วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 20:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 05 ต.ค. 2018, 21:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2018, 00:09
โพสต์: 203

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
สายน้ำเมย เขียน:
...อรูปฌาน...

เมื่อเราเดินอรูปฌานไปเรื่อยๆ จนสุด..เมื่อสุดกำลังอรูปณานจะทะลุ..ทะลุไปเจอสมมุติ :b42:

เมื่อเจอสมมุติ จะอยู่ในสภาวะเอ๋อ..เอ๋อเพราะสภาวะสมมุติ

ให้ตั้งสติ ให้รู้ตัวให้มากในช่วงนี้..อย่าไหลไปกับสภาวะสมมุติ

บอกตนเองให้รู้ระลึกเสมอว่า..ที่เราเจอสภาวะแบบนี้ เพราะเกิดจากสภาวะที่เห็นอรูปเต็มอัตรา
.
.
.
แจ้งในอรูปแล้ว :b55:
.
.
.
เมื่อชัดในอรูป จนไปชัดที่สมมุติ..มันจะวนอยู่อย่างนี้ไม่มีกำลังไปต่อได้
.
.
.
ให้ถอนกำลังอรูปลง เพราะกำลังอรูปไม่มีกำลังผลักดันให้เราเดินไปต่อได้

เมื่อเริ่มวนในสมมุติและหาทางออกไม่ได้

ให้ถอนกำลังลงมารูป ในรูปฌาน ให้วนอยู่ในขันธ์ห้า

ยึดรูปเป็นหลักใหญ่ เพื่อเพาะกำลัง และพิจารณาให้เกิดปัญญา

ปัญญาที่เราพิจารณาในรูป ในขันธ์ห้านี่แหละ จะเป็นตัวส่ง กำลังของปัญญาญานของเรา

ให้มีกำลังให้คมขึ้น :b39:
.
.
.
อย่าสนใจอรูปฌาน..ให้ยึดรูปฌาน ให้วนอยู่ในกายเป็นหลัก

จะพิจารณาในหมวดสติปัฎฐานสี่ก็ได้ แต่ให้อยู่ในหมวดกาย เพราะหมวดกายมี 6 บรรพให้พิจารณา

ที่บอกว่า อย่าสนใจอรูปฌาน เพราะเมืื่อจิตเราเผลอ มันจะไปอรูปฌานได้เอง

แต่พอรู้สึกตัว ให้ถอนอรูปฌานนะ..ลงมาอยู่ที่รูปฌานเสมอ

เพื่อฝึกจิตให้ชินกับรูปฌาน ชินกับการพิจารณาขันธ์ห้า

เพราะในอรูปฌาน ไม่มีรูปขันธ์ให้พิจารณา..และไม่มีกายเวทนาจิตธรรมให้พิจารณา

ให้เกาะรูปขันธ์เข้าไว้..เพื่อพิจารณา กาย เวทนาจิตธรรม ที่มีอยู่ในขันธ์ทั้งห้า
.
.
.
เมื่อเผลอมันจะไปอรูปฌาน พอรู้สึกตัว เราจะถอนลงมารูปฌาน

พอเราทำจนจิตชิน พอนึก มันจะลดกำลังลงมาที่รูปฌานได้เอง

เมื่อนึกบ่อยๆ จนจิตชิน ต่อไปมันจะเพิกรูปฌานได้ เป็นอัตโนมัติ :b43:

เพืยงครั้งแรกๆที่เราต้องฝึกให้จิตเกิดความเคยชิน ให้ลงมาที่รูปฌานเสมอๆแค่นั้นเอง
.
.
.
กลับมาที่อรูปฌาน..เมือจิตเราเผลอ มันจะไปตามความเคยชินไปที่อรูปฌาน

มันจะไต่ไปเรื่อยๆ ตั้งแต่รูปฌานหนึ่งจนไปถึง อรูปฌานหนึ่ง จนไปถึง อรูปฌานสี่

จนทะลุอรูปฌานสี่ ไปเจอ สภาวะสมมุติ ถึงตอนนี้กำลังเราจะเพิ่มขึ้น :b40:

สามารถพิจารณาธรรมในสภาวะสมมุติได้มากขึ้น เทียบรูปกับอรูปในจิต ได้มากขึ้น

เห็นได้รอบขึ้น...กว้างขึ้น...เมื่อตันในสมมติอีก ให้เพิก หรือถอนกำลังลง

ลงมาอยู่ที่รูปฌานหรือในขันธ์ห้าในกายอีก...ทำแบบนี้ซ้ำๆ จนกำลังพอ..
.
.
.
่จนท้ายสุด เมื่อเราถึงสภาวะสมมติ เราสามารถพิจารณาธรรมในสมมุติได้

เห็นรูปและอรูปได้ชัด เทียบกันชัดเจน ปัญญาเราเกิด ในกาย

เห็นชัดว่า อ่อ ขันธ์ห้าเราก็สมมุติ เขาและเราเหมือนกัน..

เหตุใดเราจึงโง่ มีการเปรียบเทียบเกิดขึ้น ว่าเขาดีกว่าเรา เขาเสมอเรา เขาโง่กว่าเรา..
.
.
.
แท้จริงเราโง่เอง.. :b55:

ทั้งๆที่ขันธ์ทั้งห้าทั้งเขาและเราเหมือนกันแท้ๆ แต่เราก็ยังมีการเปรียบเทียบอยู่นั่นแล้ว

เทียบสิ่งสองสิ่ง เทียบเธอและฉันอยู่เสมอ...

พิจารณา ให้รอบให้แจ้งอย่างนี้ ในที่สุดก็จะหลุดภาวะการเอ๋อ ของสภาวะของสมมุติได้
.
.
.
กำลังที่ทำให้หลุดสภาวะสมมุติ หรือการเอ๋อได้ เกิดจากการพิจารณาในกาย

กายในกาย ในขันธ์ทั้งห้า เท่านั้น...มันจึงมีกำลังผลักดันให้เราไปแจ้งในอรูปได้มากขึ้น

ไม่ใช่ อรูปฌานมีกำลัง แล้วจะผลักดันให้หลุดสภาวะสมมุติได้
.
.
.
อรูปฌานสุดแค่ อรูปสี่ แล้วก็นิ่ง นิ่งแล้วก็ถอนกำลัง..

มันไม่ต่างกับ เมื่อเราถึง รูปฌานสี่ และจมแช่อยู่ในสภาวะนั้นจนอิ่ม แล้วถอนกำลังลงมาหรอก

จิตอิ่มแล้วมันก็ถอนของมันเอง อรูปฌานก็เช่นกัน...มันจึงเกิดอาการ..วน..เกิดขึ้น..
.
.
.
วนแล้ววนเล่า ใน รูปฌานหนึ่ง ถึงอรูปฌานสี่..วนอยู่อย่างนี้ตลอดปีตลอดชาติ

ไม่ต่างกับพระอาจารย์ทั้งสองของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย :b8:

กำลังที่ผลักให้ออกจากสมมุติได้ มีทางเดียว คือ ลงมาพิจารณาขันธ์ทั้งห้า

มาอยู่ในรูป...มันเป็นทางเดียวที่ถึงจะทำให้เราเดินต่อ

ทะลุทางตัน ของเราให้เดินไปต่อได้ :b36: :b55: :b53:




"อรูปฌานสุดแค่ อรูปสี่ แล้วก็นิ่ง นิ่งแล้วก็ถอนกำลัง..

มันไม่ต่างกับ เมื่อเราถึง รูปฌานสี่ และจมแช่อยู่ในสภาวะนั้นจนอิ่ม แล้วถอนกำลังลงมาหรอก

จิตอิ่มแล้วมันก็ถอนของมันเอง อรูปฌานก็เช่นกัน...มันจึงเกิดอาการ..วน..เกิดขึ้น.."


แบบ อันนี้

เมก็ งง มากเรยค่ะ พี่สายน้ำเมย

จิตนั่นอิ่ม หรือกลับยิ่ง หิวโหย โรยแรง

จนต้องออกไป แสวงหาอาหารจากที่อื่นมาเพิ่มเติมอีก หรือเปล่าคะ ?



ลองทำดูก่อนคะ ทำรูปฌานถึงอุเบกขาหรือเอกคัตตาดูก่อนก็ได้คะ

ทำจนคล่อง..จริงๆไม่ต้องถึง ฌานสี่หรือฌานห้าก็ได้คะ

เมื่อเราฝึกฌาน เราทำได้ถึงฌานไหน เมื่อมันเต็มในฌานที่เราทำได้ทำถึง

และไปต่อไม่ได้...มันจะเสวยอารมณ์ของฌานนั้นๆอยู่..สักพัก

หรือนานๆก็ได้แล้วแต่กำลังของนักปฎิบัติที่สะสมมา...

เมื่อเสวยอารมณ์ฌานนั้นนานๆ มันจะค่อยๆถอนจากฌานที่เราอยู่ได้เอง...

มันเป็นไปตามกฎของไตรลักษณ์คะ ในคำว่าอนิจจัง

การถอนฌานออกมา หรือลดกำลังลงมาได้เอง..

คืออาการจิตอิ่มจากฌานนั้นๆแล้วคะ มันถึงถอนหรือตกลงมา

ถ้าเราฝึกที่รูปฌาน ได้ถึงฌานสี่

เมื่อจิตอิ่มจากฌานสี่ จิตจะค่อยถอนลงจากสี่เป็นสาม

จากสามเป็นสอง จากสองมาเป็นหนึ่ง จากหนึ่งมาอุปจาระสมาธิ

และตกไปที่ขนิกสมาธิ ตามลำดับ

แต่ถ้ามันตกมาถึงอุปจาระสมาธิแล้ว เราต้องการไต่สมาธิใหม่

ก็สามารถไต่ฌานได้อีกคะ จากหนึ่งขึ้นไปสองสามสี่ห้าได้อีก

สามารถไต่ขึ้นไต่ลงได้ ทำจนพอใจ เราถึงเลิกทำสมาธิได้คะ
.
.
.
มันเป็นคำพูดง่ายๆ ของนักปฎิบัติ...แต่ถ้าผู้ที่เรียนบัญญัติมาโดยตรง

จะมีคำพูดที่สละสลวยกว่านี้และถูกต้องตามสุตตะที่ได้เรียนมาคะ


โพสต์ เมื่อ: 05 ต.ค. 2018, 21:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2018, 00:09
โพสต์: 203

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
ขอบพระคุณค่ะ พี่สายน้ำเมย

ขออนุโมทนาด้วยนะคะ

ไม่เป็นไรค่ะ ตอบไม่ตรงที่เมถามหรอกค่ะ

แต่เมว่าอย่างนี้ ค่ะ

ฐานของสติ ในสติปัฎฐาน จะเป็นตัวทำให้รู้ ว่าทำอยู่อย่างมีสติ หรือสติขาดหลุดลอยไปนอกฐาน

สติ ที่มีกำลัง คือ สติ ที่มั่น ไม่เอนเอียง ไม่ได้ตามความคิดไป สติไม่ขาด ไม่หลุดลอยไปกับความคิด

อาหารของสติ คือเวลาที่สติรู้ตัว ทั่วพร้อมอยุ่ ว่า ไม่ไหลเข้าใป และขนะหลุดออกจากพันธนาการค่ะ



ผู้เรียนมาถูกต้องตามหลักคำสอน

จะตอบได้ถูกต้องตามบัญญัติและสละสลวยแบบน้องคะ :b53:

โมทนาในความเพียรนะคะ :b53:


โพสต์ เมื่อ: 05 ต.ค. 2018, 21:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


สายน้ำเมย เขียน:
โลกสวย เขียน:
ขอบพระคุณค่ะ พี่สายน้ำเมย

ขออนุโมทนาด้วยนะคะ

ไม่เป็นไรค่ะ ตอบไม่ตรงที่เมถามหรอกค่ะ

แต่เมว่าอย่างนี้ ค่ะ

ฐานของสติ ในสติปัฎฐาน จะเป็นตัวทำให้รู้ ว่าทำอยู่อย่างมีสติ หรือสติขาดหลุดลอยไปนอกฐาน

สติ ที่มีกำลัง คือ สติ ที่มั่น ไม่เอนเอียง ไม่ได้ตามความคิดไป สติไม่ขาด ไม่หลุดลอยไปกับความคิด

อาหารของสติ คือเวลาที่สติรู้ตัว ทั่วพร้อมอยุ่ ว่า ไม่ไหลเข้าใป และขนะหลุดออกจากพันธนาการค่ะ



ผู้เรียนมาถูกต้องตามหลักคำสอน

จะตอบได้ถูกต้องตามบัญญัติและสละสลวยแบบน้องคะ :b53:

โมทนาในความเพียรนะคะ :b53:


คริคริ ชอบคำชม

เอาไว้ เม ค่อยไปคุยกะพี่หลังไมค์แระกาน
จุ๊ฟๆค่ะ


โพสต์ เมื่อ: 05 ต.ค. 2018, 22:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2018, 00:09
โพสต์: 203

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอโทษนะคะน้อง...พี่ไม่ค่อยคุยส่วนตัวกับใครคะ :b48:

มีอะไร คุยหน้าไมค์เลยคะ

คุยในที่คนเยอะๆ รู้สึกอุ่นใจดี :b55: :b54: :b53:


โพสต์ เมื่อ: 05 ต.ค. 2018, 23:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


สายน้ำเมย เขียน:
ขอโทษนะคะน้อง...พี่ไม่ค่อยคุยส่วนตัวกับใครคะ :b48:

มีอะไร คุยหน้าไมค์เลยคะ

คุยในที่คนเยอะๆ รู้สึกอุ่นใจดี :b55: :b54: :b53:

อ่อ แต่เม ส่งไปหลังไมค์แระหละค่ะ

ไปแระค่ะ เมจะออกเดินทาง
คงไม่ได้เข้ามาอีกนาน

สวัสดีค่ะ จุ๊ฟๆ



โพสต์ เมื่อ: 06 ต.ค. 2018, 15:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2018, 00:09
โพสต์: 203

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มารไม่มี บารมีไม่เกิด...คำนี้ทางโลกชอบพูดกัน

ซึ่งมันก็ใช้ได้จริง จริงๆในชีวิตจริงอีกต่างหาก..

แต่ในทางธรรม ไม่มีมาร..แม้ว่าจะมีมารห้า..แต่มารห้า เมื่อเราเอามาพิจารณาจริงๆ

จะเห็นได้ว่า แม้มารห้า เราก็สามารถ เอาเป็นครูสอนจิต พลิกให้มันเป็นธรรมสอนจิตได้
.
.
.
จึงว่า..

ในทางธรรมไม่มีมาร...มีแต่บททดสอบ มีแต่ข้อสอบ ที่เข้ามาสอบจิตเรา

ว่าเราจะสามารถนำกรรมฐานที่เราฝึกปฎิบัติมา...มาใช้ในชีวิตจริงๆได้หรือไม่ :b55:

ข้อสอบหรือบททดสอบที่เข้ามา จะเข้ามาในรูปแบบต่างๆกันไปในชีวิตประจำวัน

ทำให้เราเกิดอารมณ์ต่างๆเกิดขึ้น..และเราสามารถนำกรรมฐานที่ฝึกหัดมา

นำมาใช้กับบททดสอบของเราที่เข้ามา..และเราสามารถชนะใจตนเองได้หรือไม่..
.
.
.
การชนะใจตนเอง มันสำคัญมาก.. :b40:

เพราะทุกสิ่งที่เข้ามากระทบเราในชีวิตประจำวัน

ในวันๆหนึ่ง มันช่างยั่วยวนให้กิเลสเรากำเริบได้ตลอดเวลา

และเราสามารถนำ กรรมฐานมาใช้กับชีวิตจริงกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆของเราได้ทุกเรื่อง..นะ..

ทำได้ไหม?...
.
.
.
อายุเราก็ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายปี

เรียนรู้สุตตะ มาก็มาก..

เราเอามาใช้จริงให้เกิดประโยชน์ได้ทุกอย่างตามที่เราสุตตะมาได้ไหม?

เราย่อมรู้ใจเราเอง ว่าปัญญาระดับไหน ที่จะพาเราพ้นทุกข์ไปจากวัฎฎะได้
.
.
.
หรือเรามักน้อย เอาแค่ชาติปัจจุบันก็พอ มักมากขึ้นอีกหน่อย เอาชาติหน้าก็พอ..

ชาติต่อไปแล้วแต่บุญแต่กรรมที่เราสะสมมา..

เราจะเอาแบบนั้นจริงๆหรือ..ถามเข้าไปในจิตใจของเราดู :b55:
.
.
.
เมื่อทุกอย่างวิ่งเข้ามากระทบเรา ทำให้เราเกิดอารมณ์ อารมณ์ที่เกิดนั้นมีกิเลสเจืออยู่ตลอดเวลา

เราจะทำอย่างไร เพื่อให้ชนะใจตนเอง..เอาสิ่งที่เรียนรู้มาทั้งหมด

นำมาปฎิบัติเพื่อให้เราชนะใจตนเองได้ไหม
.
.
.
ถึงว่า ในทางธรรม ไม่มีมาร แม้แต่สักนิดเดียว มีแต่ครูที่สอบกรรมฐานเราตลอดเวลา

ให้เราชนะใจของตนเอง ชนะกิเลสที่เกิดขึ้นในจิตเรา ที่มันเจือมากับอารมณ์ของเรา..

ชนะใจตนเองใน กามฉันทะและปฎิฆะ ที่มากับ รูป รส กลิ่นเสียง สัมผัส

ชนะใจตนเอง ในความ อิ่มสุข ในความละเมียดเย็น ใน รูปฌานและอรูปฌาน

ชนะใจตนเองในความเอ๋อที่เกิดขึ้นจากสภาวะสมมุติ

ชนะใจตนเองด้วยความแจ้งใน การเปรียบเทียบสิ่งต่างๆจนทำให้มานะเกิดในจิตเรา

ชนะใจตนเองในเรื่อง เพลินสุขในกุศล จนเกิดการยึดมั่นถือม้่นในภพต่างๆ

และชนะใจตนเองในความฟุ้งของเรา ที่ฟุ้งไปเรื่อยจนออกนอกเส้นทางที่จะเข้าพระนิพพาน

และท้ายสุด ชนะใจตนเอง ในความอยากต่างๆ ในความยึดมั่นถือมั่นต่า่งๆในขันธ์ทั้งห้า
.
.
.
เมื่อชนะใจตนเอง..จากข้อสอบต่างๆที่เข้ามากระทบได้

ใจเราก็สามารถสงบราบลงกับสิ่งรอบกาย

สุขก็เกิด :b42:

สุขที่เกิด เกิดจากการที่เราชนะใจตนเอง ล้วนๆเลย..

เป็นสุขที่แท้จริง..ที่ทุกคนปรารถนา

เป็นสุขที่เกิดจาก อสังขารธรรม :b8: :b44:



https://youtu.be/GZhPqVFPI4U


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2018, 14:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2018, 00:09
โพสต์: 203

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...การละกิเลส...


การละกิเลส เขาละกิเลสที่เกิดขึ้นจริง..ในชีวิตจริงๆของเรา

ซึ่งกิเลสมันมาพร้อมกับอารมณ์ความนึกคิด

ที่เกิดจากเหตุปัจจัยต่างๆที่เข้ามากระทบ ในแต่ละวัน

ไม่ได้ไปละกิเลสจากที่ไหน :b55:
.
.
การเรียนกรรมฐาน การสุตตะตามคำสอนของพระสัมมาฯ

การฝึกเพียรปฎิบัติต่างๆ ก็เพื่อสิ่งนี้

เพื่อละกิเลสที่เกิดขึ้นกับตัวเราในชีวิตประจำวันแค่นั้นเอง
.
.
เราๆ เพียรปฎิบัติ เพียรสุตตะ ไปเพื่ออะไร

ไม่ใช่เพื่อละกิเลสในจิตเรากันหรอกหรือ?
.
.
ละกิเลสในจิตที่เกิดจากวิบาก

ละกิเลสในจิตที่เกิดจากเหตุปัจจัยภายนอกและภายใน
.
.
ไม่ใช่สุตตะเพื่อที่จะได้รู้ รู้ รู้ รู้ และรู้เพิ่มมากขึ้นยิ่งๆขึ้นไป

แต่เราสุตตะเพืื่อรู้ และนำสิ่งที่รู้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน

และแต่ละคนสะสมบุญกรรมมาต่างกัน

วิบากที่ส่งผลและเหตุปัจจัยที่สนองกลับเข้ามาย่อมต่างกัน

มันจึงไม่สามารถใช้แบบแผนคำสอน ของพระสัมมาฯ นำมาใช้โดยตรงได้

เราต้องนำคำสอนของพระท่านที่สอน มาปรับให้เข้ากับวิบากของเราที่เกิดขึ้น

มาปรับให้เข้ากับการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ที่เป็นอยู่ตามปกติในแต่ละวัน

มันถึงจะเป็นการเดินเพื่อละกิเลสในจิตของเราได้จริง
.
.
.
ใช้กรรมฐานสี่สิบ ใช้สติปัฎฐานสี่ เป็นตัวนำเดินแนบไปกับชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้น

มันจึงจะค่อยๆ เห็นโทษ เห็นทุกข์ เห็นอริยสัจจ์ได้ตามความเป็นจริง ในชีวิต

มันจึงจะค่อยๆแจ้งขึ้นมา ที่ละนิด ละนิด ในเรื่อง การเกิดมันเป็นทุกข์จริง

การมีชีวิตในโลกมันทุกข์จริงๆ เหตุของทุกข์คืออะไร มันก็ค่อยๆรู้ไป

และเราจะค่อยๆเดินในมรรคแบบไม่รู้ตัว มรรคจะเดินเรื่อยๆไปพร้อมกับชีัวิตประจำวันของเรา

ปัญญาก็จะแจ้งเข้า สว่างขึ้น เห็นไปได้เรื่อยๆ ในหมวด กายเวทนาจิตธรรม ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา
.
.
.
การเดินมรรคไปตามชีวิตประจำวัน ให้มุ่งเข้าหาสังโยชน์สิบเป็นหลัก

เพราะเราเดินมรรคเพื่อละสังโยชน์

แต่เราปรับมรรคให้เข้าไปในชีวิตประจำวันของเราแค่นั้น

เราก็ได้ใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ สังโยชน์ก็ละไปได้เรื่อยๆ..

เราก็จะเห็นทุกข์ขึ้นเรื่อยๆ เห็นเหตุแห่งทุกข์ไปเรื่อยๆ

แล้วเราก็หาทางออกจากทุกข์ไปเรื่อยๆ
.
.
จน...
.
.
กิเลสหมดสิ้น.. :b42:




เมื่อกิเลสหมดไป..เราก็ใช้ชีวิตของเราไป แบบไม่มีกิเลส :b39:

อารมณ์เดิมยังมีอยู่ แต่ทุกอารมณ์ไม่มี กิเลส ตัณหา อุปาทานเจืออยู่ :b39:

เราก็สามารถอยู่ในโลกจริงๆ ได้สงบขึ้น เพราะจิตเราสงบจากกิเลสตัณหาและอุปาทาน

เมื่อจิตสงบราบลงไป สุขก็จะค่อยๆก่อเกิด :b40:

เพราะสุขที่เกิด เกิดจากการสงบราบไปของทุกข์นั่นเอง :b44:
.
.
.
การปรับวิชาของพระสัมมาฯให้เข้ากับชีวิตประจำวันของเรา จึงสำคัญ

ขึ้นอยู่กับเราสามารถปรับให้เข้ากับตัวเราได้มากแค่ไหน

ยิ่งปรับวิชาของพระสัมมาฯเข้ากับตัวเราได้มาก

มันก็จะเดินมรรคได้มาก และได้ตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นจนนอนได้ โดยไม่ยากเย็นอะไร

เพราะทุกลมหายใจ ทุกอริยบทที่เราเคลื่อนไหว ทุกจังหวะชีวิตที่เราดำเนินไป

มันสามารถเป็นมรรค เป็นอริยมรรค เพื่อไปละสังโยชน์ได้หมด
.
.
.
จึงว่า การละกิเลสให้หมดสิ้นไปนั้น

เพียงแค่เราละกิเลสที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเราแค่นั้นเอง... :b55: :b53:


โพสต์ เมื่อ: 12 ต.ค. 2018, 18:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2018, 00:09
โพสต์: 203

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


......หยุดให้เป็น......

หยุดให้เป็น หยุดไม่เป็นจะไหลไปตามความอยากโดยเราไม่รู้ตัว

ไหลไปตามความอยากในกุศลบ้าง ไหลไปตามความอยากในอกุศลบ้าง

ไหลไปกับอดีตบ้าง ไหลไปกับอนาคตบ้าง


เมื่อ หยุดไม่เป็น..มันจึงทำให้เรา...วน..ไม่สิ้นสุด..

วนในกุศล วนในอกุศล วนกับการจมไปในอดีตและวนกับการไหลไปกับอนาคต

ซึ่งเกิดจากความยึดมั่นถือมั่น ที่มีเหลืออยู่ในจิต

ในตัวที่เรียกว่า..อุปาทาน
.
.
.
จึงควรมีสติให้มั่นๆ รู้ระลึกในตัวเองให้ดี..ว่า ตอนนี้เราทำอะไรอยู่

่ตอนนี้เราเดินอยู่จุดไหน ต้องไปที่จุดไหน ต้องทำอย่างไรในจุดที่ยืนปัจจุบัน

การรู้ตัวในปัจจุบันขณะ จะทำให้เรารู้ว่า ตอนนี้เราควรหยุด ตอนนี้เราต้องไปอีกจุดหนึ่งในการละสังโยชน์
.
.
.
การรู้จักหยุดในจุดที่ควรหยุด และไปต่อในจุดที่ควรไปต่อ..มันจึงสำคัญ

ซึ่งมันจะเกิดขึ้นได้ จากความชำนาญในการพลิกแพลงกรรมฐาน ที่เกิดจากการเพียรทำซ้ำๆ

เมื่อเพียรในกรรมฐานซ้ำๆนานๆ ความเชี่ยวชาญก็เกิดขึ้น

มันจะค่อยๆสะสมขึ้นมา จนเราเชี่ยวชาญในการพลิกแพลงกรรมฐาน

เพื่อให้กรรมฐานในปัจจุบันเหมาะกับตัวเราเองในตอนนี้
.
.
.
แต่ถ้ายังไม่เชี่ยวชาญ จึงควรฝึกขึ้นมา ฝึกฝนตัวเอง เอาความเพียรเข้ามาช่วย

เพื่อให้เราเชี่ยวชาญในกรรมฐาน..มันจึงจะสามารถหยุดได้...ในจุดที่ควรหยุด
.
.
.
จึงอยากบอกอีกครั้งว่า..เราควรหยุดให้เป็น..เมื่อถึงจุดๆหนึ่ง เราไม่หยุดเราจะไม่เห็น

การหยุดเท่านั้น จึงจะทำให้เราเห็นขึ้นมาได้ :b40: :b42: :b39: :b44: :b55: :b54:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร