศาสนาเกิดทีหลัง เกิดท่ามกลางลัทธิศาสนาอื่นมากมาย ดังนั้น คำสอนจึงเกี่ยวกับคนที่เขานับถือศาสนาพราหมณ์ทั้งหมด

ให้ดูคาถาธรรมบทที่พูดถึงพราหมณ์


ธรรมบท บทแห่งธรรม, บทธรรม, ข้อธรรม ชื่อคาถาบาลีหมวดหนึ่งจัดเป็นคัมภีร์ที่ ๒ ในขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎก มี ๔๒๓ คาถา

เรื่องพราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก

ฉินฺท โสตํ ปรกฺกมฺม กาเม ปนูท พฺราหฺมณ
สงฺขารานํ ขยํ ญตฺวา อกตญฺญูสิ พฺราหฺมณ.


พราหมณ์ ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา จงบรรเทากามทั้งหลายเสีย ท่านรู้ความสิ้นไปแห่งสังขารทั้งหลายแล้ว เป็นผู้รู้พระนิพพานอันปัจจัยอะไรๆ ทำไม่ได้แล้วนะพราหมณ์.


เรื่องชฎิลพราหมณ์

น ชฎาหิ น โคตฺเตน น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ
ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ โส สุจิ โส จ พฺราหฺมโณ.

บุคคลย่อมเป็นพราหมณ์ ด้วยชฎา ด้วยโคตร ด้วยชาติหามิได้
สัจจะและธรรมมีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นเป็นผู้สะอาด และผู้นั้นเป็นพราหมณ์.

เรื่องกุหกพราหมณ์

กินฺเต ชฎาหิ ทุมฺเมธ กินฺเต อชินสาฏิยา
อภฺภนฺตรนฺเต คหนํ พาหิรํ ปริมชฺชสึ.

แน่ะผู้มีปัญญาทราม ประโยชน์อะไรด้วยชฎาทั้งหลายของท่าน ประโยชน์อะไรด้วยผ้าที่ทำด้วยหนังเสือ ชื่อว่าอชินะของท่าน ภายในของท่านรกรุงรัง ท่านย่อมขัดเกลาแต่ภายนอก.


เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี

ยสฺส กาเยน วาจาย มนสา นตฺถิ ทุกฺกฏํ
สํวุตํ ตีหิ ฐาเนหิ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.


ความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ ของบุคคลใด ย่อมไม่มี
เราเรียกบุคคลนั้น ผู้สำรวมแล้วโดยฐานะ ๓ ว่าเป็นพราหมณ์.


เรื่องพระสารีบุตรเถระ

ยมฺหา ธมฺมํ วิชาเนยฺย สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ
สกฺกจฺจํ ตํ นมสฺเสยฺย อคฺคิหุตฺตํว พฺราหฺมโณ.


บุคคลพึงรู้แจ้งธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากอาจารย์ใด พึงนอบน้อมอาจารย์นั้น เหมือนพราหมณ์นอบน้อมการบูชาเพลิงอยู่ ฉะนั้น.


เรื่องอักโกสกทวาชพราหมณ์


กึสุ ฆตฺวา สุขํ เสติ กึสุ ฆตฺวา น โสจติ
กิสฺสสฺสุ เอกธมฺมสฺส วธํ โรเจสิ โคตม.

บุคคลฆ่าอะไรได้สิ จึงอยู่เป็นสุข ฆ่าอะไรได้สิ จึงไม่เศร้าโศก
ข้าแต่พระโคดม พระองค์ย่อมชอบใจซึ่งการฆ่าธรรมอะไรสิ ซึ่งเป็นธรรมอันเอก.

(พระพุทธเจ้าตอบ)

โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ โกธํ ฆตฺวา น โสจติ
โกธสฺส วิสมูลสฺส มธุรคฺคสฺส พฺราหฺมณ
วธํ อริยา ปสํสนฺติ ตญฺหิ ฆตฺวา น โสจติ.


บุคคลฆ่าความโกรธได้แล้ว จึงอยู่เป็นสุข ฆ่าความโกรธได้แล้ว จึงไม่เศร้าโศก
พราหมณ์ พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญการฆ่าความโกรธ อันมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน เพราะบุคคลนั้น ฆ่าความโกรธได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 29 ส.ค. 2018, 09:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ใช้อิริยาบถเดินฝึกสติสัมปชัญญะ กล่าวคือ เดินไปเดินมาโดยมีสติกำกับการเดินกลับไปกลับมานั่น

รูปภาพ


จะลองใช้แบบนี้บ้างก็ได้

https://www.facebook.com/BuddhistBasic/ ... 340494742/

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 29 ส.ค. 2018, 16:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องภิกษุผู้เคยเป็นควาญช้าง

น หิ เอเตหิ ยาเนหิ คจฺเฉยฺย อคตํ ทิสํ
ยถาตฺตนา สุทนฺเตน ทนฺโต ทนฺเตน คจฺฉติ.


ก็บุคคลพึงไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไปด้วยยานเหล่านี้
เหมือนคนผู้ฝึกตนแล้วไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไปได้ด้วยตนที่ฝึกแล้ว ทรมานดีแล้ว ฉะนั้น.


อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ.


ตนแลเป็นที่พึงของตน บุคคลอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
เพราะบุคคลมีตนฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งที่บุคคลหาได้โดยยาก.

อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย
อตฺตทตฺถมภิญฺญาย สทตฺถปฺปสุโต สิยา.


บุคคลไม่พึงยังประโยชน์ของตนให้เสื่อมเสีย เพราะประโยชน์ของคนอื่นแม้มาก
รู้จักประโยชน์ของตนแล้ว พึงเป็นผู้ขวนขวายในประโยชน์ของตน.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 29 ส.ค. 2018, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, ภาวะที่จิตตั้งเรียบแน่วอยู่ในอารมณ์ คือ สิ่งอันเหนึ่งอันเดียว, มักใช้เป็นคำเรียกง่ายๆ สำหรับอธิจิตตสิกขา

เอกัคคตา (เอกัคตา) ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตต์แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่ สมาธิ

สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่ทำ, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้

สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้; มักมาคู่กับ สติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 02 ก.ย. 2018, 16:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาวายามะ

องค์มรรคข้อนี้เป็นข้อแรกในหมวดสมาธิ จัดเข้าในอธิจิตตสิกขา มีคำจำกัดความแบบพระสูตร ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะ เป็นไฉน ? นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑) ยังฉันทะให้เกิดขึ้น พยายาม ระดมความเพียร ยกชูจิตไว้ มุ่งมั่น เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม อันเป็นบาป ที่ยังไม่เกิด
๒) ยังฉันทะให้เกิดขึ้น พยายาม ระดมความเพียร ยกชูจิตไว้ มุ่งมั่น เพื่อละเสีย ซึ่งอกุศลธรรม อันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว
๓) ยังฉันทะให้เกิดขึ้น พยายาม ระดมความเพียร ยกชูจิตไว้ มุ่งมั่น เพื่อความเกิดขึ้น แห่งกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิดขึ้น
๔) ยังฉันทะให้เกิดขึ้น พยายาม ระดมความเพียร ยกชูจิตไว้ มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อภิญโญภาพ เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว” (ที.ม.10/299/348 ฯลฯ)


ส่วนในอภิธรรม มีคำจำกัดความเพิ่มอีกแบบหนึ่ง ดังนี้

“สัมมาวายามะ เป็นไฉน ? การระดมความเพียร (วิริยารัมภะ) ทางใจ ความก้าวหน้า ความบากบั่น ความขะมักเขม้น ความพยายาม ความอุตสาหะ ความอึดสู้ ความเข้มแข็ง ความมั่นคง ความก้าวหน้าไม่ลดละ ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ การแบกทูนเอาธุระไป วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ ที่เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียก ว่า สัมมาวายามะ” (อภิ.วิ.35/181/140; 586/320)

ในคำจำกัดความและความหมายทั้งหมดนี้ พึงสังเกตความสำคัญของฉันทะ ที่เป็นตัวนำของสัมมาวายามะ และเป็นสาระหลักของความเพียรทั้งหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 47 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร